Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                

คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาการประมง และทรัพยากรทางน้ำแห่งแรกของประเทศไทย เน้นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้ง วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ บริหารศาสตร์ พัฒนศาสตร์ นิติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ปัจจุบัน เปิดสอนในสาขา การจัดการประมง ชีววิทยาประมง ผลิตภัณฑ์ประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และวิทยาศาสตร์การประมง ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงระดับปริญญาเอก คณะประมงผ่านการประเมินด้วยคะแนนสูงสุด (5/5) ระดับดีมาก โดยสกว. 2553[2]

คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Fisheries, Kasetsart University
สถาปนา2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486; 81 ปีก่อน (2486-02-02)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณบดีผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ
ที่อยู่
วิทยาเขตบางเขน
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
วิทยาเขตกำแพงแสน
1 หมู่ 6 ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
สี  สีน้ำทะเล[1]
เว็บไซต์fish.ku.ac.th

Fisheries ชื่อคณะประมง (Faculty of Fisheries) ในภาคภาษาอังกฤษ นั้นแปลว่า การรวม (Faculty) ของสหวิชาประมงต่าง ๆ (Fishery)

ประวัติ

แก้

กำเนิดและพัฒนา

แก้
  • 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะประมงได้รับการสถาปณาพร้อมมหาวิทยาลัยในวันที่ในนามคณะการประมง จุดประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตเข้ารับราชการในกรมประมงและหน่วยงานราชการอื่นๆ แรกตั้งประกอบด้วย 4 ภาควิชา[3]คือ การจัดการประมง ชีววิทยาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ประมง (จากเดิมชื่อแผนกวิชาประมง ชีววิทยา เพาะเลี้ยง และ ผลิตภัณฑ์ ) ทำการสอนในหลักสูตร การประมงบัณฑิต(กม.บ.) ระดับ อนุปริญญา 3 ปี และปริญญาตรี 5 ปี[4]
  • พ.ศ. 2511 เพื่อขยายการวิจัยให้ครอบคลุมวิชาการประมงมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล[5]
  • พ.ศ. 2554 ได้มีการเปิดสอนหลักสูตร คณะประมง วิทยาเขตกำแพงแสน ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ขึ้น
  • พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตรฉบับปรับปรุงพ.ศ.2565 โดยได้มีการเพิ่มภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมประมงเข้ามา

อาคาร สถานที่

แก้
  • คณะประมงได้มีการย้ายที่ทำการหลายครั้ง โดยมี "ตึกพลเทพ" เป็นอาคารแรกของคณะตามชื่อเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบันเป็นอาคารของกรมประมงซึ่งติดกับพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ กรุงเทพฯ)
  • พ.ศ. 2522 คณะย้ายที่ทำการจากบริเวณถนนพหลโยธิน มาบริเวณใจกลางมหาวิทยาลัยเส้นถนนชูชาติกำภู ประกอบด้วย สโมสรนิสิต อาคารภาควิชาชีววิทยาประมง อาคารภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง เป็นต้น
  • พ.ศ. 2533 คณะได้สร้างอาคารเพิ่มเติม ในบริเวณทิศเหนือของมหาวิทยาลัย เช่น อาคารภาควิชาการจัดการประมง ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล โรงงานต้นแบบแปรรูปสัตว์น้ำ โรงงานต้นแบบอาหารสัตว์น้ำ สโมสรนิสิตคณะประมงเป็นต้น
  • พ.ศ. 2548 ได้ย้ายที่ทำการทั้งหมดมารวมกันที่บริเวณทิศเหนือของมหาวิทยาลัย โดยมีอาคารเอกคือ "อาคารบุญ อินทรัมพรรย์" พร้อมอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษบุญ อินทรัมพรรย์ คณบดีผู้วางรากฐานคณะ และโอนที่ตั้งสโมสรนิสิตคณะประมงเดิมเป็นที่ตั้งอาคารของบัณฑิตวิทยาลัย อาคารชีววิทยาประมงและผลิตภัณฑ์ประมงเดิมเป็นอาคารใหม่ของคณะมนุษยศาสตร์

ทำเนียบคณบดี

แก้
ทำเนียบคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์พิเศษ บุญ อินทรัมพรรย์ พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2505
2. ศาสตราจารย์ โชติ สุวัตถิ พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2509
3. ศาสตราจารย์ จินดา เทียมเมธ พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2513
4. ศาสตราจารย์ เมฆ บุญพราหมณ์ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2526
5. ศาสตราจารย์ ดร.วิทย์ ธารชลานุกิจ พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2534
6. ศาสตราจารย์ สุภาพ มงคลประสิทธิ์ พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ยนต์ มุสิก พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2550
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2558 (ครั้งที่ 1)
9. รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน (ครั้งที่ 2)

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

ภาควิชา

แก้

ปัจจุบันคณะประมง ประกอบด้วย 6 ภาควิชา

ภาควิชาการจัดการประมง

แก้

เป็นภาควิชาที่มุ่งเน้นด้านการบริหารจัดการ การวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนิติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม (Remote Sensing), การจัดการความขัดแย้ง, การจัดการแหล่งน้ำ เป็นต้น

ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชา

  • การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (Aquatic Resources and Environment)
  • นโยบายและการบริหารทรัพยากรสัตว์น้ำ (Fisheries Policy and Administration)
  • เศรษฐศาสตร์การประมง (Fishery Economics)
  • ธุรกิจการประมง (Fishery Businiss)
  • การประมงชุมชน (Fishery Society)
  • สารสนเทศเพื่อการจัดการประมง(Fisheries Information Technology)

ภาควิชาชีววิทยาประมง

แก้

เป็นภาควิชาที่มุ่งเน้นในด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีบทบาทและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต, ระบบนิเวศวิทยา และสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA), ไวรัสวิทยา, มีนวิทยา เป็นต้น

ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชา

  • ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำ (Aquatic biodiversity)
  • นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (Aquatic Ecology and Environments)
  • สรีรวิทยาสัตว์น้ำและพิษวิทยา (Aquatic Animal Physiology and Toxicology)
  • สุขภาพสัตว์น้ำ (Aquatic Animal Health)
  • ชีวประวัติสัตว์น้ำและพลศาสตร์การประมง (Life History of Aquatic Animal and Fishery Dynamics)

ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

แก้

ภาควิชาที่มุ่งเน้นด้านการปรับปรุงพัฒนาพันธุกรรม และการบริหารจัดการฟาร์ม เช่น ระบบการเพาะเลี้ยงแบบหนาแน่น, วิทยาภูมิคุ้มกัน, การวิเคราะห์คุณภาพน้ำและอาหารสัตว์น้ำ เป็นต้น

ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง

แก้

ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง เป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทยที่มีจัดการสอนและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร[6][3][7][8][9]ในระดับอุดมศึกษา มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมการแปรรูป มาตรฐานและการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการบริหารโรงงานอุตสาหกรรม เช่น วิศวกรรมการแช่เยือกแข็ง, โลจิสติกส์, การวิเคราะห์และออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเล เป็นต้น

ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชา

  • เคมีและชีวเคมีของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ (Seafood Chemistry and Biochemistry)
  • จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพทางผลิตภัณฑ์ประมง (Fishery Products Biotechnology)
  • เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (Post-harvest Technology)

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

แก้

เป็นภาควิชาที่มุ่งเน้นในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยี ของการจับสัตว์น้ำในทะเล เช่น ธรณีวิทยาและปิโตรเลียม, การเดินเรือ, แพลงก์ตอนวิทยา (Planktology) เป็นต้น

ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชา

  • นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ (Ecology and Biodiversity)
  • สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (Environment and Oceanography)
  • เทคโนโลยีประมงทะเล (Marine Fisheries and Maritime)
  • เทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล (Marine Biotechnology)

ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมประมง

แก้

เป็นภาควิชาที่มุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายด้านของการประมงเข้าไว้ด้วยกัน โดยจะเน้นการเรียนรู้ผ่าน การสร้างโครงงานวิจัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, การจัดการประมง, ผลิตภัณฑ์ประมง และวิทยาศาสตร์ทางน้ำ เป็นต้น

หลักสูตร

แก้
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาประมง
    • วิชาเอกการจัดการประมง
    • วิชาเอกชีววิทยาประมง
    • วิชาเอกผลิตภัณฑ์ประมง
    • วิชาเอกเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
    • วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทางทะเล

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการประมง
  • สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง
  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมงและเทคโนโลยี (นานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการจัดการประมง
  • สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง
  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมงและเทคโนโลยี (นานาชาติ)

การขยายโอกาสการศึกษา

แก้

คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการเปิดรับนิสิต ณ วิทยาเขตกำแพงแสน [10] ในปีการศึกษา 2554 เป็นรุ่นแรก จำนวน 50 คน ดำเนินการโดยสถานีวิจัยประมงกำแพงแสน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาตามประกาศของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาเขตกำแพงแสนคือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

พื้นที่คณะ

แก้

ส่วนกลาง

แก้
 
เรือวิจัย เกษตรศาสตร์2

ตั้งอยู่ทิศเหนือของวิทยาเขตบางเขน

  • อาคารบุญอินทรัมพรรย์ เป็นที่ทำการ ภาควิชาชีววิทยาประมง ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง สำนักงานคณบดี สำนักงานเลขานุการคณะฯ ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และห้องสมุดสุรีย์วิมลโลหการ
  • อาคารเมฆบุญพราหมณ์ เป็นที่ทำการ ภาควิชาการจัดการประมง ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • อาคารโชติสุวัตถิ เป็นที่ทำการ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประมง
  • อาคารวลัยลักษณ์
  • อาคารสุภาพมงคลประสิทธิ์ เป็นที่ทำการ ห้องปฏิบัติการวิชาพื้นฐาน
  • อาคารทัสนีย์สรสุชาติ เป็นที่ทำการ โรงงานต้นแบบแปรรูปสัตว์น้ำ
  • โรงงานต้นแบบอาหารสัตว์น้ำ
  • อาคารวิทย์ธารชลานุกิจ เป็นที่ทำการ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำ

ส่วนภูมิภาค

แก้

สถานีวิจัย ทำการวิจัย บริการวิชาการ และฝึกงานสำหรับนิสิตของคณะและนักศึกษาของจากสถาบันอื่น

เรือวิจัย

ความสัมพันธ์กับองค์กรนอกมหาวิทยาลัย

แก้

คณะประมง ความสัมพันธ์และหรือ MoU กับองค์กรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ในประเทศ

แก้

หน่วยงาน

แก้

สถาบันการศึกษา

แก้

ต่างประเทศ

แก้

นานาชาติ

แก้
  • Southeast Asian Fisheries Development Center (SEAFDEC)
  • Network of Aquaculture in Asia-Pacific (NACA)

เอเชียบูรพา

แก้
  • Japan International Research Center for Agricultural Sciences (JIRCAS)
  • Tokyo University of Marine Science and Technology, Japan
  • Faculty of Fisheries, Kagoshima University, Japan
  • Faculty of Fisheries Sciences, Graduate School of Fisheries Sciences, Hokkaido University, Japan
  • Faculty of Agriculture, Graduate School of Bioresource and Bioenvironmental Sciences, School of Agriculture,Kyushu University, Japan
  • The College of Environmental and Marine Science and Technology, Pukyong National University, South Korea
  • South China Agriculture University, China
  • The College of Fisheries and Life Science, Shanghai Ocean University, China

เอเชียอาคเนย์

แก้
  • Faculty of Fisheries and Marine Sciences Diponegoro University, Semarang, Indonesia
  • Faculty of Fisheries and Marine Science, Haluoleo University, Anduonohu Kendari, Indonesia
  • Faculty of Agrotechnology and Food Science, Universiti Malaysia Terengganu, Malaysia
  • College of Aquaculture and Fisheries, Can Tho University, Vietnam

โอเชียเนีย

แก้
  • University of the Sunshine Coast, Australia

อเมริกา

แก้
  • Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuaria (EMBRAPA), Brazil

ชีวิตและกิจกรรมในคณะ

แก้
 
กิจกรรมชิงธงมีนกร หนึ่งในกิจกรรมรับน้อง
  • ชื่อเรียกเหล่านิสิตคณะ : มีนกร เป็นชื่อที่ใช้เรียกนิสิตของคณะประมง
  • เพลงคณะ

พวกเราคณะประมง คณะประมง คณะประมง ทุกคนจำนงค์ เจาะจงศึกษาตั้งใจ เพิ่มพูนสัตว์น้ำมีปลา ปูหอยนานาอาหารเมืองไทย วิธีการใด หมายใจมุ่งส่งเสริมพลัน ตรวจตราวารี มีปลามีปู คุ้มครองจ้องรู้คอยดูแลมัน หมายมุ่งสงวนชีวัน ศึกษาเลือกสรรค์ พูนพันธ์ทวี พวกเราคณะประมง เรานี้ดำรงคงสามัคคี วิชาเรามี พร้อมพลี เพื่อชาติสมบูรณ์

  • สัตว์สัญลักษณ์คณะ : ปลากระโทงแทง เป็นปลาที่รวดเร็วที่สุดในโลก และมีลักษณะสง่างาม เปรียบเสมือนนิสิตคณะประมง ได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ เข็ม(หรือ"ติ้ง") หัวเข็มขัด เสื้อ ของนิสิต
  • เข็มคณะ : ด้านหน้าเป็นรูปปลากระโทงแทง อีกด้านโยงด้วยโซ่สมอ มี 3 สี คือ เงิน ทอง และน้ำทะเล

ตัวอย่างสัญลักษณ์มีนกร(ไม่เป็นทางการ)

  • หัวเข็มขัดมีนกร : ทำด้วยวัสดุโลหะขัดมีสีเข้มคล้ายหัวเข็มขัดนิสิตของมหาวิทยาลัย สลักรูปปลากระโทงแทงและอักษร"มีนกร"
  • เสื้อคณะ : มักทำด้วยผ้าหนาและแน่น สีน้ำเงินเข้ม ด้านหลังปักลายปลากระโทงแทงและ/หรือลายสมอ
ไฟล์:นิสิตคณะประมง.jpg
ชีวิตนิสิตคณะประมง

ตัวอย่างกิจกรรมต่างๆที่นิสิตชั้นปีนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ

  • ปี 1 กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมติวหนังสือ กิจกรรมบายเนียร์
  • ปี 2 กิจกรรมออกค่ายประมงอาสาพัฒนาชนบท
  • ปี 3 กิจกรรมออกร้านนิสิตประมงซีฟู้ดในงานสัปดาห์เกษตรแห่งชาติ
  • ปี 4 บริหารกิจกรรมของนิสิตคณะประมงโดยภาพรวมและจัดกิจกรรมต่างๆสำหรับนิสิตปี1

อนาคตหลังจบการศึกษา การทำงานของบัณฑิต

แก้

บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะประมงกว่า2000คน (2535)[13] สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของหน่วยงานราชการ โครงการในพระราชดำริ สถาบันการศึกษา-วิจัย และอุตสาหกรรมต่างๆ และศึกษาต่อ ทั้งด้านประมง และด้านอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหาร การสาธารณสุขแพทย์ เภสัชกรรม สิ่งแวดล้อม อาหาร โลจิสติกส์ ฯลฯ

การจัดการประมง

แก้
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและจัดการทรัพยากรชีวภาพ เช่น ประมงจังหวัด ผู้จัดการเขตของบ. เศรษฐกร นักส่งเสริมการาลงทุน นักการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ฯลฯ
  • หน่วยงาน: กรมประมง, ด่านตรวจสัตว์น้ำ, กรมพัฒนาที่ดิน, CP, ธกส., สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ฯลฯ
  • ศึกษาต่อ: MBA

ชีววิทยาประมง/วิทยาศาสตร์การประมง

แก้
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเทคโนโลชีวภาพ เช่น นักไวรัสวิทยา นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ
  • หน่วยงาน: CP, บ.Siam Oceanworld, บมจ.Thailux enterprise, บ.Fashion Food, กรมประมง ฯลฯ

เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

แก้
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสายพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์และพืชน้ำ เช่น ผู้จัดการฟาร์ม ผู้จัดการโรงงานอาหารสัตว์ นักโภชนาการสัตว์น้ำ สัตวบาล ฯลฯ
  • หน่วยงาน: CP, บ.Asian Feed mills, บ.king power, บ.Aquabizmagazine,บมจ.ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ , กรมประมง, เจ้าของกิจการ ฯลฯ

ผลิตภัณฑ์ประมง

แก้
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประมงและอาหารทะเล เช่น นักวิทยาศาสตร์การอาหาร ผู้จัดการโรงงานอาหาร-ยา นักจุลชีววิทยา นักวิจัยและพัฒนา วางแผนการผลิต sale engineerฯลฯ
  • หน่วยงาน: CP, บมจ.Thai Union(TUF), UFP, บ.ทวีวงษ์อุตสาหกรรมอาหาร, บ.Royal Foods, บ.Sunsweet, บ.Greater Pharma, Hershey Company(USA), สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร(FoSTAT),สถาบันอาหาร, สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง(TFFA), อย., กรมประมง, มกอช, การบินไทย, ธกส. ฯลฯ
  • ศึกษาต่อ: วิทยาศาสตร์การอาหาร, โภชนาการ, วิศวกรรมอุตสาหการ, MBA ฯลฯ

วิทยาศาสตร์ทางทะเล

แก้
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะล เช่น นักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ฯลฯ
  • หน่วยงาน: CP, กรมประมง, Siam Ocean World, บ.Sheico, สถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเล ฯลฯ
  • ศึกษาต่อ: ธรณีวิทยา ฯลฯ

บุคคลสำคัญ

แก้

นิยาย ภาพยนตร์ และสารคดี

แก้

คณะประมงเป็นเนื้อหาในสารคดี และฟิกชั่นในนิยาย ภาพยนตร์ เช่น บุญชู, Final Score 365วันตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ (ติดตามชีวิตของสราวุฒิ ปัญญาธีระ) , ดอกบัวขาว

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
  2. "การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2011-04-19.
  3. 3.0 3.1 "ทศวรรษแรกของมหาวิทยาลัย". มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-14. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  4. "พรบ.ม.เกษตร๒๔๘๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2010-03-12.
  5. "ประวัติความเป็นมา". ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  6. 6.0 6.1 "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัสนี สรสุชาติ". หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-21. สืบค้นเมื่อ 2010-07-03.
  7. "ทศวรรษที่สามของมหาวิทยาลัย". มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-13. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  8. "ประวัติภาควิชา". ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-07. สืบค้นเมื่อ 2010-03-07.
  9. "ประวัติ". ภาควิชาเคมีเทคนิค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-01. สืบค้นเมื่อ 2010-03-07.
  10. http://www.fish.ku.ac.th/pdf/Fisheries%20KPS.pdf
  11. "กำธรเชื่อบ่ายมีคำตอบคอนเทนเนอร์ แสมสาร". บริษัท สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. จำกัด. สืบค้นเมื่อ February 17, 2011.[ลิงก์เสีย]
  12. "ประมง". สุนทราภรณ์ บ้านคนรักสุนทราภรณ์.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-03. สืบค้นเมื่อ 2011-07-11.
  14. "ศ.ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลา...กับข้อคิดการสนทนาที่กินใจ". MAC EDUCATION.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้