ปืนกลมือ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ปืนกลมือ หรือ ปกม. (อังกฤษ: Submachine Gun, SMG) เป็นอาวุธปืนประเภทคาร์บินแบบอัตโนมัติที่ถูกบรรจุด้วยตลับกระสุนหรือแม็กกาซีน ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้ยิงด้วยกระสุนปืนพก คำว่า "ปืนกลมือ" เป็นการประกาศเกียรติคุณโดย จอห์น ที ทอมป์สัน ผู้ประดิษฐ์ปืนกลมือทอมป์สัน[1] เพื่ออธิบายถึงแนวคิดการออกแบบว่าเป็นอาวุธปืนแบบอัตโนมัติที่มีอำนาจการยิงน้อยกว่าปืนกล (ดังนั้นจึงมีคำนำหน้าว่า "sub") ในขณะที่ปืนกลจะต้องยิงด้วยกระสุนปืนไรเฟิลเพื่อจัดประเภทเช่นนี้ ปืนกลมือจึงยังไม่ถือว่าเป็นปืนกล
ปืนกลมือนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914-1918) ซึ่งเป็นอาวุธประเภทการรุกในระยะประชิด ส่วนใหญ่สำหรับการโจมตีในสนามเพลาะ เมื่อถึงจุดสูงสุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) ปืนกลมือจำนวนนับล้านกระบอก ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานโดยกองกำลังทหารประจำการ หน่วยทหารคอมมานโดลับ และพลพรรค ภายหลังสงคราม การออกแบบปืนกลมือแบบใหม่ก็ได้ปรากฏขึ้นบ่อยครั้ง[2] อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี ค.ศ. 1980 การใช้งานปืนกลมือก็ได้ลดลง[3] ปัจจุบัน, ปืนกลมือก็ได้ถูกแทนที่ด้วยปืนไรเฟิลจู่โจมเป็นส่วนใหญ่[4] ซึ่งมีระยะการทำงานที่ยาวนานกว่าและมีความสามารถในการเจาะทะลุหมวกเหล็กและชุดเกราะที่ถูกใช้งานโดยทหารราบสมัยใหม่[5] อย่างไรก็ตาม ปืนกลมือยังคงมีการใช้งานโดยกองกำลังทหารหน่วยรบพิเศษและทีมหน่วยสวาตของตำรวจสำหรับการสู้รบในระยะประชิด(CQB Full:Close-quarters combat) เนื่องจากพวกเขาได้ถือว่า"เป็นอาวุธปืนขนาดลำกล้องปืนพกที่ควบคุมได้ง่ายและมีโอกาสน้อยที่จะเจาะทะลุเป้าหมาย และทำลายศัตรูระยะใกล้ได้ดี"[6]
ข้อดี
แก้ปืนกลมือนั้นเหมือนปืนลูกซอง มันเหมาะสำหรับการต่อสู้ระยะใกล้หรือประชิดในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมือง ซึ่งเป็นที่ที่ระยะยิงและความแม่นยำของอาวุธสำคัญน้อยกว่าความสามารถในการโจมตีใส่เป้าหมายได้หลายครั้ง กระสุนปืนพกเหมาะสำหรับการปะทะในเมือง ตั้งแต่ที่มันมีการเจาะทะลุที่ดีและยิงถูกเป้าหมายที่ไม่ได้ตั้งใจน้อยกว่ากระสุนของไรเฟิล
ข้อด้อย
แก้ในทางกลับกัน ปืนกลมือนั้นไม่ทรงประสิทธิภาพกับเกราะ ซึ่งในทางทหารยุคใหม่นั้นจะมีเกราะป้องกันร่าง
กายกันหมด ปืนกลมือไม่ค่อยมีพลังทำลายในระยะไกลและความแม่นยำที่น้อยกว่าในระยะไกลหรือกลางเมื่อเทียบกับปืนไรเฟิล ทำให้มันมีข้อจำกัดในการใช้ในที่โล่ง
ประวัติศาสตร์
แก้ในช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษ 20 มีการทดลองเปลี่ยนปืนพกจากกึ่งอัตโนมัติให้เป็นอัตโนมัติเต็มรูปแบบ กระสุนของปืนพกก็ถูกพัฒนาไปในเวลาเดียวกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอิตาลี, เยอรมนี, และสหรัฐอเมริกา
พวกมันเริ่มเป็นที่นิยมในคริสต์ทศวรรษ 1920 และ 1930 ในฐานะอาวุธในตัวเลือกของทั้งเหล่าอาชญากรและตำรวจในอเมริกา ด้วยชื่อเสียงอันโด่งดังของปืนกลมือทอมป์สัน มันมักถูกเรียกว่า"ทอมมี่กัน" (Tommy Gun) ปืนกลมือเริ่มเป็นที่สะดุดตาด้วยการเป็นอาวุธรบในแนวหน้าในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันปืนกลมือถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยตำรวจ หน่วยสวาท คอมมานโดทางทหาร และหน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้าย[7]ในหลายๆ สถานการณ์
คริสต์ทศวรรษ 19 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1920
แก้อาวุธอัตโนมัติแบบแรกที่ใช้กระสุนของปืนพกคือปืนกลแม็กซิมรุ่นที่ลดขนาดลงมา มันถูกใช้เพื่อสาธิตในการตลาดในคริสต์ทศวรรษ 19 ช่วงแรกของปืนกลมือมีเอกลักษณ์เป็นชิ้นส่วนของเหล็ก โดยมีแร่งอยู่ท้ายลำกล้อง ปืนกลมือปรากฏตัวในช่วงหลังของสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกที่เห็นมันทำหน้าที่คือในสงครามสนามเพลาะ ที่ที่ซึ่งระเบิดมือ ปืนพก และดาบปลายปืนมักถูกใช้งาน
ชาวอิตาเลี่ยนได้พัฒนาวิลลาร์ เพอร์โซซาในปีพ.ศ. 2458 มันถูกพิจารณาว่าเป็นปืนกลมืออันแรก เนื่องจากมันยิงกระสุนของปืนพก (9 ม.ม.กลิเซนติ) เดิมทีถูกพัฒนาให้เป็นปืนกลสำหรับอากาศยาน บางครั้งก็ถูกใช้โดยทหารราบ ทั้งสองสำหรับการจู่โจมในระยะใกล้และใช้เป็นปืนกลขนาดเบา การออกแบบของมันในท้ายสุดก็ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นปืนกลมือเบเร็ตต้า เอ็ม1918
อย่างไรก็ตาม ปืนกลมือเบิร์กมันน์ เอ็มพี18 เป็นปืนกลมือแบบแรกที่แท้จริงโดยเปรียบเทียบจากวันที่ทำต้นแบบของเบิรกมันน์กับวันที่เบเร็ตต้าเข้าประจำการ ขณะที่เบเร็ตต้า 1918 กลายเป็นแบบพื้นฐานในไม่กี่เดือนก่อนเบิร์กมันน์ เอ็มพี18 ในปีพ.ศ. 2461 เบิร์กมันน์ถูกทดสอบในแบบต้นแบบในช่วงต้นปีพ.ศ. 2459 โครงการปืนกลมือทอมป์สัเริ่มขึ้นในสมัยเดียวกัน วันและการประสบความสำเร็จที่แตกต่างกันมากมายของปืนกลมือรุ่นแรกๆ ทำให้เกิดการโต้เถียงมากมายในหมู่นักประวัติศาตร์ด้านอาวุธปืน ซึ่งบสรุปก็มีผลมาจากเชื้อชาติและการตีความของพวกเขา
เบเร็ตต้า เอ็ม1918 มีพานท้ายที่ทำจากไม้ แมกกาซีนแบบกล่องบรรจุกระสุน 25 นัด และมีอัตราการยิงอยู่ที่ 900 นัดต่อนาที เยอรมันได้ใช้รุ่นที่หนักกว่าของปืนพกลูเกอร์ ติดตั้งด้วยแมกกาซีนที่ขนาดใหญ่ขึ้น ลแลำกล้องที่ยาวกว่าเดิม; มันเป็นกึ่งอัตโนมัติ มันทรงประสิทธิภาพกับเบิร์กมันน์ ซึ่ง 1918 ได้พัฒนาเอ็มพี18 เอ็มพี18 ใช้กระสุนน 9 ม.ม.แบบพาราเบลลัม โดยเป็นแมกกาซีนแบบก้นหอย เอ็มพี18ถูกใช้โดยกองทหารจู่โจมของเยอรมัน พร้อมกับยุทธวิธีที่ดี ทำให้ประสบชัยชนะที่มีชื่อเสียงในปีสุดท้ายของสงคราม อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่เพียงพอต่อการป้องกันเยอรมันจากการพ่ายแพ้ในเดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ. 1918
ปืนกลมือทอมป์สันได้อยู่ในการพัฒนาในช่วงใกล้เคียงกับเบิร์กมันน์และเบเร็ตต้า แต่การพัฒนานั้นก็ถูกพักในปีพ.ศ. 2460 เมื่อสหรัฐฯและนักออกแบบอาวุธ (ทอมป์สัน) ได้เข้าสู่สงคราม การออกแบบสมบูรณ์ในภายหลังและใช้ระบบภายในที่ต่างจากเอ็มพี18 หรือเบเร็ตต้า แต่มันก็พลาดโอกาสในการเป็นปืลกลมือที่ถูกออกแบบโดยเฉพาะกระบอกแรก แต่มันก็กลายเป็นอาวุธพื้นฐานและมีการใช้งานที่ยาวนานกว่าอีกสองแบบ
คริสต์ทศวรรษ 1920 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1950
แก้ในปีระหว่างสงคราม ปืนกลมือกลายมาเป็นที่โด่งดังในหมุ่เหล่าอาชญากร อย่าง เจมส์ แคกนี่ที่มักใช้ปืนกลมือทอมป์สันแบบแมกกาซีนกลม ทำให้ทางทหารหลีกเลี่ยงการใช้ปืนนี้ มันยังถูกใช้โดยตำรวจ แต่อาชญากรหลายคนชอบใช้เอ็ม1918 บราวน์นิ่งออโตเมติกไรเฟิล ถึงกระนั้นปืนกลมือก็เป็นที่ชื่นชอบในทางทหารมากมาย ด้วยการที่หลายประเทศเริ่มออกแบบของพวกเขา โดยเฉพาะในคริสต์ทศวรรษ 1930
ในสหภาพโซเวียต พีพีดี-40 และ พีพีดี34/38 ได้ถูกพัฒนาขึ้น ในฝรั่งเศส แอมอาแอ็สได้ถูกพัฒนาให้เป็น แอมอาแอ็ส-38 ในเยอรมนีได้มีการพัฒนาบางส่วนของเอ็มเพ 18 ชื่อว่าเอ็มพี28/2 และเอ็มพี34 นอกจากนั้น นาซีเยอรมันได้ปรับแต่งเอ็มพี38 มันไม่ใช้ไม้และมีพานท้ายแบบโลหะที่พับได้ อิตาลีได้พัฒนาไปไกลกว่านั้น ด้วยจำนวนของการออกแบบที่มาก ด้วยการมีราคาที่ต่ำ คุณภาพหรือน้ำหนัก
ในช่วงการบุกโปแลนด์ของนาซีเยอรมันในปีพ.ศ. 2482 การผลิตเอ็มเพ 38 เพิ่งเริ่มขึ้นและมีแค่ไม่กี่พันกระบอกที่เข้าประจำการ แต่มันพิสูจน์ถึงการใช้อย่างแพร่หลายในเมือง จากนั้น รุ่นที่ปลอดภัยกว่าและถูกกว่าได้กำเนิดขึ้น เอ็มเพ 40 มีเอ็มเพ 40 เป็นล้านกระบอกถูกผลิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 การออกแบบของเอ็มพี40 นั้นใช้เหล็กแบบอะลูมิเนียม แต่มันก็มีน้ำหนักเบาแม้ว่าจะไม่ทนทาน เนื่องมาจากมันลดชิ้นส่วนที่หนักของเอ็มเพ 38
อิตาลีได้พัฒนาเบเร็ตต้า โมเดล 38 ซึ่งเป็นปืนกลมือที่ถูกใช้โดยกองทัพบกอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
อังกฤษได้พัฒนาปืนกลมือแลนเชสเตอร์ มีพื้นฐานมาจากเอ็มพี28/2 แต่เนื่องด้วยอัตราการผลิตที่ต่ำและราคาที่แพงทำให้นำไปสู่การสร้างปืนที่ง่ายกว่า, ถูกกว่าและรวดเร็วกว่า ปืนกลมือสเตน ปืนสเตนนั้นถูกมากในช่วงจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมันเริ่มผลิตรุ่นเลียนแบบของพวกเขาเอง อังกฤษยังใช้เอ็ม1928 ทอมป์สัน และรวมทั้งเอ็ม1 ที่พัฒนาแล้วอีกมากมาย หลังจากสงคราม สเตนถูกแทนที่ด้วยปืนกลมือสเตอร์ลิ่ง
อเมริกาและพันธมิตรได้ใช้ปืนกลมือทอมป์สัน โดยเฉพาะเอ็ม1ซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับแมกกาซีนแบบกลม เนื่องจากทอมป์สันยังมีราคาแพงในการผลิต ปืนกลมือ เอ็ม3 จึงถูกสร้างขึ้นมาในปีพ.ศ. 2485 ตามมาด้วยการพัฒนาเอ็ม3เอ1ในปีพ.ศ. 2484 เอ็ม3นั้นไม่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเลย แต่มันถูกสร้างขึ้นด้วยเหล็กราคาถูก ทำให้มันสามารถสร้างได้มากกว่า มันสามารถยิงได้กระสุนแบบ.45 เอพีซี ซึ่งทอมป์สันและปืนพกโคลท์ เอ็ม1911ใช้ยิง หรือประสุนแบบ 9 ม.ม.ลูเกอร์ ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ มันเป็นหนึ่งในปืนกลมือที่ประจำการยาวนานที่สุดในสงคราม ถูกผลิตจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 และประจำการอยู่ในกองทัพของสหรัฐฯจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1980
ญี่ปุ่นได้พัฒนาปืนกลมือไทป์ 100 โดยเริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1942 ซึ่งไทป์ 100 มีสลักใต้ปากกระบอกปืนเพื่อใช้สำหรับติดตั้งดาบปลายปืน
ฟินแลนด์ได้พัฒนาปืนกลมือ เอ็ม/31 ก่อนจะถึงสงครามฤดูหนาว ซึ่งมันถูกใช้มากมาย อาวุธนี้ใช้กระสุนแบบ 9 ม.ม.พาราเบลลัม ตั้งแต่แมกกาซีนแบบกลมด้วยความจุ 70 นัด (แม้ว่าบ่อยครั้งที่จะใช้จุมากถึง 74 นัด) แม้ว่าอเมริกาจะใช้แมกกาซีนแบบแท่งกับทอมป์สัน และชาวรัซเซียขนแมกกาซีนแบบกลมไม่มากนัก (ปกติมักจะแค่หนึ่ง และที่เหลือก็จะเป็นแบบแท่ง) ปืนกลมือของฟินแลนด์มักใช้แมกกาซีนแบบกลมมากกว่า และมีโอกาสขัดลำกล้องน้อยกว่าแบบแท่ง อาวุธนี้ถูกใช้จนกระทั่งจบสงครามแลปแลนด์ และในช่วงสงครามสงบในคริสต์ทศวรรษ 1990
เมื่อจบสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้เก็บปืนกลมือไว้มากมาย อย่างพีพีชา-41 ซึ่งทหารราบทั้งกองพันสามารถอาจแทบไม่มีอาวุธชนิดอื่นเลย กองทหารของเยอรมันได้ตั้งกองทหารที่รับผิดชอบเรื่องปืนกลมือ การค้นพบเริ่มขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอัตราการยิงที่สูงเป็นประสิทธิภาพที่ดี แต่เพราะว่าความแม่นยำที่น้อย มันจึงส่งผลให้เกิดการพัฒนาปืนเล็กยาวจู่โจมขึ้นมา
คริสต์ทศวรรษ 1950 ถึงปัจจุบัน
แก้ปืนกลมือได้มีการพัฒนาตนเองในเรื่องการลดการหยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิงในกรณีที่ซึ่งอาวุธบรรจุด้วยกระสุนที่มีความเร็วต่ำกว่าเสียง แบบมากมายของสเตนและเฮคเลอร์แอนด์คอช เอ็มพี5รุ่นใหม่ได้ถูกผลิตด้วยตัวหยุดแบบสมบูรณ์ และอาวุธแบบนี้มักถูกใช้โดยหน่วยรบพิเศษและตำรวจ หลังจากสงครามเกาหลีจบลง บทบาทของปืนกลมือในกองทัพก็ลดลงไปด้วย ทั้งปืนกลมือและปืนเล็กยาวถูกแทนที่โดยปืนเล็กยาวจู่โจมแบบใหม่ อย่างซีเออาร์-15 และเฮคเลอร์แอนด์คอช เอชเค53 ปืนกลมือถูกใช้โดยหน่วยรบพิเศษและหน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้ายที่ปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมืองหรือในบริเวณที่คับแคบ และเป็นอาวุธป้องกันตัวของลูกเรือในเครื่องบิน พลประจำยานเกราะ และทหารเรือ แม้ว่าปืนกลมือมีความกระชับสำหรับผู้ใช้ แต่มันก็ยังต้องแข่งขันกับปืนคาร์บินและปืนเล็กยาวจู่โจมที่มีความยาวสั้น อำนาจของปืนกลมือในการรักษากฎหมายได้ถูกลดลงโดยการพัฒนาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ปัจจัยอย่างการใช้ประโยชน์ที่มากของปืนเล็กยาวจู่โจมและคาร์บิน และการใช้ที่เพิ่มขึ้นของเกราะลำตัวได้ผสมผสานกันจนถึงขีดสุดของปืนกลมือ ปืนเล็กยาวจู่โจมและคาร์บินได้เข้ามาแทนที่ปืนกลมือในบางบทบาท อย่างไรก็ตาม ปืนเล็กยาวจู่โจมก็ไม่ได้แทนที่อย่างสมบูรณ์ เพราะน้ำหนักของมัน มันยังมีปากกระบอกที่ใหญ่กว่า แรงถีบที่มากกว่าและดูเหมือนว่าการทะลุทะลวงของมันจะมากเกินไป เนื่องจากกระสุนของมัน
ผู้ที่จะมาแทนที่ปืนกลมือก็ยังมีอาวุธป้องกันบุคคลหรือพีดีดับบลิว (Personal Defense Weapon, PDW) และปืนที่คล้ายปืนพกกลซึ่งยิงกระสุนแบบเจาะเกราะ พีดีดับบลิวทำงานคล้ายปืนกลมือและมักถูกจำแนกว่าเป็นอย่างเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กระสุนแบบพิเศษของอาวุธป้องกันตัวนั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้กับปืนพกและปืนเล็กยาวแบบทั่วไป และมันมีประสิทธิภาพน้อยกว่ากระสุนของปืนเล็กยาวเมื่อเจอกับเป้าหมายที่ไม่ได้หุ้มเกราะ แนวทางของปืนกลมือยุคใหม่นั้นจะมีน้ำหนักเบาขึ้น เป็นอาวุธที่มีขนาดเล็กและอาจใช้พลาสติก
ประเภทของปืนกลมือ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "The Thompson submachine gun: shooting a 20th century icon. - Free Online Library".
- ↑ Military Small Arms Of The 20th Century. Ian Hogg & John Weeks. Krause Publications. 2000. p93
- ↑ Military Small Arms Of The 20th Century. Ian Hogg & John Weeks. Krause Publications. 2000. p93
- ↑ Military Small Arms Of The 20th Century. Ian Hogg & John Weeks. Krause Publications. 2000. p93
- ↑ David Crane (December 11, 2011). Submachine Guns (SMG’s): Outpaced by Today’s Modern Short-Barreled Rifles (SBR’s)/Sub-Carbines, or Still a Viable Tool for Close Quarters Battle/Close Quarters Combat (CQB/CQC)? Defense Review.
- ↑ David Crane (December 11, 2011). Submachine Guns (SMG’s): Outpaced by Today’s Modern Short-Barreled Rifles (SBR’s)/Sub-Carbines, or Still a Viable Tool for Close Quarters Battle/Close Quarters Combat (CQB/CQC)? Defense Review.
- ↑ "saf.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-21. สืบค้นเมื่อ 2009-04-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ปืนกลมือ เก็บถาวร 2009-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนใน guns.ru
- ปืนกลมือใน Encyclopedia Britannica