Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ความผิดพลาดที่พบบ่อยภายหลังการเรียนการช่วย ชีวติ ผูใ้ หญ่ขนั้ พืน้ ฐานสำหรับนักศึกษาแพทย์ Common pitfalls after Adult Basic Life Support training for medical students พลพันธ์ บุญมาก พ.บ.*, สุหัทยา บุญมาก พ.บ.*, ฟ้างาม เจริญผล พ.บ.*, ดนุ เกสรศิริ พ.บ.**, ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน พ.บ.** Abstract: Common pitfalls after Adult Basic Life Support training for healthcare providers Polpun Boonmak M.D.*, Suhattaya Boonmak M.D.*, Fa-ngam Chareonpol M.D.*, Dhanu Gaysonsiri M.D.**, Thapanawong Mitsungnern M.D.** *Department of Anesthesiology, Faculty of medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand **Department of Emergency Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen,40002, Thailand Background: Adult basic life support (BLS) is an important procedure for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care in order to increase patients’ survival rate. So, all healthcare providers (HCP) must pass the BLS course. Although, this is an intensive training course, findings after completion of training showed that some HCP still practiced inappropriately. Objective: To explore common pitfalls in Adult BLS training for HCP. Methods: This study was descriptive design. We studied in HCP who attended adult BLS course at KKU - REACT simulation center, Faculty of medicine, Khon Kaen University. It is a 3 - hour * ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002 ** โครงการจัดตั้งภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002 Volume 40 Number 2 April – June 2014 Thai Journal of Anesthesiology 89 course for knowledge and skills teaching in accordance with the current American Heart Association Guideline. Each instructor taught 8 students (2 BLS manikins); and after teaching, we evaluated a 3 - minute performance at the first examination. The data were recorded and analyzed. Results: We included 194 students into the study. Only 117 students passed the examination on the first time (60.3% (95% CI 53.1, 67.2)). Common inappropriate practices, by frequency were chest compression, check for บทนำ การช่วยชีวิตผู้ใหญ่ (Adult cardiopulmonary resuscitation) เป็ น หั ต ถการฉุ ก เฉิ น ที่ ส ำคั ญ มาก สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยชีวิตผู้ป่วย ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นทั้งในและนอกโรงพยาบาล ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น ประเทศไทยได้ จั ด การสอนการช่ ว ย ชีวิตโดยอ้างอิงแนวทางการปฏิบัติการช่วยชีวิตของ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยแบ่ ง การช่ ว ยชี วิ ต ผู้ ใ หญ่ อ อกเป็ น การช่ ว ยชี วิ ต ขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) และการช่วยชีวิต ขั้นสูง (Advanced Cardiovascular Life support) ตามความสามารถ ทักษะของผู้ดูแล รวมทั้งอุปกรณ์ ที่มีใช้ โดยการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น การ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไป1 บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และทักษะ ในการช่วยชีวิตอย่างถูกต้องส่งผลทำให้เพิ่มอัตรา การรอดชีวิตของผู้ป่วย2-4 ดังนั้นบุคลากรทุกคนจึง จำเป็นต้องเรียนการช่วยชีวิตตามความสามารถทาง 90 วิสัญญีสาร carotid pulse, ventilation, automated external defibrillator, and call for help, respectively. Conclusion: We found that three most common inappropriate practices were the followings, chest compression, check for carotid pulse, and ventilation. Therefore the result of this study can be used to improve teaching and learning Adult BLS by emphasizing the pitfalls. Keywords: Basic cardiac life support, medical education, training วิ ช าชี พ โดยทางศู น ย์ ฝึ ก ทั ก ษะการดู แ ลผู้ ป่ ว ยใน สถานการณ์เสมือนจริง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่ น ซึ่ ง สอนการดู แ ลผู้ ป่ ว ยในสถานการณ์ เสมือนจริงได้จัดหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ประกอบด้วยการ เรียนภาคทฤษฎีและการฝึกในภาคปฏิบัติ โดยอ้างอิง ตามแนวทางการปฏิ บั ติ ก ารช่ ว ยชี วิ ต ของสมาคม แพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 2010 แต่จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าภายหลังการ เรียนการช่วยชีวติ ขัน้ พืน้ ฐานแล้ว ยังคงมีความผิดพลาด ในการปฏิบัติบางขั้นตอน1,5 ดังนั้นเพื่อการพัฒนา การเรียนการสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับ บุคลากรทางการแพทย์ ทางคณะผู้วิจัยจึงต้องการ ศึกษาทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับบุคลากร ทางการแพทย์ ที่ ผิ ด พลาดภายหลั ง การเรี ย น โดย ข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางปรับปรุงวิธีจัด การเรียนการสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับ บุคลากรทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2557 วิธีการศึกษา การศึ ก ษานี้ เ ป็ น การศึ ก ษาเชิ ง พรรณนา หลั ง จากผ่ า นการพิ จ ารณาจากคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการศึ ก ษาในผู้ เ รี ย นการช่ ว ยชี วิ ต ขั้ น พื้ น ฐาน สำหรั บ บุ ค ลากรทางการแพทย์ ที่ ส อนโดยศู น ย์ ฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์เสมือนจริง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ที่เคย เรี ย นการช่ ว ยชี วิ ต ขั้ น พื้ น ฐานหรื อ ขั้ น สู ง จะถู ก ตั ด ออกจากการวิจัย การเรียนประกอบด้วยการบรรยาย และดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับความรู้และขั้นตอนการช่วย ชีวิตขั้นพื้นฐาน 60 นาที และการฝึกทักษะการช่วย ชีวิตขั้นพื้นฐานซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการประเมิน ผู้ป่วย การขอความช่วยเหลือ การกดหน้าอก การ ช่วยหายใจโดยใช้หน้ากากช่วยหายใจ (pocket mask) การใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ โดย ใช้เวลาทั้งสิ้น 120 นาที เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการช่วย ชีวติ ทุกขัน้ ตอน โดยผูส้ อนเป็นผูท้ ไี่ ด้รบั ประกาศนียบัตร ผู้สอนของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้สอน 1 คน จะดูแลผู้เรียน 8 คน อุปกรณ์ประกอบการฝึก ประกอบด้วยหุ่นฝึก การช่ ว ยชี วิ ต (Resusci Anne CPR/D ®, Laerdal, Norway) จำนวน 2 ตัวต่อกลุ่ม เครื่องช็อกหัวใจด้วย ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติสำหรับฝึก (Easyport trainer®, Schiller, Switzerland) จำนวน 2 เครื่องต่อกลุ่ม หน้า กากช่วยหายใจ (Laerdal Pocket Mask®, Laerdal, Norway) จำนวน 2 ชุดต่อกลุ่ม เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนการสอน ผู้เรียนทุกคน จะเข้ารับการประเมินทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยให้ ป ฏิ บั ติ ขั้ น ตอนการดู แ ลผู้ ป่ ว ยที่ ห มดสติ ใช้อุปกรณ์ลักษณะเดียวกับที่ใช้ในการเรียน ภายใน ระยะเวลา 3 นาที ผู้ร่วมวิจัยประเมินทักษะการช่วย Volume 40 Number 2 April – June 2014 ชีวิตขั้นพื้นฐานโดยใช้แบบประเมินทักษะที่ดัดแปลง จากแบบประเมิ น การช่ ว ยชี วิ ต ขั้ น พื้ น ฐานของ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2010 แบบประเมินดังกล่าวได้ใช้งานมาแล้ว 1 ปี ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม และ นำไปใช้ กั บ ผู้ เรี ยนมากกว่ า 800 คน ซึ่ งผู้ ร่ ว มวิ จั ย ทุกคนคุ้นเคยการใช้แบบประเมินทักษะดังกล่าว หัวข้อการประเมินประกอบด้วย การประเมิน ผู้ป่วย (ปลุกด้วยเสียง เขย่าตัว และตรวจดูหน้าอก ขยายภายใน 10 วินาที) การขอความช่วยเหลือ (แจ้ง ปัญหาที่พบ เรียกผู้ช่วยเหลือ และร้องขอเครื่องช็อก หัวใจด้วยไฟฟ้า) การคลำชีพจร (คลำบริเวณหลอด คอแล้ ว ลากไปบริ เวณหลอดเลื อดและใช้ เวลาคลำ ชีพจรนาน 5 - 10 วินาที) การกดหน้าอก (เปิดเสื้อ วางมื อ ที่ ต ำแหน่ ง กึ่ ง กลางกระดู ก อก กดหน้ า อก อั ต ราอย่ า งน้ อ ย 100 ครั้ ง ต่ อ นาที (30 ครั้ ง ใน 18 วินาที) ความลึกอย่างน้อย 2 นิ้วและปล่อยให้หน้าอก คืนตัวเต็มที่ (อย่างน้อย 23 ครั้งในการกดหน้าอก 30 ครั้ง)) การช่วยหายใจ (ครอบหน้ากากช่วยหายใจ เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจจนหน้าอกขยาย 2 ครัง้ ภายใน 10 วิ น าที โดยไม่ ท ำให้ ล มลงท้ อ ง) การใช้ เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (ใช้เครื่อง ทันทีที่เครื่องพร้อม เปิดเครื่องใช้งานอย่างถูกต้อง ขั้นตอนการปล่อยกระแสไฟฟ้าเหมาะสม และช็อก หั ว ใจครั้ ง แรกภายในเวลา 45 วิ น าที ) และบั น ทึ ก ข้อมูลทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานที่ผู้เรียนปฏิบัติ ครั้งแรกที่ถูกประเมินของแต่ละหัวข้อ การเก็บข้อมูลความผิดพลาดในแต่ละขั้นตอน การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานพิจารณาจากการปฏิบัติว่า ถูกต้องหรือไม่ หากผู้เรียนทำผิด ไม่ได้ปฏิบัติ หรือทำ สลับขั้นตอน จะถือว่าผู้เรียนปฏิบัติผิด จากนั้นนำ ข้อมูลจากการประเมินในครั้งแรกที่ได้มาวิเคราะห์ Thai Journal of Anesthesiology 91 ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Stata/SE 10.0 for Macintosh (Stata Corporation, TX, USA) โดยข้อมูลดังกล่าว เป็น categorical variables และแสดงผลเป็นร้อยละ (95%CI) ซึ่ ง ขนาดตั ว อย่ า งคำนวณโดยอาศั ย ผล การศึ ก ษาทั ก ษะการช่ ว ยชี วิ ต 6 ซึ่ ง พบร้ อ ยละของ ความผิ ด พลาดอยู่ ร ะหว่ า ง 19 - 44 และยอมรั บ ความคลาดเคลื่อนที่ร้อยละ 5 ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และมีอำนาจการทดสอบร้อยละ 80 ผลการศึกษา ผูเ้ รียนการช่วยชีวติ ขัน้ พืน้ ฐานสำหรับบุคลากร ทางการแพทย์ทั้งสิ้น 194 คน เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้น ปีที่ 4 จำนวน 91 คน เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 103 คน มีผู้เรียนที่ปฏิบัติทักษะการช่วยชีวิต ได้ ถู ก ต้ อ งทุ ก ขั้ น ตอนในครั้ ง แรกจำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 60.3 (95% CI 53.1, 67.2) ข้อมูลผล การประเมินทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานครั้งแรก ของแต่ ล ะขั้ น ตอนแสดงดั ง ตารางที่ 1 โดยพบว่ า ขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของบุคลากรทาง การแพทย์ที่ทำผิดพลาดมากที่สุดในครั้งแรกคือ การ กดหน้ า อก มี ผู้ ป ฏิ บั ติ ถู ก ต้ อ งในครั้ ง แรกคิ ด เป็ น ร้อยละ 61.9 (95% CI 54.6, 68.7) ทักษะการช่วย ชีวิตขั้นพื้นฐานที่ทำผิดพลาดรองลงมาคือ การคลำ ชีพจรถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 63.1 (95% CI 53.5 71.8)) การช่วยหายใจถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 66.5 (95% CI 59.4, 73.1) การใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วย ไฟฟ้ า อั ต โนมั ติ ถู ก ต้ อ งคิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 67.0 (95% CI 60.0, 73.6) และการประเมินผู้ป่วยถูกต้องคิดเป็น ร้อยละ 72.4 (95% CI 65.3, 78.3) ตามลำดับ ส่วน การขอความช่วยเหลือนั้นผู้เรียนส่วนใหญ่สามารถ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 99.0 (95% CI 96.3, 100.0) 92 วิสัญญีสาร วิจารณ์ ผลการศึ ก ษาพบว่ า ผู้ เ รี ย นที่ ป ฏิ บั ติ ก ารช่ ว ย ชี วิ ต ขั้ น พื้ น ฐานถู ก ต้ อ งทุ ก ขั้ น ตอนในครั้ ง แรกคิ ด เป็นร้อยละ 60.3 (95% CI 53.1, 67.2) จากการศึกษา ก่อนหน้านี้7-9 พบว่ามีผู้เรียนที่ทำถูกต้องทุกขั้นตอน อยู่ระหว่างร้อยละ 57 - 73 แต่อย่างไรก็ตามในแต่ละ การศึกษามีความแตกต่างกันในเรื่องของวิธีการฝึก ปฏิบัติ และวิธีการประเมินผล โดยที่การศึกษานี้เน้น การประเมินผลในครั้งแรก จึงอาจบ่งชี้ถึงผลลัพธ์ ที่เกิดจากวิธีการสอนและความสามารถในการสอน ของผู้ ส อนโดยตรง รวมทั้ ง บ่ ง ชี้ ถึ ง ความสามารถ ที่แท้จริงของผู้เรียนภายหลังการฝึกซึ่งสะท้อนผลต่อ ทั้งหลักสูตร ผู้สอนและผู้เรียนโดยตรงจึงมีประโยชน์ ในการปรับปรุงหลักสูตรโดยรวม การกดหน้าอกเป็นขั้นตอนสำคัญในการช่วย ชีวิตขั้นพื้นฐาน หากปฏิบัติอย่างถูกต้องทั้งตำแหน่ง ความแรง ความเร็ว และความต่อเนื่อง จะช่วยเพิ่ม เลือดไปเลี้ยงสมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวม ทั้งเพิ่มการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุด เต้นได้10 แต่อย่างไรก็ตามการกดหน้าอกเป็นขั้นตอน ที่ผู้เรียนทำผิดมากที่สุด ผลการศึกษาพบว่าผู้เรียนกด หน้าอกถูกต้องทุกขั้นตอนมีเพียงร้อยละ 61.9 (95% CI 54.6, 68.7) ซึ่งขั้นตอนย่อยของการกดหน้าอก ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนอยู่ระหว่างร้อยละ 83.0 - 97.9 ยกเว้นขั้นตอนการปล่อยให้หน้าอกคืนตัวเต็มที่นั้นมี ผู้เรียนทำขั้นตอนนี้ถูกต้องเพียงร้อยละ 69.1 (95% CI 62.1, 75.5) ในขณะทีก่ ารศึกษาก่อนหน้านี11้ พบว่า นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 สามารถปฏิบัติถูกต้องถึง ร้อยละ 90.5 และพบว่าสาเหตุที่ผิดพลาดเกิดจาก การกดหน้าอกลึกไม่เหมาะสม หรือผิดตำแหน่ง แต่ อย่ า งไรก็ ต ามการศึ ก ษาดั ง กล่ า วใช้ แ นวทางการ ช่วยชีวิตของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศ สหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 2005 แต่ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2557 Table 1 Assessment of basic life support skills Corrected performance (percentage (95% CI)) Assessment 72.4% (65.3, 78.3) Activate emergency response system 99.0% (96.3, 100.0) Check for carotid pulse 64.9% (57.8, 71.6) Chest compression Completely correct 61.9% (54.6, 68.7) Expose to chest 97.9% (94.8, 99.4) Hand placement 89.2% (83.9, 93.2) Adequate rate 85.6% (79.8, 90.2) Allows complete chest recoil 69.1% (62.1, 75.5) Adequate depth 83.0% (76.9, 88.0) Ventilation Completely correct 66.5% (59.4, 73.1) Pocket mask placing 97.4% (94.1, 99.2) Proper inspire time 87.6% (82.2, 91.9) Open airway during ventilation 66.5% (59.4, 73.1) Two breathes in less than 10 seconds 82.0% (75.8, 87.1) Automated External Defibrillation (AED) Completely correct 67.0% (60.0, 73.6) Immediately use AED 97.4% (94.1, 99.2) Applies pads on patient 95.9% (92.0, 98.2) Allowing AED to analyzed 94.8% (90.7, 97.5) Clear everyone before shock 76.8% (70.2, 82.5) Shock 92.3% (87.6, 95.6) Time to first shock < 45 seconds 95.6% (92.0, 98.2) Steps แนวทางการช่ ว ยชี วิ ต ของสมาคมแพทย์ โ รคหั ว ใจ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 2010 ซึ่งแนะนำ อัตราเร็วในการกดหน้าอกเป็นอย่างน้อย 100 ครั้ง ต่อนาทีอาจทำให้ผู้เรียนตั้งใจที่จะกดหน้าอกให้ได้ อัตราเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที จึงให้ความสนใจ กับการปล่อยให้หน้าอกคืนตัวเต็มที่ขณะกดหน้าอก ลดลง รวมทัง้ กลุม่ ผูเ้ รียนทัง้ สองการศึกษาแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามในการเรียนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ควรเน้นเรื่องการปล่อยให้หน้าอกคืนตัวเต็มที่ Volume 40 Number 2 April – June 2014 การคลำชีพจรบริเวณคอเป็นขั้นตอนที่ผู้เรียน ทำผิดบ่อยรองลงมา จากการศึกษาพบว่าผู้เรียนที่ ปฏิบัติถูกต้องในครั้งแรกมีเพียงร้อยละ 64.9 (95% CI 57.8, 71.6) ซึ่งสาเหตุที่พบได้แก่ ผู้เรียนวางมือ บริเวณหลอดเลือดโดยไม่ใช้วิธีวางที่บริเวณหลอดคอ ก่อน การคลำชีพจรผิดตำแหน่ง และใช้เวลาคลำชีพจร สั้ น เกิ น ไป เช่ น เดี ย วกั บ การศึ ก ษาก่ อ นหน้ า นี้ 5 ที่ พบว่าการคลำชีพจรและการเปิดทางเดินหายใจเป็น ขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติผิดบ่อยที่สุด ดังนั้นการเรียนการ Thai Journal of Anesthesiology 93 ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานควรเน้นขั้นตอนให้ผู้เรียนวางมือ ให้ ถู ก ตำแหน่ ง และใช้ เ วลานานเพี ย งพอในการ ประเมินชีพจรผู้ป่วย ผลการศึ ก ษาการช่ ว ยหายใจพบว่ า ผู้ เ รี ย น ปฏิบัติถูกต้องในครั้งแรกร้อยละ 66.5 (95% CI 59.4, 73.1) ขั้นตอนย่อยที่ผู้เรียนทำถูกต้องน้อยที่สุดคือ การเปิดทางเดินหายใจ (ร้อยละ 66.5 (95% CI 59.4, 73.1)) ซึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้5, 7, 12 พบว่าการเปิด ทางเดินหายใจเป็นขั้นตอนย่อยที่ผิดพลาด โดยทำ ถูกต้องร้อยละ 27 - 43 ดังนั้นในการสอนการช่วย หายใจควรเน้นเรือ่ งการเปิดทางเดินหายใจ แต่อย่างไร ก็ ต ามผลการศึ ก ษาที่ แ ตกต่ า งกั น อาจเกิ ด จากกลุ่ ม ผู้เรียนและอุปกรณ์การช่วยหายใจที่แตกต่างกัน การใช้เครือ่ งช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เป็นขั้นตอนสำคัญในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ผล การศึกษาพบว่าผู้เรียนใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า แบบอัตโนมัติถูกต้องร้อยละ 67.0 % (95% CI 60.0, 73.6) และเมื่อพิจารณาในขั้นตอนย่อยพบว่าขั้นตอน ส่ ว นใหญ่ ผู้ เรี ยนปฏิ บั ติ ถู ก ต้ องมากกว่ าร้ อยละ 90 ยกเว้นขั้นตอนย่อยการให้สัญญาณกับทุกคนก่อน ช็ อ กที่ ป ฏิ บั ติ ถู ก ต้ อ งเพี ย งร้ อ ยละ 76.8 โดยไม่ ใ ห้ สัญญาณ “ฉันพร้อม คุณพร้อม ทุกคนพร้อม” ซึ่ง จากการศึกษาก่อนหน้านี้13 พบว่าสามารถใช้เครื่อง ช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติถูกต้องร้อยละ 70 ซึ่งสาเหตุของความผิดพลาดแตกต่างจากการศึกษานี้ โดยสาเหตุ เ กิ ด จากการไม่ ถ อดเสื้ อ ผู้ ป่ ว ยก่ อ นการ ใช้ เ ครื่ อ งช็ อ กหั ว ใจ การวางตำแหน่ ง เครื่ อ งมื อ ไม่ ถู ก ต้ อ ง และการสั ม ผั ส ผู้ ป่ ว ยขณะช็ อ กหั ว ใจด้ ว ย ไฟฟ้า การประเมินผูป้ ว่ ย เป็นขัน้ ตอนทีผ่ เู้ รียนปฏิบตั ิ ถูกต้องร้อยละ 72.4 (95% CI 65.3, 78.3) โดยสาเหตุ ของความผิดพลาดเกิดจากการทำสลับขั้นตอน (การ ประเมิ น การตามผู้ ช่ ว ยเหลื อ และการคลำชี พ จร) 94 วิสัญญีสาร และเกิดจากการตรวจดูการหายใจผิดพลาด เช่นเดียว กับการศึกษาก่อนหน้านี้5 ที่พบว่าการประเมินผู้ป่วย ผิดพลาดเกิดจากการตรวจดูการหายใจไม่เหมาะสม แต่เนื่องจากหุ่นฝึกไม่มีการหายใจ อาจทำให้ผู้เรียน ละเลยการปฏิบัติขั้นตอนนี้ ดังนั้นการสอนขั้นตอน การประเมิ นผู้ ป่ ว ยควรมี ก ารเน้ นย้ ำลำดั บ ขั้ นตอน และเน้นวิธีการตรวจดูการหายใจ จะช่วยให้ผู้เรียน ไม่สับสนและปฏิบัติได้ถูกต้อง สรุป ภายหลั ง การเรี ย นการช่ ว ยชี วิ ต ขั้ น พื้ น ฐาน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เรียนที่ปฏิบัติการ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานถูกต้องทุกขั้นตอนในครั้งแรก คิดเป็นร้อยละ 60.3 ทักษะที่ผิดพลาดมากที่สุดใน การประเมินครั้งแรกคือ การกดหน้าอกโดยทักษะที่ ผิ ด พลาดรองลงมาได้ แ ก่ การคลำชี พ จร การช่ ว ย หายใจ การใช้เครือ่ งช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ และการประเมินผู้ป่วย ตามลำดับ โดยที่การขอความ ช่วยเหลือนั้นผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาการสอนการ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยการเน้นทักษะในหัวข้อที่มี โอกาสผิดพลาดบ่อย เอกสารอ้างอิง 1. Berg RA, Hemphill R, Abella BS, Aufderheide TP, Cave DM, Hazinski MF, et al. Part 5: Adult Basic Life Support: 2010 American Heart Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care. Circulation. 2010;122:S685-705. 2. Handley AJ, Koster R, Monsieurs K, Perkins GD, Davies S, Bossaert L. European Resuscitation Council guidelines for resuscitation ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2557 3. 4. 5. 6. 7. 2005. Section 2. Adult basic life support and use of automated external defibrillators. Resuscitation. 2005;67 Suppl. 1:7-23. Larsen MP, Eisenberg MS, Cummins RO, Hallstrom AP. Predicting survival from out-ofhospital cardiac arrest: a graphic model. Ann Emerg Med. 1993;22(11):1652-8. Holmberg M, Holmberg S, Herlitz J. Effect of bystander cardiopulmonary resuscitation in outof-hospital cardiac arrest patients in Sweden. Resuscitation. 2000;47(1):59-70. Kim SJ, Choi SH, Lee SW, Hong YS, Cho H. The analysis of self and tutor assessment in the skill of basic life support (BLS) and endotracheal intubation: Focused on the discrepancy in assessment. Resuscitation. 2011;82(6):743-8. Boonmak P, Boonmak S, Pittayawattanachai N, Maneepong S, Pongphonkit J. Evaluation of essential skill in cardiopulmonary resuscitation of resident physicians in Srinagarind hospital, Khon Kaen University. Thai Journal of Anesthesiology. 2013;39:43-9. Todd KH, Braslow A, Brennan RT, Lowery DW, Cox RJ, Lipscomb LE, et al. Randomized, controlled trial of video self-instruction versus traditional CPR training. Ann Emerg Med. 1998;31 (3):364-9. Volume 40 Number 2 April – June 2014 8. Li Q, Ma EL, Liu J, Fang LQ, Xia T. Pretraining evaluation and feedback improve medical students’ skills in basic life support. Med teach. 2011;33(10): e549-55. 9. Roppolo LP, Heymann R, Pepe P, Wagner J, Commons B, Miller R, et al. A randomized controlled trial comparing traditional training in cardiopulmonary resuscitation (CPR) to selfdirected CPR learning in first year medical students: the two-person CPR study. Resuscitation. 2011;82(3):319-325. 10. Kitamura T, Iwami T, Kawamura T, Nitta M, Nagao K, Nonogi H, et al. Nationwide Improvements in Survival From Out-ofHospital Cardiac Arrest in Japan. Circulation. 2012;126(24): 2834-43. 11. Krittayaphong R, Chawaruechai T, Saengsung P, Udompunturak S. Retention of Chest Compression Performance of Medical Students. Siriraj Med J. 2009;61(3):143-6. 12. Nyman J, Sihvonen M. Cardiopulmonary resuscitation skills in nurses and nursing students. Resuscitation. 2000;47(2):179-84. 13. Roccia WD, Modic PE, Cuddy MA. Automated external defibrillator use among the general population. J Dent Educ. 2003;67(12):1355-61. Thai Journal of Anesthesiology 95