Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                

มหาศาลาประชาชน

สถานที่ประชุมสภานิติบัญญัติในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

มหาศาลาประชาชน (จีน: 人民大会堂; พินอิน: Rénmín Dàhuìtáng) เป็นอาคารรัฐบาลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง ใช้สำหรับการดำเนินกิจกรรมทางนิติบัญญัติและพิธีการต่าง ๆ ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาศาลาประชาชนทำหน้าที่เป็นสถานที่ประชุมสำหรับการประชุมเต็มคณะของสภาประชาชนแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นในเดือนมีนาคมของทุกปี พร้อมกับการประชุมระดับชาติของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาทางการเมือง นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งจัดขึ้นทุกห้าปีนับตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 12 ในปี ค.ศ. 1982 และคณะกรรมาธิการกลางของพรรคซึ่งประชุมประมาณปีละครั้ง

มหาศาลาประชาชน
人民大会堂
มหาศาลาประชาชน หันหน้าไปทางอนุสาวรีย์วีรชน
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ที่ตั้งถนนเหรินต้าฮุ่ยถางตะวันตก
จัตุรัสเทียนอันเหมิน,
เขตซีเฉิง, กรุงปักกิ่ง
ประเทศ จีน
พิกัด39°54′12″N 116°23′15″E / 39.90333°N 116.38750°E / 39.90333; 116.38750
เปิดใช้งานกันยายน ค.ศ. 1959 (1959-09); 65 ปีก่อน
มหาศาลาประชาชน
หอประชุมหมื่นคน
อักษรจีนตัวย่อ人民大会堂
อักษรจีนตัวเต็ม人民大會堂
ความหมายตามตัวอักษรห้องประชุมใหญ่ของประชาชน

ห้องประชุมยังถูกใช้สำหรับกิจกรรมพิเศษหลายอย่าง รวมถึงการประชุมระดับชาติขององค์กรทางสังคมและการเมืองต่าง ๆ การฉลองครบรอบสำคัญ และพิธีไว้อาลัยสำหรับผู้นำคนก่อน ๆ มหาศาลาประชาชนยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในเมืองหลวง และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนกรุงปักกิ่ง[1][2]

ประวัติ

แก้

หลังจากแผนห้าปีฉบับแรกของจีนเสร็จสิ้นก่อนกำหนดในปี ค.ศ. 1959 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเริ่มพิจารณาเกี่ยวกับการสร้างหอประชุมขนาดใหญ่ขึ้นในกรุงปักกิ่ง ในที่ประชุมเป่ย์ไต้เหอในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1958 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตัดสินใจสร้างโครงการสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่หลายแห่งในปักกิ่ง รวมถึงหอประชุมใหญ่หมื่นคน และขอให้ใช้งานได้ภายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1959 ก่อนครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยระยะเวลาอันจำกัดในการก่อสร้างเพียงหนึ่งปีกับอีกหนึ่งเดือน ทำให้การก่อสร้างต้องดำเนินไปอย่างเร่งรีบ[3]

ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1958 ว่าน หลี่ รองนายกเทศมนตรีกรุงปักกิ่งได้รายงานต่อรัฐบาลกลางเกี่ยวกับการเตรียมงานฉลองครบรอบ 10 ปี[4] กรุงปักกิ่งได้จัดตั้งคณะทำงานออกแบบโครงการวันชาติขึ้น โดยมีเฟิง เพ่ย์จื้อ เป็นหัวหน้าคณะ[5] และจาง ปั๋ว เป็นหัวหน้าสถาปนิกของกลุ่มออกแบบหอประชุม ในเวลาอันสั้นก็ได้คัดเลือกการออกแบบหอประชุมจาก 8 โครงการ และได้รวบรวมความคิดเห็นจากมหาวิทยาลัยชิงหฺวา สถาบันออกแบบและวางผังเมืองเทศบาลกรุงปักกิ่ง และสำนักการวางผังเมืองเทศบาลกรุงปักกิ่ง เพื่อร่างแผนงานโดยรวมขึ้นตามลำดับ ในช่วงต้นเดือนกันยายน ค.ศ. 1958 สำนักการวางผังเมืองฯ ได้ตัดสินใจว่าหอประชุมใหญ่หมื่นคนและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การปฏิวัติจะตั้งอยู่สองข้างของจัตุรัสเทียนอันเหมิน[6][7]

 
มหาศาลาประชาชนระหว่างการก่อสร้างในปี ค.ศ 1959

ในตอนเช้าของวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1959 เหมา เจ๋อตง ประธานคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้มาเยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้าง[8] ในระหว่างการเยี่ยมชมนั้น ว่าน หลี่ รองนายกเทศมนตรีกรุงปักกิ่ง ได้เสนอว่าหอประชุมนี้ยังไม่ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ[9] หลังจากหารือกันแล้ว เหมาจึงได้ตั้งชื่อหอประชุมแห่งนี้ว่า "มหาศาลาประชาชน"[10] ในคืนนั้น มหาศาลาประชาชนได้สร้างเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้เป็นครั้งแรก เหมย หลันฟัง ได้แสดงเป็น "นางงามเมา" (贵妃醉酒) ในหอประชุมขนาด 10,000 คน เพื่อแสดงความอาลัยแด่ทหารช่างที่สร้างอาคารหลังนี้[11][12]

มหาศาลาประชาชนเปิดใช้งานในเดือนกันยายน ค.ศ. 1969 โดยเป็นหนึ่งในอาคารของโครงการ "สิบอาคารอันยิ่งใหญ่" ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน[13] คณะกรมการเมืองได้มีมติให้ดำเนินการก่อสร้างหอประชุมดังกล่าวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1958[14] โจว เอินไหล นายกรัฐมนตรี มีวิสัยทัศน์ว่าการออกแบบที่สมบูรณ์แบบนั้นควรจะสะท้อนให้เห็นว่า "ประชาชนคือเจ้าของประเทศ"[14] หลังจากการส่งแบบของโครงการ กลุ่มสถาปนิกจากทั่วประเทศได้คัดเลือกผลงานการอกแบบที่ชนะการประกวดซึ่งออกแบบโดยจ้าว ตงรื่อ และเฉิ่น ฉี จาง ปั๋ว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าสถาปนิก การก่อสร้างใช้เวลา 10 เดือน โดยมีแรงงานเข้าร่วมการก่อสร้างถึง 7,785 คน และใช้แผนการทำงานแบบทหารที่คล้ายคลึงกับโครงการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า[15]

ในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2007 รัฐบาลกรุงปักกิ่ง คณะกรรมการวางผังเมืองเทศบาลกรุงปักกิ่ง และสำนักงานโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมเทศบาลกรุงปักกิ่ง ได้อนุมัติให้มหาศาลาประชาชนบรรจุอยู่ในรายชื่ออาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และร่วมสมัยที่โดดเด่นของกรุงปักกิ่ง (北京优秀近现代建筑保护名录)[16][17][18]

การออกแบบ

แก้
 
ธงแดงบริเวณมหาศาลาประชาชน

มหาศาลาประชาชนถูกออกแบบมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของชาติและความเสมอภาคของชนชาติต่าง ๆ และสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ใหม่ของประเทศผ่านรูปแบบ ลักษณะสัดส่วน และรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ของอาคาร[15] อาคารมีพื้นที่ใช้สอย 171,801 ตารางเมตร (1,849,250 ตารางฟุต) ยาว 356 เมตร (1,168 ฟุต) และกว้าง 206.5 เมตร (677 ฟุต) จุดสูงสุดของอาคารมีความสูง 46.5 เมตร (153 ฟุต) ที่ชายคาประตูใหญ่แขวนตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน[19]

มหาศาลาประชาชนประกอบด้วยส่วนหลักสามส่วน ได้แก่:[20]

  1. ส่วนกลาง ประกอบด้วยหอประชุมใหญ่ หอประชุมหลัก ห้องประชุมสภา (ซึ่งคณะกรรมการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติประชุมกัน) ห้องโถงกลาง ห้องโถงทองคำ และห้องโถงหลักอื่น ๆ
  2. ส่วนเหนือ ประกอบด้วยโถงรัฐพิธีจัดเลี้ยง โถงรับแขกบ้านแขกเมือง ห้องโถงเหนือ ห้องโถงตะวันออก ห้องโถงตะวันตก และห้องโถงขนาดใหญ่อื่น ๆ
  3. ส่วนใต้ เป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะกรรมการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ

ในบรรดาห้องเหล่านั้น ส่วนโถงกลางมีพื้นที่ 3,600 ตารางเมตร ผนังและพื้นปูด้วยหินอ่อนสี มีเสาหินอ่อนสีขาวล้อมรอบ 20 ต้น มีทางเดินกว้าง 12 เมตร (39 ฟุต 4 นิ้ว) อยู่บนชั้นกลาง มีทางเข้าหลัก 6 ทางนำไปสู่หอประชุมหมื่นคน[21][22]

ทุกมณฑล เขตปกครองพิเศษ เขตปกครองตนเองของจีน มีห้องโถงของตนเองในมหาศาลาประชาชน เช่น โถงปักกิ่ง โถงฮ่องกง และโถงไห่หนาน ห้องโถงแต่ละห้องสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละมณฑล และมีการตกแต่งภายในสอดคล้องกับรูปแบบของท้องถิ่นนั้น ๆ[23]

เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ มหาศาลาประชาชนได้กลายเป็นหอประชุมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน โดยก่อนหน้านั้นตำแหน่งนี้เป็นของหอรำลึกซุน ยัตเซ็น[24] หอประชุมใหญ่นี้มีปริมาตร 90,000 ลูกบาศก์เมตร (3,200,000 ลูกบาศก์ฟุต), สามารถจุผู้คนได้ 3,693 คนบนชั้นล่าง, 3,515 คน บนชั้นกลาง, 2,518 คน บนชั้นบน และอีก 300–500 คน บนเวที ผู้นำรัฐบาลจะกล่าวสุนทรพจน์ ส่วนผู้แทนก็ทำหน้าที่ของตนเองในการประชุม สามารถรองรับผู้แทนได้พร้อมกัน 10,000 คน เพดานประดับด้วยไฟดวงดาวระยิบระยับคล้ายกาแล็กซี มีดาวแดงดวงใหญ่ประดับอยู่ตรงกลาง[25] และลวดลายคลื่นน้ำที่อยู่ใกล้เคียงแทนสัญลักษณ์ของประชาชน[26] สิ่งอำนวยความสะดวกของที่นี่มีระบบเสียง ภาพ และระบบอื่น ๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบและขนาดของการประชุมที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีระบบการแปลภาษาพร้อมห้องแปลภาษาอีกด้วย

ห้องรัฐพิธีจัดเลี้ยงมีพื้นที่กว่า 7,000 ตารางเมตร (75,000 ตารางฟุต) สามารถรองรับแขกได้ถึง 7,000 คน และสามารถจัดเลี้ยงพร้อมกันได้มากถึง 5,000 คน ดังเช่นที่เคยจัดขึ้นในงานต้อนรับประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ในการเยือนจีนเมื่อปี ค.ศ. 1972 การประชุมขนาดเล็กสามารถจัดได้ในหอประชุมหลัก ขณะที่การประชุมขนาดใหญ่สามารถใช้ห้องประชุมหนึ่งหรือหลายห้องเช่น โถงทองคำและโถงเหนือ และการประชุมขนาดเล็กที่สุดสามารถจัดได้ในห้องประชุมมากกว่า 30 ห้องที่ตั้งชื่อตามมณฑลและภูมิภาคในประเทศจีน[27]

การใช้งาน

แก้

มหาศาลาประชาชนใช้สำหรับการจัดกิจกรรมระดับชาติมากมาย รวมถึงการประชุมระดับชาติขององค์กรทางสังคมและการเมืองต่างๆ การเฉลิมฉลองวันชาติ

มหาศาลาประชาชนยังถูกใช้สำหรับรัฐพิธีศพและพิธีรำลึกถึงผู้นำระดับสูงหลายคน เช่น รัฐพิธีศพของอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน หู เย่าปังในปี พ.ศ. 2532 ของอดีตผู้นำสูงสุดเติ้ง เสี่ยวผิงในปี พ.ศ. 2540 และครั้งล่าสุดคือของอดีตประธานาธิบดี เจียง เจ๋อหมินในปี พ.ศ. 2565

อาคารและหอประชุมใหญ่หมื่นคน เปิดให้สาธารณชนเข้าชมในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวเมื่อไม่ได้ใช้งาน การประชุมและคอนเสิร์ตที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองบางงานก็สามารถจัดขึ้นในนี้ได้เช่นกัน

ดูเพิ่ม

แก้
  1. Yu, S. (2013). Chang'an Avenue and the Modernization of Chinese Architecture. China Program Books. University of Washington Press. ISBN 978-0-295-80448-4. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  2. Wang, J. (2011). Beijing Record: A Physical and Political History of Planning Modern Beijing. G - Reference,Information and Interdisciplinary Subjects Series. World Scientific. p. 377. ISBN 978-981-4295-72-7. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  3. 北京的城市规划. 京华通览 : 历史文化名城 (ภาษาจีน). 北京出版社. 2018. p. 111. ISBN 978-7-200-13426-1. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  4. 十年大庆:中华人民共和国建国十周年庆祝典礼 (ภาษาจีน). BEIJING BOOK CO. INC. 2011. p. 36. ISBN 978-7-999204-89-3. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  5. 成就标志:人民大会堂设计施工与落成. 共和国故事 (ภาษาจีน). 吉林出版集团有限责任公司. 2011. p. 7. ISBN 978-7-5463-1758-8. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  6. 聚焦人民大会堂: 见证共和国重大历史事件始末 (ภาษาจีน). 中共党史出版社. 2006. ISBN 978-7-80199-239-0. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  7. 北京市档案馆; 中共北京市委党史硏究室 (2003). 北京市重要文献选编, 1958 (ภาษาจีน). 中国档案出版社. p. 803. ISBN 978-7-80166-382-5. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  8. 聚焦中国民工 (ภาษาจีน). 中国经济出版社. 2005. p. 177. ISBN 978-7-5017-6845-5. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  9. 中共北京市委. 党史硏究室 (1994). 社会主义时期中共北京党史纪事 (ภาษาจีน). 人民出版社. p. 103. ISBN 978-7-01-002995-5. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  10. 毛泽东领导下的新中国十七年(上卷) (ภาษาจีน). BEIJING BOOK CO. INC. 2014. p. 575. ISBN 978-7-999019-26-8. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  11. Bartke, W. (1987). Who's who in the People's Republic of China. M.E. Sharpe. p. 617. ISBN 978-3-598-10610-1. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  12. 成就标志:人民大会堂设计施工与落成 (ภาษาจีน). BEIJING BOOK CO. INC. 2011. p. 73. ISBN 978-7-999202-80-6. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  13. Dutton, M. (2010). Beijing Time (ภาษามอลตา). Harvard University Press. p. 70. ISBN 978-0-674-04734-1. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  14. 14.0 14.1 "The Great Hall of the People". www.npc.gov.cn. สืบค้นเมื่อ 8 December 2020.
  15. 15.0 15.1 Yu, Shuishan (2013). Chang'an Avenue and the Modernization of Chinese Architecture. University of Washington Press. pp. 84–85. ISBN 9780295804484.
  16. "人民大会堂被列入北京优秀近现代建筑保护名录". 资讯_凤凰网 (ภาษาจีน). 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  17. "北京保护71处近现代建筑 首批名录公布(名单) -- 中国发展门户网". 中国发展门户网-国家发展门户 (ภาษาจีน). 2007-12-20. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  18. "北京第一届十大建筑(1959年)". 北京市住房和城乡建设委员会门户网站 (ภาษาจีน). 2017-11-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-16. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  19. Pan, S.Y. (2009). University Autonomy, the State and Social Change in China. Education in China Reform and Diversity. Hong Kong University Press. p. 216. ISBN 978-962-209-936-4. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  20. Johnson, T.A. (2016). John Adams's Nixon in China: Musical Analysis, Historical and Political Perspectives. Taylor & Francis. p. 55. ISBN 978-1-317-11082-8. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  21. "七轮方案,数易其稿 17万平方米的人民大会堂这样建成-新华网". www.xinhuanet.com. สืบค้นเมื่อ 4 May 2024.
  22. "人民大会堂的5个组成部分,以及租赁的费用和流程". www.163.com. 6 October 2023.
  23. Julia F. Andrews. Painters and Politics in the People's Republic of China, 1949-1979. University of California Press. 1995.
  24. Cody, Jeffrey W.; Shatzman Steinhardt, Nancy; Atkin, Tony (2010). Chinese Architecture and the Beaux-Arts. University of Hawaii Press. p. 279. ISBN 9780824861018.
  25. Hung, C. (2017). Mao's New World: Political Culture in the Early People's Republic. Cornell University Press. p. 128. ISBN 978-1-5017-1661-4. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  26. Law, E. (2004). Intercontinental's Best of China. China Intercontinental Press. p. 1-PA64. ISBN 978-7-5085-0429-2. สืบค้นเมื่อ 2024-05-04.
  27. "人民大会堂那些厅那些事:毛泽东最喜欢使用118厅". chinanews. สืบค้นเมื่อ 4 May 2024.