ประเทศแอลจีเรีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย الجمهورية الجزائرية الديمقراطية الشعبية (อาหรับ) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศแอลจีเรีย (เขียวเข้ม) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | แอลเจียร์ 36°42′N 3°13′E / 36.700°N 3.217°E |
ภาษาราชการ | |
ภาษาอื่น ๆ | อาหรับแอลจีเรีย (ภาษากลาง) ฝรั่งเศส[3][a] |
กลุ่มชาติพันธุ์ |
|
ศาสนา |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี |
อับดุลมะญีด ตับบูน | |
นาษีร อัลอัรบาวี | |
ศอเลียะห์ เกาญีล | |
อิบรอฮีม บูฆอลี | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | สภาแห่งชาติ |
• สภาล่าง | สภาแห่งชาติประชาชน |
ก่อตั้ง | |
202 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |
776 | |
972 | |
1015 | |
1236 | |
1516 | |
5 กรกฎาคม ค.ศ. 1830 | |
5 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 2,381,741 ตารางกิโลเมตร (919,595 ตารางไมล์) (อันดับที่ 10) |
1.1 | |
ประชากร | |
• 2021 ประมาณ | 44,700,000[5] (อันดับที่ 32) |
17.7 ต่อตารางกิโลเมตร (45.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 168) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 5.32565 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 43) |
• ต่อหัว | 11,829 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 111) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 1.63512 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 58) |
• ต่อหัว | 3,638 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 130) |
จีนี (2011) | 27.6[7][8] ต่ำ |
เอชดีไอ (2019) | 0.748[9] สูง · อันดับที่ 91 |
สกุลเงิน | ดีนาร์แอลจีเรีย (DZD) |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +213 |
โดเมนบนสุด | .dz الجزائر. |
แอลจีเรีย (อังกฤษ: Algeria; อาหรับ: الجزائر, ออกเสียง: [al.d͡ʒazaːʔir]; ฝรั่งเศส: Algérie) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (อังกฤษ: People's Democratic Republic of Algeria; อาหรับ: الجمهورية الجزائرية الديمقراطية الشعبية; ฝรั่งเศส: République algérienne démocratique et populaire) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีอาณาเขตทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศตูนิเซีย ทางตะวันออกจรดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศไนเจอร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศมาลีและประเทศมอริเตเนีย และทางตะวันตกจรดประเทศโมร็อกโก รวมถึงหลายกิโลเมตรของพื้นที่ที่ยึดครองมาได้บางส่วน คือ เวสเทิร์นสะฮารา แอลจีเรียได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคอัลมัฆริบในแอฟริกาเหนือ มีสภาพภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง โดยประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และทะเลทรายสะฮาราครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทางตอนใต้ ประเทศแอลจีเรียมีพื้นที่ 2,381,741 ตารางกิโลเมตร (919,595 ตารางไมล์), จึงเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลกเและเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา 200 เท่าของประเทศที่เล็กที่สุดในทวีปอย่างแกมเบีย[10] ด้วยจำนวนประชากร 44 ล้านคน แอลจีเรียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 10 ในแอฟริกา และเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 32 ของโลก แอลจีเรียมีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือแอลเจียร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ในศตวรรษของการอพยพของชาวอาหรับไปยังภูมิภาคอัลมัฆริบนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรในแอลจีเรีย และสเปนได้ขยายอาณานิคมซึ่งนำไปสู่การสถาปนาเขตผู้สำเร็จราชการแห่งแอลเจียร์ใน ค.ศ. 1516 ซึ่งเป็นรัฐที่ดูดดึงผู้คนจากทั่วทั้งดินแดนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เมืองหลวงของแอลเจียร์เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุด ร่ำรวยที่สุด และมีความหลากหลายมากที่สุดในโลก ความอ่อนแอในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้ฝรั่งเศสรุกรานใน ค.ศ. 1830 และแอลจีเรียกลายเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1848 และเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปมากกว่าหนึ่งล้านคน ในขณะที่ชาวแอลจีเรียพื้นเมืองยังคงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของดินแดนนี้ โดยคาดว่าประชากรเหล่านี้ลดลงถึงหนึ่งในสามเนื่องจากการสงคราม โรคภัยไข้เจ็บ และความอดอยาก[11] การสังหารหมู่ที่เซติฟและเกลมาใน ค.ศ. 1945 เป็นจุดเปลี่ยนในความสัมพันธ์แอลจีเรีย-ฝรั่งเศส และเป็นจุดชนวนให้เกิดสงครามแอลจีเรียซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการที่แอลจีเรียได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 และการประกาศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนในวันที่ 25 กันยายนในปีเดียวกัน
ภาษาราชการของประเทศแอลจีเรียคือภาษาอาหรับและภาษาทามาไซต์ ประชากรส่วนใหญ่ของแอลจีเรียเป็นชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับแอลจีเรียเป็นภาษาพูดหลัก ภาษาฝรั่งเศสยังเป็นภาษาที่ใช้ในบางบริบท แต่ไม่มีสถานะเป็นทางการ
แอลจีเรียเป็นสาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี โดยมีเขตเลือกตั้งท้องถิ่นประกอบด้วย 58 จังหวัด ซึ่งเรียกเป็นภาษาในท้องถิ่นว่า วิลายะฮ์ แอลจีเรียเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคในแอฟริกาเหนือ และเป็นประเทศที่มีอำนาจปานกลางในกิจการระดับโลก มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปแอฟริกาทั้งหมด และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในทวีป โดยอิงจากการส่งออกพลังงานเป็นส่วนใหญ่ แอลจีเรียมีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก และมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับที่ 9 โซนาทราช ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของชาติ เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา โดยเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติจำนวนมากไปยังยุโรป กองทัพของแอลจีเรียเป็นหนึ่งในกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา และมีงบประมาณทางทหารที่มากที่สุดในทวีป แอลจีเรียเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา สันนิบาตอาหรับ องค์การความร่วมมืออิสลาม โอเปก สหประชาชาติ และสหภาพอาหรับอัลมัฆริบซึ่งแอลจีเรียเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง
ประวัติศาสตร์
แก้กลุ่มชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกคือชาวเบอร์เบอร์ จากนั้นจึงมีชาวฟินิเชีย ชาวโรมันและชาวอาหรับเข้ามา ต่อมา แอลจีเรียอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันในช่วง พ.ศ. 2061 - 2373 จากนั้นจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส แม้จะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมฝรั่งเศสมาก แต่ชาวอาหรับในแอลจีเรียคงทำสงครามแบบกองโจรต่อต้านฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง จนฝรั่งเศสยอมถอนตัวจากแอลจีเรีย โดยแอลจีเรียได้รับเอกราชเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 อาห์เม็ด เบลล์ เบลลา เป็นผู้นำในช่วง พ.ศ. 2505 - 2508 จากนั้นถูกคณะทหารปฏิวัติ พ.ศ. 2510 แอลจีเรียประกาศสงครามกับอิสราเอล และหันไปผูกมิตรกับสหภาพโซเวียตปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นเหตุให้ประชาชนก่อการจลาจลเมื่อ พ.ศ. 2531 รัฐบาลปราบปรามด้วยความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตไป 500 คน พ.ศ. 2532 แอลจีเรียประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2562 เกิดการประท้วงประธานาธิบดีวัย 82 ปี ครั้งใหญ่ มีผู้เสียชีวิตรายเดียวจากโรคหัวใจล้มเหลว
ประชากร
แก้ปี | ประชากร | ±% p.a. |
---|---|---|
1856 | 2,496 | — |
1872 | 2,416 | −0.20% |
1886 | 3,752 | +3.19% |
1906 | 4,721 | +1.16% |
1926 | 5,444 | +0.72% |
1931 | 5,902 | +1.63% |
1936 | 6,510 | +1.98% |
1948 | 7,787 | +1.50% |
1954 | 8,615 | +1.70% |
1966 | 12,022 | +2.82% |
1977 | 16,948 | +3.17% |
1987 | 23,051 | +3.12% |
1998 | 29,113 | +2.15% |
2008 | 34,080 | +1.59% |
2013 | 37,900 | +2.15% |
ที่มา: (1856–1872)[12] (1886–2008)[13] |
ประชากรส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาอาหรับ ชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ชาวเบอร์เบอร์ ภาษาในประเทศแอลจีเรีย มีภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการ ภาษาอื่นได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเบอร์เบอร์ ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจำชาติ มีศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ในสัดส่วนน้อย
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในแอลจีเรีย
ONS estimates for 2008 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อันดับ | ชื่อ | จังหวัด | ประชากร | ||||||
แอลเจียร์ ออราน |
1 | แอลเจียร์ | จังหวัดแอลเจียร์ | 4,988,145 | กงส์ต็องตีน เซติฟ | ||||
2 | ออราน | จังหวัดออราน | 1,224,540 | ||||||
3 | กงส์ต็องตีน | จังหวัดกงส์ต็องตีน | 943,112 | ||||||
4 | เซติฟ | จังหวัดเซติฟ | 609,499 | ||||||
5 | อันนาบา | จังหวัดอันนาบา | 317,206 | ||||||
6 | บลีดา | จังหวัดบลีดา | 264,598 | ||||||
7 | บัตนา | จังหวัดบัตนา | 246,379 | ||||||
8 | เคลฟ | จังหวัดเคลฟ | 235,062 | ||||||
9 | ตแลมแซน | จังหวัดตแลมแซน | 221,231 | ||||||
10 | ซิดิเบลเอบเบส | จังหวัดซิดิเบลเอบเบส | 208,498 |
หมายเหตุ
แก้- ↑ ภาษาฝรั่งเศสแม้ว่ายังไมเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่ยังคงเป็นภาษาทั่วไปที่ประชากรส่วนใหญ่เข้าใจ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Constitution of Algeria, Art. 11". El-mouradia.dz. language: France and Arabic (government language); people of Algeria speak Arabic and Berber. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2012. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
- ↑ "Constitution of Algeria; Art. 11". Apn-dz.org. 28 November 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2013. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "The World Factbook – Africa – Algeria". CIA. สืบค้นเมื่อ 20 Mar 2021.
- ↑ "Algeria reinstates term limit and recognises Berber language". BBC News. 2016-02-07.
- ↑ "Démographie" [Demography] (PDF). Office National des Statistiques (ภาษาฝรั่งเศส). 18 May 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2020. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "World Economic Outlook Database". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 22 October 2021.
- ↑ "Distribution of Family Income – Gini Index". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2007. สืบค้นเมื่อ 1 September 2009.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "GINI index (World Bank estimate)". data.worldbank.org. World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2018. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Africa: largest countries by area 2020". Statista (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 February 2022.
- ↑ "Algeria – Colonial rule". Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Kamel Kateb (2001). Européens, "indigènes" et juifs en Algérie (1830–1962). INED. p. 30. ISBN 978-2-7332-0145-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
- ↑ "Armature Urbaine" (PDF). V° Recensement Général de la Population et de l'Habitat – 2008. Office National des Statistiques. September 2011. p. 82. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 September 2013.
บรรณานุกรม
แก้- Ageron, Charles-Robert (1991). Modern Algeria – A History from 1830 to the Present. Translated from French and edited by Michael Brett. London: Hurst. ISBN 978-0-86543-266-6.
- Aghrout, Ahmed; Bougherira, Redha M. (2004). Algeria in Transition – Reforms and Development Prospects. Routledge. ISBN 978-0-415-34848-5.
- Bennoune, Mahfoud (1988). The Making of Contemporary Algeria – Colonial Upheavals and Post-Independence Development, 1830–1987. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-30150-3.
- Fanon, Frantz (1966; 2005 paperback). The Wretched of the Earth. Grove Press. ASIN B0007FW4AW, ISBN 978-0-8021-4132-3.
- Horne, Alistair (1977). A Savage War of Peace: Algeria 1954–1962. Viking Adult. ISBN 978-0-670-61964-1, ISBN 978-1-59017-218-6 (2006 reprint)
- Laouisset, Djamel (2009). A Retrospective Study of the Algerian Iron and Steel Industry. New York City: Nova Publishers. ISBN 978-1-61761-190-2.
- Roberts, Hugh (2003). The Battlefield – Algeria, 1988–2002. Studies in a Broken Polity. London: Verso Books. ISBN 978-1-85984-684-1.
- Ruedy, John (1992). Modern Algeria – The Origins and Development of a Nation. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34998-9.
- Stora, Benjamin (2001). Algeria, 1830–2000 – A Short History. Ithaca, New York: Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-3715-1.
- Sidaoui, Riadh (2009). "Islamic Politics and the Military – Algeria 1962–2008". Religion and Politics – Islam and Muslim Civilisation. Farnham: Ashgate Publishing. ISBN 0-7546-7418-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- People's Democratic Republic of Algeria Official government website (ในภาษาอาหรับและฝรั่งเศส)
- Portal of the First Ministry เก็บถาวร 2015-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Portal of the First Ministry (ในภาษาอาหรับและฝรั่งเศส)
- Algeria. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ประเทศแอลจีเรีย แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- ประเทศแอลจีเรีย ที่เว็บไซต์ Curlie
- Algeria profile from the BBC News
- Algeria Atlas Map (PDF) (Map). United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR). April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 December 2016. สืบค้นเมื่อ 9 December 2016.
- ency education เก็บถาวร 2020-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ency education (ในภาษาอาหรับ)
- Wikimedia Atlas of Algeria
- Key Development Forecasts for Algeria from International Futures
- EU Neighbourhood Info Centre: Algeria