1-155171 - FINAL Report Integrated Plan For Human Development in All Ages PDF
1-155171 - FINAL Report Integrated Plan For Human Development in All Ages PDF
1-155171 - FINAL Report Integrated Plan For Human Development in All Ages PDF
โครงการติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการ
การพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
ตุลาคม 2561
เสนอต่อ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายงานฉบับสมบูรณ์
โครงการติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการ
การพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
เสนอต่อ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จัดทาโดย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตุลาคม 2561
รายชื่อที่ปรึกษาและคณะนักวิจัย
คณะที่ปรึกษาจากสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นางสาวอุไร เล็กน้อย ผู้อานวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
นางนันท์นัดดา ฤทธิ์มนตรี ผู้อานวยการกลุ่มยุทธศาสตร์
นางลัดดา สุทนต์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชานาญการ
นางสาวอัจฉริยา บ่อแร่ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชานาญการ
นางสาวสุภาพร ทองมา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชานาญการ
นางสาวสุรีย์พร หัฏฐคุณ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชานาญการ
นายฮัสฮา การี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
คณะนักวิจัย
รศ.ดร. วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการ
อ.ดร. สมหมาย อุดมวิทิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัย
นางสาวประกาย ธีระวัฒนากุล มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา นักวิจัย
นางสาวศิวพร พิพิธภักดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสาวพชรพร อากรสกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสาวพัชรี ปรีเปรมโมทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยนักวิจัย
นายภาตย์ สังข์แก้ว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยนักวิจัย
นายจิตชวิน ภัตรพานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยนักวิจัย
ii
สารบัญ
รายชื่อที่ปรึกษาและคณะนักวิจัย ..................................................................................................................... ii
สารบัญตาราง .................................................................................................................................................vi
สารบัญภาพ ................................................................................................................................................... vii
บทสรุปผู้บริหาร ............................................................................................................................................ viii
บทที่ 1 บทนา ............................................................................................................................................... ๑
๑.1 หลักการและเหตุผล ................................................................................................................... ๑
1.๒ วัตถุประสงค์ .............................................................................................................................. ๑
1.๓ เป้าหมายโครงการ ..................................................................................................................... ๑
1.๔ ขอบเขตการดาเนินงาน .............................................................................................................. ๒
1.๕ แนวทางการดาเนินงาน .............................................................................................................. ๒
1.6 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ....................................................................................................... ๓
1.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ................................................................................................................... ๓
1.8 แผนการดาเนินงานวิจัย ............................................................................................................. ๓
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการประเมินผล ................................................................................................. ๕
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับโครงการทางสังคม............................................................................................. ๕
2.1.๑ ส่วนประกอบที่สาคัญของโครงการทางสังคม ................................................................. ๕
2.1.2 ลักษณะของผลที่ได้รับจากโครงการทางสังคม ............................................................... ๗
2.๒ แนวคิดเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล................................................................................ ๘
2.3 แบบจาลองซิปป์ในการประเมินผลของสตัฟเฟิลบีม................................................................. ๑๖
บทที่ 3 กรอบแนวคิดและวิธีการศึกษา....................................................................................................... ๒๐
3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล ............................................................................................................ ๒๐
3.1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ.................................................................................... ๒๐
3.1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ .................................................................................... ๒๑
3.2 กรอบแนวคิดในการศึกษา....................................................................................................... ๒๑
3.3 ขั้นตอนในการศึกษา ............................................................................................................... ๒๒
บทที่ 4 การประเมินผลในเชิงปริมาณตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560.................................................................................................................................. ๓๒
iii
4.1 แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ...................................... ๓๒
4.2 การประเมินผลการดาเนินงานแผนบูรณาการฯ ....................................................................... ๓๔
4.2.1 เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย .................................................................. ๓๘
4.2.2 เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต ................................................................. 53
4.2.3 เป้าหมายที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย ................... 60
4.2.4 ภาพรวมของแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ...... 64
บทที่ 5 การรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นเชิงคุณภาพที่มีต่อแผนบูรณาการฯ ................................................ ๗๑
5.1 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล ............................................................ ๗๑
5.1.1 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์............................................................................................. ๗๒
5.1.2 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบัน
ครอบครัว ............................................................................................................... ๗๓
5.1.3 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน .................... ๗๕
5.1.4 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการ .......................................................................................................... ๗๘
5.1.5 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ................................ ๗๙
5.1.6 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ............... ๘๑
5.1.7 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ ...................................................................................... ๘๒
5.1.8 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้แทนจากสานักงบประมาณ ............................ ๘๔
5.1.9 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรม ............................ ๘๕
5.1.10 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้แทนจากกระทรวงแรงงาน .......................... ๘๖
5.1.11 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้แทนจากกระทรวงวัฒนธรรม ...................... ๘๘
5.1.12 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้แทนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ .................. ๙๐
5.1.13 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ ..................... ๙๓
5.1.14 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข .................... ๙๔
5.1.15 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้จัดการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ................ ๙๖
5.1.16 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ....................................................................................... ๙๙
iv
5.1.17 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้อานวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ........... ๑๐๓
5.1.18 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้อานวยการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน .......... ๑๐๖
5.1.19 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิเครือข่าย
ครอบครัว ............................................................................................................ ๑๐๙
5.1.20 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้อานวยการโรงเรียนอนุบาลวัดธาตุทอง .... ๑๑๑
5.1.21 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ ผู้อานวยการมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ........ ๑๑๔
5.1.22 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์ หัวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณ
สนับสนุน ............................................................................................................. ๑๑๗
5.2 สรุปประเด็นสาคัญจากการจัดประชุมระดมความคิดเห็น ..................................................... ๑๑๘
5.3 สรุปประเด็นสาคัญจากการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน .................................................................... ๑๒๓
5.3.1 การลงพื้นที่ศึกษาดูงานโรงเรียนผู้นาสูงวัย อบต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ......... ๑๒๓
5.3.2 การลงพื้นที่ศึกษาดูงานสภาเด็ก จ.สิงห์บุรี ณ โรงเรียนวัดถอนสมอ ต.ถอนสมอ
อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี .............................................................................................. ๑๒๘
5.4 สรุปการประชุมชี้แจง (ร่าง) รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการ “ติดตามประเมินผล
การดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560” .. ๑๓๑
5.4.1 ข้อเสนอแนะในส่วนของผลการศึกษาและข้อมูลเพิ่มเติม .......................................... ๑๓๑
5.4.2 ข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงแผนบูรณาการฯ และการขับเคลื่อนในอนาคต ............ ๑๓๒
บทที่ 6 สรุปการติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ........................................................................................................ ๑๓๔
6.1 สรุปการประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการฯ ...................................................... ๑๓๔
6.2 ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการดาเนินโครงการภายใต้แผนบูรณาการฯ ................ ๑๓๘
6.3 ต้นแบบในการประเมินผลแผนบูรณาการที่สามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในประเมิน
ผลการดาเนินงาน ................................................................................................................ ๑๔๓
6.4 ข้อเสนอแนะต่อการจัดทาโครงการภายใต้แผนบูรณาการฯ และทิศทางในอนาคต ............... ๑๔๙
เอกสารและสิ่งอ้างอิง ................................................................................................................................ ๑๕๑
v
สารบัญตาราง
vi
สารบัญภาพ
vii
บทสรุปผู้บริหาร
งานศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทราบความสาเร็จของการดาเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ
ตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และเพื่อให้หน่วยงานเจ้าภาพซึ่งก็คือ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการทบทวนและปรับปรุงแผน
บูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวั ย ให้สอดคล้ องกับยุทธศาสตร์ประเทศและนโยบายรัฐบาล นอกจากนั้น
ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการภายใต้แผนงานบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยยัง
สามารถนาผลการศึกษาไปประกอบการวางแผนและตัดสินใจในการจัดทาโครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับ
แนวทางการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย อันจะนาไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลในการดาเนินงานต่อไป
กรอบแนวคิดในการศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูล
การติดตามและประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560 ในครั้งนี้ ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับโครงการทางสังคมและได้นาแนวทางในการประเมินผล
แผนยุ ทธศาสตร์ ที่อาศัย Logic Model และ Theory of Change (NATO’s Joint Analysis and Lessons
Learned Centre, 2013) ร่ ว มกั บ แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การติ ด ตามและประเมิ น ผลด้ ว ยแบบจ าลองซิ ป ป์
ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model; Stufflebeam, 2003) มาใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์ ซึ่ง
ครอบคลุมการประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation: C) การประเมินตัวป้อนเข้า (Input
Evaluation: I) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P) และการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น (Product Evaluation: P) โดยการติดตามและประเมินผลการดาเนินงานในครั้งนี้ได้เน้น
วัดความสาเร็จโดยใช้เกณฑ์ประสิทธิผล (Effectiveness) และเกณฑ์ประสิทธิภาพ (Efficiency)
ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ โดยข้อมูลทุติยภูมิ ได้ถูก
รวบรวมจาก 2 แหล่งที่สาคัญ ได้แก่ (1) การทบทวนการศึกษาและงานวิ ชาการที่เกี่ยวข้อง และ (2) การเก็บ
รวบรวมรายงานผลการดาเนินงานที่ผู้ขอรับ การสนับสนุนงบประมาณรายงานกลับมายังกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในประเด็นของกิจกรรมที่ดาเนินการ การใช้จ่ายงบประมาณ ผลผลิต และ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากดาเนินงาน ส่วนข้อมูลปฐมภูมิได้จากการเก็บรวบรวมจากการจัดประชุมกลุ่มย่อยและการ
สัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมกลุ่มย่อยเป็นการจัดประชุมระดมความคิดเห็นของผู้ขอรับทุนสนับสนุ นการ
ดาเนินงานภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย โดยประเด็นในการเก็บรวบรวมจะเน้นไปในส่วนของ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยนาเข้า กระบวนการดาเนินงาน เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการ ส่วน
การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้แผน
บูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย เพื่อรับทราบถึงประเด็นปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไข และความ
ช่วยเหลือที่ต้องการ ภาพที่ ก.1 แสดงกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้
viii
ภาพที่ ก.1 กรอบแนวคิดในการดาเนินงาน
ประเด็นสาคัญของการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนบูรณาการฯ
การประเมิน ผลการดาเนิ น งานของแผนบูรณาการการพัฒ นาคนตามช่ว งวัย ปีงบประมาณ พ.ศ.
2560 พบว่า การดาเนินงานตามแผนบูรณาการฯ มีประสิทธิผลเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (ประสิทธิผลร้อยละ
108.52) ทั้งนี้ สะท้อนได้ จ ากผลผลิ ตของโครงการที่ส ามารถดาเนินการได้มากกว่าแผนที่ระบุไว้ ได้แก่
สามารถส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมได้เพิ่มขึ้นจานวน 5,047,138 คน การเสริมสร้าง
ศักยภาพของผู้ให้บริการในเขตสุขภาพ/จังหวัดให้ได้รับความรู้และพัฒนาประสิทธิภาพในการทางานครอบคลุม
ทั่วประเทศ และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลหรือระบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในประเด็นของ
ประสิทธิภาพของโครงการภายใต้แผนบูรณาการฯ ซึ่งทาการประเมินโดยใช้ข้อมูลร้อยละของต้นทุนต่อหน่วยที่
เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับที่ร ะบุ ไว้ในแผนบูรณาการฯ พบว่า ภาพรวมของการดาเนิ นงานโครงการต่ างๆ
ภายใต้แผนบูรณาการฯ มีประสิทธิภาพในการดาเนินงานอยู่ในระดับ ค่อนข้างสูง เนื่องจากการดาเนินงานของ
โครงการต่างๆ สามารถประหยัดต้นทุนต่อหน่วยในการดาเนินงานได้ เพียงเล็กน้อย โดยร้อยละของต้นทุน
ต่อหน่วยที่เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 98.03
ix
ผลการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของโครงการต่างๆ ภายใต้ แผนบูรณาการการพัฒนาคน
ตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 พบว่า แผนบูรณาการฯ สามารถบรรลุประสิทธิผลตามเป้าหมายของ
โครงการ โดยได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่ม/พื้นที่เป้าหมายได้ตามที่ระบุไว้ ในแผนบูรณาการฯ ในระดับสูง ในขณะที่
ประสิ ทธิภ าพของการดาเนิ น งานโครงการต่า งๆ สามารถบรรลุ ประสิ ทธิผ ลได้ ในระดับ สู ง แต่ ยังคงมีบาง
โครงการ/เป้าหมายที่มีประสิทธิภาพในการดาเนินงานในระดับค่อนข้างต่า ซึ่งจาเป็นต้องพิจารณาถึงปัญหา
และอุป สรรคในการดาเนิ น งานเพื่ อท าการแก้ ไ ขให้ โ ครงการสามารถบรรลุ ป ระสิ ทธิภ าพต่ อ ไป เช่น การ
ดาเนินการพัฒนาศักยภาพของเด็กปฐมวัยในเป้าหมายที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่ นให้กับ
ครอบครัวไทย เป็นต้น ตารางที่ ก.1 แสดงผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนบูรณาการ
การพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จาแนกตามกลุ่มเป้าหมายตามช่วงวัย เป้าหมาย และ
ภาพรวมของแผนบูรณาการฯ
เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) สูง ค่อนข้างสูง สูง ค่อนข้างสูง สูง ค่อนข้างต่า สูง ค่อนข้างสูง
เด็กวัยเรียน (5-14 ปี) สูง ค่อนข้างสูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง
เด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง
วัยแรงงาน (15-59 ปี) สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) สูง สูง สูง สูง สูง ปานกลาง สูง สูง
ที่มา: การคานวณของคณะผู้วิจัย
สรุปความคิดเห็นเชิงคุณภาพที่มีต่อแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
สาหรับการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นเชิงคุณภาพที่มีต่อ แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้รวบรวมข้อมูลจาแนกออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ได้รวบรวมข้อมูลจากการ
จัดประชุมระดมความคิดเห็น ซึ่งพบว่า โครงการต่างๆ ยังไม่สามารถตอบเป้าหมายใหญ่ของแผนบูรณาการฯ
ได้เนื่องจากตัวชี้วัดอยู่ในระดับผลผลิต และเน้นตอบเป้าหมายของงานประจา โดยแต่ละกลุ่มเป้าหมายอาจจะ
ต้องมีโครงการใหญ่สาคัญเพื่อนาไปสู่การบรรลุ เป้าหมายโดยใช้ปัญหาของประเทศมาเป็นตัวตั้งแล้วเอาแต่ละ
ช่วงวัยมาวิเคราะห์ ในด้านการมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนบูรณาการฯ พบว่า เวลาที่ใช้ในการจัดทาข้อเสนอ
โครงการและงบประมาณมักจะกระชั้นชิดทาให้เกิดการมีส่วนร่วมน้อย ในด้านความสอดคล้องของงบประมาณ
x
กับเป้าหมาย พบว่า ควรมีการให้งบประมาณแบบต่อเนื่องมากขึ้นเพื่อให้สามารถสร้างผลกระทบที่มีขนาดใหญ่
นอกจากนั้นที่ผ่ านมาหลายโครงการไม่ผ่านเกณฑ์เพราะไม่อยู่ในฐานงบประมาณซึ่งจะอิงตามงานประจา
ในด้านความพร้ อมในกลไกสนั บสนุน พบว่า ขาดกลไกการสนับสนุนที่เพียงพอทั้งด้านฐานข้อมูล ระหว่าง
หน่วยงานที่ควรมีการแบ่งปันกันในอนาคต ในส่วนของการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ พบว่า หลายโครงการ
นาเอางานประจามารวมในแผนบูรณาการฯ ทาให้การดาเนินงานมีลักษณะต่างคนต่างทา และยังพบว่าหลาย
โครงการเริ่ มมีการบู ร ณาการตามเป้ าประสงค์ของแผนบูรณาการฯ สู่ พื้นที่แต่ยังไม่ส มบูรณ์ นอกจากนั้น
ผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอว่า ควรมีกลไกการประเมินโครงการอยู่ในกระบวนการดาเนินโครงการ และควรมี
คณะกรรมการที่มาจากฝ่ ายเลขานุ การที่ร่ว มขับเคลื่ อนติดตามการดาเนินงานโครงการส าคัญภายใต้ แผน
บูรณาการฯ ส่วนในด้านกลไกการปรับแผน พบว่า การของบประมาณเมื่อไม่ผ่านการอนุมัติมักไม่ทราบว่าไม่
ผ่านการอนุมัติด้วยเหตุผลใดทาให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้ว่าโครงการมีข้อผิดพลาดประการใด
สาหรับส่วนที่ 2 การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล พบว่า แผนบูรณาการฯ ที่ผ่าน
มาขับเคลื่อนได้ดีแต่เงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมีน้อยไปเมื่อเทียบกับขอบเขตที่กว้างมากซึ่งครอบคลุม
ทุกช่วงวัยของแผนบูรณาการฯ และแผนบูรณาการฯ ยังขาดความชัดเจนเรื่องเจ้าภาพที่ขับเคลื่อนงานแต่ละ
ช่วงวัย และยังพบว่างบบูรณาการฯ ส่วนใหญ่ถูกใช้ในงานประจาและมักเน้นเฉพาะกลุ่มที่ด้อยโอกาสทางสังคม
เท่านั้น ตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) ที่เห็นผลลัพธ์ไม่ค่อยมีมากนัก นอกจากนั้นยังพบว่า การบูรณาการในระดับ
ภูมิภาคยังมีค่อนข้างน้อย และโครงการส่วนใหญ่ที่เขียนมาของบประมาณมักมี วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดไม่
สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนบูรณาการฯ โดยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดาเนินงาน อาทิ ควรมีการ
วางเป้ าหมายในแต่ละปี และในแต่ละช่วงวัยให้ชัดเจน โดยต้องหาปัญหาที่จะแก้ไขร่วมกัน แล้ ว ออกแบบ
โครงการและแบ่งความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานร่วมกันเพื่ อตอบเป้าหมาย โดยฝ่ายเลขานุการที่รับผิดชอบ
แผนบูรณาการฯ ควรจะมีการจัดเวทีกลางให้กับตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้พูดคุยแลกเปลี่ยน
แนวคิดก่อนการส่ง ข้อเสนอโครงการ นอกจากนั้นได้เสนอแนะว่า ฝ่ายเลขานุการต้องมองภาพรวมหรือเชิญ
ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการวางแผนกรอบการบูรณาการและออกแบบโครงการร่วมกัน และควรร่วมมื อ กับ
หน่วยงานในท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมถึงสร้างกลไกและระบบการติดตามการบูรณาการ ควรมีการแบ่งปันข้อมูล
กันและดึงชุมชนและครอบครัวมาร่วมในการแก้ไขปัญหา ควรส่งเสริมให้โครงการที่ดีที่จาเป็นได้รับงบประมาณ
ต่อเนื่อง นอกจากนั้นแผนบูร ณาการฯ ต้องให้ความสาคัญเรื่องการขยายผลเพื่อยกระดับการพัฒนาให้ ถึง
กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้ครบถ้วนทั้งประเทศ
สาหรับส่วนที่ 3 เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการประชุมชี้แจง (ร่าง) รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีข้อสังเกตจากคณะกรรมาธิการฯ บางท่านซึง่ เห็นว่าแผนบูรณาการฯ นี้
มีขอบเขตกว้างเกิน ไปและควรมีเป้ าหมายที่ชัดเจนมากกว่านี้ และได้เสนอแนะว่า ในอนาคตหน่ว ยงานที่
เกี่ยวข้องควรมีกระบวนการสื่อสารแบบสองทางให้มากขึ้น ควรจัดลาดับความสาคัญให้ชัดเจนรวมถึงระบุ
หน่วยงานที่รับผิดชอบให้ชัดเจนเพื่อที่สามารถนาไปปฏิบัติต่อได้ สาหรับข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงแผน
บู ร ณาการฯ และการขับ เคลื่ อนในอนาคต ผู้ เข้าร่ว มประชุมได้เสนอแนะว่า ควรถ่ายทอดและกระจายผล
การศึกษาและข้อมูลต่างๆ กลับสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่เพื่อให้ส ามารถนาผล
การศึกษาและข้อค้นพบกลับไปใช้ประโยชน์ ในการปรับปรุงแผนงานและโครงการบูรณาการฯ นอกจากนั้นใน
อนาคตควรเปิดโอกาสในการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกันให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดการนางานประจามาเป็น
งานบูรณาการ รวมถึงการแบ่งปันทรัพยากรหรืองบประมาณ และควรมีการประเมินผลในโครงการสาคัญ
xi
ภายใต้แผนบูรณาการฯ ในอนาคต เช่น ความพึงพอใจของประชาชน คุณภาพชีวิตที่เปลี่ ยนแปลงไปจาก
โครงการ เป็นต้น เพื่อให้เห็นผลกระทบจากแผนบูรณาการฯ ต่อประชาชนอย่างแท้จริง
xii
ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการดาเนินโครงการภายใต้แผนบูรณาการฯ
จากการศึกษาติดตามและประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ปี ง บประมาณ 2560 อย่ า งรอบด้ า น ท าให้ เ ห็ น แนวทางในการเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ลการ
ดาเนินงานตามแผนบูรณาการฯ ดังต่อไปนี้
1. แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยควรยึดประชาชนเป็นตัวตั้ง (Citizen Centric)
แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยเป็นการริเริ่มที่ดีมาก เนื่องจากการพัฒนาคนเป็นรากฐานที่
สาคัญที่สุดประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาคนมีหลายมิติ หลายช่วงชีวิต และหลายกลุ่มคน
ดังนั้น ความต้องการของคนในการได้รับการพัฒนาและการช่วยเหลือจึงมีความหลากหลายมาก และมีความ
เร่งด่วนที่แตกต่างกัน การจัดทาแผนบูรณาการการพัฒนาคนจึงต้องตอบโจทย์ที่หลากหลายดังกล่าว ตลอดจน
การจัดลาดับความสาคัญของความต้องการที่เร่งด่วน นอกจากนี้ ยังจะต้องตอบโจทย์กลุ่มที่ต้องการความ
ช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อน พร้อมไปกับการตอบโจทย์ กลุ่มที่ต้องการเสริมศักยภาพให้มีความเข้มแข็ง
เพิ่มขึ้นอย่างสมดุลกัน
การบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นตัวตั้งจะช่วยให้ทุกฝ่ายมองเห็นภาพรวมและเป้าหมายการพัฒนา
ร่ ว มกั น ควรพิ จ ารณาใช้ ก ารวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล (Data Analytic) เพื่ อ ค้ น หาความต้ อ งการของประชาชน
กลุ่มเป้าหมายแต่ล ะช่วงวัยให้มีความชัดเจน และจัดทาโครงการให้ตอบโจทย์ที่มีลักษณะเฉพาะรายบุคคลได้
ด้วย อย่างไรก็ตาม ทิศทางการพัฒนาคนตามช่วงวัยที่ผ่านมายังขาดเป้าหมายร่วมที่ชัดเจนที่ทุกฝ่ายเห็นพ้อง
ต้องกัน และงานหลั กที่ควรน ามาบู ร ณาการเพื่อตอบโจทย์ประชาชนที่ห ลากหลายนั้นควรจะเน้นที่ จุดใด
ประชาชนกลุ่มไหนบ้าง ประเด็นนี้จะต้องทาให้ชัดเจนขึ้นในอนาคต เพื่อให้หน่วยงานที่เข้ามาร่วมกันทางาน
มองไปในทิศทางเดียวกันและให้น้าหนักไปกับประเด็นสาคัญที่สอดคล้องต้องกัน
ในอนาคตจึงควรเน้นการพัฒนาโครงการแบบองค์รวม (Holistic Development) มีความต่อเนื่อง
และมีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน โดยมีการกาหนดนโยบายเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) ตามระดับความ
จาเป็นแทนการช่วยเหลือแบบถัวเฉลี่ยเท่ากัน ส่งเสริมการพัฒนากระบวนการคิดและการพัฒนาทุนมนุษย์อย่าง
แท้จ ริ งแม้จ ะต้ อ งอาศั ย ระยะเวลาดาเนิ น การนานแทนที่ จะให้ ความส าคัญ กับ นโยบายที่เ ห็ นผลระยะสั้ น
ตลอดจนหลีกเลี่ยงนโยบายที่ก่อให้เกิดช่องทางการรั่วไหลสูงแต่ผลประโยชน์ต่า
2. การขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ ให้มีประสิทธิภาพ
2.1 ในอนาคตควรมี มิติ ก ารขั บ เคลื่ อนงานที่เ น้น ความต้ อ งการของประชาชนเป็น หลั ก มากขึ้ น
(Demand Driven) เพื่อขับเคลื่อนงานที่เน้นความต้องการของประชาชนเป็นหลัก ให้มากขึ้น
ทั้งในช่ว งการเริ่ มต้น การจั ด ทาแผนที่ต้ อ งการการมีส่ ว นร่ว มของประชาชนและพื้ นที่ ช่ว ง
ขับเคลื่อนแผน และช่วงการประเมินผลที่ครอบคลุมผลกระทบต่อประชาชนและความพึงพอใจ
ของประชาชน
2.2 ควรเน้นการขับเคลื่อนการบูรณาการและการทางานบนเครือข่ายความร่วมมือแบบเปิด (Open
Collaborative Network) โดยการบูรณาการการทางานร่วมกับ ทุกภาคส่วน กระทรวงต่างๆ
ประชารัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม
xiii
2.3 ควรเน้นตัวชี้วัดในเป้าหมายใหญ่ที่ตั้งไว้ในแผนบูรณาการฯ หรือกาหนดในลักษณะตัวชี้วัดร่วม
(Joint KPIs) ที่ น าไปสู่ ก ารบู ร ณาการให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงอย่ า งแท้ จ ริ ง ในอนาคตควร
ปรับปรุงตัวชี้วัดระดับโครงการให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดในเป้าหมายใหญ่ที่ตั้งไว้ในแผนบูรณา
การฯ หรือกาหนดในลักษณะตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs)
2.4 ควรพัฒนาโครงการที่มีลักษณะสร้างผลกระทบสูง (Big Rock Project) เพื่อให้สามารถสร้าง
ผลกระทบในวงกว้างระดับประเทศและเกิดการขยายผล (Scale up) พร้อมพิจารณาจัดสรร
วงเงินงบประมาณให้เพียงพอเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ของแผนบูรณาการฯ
2.5 ในอนาคตควรเพิ่มมิติโครงการพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้มีน้าหนักเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการให้เงิน
อุดหนุน โครงการพัฒนาเพิ่มศักยภาพดังกล่าวจะทาให้ในระยะยาวประชาชนสามารถมีความ
เข้มแข็ง ดูแลตนเองได้ และต้องการเงินอุดหนุนน้อยลง ซึ่งจะทาให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
2.6 ควรมีวางแผนงานและเน้นการบูรณาการอย่างมียุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดการทาน้อยแต่ได้มาก
(Less for More) ซึ่ ง จะท าให้ ภ ายใต้ ง บประมาณที่ มี อ ยู่ จ ากั ด สามารถสร้ า งผลกระทบให้
ประชาชนในวงกว้างได้มากขึ้น เช่น การร่วมมือกับชุมชนที่เข้มแข็ง การร่วมงานกับภาคเอกชน
และองค์กรระหว่างประเทศที่ผลักดันในประเด็นการพัฒนาคนที่มีวาระสอดคล้องกัน การสร้าง
ความร่ ว มมือกับ สตาร์ทอัพและผู้ประกอบการทางสังคมเพื่อให้ เกิดภาคีการพัฒ นาที่พึ่งพา
งบประมาณภาครัฐลดน้อยลง เป็นต้น
2.7 เน้นการบูรณาการกับหน่วยงานท้องถิ่นเพิ่มขึ้น รวมถึงออกแบบโครงการที่สอดคล้องกับบริบท
แต่ละพื้นที่ นอกจากนั้นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนน่าจะช่วย
เพิ่มประสิ ทธิภาพในการขับ เคลื่อนจากข้อจากัดด้านทรัพยากรบุคคลและงบประมาณของ
หน่วยงานกลาง
3. กลไกสนับสนุน
3.1 ระบบงบประมาณในอนาคตควรมี ค วามยื ด หยุ่ น และเอื้ อ ต่ อ การบู ร ณาการงานระหว่ า ง
หน่วยงาน และมีระบบงบประมาณที่ให้ เงินต่อเนื่อง เช่น การจัดสรรงบประมาณเป็น ก้ อน
(Block Grant) 3 ปี โดยผูกกับกลไกการประเมินที่เข้มงวด
3.2 ควรเพิ่มช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายในอนาคตและพัฒนาระบบการสื่อสารและการจัดการ
ความรู้ที่มีประสิทธิภาพในหลายช่องทาง ทั้งการหารือแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
การจั ดทาคู่มือต่างๆ ที่เกี่ย วข้อง และการมีช่องทางสื่ อสารที่ห ลากหลาย นอกจากนั้นการ
สื่อสารกับองค์ส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเห็นความสาคัญของปัญหาที่เพิ่มขึ้น
น่าจะช่วยลดปัญหาที่องค์กรส่วนท้องถิ่นไม่ช่วยขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ เนื่องจากเห็ นว่า
ไม่ใช่งานของตนเอง
3.3 ควรพัฒนากลไกการสนับสนุน เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบการติดตามและประเมินผล พัฒนา
ความร่วมมือในการแบ่งปันหรือบูรณาการฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้สามารถ
ดาเนินโครงการเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายประชาชนได้ตรงจุดและครบมิติมากขึ้น ควรส่งเสริม
ให้ท้องถิ่นพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนในแต่ละท้องที่บน Platform และรูปแบบที่เชื่อมขึ้นมา
xiv
เป็ น ภาพใหญ่ได้ ตลอดจนพัฒ นาระบบประเมินผลโครงการชี้ให้ เห็ นถึงประโยชน์ของการ
ประเมิน ผลกระทบ ซึ่งนอกจากจะทาให้ ส ามารถปรับ ปรุ งโครงการให้ ดีขึ้ นในอนาคตแล้ ว
โครงการที่พบว่าสร้างผลกระทบสูงยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและประชาชนได้
ดีมากยิ่งขึ้นด้วย
3.4 ควรพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินผล เพื่อให้การประเมินประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลในเชิงปริมาณในปีงบประมาณถัดๆ ไป มีความสะดวก รวดเร็ว และแม่นยามากขึ้น
เช่น ควรจัดเก็บเอกสารเรียงตามโครงการที่ดาเนินงาน ควรมีการสร้างรหัสโครงการเพื่อการ
ง่ายต่อการติดตามผลระยะยาว ควรปรับรูปแบบแบบฟอร์มรายงานผลให้ผู้กรอกไม่สามารถทา
แตกต่างจากที่กาหนดได้ และสามารถติดตามผลและจัดเก็บได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว การกรอก
รายละเอียดผลการดาเนินงานควรเป็นรูปแบบเดียวกัน ในอนาคตควรมีระบบการติดตามผล
การดาเนินงานแบบอิเลคทรอนิกส์ (ออนไลน์)
3.5 ควรเน้นการพัฒนากลไกการขับเคลื่อน การสร้างระบบนิเวศน์และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม
ที่เอื้ออานวยควบคู่กับ การพัฒ นาศักยภาพที่ตัว คน นอกจากการพัฒ นาคนไทยตามช่ว งวัย
จะต้องเน้นที่ตัวบุคคลระดับปัจเจกแล้ว ควรเพิ่มกลไก เครื่องมือ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทาง
สังคมสมัยใหม่
xv
บทที่ 1
บทนา
๑.1 หลักการและเหตุผล
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีบทบาทในด้านการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและ
ความเสมอภาคในสังคม รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงในชีวิตของสถาบันครอบครัวและชุมชน เพื่อให้
ประชาชนมีความมั่นคงในการดารงชีวิต สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน
ให้ความสาคัญในการดาเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาประเทศในรูปแบบของการบูรณาการ โดยให้บูรณา
การทั้งงาน และเงิน โดยกาหนดให้ส่วนราชการใดส่วนราชการหนึ่งเป็นเจ้าภาพและส่วนราชการอื่นเป็นหน่วย
ดาเนินงาน ทั้งนี้ การกาหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดต้องมีความสอดคล้องกันเพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปตาม
เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด นอกจากนั้นการจัดทาแผนบูรณาการฯ ที่ถูกต้องจะลด
ความซ้าซ้อนของการดาเนินงานในส่วนราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้รับ
มอบหมายให้เป็นเจ้าภาพแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นภารกิจ
หลักของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่จาเป็นต้องมีการพัฒนาคนให้สอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ประเทศและนโยบายของรัฐบาล การจัดทาแผนบูรณาการฯ ได้มีการจัดทาแผนร่วมกันระหว่าง
กระทรวงการพัฒ นาสั งคมและความมั่น คงของมนุษย์ กับส่ ว นราชการที่เกี่ยวข้องและจัดทาตัว ชี้วัดพร้อม
หลักเกณฑ์ เพื่อถ่ายภารกิจไปสู่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจนไปสู่แผนการปฏิบัติการให้ส่วนราชการต่าง ๆ นาไป
ดาเนินงาน ขณะนี้ได้เสร็จสิ้นการดาเนินงานประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 แล้ว
ดังนั้น เพื่อทราบผลการดาเนินงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามแผนการดาเนินงานภายใต้แผน
บูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยว่าประสบความสาเร็จมากน้อยเท่าไหร่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ
และนโยบายของรัฐบาลหรือไม่ และเป็นข้อมูลในการจัดทาแผนการดาเนินงานในปีงบประมาณถัดไป จึงมี
ความจาเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องของการประเมินผลและเข้าใจการ
ประเมินผลของภาครัฐดีพอสมควรมาประเมินผลความสาเร็จ เพื่อจะได้นาผลการประเมินมาใช้ประโยชน์ใน
การทบทวนและกาหนดแนวทางการพัฒนาคนตามช่วงวัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศและนโยบายของ
รัฐบาลต่อไป
1.๒ วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อทราบความสาเร็จของการดาเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนบูรณาการการ
พัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
1.2.2 เพื่อให้หน่วยงานเจ้าภาพมีแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการทบทวนและปรับปรุงแผนบูรณา
การการพัฒนาคนตามช่วงวัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศและนโยบายรัฐบาล
1.๓ เป้าหมายโครงการ
ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตาม
ช่วงวัย มีข้อมูลประกอบการวางแผนและตัดสินใจในการจัดทาโครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางการ
๑
ดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดความคุ้มค่า
ได้แก่
1.3.1 ผลการประเมินความสาเร็จของการดาเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการที่
เกี่ยวข้องภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
1.3.2 รายงานข้อเสนอแนวทางการดาเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อการดาเนินงานตามแผนบูรณาการ
การพัฒนาคนตามช่วงวัย และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศและนโยบายรัฐบาล
1.๔ ขอบเขตการดาเนินงาน
1.4.1 ศึกษาแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
1.4.2 ศึกษาวิธีการดาเนินการตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยลงสู่การปฏิบัติระดับ
โครงการของหน่วยดาเนินงาน (ส่วนราชการระดับกรม)
1.4.3 ศึ ก ษาผลการด าเนิ น งานและการใช้ จ่ า ยงบประมาณตามแบบรายงานที่ ส านั ก งาน
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ใช้ในการดาเนินงาน
1.4.4 ศึกษาอรรถประโยชน์ (Utility) ที่ได้จากการดาเนินงานโครงการภายใต้แผนบูรณาการการ
พัฒนาคนตามช่วงวัยที่มีต่อเป้าหมายของแผนบูรณาการโดยแยกการดาเนินงานในแต่ละแนวทาง
1.4.5 จัดประชุมชี้แจงผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการภายใต้แผนงานบูรณา
การการพัฒนาคนตามช่วงวัย อย่างน้อย 2 ครั้ง
1.4.6 จัดทารายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ จานวน 100 ชุด
1.๕ แนวทางการดาเนินงาน
1.5.1 การรวบรวมข้อมูล
1.5.1.1) วิเคราะห์ความเชื่อมโยงแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย 3 เป้าหมาย 15 แนวทาง 24 ตัวชี้วัด
1.5.1.2) ศึกษาวิธีการดาเนินการตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยลงสู่การปฏิบัติ
ระดับโครงการของหน่วยดาเนินงาน (ส่วนราชการระดับกรม) ประกอบด้วย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 7 กระทรวง
รวม 29 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวง
แรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิ ทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กระทรวงศึ กษาธิ การ และ กระทรวง
สาธารณสุข รวมทั้งสถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยบู รพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
1.5.1.3) ศึกษาผลการดาเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณตามแบบรายงานที่สานักงาน
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ใช้ในการดาเนินงาน
1.5.1.4) ศึกษาอรรถประโยชน์ (Utility) ที่ได้จากการดาเนินงานโครงการภายใต้แผนบูรณา
การการพัฒนาคนตามช่วงวัยที่มีต่อเป้าหมายของแผนบูรณาการโดยแยกการดาเนินงานในแต่ละแนวทาง
๒
1.5.2 จัดประชุมชี้แจงผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการภายใต้แผนบูรณาการ
พัฒนาคนตามช่วงวัย อย่างน้อย 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจงเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของ
ส่วนราชการภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 80 คน
ครั้งที่ 2 ประชุมชี้แจง (ร่าง) รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
1.5.3 จั ดทารายงานผลการศึ กษาฉบั บสมบูรณ์ โดยเน้นการเสนอแนวทางการด าเนิ นงานที่ เป็ น
ประโยชน์ต่อการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย และความสาเร็จของการดาเนินงาน
จากการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
1.6 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 180 วัน
1.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.7.1 ได้ ร ายงานการประเมิ น ผลการด าเนิ นงานตามแผนบูร ณาการการพั ฒ นาคนตามช่ว งวัย
ปี งบประมาณ พ.ศ. 2560 เพื่อใช้เป็ น กรอบแนวทางการกาหนดทิ ศทางการพัฒ นาคนให้ ส อดคล้ อ งกั บ
ยุทธศาสตร์ประเทศและนโยบายรัฐบาล อันจะนาไปสู่การพัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัยและสังคมไทย ให้มี
การพัฒนาอย่างมีคุณภาพ อยู่ดีมีสุข และยั่งยืน
1.7.2 มีแนวทางในการปรับปรุงการดาเนินโครงการภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
1.7.3 มีต้นแบบในการประเมินผลแผนบูรณาการที่สามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในประเมินผลใน
อนาคตต่อไป
1.8 แผนการดาเนินงานวิจัย
เพื่อให้การดาเนินงานภายใต้โครงการฯ มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
การศึกษาครั้งนี้ได้กาหนดรายละเอียดแผนการดาเนินงานวิจัยตามขอบเขตของงานในระยะเวลา 180 วัน ซึ่ง
สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1.1 และสอดคล้องกับขั้นตอนต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
๓
ตารางที่ ๑.1 แผนงานวิจัย
วันหลังจากลงนามในสัญญา
กิจกรรม 1- 16- 31- 46- 61- 76- 91- 106- 121- 136- 151- 166-
15 30 45 60 75 90 105 120 135 150 165 180
๔
บทที่ 2
แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการประเมินผล
สาหรับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตาม
ช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 สามารถแบ่งออกเป็น ๒ แนวคิดหลัก ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับโครงการ
ทางสังคม และแนวคิดเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล ซึ่งแต่ละแนวคิดมีรายละเอียดดังนี้
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับโครงการทางสังคม
โครงการทางสั งคม (Social Project) หมายถึง โครงการที่มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะเปลี่ ยนแปลง
คุณภาพชีวิตของประชาชนไปในทางที่ดีขึ้น เช่น ทาให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดีขึ้น มีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น
มีอาชีพสุจริต มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย มีความรักและความผูกผันในชาติบ้านเมือง มีสภาพแวดล้อมที่ดี
มีวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เป็นต้น (พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์, 2543)
โครงการทางสังคมจึงต้องมีประชากรกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับคุณประโยชน์ของโครงการ ประโยชน์
อาจเกิดกับประชากรกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เช่น ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมาย หรือประโยชน์
อาจเกิดโดยทางอ้อม เช่น ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นผู้นาความรู้ไปเผยแพร่เพื่อให้ประโยชน์เกิดกับประชากร
กลุ่ ม เป้ า หมายอี ก ที ห นึ่ ง หรื อ โครงการอาจอยู่ ใ นรู ป ของการจั ด บริ ก ารสาธารณู ป โภคเพื่ อ ให้ ป ระชากร
กลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์ของโครงการทางสังคมจึงต้องระบุให้เห็นถึงปริมาณและคุณภาพ
ของประโยชน์ที่จะเกิดกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย
โครงการทางสังคมจะถูกบริหารและรับผิดชอบโดยหน่วยงานของรัฐเป็นส่วนใหญ่ เพราะรัฐมี หน้าที่
โดยตรงในการดูแลความผาสุก ของประชาชน อย่างไรก็ ตาม ท่ามกลางการแข่งขันในการประกอบอาชีพของ
เอกชน เอกชนอาจตระหนักในปัญหาของการอยู่ร่วมกัน และเข้ามามีบทบาทในการจัดทาโครงการทางสังคม
ด้วย เช่น โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โครงการอาสาสมัครต่างๆ เป็นต้น
หากพิจารณาว่ารัฐมีหน้าที่ในการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รัฐจึงมี
หน้าที่ในการกาหนดโครงการทางสังคมประเภทต่างๆ ด้วยการกาหนดออกมาเป็นนโยบายสาธารณะ การนา
นโยบายมากาหนดเป็นแผนงาน การจัดทารายละเอียดของแผนงานในรูปโครงการต่างๆ หลังจากนั้น รัฐจะต้อง
ทาหน้าที่มอบหมายความรับผิดชอบในแผนงานและโครงการเหล่านี้ให้กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อทา
หน้าที่บริหารโครงการต่อไป
2.1.๑ ส่วนประกอบที่สำคัญของโครงกำรทำงสังคม
โดยทั่วไปโครงการทางสังคมมีส่วนประกอบที่สาคัญ ดังนี้ (พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์, 2543)
ก) ปัจจัยนำเข้ำ (Input)
ปัจจัยนาเข้า หมายถึง ปัจจัยที่โครงการสามารถรับจากระบบของสังคมเพื่อนามาใช้
ให้เกิดการบริหารงานของโครงการตามแผนงานที่ได้วางเอาไว้ ปัจจัยเหล่านี้อาจอยู่ในรูปที่เป็นนามธรรม เช่น
ความต้องการที่จะให้โครงการสร้างความพึงพอใจให้กับตน หรืออยู่ในรูปกายภาพที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม อาทิ
คุณสมบัติต่างๆ ทางกายภาพที่จัดเป็นทรัพยากรที่จาเป็นของโครงการ
๕
รายละเอียดที่สาคัญสามารถพิจารณาได้จากวัตถุประสงค์ของโครงการ หลักทฤษฎีที่
โครงการนามาใช้ วิธีการที่นามาใช้ บุคลากรของโครงการ วัสดุ อุปกรณ์เครื่องใช้ ผู้เข้ารับบริการจากโครงการ
อาคารสถานที่ ระยะเวลาของการให้บริการ ขนาดของโครงการ แหล่งที่ตั้งของโครงการ และการบริหารงาน
ของโครงการ เป็นต้น ปัจจัยนาเข้าดังกล่าวจะทาให้โครงการเกิดการดาเนินงานขึ้น การดาเนินงานจะเป็น
เช่น ใด เป็ น ไปตามแผนงานที่ได้ว างไว้ห รื อ ไม่ จาเป็นต้องมีการเปลี่ ยนแปลงในวั ตถุประสงค์ และวิธีการ
ดาเนิ น งานหรือไม่ คุณสมบั ติของปั จ จั ย นาเข้าจะเป็นตัวกาหนด และทาให้ กิจกรรมต่างๆ ของโครงการมี
ลักษณะเฉพาะ ปัจจัยนาเข้าอาจได้รับการประเมินผลในเชิงปริมาณว่าเป็นไปตามประมาณการที่กาหนดไว้
หรือไม่ ได้รับการจัดสรรครบถ้วนหรื อไม่ และยังอาจประเมินในเชิงคุณภาพว่ามีคุณภาพตรงตามเกณฑ์ที่
กาหนดไว้หรือไม่
ข) กิจกรรมของโครงกำร (Activities)
การวิเคราะห์ กิจ กรรมของโครงการ เป็นการจาแนกภารกิจของโครงการในการ
ทางานออกเป็นกิจกรรม โครงการหนึ่งๆ อาจมีได้หลายกิจกรรม ผลรวมของผลงานในทุกๆ กิจกรรมจะทาให้
เกิดผลงานหรือผลผลิต (Output) ของโครงการขึ้น โครงการจะต้องมีแผนในการดาเนินกิจกรรม มีแนวทางการ
ดาเนินกิจกรรมและมีแนวคิดในการดาเนินกิจกรรมที่สามารถอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างการดาเนินกิจกรรม
กับผลงานของโครงการ
ตามหลักการ โครงการจะต้องดาเนินการตามแผนการที่โครงการได้กาหนดไว้ มีการ
จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ จัดจ้างบุคลากร เตรียมสถานที่ จัดให้มีการดาเนินงานตามระยะเวลา
ที่ได้กาหนดไว้ ตรวจสอบความสาเร็จเป็นระยะๆ การดาเนินงานดังกล่าวจะทาให้กิจกรรมทั้งหลายสามารถ
ดาเนินการไปได้ตามแนวทางที่กาหนดในการประเมินผลกิจกรรมมักเป็นเรื่องของการตรวจสอบความก้าวหน้า
ของแต่ละกิจกรรม ตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมกับผลของกิจกรรม รวมไปถึงความเชื่อมโยง
ระหว่างผลของกิจกรรมทั้งหลายกับผลงานของโครงการ ความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของการบริหาร
โครงการยั ง ท าให้ นั กประเมิน ผลทราบถึ ง ปัจ จัย ที่ อ าจส่ งผลให้ ป รากฎในระดั บต่ างๆ มีความแตกต่ า งกั น
โดยทั่วไป เมื่อมีการบริหารโครงการเกิดขึ้นจริง จะมีปัจจัยที่สาคัญเกิดขึ้น 2 ด้าน คือ
1) ปั จ จั ย ด้ า นการบริ ห ารงานของโครงการ ในขณะที่ โ ครงการเริ่ ม
ดาเนินงานในสภาพแวดล้อมจริง การบริหารงานอาจไม่ได้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ เช่น ผู้ให้บริการบางคนมี
ความสามารถสูงกว่าคนอื่นๆ ผู้เข้ารับบริการมีความถี่ในการเข้ารับบริการแตกต่างกัน และต่างได้รับบริการจาก
ผู้ให้บริการที่มีความสามารถแตกต่างกัน คาถามที่เกิดขึ้นคือ มีการบริหารงานจริงอย่างไร ปัจจัยทั้งหลายที่
เกิดขึ้นในระหว่างการดาเนินกิจกรรมทั้งหลายดาเนินไปตามแผนการที่วางไว้หรือไม่
2) ปัจจัยด้านแนวคิดหรือทฤษฎีของโครงการ ทฤษฎีจะอธิบายว่าทาไม
โครงการจึงต้องมีหลายๆ กิจกรรม และกิจกรรมเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับผลงานของโครงการอย่างไร ผลงาน
เหล่านี้จะนาไปสู่การบรรลุความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือ ไม่ กิจกรรมเหล่านั้นมีความจาเป็น
และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ของโครงการหรือไม่ คาตอบของคาถามเหล่านี้เป็นเรื่องในเชิงทฤษฎี เป็นการนาเอา
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับในอดีตมาอธิบายหรืออิงกับทฤษฎีที่เคยมีการวิจัยไว้แล้ว
๖
ค) ผลงำนหรือผลผลิตของโครงกำร (Output)
เมื่อโครงการเริ่มดาเนินงาน ผลของกิจกรรมต่างๆ จะเกิดขึ้นตลอดเวลาและต่อเนื่อง
และในท้ายที่สุด เมื่อกิจกรรมทั้งหลายสิ้นสุดลงผลงานหรือผลผลิตของโครงการจะเกิดขึ้น การบริหารที่ถูกต้อง
จะทาให้ผลของกิจกรรมเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และนาไปสู่ผลผลิตที่ตรงตามความต้องการของโครงการ
ง) ผลที่สังคมได้รับหรือผลลัพธ์ (Outcome)
ผลที่สังคมได้รับอาจเรียกได้ว่าเป็นผลลัพธ์สุดท้ายของโครงการ (Outcome) หรือ
เรียกได้ว่าเป็นผลกระทบ (Impact) ของโครงการที่มีต่อสังคม เป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งโดยทางตรง
และทางอ้อม ทั้งที่โครงการตั้งใจให้เกิดขึ้นและที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น
เมื่ อ สั ง คมได้ รั บ ผลจากโครงการทางสั ง คมจะมี ก ารตอบสนอง (Feedback) ต่ อ
โครงการทั้งทางบวกและทางลบ เช่น การให้การสนับสนุน ยกย่องชมเชย หรือไม่ให้การสนับสนุน ตาหนิ หรือ
ทั้งสองอย่างเป็นกรณีไป
2.1.2 ลักษณะของผลที่ได้รับจำกโครงกำรทำงสังคม
ลักษณะของผลจากโครงการทางสังคมที่มีต่อประชากรกลุ่มเป้าหมายอาจจาแนกได้เป็นหลาย
ลักษณะ คือ
ก) ผลที่ เ กิ ด ต่ อ บุ ค คล ได้ แ ก่ การมี ค วามรู้ เ พิ่ ม มากขึ้ น การเปลี่ ย นแปลงในทั ศ นคติ
การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม การมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น การมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลมากขึ้น และ
การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น
ข) ผลที่เกิดต่อสถำบันทำงสังคม ได้แก่ การให้บริการเพิ่มมากขึ้น การให้บริการมีคุณภาพ
มากขึ้ น สถาบั น ได้ รั บ การยอมรั บ จากสั ง คมมากขึ้ น และสถาบั น อ านวยประโยชน์ แ ก่ สั ง คมมากยิ่ ง ขึ้ น
เป็นต้น
ค) ผลที่เกิดต่อสังคม ได้แก่ สังคมมีสิ่งก่อสร้าง/บริการ/กิจกรรมเกิดขึ้น สังคมมีการเรียนรู้ใน
การใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้าง/บริการ/กิจกรรม สังคมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีการค้าขายมากขึ้น ร้านค้า
มากขึ้น สิ่งแวดล้อมน่าอยู่มากขึ้น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น มีองค์กรทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
หรือสังคมมีมาตรฐานการดารงชีวิตมากขึ้น เป็นต้น
๗
ภาพที่ 2.1 กระบวนการดาเนินงานของโครงการทางสังคม
ที่มา: พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์, 2543
2.๒ แนวคิดเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผลเป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยในการพิจารณาหรือวิเคราะห์ผลลัพธ์
ทั้งที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาซึ่งเกิดจากการดาเนินกิจกรรมบางประเภทที่มุ่งให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่
ต้องการความสาคัญของการประเมินผล
จุดมุ่งหมายของการวิจัยประเมินผลก็เพื่ อวัดผลกระทบของโครงการเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
ในฐานะเป็น มรรควิธีที่นาไปสู่ การตัดสิน ใจเกี่ยวกับโครงการและปรับปรุงโครงการในอนาคต ผลของการ
ประเมินผลดังกล่าวสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในประเด็นต่างๆ ดังนี้ (ปุระชัย , ๒๕๔๒: ๔๒;
Gertler et al., 2016; Royse, Thyer, and Padgett, 2015)
๑) ควรจะให้มีโครงการต่อไปหรือควรยุติ การประเมินผลทาให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและข้อจากัด
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทราบถึงผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการด้วย ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นแนวทาง
สาหรับผู้บริหารที่จะตัดสินใจว่าควรจะมีการดาเนินการต่อไปหรือควรยุติโครงการ
๒) เพื่อปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้ก้าวหน้า การประเมินผลโครงการจะมุ่งไปสู่การประเมินผลของ
การปฏิบัติของผู้บริหารโครงการและทีมงานที่เกี่ยวข้องซึ่งการประเมินในลักษณะดังกล่าวจะทาให้ทราบถึง
ปัญหาที่เกี่ยวกับระเบียบวิธีการปฏิบัติและแนวทางการปฏิบัติ
๓) ควรเพิ่มหรือตัดออกซึ่งมาตรการและเทคนิคบางอย่างของโครงการ ในกรณีที่โครงการเกิดปัญหา
และข้อขัดข้องอาจจาเป็นที่จะต้องใช้เทคนิคหรือมาตรการใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้
๔) เพื่อสร้างโครงการในลักษณะคล้ายคลึงกันในท้องที่อื่นๆ ในกรณีที่โครงการประสบความสาเร็จ
อาจจะนามาเป็นแนวทางและข้อมูลสาหรับโครงการอื่นๆ ต่อไป
๘
การติดตามและประเมินผลเป็นขั้นตอนที่สาคัญขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการวางแผน แต่ก็เพิ่งได้รับความสนใจ
อย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะในช่วงปี ค.ศ.๑๙๖๑-๑๙๗๙ ที่ได้มีการพัฒนาระบบการติดตามและ
ประเมินผลในองค์การระหว่างประเทศ โดยตระหนักกันว่าการติดตามและประเมินผลนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
เพราะเป็นเครื่องมือสาคัญในการบริหารโครงการทั้งหลายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ การติดตาม
และประเมิ น ผลเป็ น ขั้ น ตอนในการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล สารสนเทศต่ า งๆ เพื่ อ น ามาศึ ก ษาและวิ เ คราะห์
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผน เพื่อที่จะได้นาข้อมูล
ดังกล่าวไปปรับปรุงแก้ไขการดาเนินงานให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คาว่าการติดตามและประเมินผลมีความแตกต่าง
กันตามสมควรดังต่อไปนี้ คือ
2.๒.๑ กำรติดตำมผล
การติ ด ตามผล (Monitoring) หมายถึ ง กระบวนการตรวจสอบหรื อ การศึ ก ษาการ
เปลี่ยนแปลงของทรัพยากรกิจกรรมต่างๆ และผลผลิตโดยกระทาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่โครงการดาเนินงานอยู่
ปกติแล้วการติดตามมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการได้มาการจัดสรรและการใช้ทรัพยากรของโครงการเพื่อให้เกิ ด
ผลผลิต (Output) ในเวลาที่กาหนด ประโยชน์ของการติดตามผลก็คือการบ่งบอกถึงปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่
เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรการดาเนินกิจกรรมหรือการปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้ได้ผลงานโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะ
ช่วยให้มีการตัดสินใจแก้ไขปัญหาอุปสรรค ควบคุม และปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือ
โครงการและภายในระยะเวลาที่กาหนดไว้
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่าการติดตามผลเป็นปัจจัยหนึ่งที่สาคัญและจาเป็นเพื่อให้
สามารถดาเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กาหนดไว้ ซึ่งการติดตามผลสามารถแบ่งขั้นตอนที่สาคัญได้ ๓ ขั้นตอน
คือ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๘; Royse, Thyer and Padgett, 2015)
(๑) การติดตามปั จ จั ย ที่จ ะใช้ในโครงการหรื อแผนงานนั้นๆ มีมากน้อยเพียงใดครบถ้ ว น
ถูกต้องหรือไม่ มีมาตรฐานตามที่ได้กาหนดไว้หรือไม่ โดยปัจจัยที่ใช้ในโครงการหรือแผนงานได้แก่ งบประมาณ
กาลัง คน และวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น
(๒) การติ ด ตามกิ จ กรรมหรื อ การด าเนิ น งานว่ า ได้ มี ก ารน าทรั พ ยากรหรื อ ปั จ จั ย ที่ ใ ช้ ใ น
โครงการมากน้อยเพียงใด เพียงพอหรือไม่ มีวิธีดาเนินงานอย่างไร เป็นไปตามขั้นตอนตามระยะเวลาที่กาหนด
ไว้ในแผนการดาเนินงานหรือไม่ เพียงใด
(๓) การติดตามความก้าวหน้าของการดาเนินงานว่ามีผลของการดาเนินงานตามขั้นตอน
ปรากฏออกมามากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายตามลาดับขั้นที่กาหนดไว้
2.๒.๒ กำรประเมินผล
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง กระบวนการศึกษาวิเคราะห์อย่างถ่องแท้ซึ่งเกี่ยวกับ
ทรัพยากรหรือปัจจัยนาเข้ากิจกรรมต่างๆ และผลลัพธ์ทั้งหลายของโครงการเปรียบเทียบกับบรรทัดฐานหรือสิ่ง
ที่ ก าหนดไว้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล บรรทั ด ฐานหรื อ สิ่ ง ที่ ก าหนดอาจจะเป็ น เป้ า หมาย
วั ต ถุ ป ระสงค์ นโยบาย มาตรการ และงบประมาณ เป็ น ต้ น ประโยชน์ ข องการประเมิ น ผลก็ เ พื่ อ ให้ ก าร
ปฏิบั ติงานเป็ นไปตามวัตถุประสงค์และเป้ าหมายที่กาหนด และใช้ประโยชน์ของการประเมินผลเพื่อการ
วางแผนและพัฒนาโครงการในอนาคตต่อไป (Gertler et al., 2016) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการประเมินผลมี
ความสาคัญยิ่งในกระบวนการวางแผนพัฒนาโดยทาหน้าที่ ๓ ประการ คือ
๙
(๑) การประเมิน ผลช่ว ยให้ นั กวิ เคราะห์ นโยบายและผู้ กาหนดนโยบายมี ข้อ มูล ที่ ถู ก ต้ อ ง
เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ ทาให้ทราบว่าการปฏิบัติงานนั้นมีผลอย่างไร ปัญหาอันเป็นที่มาของนโยบายนั้นได้รับ
การบรรเทามากน้อยเพียงใด
(๒) การประเมินผลช่วยให้นักวิเคราะห์นโยบายและผู้กาหนดนโยบายทราบถึงความถูกต้อง
เหมาะสมและความชัดเจนของวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่ได้กาหนดไว้เนื่องจากการประเมินผล
ต้ อ งมี เ กณฑ์ ที่ ชั ด เจนแน่ น อน ดั ง นั้ น ถ้ า เป้ า หมายมี ค วามชั ด เจนมากเท่ า ใดก็ จ ะเป็ น ผลให้ ก ารปรั บ ปรุ ง
เปลี่ยนแปลงนโยบายทาได้รอบคอบและรัดกุมขึ้น
(๓) การประเมินผลช่วยให้มีการเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาในโอกาสต่อไปซึ่งจะทาได้
อย่างละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบและรัดกุมขึ้น ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการประเมินผลทาให้นักวิเคราะห์และผู้กาหนด
นโยบายทราบถึงปัญหาได้อย่างถ่องแท้และกว้างขึ้น การวิเคราะห์และเสนอทางออกจึงมีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น เนื่องจากการประเมินผลมีความสาคัญดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น จึงมีผู้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบที่
เป็นอุดมคติของการประเมินผลว่าควรมีลักษณะที่สาคัญดังต่อไปนี้ คือ
(๓.๑) การประเมินผลต้องมีลักษณะเป็นสาขาวิชามีการดึงเอาความรู้จากศาสตร์
ต่างๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เข้าใจลักษณะและคุณค่าของผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ระบุไว้ในแผนอย่าง
ถ่องแท้
(๓.๒) การประเมินผลต้องเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ประเมินเองและผู้ที่มีอานาจตัดสินใจ
กล่าวคือ ผู้ประเมินและผู้รับผิดชอบนโยบายเห็นพ้องต้องการในลักษณะและวิธีการประเมิน
(๓.๓) การประเมินผลต้องนายุทธวิธีต่างๆ มาผสมผสานกันอย่างเหมาะสมเพื่อให้
เข้าใจผลของนโยบายที่ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนขึ้น
(๓.๔) การประเมินผลต้องกระทาอย่างเป็นกลางให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้
(๓.๕) การประเมินผลต้องยืดหยุ่นพอที่จะยอมรับระเบียบวิธีการวิจัยทั้งทางปริมาณ
และคุณภาพ
2.๒.๓ ประเภทของกำรประเมินผล
การประเมินผลอาจจาแนกออกได้อย่างน้อย ๓ ประเภท คือ การประเมินผลจาแนกตาม
วิ ธี ก ารประเมิ น การประเมิ น ผลจ าแนกตามผู้ ป ระเมิ น และการประเมิ น ผลจ าแนกตามระยะเวลา
ดังรายละเอียดต่อไปนี้ คือ
การประเมินผลจาแนกตามวิธีการประเมิน
วิธีการประเมิน หมายถึง วิธีการที่ผู้ประเมินผลใช้ในการออกแบบการประเมินเก็บ
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ วิธีการประเมินโดยทั่วไปสามารถแบ่งเป็น ๒ วิธี
คือ วิธีการตามแนวปริมาณและวิธีการตามแนวคุณภาพ ซึ่งแต่ละวิธีมีลักษณะ คือ
(๑) การประเมิ น ผลตามแนวปริ ม าณ ( Quantitative Approach) เป็ น การ
ประเมินผลที่เน้นการนาเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในการประเมินผล กล่าวคือ เน้นการให้ค่า
ทางตัวเลขกับปรากฏการณ์ต่างๆ อันเป็นผลจากนโยบายมาตรการแผนงานหรือโครงการ นาตัวเลขที่ได้มา
คานวณโดยอาศัยวิธีการทางสถิติและ/หรือคณิตศาสตร์ ถ้าเป็นไปได้จะพยายามสร้างตัวแบบทางสถิติและ/หรือ
๑๐
คณิ ต ศาสตร์ ขึ้ น มาเพื่ อ อธิ บ ายผลจากการด าเนิ น งานดั ง กล่ า ว ดั ง เช่ น การประเมิ น ผลของการเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อวิทยุกับสื่อโทรทัศน์มีผลต่อยอดการจาหน่ายสินค้าของสถานประกอบการแตกต่างกัน
มากน้อยเพียงใด การประเมินผลแนวปริมาณจะเน้นการเปรียบเทียบยอดขายที่ เป็นผลสืบเนื่องระหว่างการ
ประชาสัมพันธ์สองรูปแบบดังกล่าวมาเปรียบเทียบกัน เป็นต้น
(๒) การประเมินผลตามแนวคุณภาพ (Qualitative Approach) เป็นการประเมินผล
ที่เน้นการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการนานโยบาย มาตรการ แผนงานหรือโครงการและผลของ
การดาเนินการดังกล่าวไปปฏิบัติ การประเมินผลตามแนวคุณภาพมักสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินโดย
ยึดประสบการณ์ที่ได้รับรู้มาเป็นเกณฑ์ ไม่นิยมการใช้วิธีการทางสถิติและ/หรือคณิตศาสตร์ ในกรณีของการ
ประเมินผลการประชาสัมพันธ์ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น การประเมินแนวนี้อาจจะใช้การสัมภาษณ์พูดคุยกับผู้ซื้อ
หรือผู้บริโภคแล้วประเมินผลออกมา
การประเมินผลจาแนกตามผู้ประเมิน
ประเภทการประเมินผลโดยทั่วไปเมื่อพิจารณาจากผู้ประเมิน สามารถจาแนกเป็น 3
ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
(๑) การประเมินผลโดยหน่วยงานรัฐบาล เป็นการประเมินประเภทที่มักเน้นการ
ประเมิน ผลกรณีใดกรณีห นึ่งหรื อจุดใดจุ ดหนึ่งของนโยบายเท่านั้น และจะนาเอาเฉพาะพื้นที่บางพื้นที่มา
พิจารณา โดยมีลักษณะที่ทาเป็นครั้งคราวเพื่อตรวจสอบการทางานเป็นระยะมากกว่าการประเมินผลเต็มรูป
ทั้งหมด วิธีการที่ใช้ในการประเมินผลมักมี ลักษณะไม่แน่นอน โดยทั่วไปจะมีลักษณะที่ทาเพื่อให้สอดคล้องกับ
กฎเกณฑ์หรือระเบียบปฏิบัติต่างๆ มากกว่าการประเมินอย่างจริงจัง
(๒) การประเมินผลโดยองค์การอิสระ เป็นการประเมินผลที่มีวิธีการและคุณภาพการ
ประเมินผลแตกต่างไปตามคุณสมบัติของผู้ประเมิน
(๓) การประเมินผลโดยนักวิชาการ เป็นการประเมินผลที่มีลักษณะเป็นระบบมีความ
ถูกต้องทางวิชาการสูง โดยทั่วไปมักทาตามขั้นตอนที่สาคัญ ๕ ขั้นตอนเรียงลาดับ ดังนี้
(๓.๑) การชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายที่ต้องการประเมิน
(๓.๒) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่อาจพบในระหว่างการประเมิน
(๓.๓) กาหนดวิธีการและสิ่งที่ต้องการทาเพื่อประเมินผลนโยบายที่ต้องการ
(๓.๔) วัดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากการนานโยบายไปปฏิบัติ
(๓.๕) แยกแยะให้ชัดเจนว่าผลข้อใดเกิดจากการนานโยบายไปปฏิบัติผลข้อ
ใดเกิดจากเหตุอื่นๆ และสุดท้ายคือการวิเคราะห์ว่าผลที่เกิดขึ้นจะอยู่เช่นนั้นนานเท่าใด
นอกจากนี้ การประเมินผลประเภทนี้มักพยายามชี้ให้ชัดว่าเป้าหมายหรือ
วัตถุป ระสงค์ คื อ อะไร กลุ่ มเป้ าหมายของนโยบายคื อ ใคร การเปลี่ ยนแปลงที่ค าดหวั งให้ เ กิ ด ขึ้น คื อ อะไร
มากน้อยเพียงใด วัตถุประสงค์มีหนึ่งเดียวหรือแยกเป็ นหลายๆ ข้อ และสุดท้ายคือการบรรลุวัตถุประสงค์หรือ
เป้าหมายนั้นทาได้อย่างไร วิธีการใช้ในการประเมินผลตามแนวนี้มีตั้งแต่วิธีการทดลองในลักษณะคล้ายคลึงกับ
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ไปจนถึงวิธีการที่ไม่ใช้การทดลองเลยแต่เน้นการเก็บรวบรวมทั้งหลายที่พอรวบรวม
๑๑
ได้ภายหลังเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วเพื่อนามาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานกับ
นโยบายมาตรการแผนงานหรือโครงการที่นาไปปฏิบัติ
การประเมินผลจาแนกตามระยะเวลา
ในการประเมินผลซึ่งจาแนกตามระยะเวลาของการดาเนินงาน อาจแบ่งออกได้เป็น
๓ ระยะ คือ
(๑) การประเมินผลก่อนการดาเนินงาน (Ex-ante Evaluation) เป็นการประเมินผล
ที่กระทาในช่วงการจัดเตรียมและวางโครงการในระยะของการจัดทาแผนหรือกระทาในช่วงก่อนการปฏิบัติงาน
ตามโครงการ ในการประเมินมักจะมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงาน
(๒) การประเมิน ผลในระหว่างการดาเนินงาน (On-going Evaluation) เป็นการ
ประเมินที่กระทาในช่วงของการดาเนินงานตามโครงการและเน้นศึกษาในเรื่องผลผลิต (Output) ในรูปผลที่
เกิดขึ้นโดยตรง (Effect) รวมถึงผลกระทบในระยะสั้น (Immediate Impact)
(๓) การประเมินผลภายหลังการดาเนินงาน (Ex-post Evaluation) เป็นการประเมิน
ที่กระทาภายหลังหรือเมื่อได้ดาเนินงานตามโครงการไปเรียบร้อยแล้วซึ่งจะเน้นศึกษาถึงผลที่เกิดขึ้นโดยตรง
(Effect) ผลกระทบในระยะสั้น (Immediate Impact) และผลกระทบในระยะยาว (Long-term Impact)
2.๒.๔ เกณฑ์ที่ใช้ในกำรประเมินผล
ในการประเมินผลต้องมีเกณฑ์ต่างๆ (Criteria) ที่ใช้วัดผลของการปฏิบัติงานตามนโยบายและ
มาตรการต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในแผนงานหรือโครงการของแผนต่างๆ ซึ่งมีเกณฑ์ที่สาคัญ ๖ ประการดังนี้ คือ
(๑) เกณฑ์ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์
หรือเป้าหมายของนโยบายมาตรการแผนงานหรือโครงการ ถ้าบรรลุเป้าหมายถือว่าผ่านการประเมิน แต่ถ้ายัง
ไม่บรรลุถือว่าไม่ผ่านการประเมินผล การใช้เกณฑ์นี้สามารถทาได้โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง (Actual
Results) กับผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือที่ได้กาหนดเป้าหมายไว้ในแผนงานโครงการ (Plan Targets) ดังเช่น ใน
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด มีการกาหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่าต้องการส่งเสริมให้เด็กแรกเกิด
และปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยซึ่งเป็นพื้นฐานที่สาคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงวัยอื่นๆ เมื่อ
ได้ดาเนินงานตามแผนงานหรือโครงการต่างๆ ไปครบหนึ่งปีแล้ว ปรากฏว่ามี จานวนเด็กที่ได้รับสวัสดิการเงิน
อุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ๓๕๐,๐๐๐ คน ตามตัวชี้วัดของโครงการที่ตั้งไว้ ก็ถือได้ว่าการปฏิบัติงาน
ตามโครงการข้างต้นประสบความสาเร็จในแง่ประสิทธิผล เป็นต้น
(๒) เกณฑ์ ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (Efficiency) ในทางเศรษฐศาสตร์ ประสิ ท ธิ ภ าพ หมายถึ ง
ความสามารถในการผลิตผลผลิตให้ได้จานวนมากที่สุด (Maximum Output) ภายใต้ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่
กาหนดมาให้ (Given Cost) หรือหมายถึงความสามารถในการผลิตผลผลิตซึ่งกาหนดให้จานวนหนึ่ง (Given
Output) โดยเสียต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าสุด (Minimum Cost) ในการประเมินตามเกณฑ์ประสิทธิภาพนี้จึง
อาจทาได้โดยการพิจารณาจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงจากการดาเนินงานตามโครงการในแผนเปรียบเทียบกับ
งบประมาณที่ใช้ในการดาเนินงาน โดยโครงการที่มีสัดส่วนผลลัพธ์สูงสุดเมื่อเทียบกับงบประมาณคือโครงการที่
มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น นอกจากนี้การประเมินผลโดยอาศัยการวิเคราะห์ทางการเงินจากตัวชี้วัดต่างๆ
อาทิ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio: BCR) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value:
๑๒
NPV) และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return: IRR) ก็ถือได้ว่าเป็นตัวชี้วัดของการ
ประเมินผลภายใต้เกณฑ์ประสิทธิภาพนี้ได้
นอกจากนี้ ยั งมีแนวคิดเกี่ ยวกับ การประเมิน ประสิ ทธิภ าพโครงการโดยใช้ ห ลั ก
ต้นทุน-ประสิทธิผลซึ่งเป็นการประเมินอัตราส่วนค่าใช้จ่ายกับประสิทธิผล (Cost-Effectiveness หรือ C/E)
วิธีนี้ถูกนามาใช้เนื่องจากการประเมินอัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อต้นทุนจาเป็นต้องมีการแปลงหน่วยของ
ผลประโยชน์ ที่ เ กิ ด จากผลลั พ ธ์ แ ละผลกระทบให้ เ ป็ น เงิ น ตราซึ่ ง มั ก มี ค วามยากล าบากต่ อ การประเมิ น
ประสิทธิภาพของโครงการสาธารณะ หรือโครงการทางเศรษฐกิจและสังคมของภาครัฐ เนื่องจากผลลัพธ์ของ
โครงการมักจะตีค่าเป็นตัวเงินได้ไม่ชัดเจน จึงนิยมใช้การประเมินประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิดต้นทุนประสิทธิผล
แทน ซึ่งสามารถวัดได้ ๔ วิธี ได้แก่ การใช้หลักประสิทธิผลคงที่ หลักต้นทุนคงที่ หลักเปรียบเทียบหน่วยสุดท้าย
และหลักเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่อปีเท่ากัน
ผลลัพธ์อันเกิดจากการดาเนินงานตามโครงการสามารถแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ
๑) ผลที่สร้างได้เป็นผลลัพธ์หรือบริการบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการใส่ปัจจัย
นาเข้าไปในกิจกรรมหนึ่งๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนั้นๆ ผลที่สร้างได้อาจเป็นผลทางรูปธรรม
เช่น เด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดเข้าถึงสิทธิและบริการพื้นฐานจากรัฐ รูปแบบการจัด
สวัสดิการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จานวนเด็กและเยาวชนที่ได้รับ
การพัฒนาศักยภาพ เป็นต้น
๒) ผลกระทบระยะสั้นเป็นผลที่เกิดจากการใช้ผลที่สร้างได้ของโครงการ ผลกระทบ
ระยะสั้นมักเริ่มเกิดขึ้นระหว่างที่โครงการกาลังดาเนินการอยู่ เช่น จานวนเด็กที่ได้รับสวัสดิการเงินอุดหนุนเพื่อ
การเลี้ ย งดูเด็กแรกเกิดได้รั บ การเลี้ย งดูที่มีคุณภาพและมีพัฒ นาการที่เหมาะสมตามวัย เกิดการเชื่อมโยง
เครือข่ายเยาวชนในทุกระดับทั่วประเทศ เป็นต้น
๓) ผลกระทบระยะยาวเป็นผลที่เกิดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ระยะยาว เป็นการ
เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของกลุ่มเป้าหมายของโครงการ เช่น สังคมไทยเป็นสังคมอยู่ดีมีสุขจากการที่คนไทย
ได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีความมั่นคงในชีวิต และมีครอบครัวที่ความเข้มแข็งและอบอุ่น ผลกระทบระยะยาว
สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งระดับบุคคล ครัวเรือน กลุ่มชุมชน และประเทศ ผลกระทบระยะยาวบางส่วนอาจเริ่ม
เกิดขึ้นระหว่างการดาเนินงานโครงการ และบางส่วนอาจเกิดขึ้นภายหลังที่โครงการสิ้นสุดไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างผลที่สร้างได้หรือผลลัพธ์ ผลกระทบระยะสั้น
และผลกระทบระยะยาวนั้ น ขึ้น อยู่ กับ ลั ก ษณะ ขอบเขตและขนาดของโครงการ ที่ส าคัญที่สุ ดขึ้ น อยู่ กั บ
วัตถุประสงค์จาเพาะของโครงการนั้นๆ
(๓) เกณฑ์ความพอเพียง (Adequacy) หมายถึงความสามารถในการดาเนิ นการให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ของนโยบายหรือแผนงานหรือโครงการภายใต้เงื่อนไขทางทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทั่วไปเงื่อนไขทาง
ทรัพยากรมักวัดในรูปงบประมาณที่มีอยู่
(๔) เกณฑ์ความเท่าเทียมหรือความเป็นธรรม (Equity) เป็นเกณฑ์ที่ใช้วัดการกระจายผล
ของแผนงานหรือโครงการภายใต้นโยบายใดๆ ทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษต่อกลุ่มต่างๆ ว่ามีความเสมอภาคเท่า
เทียมกันหรือไม่ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์มีการวัดความเท่าเทียมใน ๒ ลักษณะกล่าวคือ ความเท่าเทียมกันใน
แนวนอน (Horizontal Equity) และความเท่าเทียมกันในแนวตั้ง (Vertical Equity) การก่อให้เกิดความเท่า
๑๓
เทียมในแนวนอนของผลประโยชน์ (หรือในบางกรณีอาจเป็นภาระ) จากโครงการหรือแผนงานใดๆ หมายถึง
การที่กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในสภาพเหมือนกันได้รับผลประโยชน์ (หรือรับภาระ) ในระดับที่เท่ากัน ในขณะที่
ความเท่าเทีย มกัน ในแนวตั้งหมายถึงการที่กลุ่ มเป้าหมายที่อยู่ในสภาพต่างกันก็ได้ รับผลประโยชน์ (หรือ
รับภาระ) ในระดับที่แตกต่างกันด้วยโดยรายละเอียดของ “สภาพ” และ “ความแตกต่างกันในผลประโยชน์
หรือภาระ” เป็นเรื่องที่แตกต่างกันไปตามชนิดของโครงการหรือแผนงานซึ่งต้องอาศัยตัวบ่งชี้ที่กาหนดขึ้นโดยผู้
ประเมินผลต่อไป
(๕) เกณฑ์ความสามารถในการตอบสนอง (Responsiveness) เกณฑ์นี้พิจารณาได้จาก
ระดับความสามารถของนโยบายในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่างๆ นโยบายที่มีความสามารถใน
การตอบสนองสูงคือนโยบายที่สามารถทาให้กลุ่มที่มีความต้องการสูงได้รับผลจากนโยบายนั้นเป็นสาคัญ
(๖) เกณฑ์ ค วามเหมาะสม (Appropriateness) เกณฑ์ นี้ ต่ า งจากเกณฑ์ อื่ น ๆ ที่ ก ล่ า ว
มาแล้วคือเป็นเกณฑ์ที่นาเอาเกณฑ์อื่นๆ หลายเกณฑ์มาพิจารณาพร้อมกัน และเกณฑ์นี้พิจารณาลึกลงไปถึง
คุณค่าและความเหมาะสมของเป้าหมายที่กาหนดไว้ด้วย
โดยในการประเมินผลโครงการนั้นไม่จาเป็นต้องใช้เกณฑ์ทุกเกณฑ์ให้ครบถ้วนจึงจะทาการ
ประเมินได้ เนื่องจากโครงการแต่ละโครงการมีจุดเน้นหนักหรือให้ความสาคัญในการแก้ไขปัญหาเพียงบางเรื่อง
เท่านั้น ผลการประเมินโครงการก็ไม่จาเป็นว่าจะต้องสาเร็จตามเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ทุกเกณฑ์ อย่างไรก็
ตาม หากโครงการใดสามารถดาเนิ นการได้ส าเร็จตามเกณฑ์การประเมินที่ตั้ งไว้ได้ทุกเกณฑ์ย่อมแสดงว่า
โครงการนั้นมีคุณค่ายิ่ง ในทางปฏิบัติภายใต้เกณฑ์การประเมินเกณฑ์หนึ่งๆ อาจจะมีตัวชี้วัด (Indicator) เพียง
ตั ว เดี ย วหรื อ หลายตั ว ก็ ไ ด้ ขึ้ น อยู่ กั บ การก าหนดของผู้ ท าการประเมิ น โครงการซึ่ ง ต้ อ งใช้ ค วามรู้ ทั้ ง ทาง
วิทยาศาสตร์และมีความเป็นศิลปะศาสตร์ ในขณะเดียวกันเพื่อให้ตัวชี้วัดภายใต้เกณฑ์ต่างๆ และผลของการ
ประเมินเป็นที่ยอมรับมากที่สุดหรือมีข้อโต้แย้งให้น้อยที่สุด (ปุระชัย, ๒๕๓๐)
2.2.๕ ตัวชี้วัด
โดยปกติแล้วในการประเมินผลภายใต้เกณฑ์ที่กล่าวมามักจะต้องมีการกาหนดตัวบ่งชี้ หรือ
ตัวชี้วัด (Indicators) เพื่อวัดผลการดาเนินงานภายใต้แผนงานหรือโครงการต่างๆ อาทิ การวัดผลของจานวน
ผู้สูงอายุที่เข้าถึงสิทธิและบริการทางสังคมเป็นไปตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ในแผนหรือไม่ (คือลักษณะการ
ประเมินผลภายใต้เกณฑ์ประสิทธิผล) ตัวบ่งชี้ในกรณีนี้ ได้แก่ ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้าถึงสิทธิและบริการทาง
สังคมซึ่งวัดได้ในระยะเวลาของแผนหรือโครงการเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กาหนดไว้ หากผลที่เกิดขึ้นจริง
ใกล้เคียงกับเป้าหมายก็ถือได้ว่าแผนหรือโครงการนั้นบรรลุผลดีตามเกณฑ์ประสิทธิผล เป็นต้น
อย่ า งไรก็ ต าม การก าหนดตั ว ชี้ วัด ขึ้ น มามิ ใ ช่ เ ป็ นเรื่ อ งที่ ก ระท าได้ ง่ า ยนั ก ดั ง นั้ น จึ ง ควร
ตระหนักว่าตัวชี้วัดที่ดีควรมีลักษณะองค์ประกอบของโครงสร้างและองค์ประกอบในด้านการปฏิบัติดังนี้ คือ
๑) องค์ประกอบของโครงสร้างที่สาคัญ ได้แก่
(๑) มีความแม่นตรงสมเหตุสมผล (Validity) คือ วัดได้ในเรื่องที่ต้องการวัด
(๒) มีความเชื่อถือได้หรือมีความเที่ยง (Reliability) แม้เครื่องมือนี้จะถูกใช้วัดผลโดย
ใครก็ตามภายใต้สภาพการที่แตกต่างกันผลก็จะออกมาเป็นอย่างเดียวกัน
(๓) มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (Sensitivity) คือ ตัวบ่งชี้จะต้องสะท้อนผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์หนึ่งๆ ได้อย่างรวดเร็ว
๑๔
(๔) มีความเฉพาะ (Specificity) คือ สามารถสะท้อนภาพของการเปลี่ยนแปลงให้
เห็นเฉพาะในสถานการณ์หนึ่งๆ หรือปรากฏการณ์หนึ่งๆ ที่กาหนดไว้แล้วเท่านั้น
๒) องค์ประกอบในด้านการปฏิบัติ ประกอบด้วย
(๑) มีความง่าย (Simplicity) ในการเก็บข้อมูลและได้ข้อมูลแม่นตรงและเที่ยงตรง
ที่สุดซึ่งตรงกับความเป็นจริงและง่ายต่อการตีความเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
(๒) วัดออกมาเป็นเชิงปริมาณได้ (Quantification) แม้ว่าเป้าหมายนั้นเป็นเป้าหมาย
เชิงคุณภาพก็ตาม
(๓) สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาการต่อยอดงานวิจัยในเชิงพาณิชย์
เป็นต้น
(๔) สามารถกาหนดวิธีการที่จะปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ได้
อย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ทางวิชาการและทางเทคโนโลยี รวมทั้งการระดมทรัพยากรจากภายในและ
การสนับสนุนจากภายนอก
2.2.๖ กำรเตรียมกำรเพื่อกำรประเมินผลที่สมบูรณ์
ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็ นได้ว่าการประเมินผลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมิ นใน
ระหว่างการดาเนินงานและการประเมินผลภายหลังการดาเนินงานจะได้ผลในการประเมินอย่างสมบูรณ์ก็
ต่อเมื่อได้มีการเตรียมการขั้นต้นอย่างดีแล้ว กล่าวคือ ผู้ประเมินผลจะต้องดาเนินการพื้นฐานในเรื่ องดังต่อไปนี้
คือ
๑) ศึกษารายละเอียดที่สาคัญๆของโครงการ ได้แก่ ความเป็นมา วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
ของโครงการหรือแผนงาน
๒) แปรวั ต ถุ ป ระสงค์ ห รื อ เป้ าหมายของโครงการหรื อ แผนงานให้ เ ป็ น ตัว บ่ งชี้ ที่ วัดผลได้
(Measurable Indicators) ถ้าโครงการหรือแผนงานมีเป้าหมายไม่ชัดเจนก็ต้องแก้ไขในเรื่องนี้ก่อน
๓) รวบรวมข้อมูลที่ระบุตามตัวบ่งชี้ภายใต้เกณฑ์ต่างๆ จากผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อมูลที่
เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและโครงสร้างของโครงการหรือแผนงานให้ครบถ้วน
๔) เปรียบเทียบข้อมูลของตัวบ่งชี้ที่เป็นผลซึ่งเกิดขึ้นจากโครงการหรือแผนงานกับเกณฑ์ตาม
เป้าหมาย และต้องระบุให้เห็นชัดเจนถึงเหตุผลที่โครงการหรือแผนงานประสบความสาเร็จหรือล้มเหลว
2.2.๗ รูปแบบกำรประเมินผล
รูปแบบการประเมินผลหรือแบบจาลองการประเมินผล (Evaluation Model) เกือบทั้งหมด
ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นรูปแบบการประเมินที่มีแนวคิดมาจากการประเมินทางการศึกษา (e.g., Royse, Thyer,
and Padgett, 2015) ต่อมาได้มีผู้นามาประยุกต์ใช้กับวัตถุประสงค์ของการประเมินที่แตกต่างกันออกไป เช่น
การประเมินโครงการ การประเมินแผน ตลอดจนการประเมินนโยบาย รูปแบบการประเมินแบ่งออกเป็นกลุ่ม
ใหญ่ๆ ได้ ๓ กลุ่ม ดังนี้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545)
๑) รูปแบบการประเมินที่เน้นวัตถุประสงค์ (Objective-based Model) เป็นรูปแบบการ
ประเมิน ที่ตรวจสอบว่าผลที่เกิดจากนโยบาย แผนงานหรือโครงการนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์นโยบาย
๑๕
แผนงาน และโครงการนั้ น หรื อ ไม่ ได้ แ ก่ รู ป แบบการประเมิ น ของไทเลอร์ (Ralph W. Tyler, 1943)
ครอนบาค (Cronbach, 1973) และเคิร์กแพททริก (Kirkpatrick, 1985) โดยบทบาทของนักประเมิน คือ
ผู้ตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินโดยใช้วัตถุประสงค์ของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการเป็นเกณฑ์
๒) รู ปแบบการประเมิน ที่เน้น การตัดสินคุณ ค่า (Judgemental Evaluation Model)
เป็นรูปแบบการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมสารสนเทศ เพื่อกาหนดและวินิจฉัยคุณค่าของนโยบาย
แผนงาน และโครงการ ได้แก่ รูปแบบการประเมินของสเตค (Stake, 1967) สคริฟเวน (Scriven, 1967)
และ โพรวัส (Provus, 1971) โดยบทบาทของนักประเมิน คือ การตัดสินคุณค่า
๓) รู ปแบบการประเมิน เพื่อการตัด สิน ใจ (Decision-oriented Evaluation Model)
เป็นรูปแบบการประเมินที่มุ่งผลิตสารสนเทศเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเลือกทางเลือกต่างๆ ได้อย่าง
เหมาะสม ได้แก่ รูปแบบการประเมินของสตั ฟเฟิลบีม (Stufflebeam: CIPP Model, 1968) และ อัลคิน
(Alkin, 1967) โดยบทบาทของนั ก ประเมิ น คื อ การตอบสนองความต้ อ งการสารสนเทศของผู้ บ ริ ห าร
เนื่ องจากผู้ บ ริ ห ารเป็ น ผู้กาหนดบริ บ ทของการตัดสินใจ และเกณฑ์การตัดสิ นใจความส าเร็จของนโยบาย
แผนงาน และโครงการ นักประเมินไม่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางการบริหาร เพราะจะทา
ให้เสียความเป็นกลางในการประเมิน
2.3 แบบจาลองซิปป์ในการประเมินผลของสตัฟเฟิลบีม
ในปี ค.ศ. 1971 สตั ฟ เฟิ ล บี ม และคณะ (Stufflebeam: CIPP Model, 1968) ได้ เ ขี ย นหนั ง สื อ
ทางการประเมิน “Educational Evaluation and Decision Making” ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางจึง
กล่าวได้ว่าท่านผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการพัฒนาทฤษฎีการประเมินจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน
จากการมีขั้นตอนการประเมินที่ครบวงจร ซึ่งเป็นกระบวนการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ มีประโยชน์ เพื่อเสนอ
ทางเลือกที่จะนาไปสู่การตัดสินใจได้ดีและเหมาะสม
สตัฟเฟิลบีมได้ให้นิยามว่า “การประเมิน ” หมายถึงกระบวนการของการระบุหรือกาหนดข้อมูลที่
ต้องการ รวมถึงการดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล และนาข้อมูลที่จัดเก็บมาแล้วนั้น มาจัดทาให้เป็นสารสนเทศ
ที่มีประโยชน์ เพื่อนาเสนอสาหรับใช้เป็นทางเลือกในการประกอบการตัดสินใจต่อไป
จากนิยามดังกล่าว มีสาระสาคัญที่สามารถขยายความเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
๑) การประเมิน เป็ น กิจกรรมที่มีลั กษณะเป็นกระบวนการ คือ มีความต่อเนื่องกันในการ
ดาเนินงานอย่างครบวงจรและย้อนกลับมาสู่รอบใหม่ของวงจรด้วย
๒) กระบวนการประเมินจะต้องมีการระบุหรือบ่งชี้ข้อมูลที่ต้องการ
๓) กระบวนการประเมินจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ได้ระบุหรือบ่งชี้ไว้
๔) กระบวนการประเมินจะต้องมีการนาเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาแล้วนั้นมาจัดทาให้เป็น
สารสนเทศ
๕) สารสนเทศที่ได้มานั้นจะต้องมีความหมายและมีประโยชน์
๖) สารสนเทศดังกล่าวจะต้องได้รับการนาไปเสนอเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการกาหนด
ทางเลือกใหม่หรือแนวทางดาเนินการใดๆ ต่อไป
๑๖
ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมได้แบ่งการทางานออกเป็น ๒ ส่วนหลัก คือ ฝ่ายประเมิน และฝ่ายบริหาร
โดยลักษณะการทางานของทั้งสองฝ่ายจะมีการแบ่งแยกบทบาทของการทางานระหว่างฝ่ายประเมินและฝ่าย
บริหารออกจากกันอย่างเด่นชัด โดยผู้ประเมินมีหน้าที่ระบุ จัดหา และนาเสนอสารสนเทศให้กับฝ่ายบริหาร
ส่วนฝ่ายบริหารมีหน้าที่เรียกหาและนาผลการประเมินที่ได้นั้นไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อดาเนินกิจกรรม
ใดๆ ที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณี
ขั้นตอนการประเมินตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมนั้นสามารถสรุปได้ ๓ ขั้นตอน คือ
๑) กาหนดหรือระบุและบ่งชี้ข้อมูลที่ต้องการ
๒) จัดเก็บรวบรวมข้อมูล
๓) วิเคราะห์และจัดทาเป็นสารสนเทศเพื่อนาเสนอฝ่ายบริหาร
การประเมินสภาพแวดล้อม การประเมินปัจจัยเข้า
(Context Evaluation: C) (Input Evaluation: I)
การประเมินผลผลิต การประเมินกระบวนการ
(Product Evaluation: P) (Process Evaluation: P)
๑๗
๓.๒) หาข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่จะสั่งการเพื่อการพัฒนางานต่างๆ
๓.๓) บันทึกภาวะของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไว้เป็นหลักฐาน
๑๙
บทที่ 3
กรอบแนวคิดและวิธกี ารศึกษา
วิธีการศึกษาในโครงการติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตาม
ช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้จาแนกวิธีการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ (1) การเก็บรวบรวมข้อมูล
และ (2) ขั้นตอนการศึกษา โดยรายละเอียดในแต่ละส่วนมีดังนี้
3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลในการศึกษาทั้ง 2 ส่วนได้แก่ ข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ โดยมี
รายละเอียดในการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละส่วนดังนี้
3.1.1 กำรเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่งที่สาคัญ ได้แก่ (1) การทบทวนการศึกษาและงาน
วิ ช าการที่เกี่ย วข้ อง (Review Literature) และ (2) การเก็บรวบรวมรายงานผลการดาเนิน งานที่ผู้ ข อรั บ
สนับสนุนงบประมาณรายงานกลับมายังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเก็บ
รวบรวมข้อมูลในแต่ละส่วนมีวิธีการดังนี้
3.1.1.1 การทบทวนการศึกษาและงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนนี้เป็นการดาเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาและทบทวนข้อมูลทั้งปัจจัย
ภายในและภายนอก โดยทบทวนเอกสารทีเ่ กี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่
• การทบทวนแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยของกระทรวงการพัฒ นา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดาเนินการภายใต้แผนงานที่บรรจุไว้
ในแผนบูรณาการฯ งบประมาณที่ใช้ในการดาเนินงานโครงการ และผลผลิตของโครงการ เป็นต้น เพื่อใช้ในการ
ประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
• รวบรวมข้อมูล ปั จจัยภายในกระทรวงต่างๆ ด้ว ยการประมวลจากเอกสารที่
เกี่ยวข้องกับกฎหมาย/ระเบียบ/โครงสร้างองค์กร ฯลฯ
• ทบทวน และศึกษาเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริบทและทิศทางการ
พัฒนาสังคม เอกสารแผนงานที่สาคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม ทั้งที่จัดทาโดยกระทรวงการพัฒนาสั งคม
และความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศึกษาบริบท ทิศทาง แนวโน้มสถานการณ์ พลวัตร
ทางสังคมและพลวัตรโลก ศึกษาแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ/แผนบริหารราชการแผ่นดิน/
นโยบายรัฐบาล ศึกษาทิศทางการจัดทาวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทยของสภาปฏิ รูปแห่งชาติ
ศึกษาแนวทางการการดาเนินงานด้านสังคมตามร่างรัฐธรรมนูญฯ ศึกษาแนวโน้มสถานการณ์สังคมไทย/ข้อมูล
สถานการณ์กลุ่มเป้าหมาย
• ศึ ก ษา และทบทวนงานวิ จั ย และงานวิ ช าการที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การประเมิ น ผล
นโยบายการพั ฒ นาสั ง คม ความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ และการพั ฒ นาทุ น มนุ ษ ย์ ของนั ก วิ ช าการในภาครั ฐ
สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของ
ภาคเอกชนหรื อ หน่ ว ยงานภาคประชาชน เช่ น สถาบั น บั ณ ฑิ ต บริ ห ารธุ ร กิ จ ศศิ น ทร์ แห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์
๒๐
มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการ
พัฒนา (OECD) สานักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และ
วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นต้น
3.1.1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลผลการดาเนินงานของโครงการภายใต้แผนบูรณการ
การเก็บ รวบรวมข้อมูล ในส่ ว นนี้ เป็นการเก็บข้อมูล ที่เน้นผลการดาเนินงานของ
โครงการต่างๆ ที่บรรจุอยู่ในแผนบูรณการการพัฒนาคนตามช่วงวัยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ที่หน่วย
ปฏิบัติงานที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดาเนินงานได้รายงานกลับมายังกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ ในประเด็นของ กิจกรรมที่ดาเนินการ การใช้จ่ายงบประมาณ ผลผลิต และผลลัพธ์
ที่เกิดขึ้นจากดาเนินงาน เพื่อนามาประเมินผลตามตัวชี้วัดที่จะได้พัฒนาขึ้นต่อไป
3.1.2 กำรเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยการสัมภาษณ์หรือการจัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อเก็บข้อมูล
ในเชิงลึกสาหรับใช้ประกอบในการประเมินปัจจัยนาเข้าและกระบวนการในการกากับการปฏิบัติงานตามแผน
บูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สาหรับการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจะดาเนินงานใน 2 ลักษณะ คือ (1) การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และ (2) การ
สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งมีรายละเอียดในการเก็บรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนดังนี้
3.1.2.1 การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เป็นการจัดประชุมระดมความคิด เห็น
ของผู้ขอรับทุนสนับสนุนการดาเนินงานภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ทั้งในส่วนของภาครัฐ
ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรอิสระ โดยประเด็นในการเก็บรวบรวมจะเน้นไปในส่วนของข้อมูล
เกี่ยวข้องกับปัจจัยนาเข้า กระบวนการดาเนินงาน เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการ เพื่อให้ได้รับ
ข้อมูลในเชิงลึกและข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อใช้ในการประเมินผลการดาเนินงานในเชิงปริมาณอันจะทาให้การ
ประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
3.1.2.1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร
ผู้ปฏิบัติงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย เพื่อรับทราบถึงประเด็น
ปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไข และความช่วยเหลือที่ต้องการ เพื่อนามาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและ
การปรับปรุงแผนบูรณการการพัฒนาคนตามช่วงวัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นในอนาคต
3.2 กรอบแนวคิดในการศึกษา
เพื่ อ ให้ ก ารศึ ก ษาบรรลุ วั ตถุ ป ระสงค์ ใ นการศึ ก ษา คณะที่ ป รึ ก ษาได้ ก าหนดกรอบแนวคิ ด ในการ
ดาเนินงานไว้ดังนี้
๒๑
ภาพที่ 3.1 กรอบแนวคิดในการดาเนินงาน
3.3 ขั้นตอนในการศึกษา
จากการทบทวนวรรรณกรรมเกี่ยวกับการประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ รวมถึงแผนบูรณาการ
ต่างๆ ของหน่วยงานในต่างประเทศ เช่น การประเมินผลการดาเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของ UNDP
ในช่วงปี ค.ศ. 2008-2013 (UNDP, 2013) ซึ่งได้อาศัยผลการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพื่อไป
ปรับใช้สาหรับการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรในระยะถัดไป และรวมกับแนวทางในการประเมินผลแผน
ยุ ท ธ ศาสตร์ ที่ อ าศั ย Logic Model และ Theory of Change (NATO’s Joint Analysis and Lessons
Learned Centre, 2013) ดังภาพที่ 3.2
๒๒
ภาพที่ 3.2 แนวทางการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของแผนบูรณาการฯ ภายใต้แนวคิด
Logic Model และ Theory of Change
๒๓
สาหรับขั้นตอนในการดาเนินงานมีดังนี้
1) การทบทวนแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เพื่อให้ทราบ
ถึงแนวคิดในการจัดทาแผนบูร ณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย และยังเป็นการรวบรวมกิจกรรม ผลผลิต
ผลลัพธ์ และงบประมาณของโครงการต่างๆ ที่ดาเนินการภายใต้แผนบูรณาการฯ ดังกล่าว นอกจากนี้ ข้อมูลที่
ได้รับจากการทบทวนแผนบูรณาการฯ นี้ จะถูกนามาใช้สาหรับการประเมินบริ บท (Context) ของการดาเนิน
แผนบูรณาการฯ และโครงการต่อไป
2) พัฒนาตัวชี้วัดในการประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยใช้แนวคิดการประเมินผลที่เน้นวัตถุประสงค์ (Objective-based Model)
ร่วมกับเกณฑ์ในการประเมินผลในด้านการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นหลัก รวมทั้งการพัฒนาตัวชี้วัด
ในการประเมินผลกระทบอันเนื่องมาจากการดาเนินงานตามแผนบูรณาการฯ ดังกล่าว
สาหรับตัวชี้วัดที่จะได้พัฒนาขึ้นนั้นจะพัฒนาตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ และแสดงให้
เห็ น ถึงประสิ ทธิภ าพ และประสิ ทธิผ ลของการดาเนินโครงการต่า งๆ รวมทั้งตัว ชี้วัดที่แสดงถึ งการบรรลุ
วัตถุประสงค์ระดับแนวทาง และระดับเป้าหมายอีกด้วย
3) การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติ ยภูมิ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบรายงานผลการดาเนิน ที่
สานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ใช้ในการดาเนินงาน
4) การประเมินผลผลิตของโครงการ อันเป็นการประเมินผลในเชิงปริมาณ โดยเน้นการประเมิน
ผลผลิต (Product) ของโครงการ ด้วยแนวคิดการประเมินด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดาเนิน
โครงการในเชิงปริมาณ เช่น การเบิกจ่ายงบประมาณ ผลผลิตของโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมาย และ
ประสิทธิภาพในด้านของต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิต เป็นต้น จาแนกตามโครงการต่างๆ ตลอดจนผลกระทบ
ของโครงการ แล้วสรุปเป็นภาพรวมของแต่ละแนวทาง แต่ละเป้าหมาย และในภาพรวมของการดาเนินงานตาม
แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
สาหรับหลักการในการประเมินเชิงปริมาณมีดังนี้
กำรประเมินประสิทธิผล
วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการ
พัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ในการศึกษาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ดังกล่าวมีแนวทางในการ
ประเมินผล คือ การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรม การประเมินประสิทธิผลของกิจกรรมที่ดาเนินการตาม
แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ทั้งนี้ ความมีประสิทธิผลในที่นี้ หมายถึง การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดาเนิน
กิจกรรมตามที่ตั้งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายไว้ โดยจะได้พิจารณากาหนดตัวชี้วัดจากผลผลิตตามเป้าหมายของ
แต่ละกิจกรรมที่ได้กาหนดไว้ในโครงการ
ทั้งนี้ การประเมินการบรรลุประสิทธิผลของกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่ดาเนินการ ได้
พิจารณาจากอัตราส่วนระหว่างผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับผลผลิตตามเป้าหมายหรือตัวชี้วัดของ
กิจกรรม โดยได้กาหนดระดับการบรรลุประสิทธิผลไว้ 5 ระดับ ดังนี้
๒๔
ประสิทธิผล การบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
ร้อยละ 0-20 ระดับต่า
ร้อยละ 21-40 ระดับค่อนข้างต่า
ร้อยละ 41-60 ระดับปานกลาง
ร้อยละ 61-80 ระดับค่อนข้างสูง
ร้อยละ 81-100 ระดับสูง
กำรประเมินประสิทธิภำพ
ส าหรั บ การประเมิน ประสิ ทธิภ าพในที่นี้จะวัดจากต้น ทุนต่ อหน่ว ย (Unit Cost) ของการ
ดาเนินกิจกรรมเป็นสาคัญ ซึ่งมีวิธีในการคานวณดังนี้
ต้นทุนต่อหน่วย = ค่าใช้จ่ายในการดาเนินกิจกรรม
ผลผลิตจากการดาเนินกิจกรรม
โดยการวัดต้นทุนต่อหน่วยดังกล่าวจะช่วยให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการดาเนินงานของ
โครงการต่างๆ ว่ามีการใช้จ่ายงบประมาณในการดาเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ได้
กาหนดไว้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนต่อหน่วยที่เกิดขึ้นจริง กับต้นทุนต่อหน่วยที่ ได้กาหนดไว้ในแต่
ละกิจกรรม การวัดประสิทธิภาพจากต้นทุนต่อหน่วยดังกล่าวได้กาหนดเกณฑ์การวัดไว้ 5 ระดับดังนี้
(1) มีประสิทธิภาพระดับสูง หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อหน่วยที่
เกิดขึ้นจริงต่ากว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้มากกว่าร้อยละ 10
(2) มีประสิทธิภาพระดับค่อนข้างสูง หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อ
หน่วยที่เกิดขึ้นจริงต่ากว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ
10
(3) มีประสิทธิภาพระดับปานกลาง หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อ
หน่วยที่เกิดขึ้นจริงเท่ากับต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้
(4) มีประสิทธิภาพระดับค่อนข้างต่า หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อ
หน่วยที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้ น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ
10
(5) มีประสิทธิภาพระดับต่า หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อหน่วยที่
เกิดขึ้นจริงสูงกว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้ มากกว่าร้อยละ 10
5) การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ โดยจะได้ดาเนินการใน 2 ลักษณะ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก และ
การจัดประชุมชี้แจงเพื่อรับฟังความคิดเห็น สาหรับรายละเอียดในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิมีดังนี้
๒๕
กำรสัมภำษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
ในการศึกษาครั้งนี้จะดาเนินการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วน
ราชการภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาคนตามช่วงวัยของกระทรวงต่างๆ ที่เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในแผน
บูรณาการฯ
วัตถุประสงค์หลักของการสัมภาษณ์เพื่อรับทราบถึง มุมมองข้อคิดเห็นต่อผลการดาเนินการ
แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการ ตลอดจนแนวทางในการ
ปรับปรุงการดาเนินโครงการภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย นอกจากนี้ ในการสัมภาษณ์เชิงลึก
ของโครงการนี้ยังเป็นการรับทราบข้อคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งสาคัญที่จะ
นาไปวิเคราะห์และประมวลเป็นข้อเสนอแนะการพัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัยและสังคมไทย ให้มีการ
พัฒนาอย่างมีคุณภาพ อยู่ดีมีสุข และยั่งยืน
ส าหรั บ การศึ ก ษาครั้ ง นี้ จ ะสั ม ภาษณ์ ผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง และ/หรื อ Key Informants ของ
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และผู้ทรงคุณวุฒิตัวแทนภาคส่วนต่างๆ
- ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ผู้บริหารหรือผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสาคัญต่อการดาเนินนโยบายการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่มีแผนการบูรณา
การร่ ว มกั น อาทิ กระทรวงยุ ติ ธ รรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวั ฒ นธรรม
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงสาธารณสุข
สถาบันการศึกษา
- ผู้บริหารหรือผู้แทนจากหน่วยงานเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องที่มีบทบาท
สาคัญต่อการดาเนินนโยบายการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ร่าง) ประเด็นคาถามการสัมภาษณ์เชิงลึ ก ผู้บริหารกระทรวงการพัฒ นาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยแนวคาถามเหล่านี้
• ประเด็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) ซึ่งมีความสาคัญและเป็นความท้าทาย
ของการพัฒนาคนที่ควรเร่งผลักดันด้วยแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
• ผลการดาเนินการแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยที่ผ่านมา
• ประเด็นข้อจากัด ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการ มีแนวทางดาเนินการเพื่อ
ปลดล็อคปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร
• แนวทางในการปรับปรุงการดาเนินโครงการภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วง
วัย
• ข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการการดาเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานและภาคส่วน
ต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ
• ข้อเสนอแนะการพัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัยและสังคมไทย ให้มีการพัฒนาอย่างมี
คุณภาพ อยู่ดีมีสุข และยั่งยืน
ตารางที่ 3.1 แสดงร่างรายชื่อผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
และผู้ทรงคุณวุฒิที่คาดว่าจะดาเนินการสัมภาษณ์
๒๖
ตารางที่ 3.1 (ร่าง) รายชื่อผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และผู้ทรงคุณวุฒิที่จะ
ดาเนินการสัมภาษณ์
(ร่าง) รายชื่อผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และผู้ทรงคุณวุฒิที่จะดาเนินการ
สัมภาษณ์
ผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2) อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
3) อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน
4) อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
5) อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ
6) อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
7) หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง
ผู้บริหารหรือตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสาคัญร่วมในแผนการบูรณาการร่วมกัน
8) ผู้แทนจากสานักงบประมาณ
9) ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม
10) ผู้แทนกระทรวงแรงงาน
11) ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม
12) ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
13) ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ
14) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ
15) คุณวาสนา แก้วนพรัตน์ ผู้จัดการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก (ประเด็นสิทธิเด็กและเยาวชน)
16) ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ประเด็นการพัฒนาเยาวชนและการสร้างความเป็นพลเมือง)
17) รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี นักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
18) คุณจะเด็ด เชาว์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (ประเด็นแม่และเด็ก)
19) คุณบัณฑิต ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้จัดการมูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน (ประเด็นแรงงาน วัยทางาน)
20) คุณวันชัย บุญประชา มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว (ประเด็นครอบครัว)
21) พญ.ลัดดา ดาริการเลิศ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) (ประเด็น
ผู้สูงอายุ)
22) หัวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน
หมายเหตุ: อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เพื่อความเหมาะสมโดยการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคณะที่ปรึกษาฯ
๒๗
สาหรับในส่วนของการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจะมีการลงพื้นที่
จริงอย่างน้อย 1 พื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อให้เห็นแนวทางการดาเนินงานจริงของโครงการที่นอกเหนือจากข้อมูลใน
รายงานผลการดาเนินงาน แม้ว่าการลงพื้นที่อาจจะไม่สามารถนามาสรุปเป็นผลสัมฤทธิ์ของโครงการโดย
ภาพรวมได้เนื่องจากมีโครงการในแผนฯ จานวนมากในหลากหลายพื้นที่ แต่การลงพื้นที่จะช่วยให้ผู้ กาหนด
นโยบายและปรับปรุงแผนฯ สามารถทราบและเข้าใจถึงบริบทที่แท้จริงของการดาเนินงานได้ดียิ่งขึ้น
กำรจัดประชุมชี้แจงเพื่อรับฟังควำมคิดเห็น
การจัดประชุมชี้แจงเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของ
ส่วนราชการภายใต้แผนงานบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 80 คน โดยการจัด
ประชุมจะเน้นการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพในส่วนของความคิดเห็นเพื่อนาไปวิเคราะห์ประกอบกับตัวชี้วัด
ต่างๆ ในรายงานผลการดาเนินงานต่อไป
สาหรับกิจกรรมการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นนี้ จะจัดเป็นการรับฟังความคิดเห็นกลุ่ม
ย่อยเพื่อให้ได้มีการรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ครอบคลุม
สาระสาคัญในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ผลการดาเนินงานแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
- กรณีตัวอย่างความสาเร็จ ต้นแบบการบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
- ข้อจ ากัด ปั ญหาอุป สรรคการบูรณาการการพัฒ นาคนตามช่วงวัย (แผนงาน และการ
ปฏิบัติการ)
- ข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนและบูรณาการการทางาน
กลุ่มเป้าหมายหลัก
กิจกรรมการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นนี้ จะเป็นการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของ
ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาคนตามช่วงวัย โดย
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่
• ผู้บริหาร /ผู้ปฏิบัติงาน ผู้แทนจากบุคลากรกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์
• ผู้บริหาร /ผู้ปฏิบัติงาน ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอีก 6 กระทรวง รวม 29 หน่วยงาน ที่มาร่วมขับเคลื่อนงานกับ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงแรงงาน
- กระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงสาธารณสุข
- สถาบั น การศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลั ยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลั ยกาฬสิ นธุ์
มหาวิทยาลั ย ราชภัฏ เพชรบูรณ์ มหาวิทยาลั ยวลั ยลั กษณ์ มหาวิทยาลั ยบูร พา
๒๘
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
• ผู้แทนผู้ได้รับประโยชน์จากการดาเนินงานโครงการ จาแนกตามกลุ่มวัย
๒๙
9) การสรุปผลการประเมินและจัดทาร่างรายงาน เป็นการนาผลการประเมินทุกส่วนมาเรียบเรียงให้
เห็นถึงผลการดาเนินงานภายใต้แผนบูรณาการฯ ทั้งหมด ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งข้อจากัดในการดาเนิน
ของโครงการต่างๆ และการอานวยการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อนามาสู่
การสังเคราะห์ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการปฏิบัติงานภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ให้มี
การดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
10) การจัดประชุมชี้แจงผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการภายใต้แผน
บูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
การประชุมชี้แจง (ร่าง) รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 80 คน
กิจกรรมในส่วนนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
• ทีมที่ปรึกษานาเสนอผลการศึกษา รายงานการประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณา
การการพัฒนาคนตามช่วงวัยปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
• เปิดเวทีรับฟังข้อคิดเห็นผู้เข้าร่วมประชุม แนวทางในการปรับปรุงการดาเนินโครงการ
ภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายหลัก
ผู้เข้าร่วมการประชุมชี้แจง (ร่าง) รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ ประมาณ 80 คน
ประกอบด้วยผู้แทนจากกลุ่มต่างๆ ได้แก่
• ผู้บริหาร /ผู้ปฏิบัติงาน ผู้แทนจากบุคลากรกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์
• ผู้บริหาร /ผู้ปฏิบัติงาน ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอีก 6 กระทรวง รวม 29 หน่วยงาน ที่มาร่วมขับเคลื่อนงานกับ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงแรงงาน
- กระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงสาธารณสุข
- สถาบั น การศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลั ยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลั ยกาฬสิ นธุ์
มหาวิทยาลั ย ราชภัฏ เพชรบูรณ์ มหาวิทยาลั ยวลั ยลั กษณ์ มหาวิทยาลั ยบูร พา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
• ผู้แทนผู้ได้รับประโยชน์จากการดาเนินงานโครงการ จาแนกตามกลุ่มวัย
๓๐
ตารางที่ 3.3 การประชุมชี้แจง (ร่าง) รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
กิจกรรม กาหนดการ รายละเอียด
(โดยประมาณ)
จานวนผู้เข้าร่วม ประเด็นสาคัญ สถานที่
๓๑
บทที่ 4
การประเมินผลในเชิงปริมาณตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
ในบทนี้เป็นการนาเสนอผลการประเมินในเชิงปริมาณสาหรับแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้เน้นการประเมินผลผลิตของโครงการต่างๆ ที่ได้บรรจุอยู่ใน
แผนบรูณาการฯเป็นสาคัญ สาหรับข้อมูลที่รวบรวมเพื่อใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ใช้ข้อมูลจากแบบรายงานสรุป
การติดตามผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ตั้งแต่
ไตรมาสที่ 1-4 ที่ทางสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใช้รายงานผลการ
ดาเนินงานแก่คณะกรรมการพิจารณาการจัดทางบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประจาปี
งบประมาณ พ.ศ. 2561
สาหรับการประเมินผลในครั้งนี้ ได้ประเมินทั้งในส่วนของผลผลิต ประสิทธิผล และประสิทธิภาพของ
โครงการ โดยมีรายละเอียดผลการประเมินดังนี้
4.1 แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้กาหนดผลผลิต ผลลัพธ์ และ
ผลกระทบของแผนบูรณาการฯ ไว้ได้แก่
ผลผลิต ประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีหลักประกันทางสังคม
ผลลัพธ์ ประชาชนคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ผลกระทบ สังคมไทยเป็นสังคมอยู่ดีมีสุข
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดาเนินการของแผนบูรณาการฯ บรรลุผลสาเร็จตามผลผลิต ผลลัพธ์ และ
ผลกระทบที่กาหนดไว้ ในแผนบูรณาการฯ จึงได้กาหนดเป้าหมายในการปฏิบัติจานวนทั้งสิ้น 3 เป้าหมาย และ
ในแต่ละเป้าหมายประกอบด้วย 5 แนวทางในการดาเนินงาน ดังรายละเอียดที่แสดงไว้ในตารางที่ 4.1
๓๒
ตารางที่ 4.1 เป้าหมายและแนวทางการดาเนินงานของแผนบูรณาการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
ช่วงวัย แนวทางในการดาเนินงาน จุดเน้น
เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของคนไทย
เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) แนวทาง 1 การเกิดอย่างมี - กระบวนการทาให้เด็กเกิดอย่างมีคุณภาพ
คุณภาพและการมีพัฒนาการ และมีพัฒนาการสมวัย
อย่างสมวัย
- การเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของเด็กแรก
เกิด/ปฐมวัย
เด็กวัยเรียน (5-14 ปี) แนวทาง 2 การได้รับการศึกษา - การส่งเสริม/สนับสนุนการพัฒนาความรู้
ทีม่ ีคุณภาพได้รับการพัฒนา และทักษะชีวิต
ความรู้และทักษะชีวิต
เด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) แนวทาง 3 การมีทักษะชีวิตและ - การส่งเสริม/สนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิต
ทักษะการทางาน และทักษะการทางาน
วัยแรงงาน (15-59 ปี) แนวทาง 4 การพัฒนาทักษะ - กลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้รับการฝึกอบรมเพื่อ
และสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง เพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) แนวทาง 5 การพัฒนาทักษะ - การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถใน
ความรู้ความสามารถในการ การดารงชีวิต
ดารงชีวิต
เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต
เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) แนวทาง 1 การเตรียมความ - เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาจากศูนย์เด็กเล็ก
พร้อมให้เด็กปฐมวัยเป็นคนไทย ที่มีมาตรฐาน
ที่มีความมั่นคงในชีวิต
- การที่เด็กปฐมวัยมีโอกาสเข้าถึงสิทธิและ
บริการต่างๆ ของรัฐ
เด็กวัยเรียน (5-14 ปี) แนวทาง 2 การสร้างโอกาสทาง - การให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กนอก
การศึกษาในระดับสูงเพื่อโอกาส ระบบโรงเรียน
การทางานและการสร้างความ
มั่นคงในชีวิต - การสนับสนุนการสร้างโอกาสในการศึกษา
ของเด็กด้อยโอกาส
เด็กวัยรุ่น (15-21 ปี)
แนวทาง 3 การสร้างโอกาสใน - การส่งเสริมโอกาสในการศึกษาที่สูงขึ้น และ
การศึกษาระดับสูงและ ความพร้อมในทักษะอาชีพ
ประสบการณ์การทางานจริงเพื่อ
วางรากฐานความมั่นคงในชีวิต - การส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน
วัยแรงงาน (15-59 ปี) แนวทาง 4 การสร้างความมั่นคง - ขยายการเข้าถึงหลักประกันสังคมและ
ในชีวิตให้แรงงาน สวัสดิการสังคมให้กับแรงงานนอกระบบ
๓๓
ช่วงวัย แนวทางในการดาเนินงาน จุดเน้น
- ลดการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อและการ
บาดเจ็บเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากร
วัยทางานและครอบครัว
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) แนวทาง 5 การสร้างความมั่นคง - ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ
ในชีวิตของผู้สูงอายุ เข้าถึงสวัสดิการสังคม
- ส่งเสริมผู้สูงอายุได้รับการประเมินทั้งด้าน
สุขภาพและสังคม
เป้าหมายที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย
เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) แนวทาง 1 การสร้างความ - การเตรียมความพร้อมครอบครัวก่อนมีบูตร
อบอุ่นให้เด็กปฐมวัย (รวมปู่ย่าตายาย)
- การลดความรุนแรงที่มีต่อเด็ก
เด็กวัยเรียน (5-14 ปี) แนวทาง 2 การวางรากฐาน - การสร้างความร่วมมือในการพัฒนา
จริยธรรม คุณธรรมเพื่อความอยู่ คุณธรรมและจริยธรรม
ดีมีสุข - การลดความรุนแรงที่มีต่อเด็กในวัยเรียน
- การเผ้าระวังการลดความเสี่ยงการตั้งครรภ์
ในวัยรุ่นในกลุ่มเด็กวัยเรียน
เด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) แนวทาง 3 การสร้างภูมิคุ้มกัน - การลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและ - ลดพฤติกรรมมั่วสุม การขับชี่ยานพาหนะ
การก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ กระทาผิดกฎหมาย
- การลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
วัยแรงงาน (15-59 ปี) แนวทาง 4 การส่งเสริมความ - การส่งเสริมสุขภาพการใจสาหรับวัยแรงงาน
อบอุ่นในครอบครัวสาหรับวัย - การส่งเสริมกิจกรรมครอบครัว
แรงงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) แนวทาง 5 การสร้างคุณค่าและ - ผู้สูงอายุมีคุณค่าทางสังคม และได้รับการ
ความอบอุ่นในวัยผู้สูงอายุ ดูแลอย่างมีคุณภาพ
- ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมป้องกันปัญหา
สุขภาพจิต
ที่มา: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2560)
4.2 การประเมินผลการดาเนินงานแผนบูรณาการฯ
การประเมินผลการดาเนินงานแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ 2560 ได้เน้น
ที่การประเมินผลผลิตของโครงการ ด้วยแนวคิดการประเมินด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดาเนิน
โครงการในเชิงปริมาณ เช่น การเบิกจ่ายงบประมาณ ผลผลิตของโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมาย และ
๓๔
ประสิทธิภาพในด้านของต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิต เป็นต้น จาแนกตามโครงการต่างๆ ตลอดจนผลกระทบ
ของโครงการ แล้วสรุปเป็นภาพรวมของแต่ละแนวทาง แต่ละเป้าหมาย และในภาพรวมของแผนบูรณาการ
การพัฒนาคนตามช่วงวัย ประจาปีงบประมาณ 2560
สาหรับหลักเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีดังนี้
กำรประเมินประสิทธิผล
วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครั้ งนี้ คือ เพื่อประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการ
การพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ในการศึกษาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ดังกล่าวมีแนวทางใน
การประเมิ น ผล คื อ การประเมิ น ประสิ ท ธิ ผ ลของกิ จ กรรมที่ ด าเนิ น การตามแผนดั ง กล่ า ว ทั้ ง นี้ ความมี
ประสิทธิผลในที่นี้ หมายถึง การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดาเนินกิจกรรมตามที่ตั้งวัตถุประสงค์หรือ
เป้าหมายไว้ โดยจะได้พิจารณากาหนดตัวชี้วัดจากผลผลิตตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่ได้กาหนดไว้ใน
โครงการ
ทั้งนี้ การประเมินการบรรลุประสิทธิผลของกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่ดาเนินการ ได้
พิจารณาจากอัตราส่วนระหว่างผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับผลผลิตตามเป้าหมายหรือตัวชี้วัดของ
กิจกรรม โดยได้กาหนดระดับการบรรลุประสิทธิผลไว้ 5 ระดับ ดังนี้
ประสิทธิผล การบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
ร้อยละ 0-20 ระดับต่า
ร้อยละ 21-40 ระดับค่อนข้างต่า
ร้อยละ 41-60 ระดับปานกลาง
ร้อยละ 61-80 ระดับค่อนข้างสูง
ร้อยละ 81-100 ระดับสูง
กำรประเมินประสิทธิภำพ
ส าหรั บ การประเมิน ประสิ ทธิภ าพในที่นี้จะวัดจากต้นทุนต่อหน่ว ย (Unit Cost) ของการ
ดาเนินกิจกรรมเป็นสาคัญ ซึ่งมีวิธีในการคานวณดังนี้
ต้นทุนต่อหน่วย = ค่าใช้จ่ายในการดาเนินกิจกรรม
ผลผลิตจากการดาเนินกิจกรรม
โดยการวัดต้นทุนต่อหน่วยดังกล่าวจะช่วยให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการดาเนินงานของ
โครงการต่างๆ ว่ามีการใช้จ่ายงบประมาณในการดาเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ได้
กาหนดไว้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนต่อหน่วยที่เกิดขึ้นจริง กับต้นทุนต่อหน่วยที่ได้กาหนดไว้ในแต่
ละกิจกรรม อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในครั้งนี้ ได้อาศัยข้อมูลจากการเบิกจ่ายงบประมาณใน
การดาเนินการเป็นสาคัญ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการประหยัดงบประมาณในการดาเนินการ ซึ่งความหมายจะ
๓๕
แตกต่างจากการวัดต้นทุนในการบริการ (Cost of Service) ที่แสดงให้เห็นถึงต้นทุนในการให้บริการที่เกิดจาก
การให้บริการจริงของโครงการ การวัดประสิทธิภาพจากต้นทุนต่อหน่วยดังกล่า วได้กาหนดเกณฑ์การวัดไว้ 5
ระดับดังนี้
(1) มีประสิทธิภาพระดับสูง หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อหน่วยที่
เกิดขึ้นจริงต่ากว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้มากกว่าร้อยละ 10
(2) มีประสิทธิภาพระดับค่อนข้างสูง หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรื อมีต้นทุนต่อ
หน่วยที่เกิดขึ้นจริงต่ากว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ
10
(3) มีประสิทธิภาพระดับปานกลาง หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อ
หน่วยที่เกิดขึ้นจริงเท่ากับต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้
(4) มีประสิทธิภาพระดับค่ อนข้างต่า หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อ
หน่วยที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้ น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ
10
(5) มีประสิทธิภาพระดับต่า หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อหน่วยที่
เกิดขึ้นจริงสูงกว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้ มากกว่าร้อยละ 10
การนาเสนอผลการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของโครงการต่างๆ ภายใต้แผนบูรณการการ
พั ฒ นาคนตามช่ ว งวั ย ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้ ง นี้ ใช้ ข้ อ มู ล ที่ ห น่ ว ยด าเนิ น การได้ ร ายงานผลการ
ดาเนินงานกลับมายังสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและและความมั่นคงของมนุษย์ จานวนทั้งสิ้น
75 โครงการ โดยจาแนกเป็นโครงการที่ถูกบรรจุอยู่ในเป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย จานวน 34
โครงการ บรรจุ อยู่ ในเป้ าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต จานวน 24 โครงการ และบรรจุอยู่ใ น
เป้าหมายที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย จานวน 17 โครงการ ดังแสดงใน
ตารางที่ 4.2
ใน 75 โครงการข้างต้นมีการจัดสรรงบประมาณทั้งหมด 7,530.73 ล้านบาท โดยมีการจัดสรร
งบประมาณไปยังเป้าหมายที่ 1 เป้าหมายที่ 2 และเป้าหมายที่ 3 เป็นจานวน 6,445.48 ล้านบาท 828.90
ล้านบาท และ 256.36 ล้านบาท ตามลาดับ ดังแสดงในภาพที่ 4.1
๓๖
ตารางที่ 4.2 จานวนโครงการที่ถูกบรรจุอยู่ในแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560
เป้าหมายที่ 1 เป้าหมายที่ 2 เป้าหมายที่ 3 รวมตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมาย โครงการ สัดส่วน โครงการ สัดส่วน โครงการ สัดส่วน โครงการ สัดส่วน
เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) 10 29.41 6 25.00 1 5.88 17 22.67
เด็กวัยเรียน (5-14 ปี) 5 14.71 3 12.50 4 23.53 12 16.00
เด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) 5 14.71 3 12.50 7 41.18 15 20.00
วัยแรงงาน (15-59 ปี) 6 17.65 5 20.83 3 17.65 14 18.67
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 8 23.53 7 29.17 2 11.76 17 22.67
รวมตามเป้าหมาย 34 100.00 24 100.00 17 100.00 75 100.00
ที่มา: สรุปจากข้อมูลของสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
7,530.73
เมื่อพิจารณางบประมาณจาแนกตามลักษณะการใช้จ่ายพบว่าจานวนงบประมาณกว่าร้อยละ 77 ของ
งบประมาณทั้งหมดถูกจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนเพื่อใช้จ่ายในโครงการอุดหนุนต่างๆ อาทิ เงินอุดหนุนโครงการ
อาหารเสริมนม เงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวัน และเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นต้น
ขณะที่ ง บประมาณที่ ถู ก ใช้ จ่ า ยเป็ น งบประมาณทั่ ว ไปมี สั ด ส่ ว นร้ อ ยละ 23 ของงบประมาณทั้ ง หมดใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ดังแสดงในภาพที่ 4.2 และเมื่อพิจารณาการกระจายตัวของการจัดสรรงบประมาณ
๓๗
รายโครงการพบว่างบประมาณที่ จั ดสรรมีการกระจุกตัว อยู่มากใน 5 โครงการจาก 75 โครงการ ซึ่ง 5
โครงการดังกล่าวเป็นงบเงินอุดหนุนโครงการอาหารเสริมนม เงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวัน และเงิน
อุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ดังแสดงในภาพที่ 4.3
งบอุดหนุน
105014001750
(ล้านบาท)
งบทัวไป
่
งบประมาณโครงการ
350 700
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
ลาดับโครงการ
๓๘
งบประมาณเกินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร คือ แนวทางที่ 1 การเกิดอย่างมีคุณภาพและการมีพัฒนาการ
สมวัย ทั้งนี้เนื่องจากมีโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเกินกว่าที่
ได้รับการจัดสรร ค่อนข้างมากจากการที่มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการค่อนข้างมาก (ตารางที่ 4.3) ในขณะ
ที่แนวทางการดาเนินการอื่นๆ ในเป้าหมายที่ 1 นี้ มีการเบิกจ่ายงบประมาณต่ากว่าที่ได้รับการจัดสรร
เมื่อพิจ ารณาถึ งประสิ ทธิ ผ ลของโครงการ ปรากฏว่า การดาเนินโครงการต่า งๆ ภายใต้
เป้าหมายที่ 1 นี้ มีการบรรลุประสิทธิผลในระดับสูงทั้งสิ้น (ระดับประสิทธิผลร้อยละ 87.14-260.36) โดย
ในภาพรวมของการดาเนินงานเป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของคนไทยนั้นมีประสิทธิผลร้อยละ 116.29
ซึ่งนับได้ว่าบรรลุประสิทธิผลของการดาเนินงานในระดับสูงเช่นเดียวกัน
สาหรับแนวทางการดาเนินงานที่มีการบรรลุประสิทธิผลสูงที่สุด ได้แก่ แนวทางที่ 3 การมี
ทักษะชีวิตและทักษะการทางาน โดยมีระดับประสิทธิผลเฉลี่ยร้อยละ 143.85 รองลงมาได้แก่ แนวทางที่ 4
การพัฒนาทักษะและสมรรถนะอย่างต่อเนื่ อง แนวทางที่ 5 การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการ
ดารงชีวิต แนวทางที่ 1 การเกิดอย่ างมีคุ ณภาพและการมี พัฒ นาการสมวั ย และแนวทางที่ 2 การได้ รั บ
การศึกษาที่คุณภาพได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะชีวิต โดยมีระดับประสิทธิผลร้อยละ 123.11 111.66
107.38 และ 100.93 ตามลาดับ การบรรลุประสิทธิผลในระดับสูงดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นถึงผลผลิตของ
โครงการที่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ระบุไว้ในโครงการ
๓๙
ตารางที่ 4.3 ผลการดาเนินงานเป้าหมาย 1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย จาแนกตามโครงการ
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
ของ
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน โครงการ
เด็กปฐมวัย โครงการตั้งครรภ์คุณภาพเพื่อลูก 18.70 18.28 97.78 โครงการ 1 1 ล้านบาท 18.70 18.28 97.78 100.00
(0-5 ปี) รอดแม่ปลอดภัย
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดู 1,130.46 1,908.38 168.82 คน 200,300 310,041 บาท 5,643.82 6,155.25 109.06 154.79
เด็กแรกเกิด
40
เงินอุ ดหนุนโครงการอาหารเสริม 1,028.80 994.16 96.63 คน 571,766 565,276 บาท 1,799.34 1,758.72 97.74 98.86
นม (นม)
เงิ น อุ ดห นุ น โ ครงก า รอ า ห า ร 661.08 677.62 102.50 คน 174,918 178,819 บาท 3,779.37 3,789.42 100.27 102.23
กลางวัน
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
ของ
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน โครงการ
โครงการพั ฒ นางานการวิ นิ จ ฉั ย 16.90 10.82 64.05 คน 1,140 1,175 บาท 14,824.56 9,212.60 62.14 103.07
และฟื้นฟูการได้ยินภาคใต้
โครงการส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาการ 1.76 1.73 98.10 คน 200 235 บาท 8,811.00 7,356.17 83.49 117.50
จั ดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบ
กิจการอย่างยั่งยืน
โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี 15.87 15.87 100.00 ระบบ 1 1 ล้านบาท 15.87 15.87 100.00 100.00
เพื่อ ติดตาม เฝ้า ระวังและแนะนา
41
การจัดการสุขภาพและพัฒนาของ
เด็กให้สมวัย
แนวทางที่ 2 การได้ รั บ การศึ ก ษาที่ คุ ณ ภาพ 3,044.76 2,973.83 97.67 96.98 100.93
ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะ
ชีวิต
โครงการเด็ก วัย เรีย นสูงดีสมส่วน 56.65 55.51 97.99 เขตสุขภาพ 13 13 ล้านบาท 4.36 4.27 97.99 100.00
สมองดี แข็งแรง
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
ของ
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน โครงการ
เงินอุ ดหนุนโครงการอาหารเสริม 1,841.53 1,838.48 99.83 คน 1,011,828 1,020,368 บาท 1,820.00 1,801.78 99.00 100.84
นม (นม)
เงิ น อุ ดห นุ น โ ครงก า รอ า ห า ร 1,100.65 1,070.20 97.23 คน 262,190 269,749 บาท 4,197.90 3,967.39 94.51 102.88
กลางวัน
กิจกรรมพัฒนาและสนับสนุนการ 10.00 9.64 96.40 จังหวัด 77 77 ล้านบาท 0.13 0.13 96.40 100.00
ด าเนิ น งานเฝ้ า ระวั ง ป้ อ งกั น
ควบคุมโรคและทักษะชีวิตในกลุ่ม
วัยเรียน
42
แนวทางที่ 3 การมี ทั ก ษะชี วิ ต และทั ก ษะการ 133.78 122.27 91.40 70.59 143.85
ทางาน
เด็กวัยรุ่น โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของ 74.81 73.87 98.75 คน 20,280 52,800 บาท 3,688.81 1,399.12 37.93 260.36
(15-21 ปี) สภาเด็กและเยาวชน
โครงการสนับสนุนการสร้างเสริม 39.58 31.66 80.00 เขตสุขภาพ 12 12 ล้านบาท 3.30 2.64 80.00 100.00
สุ ข ภาพ กลุ่ ม เด็ ก วั ย รุ่ น (15-21
ปี)
โครงการพัฒนาคุณภาพวัยรุ่นและ 13.15 13.15 100.00 โครงการ 1 1 ล้านบาท 13.15 13.15 100.00 100.00
เยาวชนไทย
โครงการพั ฒนาศั ก ยภาพวิชาชีพ 6.04 3.39 56.10 คน 450 715 บาท 13,424.00 4,739.44 35.31 158.89
เสรีในอาเซียน 8 วิชาชีพ
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
ของ
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน โครงการ
โครงการค้นหาศักยภาพและสร้าง 0.20 0.20 99.70 คน 120 120 บาท 1,687.50 1,682.50 99.70 100.00
ทักษะการใช้ชีวิตในวัยรุ่น
แนวทางที่ 4
การพัฒนาทั กษะและสมรรถนะ 201.02 188.96 94.00 86.50 123.11
อย่างต่อเนื่อง
วัยแรงงาน โครงการพั ฒ นาทั ก ษะอาชี พ แก่ 96.74 96.74 100.00 คน 6,600 5,751 บาท 14,656.85 16,820.59 114.76 87.14
(15-59 ปี) สตรีกลุ่มเสี่ยงในสถาบัน
โครงการพัฒนาทักษะและส่งเสริม 79.72 67.60 84.80 คน 5,190 8,602 บาท 15,360.31 7,858.64 51.16 165.74
การประกอบอาชี พ แก่ ส ตรี แ ละ
ครอบครัว
43
โครงการพัฒนาทัก ษะการทางาน 2.93 2.91 99.40 คน 1,000 908 บาท 2,931.60 3,209.14 109.47 90.80
แรงงานฝีมือ
โครงการจั ด อบรมพั ฒ นาความรู้ 0.35 0.35 99.91 คน 120 136 บาท 2,933.33 2,586.03 88.16 113.33
ทักษะด้าน Internet of Thing
โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม 2.56 2.64 103.16 คน 200 208 บาท 12,807.50 12,704.33 99.19 104.00
โดยกระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มของ
ภาคี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งเพื่ อ สร้ า งอาหาร
ปลอดภัย
โครงการฝึก อบรมกลุ่มเป้ า หมาย 18.72 18.72 100.00 คน 8,085 14,365 บาท 2,315.52 1,303.24 56.28 177.67
เฉพาะเพื่ อ เพิ่ ม โอกาสในการ
ประกอบอาชีพ
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
ของ
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน โครงการ
ผู้สูงอายุ โครงการสนับสนุนการสร้างเสริม 45.51 36.40 80.00 เขตสุขภาพ 12 12 ล้านบาท 3.79 3.03 80.00 100.00
(60 ปีขึ้นไป) สุ ข ภ า พ
กลุ่มผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป)
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 18.00 17.85 99.17 โครงการ 1 1 ล้านบาท 18.00 17.85 99.17 100.00
และป้ อ งกั น ภาวะสมองเสื่ อ มใน
ผู้สูงอายุ
44
โครงการผู้สูงวัยใส่ใจลูกหลาน 15.80 15.78 99.83 คน 7,000 7,056 บาท 2,257.71 2,236.01 99.04 100.80
โครงการเสริมสร้า งสุข ภาวะและ 20.14 19.69 97.76 คน 6,000 6,142 บาท 3,355.97 3,204.98 95.50 102.37
ทักษะอาชีพของผู้สูงอายุตามแนว
เศรษฐกิจพอเพียง
โครงการบริ ก ารส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ 0.10 0.10 100.00 คน 450 466 บาท 222.22 214.59 96.57 103.56
ผู้สูงอายุ
โ ค ร ง ก า ร พั ฒ น า ค ว า ม รู้ ด้ า น 2.50 1.16 46.65 คน 500 889 บาท 4,990.00 1,309.34 26.24 177.80
เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้สูงอายุ
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
ของ
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน โครงการ
โครงการสริ ม สร้ า งคุ ณ ภาพชี วิ ต 1.70 1.60 94.12 คน 1,050 1,142 บาท 1,619.05 1,401.05 86.54 108.76
ของวัยแรงงานในการเตรียมความ
พร้อมสู่วัยสูงอายุ
โครงการส่งเสริมสวัสดิการแรงงาน 3.04 2.99 98.30 คน 700 700 บาท 4,338.57 4,265.00 98.30 100.00
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้สูงวัยเข้าสู่
สังคมสูงอายุอย่างมีคุณค่า
ที่มา: สรุปจากข้อมูลของสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
45
หากพิ จ ารณาจ าแนกในรายละเอี ย ดของแต่ ล ะโครงการในการด าเนิ น งานเพื่ อ ให้ บ รรลุ
เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย พบว่า โครงการส่วนใหญ่คิดเป็น 30 โครงการหรือคิดเป็นร้อยละ
88.24 ของโครงการทั้งหมดสามารถสร้างผลผลิตได้ตามหรือมากกว่าเป้าหมายที่ระบุไว้ในโครงการ ในขณะที่
มีเพียง 4 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.76 ของโครงการทั้งหมดที่มีผลผลิตต่ากว่าที่ระบุไ ว้ในโครงการ
(ตารางที่ 4.2)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงระดับประสิทธิภาพในการดาเนินงานของโครงการต่างๆ จาก
ต้นทุนต่อหน่วยของการดาเนินงาน ปรากฏว่า ในภาพรวมของการดาเนินงานของเป้าหมายที่ 1 การพัฒนา
ศักยภาพคนไทย มีประสิทธิภาพในการดาเนินงานเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงเช่นเดี ยวกับประสิทธิผลของโครงการ
แสดงให้เห็นได้จากต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยในภาพรวมของเป้าหมายที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 86.75 ของต้นทุนที่ระบุ
ไว้ในแผนบูรณาการฯ หรืออาจกล่าวได้ว่าในการดาเนินงานภายใต้เป้าหมายที่ 1 สามารถประหยัดงบประมาณ
ในการดาเนินงานได้ร้อยละ 13.25 และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของแต่ละแนวทางในการดาเนินงานภายใต้
เป้าหมายที่ 1 นี้ พบว่า การดาเนินงานภายใต้แนวทางที่ 3 การมีทักษะชีวิตและทักษะการทางาน เป็นการ
ดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยมีต้นทุนต่อหน่วยในการดาเนินงานคิดเป็นร้อยละ 70.59 ของต้นทุน
ต่อหน่วยที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ หรือสามารถประหยัดต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยได้ถึงร้อยละ 29.41 สาหรับ
แนวทางที่ ส ามารถประหยั ด ต้ น ทุ น ต่ อ หน่ ว ย รองลงมาได้ แ ก่ แนวทางที่ 5 การพั ฒ นาทั ก ษะความรู้
ความสามารถในการดารงชีวิต แนวทางที่ 4 การพัฒนาทักษะและสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง แนวทางที่ 1 การ
เกิดอย่างมีคุณภาพและการมีพัฒนาการสมวัย และแนวทางที่ 2 การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้รับการ
พัฒนาความรู้ และทักษะชีวิต โดยสามารถประหยัดต้นทุนต่อหน่วยได้ร้อยละ 14.83 13.50 6.50 และ
3.02 ตามลาดับ
4.2.2 เป้ำหมำยที่ 2 กำรสร้ำงควำมมั่นคงในชีวิต
ในการดาเนินงานโครงการภายใต้เป้าหมายที่ 2 ของแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับคนไทย โดยงบประมาณที่
ได้รับการจัดสรรเพื่อให้ดาเนินงานภายใต้เป้าหมายที่ 2 มีจานวนทั้งสิ้น 828.90 ล้านบาท ในขณะที่มีการ
เบิกจ่ายจริงเป็นจานวน 795.80 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 96.01 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
โดยทุกแนวทางในการดาเนินงานภายใต้เป้าหมายที่ 2 มีการเบิกจ่ายงบประมาณต่ากว่าที่อนุมัติไว้ในแผน
ทั้งสิ้น (ตารางที่ 4.4)
เมื่อพิจ ารณาถึ งประสิ ทธิ ผ ลของโครงการ ปรากฏว่า การดาเนิ นโครงการต่า งๆ ภายใต้
เป้าหมายที่ 2 นี้ ปรากฏว่า ในภาพรวมของการดาเนินการสามารสร้างผลผลิ ตของโครงการได้บรรลุ ต าม
เป้าหมายที่กาหนดไว้ โดยสามารถบรรลุประสิทธิผลการดาเนินงานร้อยละ 114.44 หรือมีประสิทธิผลการ
ดาเนินงานในภาพรวมของเป้าหมายที่ 2 ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในจาแนกตามแนวทางในการ
ดาเนิน พบว่า การดาเนินงานโครงการภายใต้แนวทางที่ 5 การสร้างความมั่นคงในชีวิตให้ผู้สูงอายุเป็นแนวทาง
ในการดาเนินงานที่มีประสิทธิผลสูงที่สุด โดยมีระดับการบรรลุประสิทธิผลเฉลี่ยที่ร้อยละ 139.56 รองลงมา
ได้แก่ แนวทางที่ 4 การสร้างความมั่ นคงในชีวิตให้แรงงาน แนวทางที่ 2 การสร้างโอกาสทางการศึกษาใน
ระดับสูงเพื่อโอกาสการทางานและการสร้างความมั่นคงในชีวิต แนวทางที่ 1 การเตรียมความพร้อมให้เด็ก
ปฐมวั ย และแนวทางที่ 3 การสร้ า งโอกาสให้ ก ารศึ ก ษาระดั บ สู ง และประสบการณ์ ก ารท างานจริ ง เพื่ อ
53
วางรากฐานความมั่ น คงในชี วิ ต โดยมี ร ะดั บ ประสิ ท ธิ ผ ลเฉลี่ ย ร้ อ ยละ 117.28 104.33 100.00 และ
98.67 ตามลาดับ
หากพิจารณาจาแนกในรายละเอียดของแต่ละโครงการ พบว่า โครงการส่วนใหญ่คิดเป็น 22
โครงการหรือคิดเป็นร้อยละ 91.67 ของโครงการทั้งหมดสามารถสร้างผลผลิตได้ตามหรือมากกว่าเป้าหมายที่
ระบุไว้ในโครงการ ในขณะที่มีเพียง 2 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.33 ของโครงการทั้งหมดที่มีผลผลิตต่า
กว่าที่ระบุไว้ในโครงการ (ตารางที่ 4.3)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงระดับประสิทธิภาพในการดาเนินงานของโครงการต่างๆ จาก
ต้นทุนต่อหน่วยของการดาเนินงาน ปรากฏว่า ในภาพรวมของการดาเนินงานของเป้าหมายที่ 2 การสร้างความ
มั่นคงในชีวิต มีประสิทธิภาพในการดาเนินงานเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกับประสิทธิผลของโครงการ แสดง
ให้เห็นได้จากต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยในภาพรวมของเป้าหมายที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 86.76 ของต้นทุนที่ระบุไว้ใน
แผนบูรณาการฯ หรืออาจกล่าวได้ว่าในการดาเนินงานภายใต้เป้าหมายที่ 2 สามารถประหยัดงบประมาณใน
การดาเนินงานได้ร้อยละ 13.24 และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของแต่ละแนวทางในการดาเนินงานภายใต้
เป้าหมายที่ 2 นี้ พบว่า การดาเนินงานภายใต้แนวทางที่ 2 การสร้างโอกาสทางการศึกษาในระดับสูงเพื่อ
โอกาสการทางานและการสร้างความมั่นคงในชีวิต เป็นการดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยมีต้นทุนต่อ
หน่วยในการดาเนินงานคิดเป็นร้อยละ 77.73 ของต้นทุนต่อหน่วยที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ หรือสามารถ
ประหยั ด ต้ น ทุ น ต่ อ หน่ ว ยเฉลี่ ย ได้ ถึ ง ร้ อ ยละ 22.27 ส าหรั บ แนวทางที่ ส ามารถประหยั ด ต้ นทุ น ต่อหน่ว ย
รองลงมาได้แก่ แนวทางที่ 5 การสร้างความมั่นคงในชีวิตผู้สูงอายุ แนวทางที่ 4 การสร้างความมั่นคงในชีวิตให้
แรงงาน แนวทางที่ 3 การสร้างโอกาสในการศึกษาระดับสูงและประสบการณ์การทางานจริงเพื่อวางรากฐาน
ความมั่นคงในชีวิต และแนวทางที่ 1 การเตรียมความพร้อมให้เด็กปฐมวัยเป็นคนไทยที่มีความมั่นคงในชีวิต
โดยสามารถประหยัดต้นทุนต่อหน่วยได้ร้อยละ 17.32 14.98 12.40 และ 4.32 ตามลาดับ
54
ตารางที่ 4.4 ผลการดาเนินงานเป้าหมาย 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต จาแนกตามโครงการ
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน ของโครงการ
เด็กปฐมวัยเป็นคนไทยที่มี
ความมั่นคงในชีวิต
เด็กปฐมวัย โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต 51.80 43.16 83.32 โครงการ 1 1 ล้านบาท 51.80 43.16 83.32 100.00
(0-5 ปี)
เด็กปฐมวัย
โครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์ 18.50 18.14 98.05 โครงการ 1 1 ล้านบาท 18.50 18.14 98.05 100.00
55
เด็กเล็กคุณภาพ
โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย 14.88 14.04 94.30 คน 1,600 1,600 คน 0.01 0.01 94.30 100.00
ศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธร
ราชวิทยาลัยในพระบรม
ราชูปถัมภ์ (สมุทรปราการ
นครปฐม สมุทรสาคร)
กิจกรรมพัฒนาและสนับสนุน 7.00 6.76 96.53 จังหวัด 77 77 ล้านบาท 0.09 0.09 96.53 100.00
การดาเนินงานป้องกัน
ควบคุมโรคติดต่อและสร้าง
ภูมิคุ้มกันในกลุ่มวัยเด็ก
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน ของโครงการ
กิ จ ก ร ร ม พั ฒ น า บ ริ ก า ร 9.02 9.58 106.21 คน 2,288 2,288 บาท 3,943.01 4,188.02 106.21 100.00
สุ ข ภาพตามช่ ว งวั ย ในกลุ่ ม
ครรภ์/แรกเกิด/ปฐมวัย (0-5
ปี)
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน ของโครงการ
โ ค ร ง ก า ร ขั บ เ ค ลื่ อ น 13.13 12.59 95.88 โครงการ 1 1 ล้านบาท 13.13 12.59 95.88 100.00
พระราชบั ญ ญั ติก ารป้ อ งกั น
และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์
ในวัยรุ่น
โครงการจัดอบรมความรู้ด้าน 0.35 0.37 105.21 คน 800 768 บาท 436.25 478.13 109.60 96.00
คอมพิ ว เตอร์ใ ห้ กับ นั ก เรีย น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เ พื่ อ ส ร้ า ง โ อ ก า ส ท า ง
การศึกษา
แนวทางที่ 4 การสร้างความมั่นคงในชีวิต 553.95 549.95 99.28 85.02 117.28
ให้แรงงาน
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน ของโครงการ
วัยแรงงาน โครงการพั ฒ นาทั ก ษะด้ า น 14.18 13.16 92.82 คน 3,080 3,080 บาท 4,602.27 4,271.95 92.82 100.00
(15-59 ปี) อาชีพและสังคมเพื่อคุณภาพ
ชี วิ ต ที่ ดี ข อง คนพิ ก ารและ
ครอบครัว
โครงการสร้ า งเสริ มสุข ภาพ 42.70 42.11 98.63 โครงการ 1 1 ล้านบาท 42.70 42.11 98.63 100.00
และป้ อ งกั น ควบคุ ม โรคไม่
ติดต่อ
โ ครงก า รบ ริ ห า รจั ด ก า ร 5.00 4.95 98.91 โครงการ 1 1 ล้านบาท 5.00 4.95 98.91 100.00
แรงงานนอกระบบ แรงงาน
สูงอายุและ แรงงานพิการ
458.68 458.68 100.00 คน 1,532,000 2,265,809 บาท 299.40 202.44 67.61 147.90
58
โครงการแรงงานนอกระบบผู้
มี สิ ท ธิ ไ ด้ ส มั ค รเข้ า สู่ ค วาม
คุ้ ม ครองภายใต้ กฎหมาย
ประกันสังคม
โครงการก้ า วสู่ ง านที่ ดี ค นมี 33.40 31.05 92.98 คน 166,400 230,441 บาท 200.70 134.75 67.14 138.49
คุณภาพ (Smart Job Smart
Workers)
แนวทางที่ 5 การสร้างความมั่นคงในชีวิต 88.78 81.29 91.57 82.68 139.56
ให้ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ โครงการให้บริการผู้สูงอายุใน 31.25 31.00 99.18 คน 14,458 18,479 บาท 2,161.43 1,677.31 77.60 127.81
(60 ปีขึ้นไป) ภาวะยากลาบาก
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน ใช้จ่ายจริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน ของโครงการ
โครงการสนั บ สนุ น งานศพ 37.00 35.38 95.62 คน 20,512 18,428 บาท 1,803.82 1,919.90 106.44 89.84
ผู้สูงอายุตามประเพณี
ประเภทโดยชุมชนมีส่วนร่วม
โครงการการส่งเสริมสุขภาพ 5.02 4.98 99.31 จังหวัด 76 76 บาท 66,023.68 65,565.79 99.31 100.00
ผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผน
ไทยและการแพทย์ผสมผสาน
โครงการจั ด การเรี ย นการ 0.25 0.25 99.35 คน 200 547 บาท 1,239.00 450.09 36.33 273.50
สอนแก่ผู้สูงอายุ จ.ชุมพร
โ ครงก า รส่ ง เสริ ม พั ฒ นา 0.10 0.10 100.00 คน 150 160 บาท 657.33 616.25 93.75 106.67
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ที่มา: สรุปจากข้อมูลของสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
4.2.3 เป้ำหมำยที่ 3 กำรสร้ำงควำมเข้มแข็งและควำมอบอุ่นของครอบครัวไทย
สาหรับเป้าหมายที่ 3 ของแผนบูรณาการการพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560 มีวัตถุประสงค์ในการดาเนินงานคือ การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย
โดยงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อให้ดาเนิน งานภายใต้เป้าหมายที่ 3 มีจานวนทั้งสิ้น 256.36 ล้านบาท
ในขณะที่มีการเบิกจ่ายจริงเป็นจานวน 223.35 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 87.13 ของงบประมาณที่ได้รับ
การจัดสรร โดยทุกแนวทางในการดาเนินงานภายใต้เป้าหมายที่ 2 มีการเบิกจ่ายงบประมาณต่ากว่าหรือเท่ากับ
ที่ที่อนุมัตไิ ว้ในแผนบูรณาการฯ ทั้งหมด (ตารางที่ 4.5)
เมื่อพิจ ารณาถึ งประสิ ทธิ ผ ลของโครงการ ปรากฏว่า การดาเนินโครงการต่า งๆ ภายใต้
เป้าหมายที่ 3 นี้ ปรากฏว่า ในภาพรวมของการดาเนินงานสามารสร้างผลผลิตของโครงการได้บรรลุ ต าม
เป้าหมายที่กาหนดไว้ โดยสามารถบรรลุประสิทธิผลการดาเนินงานร้อยละ 126.80 หรือมีประสิทธิผลการ
ดาเนินงานในภาพรวมของเป้าหมายที่ 3 ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในจาแนกตามแนวทางในการ
ดาเนิน พบว่า การดาเนินงานโครงการภายใต้แนวทางที่ 2 การวางรากฐานจริยธรรม คุณธรรมเพื่อความอยู่ดีมี
สุ ข เป็ น แนวทางที่ บ รรลุ ร ะดั บ ประสิ ท ธิ ผ ลสู ง ที่ สุ ด คิ ด เป็ น การบรรลุ ป ระสิ ท ธิ ผ ลเฉลี่ ย ร้ อ ยละ 161.90
รองลงมาได้แก่ แนวทางที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการก้าวสู่การเป็นผู้ ใหญ่
แนวทางที่ 4 การส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัวสาหรับวัยแรงงาน แนวทางที่ 5 การสร้างคุณค่าและความ
อบอุ่นในวัยสูงอายุ และแนวทางที่ 1 การสร้างความอบอุ่นให้เด็กปฐมวัย คิดเป็นการบรรลุ ประสิทธิผลเฉลี่ย
ร้อยละ 123.60 119.82 100.00 และ 83.31 ตามลาดับ
หากพิ จ ารณาจ าแนกในรายละเอี ย ดของแต่ ล ะแนวทางในการด าเนิ น งานเพื่ อ ให้ บ รรลุ
เป้าหมายที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย พบว่า โครงการส่วนใหญ่คิดเป็น 15
โครงการหรือคิดเป็นร้อยละ 88.24 ของโครงการทั้งหมดสามารถสร้างผลผลิตได้ตามหรือมากกว่าเป้าหมายที่
ระบุไว้ในโครงการ ในขณะที่มีเพียง 2 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.76 ของโครงการทั้งหมดที่มีผลผลิตต่า
กว่าที่ระบุไว้ในโครงการ (ตารางที่ 4.5)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงระดับประสิทธิภาพในการดาเนินงานของโครงการต่างๆ จาก
ต้นทุนต่อหน่วยของการดาเนินงาน ปรากฏว่า ในภาพรวมของการดาเนินงานแนวทางที่ 2 การวางรากฐาน
จริยธรรม คุณธรรมเพื่อความอยู่ดีมีสุข เป็นแนวทางการดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยมีต้นทุนต่อ
หน่วยในการดาเนินงานเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 65.24 ของต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณไว้ในแผนการดาเนินงาน
หรือกล่าวได้ว่าการดาเนินงานของแนวทางที่ 1 สามารถประหยัดต้นทุนในการดาเนินงานได้ร้อยละ 34.76
สาหรับแนวทางในการดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพรองลงมาได้แก่ แนวทางที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับ
การเปลี่ยนแปลงและการก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ และแนวทางที่ 4 การส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัวสาหรับวัย
แรงงาน โดยสามารถประหยัดต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 23.16 และ 19.05 ตามลาดับ
ในขณะที่ แนวทางที่ 5 การสร้างคุณค่าและความอบอุ่นในวัยสูงอายุ มีประสิทธิภาพในการ
ดาเนินงานในระดับปานกลางเนื่องจากมีต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับที่กาหนดไว้ในแผนบูรณาการฯ
ส่วนแนวทางที่ 1 การสร้างความอบอุ่นให้เด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพในการดาเนินงานค่อนข้างต่า เนื่องจากมี
ต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิตสูงกว่าที่กาหนดไว้ในแผนบูรณาการฯ
60
ตารางที่ 4.5 ผลการดาเนินงานเป้าหมาย 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย จาแนกตามโครงการ
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
ใช้จ่าย
ของโครงการ
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน จริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน
เป้าหมายที่ 3 การสร้ า งความเข้ ม แข็ ง และความอบอุ่ น ของ 256.36 223.35 87.13 79.13 126.80
ครอบครัวไทย
เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) โครงการเสริมสร้า งศัก ยภาพครอบครัว ลดความ 15.77 13.61 86.31 คน 1,300 1,083 บาท 12,131.15 12,567.8 103.60 83.31
รุนแรงในเด็กเล็ก 7
เด็กวัยเรียน (5-14 ปี) โครงการป้ อ งกันและแก้ไขปัญ หาการตั้งครรภ์ใน 29.91 23.76 79.45 คน 15,000 36,873 บาท 1,993.96 644.42 32.32 245.82
วัยรุ่น
โครงการป้ อ งกันและเสริมสร้า งภูมิคุ้มกันสาหรับ 2.00 1.70 85.00 คน 750 1,573 บาท 2,666.67 1,080.74 40.53 209.73
เด็กและเยาวชน อย่างมีส่วนร่วม
โครงการชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร 26.80 19.64 73.28 แห่ง 2,000 2,191 บาท 13,400.00 8,964.03 66.90 109.55
โครงการพั ฒ นาศั ก ยภาพนั ก เรี ย นด้ า นคุ ณ ธรรม 0.88 0.88 100.00 คน 400 330 บาท 2,205.00 2,672.73 121.21 82.50
จริยธรรมเพื่อความอยู่ดีมีสุข
ใช้จ่าย
ของโครงการ
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน จริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน
เด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) โครงการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง 36.55 36.06 98.66 โครงการ 3 3 ล้าน 12.18 12.02 98.66 100.00
และการก้าวสู่การ เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ บาท
กิ จ กรรม พั ฒ นาและขั บ เคลื่ อ นกฎหมายเพื่อ ลด 6.00 5.97 99.54 จังหวัด 77 77 ล้าน 0.08 0.08 99.54 100.00
พฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มวัยรุ่น บาท
โครงการน าร่ อ งสถาบั น อาชี ว ะต้ น แบบสร้ า ง 6.17 5.56 90.09 แห่ง 20 20 ล้าน 0.31 0.28 90.09 100.00
“สุภาพชน คนอาชีวะ” บาท
โครงการส่ง เสริ มคุ ณธรรมความซื่อ ตรงของผู้ น า 2.22 1.74 78.40 คน 200 367 บาท 11,119.00 4,750.68 42.73 183.50
นักศึกษา
62
โครงการส่ ง เสริ ม ความรู้ เ ท่ า ทั น เรื่ อ งเพศของ 4.03 2.59 64.39 คน 100 155 บาท 40,255.00 16,723.8 41.54 155.00
เยาวชนระดับอาชีวศึกษา 7
กิจกรรม ส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมเพื่อความ 9.00 8.82 64.39 โครงการ 1 1 ล้าน 9.00 8.82 98.00 100.00
อยู่ดีมีสุข บาท
โครงการพัฒนาพฤตินิสัย ด้านการศึกษา กาย จิต 3.45 2.94 85.29 คน 1,500 1,901 บาท 2,300.00 1,547.87 67.30 126.73
สังคมของเด็กและ เยาวชนที่กระทาความผิด
วัยแรงงาน โครงการส่งเสริมสัมพันธภาพครอบครัว 9.21 9.21 100.00 ครัวเรือน 190 303 บาท 48,447.37 30,381.1 62.71 159.47
(15-59 ปี) 9
งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิผล
ใช้จ่าย
ของโครงการ
เป้าหมาย/แนวทาง โครงการ ตามแผน จริง สัดส่วน หน่วย ตามแผน เกิดจริง หน่วย ตามแผน เกิดจริง สัดส่วน
โครงการสร้า งเสริมสุข ภาพ กลุ่มวัย ทางาน (15- 71.96 58.65 81.50 เขต 12 12 ล้าน 6.00 4.89 81.50 100.00
59ปี) สุขภาพ บาท
กิจกรรมส่งเสริมความอบอุ่ นในครอบครัวสาหรับ 14.30 14.11 98.65 โครงการ 2 2 ล้าน 7.15 7.05 98.65 100.00
กลุ่มเป้าหมาย บาท
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) โครงการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพจิ ต และป้ อ งกั น ปั ญ หา 7.45 7.45 100.00 โครงการ 1 1 ล้าน 7.45 7.45 100.00 100.00
สุขภาพจิตวัยสูงอายุ ปี 2560 บาท
63
โครงการสร้างจิตสดใส ผู้สูงอายุชีวิตไทย มีความสุข 10.66 10.66 100.00 โครงการ 1 1 ล้าน 10.66 10.66 100.00 100.00
บาท
ที่มา: สรุปจากข้อมูลของสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
4.2.4 ภำพรวมของแผนบูรณำกำรกำรพัฒนำคนตำมช่วงวัย ปีงบประมำณ พ.ศ. 2560
สาหรับการประเมินผลในภาพรวมของแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560 ได้ใช้ข้อมูลจากผลการประเมินประสิทธิผลประสิทธิภาพในแต่ละเป้าหมายที่แสดงไว้ข้างต้นมา
สั งเคราะห์ เป็ น ภาพรวมของแผนบู ร ณาการฯ โดยผลการประเมิน ระดั บ ภาพรวมของแผนบูร ณาการฯ มี
รายละเอียดดังนี้
ในภาพรวมของแผนบู ร ณาการฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการด าเนิน งานในทุ ก
เป้าหมายในการดาเนินงาน รวมทั้งสิ้น 7,530.73 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น
8,066.71 ล้ า นบาท ซึ่ ง สู ง กว่ า งบประมาณที่ ไ ด้ รั บ การจั ด สรรคิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 7.12 โดยการเบิ ก จ่ า ย
งบประมาณที่เกินมานี้เป็นงบประมาณที่ใช้สาหรับการดาเนินงานภายใต้เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของ
คนไทย โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัย (0-5 ปี) (ตารางที่ 4.6) นอกจากนี้ หากพิจารณาการจัดสรรงบประมาณใน
การดาเนินงานของแต่ละเป้าหมาย ปรากฏว่า เป้าหมายที่ 1 การเพิ่มศักยภาพของคนไทยเป็นเป้าหมายในการ
ดาเนินงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85.59 ของงบประมาณที่จัดสรร ในขณะที่
งบประมาณที่อนุมัติจัดสรรให้แก่เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต และเป้าหมายที่ 3 การสร้างความ
เข้ ม แข็ ง และความอบอุ่ น ของครอบครั ว ไทยมี สั ด ส่ ว นที่ ค่ อ นข้ า งน้อ ย คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 11.01 และ 3.40
ตามลาดับ การจัดสรรงประมาณในลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าการดาเนินงานภายใต้แผนบูรณา
การฯ ปีงบประมาณ 2560 ให้ความสาคัญหรือเน้นในด้านการพัฒนาศักยภาพของคนไทยเป็นสาคัญ ในขณะ
ที่มิติอื่นๆ ที่เป็นประเด็นทางด้านการพัฒนาจิตใจของคนไทยอาจยังไม่ได้ให้ความสาคัญมากนัก
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณจาแนกตามช่วงวัย พบว่า เด็ก
ปฐมวัย (0-5 ปี) และเด็กวัยเรียน (5-14 ปี) ได้รับการจัดสรรและเบิกจ่ายงบประมาณในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง
โดยทั้ ง 2 ช่ ว งวั ย ดั ง กล่ า ว เมื่ อ พิ จ ารณาร่ ว มกั น พบว่ า ได้ รั บ การจั ด สรรงบประมาณเป็ น จ านวนทั้ ง สิ้ น
6,241.96 ล้ านบาท หรื อคิดเป็ น ว่าร้อยละ 85 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรทั้งหมด เช่นเดียวกั บ
ข้างต้น การจัดสรรงบประมาณดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าในการดาเนินงานให้ความสาคัญกับเด็กไทย (0-14 ปี)
อย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงวัยอื่นๆ (ตารางที่ 4.6)
64
ตารางที่ 4.6 งบประมาณในการดาเนินงานภายใต้แผนบูรณาการฯ
เป้าหมายที่ 1 เป้าหมายที่ 2 เป้าหมายที่ 3 รวมตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมาย อนุมัติ เบิกจ่าย ร้อยละ อนุมัติ เบิกจ่าย ร้อยละ อนุมัติ เบิกจ่าย ร้อยละ อนุมัติ เบิกจ่าย ร้อยละ
เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) 2,959.14 3,666.92 123.92 101.20 91.67 90.58 15.77 13.61 86.31 3,076.11 3,772.20 122.63
เด็กวัยเรียน (5-14 ปี) 3,044.76 2,973.83 97.67 61.49 54.21 88.16 59.59 45.98 77.17 3,165.85 3,074.02 97.10
เด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) 133.78 122.27 91.40 23.48 18.68 79.59 67.42 63.69 94.47 224.68 204.65 91.09
วัยแรงงาน (15-59 ปี) 201.02 188.96 94.00 553.95 549.95 99.28 95.47 81.96 85.85 850.44 820.88 96.52
65
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 106.78 95.57 89.50 88.78 81.29 91.57 18.11 18.11 100.00 213.66 194.96 91.25
รวมตามเป้าหมาย 6,445.48 7,047.55 109.34 828.90 795.80 96.01 256.36 223.35 87.13 7,530.73 8,066.71 107.12
ที่มา: สรุปจากข้อมูลของสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประสิทธิผลของแผนบูรณาการฯ
เมื่อพิจารณาจากผลผลิตของโครงการ ปรากฏว่า ในภาพรวมของแผนบูรณาการฯ สามารถ
สร้ า งผลผลิ ต ในรู ป แบบต่ า งๆ ได้ ดั ง นี้ กลุ่ ม เป้ า หมายที่ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาศั ก ยภาพเป็ น จ านวนรวมทั้ ง สิ้ น
5,047,138 คน การดาเนินการพัฒนาศูนย์ดูแลกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ การพัฒนา
ศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในการให้บริ การของเขตสุขภาพทั้ง 13 เขต และการพัฒนาระบบ/เทคโนโลยีในการ
เข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ซึ่งผลผลิตดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากการดาเนินโครงการต่างๆ เป็นไปตามเป้าหมายหรือสูง
กว่าเป้าหมายที่กาหนดไว้ในเกือบทุกช่วงวัย และเป้าหมายในการดาเนินงาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิผล
ของการดาเนินโครงการในภาพรวมของแผนบูรณาการฯ อยู่ในระดับสูง โดยเป้าหมายที่บรรลุประสิทธิผลสูง
ที่สุด ได้แก่ เป้าหมายที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่น คิดเป็นร้อยละ 132.12 รองลงมาได้แก่
เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต และ เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย โดยมีการบรรลุ
ประสิทธิผลเฉลี่ย เท่ากับ 115.63 และ 101.82 ตามลาดับ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจาแนกตามช่วงวัย ปรากฏว่า ผลการดาเนินงานโครงการที่สนับสนุน
ช่วงเด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) เป็นช่วงวัยที่ประสิทธิผลของการดาเนินโครงการโดยรวมสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ
135.13 รองลงมาได้แก่ วัยแรงงาน (15-59 ปี) คิดเป็นประสิทธิผลร้อยละ 115.61 ในขณะที่ประสิทธิผล
ของการดาเนินโครงการในช่วงเด็กวัยเรียน (5-14 ปี) เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มี
ประสิทธิผลเฉลี่ยใกล้เคียงกัน คิดเป็นร้อยละ 103.39 102.81 และ 102.22 ตามลาดับ (ตารางที่ 4.7)
ประสิทธิภาพของแผนบูรณาการฯ
ในประเด็นของประสิทธิภาพของโครงการ โดยใช้ข้อมูลร้อยละของต้นทุนต่อหน่วยที่เกิดขึ้น
จริงเปรียบเทียบกับที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ หากพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละเป้าหมาย พบว่า การ
ดาเนินงานภายใต้เป้าหมายที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่ นของครอบครัวไทย เป็นเป้าหมายที่มี
ประสิทธิภาพในการดาเนินงานสูงที่สุด โดยมีต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริงคิดเป็นร้อยละ 79.13 ของ
ต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ รองลงมาได้แก่ เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต
และเป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย โดยมีต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริงคิดเป็นร้อยละ 94.14
และ 114.61 ของต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ ตามลาดับ (ตารางที่ 4.8)
66
ตารางที่ 4.7 ผลผลิตของแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
กลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัด ตามแผน เกิดจริง ร้อยละ ตามแผน เกิดจริง ร้อยละ ตามแผน เกิดจริง ร้อยละ ตามแผน เกิดจริง ร้อยละ
เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) คน/ครอบครัว 948,374 1,055,591 111.31 3,888 3,888 100.0 1,300 1,083 83.31 953,562 1,060,562 111.22
จังหวัด 77 77 100.00 77 77 100.00
เขตสุขภาพ 26 26 100.00 0 26 26 100.00
โครงการ/ระบบ/แห่ง 2 2 100.00 2 2 100.0 4 4 100.00
เฉลี่ยทุกผลผลิต 103.77 100.00 83.31 102.81
เด็กวัยเรียน (5-14 ปี) คน/ครอบครัว 1,274,018 1,290,117 101.26 300 15,399 5,133.0 16,150 38,776 240.1 1,290,468 1,344,292 104.17
จังหวัด 77 77 100.00 00 0 77 77 100.00
เขตสุขภาพ 13 13 100.00 13 13 100.00
67
กลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัด ตามแผน เกิดจริง ร้อยละ ตามแผน เกิดจริง ร้อยละ ตามแผน เกิดจริง ร้อยละ ตามแผน เกิดจริง ร้อยละ
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) คน/ครอบครัว 15,700 16,395 104.43 35,320 39,160 110.8 51,020 55,555 108.89
จังหวัด 76 76 100.07 76 76 100.00
เขตสุขภาพ 12 12 100.00 0 12 12 100.00
โครงการ/ระบบ/แห่ง 1 1 100.00 2 2 100.0 3 3 100.00
เฉลี่ยทุกผลผลิต 101.48 105.4 100.00 102.22
รวมตามเป้าหมาย คน 2,280,137 2,445,708 107.26 1,742,088 2,558,845 146.84 19,440 42,585 219.00 4,041,665 5,047,138 124.88
จังหวัด 77 77 100.00 153 153 100.08 77 77 100.06 307 307 100.00
เขตสุขภาพ 63 63 100.00 0 12 12 100.00 75 75 100.00
โครงการ/ระบบ/ 4 4 100.00 40 40 100.0 2,028 2,219 109.40 2,072 2,263 109.22
68
แห่ง่ยทุกผลผลิต
เฉลี 101.82 115.60 132.12 108.52
ที่มา: สรุปจากข้อมูลของสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3 2
ตารางที่ 4.8 ประสิทธิภาพการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ 2560
หน่วย: ร้อยละ
กลุ่มเป้าหมาย เป้าหมายที่ 1 เป้าหมายที่ 2 เป้าหมายที่ 3 รวมตามช่วงวัย
เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) 93.50 95.68 103.60 97.60
เด็กวัยเรียน (5-14 ปี) 96.98 77.73 65.24 79.98
เด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) 70.59 87.60 76.84 78.34
วัยแรงงาน (15-59 ปี) 86.50 85.02 80.95 84.16
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 85.17 82.68 100.00 89.28
รวมตามเป้าหมาย 86.75 86.76 79.13 85.87
ที่มา: สรุปจากข้อมูลของสานักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์
นอกจากนี้ เมื่อพิจ ารณาต้นทุนต่อหน่ว ยเฉลี่ ยจาแนกตามช่วงวัยเป้าหมายในการพัฒนา
พบว่า การดาเนินงานพัฒนาคนเกือบทุกช่วงวัยมีประสิทธิภาพในการดาเนินงานในระดับค่อนข้างมาก โดย
สังเกตได้จากต้นทุนต่อหน่วยในทุกช่วงวัยต่ากว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อ
เรียงลาดับ ช่วงวัยที่มีประสิทธิภาพในการดาเนินงานสูงที่สุด ได้แก่ ช่วงเด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) โดยมีต้นทุน
เฉลี่ยต่อหน่วยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 78.34 ของต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ รองลงมา
ได้แก่ ช่ว งเด็กวัย เรี ย น (5-14 ปี ) และวัย แรงงาน (15-59 ปี) โดยมีต้นทุนเฉลี่ ยต่อหน่ว ยคิดเป็นร้อยละ
79.98 และ 84.16 ตามลาดับ (ตารางที่ 4.8) โดยรายละเอียดปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จ ตลอดจนปัจจัย
ที่นาไปสู่ปัญหาและอุปสรรคของโครงการและแผนบูรณาการฯ สามารถสรุปใดดังนี้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จของโครงการและแผนบูรณาการฯ
1) การระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และการเข้าร่วมโครงการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่ง
เป็นปัจจัยสาคัญสาหรับการดาเนินงานโครงการ โดยโครงการที่ประสบผลสาเร็จจะมีการกาหนดกลุ่มเป้าหมาย
ในการดาเนินการไว้ตั้งแต่ต้น และสามารถดาเนินงานได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กาหนด
2) ความร่วมมือในการดาเนินงานในระดับพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากโครงการที่บรรจุอยู่
ในแผนบูรณาการฯ ส่วนใหญ่จะมีการกระจายการดาเนินงานส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั้งในระดับจังหวัด อาเภอ
หรือชุมชน ดังนั้นความร่วมมือในการดาเนินงานของหน่วยงานในระดับพื้นที่จะเป็นปัจจัยสาคัญทาให้การ
ดาเนินงานประสบผลสาเร็จ
3) ความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่อันเนื่องมาจากผู้นาให้ความสาคัญนับว่าเป็นอีก
หนึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความสาเร็จของโครงการ โดยความเข้มแข็งของชุมชนและการที่ผู้นาให้ความสาคัญ
จะนาไปสู่การขับเคลื่อนงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4) บุคลากรในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นจะต้องมีจานวนและความรู้
ที่เพียงพอในการขับเคลื่อนโครงการภายใต้แผนบูรณาการฯ นอกจากนั้น หัวหน้าโครงการวิจัยต่างๆ ภายใต้
แผนบูรณาการฯ นับว่ามีความสาคัญมากต่อความสาเร็จในการขับเคลื่อนโครงการฯ เนื่องจากจาเป็นจะต้อง
๖๙
รอบรู้ ร ะเบี ย บด้ า นการเงิ น ของหน่ ว ยงานอื่ น ๆ ที่ มี ก ารบู ร ณาการร่ ว มกั น และยั ง ต้ อ งมี ศั ก ยภาพในการ
ประสานงานกันระหว่างหน่วยงานอีกด้วย
5) การจั ด สรรงบประมาณอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ ให้ ส ามารถด าเนิ น โครงการใน
กลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่องอันจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพอย่างยั่งยืน รวมทั้งการคานึงถึงการขยายผลเพื่อ
ยกระดับการพัฒนาให้ถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้ครบถ้วนทั้งประเทศ
ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคของโครงการและแผนบูรณาการฯ
1) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในการดาเนินงานที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากขอบเขต
ในการดาเนินงานที่กว้างแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่จากัด ทาให้การดาเนินงานเพื่อให้บรรลุประสิทธิผล
และประสิทธิภาพทาได้อย่างจากัด
2) การติดตามประเมินผลที่ยังไม่เข้มข้น ซึ่งเป็นการติดตามผลผลิตในแต่ละไตรมาส
ซึ่งยั งไม่ได้มีการติดตามไปถึงปั จ จั ย น าเข้า กระบวนการ และผลลั พธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการ ทาให้ การ
ดาเนินการมุ่งเน้นที่ผลิตผลผลิตออกมาตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ในโครงการ แต่อาจนาไปไม่ถึงเป้าประสงค์
ของแผนบูรณาการฯ
3) การกาหนดตัวชี้วัดของโครงการที่ยังคงไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนา
ของแผนบู ร ณาการฯ ท าให้ ก ารประเมิ น ประสิ ท ธิ ผ ลของแผนบู ร ณาการฯ ในภาพรวมยั ง คงไม่ ส ามารถ
ดาเนินการได้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ตัวชี้วัดที่กาหนดไว้ในแผนงานและโครงการเกือบทั้งหมดเป็นตัวชี้วัดในเชิง
ปริมาณ ซึ่งอาจจะสะท้อนถึงการพัฒนาคนตามช่วงวัยได้ครบถ้วน จึงจาเป็นต้องมีการพิจารณาถึงตัวชี้วัดในเชิง
คุณภาพประกอบด้วย
4) การบู ร ณาการในระดั บ พื้ น ที่ ยั ง ค่ อ นข้ า งน้ อ ย โดยโครงการที่ เ สนอของ
งบประมาณของแผนบูรณาการฯ ส่วนใหญ่ยังเป็นไปในลักษณะของงานที่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทายังไม่มี
การบูรณาการกันอย่างชัดเจนตามเป้าหมายของแผน ทาให้การมุ่งเน้นการแก้ปัญหากระจายไปยังพื้นที่และ
กลุ่ มต่างกัน ทาให้ การพัฒ นากลุ่ มเป้ าหมายในแต่ล ะช่ว งวัยยังไม่ชัดเจนและยังไม่บรรลุ ผลในเชิงคุณภาพ
เท่าที่ควร
5) การจัดลาดับความสาคัญของโครงการยังไม่ชัดเจน ทาให้บางโครงการไม่ได้รับ
งบประมาณในการดาเนินการอย่างต่อเนื่อง
๗๐
บทที่ 5
การรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นเชิงคุณภาพที่มีต่อแผนบูรณาการฯ
เนื้อหาในบทนี้นาเสนอผลการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลข้อคิดเห็นต่อแผนบูรณาการการพัฒนาคน
ตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ประกอบไปด้วยผลการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดประชุมระดมความ
คิดเห็นเพื่อติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ.
2560 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
5.1 สรุปประเด็นสาคัญจากการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล
การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลได้ทาการสัมภาษณ์ผู้บริหารหน่วยงานในกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยงานหลักต่างๆ ที่ร่วมขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ ตลอดจนหน่วยงานหรือนักวิจัย
ต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ โดยสามารถสรุปประเด็นสาคัญดังรายละเอียดต่อไปนี้
๗๑
5.1.1 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ปลัดกระทรวงกำรพัฒนำสังคมและควำม
มั่นคงของมนุษย์
การสัมภาษณ์เชิงลึกปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ดร.ปรเมธี
วิมลศิริ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ภาพรวมการบูรณาการที่ผ่านมา
• ภาพรวมแผนบู ร ณาการการพั ฒ นาคนตามช่ว งวั ยที่ ผ่ า นมาขั บเคลื่ อ นได้ดี แต่เ งิ น
งบประมาณที่ได้ รั บ การจัดสรรมีน้อยไปเมื่อเทียบกับขอบเขตที่กว้างมากของแผน
บูรณาการฯ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกาลังอยู่ในช่วงของการทบทวนว่าควรจะยุบแผน
บูรณาการฯ นี้หรือไม่ แล้วนาไปรวมกับแผนบูรณาการฉบับอื่น เนื่องจากขอบเขตของ
แผนหลักกว้างมากแต่มีเงินงบประมาณน้อยซึ่งทาให้บรรลุ เป้าหมายได้ยากในทาง
ปฏิบัติ นอกจากนั้นหลายหน่วยงานใช้ช่องทางของบประมาณผ่านแผนบูรณาการฯ
ฉบับนี้เพื่อตอบโจทย์งานประจาของหน่วยงานตนเอง จึงอาจจะไม่ไ ด้ก่อให้เกิดการ
บูรณาการงานที่แท้จริง และยังพบว่าหน่วยงานต่างๆ เสนอโครงการของตนเองยังขาด
การวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน
• สาหรับในส่วนของการขับเคลื่ อนแผนบูรณาการฉบับนี้และแผนงานอื่นๆ นั้น ทาง
กระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ เ องก าลั ง จั ด ท าตั ว ชี้ วั ด ร่ ว ม
ระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงฯ เพื่อให้การบูรณาการเกิดผลสาเร็จในเชิงปฏิบัติ
แผนการปฎิรูปกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
• ปัจจุบันทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กาลังมีการปฏิรูป
กระทรวงเองโดยคาดว่ า จะมี ก ารตั้ ง หน่ ว ยงาน Think tank เพื่ อ ขั บ เคลื่ อ นการ
ดาเนินงานในภาพรวมโดยเฉพาะในมิติของแผนและนโยบายของกระทรวงฯ ซึ่งนับว่า
เป็นโอกาสดีเนื่องจากทางกระทรวงเองจัดเป็นหนึ่งในสี่กระทรวงที่รัฐบาลมีแผนที่จะ
ปฏิรูปการบริหารจัดการ
• ในอนาคตทางกระทรวงการพัฒ นาสั งคมและความมั่นคงของมนุษ ย์มีแผนที่จะลด
บทบาทของทางกระทรวงเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน (Operator) เป็นผู้ประสานงาน
(Coordinator) และผู้ควบคุมการดาเนินงาน (Regulator) โดยจะเปิดโอกาสให้ทาง
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นปฎิบัติงานเชิงสังคมของกระทรวงมากขึ้น เพราะอนาคต
ท้องถิ่นควรจะต้องดูแลตัวเองให้ได้
• ทางกระทรวงเจอปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนงาน
นโยบายและแผนของกระทรวง ปัจจุบันบุคลากรส่วนใหญ่ในกระทรวงจะเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านสังคมสงเคราะห์
๗๒
5.1.2 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ รองอธิบดีกรมกิจกำรสตรีและสถำบัน
ครอบครัว
การสัมภาษณ์เชิงลึกรองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (นางพัชรี อาระยะกุล)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ภาพรวมการบูรณาการที่ผ่านมา
• งบบูรณาการที่ได้รับถูกส่งผ่านไปยังสองส่วนของกลุ่มได้แก่ส่วนงานด้านสตรีและส่วน
งานด้านครอบครัว
• งบประมาณจากแผนบูรณาการฯ จะถูกส่งผ่านไปยังศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและ
ครอบครัว (ศสค.) ใน 8 ศูนย์ทั่วประเทศซึ่งสังกัดส่วนกลาง โดยทั้ง 8 ศูนย์ได้ทางาน
บู ร ณาการกั บ หน่ ว ยงานในพื้ น ที่ ม าโดยตลอด เช่ น มี ก ารสร้ า งหลั ก สู ต รโรงเรี ย น
ครอบครัวขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสาหรับคนมีครอบครัวและทางานร่วมกับจุฬาราชมนตรี
ทางภาคใต้ เป็นต้น
• ส่วนของสตรีนั้นงบประมาณส่วนใหญ่ถูกส่งผ่านไปเพื่อแก้ปัญหารายได้และสร้างอาชีพ
ของสตรี โดยมีการเรียนเพื่อทาอาชีพเสริม สตรีที่ว่างงานหรืออยู่ที่ กรมราชทัณฑ์ก็
สามารถที่จะฝึกฝนได้ โดยทางกรมได้มีการทางานร่วมกับกรมราชทัณฑ์เพื่อเข้า ไป
ฝึกอบรมให้กับนักโทษสตรี นอกจากนั้นยังมีการฝึกอบรมให้กับชนเผ่าชาวเขาซึ่งเป็น
กลุ่มเสี่ยงด้านการค้ามนุษย์
• ทางกรมได้มีการสร้างหลักสูตรในสถาบัน โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมาอยู่ที่ศูนย์
และที่ศูนย์มีอุปกรณ์ ที่อยู่ พร้อมอาหารรับรองให้พร้อม ในช่วงที่ผ่านมาสตรีสูงอายุเข้า
มาอบรมอาชีพเยอะมาก
• สาหรับหลักสูตรที่จัดนอกสถาบันซึ่งเรียกโดยย่อว่า “โครงการ 104 วัน” ผู้เข้าร่วม
อบรมจะได้รับการฝึกอบรมทักษะฝีมือโดยหลังจากอบรมเสร็จถ้ามีการตั้ง กลุ่ มสตรี
ขึ้นมาร่วมกันทางาน ทางกรมฯ ก็จะมีเงินสนับสนุนให้คนละ 3,000 บาท และเมื่อ
เวลาผ่านไปครบหนึ่งปียังมีการรวมกลุ่มต่อเนื่องกันอยู่จะได้รับเงินสมทบเพิ่มอีกคนละ
5,500 บาท เพื่อเป็นเงินทุนสนับสนุนการรวมกลุ่ม ขณะนี้โครงการนี้เผชิญปัญหาไม่
สามารถเบิกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมอบรมที่ไม่ได้อยู่ในทะเบียนผู้มีรายได้น้อย 11 ล้านคน
• ปัจจุบันทางกรมได้ทางานร่วมกันกับ AWEN ซึ่งเป็นกลุ่มสตรีนักธุรกิจซึ่งจะเข้ามาช่วย
เชื่อมงานสถานภาพสตรี
• เงินจากงบบูรณาการฯ ส่วนใหญ่ถูกใช้ในงานฟังก์ชัน
• ปัญหาที่เจอในการขับเคลื่อนคือสานักตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่อนุญาตให้ท้องถิ่นทา
หน้าที่แทนงานบางอย่างของทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เนื่องจากมองว่าเป็นงานที่ทับซ้อนกัน ซึ่งทาให้การขับเคลื่อนเผชิญกับความยากลาบาก
เพราะคนของกระทรวงเองก็มีจากัดและท้องถิ่นก็มีความเข้าใจปัญหาในพื้นที่มากกว่า
๗๓
ข้อเสนอแนะการบูรณาการ
• ถ้าจะให้งบบูรณาการขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควรจะต้องมี
การวางเป้าหมายในแต่ละปีและในแต่ละช่วงวัยด้วยเพราะปัจจุบันเป้าหมายไม่ชัดเจน
โดยจะหาปั ญ หาที่ จ ะแก้ ไ ขร่ ว มกั น แล้ ว จึ ง ออกแบบโครงการและต้ อ งแบ่ ง ความ
รับผิดชอบให้กับหน่วยงานร่วมกัน เพื่อตอบเป้าให้ได้ ไม่อย่างนั้นแล้วแต่ละหน่วยงานก็
จะทางานเพื่อตอบภารกิจตัวเองเป็นหลักซึ่งอาจจะไม่ตอบเป้าหมายที่ระบุไว้ในแผน
บูรณาการฯ
• การใช้เงินผ่านแผนบูรณาการฯ จะต้องดูความต้องการของกลุ่มเป้าหมายจริงๆ ไม่ควร
จะใช้จ่ายแบบว่านแหซึ่งจะทาให้เกิดการสิ้นเปลืองได้
• นอกจากนั้นควรจะต้องมีการจับมือร่วมกันกับหน่วยงานในท้องถิ่นซึ่งนับว่ามีความ
พร้อมด้านบุคลากรมากกว่ารวมทั้งเงินงบประมาณด้วย
๗๔
5.1.3 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ อธิบดีกรมกิจกำรเด็กและเยำวชน
การสัมภาษณ์เชิงลึกอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน (นายวิทัศน์ เตชะบุญ ) เมื่อวันที่ 12
มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
โครงการของกรมกิจการเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้แผนบูรณาการฯ ที่สาคัญ 4 โครงการ
ได้แก่
1. โครงการการอุดหนุนเด็กแรกเกิด
2. สภาเด็กและเยาวชน
3. การตั้งครรภ์วัยรุ่น
4. พัฒนาเด็กปฐมวัย
มีรายละเอียดดังนี้
1. โครงการการอุดหนุนเด็กแรกเกิด
โครงการนี้มีการบูรณาการกับกระทรวงมหาดไทย จุดเด่นของโครงการ คือ มีนโยบายที่ให้
ความสาคัญชัดเจน
• การบูรณาการกับกระทรวงมหาดไทยนั้น กระทรวงมหาดไทยทาหน้าที่รับลงทะเบียน
รับรองและตรวจสอบคุณสมบัติ
• การบูรณาการกับกระทรวงสาธารณสุขเน้นเรื่องพัฒนาการสมวัย
• ขณะที่การบูรณาการกับกระทรวงการคลังนั้นเป็นเรื่องระบบการจ่ายเงินผ่าน prompt
pay
• ในช่ ว งปี 2559 มี ก ารจั ด ท าค าของบประมาณได้ เ งิ น 640 ล้ า นบาท แต่ ด าเนิ น
โครงการไม่ได้ตามเป้าหมายจึงต้องคืนเงิน 300 ล้านบาท ทั้งนี้เพราะเพิ่งเริ่มดาเนิน
โครงการทาให้คนมาร่วมโครงการน้อย ต่อมาในปี 2560 มีผู้มาลงทะเบียนขอรับเงิน
อุดหนุนเด็กแรกเกิดจานวนมากทาให้งบประมาณที่ตั้งไว้ 1,113 ล้านบาท ไม่เพียงพอ
ต้ อ งของงบกลางปี อี ก 804 ล้ า นบาท แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความยากในการประมาณ
การงบประมาณให้เพียงพอ
• คณะกรรมการระดับชาติ หรือ กดยช. ให้ความสาคัญและติดตามอย่างต่อเนื่องเป็น
ประจาทุกเดือน
• โดยภาพรวมบูรณาการได้ดีกับกระทรวงต่างๆ แต่ปัญหาอุปสรรคที่พบ ได้แก่ บาง
ท้องถิ่นเห็นว่าไม่ใช่งานของตนเอง
• กลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิ์แต่ไม่ได้รับสิทธิ์ยังมีอยู่จานวนพอสมควร (exclusion error)
โดยผลการวิจัย ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พบว่ามีประมาณร้อยละ 26 ขณะที่
ผลการวิจัยของ TDRI ชี้ว่าอยู่ในระดับร้อยละ 30 ซึ่งอยู่ในระดับที่รับได้เมื่ อเทียบกับ
ต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและอาจคิดว่ายุ่งยากใน
๗๕
การจั ด เตรี ย มเอกสารเพื่ อ ขอรั บ เงิ น อุ ด หนุ น และปั ญ หาการประชาสั ม พั น ธ์ ข อง
หน่วยงานในพื้นที่
• ผลการติดตามประเมินโครงการ TDRI พบว่า แม่กับลูกที่ได้รับการอุดหนุนเด็กแรกเกิด
ตามโครงการเข้ารับบริการของรัฐมากกว่าแม่และลูกที่ไม่ได้รับเงินอุดหนุน
2. สภาเด็กและเยาวชน
โครงการสภาเด็กและเยาวชนเกิดมาประมาณ 10 ปีแล้วแต่ที่ผ่านมาก็มีข้อจากัดมีผลการ
ดาเนินงานไม่มากนักแต่หลังจากที่มีโครงการบูรณาการทาให้มีการขับเคลื่อนเพิ่มขึ้นมาก เห็นผลชัดเจนขึ้น โดย
มีการขับเคลื่อนร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการ
นอกจากนี้ในปี 2560 ได้มีการวางแผนและแก้ไขกฎหมายให้ชัดเจนขึ้น มีการขยายขอบเขต
สภาเด็กและเยาวชนในระดับจังหวัดให้ขยายไปสู่ระดับตาบลครบทั้ง 100% ในปี 2561
ปี 2560 จึ งนั บ ว่ามีความส าคัญ ในแง่ การเตรียมการเปลี่ ยนแปลงการดู แลสภาเด็ ก และ
เยาวชน จากภายใต้กากับ พมจ. ไปอยู่กับบ้านพักเด็กให้เป็นพี่เลี้ยงแทน
การบูรณาการและประสานงานโครงการนี้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง
อบต. และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีการขับเคลื่อนร่วมกันได้ดีและเด็กเยาวชนภายในพื้นที่มีความตื่นตัวและ
ร่วมกันทางานเสนอขอโครงการเข้ามาอย่างมาก มีสภาเด็กและเยาวชนเพียงไม่กี่แห่งที่ไม่ได้มีการเสนอขอ
งบประมาณ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เดินทางยาก เช่น กาญจนบุรีและจังหวัดชายแดนภาคใต้
หรือหน่วยงานในพื้นที่คิดว่าไม่ใช่งานของตนเองแต่เป็นของกรมฯ เป็นต้น
โครงการอุดหนุนเด็กแรกเกิดและโครงการสภาเด็กและเยาวชนมีการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่
ได้ดีและมีแผนการถ่ายโอนไปยังอบต. เทศบาล อบจ. และอาเภอ โดยมี ดย. กากับดูแล คาดว่าจะถ่ายโอนได้
ในปี 2563
3. การตั้งครรภ์วัยรุ่น
โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกิดจากปัญหาการพัฒนาที่เห็นถึงปัญหาจานวนคุณแม่
วัยใสที่มีสูงในปี 2558 มีสูงถึง 50 ต่อ 1,000 คน
ทางกรมอนามัยและ พม. เป็นฝ่ายเลขานุการและกรรมการร่วมขับเคลื่อนหลัก ในปี 2560 มี
การดาเนินกิจกรรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โครงการที่มี เช่น DJTeen ซึ่งประสบความสาเร็จอย่างดี
โดยการดาเนินโครงการบูรณาการทาให้จานวนการตั้งครรภ์ไม่พร้อมลดลงโดยตัวชี้วัดในปี 2560 อยู่ที่ 42 ต่อ
1000 คน อย่างไรก็ตามควรมีการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงให้มากขึ้น
4. พัฒนาเด็กปฐมวัย
การพัฒนาเด็กประถมวัยแต่เดิมนั้นแต่ละกระทรวงต่างคนต่างทา ทั้งนี้ในปี 2560 เพิ่งเริ่มมี
การคุยร่วมกันอย่างจริงจังที่จะบูรณาการ
กิจกรรมหนึ่งที่ได้ดาเนินการขับเคลื่อนคือการกาหนดมาตรฐานสถานเลี้ยงเด็กปฐมวัยซึ่งมีกว่า
20,000 แห่ ง ทั่ ว ประเทศ (โดยอยู่ ภ ายใต้ ก ารดู แ ลของหน่ว ยงานต่า งๆเช่น อบต. กระทรวงศึ ก ษาธิ การ
กระทรวง พม. กทม. กระทรวงสาธารณสุข)
๗๖
กรมกิจการเด็กและเยาวชนตั้งใจจะเป็นเจ้าภาพเพื่อให้มีการเชื่อมโยงการทางานระหว่าง
หน่วยงานต่างๆและใช้มาตรฐานเดียวกัน
คณะกรรมการชาติที่ดูแลงานด้านนี้มี 2 คณะทาให้การดาเนินงานเกิดการทับซ้อนกัน
ข้อเสนอแนะ
• ในแผนบูรณาการฯ ควรกาหนดเป้าหมายและออกแบบร่วมกัน
• พัฒนาฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างกระทรวงต่างๆ
• สร้างกลไกและระบบการติดตามของการบูรณาการที่มีงบประมาณสนับสนุน
๗๗
5.1.4 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนำคุณภำพ
ชีวิตคนพิกำร
การสัมภาษณ์เชิงลึก รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (นายจีระศักดิ์
ศรีพรหมมา) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ภาพรวมการบูรณาการที่ผ่านมา
• กรมส่ งเสริ มและพัฒ นาคุ ณภาพชีวิต คนพิก ารเป็น หน่ว ยงานที่ ไ ม่เ หมื อ นกรมอื่ น ๆ
โดยทั่วไปเนื่องจากมีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการซึ่งมีงบประมาณ
มากกว่างบปกติถึงสองเท่า
• การมีแผนบูรณาการฯ จะทาให้คนพิการมีโอกาสเข้าถึงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพ
ได้มากขึ้น
• โดยปกติทางกรมจะมีการทางานผ่านทางจังหวัด ต่างๆ แทนการดาเนินการผ่านศูนย์
ฝึ ก อบรมอาชี พ 8 แห่ ง ทั่ ว ประเทศ เนื่ อ งจากจั ง หวั ด เวลาส่ ง เสริ ม จะมี ค วาม
ละเอี ย ดอ่ อ น และมี ค วามเชี่ ย วชาญในเชิ ง พื้ น ที่ ม ากกว่ า การให้ ท างกรมฯ เป็ น
ผู้ดาเนินการ และที่ผ่านมาการดาเนินงานค่อนข้างประสบความสาเร็จจากการทางาน
ร่วมกันระหว่าง พมจ. และสมาคมคนพิการประจาจังหวัด
• ที่ผ่ านมา งบบู ร ณาการค่อนข้างชัดเจนกับกลุ่มคนพิการและไม่มีปัญหาเวลาเขียน
ข้อเสนอโครงการ นอกจากนั้นการแก้ปัญหาคนพิการมีเป้าหมายที่ชัดเจน เนื่องจากจะ
มีการคิดริเริ่มโครงการก่อนเสมอแล้วค่อยไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
• งบบูรณาการควรเน้นเตรียมพร้อมด้านการฝึกอาชีพคนพิการให้มากขึ้น ซึ่งสามารถ
ครอบคลุมได้ทั้งวัยแรงงานและวัยสูงอายุ
ข้อเสนอแนะการบูรณาการ
• เพื่อให้ การขับ เคลื่ อนแผนบูรณาการฯ มีประสิ ทธิภ าพและประสิ ทธิผ ล ควรมีการ
แบ่งปันข้อมูลกันในทุกกลุ่มวัย นอกจากนั้นควรเพิ่มการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
โดยดึงชุมชนและครอบครัวมาร่วมด้วย
ปัจจัยความสาเร็จ
• การดาเนินการแก้ไขปัญหาคนพิการค่อนข้างประสบความสาเร็จมาก เนื่องจากทาง
กรมฯ มีข้อมูลคนพิการที่ละเอียดมากประกอบกับมีเงินกองทุนมาช่วยสนับสนุน แม้ว่า
เงินจะมีความสาคัญแต่เงินไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทาให้ประสบความสาเร็จ
๗๘
5.1.5 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ อธิบดีกรมกิจกำรผู้สูงอำยุ
การสัมภาษณ์เชิงลึกอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ) เมื่อวันที่ 19
มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ภาพรวมการบูรณาการที่ผ่านมา
• การมีแผนบูรณาการฯ ทาให้มีพัฒนาการและมีประโยชน์ ช่วยทาให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังขาดเจ้าภาพที่ชัดเจนในแต่ละช่วงวัย
• ตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) ที่เห็นผลลัพธ์ไม่ค่อยมีมากนัก นอกจากนี้ยังไม่มีเป้าที่ชัดเจน
การดาเนินโครงการจึงได้ผลมาเพียงในระดับผลผลิต
• เด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดามีความสาคัญมากโดยเฉพาะปัญหาท้องไม่พร้อมจะซึ่งส่งผล
ต่อจิตใจของแม่และมีผลต่อพัฒนาการเด็ก งานการส่งเสริมการมี บุตรอย่างมีคุณภาพ
นั้นเหมือนกัน ที่ผ่านมาค่อนข้างได้รับความสนใจน้อย
• ที่ผ่านมายังไม่มีการวิเคราะห์วิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการส่งเสริมการเกิดใหม่แบบมี
คุณภาพเท่าที่ควร
• ในส่วนของงานผู้สูงอายุอยู่ในแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย และแผนบูรณา
การสังคมผู้สูงอายุซึ่งเนื้องานมีความใกล้เคียงกัน
ทิศทางการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ
• ปัจจุบันให้ความสาคัญทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ และเตรียมการก่อนเป็นผู้สูงอายุ
• เน้นการใช้นวัตกรรม และการวิจัยพัฒนามากขึ้น เน้นการพัฒนาเชิงกลไก ระบบ
ควบคู่ไปด้วย
• กาลังพัฒนาฐานข้อมูล บูรณาการฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อยกระดับ Big Data
• ให้ความสาคัญเรื่องการส่งเสริมการสร้างรายได้และอาชีพ
- มีกระบวนการปรับกฎหมายเพื่อแก้ไขให้เวลาการทางานของผู้สูงอายุมีความยืดหยุ่น
มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน
- ส่ งเสริ มอาชีพ อิส ระ ผ่ าน ศพอส. แบรนด์ Oldy 12 ศูนย์ ส่ งเสริม 1 ศูนย์ 1
ผลิตภัณฑ์
- ส่งเสริมตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีอาชีพและรายได้
• เร่ ง พั ฒ นาในเรื่ อ งต่ า งๆ เช่ น Long Term Care, Intermediate Care การปรั บ
สภาพแวดล้อม ทางลาด ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านผู้สูงอายุ เน้นการพัฒนา
นวัตกรรม ความร่ ว มมือกับสถาบันศึกษา ภาคเอกชน ภูมิปัญญาประกอบอาชี พ
พัฒนาเมนูเพื่อผู้สูงอายุ ส่งเสริมความรู้ทางการเงิน Sit to Stand พัฒนาแอพลิเคชั่น
Gold Application ส่งเสริมพัฒนาอาหารนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ
• เพิ่มความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนเพื่อคิดค้นวิจัยนวัตกรรมสาหรับ
ผู้สูงอายุ
๗๙
ข้อเสนอแนะการบูรณาการ
• ต้องตั้งเป้ าหมายให้ ชัดเจน กาหนดกลุ่ มเป้าหมายและคุณลั กษณะที่พึงประสงค์ ที่
ชัดเจนในแต่ละวัย การกาหนดคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ในแต่ละช่วงวัยให้
ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ตั้งเป้าคุณลักษณะประสงค์ในเรื่องวินัย การออม โภชนาการ ใน
วัยเด็กควรเพิ่มเรื่องความรู้ ทางการเงินและความรู้เรื่องสุขภาพ ปลูกฝังตั้งแต่เด็กจะ
เป็นพื้นฐานที่ดีต่ออนาคต
• ในเชิ ง กระบวนการมี ก ารประชุ ม น้ อ ยเกิ น ไป ทั้ ง ในส่ ว นของฝ่ า ยเลขานุ ก ารหรื อ
หน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อน
• มีการบูรณาการงานและบูรณาการเงินได้ด้วยความสามารถบริหารจัดการและหารือ
กันได้ระหว่างหน่วยงาน แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหารือร่วมกันและเน้นการทางาน
ร่วมกัน
• ดูแลหาทางให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายโดยมองกลุ่มเป้าหมายเป็นสองส่วนหลักๆ คือ กลุ่ม
ที่อยู่ใต้เส้นความยากจนหรือต้องการได้รับความคุ้มครอง และอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่มี
ศักยภาพ
ปัจจัยความสาเร็จ
1. บูรณาการจริง
2. ชุมชนเป็นปัจจัยที่สาคัญและชุมชนที่มีความเข้มแข็งและจะทาให้การขับเคลื่อนงานนั้นทา
ได้ดีเกิดความสาเร็จในพื้นที่
3. มีบุคลากรเหมาะสม ในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
๘๐
5.1.6 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ อธิบดีกรมพัฒนำสังคมและสวัสดิกำร
การสัมภาษณ์เชิงลึกอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (นางนภา เศรษฐกร) เมื่อวันที่ 2
สิงหาคม 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ภาพรวมการบูรณาการที่ผ่านมา
• ในปีงบประมาณ 2560 ทางกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการไม่ได้รับงบประมาณจาก
โครงการใดๆ ที่อยู่ภายใต้แผนบูรณาการฯ เนื่องจากช่วงอายุผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็น
เป้าหมายไม่ชัดเจน เลยทาให้โครงการที่เสนอไปถูกถอนออก ในปีงบประมาณ 2561
และ 2562 ทางกรมฯ ก็ไม่ได้มีโครงการที่เสนออยู่ภายใต้แผนบูรณาการฯ ฉบับนี้
เลย
• การบูรณาการสามารถทาได้หลายรูปแบบไม่จาเป็นจะต้องมีนิยามที่ตายตัว เช่น แต่
ละหน่วยงานอาจจะแยกกันทาในแต่ละโครงการ แต่สิ่งที่ทาจะต้องมีความสอดคล้อง
กัน หรืออาจจะเป็นในลักษณะที่หลายหน่วยงานร่วมกันทาในโครงการเดียวกันก็ได้
เป็นต้น
ข้อเสนอแนะการบูรณาการ
• ฝ่ายเลขาที่รับผิดชอบแผนบูรณาการฯ ควรจะมีการจัดเวทีกลางให้กับตัวแทนจาก
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้พูดคุยแลกเปลี่ ยนแนวคิดก่อนการส่ งโครงการเพื่อ
น าไปสู่ ค วามร่ ว มมื อ กั น ในการก าหนดโจทย์ ที่ ต้ อ งการแก้ ปั ญ หาร่ ว มกั น ในแผน
บูรณาการฯ
• การสร้างตัวชี้วัดความสาเร็จร่วมกัน (Joint KPI) ระหว่างหน่วยงานต่างๆ น่าจะช่วย
ทาให้การขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
• ควรส่งเสริมให้โครงการที่ดีที่จาเป็นต้องได้รับงบประมาณต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี ได้รับ
งบประมาณอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงักเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
• ปัจจุบันพบว่าการบูรณาการเกิดขึ้นเฉพาะในส่วนกลางเป็นส่วนใหญ่ แต่การบูรณา
การในระดับภูมิภาคยังมีค่อนข้างน้อย ดังนั้นในอนาคตควรหาแนวทางส่งเสริมให้เกิด
การบูรณาการในระดับภูมิภาคโดยเฉพาะระดับจังหวัดให้มากขึ้น โดยปัญหาส่วนหนึ่ง
มักเกิดขึ้นจากบุคลากรในส่ว นภูมิภาคไม่ได้เห็นว่าปัญหานั้นมีความสาคัญ การสร้าง
ความตระหนักและให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับบุคลากรในส่วนภูมิภาคจึงเป็นสิ่งที่ควรทา
เพิ่มเติม นอกจากนั้นควรเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาคให้มากขึ้น เนื่องจากในบางครั้งส่วนภูมิภาคไม่รับทราบข้อมูลจากส่วนกลาง
• การด าเนิ น งานภายใต้ แ ผนบู ร ณาการฯ ควรเน้ น เป้ า หมายที่ ส อดคล้ อ งกั บ แผน
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเป็นหลัก
ปัจจัยความสาเร็จ
• การบูรณาการจะประสบความส าเร็จได้ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ในแต่ละช่วงวัย
จาเป็นที่จะต้องมีการพูดคุยและประสานงานกัน
๘๑
5.1.7 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้ตรวจรำชกำรกระทรวงกำรพัฒนำสังคม
และควำมมั่นคงของมนุษย์
การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(นายอภิชาติ อภิชาตบุตร) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ภาพรวมการบูรณาการที่ผ่านมา
• ปัจจุบัน จานวนคนใน พมจ. เชิงปริมาณมีเพียงพอ แต่ยังต้องสร้างให้เป็นนักคิด แต่
ตอนนี้ยังมีศักยภาพเพียงร้อยละ 25
• ทุกวันนี้เป้าหมายยังไม่ชัดและเกณฑ์ยังไม่ชัด นอกจากนั้นการคิดโครงการต่างๆ ไม่มี
ตัวชี้วัดร่วม ไม่มี Share value ร่วมกัน ทาให้ไม่เกิดการบูรณาการที่แท้จริง
• ความหมายของบูรณาการ คือ คิดร่วมกัน ชี้เป้าร่วมกัน แยกภารกิจหรืออาจจะทา
ร่วมกัน ติดตามประเมินผลร่วมกัน
• ตอนนี้แต่ละกรม กอง และหน่วยงานภายใน ยังต่างคนต่างทา ขาดความคิดบูรณา
การร่วมกัน ซึ่งมักจะเกิดจากโครงสร้างการจัดการยังไม่สนั บสนุนการบูรณาการ เช่น
ด้านฐานงบประมาณ ควรต้องปรับปรุง ลดงบฟังก์ชันและไปเน้นเชิงพื้นที่ (Area
base) และการบูรณาการต้องพิจารณาตามความพร้อมของแต่ละพื้นที่ โดยขณะนี้
นายกรัฐมนตรีมีแนวคิดอยากเห็นบูรณาการข้ามกระทรวง
• ด้ า นการติ ด ตามผลการด าเนิ น งานแต่ ล ะโครงการ กระทรวงต้ อ งขยายและเพิ่ ม
ความสาคัญงานด้านการติดตามประเมินเชิงคุณภาพ
• บางงานมีความสาเร็จแค่เพียงงานของหน่วยงาน แต่ในภาพรวมไม่สาเร็จ ต้องปรับวิธี
คิดของผู้ดาเนินงานให้เข้าใจการบูรณาการที่แท้จริง
ข้อเสนอแนะการบูรณาการ
• ในภาพรวมของแผนบูรณาการฯ ถ้าจะขับเคลื่อนควรเป็นแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ของ
กระทรวง ทุกกรมที่รับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายต้องมีประเด็นที่จะมาขับเคลื่อนโดยมี
การประเมินสถานการณ์และระบุสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
เช่น เด็กและเยาวชนในวัยแรกเกิดควรวิเคราะห์ว่าคุณภาพคืออะไร แล้วมาวิเคราะห์
ว่าที่ต่ากว่าเกณฑ์เกิดจากอะไร แล้วจะวางแผนขับเคลื่อนเพื่อแกปัญหาอย่างไร พอ
เป็นวัยเรียนที่โตขึ้นมาก็จะแตกต่างไป
• หน่วยงานต่างๆ ควรวางแผนกระบวนการขับเคลื่อนร่วมกัน โดยใช้กลไกเครื่องมือ
ตามกฎหมาย และทรัพยากร งบประมาณที่มีอยู่ โดยเป้าหมายต้องมุ่งไปที่พื้น ที่
(Area base) เป็นสาคัญ
• พม. มีบทบาทหลักคือการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาคน ชุมชน
และสังคม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความมั่นคง
๘๒
• พม. ควรเตรียมคน และเน้นเชิงพื้นที่ (Area base) บุคลากรต้องวิเคราะห์เป็นบนฐาน
ความจริง โดย อปท. จะเป็นผู้มาเสริมและต้องสร้างความเข้มแข็ งภาคประชาชน
นอกจากนั้น พม. ควรมีสิ่งจูงใจให้หน่วยงานอื่นมาทากับ พม. ยกตัวอย่าง ที่ผ่านมา
เคยมีการจัดทาแผนที่ใช้เครื่องมือ ความมั่นคงของมนุษย์ 12 มิติ ซึ่งเป็นข้อมูลบูรณา
การจากหลายกระทรวง เป็นข้อมูลย้อนหลัง นาไปเสนอกับจังหวัดตัวอย่างให้เห็นถึง
ปัญหาในจังหวัด และใช้เครื่องมือนี้ร่วมกับกลไกทางกฎหมาย และทรัพยากรที่มีเพื่อ
แก้ไขปัญหา เมื่อ ผวจ. เห็นชอบทาง พม. จะจัดทาแผนและโครงการมาเสนอ เพื่อ
ดาเนินการและขับเคลื่อน ทางจังหวัดตั้งคณะทางานมาทาร่วมกับ พม. เป็นตัวอย่าง
ของการบูรณาการ โครงการแก้ไขเด็กพัฒนาการช้า จ.สตูล เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ทา
ร่วมกันระหว่าง ศธ. สธ. โดย พม.เป็นผู้ไปประสาน นอกจากนั้น ยังมีตัวอย่าง จ.
ยโสธร ที่ได้ใช้การทางานแบบเชื่อมโยงหลายหน่วยงาน โดยเริ่มจากการคิดร่วมกัน
เพื่อแก้ไขปัญหาคนด้อยโอกาสในระดับจังหวัดและยกระดับขึ้นได้จริง
• ในอนาคต ควรที่จะนาโครงการย่อยๆ มารวมกัน มาคิดและหาเป้าหมายแก้ไขปัญหา
ร่วมกัน และจะทาให้ได้งบประมาณที่มากขึ้น ดาเนินงานได้ประสิทธิภาพ
๘๓
5.1.8 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้แทนจำกสำนักงบประมำณ
การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อานวยการกองจัดทางบประมาณด้านสังคม 3 สานักงบประมาณ (นาย
สาลี่ สุขเกิด) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
การบูรณาการที่ผ่านมา
• ในความเป็นจริงสานักงบประมาณไม่ควรจะอยู่ในฝ่ายเลขาฯ ของแผนบูรณาการฯ
ส านั ก งบประมาณควรต้ อ งเป็ น หน่ ว ยงานกลางมากกว่ า นอกจากนั้ น ทางส านั ก
งบประมาณยังมีข้อจากัดเรื่องคน ดังนั้นภารกิจหลักควรจะอยู่ที่เจ้าภาพผู้ดูแลแผน
บูรณาการฯ และกระทรวงต่างๆ
• เวลาเขียนโครงการเพื่อของบประมาณ โครงการส่วนใหญ่ที่เขียนมามักมีวัตถุประสงค์
และตัวชี้วัดไม่สอดคล้องและไม่ตรงกับเป้าหมายของแผนบูรณาการฯ นอกจากนั้นยัง
ขาดรายละเอียดอีกด้วย
• เจ้าหน้าที่กระทรวงควรจะต้องช่วยสานักงบประมาณกลั่นกรองโครงการที่เสนอของ
งบประมาณภายใต้แผนบูรณาการฯ เนื่องจากสานักงบประมาณมีกาลังคนจากัด
จุดคานงัด
จุดคานงัดที่สาคัญอันจะนาไปสู่การขับเคลื่ อนแผนบูรณาการฯ อย่างมีประสิทธิภ าพและ
ประสิทธิผลในมุมมองของสานักงบประมาณ คือ กิจกรรมที่ทาจะต้องสอดคล้ องกับเป้าหมาย ตัวชี้วัดควร
จะต้องมีความชัดเจน ควรมีกิจกรรมทาด้วยกันระหว่างหน่วยงานโดยตั้งโจทย์จากปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนั้น
ควรมีการออกแบบตัวชี้วัดภายใต้แนวทางย่อยให้สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ในแผนบูรณาการฯ
ทิศทางการพัฒนาการบูรณาการ
• อนาคตจะมีการอนุ ญ าตให้ มีการโอนงบระหว่างกระทรวงต่างๆ ได้ตอนนี้กาลั งขอ
อนุมัติผ่านสภาฯ
• อนาคตอาจจะมีการรวมแผนบูรณาการฯ บางแผนเข้าด้วยกันเพื่อลดความซ้าซ้อน
ข้อเสนอแนะการบูรณาการ
ควรให้หน่วยงานขับเคลื่อนทั้งหมดภายใต้แผนบูรณาการฯ มาหารือกันก่อนที่จะมีการกาหนด
แผนบูรณาการฯ เพื่อได้หารือ วางแผน และออกแบบการบูรณาการร่วมกัน
๘๔
5.1.9 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้แทนจำกกระทรวงยุติธรรม
การสัมภาษณ์เชิงลึกปลัดกระทรวงยุติธรรม (ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ) เมื่อ
วันที่ 19 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
การบูรณาการที่ผ่านมา
• กระทรวงยุติธรรมดูแลคนใต้ Safety Net และนับว่าเป็นกลุ่มคนที่สุดขั้ว (Extreme)
• โดยภาพรวม การมีแผนบูรณาการฯ นั้นเป็นเรื่องดี
• ปัจจุบันทางกระทรวงยุติธรรมยังมีการบรูณการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ น้อย ยกเว้น
ศาลและตารวจ
• อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย เห็นว่าแผนฯ
ยั งมองเรื่ องการพัฒ นาคนค่ อนข้างกว้างและทั่ว ไป ยังไม่มีกลุ่ มเป้าหมายที่ชัด เจน
รวมถึงมีมาตรการที่เฉพาะเจาะจงตอบกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ตัวอย่างเช่น เด็กวัยรุ่นที่
อยู่ในความดูแลของกระทรวงยุติธรรมเป็นเด็กที่กระทาความผิดซึ่งเด็กกลุ่มนี้ถือว่าเป็น
กลุ่ มที่มีความสุ ดโต่ ง ดังนั้นวิธีการในการดู แลก็ ควรจะเฉพาะเจาะจงมากขึ้ น ด้ ว ย
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการดูแลเช่น ระบบการศึกษาที่ให้การศึกษาแก่เด็กวัยรุ่นที่
กระทาความผิ ดนั้ น เป็นการให้ เรียนผ่ านระบบ กศน. ซึ่งใช้ เวลาเพียงประมาณ 6
ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้นในขณะที่เด็กกลุ่มนี้มีเวลามากและได้อยู่ภายใต้การดูแลของ
กระทรวงยุติธรรมตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อเสนอแนะการบูรณาการ
• ควรแยกเป้ าหมายเป็นกลุ่ มต่างๆ ให้ ชัดเจนเช่น 1) กลุ่ มที่มีปัญหาและความเสี่ ยง
มาก 2) กลุ่มปานกลางทั่วไป และ 3) กลุ่มเด็กเก่งที่มีความเสี่ยงน้อย และควรมีแนว
ทางแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนภาครัฐ
• แผนบูรณาการฯ ต้องมีเป้าหมายชัดเจนเรื่องการฝึกอาชีพการงาน
• ควรมีการติดตามและปรับแผนให้มีพลวัตเหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์โดยใช้
การพัฒนากลไกตามหลัก PMQA
๘๕
5.1.10 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้แทนจำกกระทรวงแรงงำน
การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อานวยการสานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สานักงานปลัดกระทรวง
แรงงาน (นางนภสร ทุ่งสุกใส) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
การวางแผนบูรณาการฯ
• การพัฒนาคนตามช่วงวัยตามแผนบูรณาการฯ นี้ยังมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายไม่ชัดเจน
รวมทั้งมีกลุ่มเป้าหมายตัวคนที่จะพัฒนาในความหมายแคบ มีการเน้นเฉพาะกลุ่ มที่
ด้อยโอกาสทางสังคม แต่ไม่ได้มีการเน้นการพัฒนาคนที่มีศักยภาพทุกช่วงวัยอย่ าง
แท้จริง
• แผนบู ร ณาการการพัฒ นาคนตามช่ว งวัยยังเป็นการมองในมิติ การสงเคราะห์ ห รื อ
อุ ด หนุ น เป็ น หลั ก ยั ง ขาดในเรื่ อ งพั ฒ นาและส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพของคนที่ ไ ม่ ใ ช่
ผู้ด้อยโอกาส
• ในภาพใหญ่ของเรื่องแผนบูรณาการฯ จะเห็นได้ว่าแผนบูรณาการฯ ที่เกี่ยวกับคนนั้นมี
หลายแผนทั้งในแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยนี้ และยังมีแผนบูรณาการ
อุตสาหกรรม แผนบูรณาการท่องเที่ ยว ทาให้ไม่สามารถเห็นภาพรวมการพัฒนาคน
ทั้ ง หมดเลย กระจั ด กระจาย ซึ่ ง ส านั ก งบประมาณควรจะมี ก ารพิ จารณาทบทวน
ปรั บ แก้แผนบู รณาการใหม่ ไม่มีว าระทับซ้อนกันหรือมีจานวนแผนบูรณาการมาก
เกินไป เพราะที่ผ่านมาเมื่อมีประเด็นปัญหาใหม่ ก็ตั้งแผนบูรณาการใหม่เพิ่มขึ้นมา
เรื่อยๆ ทาให้มีจานวนแผนบูรณการมากถึง 29 แผน
ความท้าทายในอนาคต
อนาคตจะมีแผนปฏิรู ป ประเทศ 11 ด้านเพิ่มมาอีก ซึ่งควรจัดกลุ่ มแผนบูรณาการให้ อ ยู่
ภายใต้แผนปฏิรูปก็ได้ เพื่อลดความซ้าซ้อน รวมถึงกาหนดสัดส่วนงบประมาณงานปฏิรูปและงานประจาให้
ชัดเจน เพื่อเกิดการปรับเปลี่ยน ขับเคลื่อนจริง
การบูรณาการในทางปฏิบัติ
ในทางปฏิบัติแล้วการบูรณาการเนื้อหางาน งบประมาณทาไม่ค่อยได้ผลนักเมื่อเทียบกับคาว่า
“บูรณาการ” กิจกรรมที่ทาส่วนใหญ่เหมือนงานของแต่ละกระทรวงต่างๆ ที่แยกทาเป็นหลัก ทั้งนี้อาจเนื่องจาก
สภาพความเป็นนิติบุคคลของแต่ละกรมที่แยกกัน
ปัญหาที่พบ คือ ไม่มีการหารือกันล่วงหน้าระหว่างหน่วยงานขับเคลื่อน ส่วนใหญ่เมื่อฝ่าย
เลขานุการฯ เชิญมาประชุมก็มักจะเป็นข้อสรุปที่ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้แล้ว
แผนบูรณาการฉบับฯ นี้ไม่ได้ช่วยกระทรวงแรงงานในการพัฒนาศักยภาพแรงงานเท่าที่ควร
ดังนั้นควรมีการหารือกันแบบเปิดใจว่าโครงการที่นาเป็นการบูรณาการร่วมกันจริงหรือไม่ และหาแนวทางการ
พัฒนาโครงการที่บูรณาการร่วมกันอย่างแท้จริง
๘๖
ตัวอย่างที่ดี
ตัว อย่ างแผนพัฒ นาการที่ดี ได้แก่ แผนบูรณาการการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้งนี้อาจ
เนื่ องมาจากมีเป้ าหมายชัดเจนในการแก้ปั ญหา รัฐ บาลให้ ความส าคัญ กับ นโยบายการแก้ปั ญหาการค้ า
มนุ ษย์ มีแรงกดดั น จากภายนอกเรื่ องการจัด อั น ดับ และมีเป้า หมายในการจั ดระเบี ย บแรงงานต่า งด้ า ว
ชัดเจน นอกจากนี้ภายใต้แผนนี้มีการตั้งเป้าหมายชัดเจนและนาไปสู่การปฏิบัติหรือการทาในงานที่เกี่ยวข้อง
ในกิจกรรมร่วมกันและทุกหน่วยร่วมกันผลักดันแท้จริง เช่น ทางกระทรวงแรงงาน ตม. ตารวจ สาธารณสุข
พม. เป็นต้น จึงทาให้มีการบูรณาการเห็นผลสาเร็จจริง
ข้อเสนอแนะ
• การบู ร ณาการเรื่ อ งคนทุ กช่ว งวัย นั้นเป็นภาพใหญ่ มาก มีห ลายมิติ ทั้งเศรษฐกิ จ
สั ง คม เจ้ า ภาพแผนฯ ควรจะมองเห็ น ภาพรวมทั้ ง หมด ซึ่ ง อาจจะต้ อ งการ
งานวิจัย ศึกษาเชิงลึก รวมทั้งวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ชาติ ปฏิรูป
ประเทศมาสู่แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
• ควรแยกให้ออกระหว่างแผนงานปกติและแผนบูรณาการฯ ตอนเสนอโครงการ
๘๗
5.1.11 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้แทนจำกกระทรวงวัฒนธรรม
การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อานวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ สานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อ
วันที่ 11 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ประเด็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ซึ่งมีความสาคัญและมีความท้าทายต่อการพัฒนาคนที่ควร
แรงผลักดันด้วยแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
การพั ฒ นาคนตามช่ ว งวั ย ควรให้ ค วามส าคั ญ ในการส่ ง เสริ ม คนให้ มี คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม
ตลอดจนความมีวินัย ความพอเพียง ความสุจริตและจิตอาสา พร้อมทั้งพัฒนาพื้นที่ให้เหมาะสมในการส่งเสริม
ผลการดาเนินการบูรณาการพัฒนาทุกช่วงวัยที่ผ่านมา
ปี 2560
กรมการศาสนาได้ร่วมกับสานักงานวัฒนธรรมจังหวัด 76 จังหวัด ภาคคณะสงฆ์ องค์กรทาง
ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ องค์กรเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมขับเคลื่อน
การดาเนินงานของโครงการชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) จานวนไม่น้อยกว่า
2,000 แห่ง ด้วยงบประมาณ 26.8 ล้านบาท
ผลสาเร็จของของการดาเนินงาน พบว่ามีเครือข่ายวัด ศาสนสถานทั้งประเทศเข้าร่วมเป็น
เครือข่ายชุมชนคุณธรรมรวม 2,190 แห่ง จาแนกเป็นศาสนาพุทธ 2,085 แห่ง ศาสนาอิสลาม 91 แห่ง และ
ศาสนาคริสต์ 14 แห่ง สนับสนุนงบประมาณให้ เครือข่ายชุมชนคุณธรรมที่มีแผนการดาเนินงานพร้ อมทั้ง
สนับสนุนให้เครือข่ายชุมชนคุณธรรมที่มีผลการดาเนินงานโดดเด่นระดับจังหวัดจานวน 75 จังหวัด
นอกจากนั้ น ศู น ย์ คุ ณ ธรรมยั ง ได้ ด าเนิ น โครงการน าร่ อ งสถาบั น อาชี ว ะต้ น แบบสร้ า ง
“สุภาพชน คนอาชีวะ” ผ่านสถาบันอาชีวะกว่า 4,323 แห่ง และ โครงการส่งเสริมคุณธรรมความซื่อตรงของ
ผู้นานักศึกษา ให้กับผู้นานักศึกษาจานวน 367 คน ด้วยงบประมาณ 2 โครงการรวมกว่า 8 ล้านบาท
ปี 2561
กรมการศาสนาได้ร่วมกับสานักงานวัฒนธรรมจังหวัด 76 จังหวัด ภาคคณะสงฆ์ องค์กรทาง
ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ องค์กรเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมขับเคลื่อน
การดาเนินงานโครงการชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวรโดยดาเนินการอุดหนุนชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อน
ด้วยพลังบวรจานวน 3,011 แห่งตลอดจนสนับสนุนให้ศาสนสถานจัดกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการ
สร้างจิตรสานึกและความตระหนักรู้คุณธรรมของชุมชนได้แก่จัดกิจกรรมโครงการตาราปัญญาปฏิบัติศึกษา
ชุมชนคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการท่องเที่ยววิถีชุมชน วัดผาปังกลาง มาโดยมีพระสงฆ์และคนในชุมชนเข้าร่วม
กิจกรรมจานวน 55 รูป/คน
๘๘
บทเรียน ประเด็นข้อจากัดของการบูรณาการที่ผ่านมา
ข้อจ ากัดของการบู ร ณาการที่ผ่ านมา ได้แก่ การกาหนดแนวทางการบูรณาการของฝ่ า ย
เลขานุการไม่ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบางแห่งที่เป็นกระทรวงร่วมผลักดันเข้าไปวางแผนแนวทาง ส่งผลให้
เห็นแนวทางและค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มีความเฉพาะและจากัดหรือเน้นด้านใดด้านหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น การกาหนดเป้าหมายเรื่องพัฒนาการเด็กให้มีความสมวัยนั้น มีการตั้งตัวชี้วัด
เป็นค่าเป้าหมาย โดยวัดเฉพาะพัฒนาการในเชิงของกายภาพ เช่น ส่วนสูง ทาให้มิติการพัฒนาไม่ครบถ้วน
นอกจากนี้ทาให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไม่สามารถเสนอโครงการเพื่อตอบโจทย์แผนบูรณาการฯ ดังกล่าวได้
• ที่ผ่านมากระบวนการบูรณาการมีการเชิญและเน้นการมีส่วนร่วมมากดี ฝ่ายเลขานุการ
มีความเข้มแข็ง แต่อย่างไรก็ตาม การที่วงหารือใหญ่ก็ทาให้มีข้อจากัดในการแสดง
ความคิดเห็น และวงหารือที่ใหญ่ทาให้ประเด็นการหารือไม่สามารถลงรายละเอียดเชิง
ลึกได้ นอกจากนั้นยังพบว่าถ้าหน่วยงานใดร่วมแสดงความคิดเห็นและมีบทบาทมากใน
การประชุมจะมีแนวโน้มที่จะได้รับงบประมาณมาก
• ในหน่วยงานเดียวกันมักพบปัญหาความไม่ต่อเนื่องในการประสานงานภายใต้แผน
บูรณาการฯ เนื่องจากมีการเปลี่ยนผู้แทนเข้าร่วมประชุมบ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะมาจาก
หลายสาเหตุ อาทิ งานที่รับผิดชอบมีการเปลี่ยนแปลง มีหลายภารกิจ
• การประเมิน ผลแผนบูรณาการฯ ทาได้ล่ าช้าและไม่ทันกรอบงบประมาณทาให้ ไ ม่
สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดาเนินงานได้ทันท่วงที
ข้อเสนอในการพัฒนาการบูรณาการ
• การมีระบบติดตามโครงการบูรณาการ ทั้งในระหว่างการดาเนินโครงการและสิ้นสุด
โครงการ เพื่อนาผลการติดตาม เรียนรู้ และ Feedback นามาปรับปรุงกระบวนการ
บูรณาการหรือจัดทาแผนบูรณาการเสนอข้อโครงการในปีต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
• ฝ่ายเลขานุการควรมององค์รวมของการพัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยเน้นเรื่องการบูรณา
การมากกว่างานฟังก์ชันของแต่ละกระทรวง ทั้งนี้ นอกจากจะเน้นเรื่องปัญหาเฉพาะ
หน้าที่เป็น hot issues เช่น แม่วัยใส ค้ามนุษย์ แล้ว ควรพิจารณาถึงแนวทางการ
บูรณาการประเด็นเชิงการพัฒนาอื่นๆ อีกด้วย
• ควรมีทีมที่ป รึ ก ษาที่ ให้ คาแนะนาหรื อมาร่ว มในการ Run Workshop โดยเป็น ที ม
บุ คลากรที่ดีมีความหลากหลายหรือมองเห็ นภาพรวมได้ดีช่ว ยปิดช่องว่างระหว่าง
หน่วยงานแต่ละกระทรวง
• ในกระบวนการจัดทาแผนบูรณาการฯ ก่อนที่จะมีการกาหนดแนวทางแผนบูรณาการฯ
นั้นควรเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระทรวงต่างๆ ที่จะมีบทบาทในการขับเคลื่อน
แผนบูรณาการฯ ทุกกระทรวงมาให้ข้อคิดเห็นได้มีส่วนร่วมในการกาหนดแนวทางแผน
บูรณาการฯ ร่วมกัน
• การประเมิ น ผลแผนบู ร ณาการฯ ควรท าให้ ร วดเร็ ว กว่ า ปั จ จุ บั น และให้ ทั น กรอบ
งบประมาณ
๘๙
5.1.12 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้แทนจำกกระทรวงวิทยำศำสตร์
การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้อานวยการฝ่ายอาวุโส สถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ
สวทช. (นางสาววันทนีย์ พันธชาติ) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
การบูรณาการ
• ควรให้ ความสาคัญกับเป้าหมายของแผนบูรณาการฯ ต้องมีความชัดเจน เน้นการ
พัฒนาการที่เกิดขึ้นจริงกับคน หรือยึดเอาเรื่องคนเป็นตัวตั้ง และทางานเพื่อตอบโจทย์
จริงๆ ไม่ใช่การเสนอโครงการตามงานประจาที่มีอยู่แล้ว
• ส่วนการทางานควรให้ความสาคัญในช่วงเริ่มต้นของการจัดทาแผน ควรมีการหารือ
ร่วมกัน ระหว่างฝ่ายเลขานุการหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมขับเคลื่อนด้วย อย่างไรก็
ตามในช่วงที่ผ่านมา กระบวนการหรือเวลาที่ใช้ในช่วงการเสนอโครงการนั้นสั้นมาก
คือประมาณสองสัปดาห์
• ทั้งนี้ ควรมีการปรับตัวด้านกรอบเวลาในการวางแผนร่วมกันล่วงหน้า ฝ่ายเลขานุการ
ควรเชิญหน่วยงานที่จะมีบทบาทในการขั บเคลื่อนงานและผู้เชี่ยวชาญร่วมหารือ เพื่อ
สามารถวางแผนงาน ออกแบบการบูรณาการงานร่วมกัน และบูรณาการงานกันอย่าง
แท้จริง
• ควรต้ อ งมี ก ารวางแผนระยะยาว วางให้ เ ห็ น roadmap ว่ า ในแต่ ล ะระยะจะท า
โครงการอะไร เกิดผลหรือบรรลุเป้าหมายอย่างไร
• ฝ่ายเลขานุการต้องมองภาพรวม หรื อเชิญผู้เชี่ยวชาญ หรือที่ปรึกษาหน่วยงานต่างๆ
มาช่วยในการวางแผนกรอบการบูรณาการ และออกแบบโครงการร่วมกัน แทนการ
ส่งกรอบแนวทางแล้วให้แต่ละหน่วยงานเสนองานประจา
ปัญหาอุปสรรค
อุปสรรคที่พบเช่น
• ยังขาดความชัดเจนเรื่องเจ้าภาพที่ขับเคลื่อนงานแต่ละช่วงวัย
• การเสนอของบประมาณต้องเป็นกระทรวงที่มีภารกิจโดยตรง ในขณะที่บางโครงการ
มีหลายมิติ หรือ วท. อยู่ในบทบาทสนับสนุนในเชิงเครื่องมือ
• ขาดความต่อเนื่องของงบประมาณ ยกตัวอย่างเช่น สวทช. เสนอของบประมาณจาก
แผนบูรณาการฯ เพื่อดาเนินโครงการต่อเนื่อง 3 ปี แต่ถูกตัดงบประมาณลงในบางปี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่ได้รับจัดสรรก็ประมาณจากสานักงบประมาณตามกรอบ
แผนพัฒนาการที่เสนอขอไปนั้น แต่ทาง สวทช. พยายามจัดสรรเงินทุนวิจัยให้
๙๐
ตัวอย่างโครงการที่ดาเนินการ
โครงกำรแนะนำสำรับอำหำรกลำงวันสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ หรือ Thai School
Lunch
ระบบ Thai School Lunch ได้ รั บ การพั ฒ นาโดยศู น ย์ เ ทคโนโลยี อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือที่รู้จักกันในชื่อสั้นๆ ว่าเนคเทค กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีข้อมูล
โภชนาการที่เชื่อถือได้จากสถาบันโภชนาการ ภายใต้กากับของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้
ร่วมกันพัฒนาระบบนี้ขึ้นมาโดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีอาหารกลางวัน ที่ “อิ่ม คุ้มค่า ถูก
หลักโภชนาการ” อันจะส่งผลให้เด็กนักเรียนไทยสามารถเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพต่อไป
การทางานระบบนี้ เป็ น ระบบอัตโนมัติที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการแนะนาส ารับ
อาหารกลางวันสาหรับโรงเรียน โดยทางโรงเรียนสามารถปรับงบประมาณต่อหัวและปรับสูตรอาหารได้ตาม
ความเหมาะสมต่อวัตถุดิบที่หาได้ในพื้นที่
บุคลากรของโรงเรียนที่รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันสามารถเข้าใช้งานโปรแกรมได้ง่าย
ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และจัดอาหารกลางวันของนักเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานได้ด้วยตนเอง และ
สามารถบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้ใช้สามารถประเมินคุณค่าทางโภชนาการของอาหารกลางวัน ได้อย่างถูกต้องตามสูตรการ
ปรุงของโรงเรียน และเพื่อให้การจัดอาหารกลางวันเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและมีเมนูที่หลากหลาย
ระบบจะทาการประมวลผลและนาเสนอข้อมูลที่คานวณได้จากการเข้าใช้งาน Thai School
Lunch เช่น คุณภาพโภชนาการของอาหารที่จัด ปริมาณวัตถุดิบอาหารที่ต้องซื้อ และงบประมาณต่อมื้อ ให้แก่
โรงเรียน ตลอดจนผู้ดูแลโครงการอาหารกลางวั นในทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่นถึงสังกัด ซึ่งได้ข้อมูลรวดเร็ว แบบ
real-time
โครงกำร KidDiary
โครงการนี้ KidDiary Platform เป็นคลังข้อมูลสุขภาพเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ มีความ
ทันสมัย และเชื่อมโยงกันแบบ Real-Time ในหน่วยงาน ช่วยให้เกิดการบูรณาการการดูและและส่งเสริมภาวะ
โภชนาการและพัฒนาการของเด็กไทยให้มีสุขภาพดี สมวัย
ประโยชน์สาคัญจากการบูรณาการผ่านโครงการนี้ ได้แก่
• ติดตาม เฝ้าระวังสุขภาพและพัฒนาการเด็กได้อย่างต่อเนื่อง
• แจ้งเตือนเมื่อพบเด็กมีความเสี่ยงด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่ได้ตามเกณฑ์
• เป็นที่ปรึกษา ให้คาแนะนา พ่อแม่ในเรื่องโภชนาการและการเสริมพัฒนาการ
• หากผลประเมินพัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย ระบบจะส่งคลิปส่งเสริมพัฒนาการให้
พ่อแม่ ผู้ปกครองเพื่อการฝึกฝน
• แจ้งเตือนการฉีดวัคซีน เพื่อให้ได้รับวัคซีนครบตามกาหนด
• เชื่อมต่อข้อมูลกับโรงเรียนและโรงพยาบาลผ่าน QR Code
๙๑
กรณีบทเรียนตัวอย่าง
• สวทช. ได้มีการกาหนดให้โครงการต่างๆ ของ สวทช.มีการ ประเมิน Impact ซึ่งช่วย
ให้ เ ห็ น ภาพความส าเร็ จ ของการด าเนิ น โครงการไป เช่ น School Lunch มี
ผลประโยชน์เป็นมูลค่าระดับพันล้านบาท ทาให้มีการประเมินที่ชัดเจน และสามารถ
เป็ น กลไกส าหรั บ การจั ด สรรงบประมาณในปี ถั ด ไป เพื่ อ คั ด กรองเลื อ กสนั บ สนุ น
โครงการที่มีผลกระทบสูงได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ
• แผนบู ร ณาการฯ ต้องให้ ความส าคัญเกี่ยวกับเรื่องการขยายผล (Scale Up) เพื่อ
ยกระดับการพัฒนาให้ถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้ครบถ้วนทั้งประเทศ ที่ผ่านมายังมี
โครงการทาบางพื้นที่ แยกย่อยกระจัดกระจาย ไม่ได้มีการวางแผนขยายผลให้เกิดการ
ขยายในระดับประเทศ
๙๒
5.1.13 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้แทนจำกกระทรวงศึกษำธิกำร
การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอานาจ วิชยานุวัติ) เมื่อวันที่
12 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ผลการบูรณาการที่ผ่านมา
กระทรวงศึกษาธิการร่วมขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ โดยตรงเกี่ยวกับการศึกษาเรียนรู้ตั้งแต่
แรกเกิด ปฐมวัย วัยเรียนในระดับต่างๆ ผลการขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ ที่ผ่านมาทาได้ดีในระดับหนึ่งและที่
ผ่านมาทางเจ้าภาพ พม. ประสานงานได้ดี
การมีโ ครงการจั ด ทาแผนบูร ณาการฯ นั้นถือว่ามีประโยชน์ อย่ างแน่ น อน อย่างไรก็ ต าม
กระบวนการสนับสนุนที่ผ่านมาอาจยังไม่ดีพอ จึงควรพัฒนาปรับปรุงใน 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่เรื่องบุคลากรและ
เรื่องกระบวนการงบประมาณ
ข้อจากัดและอุปสรรค
การดาเนินการที่ผ่านมามีข้อจากัดและอุปสรรค เช่น
• บทบาทของคนทางานที่มีภารกิจมาก ผู้รับผิดชอบเข้าร่วมประชุมขับเคลื่อนโครงการ
นั้นไม่ใช่ผู้ตัดสินเชิงนโยบาย นอกจากนี้บุคลากรที่เข้าประชุมมักมีการเปลี่ยนแปลง
เสมอทาให้ขาดความต่อเนื่อง
• หน่วยงานในกระทรวงต่างๆ ไม่ได้ตกผลึกเรื่องโครงการและความต้องการที่แท้จริง
• วิธีการงบประมาณไม่ยืดหยุ่น เป็นอุปสรรคเนื่องจากการตั้งงบประมาณที่เป็นอยู่นั้น
ต้องตั้งงบประมาณแยกตามกระทรวงของตัวเอง ไม่สามารถบูรณาการงบประมาณ
ร่วมกันได้อย่างแท้จริงในทางปฏิบัติจึงทาให้การบูรณาการในเชิงเนื้องานมีความยาก
ตามไปด้วย
ข้อเสนอแนะ
• ต้องมีแผนบูรณาการฯ ที่มีนโยบายชัดเจน Top Down เป็นวาระ (Agenda) ที่สาคัญ
รวมทั้งมีแผนงานเฉพาะเพื่อให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การตั้งเป้าหมายแผนบูรณาการฯ
นอกจากนี้ต้องเชื่อมโยงเป้าหมายนั้นไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
• ขั้ น ตอนวิ ธี ก ารบู ร ณาการต้ อ งตอบโจทย์ ชั ด เจนและสื่ อ สารให้ ชั ด เจน สร้ า งที ม
ขับเคลื่อน รวมทั้งควรมีการปรับปรุงระบบงบประมาณใหม่สาหรับการขับเคลื่อนแผน
บูรณาการฯ เพื่อไม่ให้การจัดสรรงบประมาณและกิจกรรมงานมีความแข็งทื่อ มีความ
ยื ด หยุ่ น และบู ร ณาการได้ แ ท้ จ ริ ง ตั ว อย่ า งเช่ น ปรั บ ระเบี ย บงบประมาณ โดยให้
งบประมาณของแผนบูรณาการฯ อยู่ที่หน่วยงานเจ้าภาพเป็นหลัก
• การขับเคลื่อนการบูรณาการต้องทาให้เห็นผลที่ออกมาได้ถึงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
• ควรมีระบบการติดตามโครงการต่างๆ ภายใต้แผนบูรณาการฯ
๙๓
5.1.14 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้แทนจำกกระทรวงสำธำรณสุข
การสัมภาษณ์เชิงลึกรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์) เมื่อ
วันที่ 20 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
การมียุทธศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะการจัดทายุทธศาสตร์ชาติเพราะทาให้เห็น ทิศ
ทางการพัฒนาระยะยาว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยมีแผนอยู่เป็นจานวนมาก หลายระดับทั้งแผน
ยุ ทธศาสตร์ ช าติ แผนปฏิรู ป แผนงบประมาณ แผนของกระทรวงต่างๆ และแผนเฉพาะในเชิงวาระหรือ
ประเด็นปัญหา ทั้งนี้ในปัจจุบันยังขาดการเชื่อมโยงแผนแต่ละระดับ และการที่มีแผนจานวนมากทาให้มีความ
ซ้าซ้อน หรือสับสนถึงจุดเน้นและเป้าหมายที่จะดาเนินการในแต่ละแผน
ความร่วมมือในการขับเคลื่อนงาน
ตัวอย่างการทางานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เช่น การลงนาม MoU ระหว่าง 4 หน่วยงาน
เพื่อบูรณาการเรื่องเด็ก และผู้สูงอายุ โดยแต่ละหน่วยงานได้ตั้งเป้าหมาย และมาตรการหลักในการขับเคลื่อน
กลุ่มเด็ก
เป้าหมาย 4H : Head , Hand, Heart, Health
กลุ่มผู้สูงอายุ
เป้าหมาย 3S : Strong, Security, Social
ปัญหาอุปสรรค หรือข้อจากัด
• การมีแผนบูรณาการนั้นถือว่า มีประโยชน์ในแง่ที่ทาให้มองเห็นภาพ เห็นเป้าหมาย
ร่วมกันคือการมองคนเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติการจัดทาแผนบูรณา
การนั้นไม่ได้บูรณาการกันอย่างแท้จริง แต่ละหน่วยงานมีแผนงานโครงการของตัวเอง
แล้วนาแผนงานของแต่ละหน่วยงานมาวางรวมกัน ในด้านงบประมาณ ไม่ได้นับว่าเป็น
การจัดตั้งงบประมาณเพิ่มเพื่อทางานบูรณาการ แต่เป็นการจัดสรรตามกรอบเพดานวงเงิน
ของแต่ละกระทรวงที่ได้รับอยู่แล้ว ดังนั้นทาให้แต่ละหน่วยงานพยายามทาหน้าที่ที่ดีที่สุด
ภายใต้กรอบข้อจากัดที่มี ทั้งนี้ถ้าจะมีการบูรณาการอย่างแท้จริ ง ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน
มีแผนร่วมกันและมีงบประมาณขับเคลื่อน
• เป้าหมายของแผนยังไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง การตั้งเป้าหมายและวัดค่าเป้าหมายเป็น
การวัดในระดับผลผลิต แต่สุดท้ายยังไม่ได้มองหรือขับเคลื่อนไปถึง ผลลัพธ์และผลกระทบ
ดังนั้นควรต้องปรับปรุงออกแบบใหม่ โดยต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่า เด็กต้องการอะไร
โดยวางเป้าหมายให้สอดคล้องกับเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติในเรื่องการพัฒนาคน
• แม้ว่าแต่ละหน่วยงานจะตั้งใจทาหน้าที่ของหน่วยงานตนเองตามภารกิจอย่างเต็มที่
แต่ผลที่เกิดขึ้นอาจยังไม่เกิดผลดีแบบที่คาดคิด ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ได้แก่ กรณีที่เกิด
การแพร่ระบาดของพิษสุนัขบ้า และประชาชนในหลายจังหวัดทั่วประเทศต้องเสียชีวิต
จานวนมาก แม้ว่าโรคพิษสุนัขบ้าจะสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนให้สุนัข และ
ประเทศไทยสามารถป้องกันได้จนไม่เกิดการเสียชีวิตของประชาชนมาเป็นเวลานานแล้ว
๙๔
ข้อเสนอแนะ
• กฎระเบียบและกฎหมาย ควรพิจารณาปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จาเป็น โดยปรับ
กฎระเบี ย บให้ มี ค วามยื ด หยุ่ น หรื อ เหมาะสมกั บ การขั บ เคลื่ อ นงาน เพราะปั จ จุ บั น
กฎระเบียบที่เน้นการตรวจสอบ ป้องกันการทุจริตอย่างเข้มข้นก็ทาให้การทางานยาก และ
ทางานแต่ในกรอบเพราะไม่ต้องการให้สุ่มเสี่ยงที่จะโดนตรวจสอบ
• คน
- สร้างความเข้าใจถึงความจาเป็นของการมียุทธศาสตร์
- ปรับทัศนคติให้คนมีความอยากพัฒนาตนเองแทนที่จะรอการสงเคราะห์หรือช่วยเหลือ
- พัฒนากลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสาคัญในการขับเคลื่อนงาน
เนื่องจากกลุ่มผู้บริหารกลุ่มนี้จะเข้าใจระดับนโยบาย ทิศทางยุท ธศาสตร์ ในขณะที่มี
บทบาทในการขับเคลื่อนงานในทางปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง
• กลไก ตั้ ง หน่ ว ยงานหรื อ ที ม ที่ ท าหน้ า ที่ ติ ด ตามและประเมิ น ผล (Monitoring and
Evaluation) โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้ง 3 ด้านที่สาคัญ คือ เข้าใจทั้งด้านวิชาการ
เข้าใจด้านปฏิบั ติ และเข้าใจประชาชน เพื่อเป็นคนกลางในการมองภาพรวมได้อย่าง
แท้จริง
๙๕
5.1.15 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้จัดกำรมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้จัดการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก (คุณวาสนา แก้วนพรัตน์) เมื่อวันที่
24 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ประเด็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) และข้อเสนอแนะการพัฒนาคนไทย
ตามช่วงวัยและสังคมไทย
ภาพรวมของทุกช่วงวัย
• ประเด็นสาคัญและท้าทายคือ การสร้างโอกาส กล่าวคือ เพิ่มโอกาสให้แก่คนตลอดทุกช่วง
วัย เพื่อให้ 1. คนแต่ละช่วงวัยสามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ 2. เพื่อให้
สามารถคิดที่เลือกในสิ่งที่ตนเองต้องการที่จะเป็นได้อย่างสอดคล้องกับตนเองในทุกช่วงวัย
เช่น เด็กที่ผ่านระบบการศึกษาที่สามารถทาให้เด็กรู้ว่า ตนเองชอบอะไร เปิดโอกาสให้
เลือกในสิ่งที่ตนเองชอบ ในอนาคตจะมีอาชีพอะไร และการทาอาชีพที่ตนชอบนั้น ใน
ความเป็นจริง สภาพการทางานจริงเป็นอย่างไร ต้องให้พวกเขามาสัมผัสด้วยตนเองตั้งแต่
เด็ก ตัว อย่ างของโรงเรียนบางแห่ งในประเทศญี่ปุ่น เด็กที่ช อบอาชีพด้านอาหาร เช่น
อาชีพการทาขนมปัง โรงเรียนก็จัดให้เด็กเข้าไปดูสภาพการทางานที่ เป็นจริง เรียนรู้ว่าผู้ที่
ทาอาชีพนั้น ต้องทาอะไรบ้าง ไม่เพียงการทาขนมปัง แต่ต้องมีตั้งแต่การเตรียมห้องครัว
เตรียมอาหาร การทาอาหาร จนถึงการทาความสะอาดครัวก่อนเลิกงาน เป็นต้น เพื่อให้
เด็ ก เลื อ กสิ่ ง ที่ ต นเองชอบโดยมี ค วามรู้ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความเป็ น จริ ง ในช่ ว งวั ย อื่ น ก็
เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะเลือกทางานเพื่อให้มีกิจกรรมในชีวิตและ
รู้สึกถึงศักยภาพของตนเอง โดยเป็นงานในสังคมเปิดโอกาสกว้างขึ้น เช่นตัวอย่างของ
บริษัทเอกชน เช่น บริษัทอีเกียประกาศรับผู้สูงอายุเข้าทางาน ทาให้ผู้สูงอายุที่สนใจมี
ทางเลือก เป็นต้น
• การพัฒนาคนแต่ละช่วงวัย ควรมองเป็นคนคนเดียวกันที่เกิดและเติบโตผ่านช่วงวัยต่างๆ
ที่ต้องต่อเนื่องโดยไม่มีรอยต่อ และลงทุนมากที่สุดในช่วงต้นของชีวิตคน เพื่อให้เขาเติบโต
มาเป็นวัยผู้ใหญ่หรือวัยแรงงานที่ส ามารถให้ หรือช่วยเหลือวัยอื่นได้ หรือสามารถเป็น
ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กที่มีความพร้อมความเข้าใจ และมีความรู้ในการเลี้ยงดู ทาให้คนในรุ่น
ต่อมาเติบโตมาในสิ่งแวดล้อมหรือครอบครัวที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดได้ดี เช่น การลงทุน
ในช่วงต้น 0-5 ปี ในด้านพัฒนาการทางร่างกาย สมอง และจิตใจ เป็นหลักไมล์ที่สาคัญ
ที่สุด พอเข้าช่วงปฐมวัย โรงเรียนเป็นสิ่งแวดล้อมที่จะสร้างให้เด็กสามารถเข้าใจการอยู่
ร่วมกัน โดย พม. ทางานทุกช่วงวัยอย่างไม่มีรอยต่อ เน้นการลงทุนวัยต้น พัฒนาความรู้
ความเข้าใจ ทักษะการเป็นผู้รับและเป็นผู้ให้ตั้งแต่เด็กจนเปลี่ยนผ่านช่วงวัยมาจนเป็นวัย
ผู้สูงอายุ
• ผู้ปกครอง สาคัญมาก เพราะอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ผู้ปกครองในความหมายกว้างที่ไม่ใช่เพียง
พ่อแม่ การทางานกับผู้ปกครองจึงเป็นจุดสาคัญในการพัฒนาคุณภาพคนทุกช่วงวัย การ
แบ่งวัยผู้ใหญ่ให้เป็นวัยแรงงานเป็นการมองเฉพาะบุคคล จึงควรมองว่า เป็นผู้ปกครอง
๙๖
ด้วย และมีบทบาทช่วยเหลือวัยอื่น และมี มาตรการส่งเสริมลงไปวัยแรงงานให้มีบทบาท
ช่วยเหลือวัยอื่น จึงต้องมีการบูรณาการ
• พม. ทางานเรื่องสังคมกับคนที่มีปัญหาการเข้าถึงด้านต่างๆที่จาเป็นถือว่าดี เช่น การ
ช่วยเหลือ เช่น เบี้ยต่างๆ ที่สาคัญคือทาให้ทุกคนมีโอกาสและทุกวัยมีโอกาสในการพัฒนา
ตัวเอง เพื่อให้เลือกชีวิตการงานในแบบที่ชอบได้
วัยเด็ก (ปฐมวัย วัยเรียน วัยรุ่น)
• ประสบการชีวิตที่เป็นจริง การปฏิสัมพันธ์กับคนในชีวิต ต่างจากปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
ผ่านโซเชียล มีเดีย โดยโซเชียลมีเดีย โทรศัพท์มือถือ ผู้ปกครองเข้าใจว่าใช้ในการเลี้ยงลูก
ดึงความสนใจลูก แต่ต้องพิจารณาว่ าเด็กสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ทั้งเป็นบวกและเป็นลบ
ได้ด้วยตัวเอง และต้องให้เด็กสัมผัสประสบการณ์ชีวิตจริง มีทักษะชีวิตมากขึ้น
• เรื่องการศึกษา หากโรงเรียนทางเลือกเป็นระบบการศึกษาที่ดีก็ควรทาให้เป็นโรงเรียน
หลัก
• ปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิเด็ก ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ มองให้เป็นสามเหลี่ยมปิรามิด
ปัญหาสิทธิเด็กที่เกิดขึ้นเคสต่างๆ ที่พม.เข้าไปดูแลจะเป็นการทางานกับเคส ซึ่งอยู่ด้าน
บนสุดของสามเหลี่ยมปิรามิดในแง่จานวนเคส สัดส่วนต่อจานวนเด็กทั้งหมด ซึ่ง พม. มี
ความเชี่ยวชาญและกลไกในการดาเนินการในด้านนี้ และทาได้ดี พม. ในการแก้ปัญหา
เรื่องเด็ก โดยงบประมาณเน้นงานแก้ปัญหาด้านการคุ้มครอง เช่น บ้านพักเด็ก เป็นต้น
ซึ่งเป็นเรื่องจาเป็นและสาคัญ แต่อาจต้องเพิ่มการทางานและงบประมาณไปเป็นมุ่งเน้น
การทางานไปที่ฐ านปิ รามิด ซึ่ งคือเด็กทั้งหมด ในด้านของการป้องกัน ปัญหาก่อนจะ
เกิดขึ้น ซึ่งไม่เพียงเฉพาะทางานกับเด็ก แต่คนที่เด็กอยู่ใกล้ชิดที่สุดในช่วงวัยต่างๆ เช่น
ครอบครัว ครูในโรงเรียน หากทาด้านป้องกันมาก ปัญหาหรือจานวนกรณีบนยอดปิรามิด
จะลดลง แต่ในทางกลับกัน หากทางานด้านป้องกันน้อย ปัญหาจะเพิ่มจานวนขึ้น เป็น
สามเหลี่ยมกลับหัว ด้านฐานจะไปอยู่ข้างบน จานวนประชากรเด็กที่มีปัญหาเพิ่ มจน
มากกว่าประชากรที่ไม่มีปัญหา ซึ่งจุดนั้นจะเป็นวิกฤติ เพื่อให้เกิดผลในระยะยาว ควร
เน้นการทางานด้านป้องกันกับทุกช่วงวัยให้มีบทบาทในด้านนี้
• ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตของเด็ก เด็กเป็นศูนย์กลาง โดยหน่วยงานมีหน้าที่ความ
รับผิดชอบ เช่น ครู ผู้ปกครอง หน่วยงานความปลอดภัย อยู่วงรอบตัวเด็กซึ่งเด็กอยู่ตรง
กลาง แต่ล ะส่ ว นมีบ ทบาทหน้าที่ตรงไปยังเด็ก อย่างไรก็ตาม การเชื่อมประสานกัน
ระหว่างหน่วยงานวงรอบตัวเด็กให้มีหน้าที่เป็นระบบบางครั้งยังไม่ดีพอ การเตรียมพร้อม
แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องสาคัญ
• การคุ้มครองเด็ก ตัวอย่างกฎหมายคุ้มครองเด็ก ทาให้เข้าใจง่าย เช่น คู่มือที่ พม. ทา
เพื่อให้นาไปใช้ปฏิบัติได้ โดยเผยแพร่ตามช่องทางต่างๆ ให้กว้างขึ้น เพื่อให้คนนาไปใช้
ปฏิบัติจริงได้ รวมทั้ง ทาให้ประชาชนในพื้นที่ทาเรื่องที่อยู่ในกฎหมายเป็น มีความรู้
ความเข้าใจ ในการปฏิบัติเพื่อการคุ้มครองเด็ก พัฒนาทักษะเพื่อการปฏิบัติจริงในการ
คุ้มครองเด็กในชุมชน
๙๗
วัยผู้ใหญ่ (วัยแรงงาน)
• วัยแรงงาน รัฐมองการพัฒนาทักษะของบุคคล เป็นหลัก แต่ยังขาดการเน้นในการมอง
บทบาทการเป็ น ผู้ ป กครองในเรื่ อ งการสร้ า งให้ เ ด็ ก เป็ น ผู้ ใ ห้ แ ละการเป็ น ผู้ รั บ ใน
สถานการณ์ที่เหมาะสมรวมทั้งการสร้างเงื่อนไขในการเรียนรู้และขยายโอกาสให้แก่เด็ก
ผู้สูงอายุ
• ตัวอย่าง บริษัท IKEA ประกาศรับสมัครงานผู้สูงอายุ ทาให้ผู้สูงอายุมีทางเลื อกมากขึ้น
เปิดโอกาสมากขึ้น ทาให้รู้ว่าตนเองมีคุณค่า จากที่อยู่ว่างหลังเกษียณไม่มีกิจกรรมที่
เหมาะกับความต้องการของตนเอง
ประเด็นบูรณาการ
• ความฝั น ในเป้ าหมายเดียวกัน โดยไม่ต้องคิดถึงข้อจากัดหรืออุปสรรคและติดอยู่ กั บ
ข้อจากัดก่อน เช่น งบประมาณ บุคคลากร เป็นต้น หากจะทาให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
นาคนที่คุยกันเพื่อเปลี่ยนแปลงซึ่งเป้าหมายเดียวกันมาคุยกันในการบูรณาการ รวมทั้งใน
เรื่องงบประมาณ ก็ต้องมีสานักงบประมาณเข้าร่วมด้วย
• วางแผนระยะยาวทาเป็น phrase โดยกาหนดให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าอีก 5 ปีต้องเห็น
อะไร อีก 5 ปีต้องเห็นอะไร เปรียบเทียบได้กับการสร้างเมือง เป็นต้น
ประเด็นอื่นๆ
• อปท. พัฒนาทักษะขึ้นมา โดย พม.เป็นคนช่วยพัฒนาทักษะในการทางานพัฒนาคุณภาพ
คนทุกช่วยวัย
• 4.0 เน้นเรื่องเศรษฐกิจ ต้องเน้นเรื่องสังคม ทักษะของชีวิตมากขึ้น
• ในโลกการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน หากใครได้อ่านก็จะมีความรู้ แต่ส่วนที่ไม่ได้
เลือกอ่านก็จะไม่มีความรู้ เช่น เรื่องสุขภาพ อาหารที่เป็นโทษหรือเป็นประโยชน์ ดั้งนั้น
การประชาสัมพันธ์ของรัฐจึงจาเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลมากขึ้นและมีความชัดเจน
๙๘
5.1.16 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ รองอธิกำรบดีฝ่ำยบริหำรและควำมยั่งยืน
มหำวิทยำลัยธรรมศำสตร์
การสัมภาษณ์เชิงลึกรองอธิการบดีฝ่ายบริห ารและความยั่งยืนมหาวิทยาลั ยธรรมศาสตร์
(ผศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล) มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ประเด็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) และข้อเสนอแนะการพัฒนาศักยภาพ
คนไทยทุกช่วงวัยและสังคมไทย
ภาพรวมทุกช่วงวัย
• ขอแบ่งช่วงวัยออกเป็น 3 ช่วง ในแง่ของการศึกษา ในแง่ของการทางาน และในแง่ของ
วัยเกษียณช่วงที่ 1 เป็นช่วงที่เป็นเด็กจนจบการศึกษา เป็นช่วงที่ยังไม่ทางานเป็นช่วงที่
รับการศึกษาเพื่อส่งมาสู่ช่ วงที่2 เพื่อจะไปทางานแล้วมีการเลี้ยงดูตัวเองได้ เวลาของ
ช่วงที่ 2 จบลงตรงอายุ 60 ปี ในภาคของการทางานเป็นลูกจ้างของรัฐหรือเอกชน แต่
หากการทางานอิสระก็สามารถทางานต่อไปได้ตราบใดที่ยังเลี้ยงตัวเองได้ ช่วงที่ 3 คือ
ช่วงที่ไม่ทางานแล้ว เป็นช่วงเกษียณอายุ ดีที่สุดคื อ คนในช่วงที่ 2 เลี้ยงดูคนในช่วงที่
1 ให้เรียนจนจบ ซึ่งก็คือลูกของตนเอง ส่วนตนเองเองเงินออมไว้สาหรับดูแลตนเอง
เองเมื่อพ้นจากวัยทางานแล้ว หากเป็นเช่นนี้สังคมก็พึ่งตัวเองได้
• เมื่อคนช่วงที่ 1 จบการศึกษามาทางาน เขาก็จะดูแลคนช่วงที่ 1 ที่เป็นเด็กซึ่งเป็น
ลูกหลานเขาต่อไป เมื่อเขาแก่ เขาก็มีเงินในการดูแลตัวเองจนเขาจากโลกนี้ไป ถ้ามอง
ในแง่นี้ การพัฒนาคนคือ การพัฒนาเพื่อให้คนดูแลตัวเองได้ พึ่งตัวเองได้ และดูแลซึ่ง
กันและกันได้ แล้วคนในช่วงที่ 2 วัยทางาน นอกจากดูแลลูกตัวเองแล้ว หากมีเงิน
เหลือ ก็เผื่อแผ่ไปสู่สังคมด้วย ถ้ ารายได้มากก็เสียภาษีมาก เพื่อนามาดูแลคนที่ด้อย
โอกาสกว่า นามาดูแลคนที่ดูแลลูกตัวเองไม่ได้ หรือ คนแก่ที่ไม่มีสังคม
• ในแง่การพัฒนาสังคม ในแง่พัฒนาคนไปตามช่วงวัย ช่วงที่ 1 ต้องให้การศึกษาตั้งแต่
การศึกษาขึ้นพื้นฐานจนระดับปริญญา ช่วงที่ 2 ช่วงการทางาน การทางานก็เน้นไปที่
สวัสดิการ และรายได้ที่เป็นธรรม และต้องมีเรื่องของการออม หากเขาไม่คิดจะเก็บเงิน
ก็ต้องมีระบบในการเก็บให้เกษียณมาแล้วมีบาเหน็จบานาญ หรือกองทุนบางอย่างที่
เมื่อเขาแก่แล้ว เขาก็ยังมีรายได้ ดังนั้นการพัฒนาคนตามช่วงวัยจะเป็นไปตามนี้
ช่วงที่ 1 ช่วงที่เป็นเด็กจนจบการศึกษา
• ในช่วงที่ 1 ต้องทาให้คนเติบโตขึ้นมาในแบบที่พึ่งตัวเองได้ เลี้ยงตัวเองได้ เลี้ยงคนอื่น
ได้ เลี้ยงตัวเอง ลูกตัวเอง รวมถึงเลี้ยงพ่อแม่ตัวเองได้ด้วย ถ้าหากว่าพ่อแม่ตัวเองไม่มี
เงินเก็บเอาไว้
• ปัญหาในช่วงแรกคือการศึกษา ปัญหาของไทย ในช่วงที่ 1 การศึกษาพื้นฐานของเราก็
มีปัญหาอยู่มาก เพราะว่า การศึกษาของเราเป็นการศึกษาเพื่อให้เข้ามหาวิทยาลั ย
จริงๆ แล้ว การศึกษาไม่ได้เพื่อให้คนเข้ามหาวิทยาลัย การศึกษาเพื่อสร้างคนให้ แก่
๙๙
สังคม สังคมต้องการคนแบบไหนในช่วงซึ่งเป็นวัยทางาน ซึ่งเลี้ยงดูวัยเด็ก รวมไปถึง
ดูแลคนแก่ ถ้ามีเงินมากพอก็เป็นภาษีกลับมาดูแลสังคม
• ช่วงแรก ไปเน้นแต่การศึกษาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งผิด การศึกษาคือการสร้างคน
ให้กับสังคม คนที่เป็นคนคุณภาพ คนที่ไม่เป็นภาระแต่เป็นพละคือเป็นกาลัง แปลว่า
ไม่ใช่เรื่องเพียงแค่ทาให้คนเข้ามหาวิทยาลัย แต่พื้นฐานคือ การทาให้เขารับผิดชอบต่อ
สังคมและดูแลตัวเองได้ และการดูแลตัวเองได้ไม่ได้แปลว่าต้องรอจนจบการศึกษาแล้ว
ค่อยดูแลตัวเอง ต้องดูแลตัวเองได้ตั้งแต่เด็กๆ การศึกษาตรงนี้ของเราอ่อน ส่วนเรื่อง
ศึ ก ษาเพื่ อ ความเป็ น พลเมื อ งเราก็ ไ ม่ ดี เพราะ เราค่ อ นข้ า งเป็ น เรื่ อ งของการเป็น
พลเมืองดีเป็นเรื่องของการทาตามผู้มีอานาจสั่ง การศึกษาไม่สอนให้คิดเป็น พละของ
เมืองในพลเมือง พละที่สาคัญที่สุดไม่ใช่พละทางกาย แต่เป็นพละทางสติปัญญา กาลัง
ทางสติปัญญาจะมีได้คือต้องคิดเป็น ดังนั้นการศึกษา ต้องเปลี่ยนเป็นการศึกษาที่ทาให้
คนคิดเป็น เพื่อจะแก้ปัญหาเป็น แล้ วก็เรียนรู้เป็น เรียนรู้ไปตลอดชีวิต แล้วสิ่งนี้ติดตัว
เขาไปช่วงที่ 2 และช่วงที่ 3 ด้วย เป็นเรื่องปัญหาการศึกษาของเรา
ช่วงที่ 2 ช่วงวัยทางาน
• ช่วงที่ 2 ช่วงวัยทางาน เป็นช่วงที่อ่อนแอกว่าช่วงแรกอีก คือเราไม่สนใจให้การศึกษา
คนในช่วงที่ 2 วัยทางานเลย จริงๆ เรียกว่าการศึกษาระดับวัยทางาน เช่น ประเทศใน
ยุโรปจะมีระบบการศึกษาในช่วงนี้ ประเทศเยอรมนี เรียกว่า มหาวิทยาลัยประชาชน
ส่วนเราก็มีในแนวคิดการศึกษานอกโรงเรียน แต่การศึกษานอกโรงเรียนของไทยก็เป็น
แบบการศึกษาสาหรับคนรุ่นพ่อแม่เราคือจบแค่ประถมให้มาเรียนจนจบมัธยมกันได้
จริ งๆ แล้ ว การศึกษานอกโรงเรียนเป็นการศึกษาส าหรับคนช่ว งที่ 2 ซึ่งการศึกษา
ในช่วงนี้สาคัญเพื่อให้เรียนรู้ว่า 1) อาชีพมีหลากหลาย แล้วคนก็เปลี่ยนอาชีพได้ แม้
ตอนเรี ย นมาจะไม่ ไ ด้ เ รี ย นตรง คนก็ ส ามารถมาเรี ย นใหม่ แล้ ว เข้ า สู่ อ าชี พ ใหม่ มี
ทางเลือกใหม่ๆ ได้ ส่วนอาชีพก็ต้องพั ฒนาไปตามสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสังคม
เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น คนที่เรียนมาในมหาวิทยาลัยอย่างหนึ่ง หรือในโรงเรียนแบบหนึ่ง
จะหวังว่า เขาจะใช้ความรู้แค่นั้นอยู่ตลอดไปไม่ได้ การศึกษานอกโรงเรียนสาคัญมาก
ซึ่งเราอ่อน รวมถึงในเรื่องนันทนาการด้วย คือการใช้ชีวิตนอกจากการเอาความรู้ไป
ประกอบอาชีพ เรื่องของนันทนาการ เรื่องของการออกกาลังกาย การเล่นกีฬา การ
ดูแลตัวเองให้ไม่เจ็บป่วย เราอ่อนมาก คนไทยจึงกินอาหารไม่เป็นประโยชน์ ไม่ออก
กาลังกายกันเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ เต็มไปด้วยปัญหาที่ทาให้คน
เข้าโรงพยาบาลกัน เพราะเหตุจากพฤติกรรมบ้าง จากการกินบ้าง จากการไม่ ดู แล
ตัวเองบ้าง ช่วงที่ 2 อ่อนกว่าช่วงแรกอีก กลายเป็นว่าคนต้องเรียนรู้กันเอง ต้องอ่าน
หนังสือเอง แล้วสื่อมวลชนก็ไม่ได้สร้างสังคมแห่งการใช้ความรู้ด้วย ก็เลยกลายเป็น
ปัญหามากขึ้นไปอีก
๑๐๐
ช่วงที่ 3 ช่วงผู้สูงอายุ
• พอมาถึงช่วงที่ 3 ช่วงที่เป็นผู้สูงอายุ ช่วงนี้เราอ่อนที่สุด คือไม่มีเรื่องการศึกษาเลย
สมัยก่อนชุมชนยังไม่ล่มสลาย คนช่วงที่ 3 ก็จะเป็นกาลังและสติปัญญาให้แก่คนช่วงที่
1 และช่วงที่ 2 ได้ ตอนที่คนช่วงที่ 2 ไปทางาน ก็มีคนช่วงที่ 3 ดูแลคนช่วงที่ 1 เด็ก
เรียนรู้จากผู้ใหญ่ พอสังคมเป็นสังคมแบบครอบครัวเชิงเดี่ยว เน้นไปที่การทางานหา
เงิน เด็กๆ ก็เรียนรู้กันเอง พอว่างจากโรงเรียนก็ไปเล่นเกม แม่ไปทางานก็เอาลู กไป
ปล่ อ ยไว้ ใ นร้ า นเกม ซื้ อ มอเตอร์ ไ ซค์ ใ ห้ แล้ ว ก็ เ กิ ด ปั ญ หาตามมา คนแก่ พ อเป็ น
ครอบครั ว เดี่ ย วก็ ถู ก ทอดทิ้ ง คุ ณ ค่ า ความหมายที่ เ คยมี ข องการเป็ น ผู้ สู ง อายุ
ประสบการณ์ที่จะทิ้งไว้ให้คนรุ่นลูกหลานก็น้อยลงไปเรื่อยๆ
• ช่วงที่สาคัญที่สุดคือช่วงที่ 3 ในปัจจุบัน เป็นช่วงที่สาคัญที่สุด ในแง่ของประชากร เมื่อ
เราเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มที่ คือโครงสร้างประชากรจากเดิมที่เป็นปิรามิดที่มีฐานใหญ่สุด
อยู่ข้างล่างแล้วผู้สูงอายุมีสัดส่วนน้อยสุดเป็นสามเหลี่ยมอยู่ด้านบน จะกลับข้างกัน
สังคมต้องให้ความสาคัญกับผู้สูงอายุมากขึ้น การศึกษา ก็คือ การศึกษาแบบเตรียมตัว
ในช่วงสุดท้ายของชีวิตว่าจะใช้เวลาอย่ างไรให้มีคุณค่า ถ้าช่วงที่ 3 ทาได้ดี ผู้สูงอายุก็
จะอยู่ในโรงพยาบาลน้อยลง ผู้สูงอายุก็จะดูแลตัวเองได้มากขึ้น ภาระที่มีต่อสังคมก็จะ
น้อยลง
• เมื่อโรงเรียนต่างๆ เริ่มที่จะปิดตัวลงเพราะว่าเด็กเกิดน้อยลง โรงเรียนในประเทศไทย
ประมาณ 40,000 แห่งเริ่มปิดตัวลง มหาวิทยาลัยประมาณ 150 แห่ง ต่อไปจะคน
มาเรียนน้อยลง การศึกษาแบบเพื่อทางานต้องเปลี่ยนแปลง เพราะว่าคนเกิดน้อยลง
ส่วนคนจะมีอายุยืนยาวขึ้นและผู้สูงอายุจะมีจานวนมากขึ้น ดังนั้น เราต้องมาคิดกัน
ใหม่เรื่องการศึกษาให้กับผู้สูงอายุ ต้องคิดอย่างจริงจัง
• แนวโน้มของสังคมคือวัยทางานจะเกษียณน้อยลง เมื่อผู้สูงอายุมีมากขึ้นก็ต้องทางาน
กันนานขึ้น ผู้สูงอายุทางานให้ผู้สูงอายุมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาจะมีการเปลี่ยนแปลง
แล้วคือต้องคิดถึงผู้สูงอายุ เช่น ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สานักทรัพยากรมนุษย์
สถาบันเทคโนโลยีและเสริมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดโรงเรียนผู้สูง
วัยรุ่นที่ 1 คือ อาจจะมีการศึกษาแบบใหม่ เช่น มีปริญญาผู้สูงอายุ เป็นต้น
• เราทุกคนต้องผ่านช่วงวัยต่างๆ ในชีวิต เรื่องการศึกษาสาหรับผู้สูงอายุ เราศึกษากัน
น้อยเนื่องจาก ที่ผ่านมาในอดีตเป็นเรื่องของศาสนา เกิด แก่ เจ็บ ตาย สมัยก่อนวัด
เป็นศูนย์กลาง พอผู้สูงอายุไม่ทางานแล้ว ก็เลี้ยงดูหลาน แล้วก็เข้าวัด วัดก็ไม่ได้ทา
หน้าที่นี้แบบเดิมในอดีตได้แล้ว ผู้สูงอายุจะเตรียมตัวในช่วงท้ายของวงจรชีวิตอย่างไร
สิ่งใดเขาไม่ได้ทาในวัยทางานของเขา เพราะอาจต้องมัวแต่ทางาน มัวแต่เลี้ยงลูก เขา
จะได้ทาในตอนเขาเกษียณแล้ว เขาจะได้เดินทางท่องเที่ยว เล่นกีฬาที่ไม่เคยเล่น เป็น
ต้น เพราะฉะนั้น การศึกษาเพื่อคุณภาพของคนในวัยผู้สูงอายุมีความสาคัญ
• ในทั้ง 3 ช่วงวัย การศึกษาที่สาคัญของเราคือการศึกษาพื้นฐานจนมาถึงอุดมศึกษาคือ
ช่วงที่ 1 ความจริงการศึกษาไม่จบที่อุดมศึกษา จากการศึกษาพื้นฐานก็สามารถไปทาง
สายอาชีพได้ แต่ของเราเป็นค่านิยมหลงกับปริญญา ปริญญาตรีมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจ
๑๐๑
ไม่จ าเป็ น การศึกษาคือการสร้างคนให้ แก่สังคม ปริญญาก็เป็นทางหนึ่ง ไม่ใช่ทาง
ทั้งหมด ของเราในช่วงที่ 1 ยังไม่ค่อยดีอยู่แล้ว แต่ช่วงที่ 2 ไม่มีเลย ช่วงที่ 3 ยิ่งไม่มี
เข้าไปใหญ่ ก็ต้องเปลี่ยนแปลง โดยทาช่วงที่ 2 และ 3 ให้ดีขึ้น และทาช่วงที่ 1 ให้ดี
ขึ้นด้วย
ประเด็นการพัฒนาการศึกษา
การศึ ก ษาจริ ง ๆ ไม่ จ าเป็ น ต้ อ งเป็ น การศึ ก ษาในโรงเรี ย นเสมอไป พม. มี อ ยู่ ทุ ก จั ง หวั ด
การศึกษาคือชีวิตจริง พม. อาจจะใช้การศึกษาจากชีวิตจริง จากโจทย์ปัญหาของชุมชน หรือยกตัวอย่างเช่น เด็ก
ในโรงเรียน งบประมาณอาหารกลางวันมื้อละ 20 บาทต่อหัว ดูเป็นจานวนเงินที่น้อย แต่ถ้าเงิน 20 บาทต่อหัว
นามาให้เด็กปลูกผัก เพื่อทาอาหารกินกันเอง เงินจานวน 20 บาทจะเป็นเงินที่เหลือเฟือในเรื่องอาหารกลางวัน
ต่อหัว ถ้าปลูกผักกันเอง ก็เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้จากของจริง แต่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาเป็นการศึกษา
แบบเรียนในห้องเรียนสาระการเรียนรู้ 8 อย่างที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการเข้าไปสู่มหาวิทยาลัย ไม่ใช่แนวทางที่
ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยเป็นเรื่องของคนส่วนหนึ่งที่อยากเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งก็เป็นสิ่งที่ต้องเปิด
โอกาสให้คนได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แต่คนส่วนใหญ่ต้องได้ทักษะความรู้เรื่องพื้นฐานของชีวิต เด็กๆ
ควรจะเรียนรู้ เช่น แปรงฟันให้ถูกวิธี จะได้ไม่ต้องไปหาหมอฟัน อย่ากินน้าตาลมาก มีผลเสียต่อสุขภาพ ร่างกาย
อ่อนแอถ้าไม่ออกกาลังกายสิ่ งต่างๆ เหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ทั้งหมด ขับมอเตอร์ไซค์ควรใส่หมวกกันน็อค อย่า
ทิ้งขยะลงแม่น้า โรงเรียนต้องให้เด็กเรียนเรื่องเหล่านี้ แนวทางคือ พม. คิดถึงสังคมโดยทาให้ผู้คนเป็นกาลังของ
เมือง พม. Integrate กับโรงเรียน เอาชุมชนกับโรงเรียนเป็นตัวตั้ง ทาให้เป็นการเรียนรู้
ประเด็นการบูรณาการ
ในการบูรณาการ ระบบราชการไทยแบ่งเป็นกระทรวง กรม กองเป็น specialization แต่
ทางานพัฒนาคนไม่สามารถแบ่งแบบนั้นได้ ควรต้องเอาผลลัพธ์เป็นตัวตั้ง แล้วทุกกระทรวงเข้ามาทา ผลัดกัน
เป็นเจ้าภาพในแต่ละเรื่อง พัฒนาสังคมไปสู่การเป็นสังคมสติปัญญา
๑๐๒
5.1.17 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้อำนวยกำรมูลนิธิหญิงชำยก้ำวไกล
การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อานวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (นายจะเด็ด เชาว์วิไล) เมื่อวันที่ 20
มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ประเด็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)
• ปั ญหาเชิงยุ ทธศาสตร์ คนไทยยังมีพื้นที่ในการพัฒ นาศักยภาพและการรวมกลุ่มที่
เหมาะสมไม่เพีย งพอ ยกตัว อย่างเช่น ในวัยแรงงาน คือการรวมกลุ่ มเป็นสหภาพ
แรงงาน วัยผู้สูงอายุ คือ พื้นที่ให้ผู้สูงอายุได้แสดงออก เพื่อให้เห็นคุณค่าของตนเอง
ผ่านกิจกรรมต่างๆ วัยที่เป็นเยาวชน สังคมมีแต่พื้นที่ที่มีความเสี่ยง พื้นที่สร้างสรรค์มี
น้อยมาก ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ต้องสร้างเงื่อนไขที่ทาให้เกิดความคิด
สร้ า งสรรค์ กระบวนการสร้ า งเงื่ อ นไขที่ ท าให้ เ กิ ด ความคิ ด สร้ า งสรรค์ พม. จึ ง
จาเป็นต้องทางานบูรณาการกับหลายกระทรวง เพื่อสร้างพื้ นที่เหล่านี้ให้เกิดขึ้น ใน
ชุมชน ในสังคม ให้มากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน พื้นที่ในลักษณะนี้สามารถมีได้ในทุกช่วง
วั ย เป็ น พื้ น ที่ เ ชิ ง บวก รวมถึ ง พื้ น ที่ เ ชิ ง รวมกลุ่ ม เพื่ อ ให้ เ กิ ด การต่ อ รองด้ ว ย ท าให้
ชาวบ้านแก้ปัญหาที่มากระทบชุมชนได้ เช่น กรณีชุมชนไม่ต้องการโรงงานที่ ส ร้าง
มลพิษ เป็นต้น
• ปั ญ หาสั ง คมที่ มี ค วามรุ น แรง การฆาตกรรมในครอบครั ว รายวั น เช่ น คู่ รั ก ยิ ง กั น
เสียชีวิต พม. อาจทางานเชิงรุกเรื่องครอบครัวในเรื่องของสื่อสารประชาสัมพันธ์กับ
สาธารณะในวงกว้างมากที่สุด อาทิ เรื่องกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ศูนย์
ช่วยเหลือที่โทรศัพท์ติดต่อได้ทันที
ประเด็นการบูรณาการ และข้อเสนอแนะ
• ในประเด็นการแยกออกมาจากกระทรวงแรงงานมาจัดตั้งเป็นกระทรวงการพัฒนา
สังคมฯ อาจมองว่า สังคมมีประเด็นหลากหลายมากขึ้น เช่น ความหลากหลายทางเพศ
คนด้อยโอกาส คนพิการ จึงตั้งกระทรวงมารับผิดชอบ ยกตัวอย่าง ในเรื่องวัยแรงงาน
มีความตั้งใจให้ พม. ดูแลวัยแรงงานในประเด็นที่ลงลึกขึ้น เช่น การเลือกปฏิบัติที่เป็น
เรื่องเพศ การไม่รับเพศทางเลือกเข้ามาทางาน ซึ่งผิดต่อกฎหมายที่ พม. ดูแลอยู่ ซึ่ง
การเลือกปฏิบัติ ตาม พ.ร.บ. ความเสมอภาคระหว่างเพศ ที่ พม. มีอานาจหน้าที่ตาม
กฎหมาย และประเด็นการเลือกปฏิบัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างก็อยู่ในกฎหมายแรงงาน
ด้วย ดังนั้นการทางานร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงแรงงานให้ไปด้วยกัน จะพัฒนา
คุณภาพวัยแรงงานในมิติที่ครอบคลุมและมีคุณภาพมากขึ้น
• ปัจจุบัน พม. มีหน้าที่ที่ต้องทางานกับคนหลากหลายและมีความเปราะบางทางสังคม
มากกว่ากลุ่มเป้าหมายของหลายกระทรวง เช่น คนพิการ คนชายขอบ ผู้หญิง เป็นต้น
ปัญหาการทางานในลั กษณะ top down มากและการแก้ปัญหาแบบแยกส่วน จะ
แก้ปัญหาได้ยาก จะทาให้เกิดความรู้สึกว่า แต่ละกรม และแต่ละกระทรวง ไม่ค่อยได้
๑๐๓
ทางานด้วยกันอย่างเต็มที่ หากต้องการทาให้ยุทธศาสตร์กระทรวงเป็นไปได้ ต้องแก้
โจทย์ คือ ท่ามกลางสถานการณ์ซับซ้อนมากขึ้น ต้องเปลี่ยนความคิดจากการมองแบบ
แยกส่วนมาเป็นการพัฒนาที่ทาให้เห็นภาพองค์รวม
• ยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัว มีหลายกลุ่มคนที่มีส่วนใน
ปัญหาและมีส่วนการแก้ปัญหา หากกรมต่างๆ ทางานด้วยกันมากขึ้นในมิติที่กว้างกว่า
สิทธิ เช่น การพัฒนาอาชีพ จะแก้ปัญหาที่ซับซ้อนขึ้นได้ และควรทาให้เกิดโครงสร้าง
การทางานแบบแท่งเดียวกัน หรือ ทดสอบทาให้เกิดการทางานแท่งเดียวกันให้ไ ด้เพื่อ
ทาไปด้วยกัน ประกอบกับ นาการแก้ปัญหาประชาชนเป็นตัวตั้ง หากจาเป็น อาจลด
อานาจรวมศูนย์ในการบริหารราชการ รวมหน่วยงานระดับกรม กองหรือกระทรวงที่
เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน
• การรวมกระทรวงอาจเป็นเรื่องยากเกินไป หากรวมงานใน พม. ก่อน ยกตัวอย่างเช่น
เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วกั บ คนชายขอบ คนที่ ถู ก กระท า สามารถโยงกั บ เรื่ อ งแรงงาน เรื่ อ ง
สาธารณสุขได้ แต่ละหน่วยงานทางานไปด้วยกัน
• ในระดับจังหวัด รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวง พม. ออกระเบียบบูรณาการให้หน่วยงาน
ในแต่ละจังหวัด โดยมอบหมายหน่วยงานให้เป็นคนทาการบูรณาการงานในจังหวัดใน
แต่ละเรื่องที่เป็นงานของ พม. ยกตัวอย่างเช่น ในประเด็นเด็ก บ้านพักเด็กของกรม
กิจการเด็กและเยาวชน ทางานเชื่อมกับ พมจ. ในทางปฏิบัติให้เห็นผลงาน แม้ว่าจะมี
นโยบาย one home แล้วก็ตาม
• ทดสอบ 10 จังหวัด ให้มีการบูรณาการกันในกระทรวง พม. อาจมีโครงการร่วมกันกับ
กระทรวงอื่นด้วย ทดลองบูรณาการระดับจังหวัดให้เป็นผลงาน และทาเป็นต้นแบบ
ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดหนึ่งอาจเลือกประเด็นผู้หญิง อีกจังหวัดหนึ่งอาจเลือกเรื่อง
ผู้สูงอายุ อีกจังหวัดอาจเลือกเรื่องคนพิการ โดยทางานเชื่อมโยงกันโดย พมจ. กับ
บุคลากรของกรมในจังหวัด
• อปท. เป็นพื้นที่สาคัญที่ต้องส่งเสริ มการเปิดให้คนเข้ามาร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ และ
งานหลั ก ของพม. คื อ การบู ร ณาการในพื้ น ที่ ในขณะเดี ย วกั น ปฏิ รู ป องค์ ก รให้
สอดคล้องกับแนวทางการแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ โดยทาให้เล็กลง มีบทบาทในด้านการ
กากับมาตรฐานมากขึ้น นอกจากนี้ บุคลากรของ พม. มีความถนัดในเรื่องความเข้าใจ
ต่อความเป็นมนุษย์ เรื่องชีวิตจิตใจของคน บทบาท empowerment ชาวบ้านจึงเป็น
จุดสาคัญของการบูรณาการในภาพใหญ่
• ปฏิรูปเรื่องวิธีคิดด้วยการทาให้เกิดวัฒนธรรมในการรับใช้ประชาชน วัฒนธรรมการ
เข้าถึงประชาชน เช่นเดียวกับงานของกรมประชาสงเคราะห์ในอดีต เช่น กองชาวเขา
ข้าราชการต้องเดินขึ้นเขาไปหาชาวบ้านเพื่อเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่ ในปัจจุบัน พม. มี
งานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มคนยากจน คนพิการ อาจจะนาข้าราชการ
ไปสัมผัส เรียนรู้ไปอยู่กับชาวบ้านอย่างลงลึก ทั้งนี้ ปัจจุบัน โดยภาพรวม ข้าราชการ
เข้ า ถึ ง ชาวบ้ า นน้ อ ยกว่ า เดิ ม ในอดี ต ใกล้ ชิ ด ประชาชนมากกว่ า ในปั จ จุ บั น และมี
แนวโน้มว่า จะใกล้ชิดกับประชาชนน้อยลง มีการลงเยี่ยมประชาชนน้อยลง
๑๐๔
• อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างของกระทรวงสาธารณสุขมีการลงเยี่ยมชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ
ซึ่ง พม. มีวิชาชีพที่ไม่ต่างจากวิชาชีพสาธารณสุข แต่เป็นด้านสังคม งานของนักสั งคม
สงเคราะห์ สั ม ผั ส กั บคนยากจน ข้ า ราชการมี อุ ด มการณ์ แ ละจิ ต ส านึก ในเรื่ อ งการ
ช่วยเหลือประชาชน ไม่ต่างจากแพทย์ การมีศูนย์ต่างๆ ของพม. คือ มีเพื่อให้เข้าถึง
ชาวบ้าน เรียนรู้และแก้ปัญหาจากพื้นที่ขึ้นมา นอกจากนี้ พม. สามารถดึงแพทย์มาร่วม
ลงเยี่ยมชาวบ้านได้อีกด้วย
ประเด็นอื่นๆ
• การแก้ปัญหาโดยมองกลุ่มคน (approach) ที่ฐานะทางเศรษฐกิจมากเกินไป การมอง
เศรษฐกิจเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหา ทาให้เกิดการแยกคนว่าเป็นคนจน คนชั้นกลาง
เพื่อให้เงินอุดหนุนในรูปของเงินสงเคราะห์ต่างๆ ควรใช้หลักการว่า ทุกช่วงวัย มีคน
อยู่หลากหลาย มองเป็นภาพใหญ่ทั้งหมดเป็นฐาน เช่น เด็กปฐมวัย 0-5 ปี เด็กวัย
เรียน 5-14 ปี เด็กวัยรุ่น 15-21 ปี เด็กทุกกลุ่มต้องการพัฒนาเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ฉะนั้น ไม่เพียงคนจนจะต้องได้รับเงินช่วยเหลือ ในรูปแบบของเงินอุดหนุนเด็กยากจน
เด็ ก ทุ ก คนควรจะได้ รั บ เงิ น ช่ ว ยเหลื อ เป็ น ลั ก ษณะของสวั ส ดิ ก ารทั่ ว หน้ า โดยรั ฐ
สวัส ดิการน าเงิน จากคนที่มีโ อกาสมากกว่าเพื่อกระจายอุดหนุนช่ว ยเหลื อ ในการ
พัฒนา นอกจากเงินสงเคราะห์แล้ว การให้ความรู้ ทุกช่วงวัยทั้งระบบ ต้องถูกพัฒนา
ไปด้วยกัน
• เงินช่วยเหลือ ควรให้ภาคส่วนอื่นเข้ามาช่วยดูแลมีส่วนร่วม เช่น ท้องถิ่น ประชาสังคม
ช่วยกันดูแล คล้ายการบริหารจัดการกองทุนในพื้นที่ที่ให้ชาวบ้านดูแลกันเอง
๑๐๕
5.1.18 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้อำนวยกำรมูลนิธิอำรมณ์ พงศ์พงัน
การสั มภาษณ์เชิงลึ กผู้ อานวยการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ผู้ เชี่ยวชาญด้านแรงงาน (คุณ
บัณฑิต ธนชัยเศรษฐวุฒิ) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ประเด็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)
ภาพรวมของการพัฒนาสังคม
การพัฒนาสังคมมี 3 แนวทาง
1) สิทธิพื้นฐานทางสังคม ทุกกลุ่มต้องได้รับ อาทิ การศึกษาขั้นพื้นฐาน รัฐอุดหนุน เรียนฟรี
ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในระยะเวลาที่รัฐกาหนดไว้ หลักประกันสุขภาพ เรียกว่า โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม
เป็นการช่วยเหลือระยะยาวโดยงบประมาณของรัฐฝ่ายเดียว เรียกว่าเป็นสิทธิพื้นฐานทางสังคมทั่วหน้า ไม่ว่าจะ
เป็นคนจนคนรวย ก็มีสิทธิเรียนฟรี 15 ปี ทุกคนได้รับเหมือนกัน
2) การสงเคราะห์ทางสังคม เป็นมาตรการที่จาเป็นต้องมีอยู่ เป็นการช่วยเหลือผู้เดือนร้อน
โดยฉับพลัน ผู้ที่ได้รับความลาบากเดือดร้อนตามเงื่อนไขที่กาหนดไว้ เช่น เหตุไฟไหม้ น้าท่วม ส่งผลกระทบต่อ
ชีวิตความเป็นอยู่ทาให้ไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นต้น และการสงเคราะห์ทางสังคมเป็นการช่วยเหลือเป็นครั้งคราว
และเป็นการช่วยแบบมีเพดานจากัดไว้หรือ limit เรียกว่าเป็นช่วยเหลือแบบชั่วคราว
3) ประกันสังคม เป็นการเฉลี่ยทุก ข์เฉลี่ยสุขของคนที่มีรายได้ประจาในสังคม มักจะเริ่มต้น
จากคนที่เป็นลูกจ้างก่อน เพราะลูกจ้างเป็นกลุ่มที่มีการทางาน มีที่ทาการชัดเจน มีระบบกฎหมายในการ
คุ้มครองต่างๆ ชัดเจน ในประเทศทั่วโลก มักเริ่มจากลูกจ้างก่อนเป็นกลุ่มแรกๆ ที่มักจะเก็บเงินสมทบมาเข้า
กองทุนกลาง แล้วกองทุนกลาง มีหน้าที่จัดสรรให้เกิดสวัสดิการทางสังคมแต่ละประเภทให้แก่ผู้ที่เป็นสมาชิก
ดังนั้น การพูดถึงการพัฒนาสังคม เราต้องคิดถึงมิติของการจัดสวัสดิการทั้ง 3 มิติคือทั้งสิทธิพื้นฐาน ทั้งการ
สงเคราะห์ทางสังคม และประกันสังคม ในทุกประเทศจะมีทั้ง 3 ประเภท
สาหรับประเทศไทย ปัญหาของประเทศไทย แนวโน้มในปัจจุบันคือการให้ความสาคัญและ
มุ่งเน้นในแบบที่ 2 คือการสงเคราะห์ทางสังคม โดยมองว่าแบบที่ 1 สิทธิพื้นฐานทางสังคม เป็นการได้รับจาก
รัฐที่มากเกินไป ในระยะเวลานานเกินไป ถึงจุดที่รัฐแบกภาระไม่ไหวก็จะเกิดปัญหา เช่น หลักประกั นสุขภาพ
ส่วนแบบที่ 3 ประกันสังคม ไม่ถูกให้ความสาคัญมากเท่าที่ควร แม้ว่าจะมีกองทุนของตัวเอง แต่ยังคงต้องการ
พัฒนาปรับปรุง เช่น การขยายฐานสมาชิก เป็นต้น
หากนาการแบ่งช่วงวัยทุกช่วงวัยเป็นตัวตั้ง แล้วนา 3 มิติของการจัดสวัสดิการสังคมเข้ามา
เป็นตัวตัดขวาง จะเห็นได้ว่า ทุกช่วงวัยมีโอกาสได้รับสวัสดิการทั้ง 3 แบบ โดยกาหนดมาตรการให้สอดคล้อง
กับช่วงวัย เช่น วัยแรงงานควรเน้นประกันสังคม เพราะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ที่จะจ่ายเงินสมทบร่วมกับนายจ้าง
นอกจากนี้ วัยแรงงานก็สามารถได้รับการช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์อื่นๆ ได้ เช่น ประสบภัยพิบัติ เพื่อให้
เขากลับมามีชีวิตวัยแรงงานในแบบเดิมได้ ทั้งนี้ พม. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่เน้นการสงเคราะห์ทางสังคม อาจ
ปรับโดยให้น้าหนักการใช้มาตรการทั้ง 3 แบบแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย
๑๐๖
• เด็กปฐมวัย 0-5 ปี
ช่วง 0-5 ปี เป็นช่วงที่สาคัญที่สุด ต้องให้ความสาคัญมากกว่าปกติ เพราะเป็นช่วงที่
เติบโต เช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งต้องสกัดวัฒนธรรมบริโภคนิยมออกไป ความ
เชื่ อ เรื่ อ งการให้ ลู ก กิ น นมผง ทั้ ง ยั ง มี พ.ร.บ. ห้ า มโฆษณานมผงส าหรั บ เด็ ก
(พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสาหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.
2560) ที่กระทรวงสาธารณสุขขับเคลื่อน การส่งเสริมให้วัยทางานเลี้ยงลูกด้วยนม
ตัวเองมากขึ้น ซึ่งก็ต้องไปปรับสภาพการจ้างงานให้สถานประกอบการอานวยความ
สะดวกแก่แรงงานที่เป็นแม่ ทั้งเรื่องการอนุญาตให้มีการพักเพื่อให้นมลูก การกาหนด
ระยะเวลาที่เหมาะสมในแต่ละวัน ระยะเวลาให้ลูกมีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับแม่อาจไม่
เพียง 90 วัน จนถึงสถานเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ
หลายกระทรวง เป็นตัวอย่างในการบูรณาการที่ดี
• เด็กวัยเรียน และเด็กวัยรุ่น
การเรี ย นรู้ ทั้ ง ในโรงเรี ย นและนอกโรงเรี ย น การเรี ย นรู้ ใ นแง่ Creative Thinking
ทั ก ษะของการรู้ จั ก ตั ว เอง รู้ จั ก คนอื่ น เคารพความหลากหลาย รวมถึ ง ความคิ ด
สร้างสรรค์ที่จะเกิดขึ้นได้จากการเปิดให้เด็กมีเสรีภาพในการแสดงออก
• วัยแรงงาน
ประเด็นสาคัญของวัยแรงงานคือ การทางานที่มีคุณค่า (Decent Work ) ตามหลัก
ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ( ILO) ประกอบด้ว ย 1) สิ ทธิพื้นฐานในการ
ทางาน กล่าวคือ ต้องไม่ถูกบังคับใช้แรงงาน มีเสรีภาพในการรวมตัวต่อรองไม่ว่าจะ
ทางานอาชีพใด ไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงานทั้งในแง่ อายุ เพศ สัญชาติ เป็นต้น 2)
การส่งเสริมศักยภาพการมีงานทา หมายความว่า ไม่ได้ทางานแบบเดียวไปตลอดวัย
แรงงาน โดยไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาทักษะฝีมือ อันเป็นเหตุให้ทาให้ รายได้จากการ
ทางานไม่เพิ่มขึ้น 3) Social Dialogue คือ การมีส่วนร่วมของลูกจ้างกับนายจ้างใน
การพู ด คุ ย เพื่ อ การพั ฒ นาสภาพการจ้ า งงานและสภาพการท างาน 4) Social
Protection ต้องมีการขยายความคุ้มครองทางสังคมให้มากขึ้นและมีการปรับปรุงอยู่
เสมอ ไม่หยุดนิ่งอยู่แบบเดิมเป็นเวลานาน โดยเรื่องหลักทั้ง 4 เรื่องเพื่อการคุ้มครอง
และพัฒนาวัยแรงงานอยู่ในขอบเขตอานาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ
สังคมในหลายเรื่อง รวมทั้งกระทรวงอื่น โดยเฉพาะ กระทรวง พม.
ประเด็นการบูรณาการและข้อเสนอแนะ
• ก่อนการจัดตั้งกระทรวง พม. ขึ้น เรามีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมาก่อน
เมื่อแบ่งแยกหน่วยงานออกมาจากกระทรวงแรงงานฯ ซึ่งก็คือ กรมประชาสงเคราะห์
เพื่อตั้งเป็นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่ อปี 2545 งาน
บางส่วนจึงแยกขาดออกจากกัน จึงไม่ควรแยกออกมา
• ปัญหาการบูรณาการ แม้ว่าจะมีความตั้งใจให้เกิดการบูรณาการระหว่างกระทรวงที่
เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีการประชุมร่วมกัน ในทางปฏิบัติ ผู้ที่รับผิดชอบงานในประเด็น
๑๐๗
ต่างๆ ต้องไปอยู่ภายใต้โครงสร้างการทางานแบบเดิ มของหน่วยงาน ซึ่งมีลักษณะรวม
ศูนย์การตัดสินใจ รวมทั้งวัฒนธรรมการบริหารของหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งบางครั้งไม่
เอื้ออานวยต่อการทางานร่วมกันในลักษณะการบูรณาการที่แท้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่ง
เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
• การยึด พ.ร.บ. ของกรมในการทางานโดยตีความอานาจหน้าที่ในความหมายแคบ ทั้งที่
งานทางสังคมซับซ้อนและการแก้ปัญหาต้องเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน จากการที่
กรมเสนอร่าง พ.ร.บ. ของกรมต่างๆ โดยท้ายสุดผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ในทางปฏิบัติ จึงเกิดการทางานโดยยึดเฉพาะตาม พ.ร.บ. ซึ่งการยึด พ.ร.บ ในการ
ทางานเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ควรจะไม่เป็นการยึดถือ พ.ร.บ โดยเอกเทศ ในลักษณะที่
เป็นอุปสรรคต่อการร่วมแรงกันและช่วยกันกับกรมอื่นและกระทรวงอื่น ซึ่งทาให้เกิด
การแบ่งแยก
• อาจต้องปรับโครงสร้างหรือปฏิรูประบบราชการ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น มิติ
สาธารณสุ ข แรงงาน และสวัส ดิการสั งคม จะรวมอยู่ กระทรวงเดียวกัน หรือการ
พาณิชย์และอุตสาหกรรมจะอยู่กระทรวงเดียวกัน
• มองผลลัพธ์เป็นตัวตั้งว่าจะแก้ปัญหาสาคัญๆ ของสังคมอย่างไร โดยใช้กฎหมายที่ให้
อานาจกรมเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
• เปลี่ ย นระบบการประเมิ นผลความก้ า วหน้า ของราชการโดยประเมิ นผลจากภาค
ประชาชนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีผู้สูงอายุ ให้ประชาชนผู้สูงอายุตัดสินในการประเมิน
การประเมินผลแบบใหม่จะช่วยให้เกิดการบูรณาการได้อีกด้วย
• ขยายขอบเขตงานให้เกี่ยวโยงกับกรมอื่น และกระทรวงอื่นให้มากยิ่งขึ้น ทาให้เป็นกรณี
การบู ร ณาการที่ ป ระสบความส าเร็ จ ยกตั ว อย่ า งเช่ น การจ้ า งงานคนพิ ก ารและ
ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอานาจหน้าที่ของกองที่ตั้งขึ้นมาใหม่ชื่อว่า กองคุ้มครองแรงงานนอก
ระบบ คนพิการและผู้สูงอายุ ภายใต้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ทางานเชิง
นโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุ และคนพิการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับงานของ พม.
โดยตรง
๑๐๘
5.1.19 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ กรรมกำรและเลขำนุกำร มูลนิธิเครือข่ำย
ครอบครัว
การสัมภาษณ์เชิงลึก กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว (คุณวันชัย บุญ
ประชา) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ประเด็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) และข้อจากัดในการดาเนินการ
• กระทรวง พม. จัดแบ่งงานและกลไกกระทรวงตามกลุ่มประชากร แต่มิได้จัดโครงสร้าง
และภารกิจโดยใช้ตามช่วงวัยเป็นตัวตั้ง จึงยังไม่ครอบคลุมงานที่เน้นการพัฒนาตามช่วงวัย
ทุ ก มิ ติ ร วมถึ ง เรื่ อ งการส่ ง ต่ อ งานที่ ส อดรั บ กั น ข้ อ จ ากั ด ของระบบราชการคื อ การ
ปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระทรวงเพื่อเกลี่ยตัวบุคคลหรือบุค ลากรให้ได้ตามโครงสร้างที่ปรับ
แล้ว แต่อาจมิได้เกลี่ยตามภารกิจช่วงวัย
• ในการพัฒนาคนตามช่วงวัย ประเด็นสาคัญที่ต้องมอง Cluster ให้ออกกว่า เด็กเล็กและ
ครอบครัวเป็นกลุ่มเดียวกัน งานเด็กของกรมกิจการเด็กและเยาวชนกับงานครอบครัวของ
กรมกิจการสตรีและครอบครัว จึงเป็นทางานกับคนกลุ่มเดียวกัน หรือเด็กแรกเกิดกับเด็ก
ที่อยู่ในครรภ์ในเรื่องของความเป็นพ่อแม่
• หากใช้ครอบครัวเป็นแกนในการพัฒนาคนตามช่วงวัย วัยเยาวชน วัยหนุ่มสาว ยังขาดการ
ทางานให้วัยดังกล่าวมีความรู้เกี่ยวกับครอบครัวเพียงพอ เช่น ในเรื่องการดูแลต่างๆ ใน
ส่วนของวัยแรงงานไม่มีกรมที่รับผิดชอบโดยตรง มีเฉพาะกลุ่มขาดโอกาส ส่วนเด็กและ
เยาวชนจะเน้นเรื่องสวัสดิการ ส่วนเรื่องพัฒนาการจะอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข
• การทางานพัฒนาคนทุกช่วงวัย ต้องมีความรู้วงจรชีวิตครอบครัว (Family Life Cycle)
สาคัญ การแบ่งตามช่วงวัยเป็นเรื่องที่ดี เป็นความรู้ เป็นการแบ่งเพื่อให้เห็นความเป็นจริง
ของพัฒนาการแต่ละช่วงวัย มีส่วนที่เราจะเข้าไปหนุนเสริม ทั้งเรื่องสาธารณสุข สวัสดิการ
และทางสังคม แต่การแบ่งให้เกิดการปฏิบัติจริง เป็นเรื่องท้าทายสาหรับ พม.
• การจัดโครงสร้างกระทรวงแบบเป็นแท่งแต่ละกรม อานาจหน้าที่จริงในระบบราชการ
ภารกิจงานที่เอื้อต่อการบูรณาการมีอยู่น้อยและตัวชี้วัดคนละตัวของแต่ละกรม กอง ไม่
เอื้อต่องานบูรณาการ
ข้อเสนอแนะ
• การทางานบูรณาการในระดับพื้นที่ เนื่องจาก พม. มีจานวนกรมค่อนข้างมาก เมื่องานใน
พื้นที่บางอย่างของกรมถูกส่งต่อไปให้พมจ. อาจมีช่องว่างด้านการบริหาร เพราะ พมจ.
ขึ้นต่อปลัดกระทรวงไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรม รวมทั้ง กรมต้องรับงานของแต่ละกรมไปปฏิบัติใน
พื้นที่ ซึ่งงานบริการส่วนใหญ่เป็นงานของท้องถิ่นซึ่งไม่ได้อยู่กับกรม หากกระจายอานาจ
ของกรมลงไปในพื้นที่มากขึ้นและให้บริหารจัดการเอง อาจจะประสบปัญหาในทางปฏิบัติ
• งาน Family Life Cycle ทาให้ แต่ล ะกรมเล็ กลงแล้ ว 1. ทางานนโยบาย 2. ควบคุ ม
มาตรฐาน 3. กระจายงานบริการไปสู่ ชุมชนให้ ประชาสังคมเป็นคนทา เปลี่ ยนระบบ
งบประมาณให้ประชาสังคมมาทางานบริการ โดยมอบอานาจและงบประมาณลงไปให้
๑๐๙
ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นจัดหน่วยบริการขึ้น ส่วน พม. ให้ความรู้เสริมศักยภาพของท้องถิ่น เพื่อ
พัฒนาให้เป็นผู้ให้บริการให้ได้มาตรฐาน เช่น นักสังคมประจาตาบล นักจิตวิทยาที่ใกล้ชิด
ชาวบ้ า น ยกตั ว อย่ า งงานบริ ก ารหลายประเภทต้ อ งลงลึ ก ถึ ง ตั ว ชาวบ้ า นและไม่ มี
วันหยุดราชการ เช่น งานดูแล care giver ผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งปัจจุบัน อสม. เป็นตัวหลัก
นอกจากนี้งานพัฒนาด้านสวัส ดิการและงานสังคมสงเคราะห์ ยังไม่มีงานที่ล งลึ กถึง ตัว
ชาวบ้าน
• กระทรวงต่ า งๆ กระจายงานให้ พื้ น ที่ ท ามากขึ้ น ซึ่ ง ก็ คื อ อปท. ประชาสั ง คม ชุ ม ชน
ชาวบ้าน ตัวอย่างของงานที่พื้นที่พัฒนาคุณภาพการให้บริการดีขึ้นเรื่อยๆ คนทางานใน
ท้องถิ่นมีความรู้และความชานาญมากขึ้นได้แก่ งานทางด้านสาธารณสุข โดยกระทรวง
สาธารณสุข ซึ่งเป็นกระทรวงเชิงเทคนิคเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งงานบริการได้ถูกถ่ายทอด
ลงไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล (รพสต.) เชื่อมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจา
หมู่บ้าน (อสม.) ส่วนมิติอื่นๆ ที่ยังขาดไป เช่น เรื่องการด้อยโอกาส ความเหลื่อมล้า ความ
เท่าเทียม เป็นส่วนสาคัญที่งานของ พม. จะเข้ามาทาให้เกิดความครบถ้วน
• Feedback จากผู้รับบริการโดยตรง ให้ชาวบ้านเกิดกระบวนการเรียนรู้ไปด้วยกัน และ
อาจให้ชาวบ้านในพื้นที่ประเมินผลการดาเนินงาน ซึ่ง Feedback จะพัฒนาระบบบริการ
จัดการให้ดีขึ้น
๑๑๐
5.1.20 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้อำนวยกำรโรงเรียนอนุบำลวัดธำตุทอง
การสัมภาษณ์เชิงลึก คุณธนาลัย (สุขพัฒน์ธี) ลิมปรัตนคิรี ผู้อานวยการโรงเรียนอนุบาลวัด
ธาตุทอง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กเล็ก 3-6 ปี
• เน้นการเรียนรู้โดยการเล่น (Play-Based Learning)
ในช่วงปฐมวัย เป็นช่วงสาคัญที่สุดในด้านการเรียนรู้ Mind- Based Learning ซึ่ง
เรียกว่า ฉันทศึกษา คือ การเรียนรู้ด้วยใจรัก จึงเป็นหลักเบื้องต้นที่สาคัญของเด็กในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี
มากที่สุด โดยโรงเรียนอนุบาลต้องทาให้เกิดการพัฒนาด้านร่างกาย การอยู่ร่วมกั น ความมั่นคงทางอารมณ์
และสติปัญญา ทาให้เกิดสมรรถนะด้านต่างๆ ครบทุกด้าน
สาหรับเด็กวัย 3-6 ปี การเล่นสาคัญที่สุด สนุก+ความสุข ศักยภาพในการเรียนรู้จะ
เพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กที่เครียด เด็กวัย 3-6 ปี ช่วงอนุบาล ต้องเน้นการเรียนรู้แบบ Play-Based Learning (PBL)
ซึ่งคือการเล่นที่มีเป้าหมายให้เด็กมีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ และมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ ไม่เน้นด้าน
วิชาการ เนื่องจากจะทาให้เด็กในช่วงแรกของชีวิตไม่มีความประทับใจในการเรียน เมื่อเติบโตขึ้น
PBL Play-Based Learning จึงเป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดในการปูพื้นฐานทางด้านต่างๆ
ให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพจากตัวเด็กเองที่พัฒนาขึ้นมาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวย จึงต้องมีการ
ออกแบบทั้งด้านกายภาพหรือสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเล่น
สนามเด็กเล่น ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญที่สุดที่จะช่วยพัฒนาเด็กวั ย 3-6 ปี รวมไปถึงกิจกรรมที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับ
ความต้องการของเด็กๆ และการใช้ชีวิตในโลกความเป็นจริง ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
คาว่า Kindergarten มาจากภาษาเยอรมัน Kinder แปลว่าเด็ก Garten แปลว่า
สวน คือ สนามเด็กเล่น ซึ่งเริ่มมาจากการก่อตั้งโรงเรียนที่เด็กเปรียบเหมือนต้นไม้และครูเปรียบเหมือนคนทา
สวนต้นไม้ โดยเน้นที่การ “เล่น” เพื่อพัฒนาเด็ก สนามเด็กเล่นของโรงเรียนอนุบาลวัดธาตุทอง จึงเป็นสนาม
เด็กเล่นที่ออกแบบมาอย่างดีเพื่อให้เด็กๆ ได้เล่นอย่างมีความสุข พัฒนาสมอง ความคิดสร้างสรรค์ และร่างกาย
สนามเด็กเล่นของโรงเรียน ออกแบบให้ มีต้นไม้ใหญ่ มีหอคอยทาด้วยไม้ มีเชือกปีนขึ้นไป มีสระว่ายน้า มี
เครื่องเล่น เน้นความเรียบง่ายสวยงาม ไม่มีสีฉูดฉาด และที่สาคัญคือความปลอดภัย
• กิจกรรมที่เด็กเลือกเอง
Project Approach คือ เน้นการลงมือทา โดยเด็กจะโหวตกันว่า เด็กอยากเรียน
เรื่องอะไร แต่ละห้องจะมีโครงการไม่เหมือนกัน โดยเด็กจะสรุปผลการทาโครงการในเวลา 3 สัปดาห์ มีการ
นาเสนอโครงงาน ถ้าเด็กเรียนด้วยความรัก จะทาได้ดี เช่น โครงการปั่นไอศกรีมเอง เด็กจะเรียนรู้เรื่องการทา
ให้น้าซึ่งเป็นของเหลวกลายเป็นน้าแข็ง ทาให้มีความอร่อยและนามารับประทาน โดยโครงการฝึกทาไอศกรีมให้
เด็กรับประทาน มีการนาไปให้ผู้ปกครองขายเพื่อนาเงินทุนมาหมุนเวียนสนับสนุนกิจกรรม นอกจากนี้ แหล่ง
เรียนรู้นอกโรงเรียนที่จัดให้กับเด็กได้เรียนรู้ ได้แก่ รอบๆ บริเวณวัดธาตุทอง และสถานที่อื่นๆ
๑๑๑
• การประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
การประเมินพัฒนาการเด็ก 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์
จิตใจและสติปัญญา โดยการจัดทาข้อมูลของผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็ก รวบรวมเป็นข้อมูลรายบุคคล
ว่าเด็กเกิดพัฒนาการ ความรู้ และมีความก้าวหน้าเพียงใด
• ลดช่องว่างในการได้รับการศึกษาที่ดีของเด็กที่มีครอบครัวฐานะดีกับเด็กที่ครอบครัว
ยากจนให้มากที่สุด
เปิดโอกาสให้เด็กในเข้าถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะเด็กที่ครอบครัวยากจน
เข้าถึงโรงเรียนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ทาให้เด็กมีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ได้ เด็กเล็กที่เข้ามาโรงเรียนวัดธาตุ
ทองจานวนมากเป็นเด็กเล็กที่ครอบครัวมีรายได้ปานกลางถึงยากจน ครอบครัวจะอยู่ในชุมชนรอบๆ วัด เช่น
ผู้ปกครองจานวนมาก มีอาชีพขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เด็กนักเรียนหลายคนเป็นลูกของแรงงานข้ามชาติที่เกิด
ในประเทศไทย มีบัตรประชาชนเลข 13 หลัก โดยเฉพาะแรงงานชาวพม่าและกัมพูชาที่เป็นคนงานก่อสร้างตึก
สูง คอนโดมิเนียม และทาอาชีพแม่บ้านของบ้านคนฐานะดีในย่านนี้ ซึ่งเป็นย่านถนนสุขุมวิท เป็นที่อยู่อาศัย
ของคนที่มีฐานะดี มีรายได้สูง
• การขยายผล
มีการเข้ามาดูงานจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ และต่างประเทศ ซึ่งเกิดเป็นต้นแบบ
ในการนาไปทา ยกตัวอย่างเช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มาดูงานเมื่อปี 2560 โดยในปี 2561
เกิดความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ที่นาโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดาเนินการจัดทาสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ อปท. จานวน 12 แห่ง
ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาเด็กเล็ก
ผู้ปกครอง
• จากประสบการณ์การทางาน อุปสรรคสาคัญของการพัฒนาเด็กคือผู้ปกครอง เช่น ความ
คาดหวังของผู้ ป กครองเมื่อส่ งเด็กเข้าโรงเรียนอนุบาลแล้ว ต้องการให้ อ่านออกเขียน
ได้มากเกินความจาเป็น และความคาดหวังอื่ นๆ ที่เป็นความต้องการของผู้ปกครองใน
ลักษณะด้านเดียว
• วินั ย ของผู้ ป กครอง เช่น ความตรงเวลาในการมารับเด็ก ควรเป็นตัว อย่างให้ แก่เด็ก
เนื่องจากเด็กวัย 3-6 ปีเป็นช่วงสาคัญที่สุดที่เด็กจะเก็บรับตัวอย่างที่พบเห็นจากพ่อแม่
ผู้ปกครอง และมีผลเมื่อเติบโตขึ้น
• การปลูกฝังเรื่องต่างๆ ที่สาคัญๆ ในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพให้แก่เด็กเล็กในวัย 3-6 ปี
จะมีผลต่อชีวิตของเด็กมากในอนาคต เช่น ปัญหาเกี่ยวข้องยาเสพติดรูปแบบต่างๆ เป็น
ต้น ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องให้ความสาคัญในการทางานกับเด็กเล็กในการ
ปลูกฝังในเรื่องสาคัญเหล่านี้
๑๑๒
หลักสูตร
• หลังจากช่วงอนุบาลแล้ว ในช่วงประถมศึกษา เริ่มมีการแยกเป็นรายวิชาซึ่งไม่ควรแยก
ขาดจากกัน ควรมีการเรียนการสอนที่วิชาต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกันหรือสอนไปด้วยกัน
ได้ เช่น การวิชาคณิตศาสตร์อาจสอนภาษาไปด้วยกัน เป็นต้น
• การผลิตครูมีลักษณะเป็นแท่ง กล่าวคือ ผู้ จบการศึกษาสู่อาชีพครู จะมีวิชาเอกเป็นความ
ชานาญเฉพาะด้านในด้านเดียวมากเกินไปซึ่งมักขาดความชานาญในด้านอื่นๆ
การบูรณาการในการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลวัดธาตุทอง
• ความร่วมมือกันของวัด ชุมชน และโรงเรียน โดยท่านเจ้าอาวาสวัดธาตุทองมอบที่ดินมา
เพื่อสร้างโรงเรียนอนุบาลโดยหวังว่าจะช่วยเหลือชุมชนและคนยากจนรอบวัดให้ได้รับ
การศึกษาที่มีคุณภาพ ด้วยงบประมาณที่จากัดทาให้ทุกคนช่วยกัน เช่น การทอดผ้าป่าแต่
ละปี วัด ชุมชน และผู้บริจาคเงินทาบุญ ซึ่งมีทั้งผู้ปกครองเด็กทั้งคนไทยและแรงงานข้าม
ชาติ และบุคคลภายนอก รวมทั้งมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาได้ออกแบบสนามเด็ก
เล่นของโรงเรียนให้ ที่สาคัญคือ การทางานให้คนเห็นผลงาน ทาให้คนเห็นว่า เราทาจริง
แล้วจะมีความช่วยเหลือเข้ามาเอง เช่น ผู้ปกครองช่วยทอดผ้าป่า หรือบางครั้ง โรงเรียน
ไม่มีคนตัดหญ้า ผู้ปกครองที่มีอาชีพรับจ้างตัดหญ้า ก็อาสามาตัดหญ้าให้โรงเรียนโดยไม่
คิดค่าแรง เป็นต้น
๑๑๓
5.1.21 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้อำนวยกำรมูลนิธิพัฒนำงำนผู้สูงอำยุ
การสัมภาษณ์เชิงลึก อาจารย์สว่าง แก้วกันทา ผู้อานวยการมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ เมื่อ
วันที่ 13 กันยายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่สรุปได้ดังนี้
ประเด็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์
• สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
- การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ของผู้สูงอายุยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอ ส่วนใหญ่
เป็ น กลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ที่ ด้ อ ยโอกาสในชนบท ในชุ ม ชนแออั ด ด้ า นการให้ บ ริ ก ารด้าน
สุขภาพ ผู้สูงอายุไม่ทราบว่า มีระบบอะไรบ้างในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่
เช่น ระบบดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) ในท้องถิ่นของ
สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบบผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ใน
แต่ละตาบล เป็นต้น
• สิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล
- ผู้สูงอายุมีข้อจากัดในการเข้าถึงสิทธิ เมื่อผู้สูงอายุขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จึงขาด
ความมั่นใจในการเข้ารับบริการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะครอบครัวที่อยู่กันลาพังตา
ยาย 2 คน ในหลายกรณี ผู้ สู งอายุลั งเลที่จะไปโรงพยาบาลเนื่องจากขาดคนพา
ตนเองไปและขาดความมั่นใจว่า เมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วกลับไปอยู่ที่บ้าน จะมี
ผู้มาดูแลตนเอง เช่น กรณีผู้ป่วยเรื้อรังที่นอนโรงพยาบาลยาวนาน ผู้สูงอายุไม่ทราบ
ว่า ในแต่ละตาบล มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care giver) อยู่ และไม่ทราบว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุ
ทางานอย่างไร
• ปัญหาความยากจนในชนบท
- ปัญหาความยากจนในชนบทส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้สูงอายุอย่างมาก ในชุมชนแออัด
ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนแออัดเป็นเวลายาวนาน ไม่มีลูกหลาน จึงทาให้ไม่ได้รับการ
ดูแลในด้านต่างๆ เลย
• ปัญหาการบูรณาการงานผู้สูงอายุ
- หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นผู้สู งอายุทางานแบบเป็นแท่ง กล่าวคือ
ภารกิจของหน่วยงานติดอยู่ในกรอบอานาจหน้าที่ที่กฎหมายกาหนดไว้ การทางาน
จึงแยกส่วนงานออกจากกันทั้งที่งานมีส่วนเกี่ยวข้องกัน และหน่วยงานราชการอยู่
ภายใต้การบั ง คับ บัญ ชาของหน่ว ยงานที่ มี อานาจบั ง คั บบั ญชาเหนื อ กว่ าต้ อ งท า
รายงาน จึงมุ่งทาผลงานเพื่อรายงานผลงาน และมีลักษณะแยกส่วน ไม่มุ่งไปที่การ
แก้ปัญหาหรือมุ่งไปที่ outcomes มากเท่าที่ควร
ข้อเสนอแนะ
• สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการรักษาพยาบาล
- เมื่อมีระบบการดูแลผู้สูงอายุในที่ท้องถิ่นแล้ว ต้องทาให้ผู้รับบริการรู้บทบาทและ
หน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุในแต่ละตาบล
๑๑๔
- สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ เช่น การเยี่ยมบ้านเชิงลึก
- แก้ปัญหาการเข้าถึงสิ ทธิ โดยนาอาสาสมัครเข้ามาช่วย ในพื้นที่จังหวัดเชีย งใหม่
มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุแก้ปัญหาโดยชวนคนมาเป็นอาสาสมัครทางานกับผู้สูงอายุ
ช่วยให้เข้าถึงแหล่งรักษาพยาบาลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น เช่น ครอบครัวที่อยู่ลาพัง
ตายาย 2 คนซึ่งมีข้อจากัดสูง ในเขตเทศบาลจังหวัดเชียงใหม่ ก็มีกลุ่มอาสาสมัครที่
อยู่ตามบ้าน เป็นคนช่วยเฝ้าติดตาม (Monitor) รวมถึงมีการเข้าไปช่วยเหลือด้าน
กายภาพ เช่น การซ่อมบ้านผู้สูงอายุ ซึ่งประสานงานมาทางมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ได้คุยกับชุมชนเพื่อชวนคนมาเป็นอาสาสมัครดูแล
ผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งไม่ขึ้นกับหน่วยงานราชการ และตั้งเป็นชมรมอาสาสมัครดูแล
ผู้สูงอายุ โดยจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ ซึ่งมีสิทธิในการเสนอขอ
งบประมาณจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดย
มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจัดอบรมให้ความรู้ในการทาโครงการของบประมาณ ซึ่งใน
ปัจจุบันได้รับทุนจากเทศบาล และ สปสช.
• บทบาทชมรมผู้สูงอายุ
- ชุมชน และภาคประชาชน เป็นแกนในการทางานผู้สูงอายุ โดยมชมรมผู้สูงอายุ มี
ส่วนสาคัญ เนื่องจากเป็นองค์กรที่ผู้สู งอายุมีส่ว นร่วม และมีจุดแข็งในการติดต่ อ
ประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ โดยอาจจะปรับเปลี่ยนให้มีการคิดนอก
กรอบมากขึ้น กล้าทาเรื่องใหม่ๆ เปลี่ยนแนวคิดการบริหารแบบ Top Down ใน
ลักษณะของระบบราชการ ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งชมรมผู้สูงอายุมีโอกาสที่
จะทาได้มาก
- กลไกที่น่าจะปรับเปลี่ยนอีกประการหนึ่งคือ ตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุ
ซึ่งกาหนดจากส่วนกลาง เป็นตัวชี้วัด ผลผลิตเป็นส่วนใหญ่ เช่น จานวนครั้งของการ
ประชุม จานวนผู้เข้าประชุม แต่ไม่เน้นการวัด ผลลัพธ์หรือผลกระทบต่อผู้สูงอายุ
หรื อการเปลี่ ย นแปลงทางสั งคม (Social Change) ยกตัว อย่างเช่น ตัว ชี้วัดของ
ชมรมผู้สูงอายุอาจจะเป็น Active Aging คือ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพไปช่วยผู้สูงอายุที่
ด้อยโอกาส เป็นต้น
ทั้งนี้ เราเชื่อว่าผู้สูงอายุเป็นพลังของสังคม ไม่ใช่ภาระของสังคม ทุกวันนี้ ผู้สูงอายุ
รู้สึกถดถอย อีก 10 ปีข้างหน้า คนเกษียณอายุ 60 ปี 65 ปี 70 ปี ก็ยังทางานได้อยู่ ควรเน้นการเปิดโอกาส
ให้ทางานได้ตามสมัครใจ ไม่เฉพาะงานที่เกิดรายได้เท่านั้น งานที่ ทาเพื่อสังคมเป็นสิ่งสาคัญ บทบาทของชมรม
ผู้สูงอายุในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาสจึงเป็นบทบาทที่สาคัญอันดับต้นๆ
• สภาผู้สูงอายุ
- สภาผู้สูงอายุมีบทบาทสาคัญ หากสภาผู้สูงอายุมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีนโยบาย มี
กลยุทธ์ในการพัฒนาในการพัฒนาผู้สูงอายุจะทาให้ชมรมผู้สูงอายุทางานเชิงรุกมาก
ขึ้ น และสภาผู้ สู ง อายุ ส นั บ สนุ น การท างานตามความต้ อ งการของชมรม เช่ น
สนั บ สนุ น การ Coaching ในการด าเนิ น งานโรงเรี ย นผู้ สู ง อายุ พั ฒ นาโรงเรี ย น
ผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ กิจกรรมที่เคารพผู้สูงอายุ มี
๑๑๕
ความระมัดระวังเรื่องรูปแบบการดาเนินงานที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุในการ
เข้ามาในโรงเรียน และทาให้มีความแตกต่างจากรูปแบบโรงเรียนเด็กนักเรียนของรัฐ
- แก้ปัญหาหรือข้อจากัดเพื่อทาให้ผู้สูงอายุออกมามีส่วนร่วมมากขึ้นในกิจกรรมของ
ชมรมผู้สูงอายุ เช่น การออกกาลังกาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน มีปัญหา
ทางเศรษฐกิจ ต้องทางานหาเลี้ยงชีพ และกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วย เป็นต้น
ทั้งนี้โดยเปรียบเทียบ คนพิการที่ทางานองค์กร ส่วนใหญ่เป็นคนพิการที่รู้ปัญหาเป็น
อย่างดี และเคยมีประสบการณ์พยายามแก้ ปัญหา ส่วนงานผู้สูงอายุ แกนนาเป็นผู้ที่
ไม่ ค่ อ ยมี ปั ญ หา จึ ง ไม่ ค่ อ ยเน้ น การแก้ ปั ญ หาให้ แ ก่ ก ลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ที่ ย ากล าบาก
เท่าที่ควร
• การบูรณาการ
- ใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง ในส่วนของหน่วยงานราชการ เปลี่ยนฐานคิดจาก Activities
base คิดกิจกรรมเพื่อของบประมาณ เป็น Problem Based กิจกรรมจะแตกต่าง
ออกไป ควรเปลี่ยนเป็นเอาปัญหาเป็นตัวตั้งแล้วให้ผู้สูงอายุคิดเองว่าจะเอากิจกรรม
ใดไปทา
- ในบางกรณี ท้ อ งถิ่ น ถู ก จ ากั ด การท างานในการช่ ว ยเหลื อ ผู้ สู ง อายุ เช่ น กรณี
หน่วยงานตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ มีความเข้มงวดมากในลักษณะที่ทาให้
การช่วยเหลือที่จาเป็นบางอย่างของผู้สูงอายุไม่สามารถทาได้ เนื่องจากถูกจากัดใน
ลักษณะแคบว่าไม่ใช่อานาจหน้าที่ของท้องถิ่น
• ข้อเสนอแนะอืนๆ
ปรับปรุงศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ในแง่ของทาให้
ผู้สูงอายุเข้าไปใช้มากขึ้น
๑๑๖
5.1.22 สรุปประเด็นสำคัญจำกกำรสัมภำษณ์ หัวหน้ำโครงกำรวิจัยที่ได้รับงบประมำณ
สนับสนุน
การสัมภาษณ์เชิงลึก รศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการส่งเสริมศักยภาพศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนเพื่อสร้างความ มั่นคงใน
ชีวิต ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนภายใต้แผนบูรณาการฯ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 มีประเด็นสาคัญที่
สรุปได้ดังนี้
การดาเนินงานโครงการภายใต้แผนที่ผ่านมา
• โดยภาพรวมเจ้าภาพหลัก พม. และทีมเลขาฯ ร่วมทาการขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ นี้
ได้ดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับแผนบูรณาการอื่นๆ
• อย่างไรก็ตามยังพบว่าโดยภาพรวมกรอบเป้าหมายของแผนบูรณาการในแต่ล ะปียัง
ขาดความชัดเจนและไม่มีการจัดลาดับความสาคัญก่อนหลัง
• นอกจากนั้ น นิ ย ามช่ว งวัยที่ใช้ในการตีกรอบเพื่อของบประมาณค่อนข้างแคบ บาง
โครงการสามารถเกิดผลสัมฤทธิ์ได้กับคนหลายช่วงวัย แต่เวลาส่งข้อเสนอโครงการ
จะต้องเลือกส่งในวัยใดไว้หนึ่งเท่านั้น ในอนาคตควรจะต้องมีการจัดลาดับความสาคัญ
ของโครงการที่จะได้รับงบประมาณ โดยโครงการใดสามารถการตอบตัวชี้วัดหลายๆ
ตัวได้พร้อมกัน และเกิดผลสัมฤทธิ์มากกว่าหนึ่งช่วงวัยควรได้รับการพิจารณาก่อน
• นอกจากนั้ น ยั งพบว่าการจ่ายเงินงบประมาณที่ไ ด้รับให้ กับหน่ว ยงานสนับสนุ น ไม่
สามารถทาได้โดยตรง ทาให้การบูรณาการไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร
• นอกจากนั้นปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างที่ล่าช้าไม่คล่องตัว
จากหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งไม่เอื้ออานวยกับการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนบูรณา
การ
ข้อเสนอแนะ
• เพื่อให้การจ่ายเงินงบประมาณกับหน่วยงานสนับสนุนทาได้อย่างรวดเร็ว ในอนาคต
อาจพิจารณาปรับแก้ระเบียบโอนเงินข้ามหน่วยงาน โดยให้สามารถเบิกตัดตรงในส่วน
ทีห่ น่วยงานต้องรับผิดชอบได้เลย
• เจ้าภาพหลักและฝ่ายเลขาฯ ควรมีความชัดเจนที่มากขึ้นเกี่ยวกับเป้าหมายของแผน
บู ร ณาการฯ ในแต่ล ะปีและแต่ล ะช่ว งวัย และควรพิจารณาตั้งเกณฑ์เพื่อจัดล าดับ
ความสาคัญก่อนหลังของโครงการที่จะได้รับการพิจารณางบประมาณ
ปัจจัยที่กาหนดความสาเร็จ
• หัวหน้าโครงการนับว่ามีความสาคัญมากต่อความสาเร็จในการบูรณาการเนื่อ งจาก
จาเป็นจะต้องรอบรู้ระเบียบด้านการเงินของหน่วยงานอื่นๆ ที่มีการบูรณาการร่วมกัน
และยังต้องมีศักยภาพในการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานอีกด้วย
๑๑๗
5.2 สรุปประเด็นสาคัญจากการจัดประชุมระดมความคิดเห็น
ในส่วนนี้ได้ทาการสรุปประเด็นสาคัญจากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อติดตามประเมินผลการ
ดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ความสาคัญของแผนบูรณาการ
1.1 การให้ความสาคัญของฝ่ายนโยบาย
• ผู้บริหารในกรมกองให้ความสาคัญกับแผนบูรณาการ มีการกระจายงานให้หน่วยงาน
ย่อยๆ ตามพื้นที่
1.2 ความชัดเจนของเป้าหมายร่วมกันของแผนบูรณาการ
• แผนบูรณาการมีความสาคัญ โดยเฉพาะในด้านการทาให้เห็นเป้าหมายใหญ่ร่ว มกัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผ่านมาคือโครงการยังไม่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายใหญ่ของ
แผนบูรณาการได้ เนื่องจากตัวชี้วัดของโครงการมักเป็นตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output)
ของโครงการ ไม่สามารถเชื่อมโยงและรวมกันเพื่อไปตอบเป้าหมายระดับผลลัพธ์และ
ผลกระทบได้
• นิยามของคาว่า “แผนบูรณาการ” ยังไม่ชัดเจน ทาให้การกาหนดเป้าหมาย โครงการ
และบทบาทของผู้ดาเนินงานยังไม่ชัดเจน เช่น อาจจะต้องมีการนิยามว่าการบูรณาการ
คืออะไร เป็นการทางานร่วมกัน หรือ การมองเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งอาจจะทาให้การ
กาหนดรูปแบบโครงการแตกต่างกัน
• ที่ผ่านมาเป้าหมายยังไม่ชัดเจนกับการบูรณาการ ส่วนใหญ่เป็นเป้าหมายของงานเชิง
ฟังก์ชัน
• ในแต่ละกลุ่มเป้าหมายอาจจะต้องมีโครงการใหญ่สาคัญเพื่อนาไปสู่การบรรลุเป้าหมาย
โดยอาจจะต้องพิจารณาถึงปัญหาแล้วหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
• การจะกาหนดโครงการและเป้าหมายควรใช้ปัญหาของประเทศมาเป็นตัวตั้ง แล้วเอาแต่
ละช่วงวัยมาวิเคราะห์ใน Agenda เดียวกัน เช่น ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น นามาเป็น
Agenda แล้วพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาแต่ละช่วงวัยอย่างไร อาจจะต้องแก้ปัญหาตั้งแต่
วั ย เด็ ก วั ย เรี ย น จนถึ ง วั ย รุ่ น ซึ่ ง การวางเป้ า หมายชั ด เจนจะท าให้ แ นวทางการ
ดาเนินงานชัดเจน บทบาทก็จะชัดเจน ผู้บริหารจะเห็นประโยชน์ของแผนบูรณาการ
และทาให้เกิดการบูรณาการทางความคิดและดาเนินงานร่วมกัน
1.3 การมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนบูรณาการ
• ปัญหาสาคัญประการหนึ่งคือเวลาที่ใช้ในการจัดทาข้อเสนอโครงการและงบประมาณ
มั ก จะกระชั้ น ชิ ด มี เ วลาเตรี ย มตั ว ไม่ ม ากนั ก อย่ า งไรก็ ต าม แต่ ล ะฝ่ า ยสามารถ
เตรียมพร้อมล่วงหน้าได้ โดยการศึกษายุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งตัวชี้วัดตามแผนจะเป็นตัวชี้วัดหลักในการถ่ายทอดมาจนถึง
๑๑๘
เป็นตัวชี้วัดหลักของแผนบูรณาการและเกณฑ์หลักในการพิจารณาอนุมัติโครงการ
• แผนบู ร ณาการมีวิวัฒ นาการที่ดี ขึ้น ในแต่ล ะปี เนื่องจากได้เรียนรู้ จากประสบการณ์
ร่วมกัน จึง มีการปรับตัวของการดาเนินงานของฝ่ายต่างๆ และมีโครงการที่ชัดเจนมาก
ยิ่งขึ้น การได้รับความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ จะช่วยให้แผนบูรณาการมีความสมบูรณ์มาก
ยิ่งขึ้นทุกปี
1.4 ความเหมาะสมของการกาหนดตัวชี้วัด
• การกาหนดตัวชี้วัดควรมีการถ่ายทอดให้มีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากบางตัวชี้วัดมี
ความเป็ น นามธรรมมากเกิ น ไป ท าให้ ต อบโจทย์ แ ละประเมิ น ผลได้ ค่ อ นข้ า งยาก
นอกจากนี้ ควรมีการระบุกรอบใหญ่ให้ชัดว่า เนื้องานที่บูรณาการระหว่างหน่ว ยงาน
ต่างๆ มีเนื้องานใดบ้างและมีหน่วยงานใดบ้างที่บูรณาการกันอยู่ เพื่อให้เห็นภาพชัดและผู้
เสนอโครงการสามารถเห็ น ภาพและสามารถเสนอโครงการที่ ไ ม่ ซ้ าซ้ อ น และช่ ว ย
สนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
1.5 ความสอดคล้องของงบประมาณกับเป้าหมาย
• กลไกการให้งบประมาณ ควรมีการให้งบประมาณอย่างต่อเนื่อง เช่น 3 ปี โดยควรใช้
กระบวนการกลั่นกรองครั้งแรกที่เข้มงวดมาก เพื่อให้ได้โครงการที่น่าจะสร้างผลกระทบ
ใหญ่ได้ จากนั้นให้งบประมาณต่อเนื่อง 3 ปี แล้วจึงประเมินผล จะทาให้สามารถวัด
ผลลั พธ์ที่ชัดเจนได้มากขึ้นและโครงการที่ผ่ านการกลั่ นกรองจะได้งบประมาณอย่าง
ต่อเนื่อง ไม่ต้องของบประมาณปีต่อปี
• ควรมีการกาหนดหลักเกณฑ์การพิจารณางบประมาณให้สอดคล้องกับแผนบูรณาการ
และมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการที่ชัดเจน เนื่องด้วยที่ผ่านมาหลายโครงการไม่
ผ่านเกณฑ์ เพราะไม่อยู่ในฐานงบประมาณซึ่งจะอิงตามงานฟังก์ชัน หรือ Project base
ซึ่งหากโครงการที่ไม่ใช่งานฟังก์ชันมักจะไม่ผ่านการพิจารณา ปัจจุบันงบประมาณในแผน
บูรณาการกว่าร้อยละ 70 เป็นงบของโครงการฟังก์ชัน เช่น เงินอุดหนุนนมโรงเรียน เป็น
ต้น
1.6 ความพร้ อ มในกลไกสนั บ สนุ น (อาทิ ระบบการติ ด ตามและประเมิ น ผล ระบบ
ฐานข้อมูล)
• ที่ผ่านมา ยังขาดกลไกการสนับสนุนที่เพียงพอ ทั้งด้านฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่ควร
มีการแบ่งปันหรือแชร์กันในอนาคต และกลไกการประเมิน ที่ยังขาดระบบการประเมินที่
ชัดเจน การประเมินแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยในครั้งนี้ถือเป็นความริเริ่มที่
ดีมาก และควรทาต่อเนื่องไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม ควรมีการประเมินผลที่ทันต่อ
เหตุการณ์มากขึ้น นอกจากนี้ โครงการทางสังคมอาจใช้เวลา 3-5 ปีในการเห็นผลลัพธ์
จริ งๆ การประเมิน ปี ต่อปีอาจไม่ส ามารถเห็ นผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนได้ อีกทั้งบาง
โครงการไม่ได้งบประมาณต่อเนื่อง ทาให้ไม่สามารถสร้างผลลัพธ์และผลกระทบให้เกิดขึ้น
ได้
๑๑๙
2. การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ
2.1 ผลการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
• ที่ผ่านมาหลายโครงการเป็นการนาเอางานฟังก์ชันมารวมในแผนบูรณาการ ทาให้การ
ดาเนินงานยังมีลักษณะต่างคนต่างทา
2.2 บทบาทของพื้นที่และท้องถิ่น
• หลายโครงการเริ่มมีการบูรณาการตามเป้าประสงค์ของแผนบูรณาการสู่พื้นที่ แต่ยังไม่
สมบูรณ์เนื่องจากบางงานเป็นงานนอกฟังก์ชันงาน ผู้ดาเนินงานจึงไม่สามารถทางานได้
อย่างเต็มที่
2.3 ความพร้อมของบุคลากร
• ผู้ดาเนินการโครงการหรือผู้ขอทุนควรมีความพร้อม สามารถตอบได้ว่าโครงการตอบโจทย์
อะไร มีผลกระทบอย่างไร มีข้อมูลสนับสนุน เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการสามารถมีข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบการอนุมัติโครงการได้
2.4 การติดตามระหว่างการขับเคลื่อนแผน
• ควรมีกลไกการประเมินโครงการอยู่ในกระบวนการดาเนินโครงการ อาทิ กรณี สวทช. มี
การประเมินผลกระทบของโครงการ เพื่อให้ทราบว่าการลงทุนในโครงการต่างๆ มีผลกระทบ
มากน้อยเพียงใด ทาให้สามารถขยายผลได้ในอนาคตและทาให้ได้รับการสนับสนุนในอนาคต
ได้ง่ายขึ้น
• ควรมี ค ณะกรรมการที่ ม าจากฝ่ า ยเลขาฯ ที่ ร่ ว มขั บ เคลื่ อ นแผนฯ คอยติ ด ตามการ
ดาเนินงานโครงการต่างๆ ที่ได้รับงบประมาณภายใต้แผนบูรณาการฯ ตั้งแต่ช่วงเริ่มโครงการ
ระหว่างดาเนินการ และช่วงสิ้นสุดโครงการ
2.5 กลไกการปรับแผน (rolling plan)
• ข้อมูล ที่ใช้ในการประเมินบางตัว เลขยังไม่เป็นปัจจุบันนัก เช่น โครงการของกรมการ
ศาสนาใช้ข้อมูลไตรมาส 3 ทาให้ตัวเลขการประเมินการเบิกจ่ายงบประมาณต่ากว่าความเป็น
จริง จึงควรใช้ข้อมูลไตรมาสที่ 4 แทน
• บางโครงการไม่อยู่ใน 75 โครงการที่ประเมิน ทั้งที่มีตัวเลขต่างๆ ครบถ้วน (อาทิ โครงการ
ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์) ทาให้ไม่แน่ใจว่าเอกสารหรือ
ข้อมูลตกหล่นไปตรงจุดไหน ทั้งที่ โครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีหากมีการนา
ข้อมูลไปประเมิน
• การของบประมาณ เมื่อไม่ผ่านการอนุมัติ มักไม่ทราบว่าไม่ผ่านการอนุมัติด้วยเหตุผลใด
ทาให้ไม่สามารถเรียนรู้ ได้ว่าโครงการมีข้อผิดพลาดประการใด ในอนาคตควรมีการสื่ อสาร
๑๒๐
ชี้แจงให้เหตุผลด้วยว่าโครงการไม่ผ่ านการพิจารณาให้ งบประมาณด้วยเหตุผลใดบ้าง ใช้
เกณฑ์ใดบ้างในการพิจารณา เพื่อนาไปปรับปรุงในอนาคต
• แบบฟอร์มในการประเมินโครงการมีความแตกต่างกันในแต่ละปี และแต่ละหน่วยงาน
หากเป็นไปได้ควรมีการมีแบบฟอร์มและหัวข้อประเมินโครงการที่ชัดเจนตั้งแต่ต้น และไม่
เปลี่ยนแปลงบ่อย อีกทั้งในอนาคต ควรมีการทาระบบการประเมินผลออนไลน์ (E-report)
เพื่อให้ทราบถึงหัวข้อการประเมินและสามารถเตรียมข้อมูลเพื่อตอบการประเมินได้
• ปัญหาอุปสรรคด้านการสื่อสาร เนื่องจากขาดการสื่อสารแบบสองทาง เวลาประสบปัญหา
ในกระบวนการต่างๆ ไม่มีแหล่งข้อมูลหรือผู้ประสานงานที่ชัดเจนในการสอบถาม ทั้งในด้าน
การขอทุน การดาเนินโครงการ และการใช้งบประมาณ ดังนั้น ในอนาคตจึงควรมีการจัดทา
คู่มือในด้านต่างๆ และมีการระบุผู้ประสานงานเพื่อให้สามารถพูด คุยซักถามได้ รวมทั้งควรมี
การจัดเวทีเสวนาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในลักษณะนี้และถามตอบกันในผู้มีส่วนร่วม
ในโครงการบูรณาการเป็นระยะๆ
3. บทเรียนและข้อเสนอแนะ
3.1 ข้อจากัด ปัญหา และอุปสรรค
• ต้องเสนอโครงการเพื่อของบประมาณในเวลากระชั้นชิดซึ่งการคิดและเสนอโครงการที่
เร่งด่วนทาให้ต่างคนต่างคิด
• ไม่มีช่องทางถ่ายโอนงบประมาณให้หน่วยงานย่อยๆ
• โครงการเกี่ยวกับการก่อสร้างและการเปลี่ยนแปลงของราคาวัสดุมักมีปัญหากับ
งบประมาณ
• การรายงานผลต้องทาการรายงานหลายแห่ง ซ้าซ้อน ทั้งต้องรายงานเจ้าภาพ รายงาน
หน่วยงานที่บังคับบัญชา และรายงานผู้ตรวจสอบ
3.2 ตัวอย่างโครงการที่ประสบความสาเร็จและปัจจัยแห่งความสาเร็จ
• โครงการอบรมเพื่ อ ดู แ ลผู้ สู ง อายุ ได้ รั บ การช่ ว ยเหลื อ ค่ า อาหารกลางวัน จาก อปท.
โครงการที่ทาขับเคลื่อนไปได้เพราะเป็นการนาเอาความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่มีมาใช้
งาน กลไกที่ใช้ขับเคลื่อนคือ MOU โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
• โครงการในแผนบู ร ณาการที่เห็ นผลงานชัดเจน เช่น การฝึ กอาชีพกลุ่ มเฉพาะให้ กั บ
แรงงานนอกระบบ คนพิการ ทหาร นักโทษ เป็นต้น ตัวอย่างการฝึกนักโทษ มีการบูรณา
การร่วมกับทัณฑสถาน กระทรวงยุติธรรม
3.3 ความท้าทายในอนาคต (เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูป ฯลฯ)
• ควรมีการพิจารณาการบูรณาการการพัฒนาคนกับแผนยุทธศาสตร์ชาติให้มากขึ้น
3.4 ข้อเสนอแนะ (เชิงนโยบายและการปฏิบัติ)
• ในกระบวนการประเมินในครั้งนี้ อยากเห็นภาพว่าการดาเนินโครงการทั้งหมดในแต่ละช่วง
๑๒๑
วั ย ตอบโจทย์ ใ หญ่ ม ากน้ อ ยเพี ย งใด เนื่ อ งจากตอนนี้ ม องเห็ น พอสมควรว่ า ผลผลิ ต ของ
โครงการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ทาได้มากน้อยเพียงใด แต่ยังขาดภาพที่เชื่อมโยงไปที่เป้าหมาย
ของแผน ทั้งนี้ ควรนาเสนอผลลัพธ์หรือตัวชี้วัดใหญ่ของแผนบูรณาการด้วย โดยประเมินใน
เชิงคุณภาพประกอบว่าผลลัพธ์ที่ได้มีมากน้อยเพียงใด โดยเข้าใจได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจ
เกิดจากหลายปัจจัย แต่อย่างน้อย ก็จะให้ภาพกับผู้บริหารได้ว่า การดาเนินโครงการมีส่วนต่อ
ผลลัพธ์ใหญ่ที่ดีขึ้นหรือแย่ลงมากน้อยเพียงใด มีช่องว่างมากน้อยเพียงใด และจะต้องทาอะไร
เพิ่มเติมในอนาคต
• ในอนาคต นอกจากประเมินจากผู้ดาเนินโครงการแล้ว ควรประเมินจากประชาชนที่ใช้
บริการของโครงการด้วย ว่ามีความพึงพอใจหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ มากน้อย
เพียงใด
• ควรเปิ ดช่องให้ ท างฝ่ ายพื้น ที่เสนอโครงการที่เ สริม เติ ม กั บ กรอบใหญ่ ของแผนได้ ด้ ว ย
เนื่ องจากพื้น ที่จ ะเห็ น รายละเอียดหรื อลั กษณะเฉพาะของพื้นที่ มากกว่าฝ่ ายนโยบายใน
ส่วนกลาง อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อเสนอว่าในส่วนของพื้นที่ สามารถขอโครงการและงบประมาณ
สนับสนุนได้จากแผนภาค 6 ภาค ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาในเชิงพื้นที่ (Area) เป็นสาคัญ ในขณะ
ที่แผนบูรณาการให้ความสาคัญกับวาระ (Agenda) เป็นหลัก
• ในอนาคต ควรมีการนา Big Data ของแต่ละหน่วยงานมาแชร์และเชื่อมโยงกัน จะช่วยให้
สามารถดาเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น เช่น กรณีเด็ก มีฐานข้อมูล Big
Data ที่ดีของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่ปัจจุบันยังแยกส่วนกันอยู่ หากแชร์ฐานข้อมูล
กันจะทาให้การดาเนินโครงการบูรณาการสามารถสร้างผลกระทบที่สาคัญได้
• ควรมีการสร้างบุคลากรที่มีความเข้าใจถึงการบูรณาการอย่างถ่องแท้ ทั้งในระดับผู้บริหาร
และผู้ปฏิบัติการในพื้นที่จริง
• ควรมีกระทรวงต่างๆ เป็นเจ้าภาพรองในแต่ละกลุ่มช่วงวัย แล้วทาแผนคู่ขนานตามแผน
ใหญ่ และแบ่งบทบาทหน้าที่ของเจ้าภาพหลักและรองที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นเป้าหมายและ
ความคืบหน้าในระยะยาวอันจะนามาปรับปรุงแผนในปีต่อๆ ไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้ง
ไว้ในแผนใหญ่
• ควรมีการพัฒนาระบบการติดตามและรายงานผลการดาเนินงานแบบ Real Time โดย
ผู้ปฏิบัติงานสามารถคีย์ข้อมูลได้โดยไม่ต้องมีการส่งหนังสือราชการติดตาม และผู้บริหาร
สามารถเปิดดูสรุปรายงานผลการดาเนินงานได้ตลอดเวลา
๑๒๒
5.3 สรุปประเด็นสาคัญจากการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน
5.3.1 กำรลงพื้นที่ศึกษำดูงำนโรงเรียนผู้นำสูงวัย อบต.ท่ำงำม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงพื้นที่
1) นายฐิติพงษ์ ศักดิ์ชัยสมบูรณ์ นายก อบต.ท่างาม
2) นายชินวุฒิ อาศน์วิเชียร ผู้อานวยการกองสวัสดิการ อบต.ท่างาม
3) นางเสาวนิต โกสุมา ผู้อานวยการ ร.ร.ผู้นาสูงวัย อบต.ท่างาม
4) นางขนิษฐา เทียนไชย ครูจิตอาสา ร.ร.ผู้นาสูงวัย อบต.ท่างาม
5) นางสาวโสภิต ภู่สุวรรณ์ ครูจิตอาสา ร.ร.ผู้นาสูงวัย อบต.ท่างาม
6) นายนริศ เทียนไชย ครูจิตอาสา ร.ร.ผู้นาสูงวัย อบต.ท่างาม
7) นางลัดดา สุทนต์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สป.พม.
8) นางสาวอัจฉริยา บ่อแร่ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สป.พม.
9) นายอัสฮา การี กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สป.พม.
10) ดร.สมหมาย อุดมวิฑิต ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ม.เกษตรฯ
11) นางสาวประกาย ธีระวัฒนากุล ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ม.เกษตรฯ
12) นายธราธร รัตนนฤมิตศร Thailand Future Foundation
13) นางสาวศิวพร พิพิธภักดี ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ม.เกษตรฯ
ภาพรวมของโรงเรียนผู้นาสูงวัย อบต.ท่างาม
โรงเรียนผู้นาสูงวัย อบต.ท่างาม ปัจจุบันดาเนินงานเป็นรุ่นที่ 2 โดยรุ่นที่ 1
ได้รับเงินทุนในการจัดตั้งเป็นโครงการนาร่องจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และรุ่น
ที่ 2 ได้รับเงินสนับสนุนจาก สสส. และ สปสช. โดยในรุ่นที่ 1 มีนักเรียนในรุ่น รวม 30 คน และรุ่นที่ 2 มี
นักเรียนจานวน 35 คน เงื่อนไขในการสมัครเข้าเป็นนักเรียน คือต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และสามารถ
เดินทางมาร่วมกิจกรรมที่อบต.ท่างามได้ด้วยตนเอง ระยะเวลาหลักสูตร คือ 1 ปี โดยรุ่นที่ 2 จะจบการศึกษา
ในเดือนมีนาคม 2562
วัตถุประสงค์ของโรงเรียนผู้สูงอายุ คือ
1.พัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแล คุ้มครอง สิทธิผู้สูงอายุ
3.เสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
4.ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม
๑๒๓
5.เสริมสร้างศักยภาพ คุณค่าภูมิปัญญาผู้สูงอายุ
6.ส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ดารงสืบสานต่อไป
การเรียนการสอนในโรงเรียนผู้นาสูงวัย จะจัดกิจกรรมในทุกวันศุกร์ ช่วงเช้า
โดยกิจกรรมจะเริ่มที่ประมาณ 8.00 น. นักเรียนผู้สูงอายุ จะเริ่มกิจกรรมจากการสวดมนต์ ทาสมาธิ การออก
กาลังกายและสันทนาการ การรับฟังบรรยายเรื่องราวความรู้ต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการดารงชีพ และช่วงท้าย
ของกิจกรรมจะเป็นการฝึกเชิงปฏิบัติการร่วมกันเช่น การหัดทาอาหาร ทาขนม การฝึกนวด การทาลูกประคบ
เป็ น ต้น ซึ่งในการเรี ย นการสอนจะมีการกาหนดคะแนนการเข้าชั้นเรียน เพื่อให้ ผู้ สู งวัยได้มาทากิจกรรม
ครบถ้วนอย่างต่อเนื่อง
หลักสูตรการเรียนการสอนจะเป็นการพัฒนาให้ผู้สู งวัยที่สาเร็จการศึกษา
จากรุ่นก่อนหน้า ซึ่งปัจจุบันคือรุ่นที่ 1 สามารถเป็นผู้ฝึกสอนให้กับรุ่นที่ 2 ได้ โดยในด้านความรู้ทางวิชาการ
จะคัดเลือกนักเรียนที่จบการศึกษารุ่นที่ 1 ที่เป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ทางวิชาการ เช่นเป็นข้าราชการ
เกษียณอายุที่เคยเป็นครูอาจารย์มาก่อน มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ทางวิชาการด้านต่างๆ
ในด้านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ บางครั้ง จะมีการเชิญวิทยาการภายนอกผู้มี
ความรู้ความสามารถเช่นการเชิญผู้แทนจากสาธารณสุขมาเป็นวิทยากรในการฝึกต่างๆ นอกจากนั้น ในบาง
กิจกรรมจะมีการเลือกผู้มีความเชี่ยวชาญภู มิปัญญาต่างๆในท้องถิ่นมาเป็นผู้นาการฝึกปฏิบัติเช่นการทาขนม
การทาอาหาร การสานกระเป๋า ซึ่งการฝึกกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น จะมีความเหมาะสมกับวิถีชีวิต
ของผู้สูงวัยในพื้นที่มากกว่าการเชิญวิทยากรจากภายนอก
กิจกรรมทั้งหมดในหลักสูตรโรงเรียนผู้นาสูงวัย ในปัจจุบัน จะยึดตามหลัก
5อ 5ก ซึ่ง 5อ มาจาก อาหาร อาชีพ ออกกาลัง ออม และอาสา ในขณะที่ 5ก คือ 1.การป้องกันและลด
อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ 2 การตั้งและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ 3.การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ 4.การดูแลต่อเนื่องที่
บ้าน 5. การบริการกายอุปกรณ์ นอกจากนั้นในช่ วงปลายปีการศึกษาจะมีการตรวจวัดสุขภาพของนักเรียนผู้
สูงวัย เพื่อวัดผลการฟื้นฟูสุขภาพจากการร่วมกิจกรรมตลอดปีที่ผ่านมา
ความสาเร็จของโรงเรียนผู้นาสูงวัย อบต.ท่างาม
ในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
ประจาตาบลท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี โดยความร่วมมือระหว่าง อบต.ท่างามและกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นศูนย์ในการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงวัยและกิจกรรมต่างๆที่ส่งเสริมการ
ดารงชีพของผู้สูงวัยในท้องถิ่น
ในด้านบุคลากร ได้มีการพัฒนาผู้สูงวัยที่มีความพร้ อมและมีประสบการณ์
เป็นผู้นาในการฝึกฝนการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆให้แก่ผู้สูงวัยในท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น
คณะกรรมการผู้ดาเนินงานใน อบต. ได้มีการจัดตั้งกองทุนต่างๆ เพื่อนา
เงินทุนที่ได้ไปต่อยอดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงวัยและผู้ขาดโอกาสในท้องถิ่น เช่นการ
ปรับพื้นที่อาคารและที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงวัย การจัดกิจกรรมพาแพทย์และพยาบาลเข้าไป
ดูแลตรวจสุขภาพและแนะนาการปรับการใช้ชีวิตความเป็นอยู่แก่ผู้ป่วยติดเตียง
๑๒๔
ความสาเร็จอีกประการ คือ ผู้สูงวัยในพื้นที่มีความสนใจจะเข้าเป็นนักเรียน
ในโรงเรียนผู้สูงวัยอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนรุ่นปัจจุบันที่อยู่ระหว่างการศึกษา มีความสุขมากขึ้นในการ
ดารงชีวิตจากการได้มีกิจกรรมและพบปะเพื่อนทุกสัปดาห์ สร้างความกระฉับกระเฉงให้แก่ผู้สูงวัย และได้
เพิ่มพูนความรู้ในการดารงชีพและการประกอบอาชีพรวมทั้งสามารถนาประสบการณ์ไปสอนแก่ผู้อื่นๆ ต่อไปได้
ปัญหาและแนวทางแก้ไข
คณะกรรมการผู้ดาเนินงานโรงเรียนผู้นาสูงวัย ได้วางแผนในการรักษาให้
โรงเรียนผู้สูงวัย ยังคงดาเนินการอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี โดยกระบวนการหนึ่งคือการดูแลกองทุ นที่จัดตั้งขึ้นมา
รวมทั้งเงินสนับสนุนที่ได้รับจากภาครัฐ ให้มีความโปร่งใสและยั่งยืน ภายใต้แนวคิดประชาชนเป็นเจ้าของ
เพื่อให้มีเงินทุนในการพัฒนาและดูแลการดาเนินหลักสูตรของโรงเรียนต่อไปอย่างยั่งยืน
บทเรียนความสาเร็จ
▪ ผู้นาให้ความสาคัญ นายก อบต.ท่างามให้ความสาคัญกับการพัฒนาคน
ตามช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องผู้สูงอายุเพราะพื้นที่นี้มีสัดส่วนผู้สูงอายุ
มาก จึงพัฒนาเรื่องนี้และเห็นความสาคัญของโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ
ตั้งแต่ในปีแรกที่ได้รับเงินสนับสนุนจากทาง พม. และได้ร่วมกันผลักดันให้
เกิดโครงการต่อเนื่องโดยทางชุมชนดาเนินการต่อเอง
▪ เน้นความยั่งยืน อบต.ท่างามมุ่งมั่นจะให้โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุมีความ
ยั่งยืน อยู่ได้ด้วยชุมชนจึงเน้นการบริหารจัดการด้วยชุมชน
▪ เน้นการมีส่วนร่วมและใช้ทุนในพื้นที่ ปรับเนื้อหา รูปแบบให้เหมาะสมกับ
บริบทของพื้นที่ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุที่เป็นผู้เรียน และคนใน
ชุมชนให้มาเป็นครูอาสาด้วย รวมถึงใช้ทุนหรือทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ใน
พื้นที่ให้เต็มประสิทธิภาพ เช่น อาศัยสระว่ายน้าของโรงเรียนที่ทาง อบต.มี
อยู่แล้วจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุออกกาลังกายในน้าสร้างความแข็งแรง
ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงาน
๑๒๕
๑๒๖
๑๒๗
5.3.2 กำรลงพื้นที่ศึกษำดูงำนสภำเด็ก จ.สิงห์บุรี ณ โรงเรียนวัดถอนสมอ ต.ถอนสมอ อ.
ท่ำช้ำง จ.สิงห์บุรี
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงพื้นที่
1) นายประสงค์ สังข์ทอง ผู้อานวยการโรงเรียนวัดถอนสมอ
2) นางสาวปิยะรัตน์ อาดลออ เจ้าหน้าที่สภาเด็กและเยาวชน จ.สิงห์บุรี
3) นางลัดดา สุทนต์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สป.พม.
4) นางสาวอัจฉริยา บ่อแร่ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สป.พม.
5) นายอัสฮา การี กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สป.พม.
6) ผศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ม.เกษตรฯ
7) ดร.สมหมาย อุดมวิฑิต ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ม.เกษตรฯ
8) นางสาวประกาย ธีระวัฒนากุล ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ม.เกษตรฯ
9) นายธราธร รัตนนฤมิตศร Thailand Future Foundation
10) นางสาวศิวพร พิพิธภักดี ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ม.เกษตรฯ
โรงเรียนวัดถอนสมอ เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่นักเรียนและศิษย์เก่าเป็นสมาชิกในสภา
เด็กและเยาวชน จ.สิงห์บุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสาคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มี
ประสบการณ์ความรู้ความสามารถนอกเหนือตาราเรียน ทั้งยังสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสทากิจกรรมต่างๆ
รวมทั้งการสนับสนุนงานกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน จ.สิงห์บุรี มาอย่างต่อเนื่อง
ภาพรวมของสภาเด็กและเยาวชน จ.สิงห์บุรี
สภาเด็กและเยาวชน จ.สิงห์บุรี เป็นองค์กรในสังกัด กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการดาเนินงานของสภาเด็ก จะเป็นไปในแนวทาง “เด็กนาผู้ใหญ่หนุน”
คือเด็กทาโดยมีผู้ ใหญ่เป็น พี่เลี้ย ง เพื่อส่งเสริมและพัฒ นาเด็กและเยาวชนในจังหวัดสิ งห์ บุรี ผ่านโครงการ
กิจกรรมต่างๆ ที่เด็กๆเป็นผู้คิดริเริ่ม
ระบบการบริ ห ารงานในสภาเด็ ก และเยาวชน จะมี ก ารจั บ ฉลากเพื่ อ
ผลัดเปลี่ยนผู้บริหาร โดยจากสมาชิกสภาเด็กซึ่งเป็นเยาวชนนั้น ในทุกๆปี จะมีการจับฉลากเพื่อคัดผู้บริหาร
ออกครึ่ ง หนึ่ ง และเลื อ กผู้ บ ริ ห ารใหม่ ขึ้ น มาท าหน้ า ที่ แ ทนผู้ ที่ ถู ก คั ด ออกนั้ น เพื่ อ เปิ ด โอกาสให้ ส มาชิ ก ได้
สับเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นผู้บริหาร ในขณะที่ประธานจะมีวาระดารงตาแหน่ง 2 ปี
ที่ ผ่ า นมาสภาเด็ ก และเยาวชน จ.สิ ง ห์ บุ รี มี ก ารด าเนิ น กิ จ กรรมหลาย
โครงการ เช่น กิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัย กิจกรรมเผยแพร่ความรู้แก่วัยรุ่นป้องกันปัญหาการ
ตั้งครรภ์ก่อนวัย กิจกรรมต้านยาเสพติด
๑๒๘
ปั จ จุ บั น สภาเด็ ก และเยาวชน จ.สิ ง ห์ บุ รี ยั ง คงมี ก ารด าเนิ น งานอย่ า ง
ต่อเนื่อง และยังมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับในจังหวัดสิงห์บุรี
ทั้งนี้ อาจจะยังคงมีปัญหาอุปสรรคที่ยังอยู่ระหว่างการแก้ไขปรับเปลี่ยนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและนามาซึ่ง
ความยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไป
ปัญหาในการดาเนินงานสภาเด็กและเยาวชน จ.สิงห์บุรี
1.ความต่อเนื่องของการดาเนินงาน อันเนื่องมาจากการหมุนเวียนของ
ผู้บริหารและสมาชิกในแต่ละรุ่น เนื่องจากสมาชิกบางคนอาจมิได้มีความสนใจในการทากิจกรรมในสภาเด็ก
และเยาวชนอย่างแท้จริง ทาให้ไม่ใส่ใจเท่าที่ควร เมื่อเข้ามาเป็นผู้บริหาร การดาเนินกิจกรรมต่างๆจากรุ่นสู่รุ่น
จึงอาจไม่ต่อเนื่อง
2.ระบบการกาหนดวันลงทะเบียนของสภาเด็กแต่ละระดับ อันได้แก่ ระดับ
ตาบล อาเภอ และจังหวัด มีการระบุวันเพียงระดับละ 1 วัน ทาให้เจ้าหน้าที่ผู้ดาเนินงานอาจดูแลไม่ทั่วถึง อีก
ทั้งสมาชิกที่ลงทะเบียนอาจถูกกะเกณฑ์จากเด็กในโรงเรียนที่ให้ความร่วมมือ อาจมิได้กระจายทั่วทั้งพื้นที่ ทาให้
มีโอกาสที่จะได้สมาชิกที่ยังไม่ได้สนใจการเข้า มาทากิจกรรมในสภาเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง ส่งผลให้ขาด
ความต่อเนื่องและความเข้มข้นของกิจกรรมที่จะดาเนินต่อไปในอนาคต
3.การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สภาเด็กและเยาวชนจะเกิดขึ้นได้ พื้นที่ต้อง
มีความเข้มแข็งเช่นกันด้วย เช่น สภาเด็กและเยาวชนระดับตาบลหรืออาเภอ บางแห่ง แม้ได้งบประมาณเพื่อ
การดาเนินงานสภาเด็กและเยาวชน แต่ผู้ใหญ่ในพื้นที่ไม่เห็นความสาคัญหรือไม่มีความเข้มแข็งพอ งานสภาเด็ก
และเยาวชนในพื้นที่นั้นก็มิอาจสาเร็จได้
ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงาน
๑๒๙
๑๓๐
5.4 สรุปการประชุมชี้แจง (ร่าง) รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการ “ติดตามประเมินผลการ
ดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560”
เนื้อหาในส่วนนี้ได้ทาการสรุปการประชุมชี้แจง (ร่าง) รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการ
“ติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560”
ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ ห้องพัชราวดี 1-2 โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค
ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ส่วนใหญ่ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากร่างผลการศึกษาฯ ที่ที่ปรึกษาได้จัดทาขึ้นและ
นาเสนอไว้ในการประชุม โดยมีรายละเอียดดังนี้
5.4.1 ข้อเสนอแนะในส่วนของผลกำรศึกษำและข้อมูลเพิ่มเติม
• ควรจัดกลุ่มข้อคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิให้ชัดเจนเป็นหมวดหมู่เพื่ อการ
สื่อสารที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
• มีข้อสั งเกตจากคณะกรรมาธิการฯ บางท่านเห็ นว่าแผนบูรณาการนี้มีขอบเขตกว้ า ง
เกินไป ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพียงเป้าหมายเดียวหรือไม่ และควรมีระยะเวลาสิ้นสุด
ของแผน เช่น 5 ปีตามแผนชาติ เป็นต้น
• เหตุ ผ ลส่ ว นใหญ่ ข องการไม่ อ นุ มั ติ ง บประมาณโครงการ คื อ โครงการที่ เ สนอขอ
งบประมาณไม่สอดคล้องกับแผนบูรณาการหรือไม่เชื่อมโยงกัน อย่างไรก็ตาม ในอนาคต
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีกระบวนการสื่อสารแบบสองทางมากยิ่งขึ้น
• การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยควรอธิบายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงข้อจากัดของข้อมูล
วิธีการและการตีความข้อมูล
• ในส่วนของข้อเสนอแนะ ควรจัดลาดับความสาคัญให้ชัดเจน รวมถึงระบุหน่วยงานที่
รับผิดชอบให้ชัดเจน ว่าหน่วยงานใดรับผิดชอบส่วนไหน เพื่อที่สามารถนาไปปฏิบัติต่อได้
เช่น เดีย วกับส่ วนของการจัดทาฐานข้อมูล ควรระบุห น่ว ยงานที่ ควรเป็นผู้รับผิดชอบ
นอกจากนั้นในส่วนของปัญหาและอุปสรรค หากเป็นไปได้ควรที่จะจาแนกปัญหาตาม
ของแต่ละกระทรวงเพื่อความชัดเจน
• ในบางข้อเสนอแนะอาจเสนอไว้เป็นหลายระดับ เช่น ในเรื่องงบประมาณ เสนอให้จัดทา
เป็น Block Grant 3 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่อาจเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ จึงอยากให้มี
ข้ อ เสนอภายใต้ ข้ อ จ ากั ด งบประมาณแบบปั จ จุบั น ด้ ว ยว่า จะสามารถบริ ห ารจัด การ
โครงการให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการได้อย่างไร เช่น การจัดหาทุนเพิ่มเติมจาก
หน่วยงานหรือท้องถิ่น หรือวิธีอื่นเพิ่มเติม
• การวิเคราะห์ ในเชิงปริ มาณยั งมี ข้ อจากัด ในการเทีย บผลผลิ ต กับเป้าหมายใหญ่ ข อง
ประเทศ เช่น ในโครงการอาจสามารถช่วยเหลือแรงงานนอกระบบได้สูง แต่ความเป็น
จริงสามารถช่วยได้เป็นสัดส่วนที่น้อยมากของแรงงานนอกระบบทั้งประเทศ อาจต้องบ่ง
บอกข้อจากัดของการศึกษาไว้
๑๓๑
5.4.2 ข้อเสนอแนะต่อกำรปรับปรุงแผนบูรณำกำรฯ และกำรขับเคลื่อนในอนำคต
• ควรถ่ายทอดและกระจายผลการศึกษาและข้อมูลต่างๆ กลับสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ
ภาคีเครือข่ายเพื่อให้สามารถนาผลการศึกษาและข้อค้นพบกลับไปใช้ประโยชน์ปรับปรุง
แผนงานและโครงการบูรณาการในอนาคต
• การมีทิศทางของแผนงานที่ชัดเจนเป็นสิ่ งส าคัญ โดยเฉพาะการถ่ายทอดให้ คนที่ ทา
กิจกรรมและโครงการในระดับพื้นที่ให้เข้าใจทิศทางและความสาคัญของเนื้องานต่างๆ
• ควรสร้างความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนทั้งผู้จัดทาแผนบูรณาการและแผนการดาเนินงาน
ต่างๆ รวมไปถึงผู้จัดสรรงบประมาณ ให้มีความเข้าใจที่ตรงกันชัดเจนว่างบประมาณใน
แผนบู ร ณามี เ ป้ า หมายมุ ง เน้ น เพื่ อ การพั ฒ นาประเทศ ซึ่ ง ควรจะเป็ น คนละส่ ว นกั บ
งบประมาณของแผนงานแต่ละหน่วยงาน
• ที่ผ่านมาด้วยข้อจากัดต่างๆ ทาให้หลายครั้งหน่วยงานไม่ได้มีโอกาสมาร่วมมือบูรณาการ
การทางานด้วยกันมากนัก ในอนาคตควรมีการแชร์ประสบการณ์ระหว่างกัน เพื่อไม่ให้
เกิดการนางานประจามาเป็นงานบูรณาการ รวมถึงการแชร์ทรัพยากรหรืองบประมาณ
• ปัจจุบันยังเป็นระบบที่ทางานแข่งกั บเวลามากเกินไป ทาให้ไม่ส่งเสริมให้เกิดการบูรณา
การหรือพูดคุยกันได้มากนัก มีเวลาเตรียมตัวในการส่งโครงการน้อยและหลายหน่วยงาน
อาจมีข้อจากัดของบุคลากรที่ต้องทางานในหลายหน้าที่
• เจ้าภาพหลักของแผนบูรณาการควรกาหนดเป้าหมายให้ชัดว่าใครรับผิดชอบ หน่วยงาน
หลัก โดยเฉพาะสภาพัฒน์ กพร. และสานักงบประมาณควรกาหนดความเชื่อมโยงตั้งแต่
ระดับบนสู่ระดับล่างให้ชัดเจน
• บางหน่วยงานรับผิดชอบแผนบูรณาการหลายแผน เช่น 6 แผน ทาให้อาจมีข้อจากัดใน
ด้านบุคลากรในการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนในแผนต่างๆ ในอนาคตควรมีการ
จัดระบบแผนบูรณาการใหม่ให้มีจานวนที่ลดน้อยลง ไม่ซ้าซ้อน และวางเป้าหมายแต่ละ
แผนให้ชัดเจน
• ในอนาคตควรมีการประเมินผลในโครงการสาคัญภายใต้แผนบูรณาการ เช่น ในประเด็น
ความพึงพอใจของประชาชน รวมถึงคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากโครงการ เพื่อให้
เห็นผลกระทบจากแผนต่อประชาชนอย่างแท้จริง
• ทิศทางในอนาคตของแผนจะขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทปฏิรูปซึ่งต้องรอดู
ความชัดเจนอีกระยะหนึ่ง โดยแผนบูรณาการในอนาคตจะต้องตอบโจทย์ทิศทางใหญ่
ของประเทศ รวมทั้งควรมีการกาหนดเป้าหมายในโรงการและแผนงานย่อยที่สอดคล้อง
และสามารถเชื่อมโยงถึงเป้าหมายระดับชาติได้
• บทบาทของเจ้าภาพแผนบูรณาการเป็นสิ่งที่มีความสาคัญมาก เจ้าภาพจะต้องทาหน้าที่
เป็น System Analysis เพื่อสามารถให้คาแนะนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ เจ้าภาพจะต้องรู้
เรื่องดีที่สุด เจ้าภาพต้องมีศักยภาพและบารมีมากขึ้น รวมทั้งเจ้าภาพย่อยของแต่ล ะ
หน่วยงานจะต้องมีความเข้มแข็งเช่นกัน
๑๓๒
• ในอนาคตควรมีการเสนอภาพการปลดล็อคข้อจากัดหรือการออกแบบใหม่ให้กับแผน
บูรณาการ ในส่วนของ Joint KPI อาจคิดถึงรูปแบบความร่วมมือที่เป็นไปได้
• หากเป็นไปได้ ควรมีแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ดาเนินงานตระหนักและคอยระมัดระวังถึง
ต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มค่าของงบประมาณที่กาลังถูกใช้งานในแผนและโครงการ
นั้นๆ อยู่เสมอ
๑๓๓
บทที่ 6
สรุปการติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
6.1 สรุปการประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการฯ
การประเมินผลการดาเนินงานของแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยครั้งนี้ ใช้ข้อมูลที่หน่วยงาน
ต่างๆ ได้รายงานผลการดาเนินงานกลับมายังสานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ จานวนทั้งสิ้น 75 โครงการ โดยจาแนกเป็นโครงการที่ถูกบรรจุอยู่ในเป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพ
คนไทย จานวน 34 โครงการ บรรจุอยู่ในเป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต จานวน 24 โครงการ
และบรรจุอยู่ในเป้าหมายที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย จานวน 17 โครงการ
ประสิทธิผลของแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
หากพิจารณาระดับประสิทธิผลของการดาเนินงาน พบว่า การดาเนินงานตามแผนบูรณาการ
การพัฒนาคนตามช่วงวัยมีประสิทธิผลเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (ประสิทธิผลร้อยละ 108.52) ทั้งนี้ สะท้อนได้จาก
ผลผลิตของโครงการที่สามารถดาเนินการได้มากกว่าแผนที่ระบุไว้ ได้แก่ สามารถส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึง
สวัสดิการทางสังคมได้เพิ่มขึ้นจานวน 5,047,138 คน การเสริมสร้างศักยภาพของผู้ให้บริการในเขตสุ ขภาพ/
จั งหวัด ได้รั บ ความรู้ และพัฒ นาประสิ ทธิภ าพในการทางานครอบคลุ มทั่ว ประเทศ และการพัฒ นาระบบ
ฐานข้อมูลหรือระบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ตารางที่ 6.1)
เมื่อพิจารณาประสิทธิผลของการดาเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายของแผนบูรณาการฯ
ปรากฏว่ า ในทุ ก เป้ า หมายมี ก ารบรรลุ ป ระสิ ท ธิ ผ ลในระดั บ สู ง ทุ ก เป้ า หมาย (ร้ อ ยละ 101.82-132.12)
เช่นเดียวกับภาพรวมของการดาเนินงานของแผนบูรณาการฯ ซึง่ แสดงให้เห็นถึงการบรรลุเป้าหมายของผลผลิต
เช่นเดียวกับภาพรวมของทุกเป้าหมาย โดยเป้าหมายที่บรรลุประสิทธิผลสูงที่สุด ได้แก่ เป้าหมายที่ 3 การสร้าง
ความเข้มแข็งและความอบอุ่น คิดเป็นร้อยละ 132.12 รองลงมาได้แก่ เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงใน
๑๓๔
ชีวิต และ เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย โดยมีการบรรลุประสิทธิผลเฉลี่ย เท่ากับ 115.63 และ
101.82 ตามลาดับ (ตารางที่ 6.2)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาประสิทธิผลจาแนกตามช่วงวัย ปรากฏว่า ผลการดาเนินงานโครงการ
ที่สนับสนุนช่วงเด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) เป็นช่วงวัยที่ประสิทธิผลของการดาเนินโครงการโดยรวมสูงที่สุด คิดเป็น
ร้อยละ 135.13 รองลงมาได้แก่ วัยแรงงาน (15-59 ปี) คิดเป็นประสิทธิผลร้อยละ 115.61 ในขณะที่
ประสิ ท ธิ ผ ลของการด าเนิ น โครงการในช่ว งเด็ ก วั ย เรี ย น (5-14 ปี ) เด็ ก ปฐมวั ย (0-5 ปี ) และผู้ สู ง อายุ
(60 ปีขึ้นไป) มีประสิทธิผลเฉลี่ยใกล้เคียงกัน คิดเป็นร้อยละ 103.39 102.81 และ 102.22 ตามลาดับ
(ตารางที่ 6.2)
อย่ างไรก็ตาม ถึงแม้ภ าพรวมของการด าเนิน งานในแต่ล ะเป้า หมาย และแต่ล ะช่ว งวั ย มี
ประสิทธิผลในระดับสูง แต่ทว่าก็ยังคงมีการดาเนินงานในช่ว งเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ในเป้าหมายที่ 3 การสร้าง
ความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย และการดาเนินงานในช่วงเด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) ในเป้าหมาย
ที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต ที่มีระดับประสิทธิผลต่ากว่าร้อยละ 100 อันสะท้อนให้เห็นถึงผู้เข้าร่วม
โครงการที่ต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ (ตารางที่ 6.2)
ประสิทธิภาพของแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ในประเด็นของประสิทธิภาพของโครงการ โดยใช้ข้อมูลร้อยละของต้นทุนต่อหน่วยที่เกิดขึ้น
จริงเปรียบเทียบกับที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ พบว่า ภาพรวมของการดาเนินงานโครงการต่างๆ ภายใต้แผน
บู ร ณาการฯ มีป ระสิ ทธิภ าพในการดาเนิ น งานอยู่ในระดับค่อนข้างสู ง ทั้งนี้ เนื่องจากการดาเนินงานของ
โครงการต่างๆ สามารถประหยัดต้นทุนต่อหน่วยในการดาเนินงานได้เล็กน้อย (ร้อยละ 98.03)
หากพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละเป้าหมาย พบว่า การดาเนินงานภายใต้เป้าหมายที่ 3
การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย เป็นเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพในการดาเนินงานสูง
ที่สุด โดยมีต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริงคิดเป็นร้อยละ 79.13 ของต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยที่ระบุไว้ในแผน
บูรณาการฯ รองลงมาได้แก่ เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต และเป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพ
คนไทย โดยมีต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริงคิดเป็นร้อยละ 94.14 และ 114.61 ของต้นทุนต่อหน่วย
เฉลี่ยที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ ตามลาดับ
๑๓๕
เมื่อพิจารณาต้น ทุน ต่อหน่วยเฉลี่ ยจาแนกตามช่ว งวัยเป้าหมายในการพัฒนา พบว่า การ
ดาเนินงานพัฒนาคนเกือบทุกช่วงวัยมีประสิทธิภาพในการดาเนินงานในระดับค่อนข้างมาก โดยสังเกตได้จาก
ต้นทุนต่อหน่วยในทุกช่วงวัยต่ากว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อเรียงลาดับ
ช่วงวัยที่มีประสิทธิภาพในการดาเนินงานสูงสุด ได้แก่ ช่วงเด็กวัยรุ่น (15-21 ปี) มีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยเฉลี่ย
คิดเป็นร้อยละ 78.34 ของต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยที่ระบุไว้ในแผนบูรณาการฯ รองลงมาได้แก่ ช่วงเด็กวัยเรียน
(5-14 ปี ) และวัย แรงงาน (15-59 ปี ) โดยมีต้นทุนเฉลี่ ยต่อหน่วยคิดเป็นร้อยละ 79.98 และ 84.16
ตามลาดับ (ตารางที่ 6.3)
นอกจากนี้ เมื่ อ พิ จ ารณาการด าเนิ นงานในแต่ล ะช่ว งวัย ของแต่ล ะเป้ า หมาย ปรากฏว่า
โครงการในช่วงวัยของแต่ละเป้าหมายมีการใช้งบประมาณในการดาเนินโครงการน้อยกว่าหรือเท่ากับที่ระบุไว้
ในแผนบูรณาการฯ สะท้อนให้ เห็ น ถึงระดับประสิทธิ ภาพของโครงการต่างๆ ภายใต้แผนบูรณาการฯ ที่มี
ประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับปานกลางถึงสูง (ตารางที่ 6.3)
สรุปผลการประเมินแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ผลการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของโครงการต่างๆ ภายใต้แผนบูรณาการการ
พัฒนาคนตามช่วงวัย พบว่า แผนบูรณาการฯ สามารถบรรลุประสิทธิผลตามเป้าหมายของโครงการ โดยได้
ส่งผลกระทบต่อกลุ่ม/พื้นที่เป้าหมายได้ตามที่ระบุไว้ ในแผนบูรณาการในระดับสูง ในขณะที่ประสิทธิภาพของ
การดาเนินงานโครงการต่างๆ สามารถบรรลุประสิทธิผลได้ตามสมควร โดยยังคงมีบางโครงการ/เป้าหมายที่
ยังคงมีประสิทธิภาพในการดาเนินงานในระดับค่อนข้างต่า ซึ่งจาเป็นต้องพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคในการ
ดาเนินงานเพื่อทาการแก้ไขให้โครงการสามารถบรรลุประสิทธิภาพต่อไป เช่น การดาเนินการพัฒนาศักยภาพ
ของเด็กปฐมวัยในเป้าหมายที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นให้กับครอบครัวไทย เป็นต้น
๑๓๖
ตารางที่ 6.4 ระดับประสิทธิผลและประสิทธิภาพของแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
เป้าหมายที่ 1 เป้าหมายที่ 2 เป้าหมายที่ 3 แผนบูรณาการ
กลุ่มเป้าหมาย ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ
เด็กปฐมวัย
(0-5 ปี) สูง ค่อนข้างสูง สูง ค่อนข้างสูง สูง ค่อนข้างต่า สูง ค่อนข้างสูง
เด็กวัยเรียน
(5-14 ปี) สูง ค่อนข้างสูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง
เด็กวัยรุ่น
(15-21 ปี) สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง
วัยแรงงาน
(15-59 ปี) สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง
ผู้สูงอายุ
(60 ปีขึ้นไป) สูง สูง สูง สูง สูง ปานกลาง สูง สูง
แผนบูรณาการ สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง สูง
๑๓๗
6.2 ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการดาเนินโครงการภายใต้แผนบูรณาการฯ
จากการศึกษาติดตามและประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 อย่างรอบด้าน ทาให้เห็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการ
ดาเนินงานตามแผนบูรณาการฯ ดังต่อไปนี้
1. แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยควรยึดประชาชนเป็นตัวตั้ง (Citizen Centric)
แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยเป็นการริเริ่มที่ดีมาก เนื่องจากการพัฒนาคนเป็น
รากฐานที่สาคัญที่สุดประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาคนมีหลายมิติ หลายช่วงชีวิต และหลาย
กลุ่มคน ดังนั้น ความต้องการของคนในการได้รับการพัฒนาและการช่วยเหลือจึงมีความหลากหลายมาก และมี
ความเร่งด่วนที่แตกต่างกัน การจัดทาแผนบูรณาการการพัฒ นาศักยภาพคนจึงต้องตอบโจทย์ที่หลากหลาย
ดังกล่าว ตลอดจนการจัดลาดับความสาคัญของความต้องการที่เร่งด่วน นอกจากนี้ ยังจะต้องตอบโจทย์กลุ่มที่
ต้องการความช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อน พร้อมไปกับการตอบโจทย์กลุ่มที่ต้องการเสริมศักยภาพให้มี
ความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอย่างสมดุลกัน
ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒ นาคนตามช่วงวัยมีหลากหลายหน่วยงาน แต่ล ะ
หน่วยงานมีภารกิจ ความเชี่ยวชาญและกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างและทับซ้อนกัน ดังนั้น การบูรณาการโดยยึด
ประชาชนเป็ น ตั ว ตั้ง จะช่ว ยให้ ทุ ก ฝ่ า ยมองเห็ นภาพรวมและเป้า หมายการพั ฒ นาร่ว มกั น ส่ ง ผลให้ แ ต่ล ะ
หน่วยงานได้ใช้ความเชี่ยวชาญและภารกิจตามกฎหมายมาร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาคนได้อย่างมีพลัง ไม่ทับ
ซ้อนกันและสามารถหนุนเสริมกันได้ รวมถึงควรพิจารณาใช้การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) เพื่อค้นหา
ความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมายแต่ละช่วงวัยให้มี ความชัดเจน และจัดทาโครงการได้ตอบโจทย์ที่มี
ลักษณะเฉพาะรายบุคคลได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ทิศทางการพัฒนาคนตามช่วงวัยที่ผ่านมายังขาดเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน ที่ทุก
ฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน และงานหลักที่ควรนามาบูรณาการเพื่อตอบโจทย์ประชาชนที่หลากหลายนั้นควรจะเน้นที่
จุดใด ประชาชนกลุ่มไหนบ้าง ประเด็นนี้จะต้องทาให้ชัดเจนขึ้นในอนาคต เพื่อให้หน่วยงานที่เข้ามาร่วมกัน
ทางานมองไปในทิศทางเดียวกันและให้น้าหนักไปกับประเด็นสาคัญที่สอดคล้องต้องกัน
ในอนาคตจึงควรเน้นการพัฒนาโครงการแบบองค์รวม (Holistic Development) มีความ
ต่อเนื่อง มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน โดยมีการกาหนดนโยบายเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) ตามระดับ
ความจาเป็น แทนการช่วยเหลือแบบถัวเฉลี่ยเท่ากัน ส่งเสริมการพัฒนากระบวนการคิดและการพัฒนาทุน
มนุษย์อย่างแท้จริงแม้จะต้องอาศัยระยะเวลาดาเนินการนาน แทนที่จะให้ความสาคัญกับนโยบายที่เห็นผล
ระยะสั้น ตลอดจนหลีกเลี่ยงนโยบายที่ก่อให้เกิดช่องทางการรั่วไหลสูงแต่ผลประโยชน์ต่า
2. การขับเคลื่อนแผนบูรณาการให้มีประสิทธิภาพ
2.1 ในอนาคตควรมีมิติการขับเคลื่อนงานที่เน้นความต้องการของประชาชนเป็นหลักมากขึ้น
(Demand driven)
ที่ผ่านมา การขับเคลื่อนโครงการบูรณาการอาจมี ลักษณะเป็นการขับเคลื่อนงานตามภารกิจ
ของหน่วยงานต่างๆ เป็นหลัก (Supply driven) และงบประมาณจากแผนบูรณาการฯ ส่วน
ใหญ่ได้ถูกใช้ในงานตามภารกิจของหน่วยงาน ในอนาคตควรมีมิติการขับเคลื่อนงานที่เน้นความ
๑๓๘
ต้องการของประชาชนเป็นหลักมากขึ้น (Demand Driven) ทั้งในช่วงการเริ่มต้นการจัดทาแผน
ที่ต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชนและพื้นที่ ช่วงขับเคลื่อนแผนและช่วงการประเมินผลที่
ครอบคลุมผลกระทบต่อประชาชนและความพึงพอใจของประชาชน ตัวอย่างการขับเคลื่อนใน
ลักษณะ Demand-Driven เช่น เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ท้องถิ่น ภาคเอกชน
ออกแบบโครงการตอบโจทย์ประชาชนกลุ่มเป้าหมายแต่ละช่ว งวัย ตอบโจทย์ความต้องการ
ประชาชนบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกันโดยอาศัยกระบวนการ Design Thinking เข้ามามีส่วนช่วย
2.2 ควรเน้นการขับเคลื่อนการบูรณาการและการทางานบนเครือข่ายความร่วมมือแบบเปิด
(Open Collaborative Network) โดยการบู ร ณาการการท างานร่ ว มกั บ ทุ ก ภาคส่ ว น
กระทรวงต่างๆ ประชารัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม
การขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ มีทั้งโครงการที่สามารถบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
โครงการที่ยังขาดการบูรณาการและมีลักษณะต่างคนต่างทาแยกส่วนกันอยู่ ดังนั้น แม้จะยังมี
ข้อจ ากัดในเชิงระบบหรื อโครงสร้างที่เ ป็นอยู่ ในปัจจุบัน แต่ประสบการณ์จากผู้ ที่ส ามารถ
ขับเคลื่อนงานได้ดี ก็บ่งชี้ว่าสามารถขับเคลื่อนโครงการได้ดีในระดับหนึ่ง เช่น การเน้นการ
ปรึกษาหารือทางานร่วมกันให้มาก การวางเป้าหมายร่วมกันแต่ต้น การดึงการมีส่วนร่วมของ
ผู้บริหารและประชาชน การดึงงบประมาณหรือทรัพยากรของหน่วยงานมาเสริมกับโครงการ
การแสวงหาแหล่ ง ทุ น ภายนอกมาสนั บ สนุ น เพิ่ ม เติ ม เพื่ อ พั ฒ นาโครงการให้ ยั่ ง ยื น เมื่ อ
งบประมาณประจาปีที่สนับสนุนโครงการของภาครัฐจบสิ้นไป เป็นต้น
2.3 ควรเน้นตัวชี้วัดในเป้าหมายใหญ่ที่ตั้งไว้ในแผนบู รณาการฯ หรือกาหนดในลักษณะตัวชี้วัด
ร่วม (Joint KPIs) ที่นาไปสู่การบูรณาการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
ที่ผ่านมาตัวชี้วัดความสาเร็จในระดับโครงการหลายโครงการไม่สามารถต่อยอดขยายผลเพื่อ
ตอบตัวชี้วัดในเป้าหมายใหญ่ที่ตั้งไว้ในแผนบูรณาการฯ ได้ หรือแม้แต่การที่แต่ละโครงการ
สามารถจัดการโครงการได้ตามเป้าหมายตัวชี้วัดรายโครงการแล้วแต่กลับทาให้ไม่สามารถเห็น
ภาพรวมของทั้งแผนงานบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยได้ว่า แผนบูรณาการฯ นี้เกิดผล
กระทบต่อคนไทยอย่างไร ดังนั้นในอนาคต ควรปรับปรุงตัวชี้วัดระดับโครงการให้ สอดคล้องกับ
ตัวชี้วัดในเป้าหมายใหญ่ที่ตั้งไว้ในแผนบูรณาการฯ หรือกาหนดในลักษณะตัวชี้วัดร่วม
2.4 ควรพัฒนาโครงการที่มีลักษณะสร้า งผลกระทบสูง (Big Rock Project) เพื่อให้สามารถ
สร้างผลกระทบในวงกว้างระดับประเทศและเกิดการขยายผล (Scale up)
โครงการบูรณาการยังมีลักษณะเฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ หรือทาเป็นหย่อมๆ อยู่บ้าง ทาให้เงิน
งบประมาณที่ได้รับมีมูลค่าน้อยต่อโครงการทาให้ขาดการเห็นผลกระทบในภาพใหญ่ของการ
พัฒ นาคนที่ชัดเจน หลายโครงการมีลั กษณะเป็นชิ้นๆ (Fragmented Research Projects
ดังนั้น จึงควรพัฒนาโครงการบางโครงการให้มีลักษณะสร้างผลกระทบสูง (Big Rock Project)
ที่สามารถสร้างผลกระทบในวงกว้างระดับประเทศในทุกพื้นที่ได้ โดยอาจคัดเลือกจากโครงการ
ที่มีศักยภาพสูงหรือประเมินผลกระทบแล้วพบว่าสร้างผลกระทบที่สูงมาก นาโครงเหล่านี้มา
ขยายผล (Scale Up) ให้เป็นโครงการเรือธง (Flagship) ของแผนบูรณาการฯ พร้อมพิจารณา
จัดสรรวงเงินงบประมาณให้เพียงพอเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ของแผนบูรณาการฯ
๑๓๙
2.5 ในอนาคตควรเพิ่มมิติโครงการพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้มีน้าหนักเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการให้
เงินอุดหนุน
งบประมาณส่วนใหญ่ของแผนบูรณาการฯ ยังอยู่ในรูปการอุดหนุนคนกลุ่มต่างๆ แม้จะมีแนวคิด
ในการเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มคนที่ได้รับการอุดหนุนด้วย แต่ยังไม่มีการปฏิบัติที่ชัดเจนนัก
ดังนั้น ในอนาคตควรเพิ่มมิติโครงการพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้มีน้าหนักเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการ
ให้เงินอุดหนุน โครงการดังกล่าวจะทาให้ในระยะยาวประชาชนสามารถมีความเข้ม แข็ง ดูแล
ตนเองได้ และต้องการเงินอุดหนุนน้อยลง ซึ่งจะทาให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
2.6 ควรมีวางแผนงานและเน้นการบูรณาการอย่างมียุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดการทาน้อยแต่ได้
มาก (Less for More)
ที่ผ่ านมาจ านวนประชาชนผู้ ไ ด้รั บความช่ว ยเหลื อ ยัง มี อยู่ จากัด เมื่ อ เที ยบกับ ประชาชนทั้ ง
ประเทศที่ยังต้องการการช่วยเหลือ ดังนั้น การขับเคลื่อนการพัฒนาคนในอนาคตจึงจาเป็นต้อง
คิดใหม่ ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมต่างๆ แพลตฟอร์มใหม่ๆ ตลอดจนการวางแผนงานอย่างมี
ยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดการทาน้อยแต่ได้มาก (Less for More) ซึ่งจะทาให้งบประมาณที่มีอยู่
จากัด สามารถสร้างผลกระทบให้ประชาชนในวงกว้างได้มากขึ้น เช่น การร่วมมือกับชุมชนที่
เข้มแข็ง การร่วมงานกับภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศที่ผลักดันในประเด็นการพัฒนา
คนที่มีวาระสอดคล้องกัน การสร้างความร่วมมือกับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการทางสังคม
เพื่อให้เกิดภาคีการพัฒนาที่พึ่งพางบประมาณภาครัฐลดน้อยลง เป็นต้น
2.7 เน้นการบูรณาการกับหน่วยงานท้องถิ่นเพิ่มขึ้น รวมถึงออกแบบโครงการที่สอดคล้องกับ
บริบทแต่ละพื้นที่
ที่ผ่านมา หน่วยงานกลางจะเป็นผู้ดาเนินการโครงการภายใต้แผนบูรณาการฯ เป็นหลัก ทาให้
เกิดการมีส่วนร่วมจากท้องถิ่นน้อยและส่งผลให้จานวนประชาชนผู้ได้รับความช่วยเหลืออยู่ใน
วงจากัด เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนบูรณาการสามารถครอบคลุมจานวนประชาชนให้มากขึ้น
และทั่วถึง ในการอนาคตหน่วยงานกลางควรให้ความสาคัญให้มากขึ้นกับการบรูณาการร่วมกับ
หน่ ว ยงานในท้ อ งถิ่ น เนื่ อ งจากองค์ ก รส่ ว นท้ อ งถิ่ นมี ค วามพร้ อ มด้ านทรัพ ยากรบุ ค คลและ
งบประมาณสนับสนุน นอกจากนั้นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน
น่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนจากข้อจากัดด้านทรัพยากรบุคคลและงบประมาณ
ของหน่วยงานกลาง
3. กลไกสนับสนุน
3.1 ระบบงบประมาณควรมีความยื ดหยุ่นและเอื้อต่อการบูรณาการงานระหว่างหน่วยงานใน
อนาคต และมีร ะบบงบประมาณที่ใ ห้เ งิน ต่อเนื่องเช่น การจัดสรรงบประมาณเป็น ก้อน
(Block Grant) 3 ปี
เนื่องจากที่ผ่านมาระบบงบประมาณสาหรับแผนบูรณาการฯ ยังไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควร ขาดกลไก
การบูรณาการงบประมาณระหว่างหน่วยงาน ไม่สามารถโอนงบประมาณระหว่างหน่วยงานได้
ส่งผลให้เป็นอุปสรรคในการทางานร่วมกันของหน่วยงานที่หลากหลายทั้งส่วนกลางและส่วน
๑๔๐
ท้องถิ่น นอกจากนี้ การพิจารณางบประมาณยังคงเป็นการพิจารณางบปีต่อปี ทาให้โครงการ
ทางสั งคมส่ ว นใหญ่ ที่ต้ อ งใช้เวลาสร้ างผลกระทบหลายปี ได้รั บงบประมาณไม่ ต่ อเนื่ อ ง ซึ่ง
นอกจากจะทาให้ไม่สามารถทาโครงการได้ต่อเนื่องแล้วยังทาให้ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่น
ให้กับประชาชนที่จะเข้ามาร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนแผนได้ด้วย ดังนั้น ในอนาคต ระบบ
งบประมาณควรมีความยืดหยุ่นและเอื้อต่ อการบูรณาการงานระหว่างหน่วยงาน และมีระบบ
งบประมาณที่ให้เงินต่อเนื่อง เช่น การจัดสรรงบประมาณเป็นก้อน (Block Grant) 3 ปี โดยผูก
กับกลไกการประเมินที่เข้มงวด
3.2 ควรเพิ่มช่องทางการสื่อ สารที่ห ลากหลายและพัฒนาระบบการสื่ อสารและการจั ด การ
ความรู้ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต
ในประเด็น เรื่ อ งการสื่ อสาร ที่ผ่ านมาหลายฝ่ ายให้ ข้ อ คิด เห็ นว่า การสื่ อสารร่ว มกั นยั ง ไม่ มี
ประสิทธิภาพมากนัก มีการประชุมพบปะหารือกันน้อย โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นในการจัดทาแผน
บูรณาการฯ ร่วมกัน ทาให้ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างเสนอโครงการ จึงมีช่องว่างของความ
เข้าใจที่อาจไม่ตรงกัน ทับซ้อนกัน และไม่ได้ตอบโจทย์เป้าหมายร่วมกัน นอกจากนี้ ยังขาดการ
สื่อสารกับผู้ขอรับงบประมาณโครงการว่าได้รับการอนุมัติโครงการเพราะอะไร ไม่ได้รับการ
อนุมัติโครงการเนื่องจากสาเหตุใด ทาให้ไม่เกิดการปรับปรุงและพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วม
ความเชื่อใจของภาคีการพัฒนาร่วมกัน ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนาระบบการสื่อสารและการ
จัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในหลายช่องทาง ทั้งการหารือแบบเป็นทางการและไม่เป็น
ทางการ การจัดทาคู่มือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการมีช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย นอกจากนั้น
การสื่อสารกับองค์ส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเห็นความสาคัญของปัญหาที่
เพิ่มขึ้น น่าจะช่วยลดปัญหาที่องค์กรส่วนท้องถิ่นไม่ช่วยขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯ เนื่องจาก
เห็นว่าไม่ใช่งานของตนเอง
3.3 ควรพัฒนากลไกการสนับสนุน อาทิ ระบบฐานข้อมูล ระบบการติดตามและประเมินผล
• ที่ผ่ านมา ยั งขาดการเชื่ อ มโยงระบบฐานข้ อ มูล ของหน่ว ยงานที่ม าบู ร ณาการงาน
ร่วมกัน ทั้งที่แต่ละหน่วยงานมีฐานข้อมูลเฉพาะด้านของกลุ่มเป้าหมายตามช่ว งวัย
ต่างๆ ที่ดี เช่น วัย เด็ก วัยทางาน วัยผู้ สู งอายุ ดังนั้น ในอนาคต ควรพัฒ นาความ
ร่วมมือในการแบ่งปันหรือบูรณาการฐานข้อมูลกลุ่มเป้ าหมายร่วมกัน เพื่อให้สามารถ
ดาเนินโครงการเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายประชาชนได้ตรงจุดและครบมิติมากขึ้น
• ควรส่งเสริมให้ท้องถิ่นพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนในแต่ละท้องที่บนแพลตฟอร์ม และ
รูปแบบที่เชื่อมขึ้นมาเป็นภาพใหญ่ได้ เนื่องจากท้องถิ่นโดยเฉพาะระดับตาบลมีความ
ใกล้ ชิ ด กั บ ประชาชนและมี ข นาดพื้ น ที่ ที่ ไ ม่ ใ หญ่ ม ากนั ก ท าให้ ส ามารถระบุ
กลุ่มเป้าหมายและที่ตั้งในระดับรายบุคคลในการพัฒนาหรือช่วยเหลือคนได้ หน่วยงาน
กลางสามารถมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ การกาหนดประเด็นที่
พัฒนาร่วมกับกับท้องถิ่น และการวางระบบฐานข้อมูลในรูปแบบง่ายๆ ที่ หน่วยงาน
ท้องถิ่น ระดับ ตาบลสามารถนาไปเก็บข้อมูล และประมวลผลได้ รวมถึงบทบาทใน
การบูรณาการข้อมูลจากระดับย่อยมาสู่ระดับใหญ่เพื่อให้เห็นภาพรวมของประเทศ
๑๔๑
ระบบฐานข้อมูลที่ดีที่สะท้อนบุคคลและพื้นที่จะช่วยให้การบริหารจัดการพัฒ นาคน
สามารถทาได้อย่างตรงจุด ไม่หว่านแห่ และช่วยให้สามารถแบ่งปันทรัพยากรและลด
การซ้าซ้อนในการช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี
• หลายฝ่ายเห็นว่าการติดตามประเมินผลแผนบูรณาการฯ ในครั้งนี้เป็นความริเริ่มที่ดี
มากและก้าวหน้ ากว่าแผนบูรณาการอื่นๆ อีกหลายฉบับ ซึ่งควรทาต่อเนื่องไปใน
อนาคต ทั้งนี้ ที่ผ่านมา การดาเนินโครงการจะเน้นการขับเคลื่อนงานเป็นหลัก ขาด
ระบบการติดตามและประเมินผลที่ต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับหน่วยงานว่าจะให้ความสาคัญ
กับการติดตามและประเมินผลมากน้อยเพียงใด หน่วยงานที่ให้ความสาคัญกับการ
ประเมินผลโครงการชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการประเมินผลกระทบ ซึ่งนอกจากจะ
ทาให้สามารถปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้นในอนาคตแล้ว โครงการที่พบว่าสร้างผลกระทบ
สูงยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและประชาชนได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย
3.4 ควรพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินผล
การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินผล ส่วนนี้เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกั บกลไกสนับสนุนใน
ข้อ 3.3 กล่าวคือ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลในเชิงปริมาณของปีงบประมาณ 2560 พบอุปสรรคหลายประการ เพื่อให้การ
ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในเชิงปริมาณในปีงบประมาณถัดๆ ไป มีความสะดวก
รวดเร็ว และแม่นยามากขึ้น ควรมีการพิจารณาปรับปรุงแนวทางการจัดเก็บรวบรวมเอกสาร
และการกรอกข้อมูลรายงานของหน่วยงานผู้ได้รับการจัดสรรงบประมาณดังนี้
3.4.1 ควรจัดเก็บเอกสารเรียงตามโครงการที่ดาเนินงาน โดยชี้แจงให้หน่วยงานผู้ดาเนินงาน
จากหน่ ว ยงานต่ า งๆ ด าเนิ น การรายงานผลแยกเอกสารเป็ น รายโครงการตาม
งบประมาณที่ได้จัดสรรตาม พรบ. หากในหน่วยงานมีการดาเนินงานหลายโครงการก็
ให้แยกชุดเอกสารรายงานออกจากกัน และควรจัดเก็บเอกสารจาแนกตามหน่วยงาน
และเรียงตามไตรมาส
3.4.2 ควรมี ก ารสร้ า งรหั ส โครงการเพื่ อ การง่ า ยต่ อ การติ ด ตามผลระยะยาว และใช้ ชื่ อ
โครงการที่ตรงกันตั้งแต่เ ล่มแผนบูรณาการ รายงานผลจากหน่วยงาน รายงานเสนอ
สานักงบประมาณ รายงานเสนอรองนายกฯ
3.4.3 ควรปรับรูปแบบแบบฟอร์มรายงานผลให้ผู้กรอกไม่สามารถทาแตกต่างจากที่กาหนด
ได้ และสามารถติดตามผลและจัดเก็บได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว
3.4.4 การกรอกรายละเอียดผลการดาเนินงานควรเป็นรูปแบบเดียวกัน โดยให้ สอดคล้องกับ
เป้าหมาย โดยควรระบุเป็นตามไตรมาสนั้นๆ ไม่สะสม เพื่อประสิทธิภาพในการติดตาม
ผลการดาเนินงาน
3.4.5 ในอนาคตควรมีระบบการติดตามผลการดาเนินงานแบบอิเลคทรอนิกส์ (ออนไลน์)
นอกเหนือจากการส่งเอกสารและการรายงานทางอีเมล เช่น การใช้ระบบลักษณะ
๑๔๒
เดียวกับ SAP ERP เพื่อให้การรายงานผลเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน และตรงกันตลอด
ทั้งกระบวนการ
3.5 ควรเน้นการพัฒนากลไกการขับเคลื่อน การสร้างระบบนิเวศน์และโครงสร้างพื้นฐานทาง
สังคมที่เอื้ออานวยควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพที่ตัวคน
นอกจากการพัฒนาคนไทยตามช่วงวัยจะต้องเน้นที่ตัวบุคคลระดับปัจเจกแล้ว ควรเพิ่มกลไก
เครื่องมือ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางสังคมสมัยใหม่
6.3 ต้นแบบในการประเมินผลแผนบูรณาการที่สามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในประเมินผลการดาเนินงาน
รายงานผลการศึกษาฉบับนี้ที่ได้จัดทาขึ้นสามารถนาไปขยายผลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการติดตาม
ประเมินผลแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยสาหรับปีงบประมาณต่อๆ ไปได้เป็นอย่างดี โดยเราสามารถ
สรุ ป แนวทางที่ใช้เป็ น ต้น แบบในการประเมินผลแผนบูรณาการการพัฒ นาคนตามช่ว งวัย ได้เป็นขั้นตอน
ดังต่อไปนี้
1. การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทฤษฎีและแนวทางที่ใช้ในการติดตามประเมินผล
แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการประเมินผลนับว่ามีความสาคัญอย่างยิ่ง ผู้ประเมินผลควรจะต้องมี
ความเข้าใจในแนวคิดและทฤษฎีการติดตามและประเมินผลอย่างถ่องแท้ โดยแนวคิดทฤษฎีในการประเมินผล
มีด้วยกันหลายทฤษฎี ผู้ประเมินผลควรต้องเลือกแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับสิ่งที่จะประเมินและพิจารณาถึ ง
ข้อจากัดสาหรับแนวทางที่ใช้ในการประเมินผลด้วย อาทิ การเข้าถึงข้อมูล ระยะเวลา และงบประมาณ โดย
ผลสรุ ป จากการศึ ก ษาครั้ ง นี้ ไ ด้ เ สนอแนะให้ ใ ช้ แ บบจ าลองซิ ป ป์ ใ นการประเมิ น ผลของสตั ฟ เฟิ ล บี ม
(Stufflebeam: CIPP Model) เป็นต้นแบบในการประเมินผลของแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจากัดทางด้านข้อมูลที่ใช้ในการประเมินผลครั้งนี้ จึงทาให้การ
วางแผนในการประเมิน ผลต้อ งจ าแนกออกเป็น 2 ส่ ว น คือ (1) การประเมินผลเชิงปริมาณ ซึ่งเน้นการ
ประเมิ น ผลในส่ ว นของผลผลิ ต ของโครงการ โดยเกณฑ์ ที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น ผลควรประกอบด้ ว ย เกณฑ์
ประสิทธิผล (Effectiveness) และเกณฑ์ประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นสาคัญ และ (2) การประเมินผลเชิง
คุณภาพ ซึ่งเป็นการประเมินในส่วนของบริบท ปัจจัยนาเข้า และกระบวนการในการดาเนินการของแผน การ
รวมผลการประเมินผลทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกันจะทาให้ได้รับผลการประเมินที่ครบถ้วนตามกรอบการดาเนินงาน
ที่ได้กาหนดไว้ดังภาพที่ 3.3
๑๔๓
ภาพที่ 3.3 กรอบแนวทางในการประเมินผลแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
2. การทบทวนแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
การทบทวนแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยจะทาให้ผู้ประเมินทราบถึงแนวคิดในการ
จั ด ท าแผนบู ร ณาการการพั ฒ นาคนตามช่ ว งวั ย และยั ง เป็ น การรวบรวมกิ จ กรรม ผลผลิ ต ผลลั พ ธ์ และ
งบประมาณของโครงการต่างๆ ที่ดาเนินการภายใต้แผนบูรณาการฯ ดังกล่าว นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้รับจากการ
ทบทวนแผนบูรณาการฯ นี้ จะถูกนามาใช้สาหรับการประเมินบริบท (Context) ของการดาเนินแผนบูรณาการ
ฯ และโครงการ รวมทั้งการกาหนดตัวชี้วัดผลิตของแต่ละโครงการ และภาพรวมของแผนบูรณาการฯ ต่อไป
3. พัฒนาตัวชี้วัดในการประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
ผู้ ป ระเมิน ควรใช้แนวคิ ด การประเมินผลที่เน้นวั ตถุ ประสงค์ (Objective-Based Model)
ร่วมกับเกณฑ์ในการประเมินผลในด้านการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นหลัก รวมทั้งการพัฒนาตัวชี้วัด
ในการประเมินผลกระทบอันเนื่องมาจากการดาเนินงานตามแผนบูรณาการฯ ดังกล่าว โดยอาจมีการกาหนด
ตัวชี้วัดออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome) และตัวชี้วัดผลกระทบ
(Impact) ซึ่งจะทาให้การประเมินผลแผนบูรณาการฯ สามารถตอบเป้าหมายของแผนได้ทุกระดับ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ
ในส่ ว นนี้ ผู้ ป ระเมิ น ควรเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล จากแบบรายงานผลการด าเนิ น ที่ ส านั ก งาน
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ใช้ในการดาเนินงาน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตควรมี
การเพิ่ ม เติ ม รายละเอี ย ดให้ ม ากขึ้ น รวมทั้ ง ควรมี ก ารจั ด ท าคู่ มื อ ในการรายงานผลการด าเนิ น งานให้ กับ
หน่วยงานร่วมดาเนินการต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลเป็นไปบนบรรทัดฐานเดียวกัน และสามารถนามาสรุปรายละเอียด
ตามแนวทางการดาเนินงาน เป้าหมาย และภาพรวมของแผนบูรณาการฯ ได้อย่างครบถ้วน
5. การประเมินผลผลิตของโครงการ
เป็นการประเมินผลในเชิงปริมาณ โดยเน้นการประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการ ด้วย
แนวคิดการประเมินด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดาเนินโครงการในเชิงปริมาณ เช่น การ
๑๔๔
เบิกจ่ายงบประมาณ ผลผลิตของโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมาย และประสิทธิภาพในด้านของต้นทุน
ต่อหน่วยของผลผลิต เป็นต้น จาแนกตามโครงการต่างๆ ตลอดจนผลกระทบของโครงการ แล้วสรุปเป็น
ภาพรวมของแต่ละแนวทาง แต่ละเป้าหมาย และในภาพรวมของการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการ
พัฒนาคนตามช่วงวัย
สาหรับหลักการในการประเมินเชิงปริมาณมีดังนี้
กำรประเมินประสิทธิผล
ส่วนนี้เป็นการประเมินประสิทธิผลของกิจกรรมที่ดาเนินการตามแผนฯ ทั้งนี้ ความมี
ประสิทธิผลในที่นี้ หมายถึง การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดาเนินกิจกรรมตามที่ตั้งวัตถุประสงค์หรือ
เป้าหมายไว้ โดยจะได้พิจารณากาหนดตัวชี้วัดจากผลผลิตตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่ได้กาหนดไว้ใน
โครงการ
ทั้งนี้ การประเมินการบรรลุประสิทธิผลของกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่ดาเนินการ
ได้พิจารณาจากอัตราส่วนระหว่างผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับผลผลิตตามเป้าหมายหรือตัวชี้วัดของ
กิจกรรม โดยได้กาหนดระดับการบรรลุประสิทธิผลไว้ 5 ระดับ ดังนี้
ประสิทธิผล การบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
ร้อยละ 0-20 ระดับต่า
ร้อยละ 21-40 ระดับค่อนข้างต่า
ร้อยละ 41-60 ระดับปานกลาง
ร้อยละ 61-80 ระดับค่อนข้างสูง
ร้อยละ 81-100 ระดับสูง
กำรประเมินประสิทธิภำพ
สาหรับการประเมินประสิทธิภาพในที่นี้ควรวัดจากต้นทุนต่อหน่วย (Unit Cost) ของ
การดาเนินกิจกรรมเป็นสาคัญ ซึ่งมีวิธีในการคานวณดังนี้
ต้นทุนต่อหน่วย = ค่าใช้จ่ายในการดาเนินกิจกรรม
ผลผลิตจากการดาเนินกิจกรรม
โดยการวัดต้นทุนต่อหน่วยดังกล่าวจะช่วยให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการดาเนินงาน
ของโครงการต่างๆ ว่ามีการใช้จ่ายงบประมาณในการดาเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับงบประมาณ
ที่ได้กาหนดไว้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนต่อหน่วยที่เกิดขึ้นจริงกับต้นทุนต่อหน่วยที่ ได้กาหนดไว้ใน
แต่ละกิจกรรม การวัดประสิทธิภาพจากต้นทุนต่อหน่วยดังกล่าวได้กาหนดเกณฑ์การวัดไว้ 5 ระดับดังนี้
๑๔๕
(1) มีประสิทธิภาพระดับสูง หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อ
หน่วยที่เกิดขึ้นจริงต่ากว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้มากกว่าร้อยละ 10
(2) มีประสิทธิภาพระดับค่อนข้างสูง หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมี
ต้นทุนต่อหน่วยที่เกิดขึ้นจริงต่ากว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้น้อยกว่า
หรือเท่ากับร้อยละ 10
(3) มีป ระสิ ทธิภ าพระดับปานกลาง หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมี
ต้นทุนต่อหน่วยที่เกิดขึน้ จริงเท่ากับต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้
(4) มีประสิทธิภาพระดับค่อนข้างต่า หมายถึง การดาเนินงานมีค่าใช้จ่าย หรือมี
ต้นทุนต่อหน่วยที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้ น้อยกว่า
หรือเท่ากับร้อยละ 10
(5) มีประสิทธิภาพระดับต่า หมายถึง การดาเนิน งานมีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่อ
หน่วยที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ประมาณการไว้ มากกว่าร้อยละ 10
6. การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ
ผู้ประเมินควรดาเนินการใน 2 ลักษณะ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดประชุมชี้แจง
เพื่อรับฟังความคิดเห็น สาหรับรายละเอียดในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิมีดังนี้
กำรสัมภำษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
ควรดาเนินการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการภายใต้
แผนงานบูรณาการพัฒนาคนตามช่วงวัยของกระทรวงต่างๆ ที่เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในแผนบูรณาการฯ โดย
วัตถุประสงค์หลักของการสัมภาษณ์เพื่อรับทราบถึงมุมมองข้อคิดเห็นต่อผลการดาเนินการแผนบูรณาการการ
พัฒนาคนตามช่วงวัย ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการ ตลอดจนแนวทางในการปรับปรุงการดาเนิน
โครงการภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย นอกจากนี้ ในการสัมภาษณ์เชิงลึ กของโครงการนี้ยัง
เป็นการรับทราบข้อคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งสาคัญที่จะนาไปวิเคราะห์
และประมวลเป็นข้อเสนอแนะการพัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัยและสังคมไทย ให้มีการพัฒนาอย่างมี
คุณภาพ อยู่ดีมีสุข และยั่งยืน
(ร่าง) ประเด็นคาถามการสั มภาษณ์เชิงลึ ก ผู้บริหารกระทรวงการพัฒ นาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ ควรประกอบด้วยแนวคาถามดังนี้
• ประเด็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) ซึ่งมีความสาคัญและเป็นความท้าทาย
ของการพัฒนาคนที่ควรเร่งผลักดันด้วยแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
• ผลการดาเนินการแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัยที่ผ่านมา
• ประเด็นข้อจากัด ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการ แนวทางดาเนินการเพื่อ
ปลดล็อคปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร
• แนวทางในการปรับปรุงการดาเนินโครงการภายใต้แผนบูรณาการฯ
๑๔๖
• ข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการการดาเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานและภาคส่วน
ต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ
• ข้อเสนอแนะการพัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัยและสังคมไทย ให้มีการพัฒนาอย่างมี
คุณภาพ อยู่ดีมีสุข และยั่งยืน
กำรจัดประชุมชี้แจงเพื่อรับฟังควำมคิดเห็น
การจัดประชุมชี้แจงเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของ
ส่วนราชการภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาคนตามช่วงวัย ควรเน้นการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพในส่วน
ของความคิดเห็นเพื่อนาไปวิเคราะห์ประกอบกับตัวชี้วัดต่างๆ ในรายงานผลการดาเนินงานต่อไป
สาหรับกิจกรรมการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นนี้ ควรจัดเป็นการรับฟังความคิดเห็น
กลุ่มย่อยเพื่อให้ได้มีการรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ครอบคลุมสาระสาคัญในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ผลการดาเนินงานแผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
- กรณีตัวอย่างความสาเร็จ ต้นแบบการบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
- ข้อจ ากัด ปั ญหาอุป สรรคการบูรณาการการพัฒ นาคนตามช่วงวัย (แผนงาน และการ
ปฏิบัติการ)
- ข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนและบูรณาการการทางาน
7. การประเมินผลในเชิงคุณภาพ
เป็นการนาข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมชี้แจงมาประมวลผลในส่วน
ของการประเมินผลปัจจัยเข้า และกระบวนการในการดาเนินโครงการ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเหมาะสม
ของปัจจัยนาเข้าต่างๆ (Input) ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของงบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยี และในส่วนของ
กระบวนการ (Process) ในการดาเนินการและการอานวยการจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ และจะถูกนาไปประกอบกับการประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ในส่วนของการประเมิน
8. การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)
การประเมินผลกระทบอาจเรียกได้ว่าเป็นผลสุดท้ายของโครงการซึ่งนับว่ามีความสาคัญมาก
และนั บ ว่าเป็ น ส่ ว นที่ย ากที่สุดของการศึกษาเนื่องจากโครงการทางสังคมส่ วนใหญ่มักจะส่ งผลให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (Structural Change) หรือ การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม (Behavioral Change)
หรือ การเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เกิดจากโครงการซึ่งจาเป็นต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้าง
นานนับจากวันแรกที่มีโครงการ ผู้ประเมินควรพิจารณาว่าโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงแผนบูรณาการการ
พัฒนาคนตามช่วงวัยต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ถึงจะเห็นผลสัมฤทธิ์และควรวางแผนการประเมินผลกระทบ
ต่อไป
9. การสรุปผลการประเมินและจัดทาร่างรายงาน
เป็นการนาผลการประเมินทุกส่วนมาเรียบเรียงให้เห็นถึงผลการดาเนินงานภายใต้แผนบูรณา
การการพัฒนาคนตามช่วงวัย ทั้งหมด ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งข้อจากัดในการดาเนินของโครงการต่างๆ
๑๔๗
และการอานวยการของกระทรวงการพัฒ นาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อนามาสู่ การสั งเคราะห์
ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการปฏิบัติงานภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย ให้มีการดาเนินงาน
ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
10. การจัดประชุมชี้แจงผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการภายใต้แผนงาน
บูรณาการพัฒนาคนตามช่วงวัย
การประชุมชี้แจง (ร่าง) รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ ควรมีกิจกรรม 2 ส่วน คือ
• นาเสนอผลการศึกษา รายงานการประเมินผลการดาเนินงานตามแผนบูรณาการการ
พัฒนาคนตามช่วงวัย
• เปิดเวทีรับฟังข้อคิดเห็นผู้เข้าร่วมประชุม แนวทางในการปรับปรุงการดาเนินโครงการ
ภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาคนตามช่วงวัย
กรอบแนวคิดในการติดตามประเมินผลแผนบรูณาการฯ สามารถแสดงให้เห็นโดยสรุปเป็นขั้นตอนดัง
ภาพที่ 3.1 ที่ได้นาเสนอไว้ก่อนหน้านี้
๑๔๘
ภาพที่ 3.1 กรอบแนวคิดในการดาเนินงาน
๑๕๐
เอกสารและสิ่งอ้างอิง
เทียนฉาย กีระนันทน์ (2537). “การวางแผนและจัดทาโครงการของรัฐ ”. รวมบทความทางการประเมิน
โครงการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปุ ร ะชั ย เปี่ ย มสมบู ร ณ์ (2530). หลั ก การวิ จั ย และการประเมิ น ผล. กรุ ง เทพฯ: คณะรั ฐ ศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2542). การวิจัยประเมินผล: หลักการและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน
จากัด ที พี เอ็น เพรส
Gertler, P.J., Martinez, S., Premand, P., Rawlings, L.B. and Vermeersch, C.M., 2016. Impact
evaluation in practice. World Bank Publications.
NATO’s Joint Analysis and Lessons Learned Centre. 2 0 1 3 . A framework for the strategic
planning & evaluation of public diplomacy. Monsanto, Lisbon, Portugal.
Royse, D., Thyer, B.A. and Padgett, D.K., 2015. Program evaluation: An introduction to an
evidence-based approach. Cengage Learning.
Stufflebeam, D.L., 2003. The CIPP model for evaluation. In International handbook of
educational evaluation (pp. 31-62). Springer, Dordrecht.
๑๕๑