พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์[1] (อังกฤษ: Ascension of Jesus) เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูลอยขึ้นสวรรค์ต่อหน้าอัครทูตของพระองค์หลังจากที่ทรงกลับคืนพระชนม์ได้ 40 วัน และมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งกล่าวขึ้นในขณะนั้นว่าเมื่อพระเยซูกลับมา ก็จะมีลักษณะเดียวกัน[2] เมื่อพระเยซูขึ้นสวรรค์แล้วก็ไปประทับอยู่ทางขวาของพระบิดา
พระวรสารในสารบบที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้คือพระวรสารนักบุญลูกาบทที่ 24[3] และพระวรสารนักบุญมาระโกบทที่ 16[4] และยังปรากฏในหนังสือกิจการของอัครทูตบทที่ 1 ด้วย[5]
เหตุการณ์นี้ยังได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่อไนซีน คริสต์ศาสนิกชนจัดการเฉลิมฉลองถึงเหตุการณ์นี้ในวันที่ 40 หลังวันอีสเตอร์ในแต่ละปี (จึงตรงกับวันพฤหัสบดีเสมอ) พิธีนี้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู (อีก 4 เหตุกาณ์ที่เหลือ คือ รับบัพติศมา จำแลงพระกาย ถูกตรึงกางเขน และคืนพระชนม์)[6][7]
จดหมายของนักบุญเปาโล (ราว ค.ศ. 56-ค.ศ. 57)[8] ได้กล่าวถึงพระเยซูบนสวรรค์และการเสด็จสู่แดนผู้ตาย[9]ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงการขึ้นสวรรค์ของพระเยซูเป็นครั้งแรก แต่การอ้างอิงที่มีอิทธิพลที่สุดตามการกล่าวอ้างของโรเบิร์ต ดับเบิลยู ฟังค์ (Robert W. Funk) มาจาก[10] คือพระเยซูขึ้นสวรรค์หลังจากที่มีพระบัญชาเอก (Great Commission) คือสี่สิบวันหลังจากที่คืนพระชนม์โดยมีอัครทูตเป็นพยาน ในพระวรสารนักบุญลูกา "การเสด็จขึ้นสวรรค์" เกิดขึ้นในค่ำวันอีสเตอร์[11] ส่วนพระวรสารนักบุญยอห์น (ราว ค.ศ. 90-ค.ศ. 100)[12]กล่าวว่าพระเยซูเสด็จกลับไปยังพระบิดา[13] ในพระวรสารนักบุญเปโตร (ราว ค.ศ. 90-110)[12]กล่าวว่าพระเยซูเสด็จขึ้นสวรรรค์แลประทับทางขวาของพระผู้เป็นเจ้า[14] ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (ราว ค.ศ. 90-ค.ศ. 100)[12] กล่าวว่าพระเยซูเสด็จขึ้นไปสู่ที่สูงเหนือฟ้าสวรรค์ทั้งหมด[15] ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1 (ราว ค.ศ. 90-ค.ศ. 140)[12]บรรยายว่าทรงถูกรับขึ้นไปด้วยพระสิริ[16] ในบทสุดท้าย (ดู มาระโก 16) ของพระวรสารนักบุญมาระโกและพระวรสารนักบุญลูกาเกี่ยวกับการคืนพระชนม์และบรรยายการที่ทรงถูกนำขึ้นสู่สวรรค์และการประทับอยู่เบื้องขวาของพระเจ้า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน อังกฤษ-ไทย, หน้า 2267
- ↑ "Ascension, The." Macmillan Dictionary of the Bible. London: Collins, 2002. Credo Reference. Web. 27 September 2010. ISBN 0-333-64805-6
- ↑ ลูกา 24:50-53
- ↑ มาระโก 16:19
- ↑ กิจการ 1:1 -9-11
- ↑ Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63
- ↑ The Melody of Faith: Theology in an Orthodox Key by Vigen Guroian 2010 ISBN 0-8028-6496-1 page 28
- ↑ Stephen L Harris, Understanding the Bible. Palo Alto: Mayfield. 1985. p. 321
- ↑ โรมัน 10:5 -7
- ↑ The account in Acts was originally in Luke-Acts. The Ascension account in Luke came later, possibly after the text had been split in to Luke's gospel and Acts. Mark's reference to the Ascension is based on Luke, part of the traditional ending, written in the second century and added onto Mark. Robert W. Funkand the Jesus Seminar. The acts of Jesus: the search for the authentic deeds of Jesus. HarperSanFrancisco. 1998.
- ↑ Robert W. Funk and the Jesus Seminar. The acts of Jesus: the search for the authentic deeds of Jesus. HarperSanFrancisco. 1998. "Empty Tomb, Appearances & Ascension" p. 449-495.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Stephen L Harris, Understanding the Bible. Palo Alto: Mayfield. 1985.
- ↑ ยอห์น 20:17
- ↑ เปโตร 1 เปโตร 3:21 -22
- ↑ เอเฟซัส 4:7 -13
- ↑ ทิโมธี 1 ทิโมธี 3:16
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
- สารานุกรมคาทอลิก: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
- พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ รูปเคารพแบบออร์ทอดอกซ์และประวัติย่อ
- พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ เก็บถาวร 2007-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เอส วี บุลเกคอฟ "คู่มือสำหรับผู้ทำพิธีศาสนา" (คริสต์ศาสนปรัชญาและสัญลักษณ์ของการสมโภช)
- ชาเปลแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Studium Biblicum Franciscanum, Jerusalem
- ชาเปลแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ เยรูซาเลม คำบรรยาย, ประวัติและภาพ
- คอนแวนต์แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ เก็บถาวร 2009-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน