ตะวันออกกลาง
พื้นที่ | 7,207,575 ตารางกิโลเมตร (2,782,860 ตารางไมล์) |
---|---|
ประชากร | 371 ล้านคน (2010)[1] |
ประเทศ | รัฐสมาชิกสหประชาชาติ (16) |
ดินแดน | |
ภาษา | 60 ภาษา
|
เขตเวลา | UTC+02:00, UTC+03:00, UTC+03:30, UTC+04:00, UTC+04:30 |
เมืองใหญ่ |
ตะวันออกกลาง (อังกฤษ: Middle east; อาหรับ: الشرق الأوسط, อักษรโรมัน: ash-Sharq al-Awsat) เป็นภูมิภาคทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ประกอบด้วยคาบสมุทรอาหรับ เอเชียน้อย (ตุรกีฝั่งทวีปเอเชีย ยกเว้นจังหวัดฮาทัย), เทรซตะวันออก (ตุรกีฝั่งยุโรป), อียิปต์, อิหร่านกับลิแวนต์ (รวมอัชชามและไซปรัส), เมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก) และหมู่เกาะโซโคตรา (ส่วนหนึ่งของประเทศเยเมน) ศัพท์นี้เริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อแทนที่คำว่าตะวันออกใกล้ (ตรงข้ามกับตะวันออกไกล) ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ตะวันออกกลาง" ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับคำจำกัดความที่เปลี่ยนไป และบางคนมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ[2] หรือมีความเป็นยุโรปเป็นศูนย์กลางเกินไป[3] ภูมิภาคนี้ได้รวมดินแดนส่วนใหญ่รวมอยู่ในคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดของเอเชียตะวันตก (รวมอิหร่าน) แต่ไม่รวมคอเคซัสใต้ และรวมพื้นที่ทั้งหมดของอียิปต์ (ไม่ใช่เพียงภูมิภาคไซนาย) และตุรกี (ไม่ใช่เฉพาะส่วนเทรซตะวันออก)
ประเทศในตะวันออกกลางส่วนใหญ่ (13 จาก 18 ประเทศ) เป็นส่วนหนึ่งของโลกอาหรับ ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคนี้คืออียิปต์ ตุรกี และอิหร่าน ส่วนประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในตะวันออกกลาง ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสืบไปได้ถึงสมัยโบราณ โดยมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับมานับพันปี[4][5][6] ศาสนาหลักบางส่วนมีต้นกำเนิดในภูมิภาคนี้ เช่น ศาสนายูดาห์, คริสต์ และอิสลาม[7] ชาวอาหรับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักในภูมิภาคนี้[8] รองลงมาคือเติร์ก, เปอร์เซีย, เคิร์ด, อาเซอร์ไบจาน, คอปต์, ยิว, อีสซีเรีย, อิรักเชื้อสายเติร์กเมน, ยาซิดี และไซปรัสเชื้อสายกรีก
ตะวันออกกลางโดยทั่วไปมีสภาพภูมิอากาศที่ร้อน แห้งแล้ง โดยเฉพาะในบริเวณคาบสมุทรอาหรับและอียิปต์ แม่น้ำสายหลักที่เป็นชลประทานเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมมีจำกัด เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ในอียิปต์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสในเมโสโปเตเมีย และแอ่งของแม่น้ำจอร์แดนที่กระจายไปทั่วลิแวนต์ส่วนใหญ่ ภูมิภาคเหล่านี้มีชื่อเรียกแบบรวมว่า เขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ และรวมเข้าในสิ่งที่นักประวัติศาสตร์เรียกกันมานานว่าเป็นอู่อารยธรรม (ศัพท์ที่ปัจจุบันใช้ในหลายภูมิภาคของโลก) ในทางตรงกันข้าม ชายฝั่งลิแวนต์และตุรกีส่วนใหญ่มีสภาพภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียนที่ค่อนข้างอบอุ่น ซึ่งมีฤดูร้อนที่ที่แห้งแล้ง และฤดูหนาวที่หนาวเย็นและชื้นแฉะ ประเทศส่วนใหญ่ที่มีชายแดนติดกับอ่าวเปอร์เซียมีปิโตรเลียมสำรองจำนวนมาก โดยที่บรรดาพระมหากษัตริย์ในคาบสมุทรอาหรับได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการส่งออกน้ำมัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งและการพึ่งพาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมาก ทำให้ตะวันออกกลางเป็นทั้งภูมิภาคที่มีส่วนต่อการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างมาก และคาดว่าจะได้รับผลกระทบในทางลบอย่างรุนแรง
ศัพทมูลวิทยา
แก้คำว่า "ตะวันออกกลาง" (Middle East) ในภาษาอังกฤษ น่าจะมีต้นกำเนิดในคริสต์ทศวรรษ 1850 ที่สำนักงานอินเดียของบริติช[9] อย่างไรก็ตาม ศัพท์กลายเป็นรู้จักอย่างแพร่หลายเมื่อนักยุทธศาสตร์ทางเรืออเมริกัน Alfred Thayer Mahan ใช้คำนี้ใน ค.ศ. 1902[10] เพื่อ "กำหนดพื้นที่ระหว่างอาระเบียกับอินเดีย"[11][12] ในช่วงที่จักรวรรดิบริติชและรัสเซียกำลังแย่งชิงอิทธิพลกันในเอเชียกลาง การแข่งขันนี้จะกลายเป็นที่รู้จักในฐานะ เดอะเกรตเกม Mahan ไม่เพียงตระหนักถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังตระหนักถึงอ่าวเปอร์เซีย ศูนย์กลางของบริเวณนี้ด้วย[13][14] เขาระบุพื้นที่รอบอ่าวเปอร์เซียเป็นตะวันออกลาง และกล่าวว่าเป็นหลัง หลังจากคลองสุเอซของอียิปต์ บริเวณนี้เป็นเส้นทางที่สำคัญที่สุดในการควบคุมสำหรับอังกฤษ เพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียรุกคืบเข้ามายังบริติชราช[15]
ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องปกติที่จะอ้างถึงพื้นที่ที่มีศูนย์กลางรอบตุรกีและชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็น "ตะวันออกใกล้" ส่วน "ตะวันออกไกล" มีจุดศูนย์กลางที่จีน[16] จากนั้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ทางอังกฤษได้จัดตั้งกองบัญชาการตะวันออกกลางที่มีศูนย์บัญชาการในไคโรสำหรับกองทัพในภูมิภาคนี้ หลังจากนั้น ศัพท์ "ตะวันออกกลาง" ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรปและสหรัฐ โดยมีการจัดตั้งสถาบันตะวันออกกลางที่วอชิงตัน ดี.ซี. ใน ค.ศ. 1946 และในการใช้อื่น ๆ จำนวนมาก[17]
ในขณะที่ศัพท์ที่ไม่ได้อิงยุโรปเป็นศูนย์กลางอย่าง "เอเชียตะวันตกเฉียงใต้" หรือ "Swasia" มีการใช้งานอย่างประปราย การรวมประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นประเทศในทวีปแอฟริกาไว้ในคำนิยาม ทำให้มีการตั้งคำถามถึงประโยชน์ของการใช้งานคำดังกล่าว[18]
การใช้งานและข้อวิจารณ์
แก้รายละเอียดคำว่า กลาง (Middle) ยังนำไปสู่ความสับสนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคำจำกัดความ โดยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คำว่า "ตะวันออกใกล้" ในภาษาอังกฤษสื่อถึงบอลข่านและจักรวรรดิออตโตมัน ส่วน "ตะวันออกกลาง" สื่อถึงคอเคซัส, เปอร์เซีย และดินแดนอาหรับ[19] และบางครั้งอาจรวมอัฟกานิสถาน, อินเดีย และประเทศอื่น ๆ[20] ในทางตรงกันข้าม ศัพท์ "ตะวันออกไกล" สื่อถึงประเทศในเอเชียตะวันออก (เช่น จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลี)[21][22]
การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมานในปี ค.ศ. 1918 จึงไม่มีการใช้คำว่า "ตะวันออกใกล้" กันอีก ในขณะที่คำว่า "ตะวันออกกลาง" นั้น ก็นำไปใช้หมายถึงประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกอาหรับ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่าตะวันออกใกล้ก็ยังใช้กันอยู่ในหมู่นักวิชาการบางสาขาที่เคร่งครัดหลักการ เช่น ด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์โบราณ ซึ่งยังคงอธิบายพื้นที่ที่ควรระบุเป็นตะวันออกกลางว่าเป็น "ตะวันออกใกล้" ทั้งนี้เนื่องจากนักวิชาการเหล่านั้นจะไม่ใช้คำว่า "ตะวันออกกลาง" ในสาขาวิชาของตน[ต้องการอ้างอิง]
Louay Khraish นักข่าว และ ฮะซัน ฮะนะฟี นักประวัติศาสตร์ วิจารณ์การใช้คำว่า ตะวันออกกลาง ว่าเป็นศัพท์ที่มีความเป็นยุโรปเป็นศุนย์กลางและอาณานิคม[2][3][23]
ถ้อยคำที่คล้ายคลึงกัน
แก้คำที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ยังมีอีก เช่น "เอเชียตะวันตก (West Asia) " ซึ่งเป็นคำจำกัดความของตะวันออกกลางที่ใช้กันอยู่ในอินเดียทั้งในระดับราชการและสื่อต่าง ๆ "โลกอาหรับ (Arab world) " ซึ่งใช้กันในบางเรื่องนั้นก็ไม่รวมถึงประชาชนที่ไม่ใช่เชื้อสายอาหรับที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอาไว้ด้วย และ "ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ (Middle East-North Africa หรือ MENA) " ซึ่งบางครั้งใช้เพื่อรวมเขตพื้นที่จากโมร็อกโกไปจนถึงอิหร่าน ซึ่งเป็นคำที่นักการทูตของกลุ่มจี-8 ใช้ในการกล่าวถึง "ดินแดนตะวันออกกลางที่ยิ่งใหญ่ (Greater Middle East) " ซึ่งรวมประเทศต่าง ๆ ทั้ง ประเทศในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ (Arab League) ซึ่งรวมเอาบรรดาชาติสมาชิกจากแอฟริกาของกลุ่มทั้งหมดไว้ด้วย
ประวัติศาสตร์
แก้ดูเพิ่มเติม: ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง
ตะวันออกกลาง ได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่าง ๆ และอารยะธรรมต่าง ๆ ของโลกเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา และปัจจุบันนี้ก็ยังคงความเป็นภูมิภาคที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดของโลก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีแหล่งสำรองน้ำมันดิบอยู่ใต้ดินจำนวนมหาศาล และยังเป็นแผ่นดินเกิดและศูนย์กลางทางจิตวิญญานของศาสนาสำคัญหลายศาสนา เช่น ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับและอิสราเอลเกิดขึ้นและดำรงอยู่ต่อมายาวนานอีกด้วย
ภูมิศาสตร์
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Population 1971–2010 (pdf เก็บถาวร 6 มกราคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน p. 89) IEA (OECD/ World Bank) (original population ref OECD/ World Bank e.g. in IEA Key World Energy Statistics 2010 p. 57)
- ↑ 2.0 2.1 Khraish, Louay (16 July 2021). "Don't Call Me Middle Eastern". Raseef 22.
- ↑ 3.0 3.1 Hanafi, Hassan (1998). "The Middle East, in whose world? (Primary Reflections)". Oslo: Nordic Society for Middle Eastern Studies (The fourth Nordic conference on Middle Eastern Studies: The Middle East in globalizing world Oslo, 13–16 August 1998). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2006.
- ↑ Cairo, Michael F. The Gulf: The Bush Presidencies and the Middle East เก็บถาวร 22 ธันวาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University Press of Kentucky, 2012 ISBN 978-0-8131-3672-1 p xi.
- ↑ Government Printing Office. History of the Office of the Secretary of Defense: The formative years, 1947–1950 เก็บถาวร 22 ธันวาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ISBN 978-0-16-087640-0 p 177
- ↑ Kahana, Ephraim. Suwaed, Muhammad. Historical Dictionary of Middle Eastern Intelligence เก็บถาวร 23 ธันวาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Scarecrow Press, 13 April 2009 ISBN 978-0-8108-6302-6 p. xxxi.
- ↑ MacQueen, Benjamin (2013). An Introduction to Middle East Politics: Continuity, Change, Conflict and Co-operation. SAGE. p. 5. ISBN 9781446289761.
The Middle East is the cradle of the three monotheistic faiths of Judaism, Christianity and Islam.
- ↑ Shoup, John A. (31 October 2011). Ethnic Groups of Africa and the Middle East: An Encyclopedia. ISBN 978-1-59884-362-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2016. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
- ↑ Beaumont, Blake & Wagstaff 1988, p. 16.
- ↑ Koppes, CR (1976). "Captain Mahan, General Gordon and the origin of the term "Middle East"". Middle East Studies. 12: 95–98. doi:10.1080/00263207608700307.
- ↑ Lewis, Bernard (1965). The Middle East and the West. p. 9.
- ↑ Fromkin, David (1989). A Peace to end all Peace. p. 224. ISBN 978-0-8050-0857-9.
- ↑ Melman, Billie (November 2002), Companion to Travel Writing, Collections Online, vol. 6 The Middle East/Arabia, Cambridge, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2011, สืบค้นเมื่อ 8 January 2006.
- ↑ Palmer, Michael A. Guardians of the Persian Gulf: A History of America's Expanding Role in the Persian Gulf, 1833–1992. New York: The Free Press, 1992. ISBN 0-02-923843-9 pp. 12–13.
- ↑ Laciner, Dr. Sedat. "Is There a Place Called 'the Middle East'? เก็บถาวร 2007-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Journal of Turkish Weekly, 2 June 2006. Retrieved 10 January 2007.
- ↑ Davison, Roderic H. (1960). "Where is the Middle East?". Foreign Affairs. 38 (4): 665–75. doi:10.2307/20029452. JSTOR 20029452. S2CID 157454140.
- ↑ Held, Colbert C. (2000). Middle East Patterns: Places, Peoples, and Politics. Westview Press. p. 7. ISBN 978-0-8133-8221-0.
- ↑ Culcasi, Karen (2010). "Constructing and naturalizing the Middle Easr". Geographical Review. 100 (4): 583–597. doi:10.1111/j.1931-0846.2010.00059.x. JSTOR 25741178. S2CID 154611116.
- ↑ "How the Middle East was invented". The Washington Post.
- ↑ "Where Is the Middle East? | Center for Middle East and Islamic Studies".
- ↑ Clyde, Paul Hibbert, and Burton F. Beers. The Far East: A History of Western Impacts and Eastern Responses, 1830-1975 (1975). online
- ↑ Norman, Henry. The Peoples and Politics of the Far East: Travels and studies in the British, French, Spanish and Portuguese colonies, Siberia, China, Japan, Korea, Siam and Malaya (1904) online
- ↑ Shohat, Ella. "Redrawing American Cartographies of Asia". City University of New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2007. สืบค้นเมื่อ 12 January 2007.
อ่านเพิ่ม
แก้- Adelson, Roger (1995). London and the Invention of the Middle East: Money, Power, and War, 1902–1922. Yale University Press. ISBN 978-0-300-06094-2.
- Anderson, R; Seibert, R; Wagner, J. (2006). Politics and Change in the Middle East (8th ed.). Prentice-Hall.
- Barzilai, Gad; Aharon, Klieman; Gil, Shidlo (1993). The Gulf Crisis and its Global Aftermath. Routledge. ISBN 978-0-415-08002-6.
- Barzilai, Gad (1996). Wars, Internal Conflicts and Political Order. State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-2943-3.
- Beaumont, Peter; Blake, Gerald H; Wagstaff, J. Malcolm (1988). The Middle East: A Geographical Study. David Fulton. ISBN 978-0-470-21040-6.
- Bishku, Michael B. (2015). "Is the South Caucasus Region a Part of the Middle East?". Journal of Third World Studies. 32 (1): 83–102. JSTOR 45178576.
- Cleveland, William L., and Martin Bunton. A History Of The Modern Middle East (6th ed. 2018 4th ed. online
- Cressey, George B. (1960). Crossroads: Land and Life in Southwest Asia. Chicago, IL: J.B. Lippincott Co. xiv, 593 pp. ill. with maps and b&w photos.
- Fischbach, ed. Michael R. Biographical encyclopedia of the modern Middle East and North Africa (Gale Group, 2008).
- Freedman, Robert O. (1991). The Middle East from the Iran-Contra Affair to the Intifada, in series, Contemporary Issues in the Middle East. 1st ed. Syracuse, NY: Syracuse University Press. x, 441 pp. ISBN 0-8156-2502-2 pbk.
- Goldschmidt, Arthur Jr (1999). A Concise History of the Middle East. Westview Press. ISBN 978-0-8133-0471-7.
- Halpern, Manfred. Politics of Social Change: In the Middle East and North Africa (Princeton University Press, 2015).
- Ismael, Jacqueline S., Tareq Y. Ismael, and Glenn Perry. Government and politics of the contemporary Middle East: Continuity and change (Routledge, 2015).
- Lynch, Marc, ed. The Arab Uprisings Explained: New Contentious Politics in the Middle East (Columbia University Press, 2014). p. 352.
- Palmer, Michael A. (1992). Guardians of the Persian Gulf: A History of America's Expanding Role in the Persian Gulf, 1833–1992. New York: The Free Press. ISBN 978-0-02-923843-1.
- Reich, Bernard. Political leaders of the contemporary Middle East and North Africa: a biographical dictionary (Greenwood Publishing Group, 1990).
- Vasiliev, Alexey. Russia’s Middle East Policy: From Lenin to Putin (Routledge, 2018).
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Middle East – Articles by Region" เก็บถาวร 9 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Council on Foreign Relations: "A Resource for Nonpartisan Research and Analysis"
- "Middle East – Interactive Crisis Guide" เก็บถาวร 30 พฤศจิกายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Council on Foreign Relations: "A Resource for Nonpartisan Research and Analysis"
- Middle East Department University of Chicago Library
- Middle East Business Intelligence since 1957: "The leading information source on business in the Middle East" – MEED.com
- Carboun – advocacy for sustainability and environmental conservation in the Middle East
- ตะวันออกกลาง ที่เว็บไซต์ Curlie
- Middle East News from Yahoo! News
- Middle East Business, Financial & Industry News – ArabianBusiness.com