Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ความมั่นใจของพยาบาลห้องผ่าตัดในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น Operating Room Nurses’ Confidence for Cardiac Arrest Care นิพนธ์ต้นฉบับ • Original Article ความมั่ น ใจของพยาบาลห้ อ งผ่ า ตั ด ในการดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยที่ มี ภ าวะหั ว ใจหยุ ด เต้ น ในห้องผ่าตัด มลธิรา ศิริสม, พลพันธ์ บุญมาก*, พัลลภ บุญเดช, ขวัญทิพา ประวันเนา, ดวงเนตร ลิตุ, สุหัทยา บุญมาก ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 Operating Room Nurses’ Confidence for Cardiac Arrest Care in the Operating Room Monthira Sirisom, Polpun Boonmak*, Punlop Boondech, Duangnade Litu, Khuantipa Prawannao, Suhattaya Boonmak Anesthesiology Department, Faculty of Medicine Khon Kaen University Khon Kaen 40002, Thailand หลั ก การและวั ต ถุ ป ระสงค์ : พยาบาลห้ อ งผ่ า ตั ด เป็ น Background and objective: Operating room nurse was บุคลากรที่มีบทบาทส�าคัญห้องผ่าตัด ซึ่งการดูแลผู้ป่วยที่ one of the team’s personnel who is crucial to the success มีภาวะหัวใจหยุดเต้นต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากร of resuscitation. Cardiac arrest management requires an ในห้องผ่าตัดในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นจึงต้องการศึกษาความ effective resuscitation team. Our study aimed to investigate the operating room nurse’s confidence for มั่นใจของพยาบาลห้องผ่าตัดในการช่วยชีวิตผู้ป่วยรวมทั้ง cardiac arrest management. We also studied the ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง associated factors influencing on their confidence. วิ ธี ก ารศึ ก ษา: การศึ ก ษาเชิ ง พรรณนาแบบไปข้ า งหน้ า Materials and methods: This study was a prospective ในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาล description study in 113 operating room nurses who work ศรี น คริ น ทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น at Srinagarind hospital, faculty of Medicine, Khon Kaen จ�านวน 113 ราย โดยใช้แบบประเมินความมั่นใจในการดูแล university. We assessed their confidence level during ผูป้ ว่ ยขณะทีม่ ภี าวะหัวใจหยุดเต้น รวมทัง้ บันทึกปัจจัยต่าง ๆ cardiac arrest management and associated factors Results: The response rate was 65.5 %.Fair to strongly ที่อาจเกี่ยวข้องกับความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย ผลการศึกษา: อัตราการตอบแบบประเมินร้อยละ 65.5 confidence in willing to perform was 62.8%, basic life โดยพบว่าความมั่นใจในระดับปานกลางถึงมากในความ support was 62.2%, advanced life support was 60.8%. พร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือร้อยละ 62.8 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน 50% of operating room nurses did not have confidence in opening airway, ventilation, and automatic defibrillation. ร้อยละ 62.2 การช่วยชีวิตขั้นสูงร้อยละ 60.8 โดยทักษะที่ Associated factors were life support training, and ไม่มั่นใจ คือ การเปิดทางเดินหายใจ การช่วยหายใจ การ resuscitation protocol. ใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือการ Conclusion: One third of operating room nurses did not อบรมการช่วยชีวิตและการเข้าใจระบบงานในการช่วยชีวิต have confidence in willing to performing, basic life support, (p < 0.05) advancedlife support and resuscitation skill. And สรุป: พยาบาลห้องผ่าตัดหนึ่งในสามไม่มีความมั่นใจในการ periodic training and efficiency resuscitation protocol were ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นในด้านการเข้าช่วยเหลือ associated with their confidence. ผู้ป่วย การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและขั้นสูง และมีหลายทักษะ Keywords: cardiac arrest, confidence, operating room ที่ไม่มั่นใจ ดังนั้นการอบรมการช่วยชีวิตอย่างสม�่าเสมอและ nurses, resuscitation การมีระบบการช่วยชีวิตที่ดีเป็นปัจจัยส�าคัญที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นใจ *Corresponding Author: Polpun Boonmak, Anesthesiology Department, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand 40002 E-mail: polpun@hotmail.com ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(3) Srinagarind Med J 2017; 32(3) 258 มลธิรา ศิริสม และคณะ Monthira Sirisom, et al. ค�าส�าคัญ: การช่วยชีวิต, ความมั่นใจ, พยาบาลห้องผ่าตัด, ภาวะหัวใจหยุดเต้น ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(3): 258-62. บทน�า ภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มี ความส�าคัญซึ่งท�าให้เสียชีวิต การรักษาที่ล่าช้าจะลดโอกาส รอดชีวิตของผู้ป่วย1 ดังนั้นผู้ที่ให้การดูแลผู้ป่วยจ�าเป็นต้อง ท�าการช่วยชีวิตให้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตั้งแต่ขั้นตอน การประเมินผู้ป่วยอย่างเหมาะสม การขอความช่วยเหลือ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และการช่วยชีวิตขั้นสูง ซึ่งขั้นตอน เหล่านีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของห่วงโซ่ของการรอดชีวติ 1-3 ซึง่ การช่วย ชีวิตมีเป้าหมายเพื่อประคับประคองไม่ให้สมองและหัวใจ ได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวรในขณะที่หา สาเหตุและรักษาสาเหตุ โดยที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความส�าเร็จ ของการช่วยชีวติ นัน้ ได้แก่ การกดหน้าอก การช่วยหายใจ การ ช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า และการใช้ยาอย่างเหมาะสม รวมทั้ง ระบบท�างานและความพร้อมของทีมที่ท�าการช่วยชีวิต4 ในห้องผ่าตัดผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ได้ ทุกขณะ ตั้ งแต่เริ่มเข้าห้อ งผ่าตัด ระหว่างการให้การ ระงับความรู้สึก ระหว่างการท�าหัตถการโดยมีอุบัติการณ์ ภาวะหัวใจหยุดเต้นในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 5.6 ต่อ 10,000 รายต่อปี5และเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มของเด็ก ผูส้ งู อายุ6,8 ดังนัน้ ทีมบุคลากรในห้องผ่าตัดทุกคนควรมีความ สามารถในการช่วยชีวติ ไม่วา่ จะเป็นทีมวิสญ ั ญี ทีมศัลยแพทย์ รวมทัง้ พยาบาลห้องผ่าตัดซึง่ มีบทบาทส�าคัญในการช่วยชีวติ เนือ่ งจากเป็นผูท้ อี่ ยูใ่ กล้ชดิ ผูป้ ว่ ยสามารถประเมินสภาพผูป้ ว่ ย ได้อย่างรวดเร็วและเป็นส่วนหนึ่งของทีมในการช่วยชีวิตโดย มีบทบาทหน้าที่ต่างๆ เช่น การกดหน้าอก การเตรียมยาตาม ค�าสั่งแพทย์ การเตรียมเครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า เป็นต้น โดยที่สมรรถนะของบุคคลนอกเหนือจากความรู้ ทักษะและ ทัศนคติแล้วความมัน่ ใจในสิง่ ทีป่ ฏิบตั กิ ม็ สี ว่ นส�าคัญ ซึง่ ความ มัน่ ใจเกิดจากเรียนรู้ ฝึกฝนจนช�านาญและรูส้ กึ ท�าได้ด9ี โดยที่ ความมั่นใจจะมีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานใน บทบาทและหน้าทีแ่ ละสามารถร่วมท�างานเป็นทีม10,11 ดังนัน้ คณะผูว้ จิ ยั จึงต้องการศึกษาความมัน่ ใจในการช่วยชีวติ ขณะ ทีม่ ภี าวะหัวใจหยุดเต้นของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นใจ ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(3) Srinagarind Med J 2017; 32(3): 258-62. วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า โดยได้รบั อนุมตั จิ ากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจยั ในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ท�าการศึกษาตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2557 ถึง 23 มิถุนายน 2558 ในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นานอย่างน้อย 6 เดือนจ�านวน 113 ราย โดยก่อนเก็บข้อมูล ผูว้ จิ ยั แจ้งวัตถุประสงค์ ขัน้ ตอนการศึกษา และการพิทกั ษ์สทิ ธิ ล่วงหน้า ผู้ตอบแบบสอบถามจะได้รับแบบสอบถามของ ผูว้ จิ ยั โดยแบบสอบถามทีใ่ ช้ถกู สร้างขึน้ โดยอาศัยการทบทวน วรรณกรรมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีการทดลองใช้ล่วง หน้าจ�านวน 10 แบบบันทึก เพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนใช้จริง ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจะปกปิดชื่อเจ้าของข้อมูล ข้อมูลที่บันทึกได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของอาสาสมัคร (เพศ อายุ ระยะเวลาปฏิบัติงานพยาบาล ระยะเวลาปฏิบัติงาน พยาบาลห้องผ่าตัด ห้องผ่าตัดที่ปฏิบัติงาน ระยะเวลาหลัง จากการอบรมการช่วยชีวติ ครัง้ ล่าสุด ความถีข่ องการร่วมช่วย ชีวิตในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา) ข้อมูลความมั่นใจในการดูแล ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นในห้องผ่าตัดโดยรวม ได้แก่ ความมั่นใจในการที่จะเข้าช่วยเหลือเมื่อพบเหตุการณ์ ความ มั่นใจในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ความมั่นใจในการร่วมทีม ช่วยชีวิตขั้นสูงโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ไม่มั่นใจ มั่นใจ ปานกลาง และมั่นใจมาก รวมทั้งข้อมูลความมั่นใจในทักษะ การช่วยชีวิต โดยแบ่งระดับเป็น ไม่มั่นใจอย่างมาก ไม่มั่นใจ มั่นใจ และมั่นใจอย่างมาก โดยข้อมูลที่ได้จะน�ามาวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความมั่นใจ ได้แก่ การอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและขั้นสูง การเข้าใจระบบ งานในการช่วยชีวิต ประสบการณ์ในการช่วยชีวิต ข้อมูลที่ได้ถูกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Stata/SE 10.0 for Macintosh (Stata Corporation, TX, USA) โดย ข้อมูลทั่วไปและความมั่นใจในการช่วยชีวิตวิเคราะห์โดย แจกแจงความถีเ่ ป็นร้อยละค่าเฉลีย่ (ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน) หรือค่ามัธยฐาน (ค่าต�่าสุด-ค่าสูงสุด) ตามความเหมาะสม ส่วนปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องกับความมัน่ ใจวิเคราะห์โดยการทดสอบ แบบ chi-square โดย p < 0.05 ถือว่ามีนัยส�าคัญทางสถิติ Srinagarind Med J 2017; 32(3) 259 ความมั่นใจของพยาบาลห้องผ่าตัดในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ผลการศึกษา ผูว้ จิ ยั ได้รบั ข้อมูลจากผูต้ อบแบบสอบถามจ�านวน 74 ราย ร้อยละ 65.5 โดยผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 23-54 ปี (34.7 ± 10.0 ปี) ของระยะเวลาที่ ปฏิบัติงานพยาบาล 11.4 ± 9.4 ปี ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน) ของระยะเวลาปฏิ บั ติ ง านในห้ อ งผ่ า ตั ด เป็ น 10.3 ± 8.8 ปี โดยทุ ก คนเคยรั บ การอบรมการช่ ว ยชี วิ ต ขั้นพื้นฐานโดยร้อยละ 43.3 ได้รับการอบรมภายใน 2 ปี และ ร้อยละ 89.2 เคยรับการอบรมการช่วยชีวติ ขัน้ สูงโดยทีร่ อ้ ยละ 20.3 ของผู้ที่เคยรับการอบรมได้รับการอบรมภายใน 2 ปี ส�าหรับประสบการณ์การช่วยชีวิตพบว่าอาสาสมัครร้อยละ 87.8 ไม่เคยเข้าร่วมการช่วยชีวิตในรอบ 6 เดือน ความมั่นใจในการช่วยชีวิต (Figure 1) พบว่าอาสาสมัคร ที่เข้าร่วมการศึกษามีความมั่นใจในการที่จะเข้าช่วยเหลือ Operating Room Nurses’ Confidence for Cardiac Arrest Care เมื่อพบเหตุการณ์ร้อยละ 63.5 ความมั่นใจในการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐานร้อยละ 60.8 ความมั่นใจในการร่วมทีมช่วยชีวิต ขั้นสูงร้อยละ 62.2 ส่วนความมั่นใจในทักษะในการช่วยชีวิต (Figure 2) พบว่าทักษะที่มีความมั่นใจมากคือการขอความ ช่วยเหลือ (ร้อยละ 86.5) รองลงมาเป็นทักษะในการวินิจฉัย ภาวะหัวใจหยุดเต้น (ร้อยละ 71.6) โดยทักษะที่มีความไม่ มั่นใจมากที่สุด คือทักษะการใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า และเครื่องช็อกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความมั่นใจในการช่วยชีวิตพบว่า การอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (p<0.001) และขั้นสูง (p=0.007) การเข้าใจระบบงานในการช่วยชีวิต (p=0.002) มีความสัมพันธ์กับความมั่นใจของพยาบาลห้องผ่าตัดใน การช่วยชีวิต Figure 1 Overall confidence level of operating room nurses during cardiac arrest management. Figure 2 Skill confidence level of operating room nurse during cardiac arrest management. 260 ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(3) Srinagarind Med J 2017; 32(3) มลธิรา ศิริสม และคณะ วิจารณ์ จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่ากลุ่มพยาบาลห้องผ่าตัด เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 34 ปี โดยปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด เฉลีย่ 10 ปีซงึ่ โดยปกติพยาบาลห้องผ่าตัดทีป่ ฏิบตั งิ านมานาน จะคุ้นเคยกับระบบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์มีหน้าที่ดูแล ผู้ป่วยในช่วงรับส่ง รอผ่าตัด และส่งต่อให้ทีมวิสัญญีดูแลต่อ ตั้งแต่ช่วงระงับความรู้สึกและหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น ดังนั้น การเกีย่ วข้องกับภาวะวิกฤตของพยาบาลห้องผ่าตัดจะเป็นใน ลักษณะทีมสนับสนุนโดยมีทมี วิสญ ั ญีและทีมศัลยแพทย์เป็น ทีมหลักเสมอ ซึง่ ระบบของห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พยาบาลห้องผ่าตัดจะรับหน้าที่ในส่วนของการช่วยชีวิตขั้น พื้ น ฐานโดยมี ที ม วิ สั ญ ญี ช ่ ว ยดู แ ลการช่ ว ยชี วิ ต ขั้ น สู ง สอดคล้องกับผลการศึกษาที่พบว่าพยาบาลห้องผ่าตัดมี ความมัน่ ใจในการทีจ่ ะเข้าช่วยเหลือเมือ่ พบเหตุการณ์รอ้ ยละ 63.5 ความมั่นใจในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานร้อยละ 60.8 ความมั่นใจในการร่วมทีมช่วยชีวิตขั้นสูงร้อยละ 62.2 อาจ เป็นจากระบบงานที่มีทีมช่วยดูแลผู้ป่วยอยู่แล้ว แต่อย่างไร ก็ตามพบว่ามีเพียงส่วนน้อยที่มีความมั่นใจมาก จากผลการ ศึกษานี้ต้องน�าไปสู่การพัฒนาความมั่นใจของพยาบาลห้อง ผ่าตัดผลการศึกษาที่มีพยาบาลห้องผ่าตัดที่มั่นใจมากใน การเข้าช่วยเหลือทันทีเมื่อพบเหตุการณ์เพียงร้อยละ 10 เป็น สิง่ ทีต่ อ้ งน�าไปพิจารณาปรับปรุงเพราะการไม่มนั่ ใจท�าให้การ ช่วยชีวติ อาจท�าได้ลา่ ช้าซึง่ อาจท�าให้โอกาสรอดชีวติ ลดลงได้ ความมั่ น ใจในทั ก ษะการช่ ว ยชี วิ ต เป็ น สิ่ ง ส� า คั ญ ใน ดูแลผู้ป่วย โดยบุคลากรที่ไม่มั่นใจมีแนวโน้มที่จะไม่ท�าการ กดหน้าอก การช่วยหายใจ โดยอาจท�าเพียงการขอความ ช่วยเหลือ9 จากผลการศึกษาพบว่าพยาบาลห้องผ่าตัดมีความ มั่นใจในการวินิจฉัย การเปิดทางเดินหายใจ การกดหน้าอก เพียงร้อยละ 40-50 รวมทั้งขั้นตอนการใช้เครื่องช็อกหัวใจ ด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติที่มีความมั่นใจเพียงร้อยละ 30-40 ซึ่ง ในห้องผ่าตัดนั้นไม่มีเครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติจะ มีเป็นเครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าตามมาตรฐานท�าให้ความ คุ้นเคยในการใช้งานเครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติลด ลง จึงควรให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว ส่วนทักษะการ ใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าตามมาตรฐานจะถูกใช้งาน โดยแพทย์ ดังนั้นการที่ไม่มั่นใจในเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่คาด การณ์ได้ เมื่อพยาบาลห้องผ่าตัดมีความมั่นใจแล้วก็จะส่งผลต่อ ความส�าเร็จในการช่วยชีวิตมากขึ้นเพราะหากมีความมั่นใจ เกิดขึ้นก็จะท�าให้กล้าเผชิญปัญหา กล้าที่จะลงมือท�าแม้หาก กระท�าแล้วล้มเหลวหรือทั้งที่ยากก็จะพยายามท�าให้ส�าเร็จ ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(3) Monthira Sirisom, et al. ตรงกันข้ามหากไม่มีความมั่นใจก็จะหลีกเลี่ยงการเผชิญ ปัญหาคิดว่าสิ่งที่ต้องท�านั้นยาก ยิ่งมีความมั่นใจมากเท่าไร โอกาสของความส�าเร็จยิง่ ดีขนึ้ โดยการศึกษาปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้อง กับความมัน่ ใจในการช่วยชีวติ พบว่า การอบรมการช่วยชีวติ ที่ เพียงพอมีผลต่อความมัน่ ใจ12 แต่อย่างไรก็ตามการอบรมควร ท�าทุก 6 เดือน หรือถีก่ ว่าเพือ่ ให้ผอู้ บรมมีสมรรถนะเพียงพอ13 ซึ่งนอกจากความรู้และทักษะแล้วการเข้าใจระบบงานการ ช่วยชีวิตก็มีผลต่อความมั่นใจของพยาบาลห้องผ่าตัดในการ ช่วยชีวิตโดยจ�าเป็นต้องมีการทบทวนเป็นระยะๆ เช่นกันการ ให้ความรูด้ า้ นการช่วยชีวติ สามารถด�าเนินการได้หลายวิธี ซึง่ วิธีการจัดการอบรมตามปกติไม่ควรทิ้งช่วงห่างเกิน 6 เดือน14 ดังนั้นอาจใช้ระบบการฝึกอบรมโดยใช้การสอนผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยซึ่งจะท�าให้ผู้เรียนสามารถทบทวน ความรู้ด้วยตนเอง15 รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตใน สถานการณ์เสมือนจริงในสถานทีจ่ ริงซึง่ จะช่วยเพิม่ ทัง้ ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ ความเข้าใจระบบงาน และความมั่นใจให้ พยาบาลห้องผ่าตัดได้โดยที่ระบบงานในการดูแลผู้ป่วยมี ความง่ายไม่ซับซ้อน การจัดการภาวะวิกฤตนั้นนอกเหนือจากความรู้และ ทักษะแล้ว ทักษะแบบ non-technical ก็มีความส�าคัญ โดยส�าหรับพยาบาลห้องผ่าตัดนั้นมีการศึกษา16 พบว่าควร มีทักษะที่ส�าคัญ 3 ด้าน คือ ทักษะในการรับรู้สถานการณ์ อย่างเหมาะสม โดยการรวบรวมข้อมูล ประเมินข้อมูล และ คาดการณ์ล่วงหน้า ทักษะในการสื่อสารและท�างานเป็นทีม ซึง่ นอกจากการสือ่ สารทีด่ แี ล้วควรมีความมัน่ ใจและประสาน งานกั บ ที ม ได้ ทั ก ษะในการจั ด การโดยสามารถวางแผน เตรียมการ และจัดการกับความกดดันได้ ดังนั้นจะเห็นว่า ความมัน่ ใจมีสว่ นส�าคัญต่อความสามารถในการจัดการดูแล ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต สรุป พยาบาลห้องผ่าตัดหนึ่งในสามไม่มีความมั่นใจในการ ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นในด้านการเข้าช่วยเหลือ ผู้ป่วย การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและขั้นสูง และทักษะที่ไม่ มั่นใจคือ การเปิดทางเดินหายใจ การช่วยหายใจ การใช้ เครือ่ งช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า โดยทีก่ ารอบรมการช่วยชีวติ อย่าง สม�า่ เสมอและการมีระบบการช่วยชีวติ ทีด่ เี ป็นปัจจัยส�าคัญที่ เกีย่ วข้องกับความมัน่ ใจ ซึง่ ผลการศึกษาทีไ่ ด้จะเป็นประโยชน์ ในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงความรู้และทักษะของ บุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป Srinagarind Med J 2017; 32(3) 261 ความมั่นใจของพยาบาลห้องผ่าตัดในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น Operating Room Nurses’ Confidence for Cardiac Arrest Care กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณอาจารย์ แพทย์หญิง คัทลียา ทองรอง และ นางลักษณาวดี ชัยรัตน์ ที่สนับสนุนและให้ค�าแนะน�า รวม ทั้งพยาบาลห้องผ่าตัด งานบริการพยาบาล โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นทุก ท่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 7. Tamdee D, Charuluxananan S, Punjasawadwong Y, Tawichasri C, Kyokong O, Patumanond J, et al. Factors related to 24-hour perioperative cardiac arrest in geriatric patients in a Thai university hospital. J Med Assoc Thai 2009; 92: 198-207. 8. Bunchungmongkol N, Punjasawadwong Y, Chumpathong S, Somboonviboon W, Suraseranivongse S, Vasinanukorn M, et al. Anesthesia-related cardiac arrest in children: the Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study). J Med Assoc Thai 2009; 92: 523-30. 9. Mäkinen M, Niemi-Murola L, Kaila M, Castrén M. Nurses’ attitudes towards resuscitation and national resuscitation guidelines--nurses hesitate to start CPR-D. Resuscitation 2009; 80: 1399-404. 10. Boonmak P, Worohang N, Boonmak S, Nithipanich P, Maneepong S. Nurse’s ACLS knowledge in srinagarind hospital. Srinagarind Med J 2010; 25: 42-6. 11. Poomsawat S, SrichaipunhaS, Boonmak P, Boonmak S. Evaluation of an ACLS training program for nurse anesthetist aims at role and satisfaction. Srinagarind Med J 2004; 19: 198-204. 12. Roh YS, Issenberg SB, Chung HS. Ward nurses’ resuscitation of critical patients: current training and barriers. Eval Health Prof 2014; 37: 335-48. 13. Boonmak P, Boonmak S, Srichaipanha S, Poomsawat S. Knowledge and skill after brief ACLS training. J Med Assoc Thai 2004; 87: 1311-4. 14. Kronick SL, Kurz MC, Lin S, Edelson DP, Berg RA, Billi JE, et al. Part 4: Systems of care and continuous quality improvement: 2015 American Heart Association Guidelines Update for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care. Circulation 2015; 132: S397-413. 15. Aqel AA, Ahmad MM. High-fidelity simulation effects on CPR knowledge, skills, acquisition, and retention in nursing students.WorldviewsEvid Based Nurs 2014; 11: 394-400. 16. Flin R, Mitchell L, McLeod B. Non-technical skills of the scrub practitioner: the SPLINTS system. ORNAC J 2014; 32: 33-8. เอกสารอ้างอิง 1. Neumar RW, Shuster M, Callaway CW, Gent LM, Atkins DL, Bhanji F, et al. Part 1: executive summary: 2015 American Heart Association Guidelines Update for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care. Circulation 2015; 132: S315-67. 2. Link MS, Berkow LC, Kudenchuk PJ, Halperin HR, Hess EP, Moitra VK et al. Part 7: Adult Advanced Cardiovascular Life Support: 2015 American Heart Association Guidelines Update for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care. Circulation 2015; 132: S444-64. 3. Moitra VK, Gabrielli A, Maccioli GA, O’Connor MF. Anesthesia advanced circulatory life support. Can J Anaesth 2012; 59: 586-603. 4. Runciman WB, Morris RW, Watterson LM, Williamson JA, Paix AD. Crisis management during anaesthesia: cardiac arrest. QualSaf Health Care 2005; 14: e14. 5. Charuluxananan S, Suraseranivongse S, Jantorn P, Sriraj W, Chanchayanon T, Tanudsintum S, et al. Multicentered study of model of anesthesia related adverse events in Thailand by incident report (The Thai Anesthesia Incidents Monitoring Study): results. J Med Assoc Thai 2008; 91: 1011-9. 6. Nunnally ME, O’Connor MF, Kordylewski H, Westlake B, Dutton RP. The incidence and risk factors for perioperative cardiac arrest observed in the national anesthesia clinical outcomes registry. Anesth Analg 2015; 120: 364-70. 262 ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(3) Srinagarind Med J 2017; 32(3)