แซ็สก์ ฟาบรากัส
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ฟรันแซ็สก์ ฟาบรากัส ซูเล[1] | ||
วันเกิด | [1] | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1987||
สถานที่เกิด | อะแร็ญส์ดามาร์ สเปน | ||
ส่วนสูง | 1.75 m (5 ft 9 in)[2] | ||
ตำแหน่ง | กองกลาง | ||
สโมสรเยาวชน | |||
1995–1997 | มาตาโร | ||
1997–2003 | บาร์เซโลนา | ||
2003 | อาร์เซนอล | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2003–2011 | อาร์เซนอล | 212 | (35) |
2011–2014 | บาร์เซโลนา | 96 | (28) |
2014–2019 | เชลซี | 198 | (15) |
2019–2022 | มอนาโก | 54 | (3) |
2022–2023 | โกโม | 17 | (0) |
ทีมชาติ‡ | |||
2002–2003 | สเปน อายุไม่เกิน 16 ปี | 8 | (0) |
2003–2004 | สเปน อายุไม่เกิน 17 ปี | 14 | (7) |
2005 | สเปน อายุไม่เกิน 20 ปี | 5 | (0) |
2004–2005 | สเปน อายุไม่เกิน 21 ปี | 12 | (8) |
2006–2016 | สเปน | 110 | (15) |
2004–2016 | กาตาลุญญา | 3 | (0) |
จัดการทีม | |||
2023 | โกโม (รักษาการ) | ||
2024– | โกโม | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2017 |
ฟรันแซ็สก์ "แซ็สก์" ฟาบรากัส ซูเล (กาตาลา: Francesc "Cesc" Fàbregas Soler, ออกเสียง: [ˈsɛsk ˈfaβɾəɣəs]; เกิดวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1987) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวสเปน เล่นในตำแหน่งกองกลาง เขาเคยเล่นให้กับสโมสรที่โด่งดังอย่างอาร์เซนอล, บาร์เซโลนา และเชลซี ปัจจุบันเป็นผู้จัดการให้กับโกโม ในเซเรียอา
ฟาบรากัสเริ่มต้นอาชีพฟุตบอลด้วยการเป็นเด็กฝึกของบาร์เซโลนา แต่กลับเซ็นสัญญากับอาร์เซนอลเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 เมื่ออายุได้ 16 ปี หลังจากที่ตัวสำคัญในตำแหน่งกองกลางบาดเจ็บหลายรายในฤดูกาล 2004-05 เขาก็แจ้งเกิด โดยเริ่มเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวกลางและตัวทำเกม เขายังสร้างสถิติหลายสถิติให้กับสโมสร และตัวเขาเองยังได้เป็นหนึ่งในนักเตะดาวรุ่งสำหรับในตำแหน่งกองกลาง
สำหรับในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ เขาร่วมกับฟุตบอลทีมชาติสเปนอายุไม่เกิน 17 ปี โดยลงแข่งในฟุตบอลโลกรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี ในปี ค.ศ. 2003 ที่ฟินแลนด์ ผลงานกับสโมสรเขาพ้นจากผู้เล่นเยาวชนในปี ค.ศ. 2006 เขาเล่นในฟุตบอลโลก 2006 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ฟุตบอลโลก 2010 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012ได้ทำให้ทีมชาติสเปนได้รับชัยชนะ สำหรับฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ฟุตบอลโลก 2010 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012
ก่อนเส้นทางอาชีพ
[แก้]ฟาบรากัสเกิดที่เมืองอะแร็ญส์ดามาร์ แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน[3][4] เป็นบุตรชายของฟรันแซ็สก์ ฟาบรากัส ที่เปิดบริษัทอสังหาริมทรัพย์ และนูริอา ซูเล เจ้าของบริษัทขนมอบ ฟาบรากัสได้ร่วมกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาตั้งแต่ยังเด็ก และลงแข่งขันนัดแรกเมื่อเขาอายุเพียง 9 เดือนกับปู่ของเขา[5] เขาเริ่มอาชีพกับสโมสรฟุตบอลกับสโมสรกีฬามาตาโร ก่อนที่จะเซ็นสัญญากับสโมสรเยาวชนลาซีอาของบาร์เซโลนา เมื่อเขาอายุได้ 10 ปี โดยมีโค้ชคนแรกคือ เซนอร์ ไบย์ โดยมีรายงานว่าเขาไม่เลือกฟาบรากัสลงแข่งขันกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา เพื่อพยายามซ้อนเขาจากผู้สอดแนม[6] แต่ก็ทำได้ไม่ได้นานกับบาร์เซโลนา มาตาโรให้เขาร่วมฝึกกับทีมบาร์เซโลนา 1 วันต่อสัปดาห์ จนในที่สุดฟาบรากัสก็ร่วมกับสถาบันบาร์เซโลนาเต็มเวลา
ในการฝึกเบื้องต้นเขารับตำแหน่งเป็นกองกลางรับ แต่เขาก็ยังเป็นตัวทำประตูได้มาก จนบางครั้งทำได้มากกว่า 30 ประตูใน 1 ฤดูกาลให้กับสโมสรเยาวชน ถึงอย่างไรก็ตามเขาก็ไม่ได้ร่วมแข่งกับทีมนัดแรกที่สนามกีฬากัมนอว์[7] ในช่วงเวลาที่เขาเล่นให้กับทีมเยาวชนบาร์เซโลนา ฟาบรากัสได้สร้างความประทับใจแก่แป็ป กวาร์ดิออลา ที่ต่อมาเป็นกัปตันทีมบาร์เซโลนา เขาได้มอบเสื้อให้กับฟาบรากัสเป็นเครื่องปลอบขวัญหลังจากที่พ่อแม่ของเขาหย่ากัน[8]
สโมสรอาชีพ
[แก้]อาร์เซนอล
[แก้]ปรับตัวกับประเทศอังกฤษ
[แก้]เขามีความรู้สึกว่าจะได้รับโอกาสจำกัดถ้าอยู่กับบาร์เซโลนา[9] เขาได้เซ็นสัญญากับสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล สโมสรในลอนดอนเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003[4] เริ่มแรกเขารู้สึกว่าการใช้ชีวิตในเมืองหลวงลอนดอนเป็นเรื่องลำบาก แต่ในที่สุดเขาก็พบมิตรสหาย เพื่อนร่วมทีมที่พูดภาษาสเปน คือ ฟิลิปป์ เซ็นเดอรอส ที่ช่วยเขาได้มาก[10] ด้วยวัย 16 ปี ฟาบรากัสไม่ได้รับการพิจารณาให้ร่วมเล่นกับทีมแรกโดยทันที แต่ทีมได้หาผู้เล่นอาวุโสอย่าง ปาทริค วิเอร่า และชิลเบร์ตู ซิลวา โดยเขามุ่งความสนใจไปที่การฝึกซ้อมและการเรียนภาษาอังกฤษ[10] จนในที่สุดเขาก็ได้เปิดตัวกับสโมสรอาร์เซนอลหลังจากนั้นไม่นาน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ในลีกคัพที่บ้านของตัวเอง พบกับสโมสรฟุตบอลร็อทเทอร์แฮมยูไนเต็ด ทำให้เขาเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดของอาร์เซนอล ด้วยอายุเพียง 16 ปี กับ 177 วัน[11] และยังเป็นผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของอาร์เซนอล ในรอบถัดมาในลีกคัป โดยทำประตูชัย 5–1 เอาชนะสโมสรฟุตบอลวูล์ฟเวอร์แฮมป์ตันแวนเดอร์เรอร์ส[12] ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะชนะในลีกนี้ในฤดูกาล 2003-04[13] แต่ฟาบรากัสก็ไม่ได้รับเหรียญรางวัลผู้ชนะเพราะไม่ได้ร่วมเล่นกับลีกแต่ต้น[14]
จนเริ่มในฤดูกาล 2004-05 เขาได้ร่วมเล่นในทีมแรกในนัดการแข่งขันนอกเหนือจากลีกคัป เขาลงแข่งนัดแรกกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่สนามกีฬาคอมมูนิตีชิลด์ หลังจากที่วิเอร่าบาดเจ็บ ทำให้เขาได้เล่นในพรีเมียร์ลีกนี้ 4 ครั้งติดต่อกัน เขาได้รับคำชมเชยในการเล่นในเกมเหล่านี้ด้วย โดยสามารถทำประตูชนะสโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวิร์สไปได้ 3–0 และทำให้เป็นผู้เล่นอาร์เซนอลที่อายุน้อยที่สุดที่ทำประตูในพรีเมียร์ลีก[15][16] และจากการบาดเจ็บของเอดู และชิลเบร์ตู ซิลวา ทำให้เขาได้ลงแข่งในทุกการแข่งขัน[3][9] เขาได้เซ็นสัญญาอาชีพกับสโมสรอาร์เซนอลเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2004[17] ในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2004-05 เขากลายเป็นผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุดอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์การแข่งขันหลังจากทำประตูที่ 3 ในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลโรเซนบอร์ก ไปได้ 5–1[18] เมื่อจบฤดูกาล เขาได้สร้างชื่อเสียงให้กับสโมสร ด้วยชัยชนะแรกของเขา เมื่อเขาลงสนามเป็นตัวจริงกับอาร์เซนอล และสามารถเอาชนะสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกับการดวลจุดโทษที่ เอฟเอคัป 2005 รอบตัดสิน[19]
ตัวจริงลงสนาม
[แก้]หลังจากที่วิเอร่า ออกจากทีมไปสู่สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ฟาบรากัสได้สวมเสื้อเบอร์ 4 แทนและได้ลงเล่นประจำกับอาร์เซนอล ในตำแหน่งกองกลางตัวกลาง ร่วมไปกับชิลเบร์ตู ซิลวา เขาลงสนาม 49 ครั้งในการแข่งขันในฤดูกาล 2005-06[14] ถึงอย่างไรก็ตาม เพราะด้วยอายุยังน้อย จากการลงแข่งของเขาทำให้การพิสูจน์ในตัวเขายากไปยิ่งขึ้น เนื่องจากเขาได้มีส่วนร่วมในทีมตัวจริงมากขึ้น มากไปกว่านั้นความสามารถของเขาก็ถูกจำกัดให้น้อยลงไปและด้วยการเล่นที่รุกน้อยกว่าวิเอร่า จึงเกิดการตั้งคำถามในเรื่องความสามารถในการอุดช่องโหว่หลังจากที่วิเอร่าออกไป[20] แต่อย่างไรก็ตาม ฟาบรากัสยังคงใช้สไตล์การเล่นในแบบฉบับของเขาและได้สร้างความประทับใจในการแข่งยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในครั้งที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดและยูเวนตุส[21][22][23] ต่อมาเขาทำประตูแรก และเธียร์รี อองรีกับประตูที่ 2[21] ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าเขาสามารถรุก เข้าแย่งลูกอย่างดุดันในแบบกองกลางได้อย่างวิเอร่า[23] จากนั้นเขาได้แข่งในนัดสุดท้ายกับอดีตทีมของเขาบาร์เซโลนา แต่อาร์เซนอลแพ้ไป 2–1[24] พลาดการคว้าถ้วยรางวัลไปในฤดูกาล 2005-06 ให้กับอาร์เซนอล
เรอัลมาดริดแสดงความต้องการที่จะเซ็นสัญญากับฟาบรากัส ทั้ง ๆ ที่เขาเซ็นสัญญายาวกับอาร์เซนอล[25] แต่ผู้จัดการทีมอาร์เซนอล อาร์แซน แวงแกร์ กล่าวว่าอาร์เซนอลจะไม่ฟังการเสนออะไรทั้งสิ้น[26] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 เป็นเวลา 6 ปีหลังเซ็นสัญญา อาร์เซนอลยื่นข้อเสนอสัญญา 5 ปี (มีสัญญาตัวเลือก ขยายเวลาไปอีก 3 ปี) ให้กับฟาบรากัส ซึ่งเขาก็เซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2006[27] ในขณะที่สัญญาปกติจะไม่ยาวขนาดนี้ ฟาบรากัสกล่าวเกี่ยวกับการเซ็นสัญญา คือเรื่องสไตล์การเล่นของอาร์เซนอล และแวงแกร์ เป็นเหตุผลที่ทำให้เขาตกลงเซ็นสัญญาระยะยาวกับสโมสร[28][29]
ในฤดูกาล 2006-07 ผลงานของอาร์เซนอลและฟาบรากัส ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะพ่ายแพ้อีกครั้งให้กับสโมสรฟุตบอลเชลซี ในลีกคัพ[30] แต่อย่างไรก็ตาม ฟาบรากัสก็ได้แจ้งเกิดในฐานะหนึ่งในผู้เล่นสำคัญที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้กับทีม เขาได้ร่วมเล่นในทุกนัดของลีก[14][31] ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2006-07 เขาทำคะแนนให้กับอาร์เซนอล 3–0 ชนะสโมสรฟุตบอลดินาโมซาเกร็บในรอบคัดเลือก[32] ในพรีเมียร์ลีก เขาเป็นตัวจ่ายบอลทำประตู 13 ครั้ง ซึ่งถือว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในลีก[14][31] เมื่อจบฤดูกาลเขาได้รับรางวัลส่วนตัว อาทิ รางวัลโกลเดนบอย มอบโดยหนังสือพิมพ์อิตาลีที่ชื่อ TuttoSport จัดโดยแบบสำรวจของผู้อ่านจากทั่วยุโรป[33] เขายังได้รับรางวัล ทีมแห่งปีจากยูฟ่า ร่วมกับทีมในปี 2006[34] และยังเป็นผู้เล่นพรีเมียร์ลีกแห่งเดือนมกราคม ค.ศ. 2007[35] นอกจากนั้นเขายังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ทั้งรางวัลนักฟุตบอลและนักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ แต่ทั้ง 2 รางวัล ผู้ได้รับไปในปีนั้นคือคริสเตียโน โรนัลโด จากสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[36] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 เขาได้เป็นผู้แหล่งอาร์เซนอลประจำฤดูกาล ด้วยคะแนน 60%[37]
ในฤดูกาล 2007-08 เริ่มต้นด้วยความไม่แน่นอนสำหรับทีมอาร์เซนอล อย่างแรก เดวิด ดีน รองประธานสโมสร ออกไปกลางคันจากปัญหาภายใน ตามมาด้วยการจากไปของผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสรและกัปตันทีม เธียร์รี อองรี ที่เซ็นสัญญากับบาร์เซโลนา ทำให้ฟาบรากัสกลายเป็นผู้เล่นที่สำคัญที่สุดของอาร์เซนอล แต่เขาก็พร้อมสำหรับการท้าทายนี้[38] โดยเขาเริ่มฤดูกาลได้ดี ทั้งทำประตูและจ่ายบอลทำประตู[14] นอกจากนั้นเขายังได้รางวัลผู้เล่นแห่งเดือนจากแฟน ๆ ของอาร์เซนอล ในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม[39] ทั้งยังได้ผู้เล่นพรีเมียร์ลีกประจำเดือนสิงหาคม[40] และกับคะแนนหัวตารางของอาร์เซนอลจนถึงเดือนมีนาคม ฟาบรากัสเป็นเครื่องมือสำหรับสโมสรในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2007-08 โดยในนัดแข่งกับเอซี มิลาน เขาทำประตูในท้ายการแข่งขันและส่งผลให้ทีมเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ[41] และถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะไม่ได้ถ้วยรางวัลไป[42] แต่ฟาบรากัสก็ได้รับรางวัลส่วนตัวไปหลายรางวัล เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2008 เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักฟุตบอลและนักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ อีกครั้งเป็นปีที่ 2[43] ซึ่งเขาก็ได้รับรางวัลนักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีไป และยังได้รับรางวัลทีมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพนี้ไปอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผู้เล่นแห่งฤดูกาล 2007-08 จากเว็บไซต์อาร์เซนอล.คอม[44]
กัปตันทีม
[แก้]เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 กับ 14 นัดในฤดูกาล 2008-09 ฟาบรากัสเป็นผู้สืบทอดกัปตันทีมต่อจากวีลียาม กาลัส[45][46] อย่างไรก็ตาม อาร์เซนอลเริ่มต้นฤดูกาลได้ไม่ค่อยดีนัก ฟาบรากัสไม่สามารถลงสนามได้เป็นเวลา 4 เดือนหลังจากบาดเจ็บที่หัวเข่าในนัดพบกับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล[47] จนจบฤดูกาลอาร์เซนอลก็ไม่สามารถรับเหรียญใด ได้อันดับ 4 ของพรีเมียร์ลีกและตกรอบในรอบรองชนะเลิศในแชมเปียนส์ลีกฤดูกาล 2008–09[48][49] ในเวลาต่อมากับนโยบายของอาร์เซนอลต่อการเตรียมการกับผู้เล่นวัยหนุ่ม ทีมที่นำโดยฟาบรากัสในฤดูกาลใหม่ประกอบด้วยผู้เล่นวัยหนุ่มเกือบทั้งหมด อย่างเช่น นิคลาส เบนท์เนอร์, กาแอล กลีชี, อาบู ดียาบี, เดนีลซง เปเรย์รา เนวิส, อเล็กซานเดอร์ ซง และ ธีโอ วัลคอตต์
เปิดฤดูกาล 2009-10 ฟาบรากัสทำประตูและยังช่วยจ่ายบอลยิง 2 ประตูในนัดที่อาร์เซนอลชนะเอฟเวอร์ตัน 6–1[50] ในรอบคัดเลือกแชมเปียนส์ลีก 2009-10 อาร์เซนอลชนะสโมสรฟุตบอลเคลติก 2 ครั้ง แต่ตอนต้นฤดูกาลก็ถูกรบกวนด้วยการพ่ายให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและแมนเชสเตอร์ซิตี ติดต่อกัน ทีมได้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งหลังจากทรุดลงไป โดยฟาบรากัสทำคะแนนกับทีมได้ และไม่พ่ายใคร 13 เกม และจากความที่พ่ายใน 4 ลีกก่อนกลางฤดูกาล อาร์เซนอลสามารถนำขึ้นสู่ลีกหลังผ่านไป 22 เกม เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2010 ในแชมเปียนส์ลีกนัดแรกในรอบก่อนชิงชนะเลิศที่แข่งกับบาร์เซโลนา ฟาบรากัสบาดเจ็บขาหักก่อนทำประตูเสมอในนัดนี้ จบลงด้วยประตู 2–2[51] อาร์เซนอลที่มีคะแนนตามผู้นำอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 4 คะแนน โดยปราศจากกัปตันทีมในอีก 6 นัดของฤดูกาล[51] ท้ายสุดอาร์เซนอลก็ตกรอบไปในแชมเปียนส์ลีกหลังพ่ายบาร์เซโลนา แต่ฟาบรากัสก็ได้เป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ[52]
ก่อนเริ่มฤดูกาล 2010-11 เขาได้แรงกดดันจากสื่อเกี่ยวกับอนาคต และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 อาร์เซนอลปฏิเสธการเสนอซื้อตัวเขาจากบาร์เซโลนา 35 ล้านเหรียญยูโรไป[53][54][55] ในฤดูกาล 2010–11 เป็นฤดูกาลแห่งการแข่งขันสูงในพรีเมียร์ลีก ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะแพ้ 5 นัดก่อนกลางฤดูกาล แต่อาร์เซนอลก็เบียดอยู่ในผู้นำในลีก พอ ๆ กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและแมนเชสเตอร์ซิตี[56] จนมาถึงช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ อาร์เซนอลก็ยังเป็นหนึ่งในสี่ของผู้นำ แต่ภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากที่แพ้ในนัดชิงชนะเลิศลีกคัพ และแพ้ตกรอบในนัดรอบ 16 ทีมสุดท้ายในแชมเปียนส์ลีกเมื่อเจอกับบาร์เซโลนา และยังแพ้ในเอฟเอคัพรอบก่อนชิงชนะเลิศ[57] ฟาบรากัสไม่ได้ลงแข่งในนัดตัดสินลีกคัพ ที่เกิดจากอาการบาดเจ็บเมื่อเขาตอกส้นผิดจังหวะในนัดที่ 2 ของแชมเปียนส์ลีก กับทีมบาร์เซโลนา ส่วนในลีกอาร์เซนอลยังคงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ แต่เมื่อเหลืออีก 1 ใน 3 ของฤดูกาล อาร์เซนอลก็มีผลเสมออย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุทำให้คะแนนตามหลังผู้นำลีก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อยู่มาก จนเมื่อจบฤดูกาลอาร์เซนอล ตกมาอยู่อันดับ 4 ของลีก
บาร์เซโลนา
[แก้]ฤดูกาล 2011–12
[แก้]เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ฟาบรากัสเซ็นสัญญากับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา เป็นเวลา 5 ปี ด้วยค่าตัว 35 ล้านปอนด์ ที่อาจเพิ่มอีก 5 ล้าน ขึ้นอยู่กับความสำเร็จ[58] ฟาบรากัสลงตัวนัดแรกกับบาร์เซโลนา ในนัดที่ 2 ของการแข่งขันซูเปร์โกปาเดเอสปัญญาแข่งกับเรอัลมาดริด ลงในฐานะผู้เล่นสำรอง บาร์เซโลนาชนะ 3–2 ผลประตูรวม 5–4[59] เขายิงประตูแรกในนัดที่บาร์เซโลนาชนะปอร์ตู 2–0 ในการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2011[60] และประตูแรกของเขาในลีก คือนัดเปิดตัวที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลบิยาร์เรอัล
ฤดูกาล 2012–13
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ฤดูกาล 2013–14
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เชลซี
[แก้]เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ฟาบรากัสเซ็นสัญญากับเชลซี เป็นระยะเวลา 5 ปี ด้วยค่าตัว 33 ล้านปอนด์ โดยสวมใส่เบอร์ 4 ซึ่งเป็นเบอร์เดิมของดาวิด ลุยซ์[61][62]
ทีมชาติ
[แก้]ชุดเยาวชน
[แก้]ในการลงแข่งฟุตบอลทีมชาติสเปน ฟาบรากัสเริ่มลงแข่งขันในระดับเยาวชน ในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี ปี ค.ศ. 2003 ที่จัดขึ้นที่ฟินแลนด์ จบลงด้วยการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในการแข่งขัน แม้ว่าเขาจะเล่นตำแหน่งกองกลาง และได้รับลงคะแนนเป็น ผู้เล่นแห่งการแข่งขันนี้ด้วย[7] จบลงด้วยสเปนได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ พ่ายให้บราซิลไป[63] ต่อมาเขาร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี ค.ศ. 2008 ซึ่งสเปนก็ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศเช่นกัน[64] เขาได้รับตำแหน่งเป็น "ผู้เล่นทองคำ" (Golden Player) ของการแข่งขัน[64]
ชุดใหญ่
[แก้]หลังจากที่เขาเป็นผู้เล่นสำคัญของอาร์เซนอลในเพียงฤดูกาลที่ 2 ของเขากับสโมสร ไม่นานนักฟาบรากัสก็ถูกเรียกตัวเข้าทีมชาติรุ่นใหญ่ โค้ชชาวสเปน ลุยส์ อาราโกเนสประทับใจในฝีมือการเล่นของฟาบรากัสในแชมเปียนส์ลีก 2006 กับทีมอาร์เซนอล ลุยส์ อาราโกเนสได้ให้เขาเล่นในนัดกระชับมิตรกับทีมโกตดิวัวร์[65] ในนัดนั้นฟาบรากัสถือเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดของทีมชาติสเปนในรอบ 70 ปี ทำลายสถิติของเซร์คีโอ ราโมส[3] เขาได้รับเสียงวิจารณ์ชมชอบในผลงานเปิดตัว และได้ทำประตูแรกให้กับสเปนโดยชนะทีมโกตดิวัวร์ไป 3–2[3][66]
ฟุตบอลโลก 2006
[แก้]เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 ฟาบรากัสได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นทีมชาติสเปนชุดฟุตบอลโลก 2006 ในระหว่างการแข่งขัน เขาได้รับการเปลี่ยนตัว ลงเล่นในครึ่งหลังของ 2 นัดแรกในรอบแบ่งกลุ่ม ได้ช่วยจ่ายบอลให้เฟร์นันโด ตอร์เรส ในนัดแข่งกับทีมชาติตูนิเซีย ทำประตู 3–1[67] จากนั้นเขาได้เป็นตัวสำรอง (เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมทีมในอาร์เซนอล โคเซ อันโตเนียว เรเยส) ในนัดที่ 3 ของรอบแบ่งกลุ่มที่เจอกับทีมชาติซาอุดีอาระเบีย[68] เขาได้ลงเล่นกับทีมชาติสเปนอีกในนัดแรกของรอบคัดออก ที่เจอกับทีมชาติฝรั่งเศส แทนการเล่นของ มาร์กอส เซนนา แต่สเปนก็แพ้ฝรั่งเศสไป 3–1[69] ฟาบรากัสถือเป็นผู้เล่นของทีมชาติสเปนที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ร่วมเข้าแข่งขันฟุตบอลโลก โดยเขาลงเล่นเปลี่ยนตัวแทน ลุยส์ การ์ซีอา ในนาทีที่ 77 ในนัดที่สเปนชนะทีมชาติยูเครน ไป 4–0 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2006 เมื่อเขาอายุ 19 ปีกับ 41 วัน[70] ต่อมาเขายังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้เล่นดาวรุ่งฟุตบอลโลก แต่ลูคัส โพดอลสกี จากเยอรมนีได้รับรางวัลนี้ไป[71]
ยูโร 2008
[แก้]ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ฟาบรากัสได้ลงทีมชาติหมายเลข 10 แทนหมายเลข 18 เมื่อครั้งก่อน[72] ทั้ง ๆ ที่เขาจะได้เป็นตัวสำรองโดยเกือบตลอด แต่กองกลางผู้นี้ก็ยังสามารถทำประตูให้กับทีมชาติสเปนได้ โดยเป็นประตูแรกในการแข่งขันระหว่างประเทศของเขา ในนัดแข่งกับทีมชาติรัสเซีย ที่ชนะ 4–1 เขายังได้ช่วยส่งลูกทำประตูด้วยในนัดนี้[73] สเปนชนะทุกทีมในรอบแบ่งกลุ่มและได้เจอกับทีมชาติอิตาลี ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ในนัดนี้ฟาบรากัสยิงลูกโทษ หลังจากที่ทีมชะงักอยู่ที่ 0–0 ในการต่อเวลาพิเศษ[74] ในรอบรองชนะเลิศ สเปนชนะทีมชาติรัสเซีย 3–0 โดยฟาบรากัสได้ช่วยส่งลูกทำประตู 2 ลูก[73] ฟาบรากัสเป็น 1 ใน 11 คนที่ลงสนามในนัดตัดสินที่เจอกับทีมชาติเยอรมนี โดยสเปนชนะไป 1–0 ถือเป็นแชมเปียนครั้งที่ 2 ของสเปน โดยครั้งก่อนหน้านั้นคือปี ค.ศ. 1964[75] และทีมชาติสเปนได้รับรางวัลทีมยอดเยี่ยมแห่งฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 โดยคัดเลือกโดยทีมเทคนิคของยูฟ่า[73]
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009
[แก้]หลังจากบาดเจ็บไปหลายเดือน ฟาบรากัสยังคงเป็นผู้เล่นในทีมการแข่งขันของผู้จัดการทีมชาติสเปน บีเซนเต เดล โบสเก ในเดือนมิถุนายน เขาติดอยู่ในรายชื่อทีมการแข่งขันคอนเฟเดอเรชันส์คัป 2009 เขาทำประตูในการแข่งขันระหว่างประเทศเป็นลูกที่ 2 ในนัดเจอกับทีมชาตินิวซีแลนด์ โดยชนะไป 5–0 ในรอบแบ่งกลุ่ม[76] ในรอบรองชนะเลิศที่แข่งกับทีมชาติสหรัฐอเมริกา (โดยฟาบรากัสได้เป็น 1 ในผู้เล่น 11 คนลงสนาม) สเปนได้สร้างความประหลาดใจจากการพ่ายแพ้ 2–0 ทำให้สถิติทีมชาติสเปนที่ชนะใน 15 เกมรวดต้องหยุดไป[77]
ฟุตบอลโลก 2010
[แก้]ฟาบรากัสได้รับเลือกโดยเดล โบสเกให้เป็นส่วนหนึ่งของผู้เล่น 23 คนของทีมชาติสเปนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010[78] แต่เดล โบสเกพึงพอใจที่จะเลือกกองกลางอย่าง เซร์คีโอ บุสเกตส์, ชาบี อาลอนโซ, ชาบี, เปโดร และอันเดรส อีเนียสตา ในขณะที่ฟาบรากัสไม่ได้เป็น 1 ในผู้เล่น 11 คนลงสนาม เขาเป็นตัวสำรอง 4 จาก 7 นัด ที่สเปนพ่ายในนัดแรก ก่อนที่จะนำชัยชนะต่อมาอีก 6 ครั้ง โดยในนัดตัดสิน ในการต่อเวลาพิเศษ ฟาบรากัสได้ส่งลูกให้อีเนียสตาทำประตูให้สเปน เป็นผู้ชนะเลิศครั้งแรกของทีมชาติสเปนในการแข่งขันฟุตบอลโลก[79]
ยูโร 2012
[แก้]ฟาบรากัสได้รับเลือกเป็นส่วนหนึ่งในชุด 23 คนของเดล โบสเก ในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012[80] เริ่มการแข่งขันกับทีมชาติอิตาลีในกลุ่มซี ในรูปแบบการเล่น 4–3–3 ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในกองหน้า 3 คน ในนาทีที่ 64 เขายิงประตูตีเสมอหลังจากที่อิตาลีนำอยู่ก่อนหน้านี้ในนาทีที่ 61 จบเกมด้วยผลเสมอ 1–1[81] จากนั้นเขาได้ยิงประตูที่ 2 ในรอบแบ่งกลุ่มในนัดแข่งกับไอร์แลนด์ เมื่อสเปนพบกับโปรตุเกสในรอบรองชนะเลิศ ในขณะที่ยังไม่มีใครทำประตูได้ แม้ต้องต่อเวลาออกไปแล้ว จึงต้องตัดสินด้วยการดวลจุดโทษ ฟาบรากัสได้ยิงจุดโทษสุดท้ายทำให้สเปนชนะ 4–2 ในรอบตัดสินพบกับอิตาลีอีกครั้ง ฟาบรากัสช่วยส่งลูกให้ดาบิด ซิลบายิงเปิดประตูแรก ท้ายสุดสเปนชนะอิตาลี 4–0
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ฟุตบอลโลก 2014
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยูโร 2016
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตารางทำประตูในการแข่งขันระหว่างประเทศ
[แก้]- คะแนนและผล โดยตัวเลขประตูของฟาบรากัสแสดงเป็นตัวหนา
# | วันที่ | สถานที่ | คู่แข่ง | ประตู | ผล | การแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 10 มิถุนายน ค.ศ. 2008 | ทีโวลีนอย, อินน์บรัค, ออสเตรีย | รัสเซีย | 4–1 | 4–1 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 |
2. | 14 มิถุนายน ค.ศ. 2009 | สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง, รุสเทนเบิร์ก, แอฟริกาใต้ | นิวซีแลนด์ | 4–0 | 5–0 | คอนเฟเดอเรชันส์คัป 2009 |
3. | 9 กันยายน ค.ศ. 2009 | สนามกีฬาโรมาโน, เมริดา, สเปน | เอสโตเนีย | 1–0 | 3–0 | รอบคัดเลือกการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 |
4. | 10 ตุลาคม ค.ศ. 2009 | สนามกีฬาฮันราเพทากัน, เยเรวาน, อาร์มีเนีย | อาร์มีเนีย | 1–0 | 2–1 | รอบคัดเลือกการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 |
5. | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 | สนามกีฬาเอิร์นสต์-ฮัพเพิล, เวียนนา, ออสเตรีย | ออสเตรีย | 1–1 | 5–1 | นัดกระชับมิตร |
6. | 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010 | นวยบากอนโดมีนา, เมอร์เซีย, สเปน | โปแลนด์ | 4–0 | 6–0 | นัดกระชับมิตร |
7. | 2 กันยายน ค.ศ. 2011 | เอเอฟจีอารีนา, ซังค์กัลเลิน, สวิตเซอร์แลนด์ | ชิลี | 2–2 | 3–2 | นัดกระชับมิตร |
8. | 2 กันยายน ค.ศ. 2011 | เอเอฟจีอารีนา, ซังค์กัลเลิน, สวิตเซอร์แลนด์ | ชิลี | 3–2 | 3–2 | นัดกระชับมิตร |
9. | 10 มิถุนายน ค.ศ. 2012 | แปกีแยแออาแรนากดัญสก์, กดัญสก์, โปแลนด์ | อิตาลี | 1–1 | 1–1 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 |
10. | 14 มิถุนายน ค.ศ. 2012 | แปกีแยแออาแรนากดัญสก์, กดัญสก์, โปแลนด์ | สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | 4–0 | 4–0 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 |
รูปแบบการเล่น
[แก้]เขาได้เข้าสู่ทีมอาร์เซนอลมาตั้งแต่วัยรุ่น และค่อย ๆ พัฒนากับการเล่นในลีกคัพ ฟาบรากัสเคยเป็นกองกำลังที่อาร์เซนอลไม่ได้คาดหวังเท่าใดนัก โดยเริ่มจากการเป็นกองกลางตัวกลางของอาร์เซนอล แต่หลังจากที่กองกลางอย่าง ปาทริค วิเอร่า, ชิลเบร์ตู ซิลวา และ เอดู บาดเจ็บในการแข่งขันฤดูกาล 2004–05 ทำให้การทำหน้าที่ของฟาบรากัสถือได้ว่าเป็นตัวทำเกมและตัวส่งผ่าน เขาได้กลายเป็นผู้เล่นที่เป็นที่ต้องการตัวและดาวรุ่งที่มีความสามารถในเกม จนเขาได้เป็นผู้เล่นประจำให้กับอาร์เซนอล ยังได้รับการเรียกว่าเป็น แกนหลักของทีมแรกของอาร์เซนอล นำมาซึ่ง วิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ และเข้าใจถึงเวลาและสถานที่โดยแต่กำเนิดในการผ่านเกมอันซับซ้อนของอาร์เซนอล และแสดงให้เห็นวุฒิภาวะที่เกินกว่าอายุ[3][4][7][9][37][38][82][83] เขามักได้รับผิดชอบในการเตะเซ็ตพีซ เตะมุม ฟรีคิก และ ยิงลูกโทษ
ฟาบรากัสเคยให้สัมภาษณ์ว่า วิเอร่าเป็นตัวอย่างและให้คำปรึกษาของเขา[84] ขณะที่รูปแบบการเล่นตามฮีโรในวัยเด็กของเขาและสัญชาติเดียวกับเขา คือ แป็ป กวาร์ดิออลา[10] แต่เขาก็มีความแตกต่างจากผู้เล่นในตำแหน่งเดียวกับเขาก่อนหน้า โดยเขามีทักษะเหนือความแข็งแกร่ง[10][20] ซึ่งแต่เดิมเป็นเหตุให้เกิดเสียงวิจารณ์ถึงน้ำหนักตัวที่เบาและการเล่นที่ดุดันน้อยกว่า[20][23] กับอดีตเพื่อนร่วมทีม แอชลีย์ โคล วิจารณ์เขาไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติว่า "ไม่อาจบอกได้ว่าเบา"[85]
อย่างไรก็ตาม จากสถิติของฟาบรากัสที่พิสูจน์ในหลายฤดูกาล เขาได้รับความดุดันในการเล่นมากขึ้น ความสำคัญในทีมในฐานะพลังแห่งความสร้างสรรค์เกมก็อาจสะท้อนให้เห็นได้จากการเป็นผู้ช่วยส่งทำประตู 16 ประตูในการแข่งในฤดูกาล 2006–07[14] และจากการยอมรับจากตัวเขาเอง การทำประตูเป็นจุดอ่อนของเขาในช่วงฤดูกาลแรก ๆ กับอาร์เซนอล การจบสกอร์เป็นปัญหาใหญ่ของอาร์เซนอลในฤดูกาล 2005–06 และ 2006–07[82] และก็เปลี่ยนไป เมื่อเริ่มฤดูกาล 2007–08 เขายิงประตูได้ 11 ประตูใน 16 เกม จนผู้จัดการทีมอาร์เซนอล แวงแกร์ กล่าวว่า "การไม่สามารถทำประตูเมื่อก่อนนั้นได้หายไปพร้อมกับสภาพจิตใจที่ดีขึ้น" หรือแม้กระทั่งเปรียบเทียบเขากับ มิเชล พลาตินี กองกลางที่มีชื่อเสียงด้านการทำประตู[86][87] อีกเรื่องที่พูดถึงคือจำนวนนัดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ฟาบรากัสได้ลงแข่งให้กับสโมสรและทีมชาติสเปนในหลายฤดูกาลที่ผ่านมา[65][88] โดยเขาได้พยายามหลีกเลี่ยงงานพิเศษอื่น
สถิติ
[แก้]- (ข้อมูลวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012) [14]
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | คัป[89] | ยุโรป | รวม | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลงแข่ง | ประตู | ช่วยทำประตู | ลงแข่ง | ประตู | ช่วยทำประตู | ลงแข่ง | ประตู | ช่วยทำประตู | ลงแข่ง | ประตู | ช่วยทำประตู | ||
อาร์เซนอล | 2003–04 | 0 | 0 | 0 | 3 | 1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 3 | 1 | 0 |
2004–05 | 33 | 2 | 4 | 8 | 0 | 0 | 5 | 1 | 0 | 46 | 3 | 4 | |
2005–06 | 35 | 3 | 5 | 2 | 1 | 0 | 13 | 1 | 2 | 50 | 5 | 7 | |
2006–07 | 38 | 2 | 13 | 6 | 0 | 2 | 10 | 2 | 1 | 54 | 4 | 16 | |
2007–08 | 32 | 7 | 19 | 3 | 0 | 1 | 10 | 6 | 2 | 45 | 13 | 22 | |
2008–09 | 22 | 3 | 10 | 1 | 0 | 0 | 10 | 0 | 5 | 33 | 3 | 15 | |
2009–10 | 27 | 15 | 15 | 1 | 0 | 1 | 8 | 4 | 3 | 36 | 19 | 19 | |
2010–11 | 20 | 3 | 10 | 6 | 3 | 1 | 5 | 3 | 2 | 29 | 9 | 13 | |
รวม | 212 | 35 | 80 | 30 | 5 | 5 | 61 | 17 | 15 | 303 | 57 | 100 | |
บาร์เซโลนา | 2011–12 | 28 | 9 | 10 | 8 | 3 | 6 | 11 | 3 | 4 | 47 | 15 | 23 |
รวม | 28 | 9 | 10 | 8 | 3 | 6 | 11 | 3 | 4 | 47 | 15 | 23 | |
รวมทั้งหมด | 240 | 44 | 92 | 38 | 8 | 12 | 72 | 20 | 19 | 350 | 72 | 126 |
ประเทศ ทีมชาติ | ||
---|---|---|
ปี | ลงเล่น | ประตู |
2006 | 14 | 0 |
2007 | 8 | 0 |
2008 | 15 | 1 |
2009 | 10 | 4 |
2010 | 11 | 1 |
2011 | 4 | 2 |
2012 | 7 | 2 |
รวม | 69 | 10 |
เกียรติประวัติ
[แก้]สโมสร
[แก้]- อาร์เซนอล
- เอฟเอคัพ: 2004–05
- เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์: 2004
- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก: รองชนะเลิศ 2005–06[90]
- บาร์เซโลนา
- ลาลิกา: 2012–13
- โกปาเดลเรย์: 2011–12
- ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา: 2011, 2013
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ: 2011
- ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก: 2011
- เชลซี
ทีมชาติ
[แก้]- สเปน
งานอื่น
[แก้]ฟาบรากัสได้ร่วมในรายการโทรทัศน์พิเศษของเขาเอง ซึ่งออกอากาศเพียงตอนเดียว ชื่อรายการ "The Cesc Fàbregas Show: Nike Live" ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 รายการมีผู้สนับสนุนคือไนกี้ ทางช่องสกายสปอร์ตส เป็นรายการปกิณกะ ที่มีเพื่อนร่วมทีมอาร์เซนอลอย่าง ฟิลิปป์ เซ็นเดอรอส และนิคลาส เบนท์เนอร์ รวมถึงโค้ช อาร์แซน แวงแกร์ และพ่อแม่ของฟาบรากัส รวมถึงดาราจากรายการลิตเทิลบริเตน แมตต์ ลูคัส มาร่วมในรายการนี้ด้วย[91]
ฟาบรากัสยังเป็นผู้อุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ของโครงการการเหยียดเชื้อชาติในฟุตบอลและสังคม ทีชื่อโครงการว่า Show Racism the Red Card
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Player Profile: Cesc Fàbregas". FC Barcelona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2013.
- ↑ "Player Profile: Cesc Fàbregas". Chelsea F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-04.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Francesc Fabregas profile เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, accessed 27 June 2009.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Cesc Fàbregas profile, Arsenal F.C., accessed 27 June 2009.
- ↑ Francesc Fabregas: Spanish marvel blossoms out of the world of his mentors เก็บถาวร 2011-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Independent, accessed 31 August 2010.
- ↑ Cesc Fábregas faces the Barcelona Dream Team he left behind, The Guardian, 31 March 2010, accessed 18 September 2010.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Cesc Fabregas, UEFA, accessed 23 May 2007.
- ↑ The one that got away, BBC Sport, accessed 1 June 2010.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 The Young Gunner[ลิงก์เสีย], , accessed 4 Jan 2011.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Marcotti, Gabriele and Balague, Guillem, "From Barcelona to Barnet: how a rising star learnt his trade" เก็บถาวร 2008-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Times, 28 February 2007, accessed 23 May 2007.
- ↑ Cesc Fabregas becomes Arsenal's youngest ever player, Arsenal F.C., 27 January 2006, accessed 22 May 2007.
- ↑ Arsenal youngsters thump Wolves, BBC Sport, 2 December 2003, accessed 22 May 2007.
- ↑ Record Scorelines, Arsenal F.C., accessed 23 May 2007.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 Francesc Fabregas history เก็บถาวร 2010-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, accessed 18 December 2007.
- ↑ Hughes, Ian, "Fabregas the fabulous", BBC Sport, 27 August 2004, accessed 22 May 2007.
- ↑ Arsenal 3–0 Blackburn เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 25 August 2004, accessed 23 May 2007.
- ↑ "Fabregas commits to Arsenal". BBC Sport. 2004-09-17. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.
- ↑ Haylett, Trevor, "Awesome Arsenal progress in style, UEFA, 7 December 2004, accessed 22 May 2007.
- ↑ Arsenal 0–0 Man Utd (aet), BBC Sport, 21 May 2005, accessed 23 May 2007.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Hubbard, Norman, "Arsenal's midfield muddle" เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 22 August 2005, accessed 23 May 2007.
- ↑ 21.0 21.1 Arsenal 2–0 Juventus, BBC Sport, 28 March 2006, accessed 23 May 2007.
- ↑ Sheringham, Sam, "Spain Teenager Fabregas Sparks World Cup Rally, Wows Maradona", Bloomberg, 20 June 2006, accessed 23 May 2007.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 Harrold, Michael, "Fabregas plots Arsenal revival", UEFA, 13 April 2007, accessed 23 May 2007. เก็บถาวร 2007-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Haslam, Andrew, "Barca comeback denies Arsenal", UEFA, 17 May 2006, accessed 23 May 2007.
- ↑ Kendall, Mark, 00.html "Real confident of securing Cesc's signature", Sky Sports, 4 July 2006, accessed 22 May 2007.
- ↑ Wenger: Fàbregas is not for sale, he is Arsenal's future, Arsenal F.C., 12 July 2006, accessed 22 May 2007.
- ↑ Fàbregas signs new Arsenal deal, BBC Sport, 19 October 2006, accessed 22 May 2007.
- ↑ Harris, Chris, "Fabregas – Our style of play makes me so happy", Arsenal F.C., 22 October 2006, accessed 23 May 2007.
- ↑ Adams, Tom, 00.html "Cesc staying grounded", Sky Sports, 27 October 2006, accessed 24 May 2007.
- ↑ Chelsea 2–1 Arsenal, BBC Sport, 21 February 2007, accessed 23 May 2007.
- ↑ 31.0 31.1 Arsenal are the ultimate 'second half' team, Arsenal F.C., accessed 23 May 2007.
- ↑ Dinamo Zagreb 0–3 Arsenal, BBC Sport, 8 June 2006, accessed 7 September 2008.
- ↑ Lipton, Martin, "HE'S FAB IN POLL", Daily Mirror, 2 December 2006, accessed 22 May 2007.
- ↑ Your Team of 2006 revealed, UEFA, 19 January 2006, accessed 22 May 2007.
- ↑ Benitez and Fabregas scoop awards, BBC Sport, 9 February 2007, accessed 22 May 2007.
- ↑ Arsenal 3–1 Man City: Fabregas inspires revival เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 17 April 2007, accessed 18 April 2007.
- ↑ 37.0 37.1 'He showed he is the ultimate midfield player', Arsenal F.C., accessed 28 June 2007.
- ↑ 38.0 38.1 ,2156108, 00.html How Fabregas plans to save Arsenal[ลิงก์เสีย], The Guardian, 25 August 2007, accessed 17 September 2007.
- ↑ Fabregas scoops O2 Player of the Month award, Arsenal F.C., 5 October 2007, accessed 6 October 2007.
- ↑ ,12306~107729, 00.pdf GUNNERS DUO CELEBRATE AWARDS DOUBLE[ลิงก์เสีย], Premier League, 19 October 2007, accessed 5 March 2008.
- ↑ AC Milan 0 – Arsenal 2, BBC Sport, 5 March 2008, accessed 5 March 2008.
- ↑ Season Review Week: The highlights and the lowlights เก็บถาวร 2016-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Arsenal F.C., accessed 24 May 2008.
- ↑ Ronaldo heads shortlist for players' awards เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 11 April 2008, accessed 12 April 2008.
- ↑ Fabregas is O2/Arsenal.com Player of the Season, Arsenal F.C., accessed 8 July 2008.
- ↑ Fabregas replaces Gallas as Arsenal skipper เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 24 November 2008, accessed 25 November 2008.
- ↑ Captain Cesc's appointment is no surprise, The Sport Review, 26 November 2008, accessed 22 May 2009.
- ↑ Injured Fabregas ruled out for 3–4 months เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 23 December 2008, accessed 24 December 2008.
- ↑ 2008/2009 English Premier League: Statistics เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, accessed 1 July 2009.
- ↑ Arsenal 1 – 3 Manchester United, ESPNsoccernet, 29 April 2009, accessed 1 July 2009.
- ↑ Gunners crush Toffees, ESPNsoccernet, 15 August 2009, accessed 18 August 2009.
- ↑ 51.0 51.1 Fabregas out for six weeks with leg fracture, ESPNsoccernet, 1 April 2010, accessed 2 April 2010.
- ↑ Rooney scoops PFA Player of the Year Award, ESPNsoccernet, 25 April 2010, accessed 26 April 2010.
- ↑ Arsenal reject Barcelona's bid for Cesc Fabregas, BBC Sport, 2 June 2010, accessed 15 June 2010.
- ↑ Barcelona switch tactics over Cesc Fabregas in bid to get Arsenal to the negotiating table, The Daily Mail, 28 May 2010, accessed 22 June 2010.
- ↑ Laporta: Lines of communication open over Cesc เก็บถาวร 2012-05-25 ที่ archive.today, fcbarcelona.cat, 4 June 2010, accessed 27 June 2010.
- ↑ Roger, Martins, "EPL midseason surprises and disappointments", Yahoo! Sports, 29 December 2010, accessed 20 January 2011.
- ↑ Wenger not questioning steel เก็บถาวร 2012-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 14 March 2011, accessed 15 March 2011.
- ↑ Arsenal agree Cesc deal with Barca เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPN Soccernet, 14 August 2011, accessed 15 August 2011.
- ↑ Messi wins Super Cup เก็บถาวร 2012-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 17 August 2011, accessed 17 August 2011.
- ↑ Ashby, Kevin, "Barcelona breeze to fourth UEFA Super Cup", UEFA, 26 August 2011, accessed 27 August 2011.
- ↑ "Cesc Fabregas: Chelsea sign ex-Arsenal midfielder from Barcelona". BBC Sport. 12 June 2014. สืบค้นเมื่อ 12 June 2014.
- ↑ "FABREGAS SIGNS FOR CHELSEA". Chelsea FC. 12 June 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014.
- ↑ Brazil roar past brave Spain, Argentina take third เก็บถาวร 2008-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, FIFA, 30 August 2003, accessed 23 May 2007.
- ↑ 64.0 64.1 Haslam, Andrew, "2004: Cesc Fabregas", UEFA, accessed 9 July 2008. เก็บถาวร 2008-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 65.0 65.1 Harris, Chris, "Fabregas – Why I feel part of the Spain 'family'", Arsenal F.C., 28 March 2007, accessed 24 May 2007.
- ↑ Ivory Coast suffer defeat, BBC Sport, 2 March 2006, accessed 23 May 2007.
- ↑ Spain 3–1 Tunisia, BBC Sport, 19 June 2006, accessed 23 May 2007.
- ↑ Saudi Arabia 0–1 Spain, BBC Sport, 23 June 2006, accessed 23 May 2007.
- ↑ Spain 1–3 France, BBC Sport, 27 June 2006, accessed 23 May 2007.
- ↑ Spain 4–0 Ukraine, BBC Sport, 14 June 2006, accessed 22 May 2007.
- ↑ Germany's Podolski named top young player, CBC.ca, 7 July 2006, accessed 22 May 2007.
- ↑ Veysey, Wayne, "Cesc Fabregas ready to talk tough with Arsenal" เก็บถาวร 2008-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Daily Telegraph, 28 May 2008, accessed 10 June 2008.
- ↑ 73.0 73.1 73.2 Cesc in Euro 2008 Team of the Tournament, Arsenal F.C., accessed 6 August 2008.
- ↑ Spain beat Italy in penalty shootout เก็บถาวร 2008-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 22 June 2008, accessed 23 June 2008.
- ↑ Germany 0–1 Spain: Torres ends Spain's pain, ESPNsoccernet, 30 June 2008, accessed 30 June 2008.
- ↑ Torres stars in Spanish stroll เก็บถาวร 2009-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, FIFA, accessed 15 June 2009.
- ↑ Altidore's goal leads U.S. to stunning upset, ESPNsoccernet, 24 June 2009, accessed 26 June 2009.
- ↑ Spain omit Marcos Senna from 2010 World Cup squad, BBC Sport, 20 May 2010, accessed 22 May 2010.
- ↑ Iniesta sinks Dutch with late strike, ESPNsoccernet, 11 July 2010, accessed 13 July 2010.
- ↑ "Spain name Fernando Torres in 23-man squad". BBC Sport. 27 May 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
- ↑ "Spain 1–1 Italy". BBC Sport. 10 June 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
- ↑ 82.0 82.1 Smith, Alan, "Fabregas puts his skates on in chase for perfection" เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Daily Telegraph, 20 January 2007, accessed 23 May 2007.
- ↑ McIlvanney, Hugh, ,2094-2104071, 00.html "Fàbregas a leader in waiting" เก็บถาวร 2008-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Times, 26 March 2006, accessed 22 May 2007.
- ↑ Townsend, Nick, "Spanish marvel blossoms", The Independent, 2 October 2005, accessed 17 September 2007. เก็บถาวร 2013-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Macintosh, Iain, "Completely Fab", The New Paper, 29 September 2007.
- ↑ Wenger: Fabregas has the vision of Platini, Arsenal F.C., 19 September 2007, accessed 4 January 2008.
- ↑ Wenger: 'This team is blossoming and growing' เก็บถาวร 2016-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Arsenal F.C., 15 September 2007, accessed 17 September 2007.
- ↑ van Wijk, Jim, "Fabregas in need of rest after season of hard work" เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Independent, 29 March 2007, accessed 24 May 2007.
- ↑ รวมถึง เอฟเอคัป, ลีกคัป และ เอฟเอ คอมมูนิตีชีลด์
- ↑ "Barça comeback denies Arsenal". UEFA. 18 May 2006. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
- ↑ NIKELIVE เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NikeLiveFabregas.com, accessed 19 April 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Spanish FA Profile เก็บถาวร 2012-12-18 ที่ archive.today
- National team data เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สเปน)
- Transfermarkt profile
- 2010 FIFA World Cup profile เก็บถาวร 2013-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แซ็สก์ ฟาบรากัส – สถิติการลงแข่งจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA) (ในภาษาอังกฤษ)
- สถิติของ แซ็สก์ ฟาบรากัส ที่ Soccerbase
- Profile at Arsenal.com
- Cesc Fabregas statistics
- แซ็สก์ ฟาบรากัส ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
ก่อนหน้า | แซ็สก์ ฟาบรากัส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วีลียาม กาลัส | กัปตันทีมสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล (2008–2011) |
โรบิน ฟัน แปร์ซี |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2530
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักฟุตบอลชาวสเปน
- นักฟุตบอลทีมชาติสเปน
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
- ผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเชลซี
- ผู้เล่นในลาลิกา
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2006
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2010
- ผู้เล่นในชุดชนะเลิศฟุตบอลโลก
- ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008
- บุคคลจากบาร์เซโลนา
- ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012
- นักฟุตบอลชาวกาตาลา
- กองกลางฟุตบอล
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2014
- ผู้เล่นในชุดชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- ผู้เล่นโกโม 1907