Komatra Chuengsatiansup โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
Komatra Chuengsatiansup is the Director of Society and Health Institute (SHI), Ministry of Public Health, Thailand. He received his MD. from Chulalongkorn University and his Ph.D. in Social Anthropology from Harvard University in 1998. He is interested in the intersection between health, social sciences and humanities. His works cover various fields including: “Sense, Symbol, and Soma: Illness Experience in the Soundscape of Everyday Life” (1999), Community Approach, A Field Book on Anthropological Tools for Community Work in Primary Care (2002), Power and Corruption: A Cultural Analysis of Health Bureaucracy (2003), “Spirituality and Health: An Initial Proposal to Incorporate Spiritual Health in Health Impact Assessment” (2003), Medicine and Ethnicity (2004), Deliberative Action: Civil Society and Health Systems Reform in Thailand (2005), Drug in Community: A Socio-cultural Aspect (2007), Village Health Volunteers in the Contexts of Changes (2007), “Ethnography of Epidemiologic Transition: Avian Flu, Global Health Politics, and Agroindustrial Capitalism in Thailand” (2008). Health Reform, Democratic Reform: Public Policy, Participation and Deliberative Democracy (2015). Architectural Design and Healing Environment in Healthcare (2016). “Citizens’ Jury and Elder Care: Public Participation and Deliberation in Long-Term Care Policy in Thailand” (Upcoming). His current research focuses on community health; elderly care and family caregivers; disaster and community response; civic politics and public policies; culture and health risks, and spiritual dimensions of health.
He has taught at various universities in Thailand and has been supervisor of several Ph.D and MA dissertations and research projects. He has organized many seminars, conferences and training workshops on community health and qualitative research. In 2001 he was a visiting professor at Graduate School of Asian and African Area Studies, Kyoto University Japan. In recent years, he has been active in the field of leadership development, working in designing and implementing capacity strengthening program for new health leaders in Thailand.
He has taught at various universities in Thailand and has been supervisor of several Ph.D and MA dissertations and research projects. He has organized many seminars, conferences and training workshops on community health and qualitative research. In 2001 he was a visiting professor at Graduate School of Asian and African Area Studies, Kyoto University Japan. In recent years, he has been active in the field of leadership development, working in designing and implementing capacity strengthening program for new health leaders in Thailand.
less
InterestsView All (23)
Uploads
Books by Komatra Chuengsatiansup โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
1. ๑๐๐ ปีการสาธารณสุขไทย ๑๐๐ ปีแห่งการพัฒนา ย้อนรอยอดีตสาธารณสุขยุคก่อนประวัติศาสตร์
2. ความป่วยไข้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
3. อโรคยาศาล ระบบบริการสุขภาพในอดีต สาธารณสุขยุคสุโขทัย-อยุธยา
4. สาธารณสุขยุคสุโขทัย(พ.ศ. ๑๗๙๒-๑๙๘๑)
5. สาธารณสุขในสมัยอยุธยา(พ.ศ. ๒๐๗๒-๒๒๑๒) การสาธารณสุขในยุครัตนโกสินทร์
6.การแพทย์ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราชวงศ์จักรีกับการสาธารณสุขไทย
7. การสาธารณสุขไทยในสมัยรัชกาลที่ 1
8. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 2
9. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 3
10. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 4
11. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 5
12. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 6
13. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7
14. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 8
15. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 9
16. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 10
17. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอนที่ 1 เวชกรรม
18. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอน 2 เภสัชกรรมไทย
19. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอน 3 การผดุงครรภ์
20. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอน 4 การนวดไทย
21. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอน 5 หมอพื้นบ้าน
22. หมอและยานานาชาติในตำราพระโอสถพระนารายณ์
23. แพทย์สยามในสายตาชาวตะวันตก
24. ป่วง ห่า อหิวา และไข้ทรพิษ
25. โรคระบาดไร้พรมแดน
26. โรคระบาดกับการเปลี่ยนผ่านทางการสาธารณสุข
27. การเข้ามาของการแพทย์ตะวันตก
28. ร้านยาของหมอบรัดเลย์และหมอเฮาส์
29. การผ่าตัดและดมยาสลบครั้งแรกในสยาม
30. วิทยาการสมัยใหม่กับสังคมไทย
31. การคลอดการอยู่ไฟ กับการแพทย์สมัยใหม่
32. หมอตำแย
33. ไข้ทรพิษ และการปลูกหนองฝี
34. ไข้หมากไม้ อายพิศม์กับมาเลเรีย
35. กาย จิต มันสมอง : โลกทัศน์ใหม่กับไตรภูมิ
36. ผู้หญิง การผดุงครรภ์กับผู้ชายทำคลอด
37. กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
38. แม่เต๋อ พยาบาลไทยคนแรก
39. หมอเทียนฮี้
40. ศึกฮ่อ หมอเทียนฮี้และไข้ป่า
41. 12 โรงพยาบาลสมัยใหม่ยุคแรกเริ่มในยาม
42. การสร้างโรงพยาบาลคนเสียจริต
43. สถาปัตยกรรมโรงพยาบาลในยุคแรก
44. การออกแบบโรงพยาบาล จากสถานศักดิ์สิทธิ์ สู่สถาปัตยกรรมเพื่อการเยียวยา
45. ชาวบ้านไม่ยอมมารักษาในโรงพยาบาลสมัยใหม่
46. จากโอสถศาลาถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
47. การกักกันโรค (Quaratine)
48. อหิวาต์ ระบาดวิทยากับหมอจอห์น สโนว์
49. ตั้งปาสตุรสภา
50. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
51. มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
52. ราชแพทยวิทยาลัย ครูฝรั่ง นักเรียนแพทย์และภารโรง
53. เรื่องกรมพยาบาล
54. โรงเรียนปรุงยากับความเป็นมาของเภสัชศาสตร์
55. กิจการสาธารณสุขเมื่อแรกเริ่ม
56. ปัญหาการบริหารการสาธารณสุขยุคแรก
57. สภาอุณาโลม กาชาดและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
58. การแพทย์การสาธารณสุขภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475
59. แฝดสยาม
60. อาหารห้าหมู่ สู่อาหารปลอดภัย
61. พลเมืองเข้มแข็ง นำชาติสู่มหาอำนาจ
62. ยาไทย ยาฝรั่งกับการก่อตั้งองค์การเภสัชกรรม
63. โฆษณา สุขอนามัยกับความขาว
64. ดารา สบู่ ความงามและความสะอาด
65. ผงซักฟอก ความสะอาดกับการตลาดสมัยใหม่
66. หลวงวาจฯ ท่านผู้นำปวดฟันและคณะทันตแพทย์
67. การแพทย์การสาธารณสุขไทยยุคสงครามเย็น
68. สงครามเย็น หนังขายยากับการสาธารณสุข
69. การอออกหน่วยสุขศึกษา
70. คุดทะราด เพนนิซิลกับดนตรีปี่พาทย์
71. หมอแมคเคนกับการฟื้นฟูชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อน
72. มูลนิธิราชประชาสมาลัย
73. การควบคุมการแพร่ระบาดของไข้มาลาเรีย
74. วัคซีนโปลิโอ...สู่การกวาดล้างโรคโปลิโอในประเทศไทย
75. ส้วมกับสังคมไทย
76. ส้วมสมัยใหม่
77. การวางแผนครอบครัว
78. การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
79. เอดส์และสังคมไทย
80. ฉะอ้อน เสือสุ่ม บทเรียนจากผู้ป่วยเอดส์รายแรก
81. ยาเกิน ยาขาด กับนโยบายแห่งชาติด้านยา
82. ภาวะสมองไหลกับการแพทย์ในชนบท
83. อนามัยชุมชน
84. การสาธารณสุขมูลฐาน: สุขภาพภาคประชาชน
85. การฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
86. ชีวจิตฟีเวอร์กับการแพทย์ทางเลือก
87. โรงแรมรอยัล พลาซ่ากับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
88. ยาสูบกับการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
89. ความตาย ผีและพิธีกรรม
90. การตายในโรงพยาบาล
91. พิธีกรรมในงานศพ
92. ศพ กลิ่น ความสะอาดและอำนาจรัฐ
93. อัฐิ เจดีย์ และพิธีกรรมหลังการตาย
94. ความตายกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
95. โรคเรื้อรังกับการดูแลที่บ้าน
96. โรคเก่า โรคใหม่: โรคติดต่อในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
97. การสาธารณสุขไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้จากอดีตในโอกาสเฉลิมฉลอง 100 ปี การสาธารณสุขไทย
98. หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ
99. การสัมมนาผู้รู้เห็นประวัติศาสตร์สุขภาพ
100. หอประวัติศาสตร์สุขภาพ
การเกิดขึ้นของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาตินั้น นอกเหนือจากการขยายกรอบแนวคิดเรื่องสุขภาพให้เชื่อมโยงกันทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ (หรือปัญญา) โดยมุ่งการทำงานสุขภาพเชิงรุกที่เน้น “การสร้าง” ให้สังคมสุขภาพมากกว่า “การซ่อม” คือการรักษาโรคเมื่อปัจเจกบุคคลเกิดการเจ็บป่วยแล้ว การดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติยังเน้น “การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” ในความหมายที่แตกต่างออกไปจากเดิม ที่ความหมายของการมีส่วนร่วมมุ่งให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับนโยบาย แผนงานหรือกิจกรรมที่ภาครัฐกำหนดขึ้น แนวคิดใหม่หันมาให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองที่จะร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะและทิศทางการพัฒนาร่วมกัน โดยผ่านกลไกและกระบวนการต่างๆ ที่ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่ เช่น การยกร่างธรรมนูญสุขภาพทั้งในระดับประเทศและในระดับชุมชน เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆมาร่วมกันกำหนดข้อตกลงหรือกติการ่วมกันในการสร้างเสริมสุขภาพ หรือกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของแผนงานโครงการขนาดใหญ่ (Health impact assessment) ที่ช่วยให้ภาคส่วนต่างๆ และชุมชนมีช่องทางที่จะนำเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความวิตกกังวลจากภัยคุกคามด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบาย แผนงานหรือโครงการต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีกระบวนการสมัชชาสุขภาพ (Health assembly) ที่นอกจากจะเป็นเวทีที่ภาคประชาชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นและร่วมกันกำหนดนโยบายสาธารณะแล้ว ยังเป็นพื้นที่สำคัญของการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองและการอดทนอดกลั้นทางการเมืองผ่านการถกแถลง และไตร่ตรองร่วมกัน (Deliberation) เพื่อแสวงหาข้อตกลงร่วมในท่ามกลางความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
การยกร่างธรรมนูญสุขภาพ กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสมัชชาสุขภาพ ถือได้ว่าเป็น “นวัตกรรมทางการมีส่วนร่วมของพลเมือง” ที่เป็นรูปธรรมที่มีการดำเนินงานต่อเนื่องมาแล้วระยะหนึ่ง ประสบการณ์จากรูปธรรมทั้งสามนี้เป็นบทเรียนสำคัญต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมการเมืองที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคพลเมืองเข้ามาร่วมคิด ร่วมตรวจสอบ ร่วมทำ และร่วมกำหนดอนาคตของระบบสุขภาพ ทั้งการยกร่างธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบสุขภาพและสมัชชาสุขภาพจึงเป็นพื้นที่สำหรับการนำแนวความคิด ข้อมูล ปัญหา รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างหลากหลายมาแลกเปลี่ยน ถกแถลง อภิปราย ต่อรอง โน้มน้าวและหาข้อตกลงต่างๆ ร่วมกัน พื้นที่เหล่านี้เองที่หล่อเลี้ยงให้สำนึกความเป็นพลเมืองเติบโตและงอกงาม
เวทีของการแลกเปลี่ยนถกเถียงเหล่านี้เป็นรูปธรรมหนึ่งที่สะท้อนแนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง หรือ Deliberative democracy” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการชี้แจงและอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อหาข้อยุติร่วมกันในฐานะพลเมืองที่เท่าเทียม แม้ว่ากระบวนการที่ภาคส่วนต่างๆ ต้องมาถกแถลง (Deliberation) กันจะเป็นส่วนที่ขาดเสียไม่ได้ทั้งในกระบวนการยกร่างธรรมนูญสุขภาพและการประเมินผลกระทบสุขภาพ แต่เราจะพบเห็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในกระบวนการถกแถลงที่เด่นชัดและมีพลวัตได้จากกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
แนวคิดประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรองให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้มีความคิดเห็น จุดยืนทางการเมืองหรือผลประโยชน์แตกต่างกันได้เข้าสู่กระบวนการพูดคุย ชี้แจงเหตุผลและอธิบายสิ่งที่ตนคิดตนเชื่อให้ฝ่ายอื่นๆได้รับรู้ ให้มีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนและได้ไตร่ตรองร่วมกัน พื้นที่สำหรับการถกแถลงมีความสำคัญต่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยจึงอยู่ที่การสื่อสาร ปฏิบัติการสื่อสาร (Communicative action) จึงเป็นปฏิบัติการทางการเมืองที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีเจตนาที่จะแลกเปลี่ยนกันด้วยการสื่อสาร แทนที่จะแลกเปลี่ยนกันด้วย “ตัวกลางอื่น” ในขณะที่ระบบรัฐและระบบตลาดอาศัยตัวกลางคือ “อำนาจและเงิน” ในการบรรลุผลลัพธ์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ชีวิตสาธารณะที่ดีอาศัยตัวกลางคือ การสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นการบรรลุเป้าหมายที่มีรากฐานความชอบธรรมจากการสื่อสารหาข้อตกลงกันโดยปราศจากการใช้อำนาจหรือเงินเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ในสังคมประชาธิปไตยนั้นการสื่อสารทำความเข้าใจกันและหาข้อตกลงร่วมกันด้วยเหตุผล จึงควรจะมีอำนาจเหนือการใช้อำนาจและเงินในการบรรลุเป้าหมาย ในสถานการณ์ปัจจุบันของโลกสมัยใหม่ ระบบรัฐและทุนได้แทรกตัวเข้ามาเบียดขับพื้นที่ของโลกแห่งการมีชีวิตอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ปฏิบัติการสื่อสารถูกทดแทนด้วยปฏิบัติการแห่งอำนาจและทุน สิ่งที่จะต้องทำเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงคือ การสร้างกลไกที่จะถ่ายเทพลังปฏิบัติการสื่อสารเพื่อความเข้าใจเข้าไปสู่โครงสร้างของระบบรัฐและทุน เพื่อที่จะให้มนุษย์ใช้ข้อตกลงร่วมกันที่เป็นผลจากการสื่อสารในการต่อรองกับอำนาจของรัฐและทุนได้ และการที่จะขับเคลื่อนให้ความเข้าใจและข้อตกลงร่วมกันเข้าไปมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐและทุนนั้น เราจำเป็นต้อง “แปลง” พลังแห่งปฏิบัติการสื่อสารให้อยู่ในรูปของ “รหัส” ที่จะสัมพันธ์แลกเปลี่ยนและต่อรองกับอำนาจและทุนได้ ฮาเบอร์มาสเสนอว่า การแปลงพลังดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้โดยการแปลงเจตนารมณ์ร่วมให้กลายเป็น “กฎหมาย” เพราะ “กฎหมาย” ไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่เปิดที่พลเมืองจะสามารถเข้าไปร่วมกำหนดผ่านปฏิบัติการสื่อสารในพื้นที่สาธารณะต่างๆ แต่มันยังเป็นรหัสที่สามารถเข้าไปกำกับ ขับเคลื่อน หรือควบคุมทิศทางการใช้อำนาจและทุนของระบบอีกด้วย
กระบวนการสมัชชาซึ่งทำหน้าที่แปลเจตนารมณ์ร่วมของพลเมืองที่มาถกแถลง ชี้แจงและอธิบายปัญหาและหาทางออกร่วมกันให้กลายเป็นมติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นมาตรการและกฎระเบียบอื่นๆ ในทางกฎหมาย แม้จะเป็นเพียงกลไกที่ทำงานเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพ แต่ก็มีสถานภาพที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างระบบประชาธิปไตย ผ่านกระบวนการถกแถลงที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมได้ ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดจากการออกแบบเชิงสถาบัน จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาและค่อยๆแสวงหาหนทางปรับแก้ แต่งเติมและผสมผสานรูปแบบที่หลากหลายของกระบวนการถกแถลง เพื่อให้พื้นที่สมัชชาสุขภาพไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่บนเวทีหรือในห้องประชุมสมัชชาประจำปี แต่เป็นพื้นที่หลากหลายที่พลเมืองมาเรียนรู้ที่จะคิดร่วมกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน และมาแสวงหาหนทางที่จะสร้างสังคมที่ดีขึ้นด้วยวิธีการที่ไม่มีใครสามารถทำได้ตามลำพัง
Papers by Komatra Chuengsatiansup โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
Executive Summary
โครงการเรียนรู้อยู่กับภัยพิบัติ: นิเวศวัฒนธรรม สื่อ รัฐ กับพลวัตชุมชน (ปีที่2) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์และปฏิกิริยาของชุมชนที่มีต่อภัยพิบัติ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดภัยพิบัติในบริบทนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบแบบแผน ลักษณะ เงื่อนไขและผลที่เกิดตามมาต่อการรับมือกับภัยพิบัติและวิเคราะห์ประเมินกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์รับมือภัยพิบัติของชุมชนในการรับมือกับภัยพิบัติ รวมทั้งการเรียนรู้ที่เกิดจากสื่อ มาตรการของรัฐและการทำงานกับองค์กรภายนอก การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาข้อเสนอและรูปแบบ (Model) การเสริมศักยภาพชุมชนในการจัดการ
ภัยพิบัติจากบทเรียนและประสบการณ์ชุมชนเองกับการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของมาตรการเสริมศักยภาพชุมชนที่ดำเนินการโดยองค์กรต่างๆ จากภายนอก โดยดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2561
การวิจัยในปีที่ 2 นี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการศึกษาในระยะแรก ที่เน้นการศึกษาประสบการณ์ชุมชนในด้านอุทกภัย โดยได้ขยายไปศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสบการณ์ของชุมชนในภัยพิบัติหลายประเภทขึ้น ได้แก่ ไฟป่า ภัยแล้ว ดินโคลนถล่ม และแผ่นดินไหว โดยเน้นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focused group) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน โดยในกระบวนการวิจัยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเปิดพื้นที่ให้ผู้นำและสมาชิกชุมชนร่วมค้นหาและสะท้อนประสบการณ์การเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในบริบทนิเวศวัฒนธรรมชุมชน ทั้งจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ปฏิกิริยาการรับมือของชุมชนท้องถิ่น ศักยภาพและทุนทางสังคมต่อการรับมือภัยพิบัติเพื่อนำมาพัฒนาฐานข้อมูลนิเวศวัฒนธรรมชุมชน (Community Cultural Ecology Profile) และวิเคราะห์รูปแบบการจัดการภัยพิบัติ พื้นที่กรณีศึกษาได้แก่
1. พื้นที่ไฟป่า ตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
2. พื้นที่ภัยแล้ง ตำบลท่านางแนว อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
3. พื้นที่แผ่นดินไหว ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
4. พื้นที่น้ำป่า-ดินโคลนถล่ม ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
การศึกษาในปีที่ 2 นี้ดำเนินการต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการวิจัยฯ ปีที่ 1 ซึ่งเน้นประสบการณ์ชุมชนในการรับมืออุทกภัยใน 4 พื้นที่ คือ
1. พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ตำบลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
2. พื้นที่น้ำท่วมยาวนาน ตำบลบางหลวงโดด อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. พื้นที่น้ำท่วมฉับพลัน ตำบลทรายเพชร อำเภอถ้ำพรรณนา จังหวัดนครศรีธรรมราช
4. พื้นที่คลื่นยักษ์สึนามิ ตำบลกมลา อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต
การศึกษาวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา ร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นในชุมชน ที่ร่วมศึกษาเรียนรู้ทั้งในทบทวนวรรณกรรม
การวิจัยภาคสนาม และการพัฒนาประเด็นวิชาการเพิ่มเติมเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านภัยพิบัติศึกษา (Disaster study) เชื่อมโยงไปสู่ประเด็น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate change) มุมมองสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ซึ่งทำให้ประเด็นด้านนิเวศวัฒนธรรมของภัยพิบัติขยายไปกว้างกว่าการมองเฉพาะผลกระทบต่อมนุษย์เท่านั้น การเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นที่กว้างขึ้นทำให้เห็นผลกระทบต่อพืชพันธุ์และสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศ นอกจากนั้น การทบทวนประวัติศาสตร์ภัยพิบัติและการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่สัมพันธ์กับภัยพิบัติน้ำท่วมเป็นตัวอย่างของการขยายมุมมองความสัมพันธ์เรื่องภัยพิบัติไปสู่ประเด็นการพัฒนาพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น
จากผลการศึกษาสามารถสรุปบทเรียน 6 ข้อ คือ
1) ความรู้ (Knowledge) ประสบการณ์ภัยพิบัติชุมชนเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ขององค์ความรู้สองลักษณะ คือ ความรู้ท้องถิ่น (local knowledge) ที่มีอยู่แล้วในชุมชน ซึ่งถูกกำกับโดยโลกทัศน์ของท้องถิ่น ผสมผสานกับประสบการณ์ที่เกิดจากการใช้ชีวิตในระบบนิเวศวัฒนธรรมของชุมชน กับความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ (Expert knowledge) ซึ่งมีรากฐานจากองค์ความรู้การจัดการภัยพิบัติสมัยใหม่ที่เน้นข้อมูลเชิงประจักษ์และความเข้าใจแบบวิทยาศาสตร์ (ดูตัวอย่างในเรื่องไฟป่าใน Omi 2005: 66) ความรู้แบบผู้เชี่ยวชาญนี้ถูกใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการภัยพิบัติ ที่มักปรากฏในคู่มือภัยพิบัติ ซึ่งในหลายกรณีศึกษา การจัดการภัยพิบัติที่เน้นเฉพาะความรู้แบบผู้เชี่ยวชาญมักจะขัดแย้งกับสิ่งที่ชุมชนเรียนรู้จากประสบการณ์ท้องถิ่น ทำให้การจัดการภัยพิบัติชุมชนเป็นไปอย่างไม่สอดคล้องกับบริบทของนิเวศวัฒนธรรมชุมชน หากสามารถผสมผสานองค์ความรู้ทั้ง 2 ชุดให้ส่งเสริมกันก็จะทำให้การจัดการภัยพิบัติเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน จะสามารถใช้ศักยภาพของชุมชนได้ดีขึ้นและทำให้การรับมือภัยพิบัติมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างยิ่งในทุกๆ ปัญหาภัยพิบัติ การส่งเสริมศักยภาพและบทบาทในการจัดการภัยพิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือภัยพิบัติ ความรู้และความเข้าใจในเรื่องนิเวศวัฒนธรรมของภัยพิบัติจะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดแผนงานและปฏิบัติการ รวมทั้งสามารถช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างเป็นไปตามศักยภาพ รวมทั้งสามารถใช้ทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
3) แม้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากภายนอกจะมีความสำคัญ แต่ศักยภาพการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเองก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติที่มักมีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่หลายชุมชน องค์กรภายนอกอาจมีศักยภาพจำกัดที่จะเข้าถึงทุกพื้นที่และทุกชุมชนอย่างทันต่อสถานการณ์ การสร้างศักยภาพของชุมชน (Capacity building) จึงเป็นส่วนสำคัญในการรับมือภัยพิบัติเช่น การพัฒนาผู้นำและองค์กรนำที่มีศักยภาพ ระบบการสื่อสารที่มีความพร้อม รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายที่เอื้ออำนวยให้ชุมชนสามารถก้าวข้ามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติได้ดีขึ้น ในการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการภัยพิบัติชุมชนนี้ การมีข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงปัญหาภัยพิบัติกับมิติทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชน จะช่วยให้เห็นถึงปัญหาและศักยภาพของชุมชนได้ดีและสามารถนำมาใช้ในการวางแผนรับมือภัยพิบัติของชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
4) นอกจากการยกระดับขีดความสามารถและศักยภาพของชุมชนในการรับมือภัยพิบัติแล้ว ปฏิบัติการในการรับมือภัยพิบัติ ทั้งภัยพิบัติที่มีลักษณะฉุกเฉิน เช่น แผ่นดินไหว หรือน้ำป่า-ดินโคลนถล่ม และภัยที่ยืดเยื้อเรื้อรัง เช่น ภัยแล้งและไฟป่า ความสัมพันธ์ของบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะความไว้วางใจกันระหว่างชุมชนและองค์กรต่างๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหา ความไว้วางใจกันนี้เป็นรากฐานของการทำงานในสถานการณ์ที่เร่งด่วนและเปราะบาง ความรู้ความเข้าใจต่อมุมมองและความคาดหวังที่แตกต่างกันระหว่างองค์กรภายนอกและชุมชน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการรับรู้ความเสี่ยง (Risk perception) การประเมินผลกระทบ (Impact assessment) หรือแนวทางการจัดการที่ให้ความสำคัญแตกต่างกัน จะช่วยลดช่องว่างในการประสานงานระหว่างองค์กรภายนอกกับชุมชนได้
5) เครื่องมือภัยพิบัติชุมชน อันประกอบด้วย ผังประวัติศาสตร์ภัยพิบัติชุมชน แผนที่ชุมชนรับมือภัยพิบัติ ผังเครือญาติ เครือข่ายและองค์กรชุมชน ระบบสื่อสารชุมชน ปฏิทินภัยพิบัติชุมชน ตารางทุนชุมชน ระบบสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน และเรื่องเล่าภัยพิบัติ เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการความรู้เพื่อการจัดการภัยพิบัติของชุมชน เครื่องมือชุดนี้เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับภัยพิบัติแต่ละประเภทได้ตามความจำเป็นและตามลักษณะเฉพาะของแต่ละบริบท กระบวนการศึกษาในการวิจัยครั้งนี้พบว่า การมีทีมวิจัยพื้นที่อันประกอบด้วยผู้นำชุมชน หน่วยกู้ชีพกู้ภัยชุมชน ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผบกระทบ และตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานวิชาการในพื้นที่และหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ภัยพิบัติ เข้าร่วมในการวิจัย เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชน ทำให้เกิดการจัดการความรู้ที่กระจัดกระจายและเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลให้กลายเป็นความรู้สาธารณะร่วมกันในรูปแบบของฐานข้อมูลนิเวศวัฒนธรรมชุมชน (Community cultural ecological profile) และช่วยให้เกิดความเข้าใจในปัญหาจากหลายมุมมองซึ่งเอื้อให้การจัดการภัยพิบัติของชุมชนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6) แม้ว่าความรู้และความเข้าใจต่อแบบแผนภัยพิบัติและลักษณะทางนิเวศวัฒนธรรมชุมชนจะช่วยให้การวางแผนและการจัดการภัยพิบัติชุมชนมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ แต่ทว่า ปัจจัยภายนอกจำนวนมากส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อการเกิดภัยพิบัติและการลดทอนศักยภาพของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ไม่ว่าจะเป็นถนนหลวง เขื่อน แหล่งน้ำ หรือการรวมศูนย์อำนาจในการตัดสินใจในเรื่องนโยบายต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้อยู่นอกเหนือขอบเขตการจัดการของชุมชนแต่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน ทำให้กระบวนการจัดการภัยพิบัติชุมชนต้องการเครือข่ายของภาคประชาชน นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และสื่อในการช่วยสร้างอำนาจต่อรองให้กับชุมชน และช่วยผลักดันให้เกิดการกระจายอำนาจและลดผลกระทบจากนโยบายที่ตัดสินใจโดยโครงสร้างอำนาจแบบรวมศูนย์
1. ๑๐๐ ปีการสาธารณสุขไทย ๑๐๐ ปีแห่งการพัฒนา ย้อนรอยอดีตสาธารณสุขยุคก่อนประวัติศาสตร์
2. ความป่วยไข้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
3. อโรคยาศาล ระบบบริการสุขภาพในอดีต สาธารณสุขยุคสุโขทัย-อยุธยา
4. สาธารณสุขยุคสุโขทัย(พ.ศ. ๑๗๙๒-๑๙๘๑)
5. สาธารณสุขในสมัยอยุธยา(พ.ศ. ๒๐๗๒-๒๒๑๒) การสาธารณสุขในยุครัตนโกสินทร์
6.การแพทย์ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราชวงศ์จักรีกับการสาธารณสุขไทย
7. การสาธารณสุขไทยในสมัยรัชกาลที่ 1
8. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 2
9. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 3
10. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 4
11. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 5
12. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 6
13. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7
14. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 8
15. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 9
16. การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 10
17. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอนที่ 1 เวชกรรม
18. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอน 2 เภสัชกรรมไทย
19. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอน 3 การผดุงครรภ์
20. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอน 4 การนวดไทย
21. หมอไทย ยาไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอน 5 หมอพื้นบ้าน
22. หมอและยานานาชาติในตำราพระโอสถพระนารายณ์
23. แพทย์สยามในสายตาชาวตะวันตก
24. ป่วง ห่า อหิวา และไข้ทรพิษ
25. โรคระบาดไร้พรมแดน
26. โรคระบาดกับการเปลี่ยนผ่านทางการสาธารณสุข
27. การเข้ามาของการแพทย์ตะวันตก
28. ร้านยาของหมอบรัดเลย์และหมอเฮาส์
29. การผ่าตัดและดมยาสลบครั้งแรกในสยาม
30. วิทยาการสมัยใหม่กับสังคมไทย
31. การคลอดการอยู่ไฟ กับการแพทย์สมัยใหม่
32. หมอตำแย
33. ไข้ทรพิษ และการปลูกหนองฝี
34. ไข้หมากไม้ อายพิศม์กับมาเลเรีย
35. กาย จิต มันสมอง : โลกทัศน์ใหม่กับไตรภูมิ
36. ผู้หญิง การผดุงครรภ์กับผู้ชายทำคลอด
37. กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
38. แม่เต๋อ พยาบาลไทยคนแรก
39. หมอเทียนฮี้
40. ศึกฮ่อ หมอเทียนฮี้และไข้ป่า
41. 12 โรงพยาบาลสมัยใหม่ยุคแรกเริ่มในยาม
42. การสร้างโรงพยาบาลคนเสียจริต
43. สถาปัตยกรรมโรงพยาบาลในยุคแรก
44. การออกแบบโรงพยาบาล จากสถานศักดิ์สิทธิ์ สู่สถาปัตยกรรมเพื่อการเยียวยา
45. ชาวบ้านไม่ยอมมารักษาในโรงพยาบาลสมัยใหม่
46. จากโอสถศาลาถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
47. การกักกันโรค (Quaratine)
48. อหิวาต์ ระบาดวิทยากับหมอจอห์น สโนว์
49. ตั้งปาสตุรสภา
50. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
51. มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
52. ราชแพทยวิทยาลัย ครูฝรั่ง นักเรียนแพทย์และภารโรง
53. เรื่องกรมพยาบาล
54. โรงเรียนปรุงยากับความเป็นมาของเภสัชศาสตร์
55. กิจการสาธารณสุขเมื่อแรกเริ่ม
56. ปัญหาการบริหารการสาธารณสุขยุคแรก
57. สภาอุณาโลม กาชาดและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
58. การแพทย์การสาธารณสุขภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475
59. แฝดสยาม
60. อาหารห้าหมู่ สู่อาหารปลอดภัย
61. พลเมืองเข้มแข็ง นำชาติสู่มหาอำนาจ
62. ยาไทย ยาฝรั่งกับการก่อตั้งองค์การเภสัชกรรม
63. โฆษณา สุขอนามัยกับความขาว
64. ดารา สบู่ ความงามและความสะอาด
65. ผงซักฟอก ความสะอาดกับการตลาดสมัยใหม่
66. หลวงวาจฯ ท่านผู้นำปวดฟันและคณะทันตแพทย์
67. การแพทย์การสาธารณสุขไทยยุคสงครามเย็น
68. สงครามเย็น หนังขายยากับการสาธารณสุข
69. การอออกหน่วยสุขศึกษา
70. คุดทะราด เพนนิซิลกับดนตรีปี่พาทย์
71. หมอแมคเคนกับการฟื้นฟูชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อน
72. มูลนิธิราชประชาสมาลัย
73. การควบคุมการแพร่ระบาดของไข้มาลาเรีย
74. วัคซีนโปลิโอ...สู่การกวาดล้างโรคโปลิโอในประเทศไทย
75. ส้วมกับสังคมไทย
76. ส้วมสมัยใหม่
77. การวางแผนครอบครัว
78. การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
79. เอดส์และสังคมไทย
80. ฉะอ้อน เสือสุ่ม บทเรียนจากผู้ป่วยเอดส์รายแรก
81. ยาเกิน ยาขาด กับนโยบายแห่งชาติด้านยา
82. ภาวะสมองไหลกับการแพทย์ในชนบท
83. อนามัยชุมชน
84. การสาธารณสุขมูลฐาน: สุขภาพภาคประชาชน
85. การฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
86. ชีวจิตฟีเวอร์กับการแพทย์ทางเลือก
87. โรงแรมรอยัล พลาซ่ากับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
88. ยาสูบกับการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
89. ความตาย ผีและพิธีกรรม
90. การตายในโรงพยาบาล
91. พิธีกรรมในงานศพ
92. ศพ กลิ่น ความสะอาดและอำนาจรัฐ
93. อัฐิ เจดีย์ และพิธีกรรมหลังการตาย
94. ความตายกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
95. โรคเรื้อรังกับการดูแลที่บ้าน
96. โรคเก่า โรคใหม่: โรคติดต่อในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
97. การสาธารณสุขไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้จากอดีตในโอกาสเฉลิมฉลอง 100 ปี การสาธารณสุขไทย
98. หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ
99. การสัมมนาผู้รู้เห็นประวัติศาสตร์สุขภาพ
100. หอประวัติศาสตร์สุขภาพ
การเกิดขึ้นของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาตินั้น นอกเหนือจากการขยายกรอบแนวคิดเรื่องสุขภาพให้เชื่อมโยงกันทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ (หรือปัญญา) โดยมุ่งการทำงานสุขภาพเชิงรุกที่เน้น “การสร้าง” ให้สังคมสุขภาพมากกว่า “การซ่อม” คือการรักษาโรคเมื่อปัจเจกบุคคลเกิดการเจ็บป่วยแล้ว การดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติยังเน้น “การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” ในความหมายที่แตกต่างออกไปจากเดิม ที่ความหมายของการมีส่วนร่วมมุ่งให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับนโยบาย แผนงานหรือกิจกรรมที่ภาครัฐกำหนดขึ้น แนวคิดใหม่หันมาให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองที่จะร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะและทิศทางการพัฒนาร่วมกัน โดยผ่านกลไกและกระบวนการต่างๆ ที่ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่ เช่น การยกร่างธรรมนูญสุขภาพทั้งในระดับประเทศและในระดับชุมชน เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆมาร่วมกันกำหนดข้อตกลงหรือกติการ่วมกันในการสร้างเสริมสุขภาพ หรือกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของแผนงานโครงการขนาดใหญ่ (Health impact assessment) ที่ช่วยให้ภาคส่วนต่างๆ และชุมชนมีช่องทางที่จะนำเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความวิตกกังวลจากภัยคุกคามด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบาย แผนงานหรือโครงการต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีกระบวนการสมัชชาสุขภาพ (Health assembly) ที่นอกจากจะเป็นเวทีที่ภาคประชาชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นและร่วมกันกำหนดนโยบายสาธารณะแล้ว ยังเป็นพื้นที่สำคัญของการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองและการอดทนอดกลั้นทางการเมืองผ่านการถกแถลง และไตร่ตรองร่วมกัน (Deliberation) เพื่อแสวงหาข้อตกลงร่วมในท่ามกลางความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
การยกร่างธรรมนูญสุขภาพ กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสมัชชาสุขภาพ ถือได้ว่าเป็น “นวัตกรรมทางการมีส่วนร่วมของพลเมือง” ที่เป็นรูปธรรมที่มีการดำเนินงานต่อเนื่องมาแล้วระยะหนึ่ง ประสบการณ์จากรูปธรรมทั้งสามนี้เป็นบทเรียนสำคัญต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมการเมืองที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคพลเมืองเข้ามาร่วมคิด ร่วมตรวจสอบ ร่วมทำ และร่วมกำหนดอนาคตของระบบสุขภาพ ทั้งการยกร่างธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบสุขภาพและสมัชชาสุขภาพจึงเป็นพื้นที่สำหรับการนำแนวความคิด ข้อมูล ปัญหา รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างหลากหลายมาแลกเปลี่ยน ถกแถลง อภิปราย ต่อรอง โน้มน้าวและหาข้อตกลงต่างๆ ร่วมกัน พื้นที่เหล่านี้เองที่หล่อเลี้ยงให้สำนึกความเป็นพลเมืองเติบโตและงอกงาม
เวทีของการแลกเปลี่ยนถกเถียงเหล่านี้เป็นรูปธรรมหนึ่งที่สะท้อนแนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง หรือ Deliberative democracy” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการชี้แจงและอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อหาข้อยุติร่วมกันในฐานะพลเมืองที่เท่าเทียม แม้ว่ากระบวนการที่ภาคส่วนต่างๆ ต้องมาถกแถลง (Deliberation) กันจะเป็นส่วนที่ขาดเสียไม่ได้ทั้งในกระบวนการยกร่างธรรมนูญสุขภาพและการประเมินผลกระทบสุขภาพ แต่เราจะพบเห็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในกระบวนการถกแถลงที่เด่นชัดและมีพลวัตได้จากกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
แนวคิดประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรองให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้มีความคิดเห็น จุดยืนทางการเมืองหรือผลประโยชน์แตกต่างกันได้เข้าสู่กระบวนการพูดคุย ชี้แจงเหตุผลและอธิบายสิ่งที่ตนคิดตนเชื่อให้ฝ่ายอื่นๆได้รับรู้ ให้มีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนและได้ไตร่ตรองร่วมกัน พื้นที่สำหรับการถกแถลงมีความสำคัญต่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยจึงอยู่ที่การสื่อสาร ปฏิบัติการสื่อสาร (Communicative action) จึงเป็นปฏิบัติการทางการเมืองที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีเจตนาที่จะแลกเปลี่ยนกันด้วยการสื่อสาร แทนที่จะแลกเปลี่ยนกันด้วย “ตัวกลางอื่น” ในขณะที่ระบบรัฐและระบบตลาดอาศัยตัวกลางคือ “อำนาจและเงิน” ในการบรรลุผลลัพธ์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ชีวิตสาธารณะที่ดีอาศัยตัวกลางคือ การสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นการบรรลุเป้าหมายที่มีรากฐานความชอบธรรมจากการสื่อสารหาข้อตกลงกันโดยปราศจากการใช้อำนาจหรือเงินเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ในสังคมประชาธิปไตยนั้นการสื่อสารทำความเข้าใจกันและหาข้อตกลงร่วมกันด้วยเหตุผล จึงควรจะมีอำนาจเหนือการใช้อำนาจและเงินในการบรรลุเป้าหมาย ในสถานการณ์ปัจจุบันของโลกสมัยใหม่ ระบบรัฐและทุนได้แทรกตัวเข้ามาเบียดขับพื้นที่ของโลกแห่งการมีชีวิตอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ปฏิบัติการสื่อสารถูกทดแทนด้วยปฏิบัติการแห่งอำนาจและทุน สิ่งที่จะต้องทำเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงคือ การสร้างกลไกที่จะถ่ายเทพลังปฏิบัติการสื่อสารเพื่อความเข้าใจเข้าไปสู่โครงสร้างของระบบรัฐและทุน เพื่อที่จะให้มนุษย์ใช้ข้อตกลงร่วมกันที่เป็นผลจากการสื่อสารในการต่อรองกับอำนาจของรัฐและทุนได้ และการที่จะขับเคลื่อนให้ความเข้าใจและข้อตกลงร่วมกันเข้าไปมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐและทุนนั้น เราจำเป็นต้อง “แปลง” พลังแห่งปฏิบัติการสื่อสารให้อยู่ในรูปของ “รหัส” ที่จะสัมพันธ์แลกเปลี่ยนและต่อรองกับอำนาจและทุนได้ ฮาเบอร์มาสเสนอว่า การแปลงพลังดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้โดยการแปลงเจตนารมณ์ร่วมให้กลายเป็น “กฎหมาย” เพราะ “กฎหมาย” ไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่เปิดที่พลเมืองจะสามารถเข้าไปร่วมกำหนดผ่านปฏิบัติการสื่อสารในพื้นที่สาธารณะต่างๆ แต่มันยังเป็นรหัสที่สามารถเข้าไปกำกับ ขับเคลื่อน หรือควบคุมทิศทางการใช้อำนาจและทุนของระบบอีกด้วย
กระบวนการสมัชชาซึ่งทำหน้าที่แปลเจตนารมณ์ร่วมของพลเมืองที่มาถกแถลง ชี้แจงและอธิบายปัญหาและหาทางออกร่วมกันให้กลายเป็นมติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นมาตรการและกฎระเบียบอื่นๆ ในทางกฎหมาย แม้จะเป็นเพียงกลไกที่ทำงานเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพ แต่ก็มีสถานภาพที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างระบบประชาธิปไตย ผ่านกระบวนการถกแถลงที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมได้ ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดจากการออกแบบเชิงสถาบัน จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาและค่อยๆแสวงหาหนทางปรับแก้ แต่งเติมและผสมผสานรูปแบบที่หลากหลายของกระบวนการถกแถลง เพื่อให้พื้นที่สมัชชาสุขภาพไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่บนเวทีหรือในห้องประชุมสมัชชาประจำปี แต่เป็นพื้นที่หลากหลายที่พลเมืองมาเรียนรู้ที่จะคิดร่วมกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน และมาแสวงหาหนทางที่จะสร้างสังคมที่ดีขึ้นด้วยวิธีการที่ไม่มีใครสามารถทำได้ตามลำพัง
Executive Summary
โครงการเรียนรู้อยู่กับภัยพิบัติ: นิเวศวัฒนธรรม สื่อ รัฐ กับพลวัตชุมชน (ปีที่2) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์และปฏิกิริยาของชุมชนที่มีต่อภัยพิบัติ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดภัยพิบัติในบริบทนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบแบบแผน ลักษณะ เงื่อนไขและผลที่เกิดตามมาต่อการรับมือกับภัยพิบัติและวิเคราะห์ประเมินกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์รับมือภัยพิบัติของชุมชนในการรับมือกับภัยพิบัติ รวมทั้งการเรียนรู้ที่เกิดจากสื่อ มาตรการของรัฐและการทำงานกับองค์กรภายนอก การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาข้อเสนอและรูปแบบ (Model) การเสริมศักยภาพชุมชนในการจัดการ
ภัยพิบัติจากบทเรียนและประสบการณ์ชุมชนเองกับการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของมาตรการเสริมศักยภาพชุมชนที่ดำเนินการโดยองค์กรต่างๆ จากภายนอก โดยดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2561
การวิจัยในปีที่ 2 นี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการศึกษาในระยะแรก ที่เน้นการศึกษาประสบการณ์ชุมชนในด้านอุทกภัย โดยได้ขยายไปศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสบการณ์ของชุมชนในภัยพิบัติหลายประเภทขึ้น ได้แก่ ไฟป่า ภัยแล้ว ดินโคลนถล่ม และแผ่นดินไหว โดยเน้นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focused group) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน โดยในกระบวนการวิจัยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเปิดพื้นที่ให้ผู้นำและสมาชิกชุมชนร่วมค้นหาและสะท้อนประสบการณ์การเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในบริบทนิเวศวัฒนธรรมชุมชน ทั้งจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ปฏิกิริยาการรับมือของชุมชนท้องถิ่น ศักยภาพและทุนทางสังคมต่อการรับมือภัยพิบัติเพื่อนำมาพัฒนาฐานข้อมูลนิเวศวัฒนธรรมชุมชน (Community Cultural Ecology Profile) และวิเคราะห์รูปแบบการจัดการภัยพิบัติ พื้นที่กรณีศึกษาได้แก่
1. พื้นที่ไฟป่า ตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
2. พื้นที่ภัยแล้ง ตำบลท่านางแนว อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
3. พื้นที่แผ่นดินไหว ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
4. พื้นที่น้ำป่า-ดินโคลนถล่ม ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
การศึกษาในปีที่ 2 นี้ดำเนินการต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการวิจัยฯ ปีที่ 1 ซึ่งเน้นประสบการณ์ชุมชนในการรับมืออุทกภัยใน 4 พื้นที่ คือ
1. พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ตำบลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
2. พื้นที่น้ำท่วมยาวนาน ตำบลบางหลวงโดด อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. พื้นที่น้ำท่วมฉับพลัน ตำบลทรายเพชร อำเภอถ้ำพรรณนา จังหวัดนครศรีธรรมราช
4. พื้นที่คลื่นยักษ์สึนามิ ตำบลกมลา อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต
การศึกษาวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา ร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นในชุมชน ที่ร่วมศึกษาเรียนรู้ทั้งในทบทวนวรรณกรรม
การวิจัยภาคสนาม และการพัฒนาประเด็นวิชาการเพิ่มเติมเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านภัยพิบัติศึกษา (Disaster study) เชื่อมโยงไปสู่ประเด็น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate change) มุมมองสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ซึ่งทำให้ประเด็นด้านนิเวศวัฒนธรรมของภัยพิบัติขยายไปกว้างกว่าการมองเฉพาะผลกระทบต่อมนุษย์เท่านั้น การเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นที่กว้างขึ้นทำให้เห็นผลกระทบต่อพืชพันธุ์และสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศ นอกจากนั้น การทบทวนประวัติศาสตร์ภัยพิบัติและการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่สัมพันธ์กับภัยพิบัติน้ำท่วมเป็นตัวอย่างของการขยายมุมมองความสัมพันธ์เรื่องภัยพิบัติไปสู่ประเด็นการพัฒนาพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น
จากผลการศึกษาสามารถสรุปบทเรียน 6 ข้อ คือ
1) ความรู้ (Knowledge) ประสบการณ์ภัยพิบัติชุมชนเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ขององค์ความรู้สองลักษณะ คือ ความรู้ท้องถิ่น (local knowledge) ที่มีอยู่แล้วในชุมชน ซึ่งถูกกำกับโดยโลกทัศน์ของท้องถิ่น ผสมผสานกับประสบการณ์ที่เกิดจากการใช้ชีวิตในระบบนิเวศวัฒนธรรมของชุมชน กับความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ (Expert knowledge) ซึ่งมีรากฐานจากองค์ความรู้การจัดการภัยพิบัติสมัยใหม่ที่เน้นข้อมูลเชิงประจักษ์และความเข้าใจแบบวิทยาศาสตร์ (ดูตัวอย่างในเรื่องไฟป่าใน Omi 2005: 66) ความรู้แบบผู้เชี่ยวชาญนี้ถูกใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการภัยพิบัติ ที่มักปรากฏในคู่มือภัยพิบัติ ซึ่งในหลายกรณีศึกษา การจัดการภัยพิบัติที่เน้นเฉพาะความรู้แบบผู้เชี่ยวชาญมักจะขัดแย้งกับสิ่งที่ชุมชนเรียนรู้จากประสบการณ์ท้องถิ่น ทำให้การจัดการภัยพิบัติชุมชนเป็นไปอย่างไม่สอดคล้องกับบริบทของนิเวศวัฒนธรรมชุมชน หากสามารถผสมผสานองค์ความรู้ทั้ง 2 ชุดให้ส่งเสริมกันก็จะทำให้การจัดการภัยพิบัติเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน จะสามารถใช้ศักยภาพของชุมชนได้ดีขึ้นและทำให้การรับมือภัยพิบัติมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างยิ่งในทุกๆ ปัญหาภัยพิบัติ การส่งเสริมศักยภาพและบทบาทในการจัดการภัยพิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือภัยพิบัติ ความรู้และความเข้าใจในเรื่องนิเวศวัฒนธรรมของภัยพิบัติจะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดแผนงานและปฏิบัติการ รวมทั้งสามารถช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างเป็นไปตามศักยภาพ รวมทั้งสามารถใช้ทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
3) แม้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากภายนอกจะมีความสำคัญ แต่ศักยภาพการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเองก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติที่มักมีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่หลายชุมชน องค์กรภายนอกอาจมีศักยภาพจำกัดที่จะเข้าถึงทุกพื้นที่และทุกชุมชนอย่างทันต่อสถานการณ์ การสร้างศักยภาพของชุมชน (Capacity building) จึงเป็นส่วนสำคัญในการรับมือภัยพิบัติเช่น การพัฒนาผู้นำและองค์กรนำที่มีศักยภาพ ระบบการสื่อสารที่มีความพร้อม รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายที่เอื้ออำนวยให้ชุมชนสามารถก้าวข้ามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติได้ดีขึ้น ในการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการภัยพิบัติชุมชนนี้ การมีข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงปัญหาภัยพิบัติกับมิติทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชน จะช่วยให้เห็นถึงปัญหาและศักยภาพของชุมชนได้ดีและสามารถนำมาใช้ในการวางแผนรับมือภัยพิบัติของชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
4) นอกจากการยกระดับขีดความสามารถและศักยภาพของชุมชนในการรับมือภัยพิบัติแล้ว ปฏิบัติการในการรับมือภัยพิบัติ ทั้งภัยพิบัติที่มีลักษณะฉุกเฉิน เช่น แผ่นดินไหว หรือน้ำป่า-ดินโคลนถล่ม และภัยที่ยืดเยื้อเรื้อรัง เช่น ภัยแล้งและไฟป่า ความสัมพันธ์ของบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะความไว้วางใจกันระหว่างชุมชนและองค์กรต่างๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหา ความไว้วางใจกันนี้เป็นรากฐานของการทำงานในสถานการณ์ที่เร่งด่วนและเปราะบาง ความรู้ความเข้าใจต่อมุมมองและความคาดหวังที่แตกต่างกันระหว่างองค์กรภายนอกและชุมชน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการรับรู้ความเสี่ยง (Risk perception) การประเมินผลกระทบ (Impact assessment) หรือแนวทางการจัดการที่ให้ความสำคัญแตกต่างกัน จะช่วยลดช่องว่างในการประสานงานระหว่างองค์กรภายนอกกับชุมชนได้
5) เครื่องมือภัยพิบัติชุมชน อันประกอบด้วย ผังประวัติศาสตร์ภัยพิบัติชุมชน แผนที่ชุมชนรับมือภัยพิบัติ ผังเครือญาติ เครือข่ายและองค์กรชุมชน ระบบสื่อสารชุมชน ปฏิทินภัยพิบัติชุมชน ตารางทุนชุมชน ระบบสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน และเรื่องเล่าภัยพิบัติ เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการความรู้เพื่อการจัดการภัยพิบัติของชุมชน เครื่องมือชุดนี้เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับภัยพิบัติแต่ละประเภทได้ตามความจำเป็นและตามลักษณะเฉพาะของแต่ละบริบท กระบวนการศึกษาในการวิจัยครั้งนี้พบว่า การมีทีมวิจัยพื้นที่อันประกอบด้วยผู้นำชุมชน หน่วยกู้ชีพกู้ภัยชุมชน ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผบกระทบ และตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานวิชาการในพื้นที่และหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ภัยพิบัติ เข้าร่วมในการวิจัย เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชน ทำให้เกิดการจัดการความรู้ที่กระจัดกระจายและเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลให้กลายเป็นความรู้สาธารณะร่วมกันในรูปแบบของฐานข้อมูลนิเวศวัฒนธรรมชุมชน (Community cultural ecological profile) และช่วยให้เกิดความเข้าใจในปัญหาจากหลายมุมมองซึ่งเอื้อให้การจัดการภัยพิบัติของชุมชนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6) แม้ว่าความรู้และความเข้าใจต่อแบบแผนภัยพิบัติและลักษณะทางนิเวศวัฒนธรรมชุมชนจะช่วยให้การวางแผนและการจัดการภัยพิบัติชุมชนมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ แต่ทว่า ปัจจัยภายนอกจำนวนมากส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อการเกิดภัยพิบัติและการลดทอนศักยภาพของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ไม่ว่าจะเป็นถนนหลวง เขื่อน แหล่งน้ำ หรือการรวมศูนย์อำนาจในการตัดสินใจในเรื่องนโยบายต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้อยู่นอกเหนือขอบเขตการจัดการของชุมชนแต่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน ทำให้กระบวนการจัดการภัยพิบัติชุมชนต้องการเครือข่ายของภาคประชาชน นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และสื่อในการช่วยสร้างอำนาจต่อรองให้กับชุมชน และช่วยผลักดันให้เกิดการกระจายอำนาจและลดผลกระทบจากนโยบายที่ตัดสินใจโดยโครงสร้างอำนาจแบบรวมศูนย์
การเกิดขึ้นของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาตินั้น นอกเหนือจากการขยายกรอบแนวคิดเรื่องสุขภาพให้เชื่อมโยงกันทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ (หรือปัญญา) โดยมุ่งการทำงานสุขภาพเชิงรุกที่เน้น “การสร้าง” ให้สังคมสุขภาพมากกว่า “การซ่อม” คือการรักษาโรคเมื่อปัจเจกบุคคลเกิดการเจ็บป่วยแล้ว การดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติยังเน้น “การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” ในความหมายที่แตกต่างออกไปจากเดิม ที่ความหมายของการมีส่วนร่วมมุ่งให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับนโยบาย แผนงานหรือกิจกรรมที่ภาครัฐกำหนดขึ้น แนวคิดใหม่หันมาให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองที่จะร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะและทิศทางการพัฒนาร่วมกัน โดยผ่านกลไกและกระบวนการต่างๆ ที่ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่ เช่น การยกร่างธรรมนูญสุขภาพทั้งในระดับประเทศและในระดับชุมชน เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆมาร่วมกันกำหนดข้อตกลงหรือกติการ่วมกันในการสร้างเสริมสุขภาพ หรือกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของแผนงานโครงการขนาดใหญ่ (Health impact assessment) ที่ช่วยให้ภาคส่วนต่างๆ และชุมชนมีช่องทางที่จะนำเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความวิตกกังวลจากภัยคุกคามด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบาย แผนงานหรือโครงการต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีกระบวนการสมัชชาสุขภาพ (Health assembly) ที่นอกจากจะเป็นเวทีที่ภาคประชาชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นและร่วมกันกำหนดนโยบายสาธารณะแล้ว ยังเป็นพื้นที่สำคัญของการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองและการอดทนอดกลั้นทางการเมืองผ่านการถกแถลง และไตร่ตรองร่วมกัน (Deliberation) เพื่อแสวงหาข้อตกลงร่วมในท่ามกลางความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
การยกร่างธรรมนูญสุขภาพ กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสมัชชาสุขภาพ ถือได้ว่าเป็น “นวัตกรรมทางการมีส่วนร่วมของพลเมือง” ที่เป็นรูปธรรมที่มีการดำเนินงานต่อเนื่องมาแล้วระยะหนึ่ง ประสบการณ์จากรูปธรรมทั้งสามนี้เป็นบทเรียนสำคัญต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมการเมืองที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคพลเมืองเข้ามาร่วมคิด ร่วมตรวจสอบ ร่วมทำ และร่วมกำหนดอนาคตของระบบสุขภาพ ทั้งการยกร่างธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบสุขภาพและสมัชชาสุขภาพจึงเป็นพื้นที่สำหรับการนำแนวความคิด ข้อมูล ปัญหา รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างหลากหลายมาแลกเปลี่ยน ถกแถลง อภิปราย ต่อรอง โน้มน้าวและหาข้อตกลงต่างๆ ร่วมกัน พื้นที่เหล่านี้เองที่หล่อเลี้ยงให้สำนึกความเป็นพลเมืองเติบโตและงอกงาม
เวทีของการแลกเปลี่ยนถกเถียงเหล่านี้เป็นรูปธรรมหนึ่งที่สะท้อนแนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง หรือ Deliberative democracy” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการชี้แจงและอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อหาข้อยุติร่วมกันในฐานะพลเมืองที่เท่าเทียม แม้ว่ากระบวนการที่ภาคส่วนต่างๆ ต้องมาถกแถลง (Deliberation) กันจะเป็นส่วนที่ขาดเสียไม่ได้ทั้งในกระบวนการยกร่างธรรมนูญสุขภาพและการประเมินผลกระทบสุขภาพ แต่เราจะพบเห็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในกระบวนการถกแถลงที่เด่นชัดและมีพลวัตได้จากกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
แนวคิดประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรองให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้มีความคิดเห็น จุดยืนทางการเมืองหรือผลประโยชน์แตกต่างกันได้เข้าสู่กระบวนการพูดคุย ชี้แจงเหตุผลและอธิบายสิ่งที่ตนคิดตนเชื่อให้ฝ่ายอื่นๆได้รับรู้ ให้มีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนและได้ไตร่ตรองร่วมกัน พื้นที่สำหรับการถกแถลงมีความสำคัญต่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยจึงอยู่ที่การสื่อสาร ปฏิบัติการสื่อสาร (Communicative action) จึงเป็นปฏิบัติการทางการเมืองที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีเจตนาที่จะแลกเปลี่ยนกันด้วยการสื่อสาร แทนที่จะแลกเปลี่ยนกันด้วย “ตัวกลางอื่น” ในขณะที่ระบบรัฐและระบบตลาดอาศัยตัวกลางคือ “อำนาจและเงิน” ในการบรรลุผลลัพธ์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ชีวิตสาธารณะที่ดีอาศัยตัวกลางคือ การสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นการบรรลุเป้าหมายที่มีรากฐานความชอบธรรมจากการสื่อสารหาข้อตกลงกันโดยปราศจากการใช้อำนาจหรือเงินเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ในสังคมประชาธิปไตยนั้นการสื่อสารทำความเข้าใจกันและหาข้อตกลงร่วมกันด้วยเหตุผล จึงควรจะมีอำนาจเหนือการใช้อำนาจและเงินในการบรรลุเป้าหมาย ในสถานการณ์ปัจจุบันของโลกสมัยใหม่ ระบบรัฐและทุนได้แทรกตัวเข้ามาเบียดขับพื้นที่ของโลกแห่งการมีชีวิตอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ปฏิบัติการสื่อสารถูกทดแทนด้วยปฏิบัติการแห่งอำนาจและทุน สิ่งที่จะต้องทำเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงคือ การสร้างกลไกที่จะถ่ายเทพลังปฏิบัติการสื่อสารเพื่อความเข้าใจเข้าไปสู่โครงสร้างของระบบรัฐและทุน เพื่อที่จะให้มนุษย์ใช้ข้อตกลงร่วมกันที่เป็นผลจากการสื่อสารในการต่อรองกับอำนาจของรัฐและทุนได้ และการที่จะขับเคลื่อนให้ความเข้าใจและข้อตกลงร่วมกันเข้าไปมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐและทุนนั้น เราจำเป็นต้อง “แปลง” พลังแห่งปฏิบัติการสื่อสารให้อยู่ในรูปของ “รหัส” ที่จะสัมพันธ์แลกเปลี่ยนและต่อรองกับอำนาจและทุนได้ ฮาเบอร์มาสเสนอว่า การแปลงพลังดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้โดยการแปลงเจตนารมณ์ร่วมให้กลายเป็น “กฎหมาย” เพราะ “กฎหมาย” ไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่เปิดที่พลเมืองจะสามารถเข้าไปร่วมกำหนดผ่านปฏิบัติการสื่อสารในพื้นที่สาธารณะต่างๆ แต่มันยังเป็นรหัสที่สามารถเข้าไปกำกับ ขับเคลื่อน หรือควบคุมทิศทางการใช้อำนาจและทุนของระบบอีกด้วย
กระบวนการสมัชชาซึ่งทำหน้าที่แปลเจตนารมณ์ร่วมของพลเมืองที่มาถกแถลง ชี้แจงและอธิบายปัญหาและหาทางออกร่วมกันให้กลายเป็นมติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นมาตรการและกฎระเบียบอื่นๆ ในทางกฎหมาย แม้จะเป็นเพียงกลไกที่ทำงานเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพ แต่ก็มีสถานภาพที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างระบบประชาธิปไตย ผ่านกระบวนการถกแถลงที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมได้ ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดจากการออกแบบเชิงสถาบัน จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาและค่อยๆแสวงหาหนทางปรับแก้ แต่งเติมและผสมผสานรูปแบบที่หลากหลายของกระบวนการถกแถลง เพื่อให้พื้นที่สมัชชาสุขภาพไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่บนเวทีหรือในห้องประชุมสมัชชาประจำปี แต่เป็นพื้นที่หลากหลายที่พลเมืองมาเรียนรู้ที่จะคิดร่วมกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน และมาแสวงหาหนทางที่จะสร้างสังคมที่ดีขึ้นด้วยวิธีการที่ไม่มีใครสามารถทำได้ตามลำพัง
บทความนี้เป็นการมองประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์จากมุมมองทางมานุษยวิทยา ซึ่งให้ความสำคัญกับการเปรียบเทียบและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกกับศาสนาและจารีตความรู้ในวัฒนธรรมต่างๆ จากการสนใจศึกษาความรู้และระบบความเชื่อของชนเผ่าพื้นเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มานุษยวิทยาได้หันมาศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น การศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ตะวันตกยังได้รับความสนใจจากหลากหลายแวดวงวิชาการ ทั้งประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ (history of science) ปรัชญาวิทยาศาสตร์ (philosophy of science) และสังคมวิทยาของความรู้ (sociology of knowledge) ซึ่งมีการศึกษาเกี่ยวกับศาสนาและวิทยาศาสตร์มายาวนาน ในระยะหลังมานี้ การเกิดขึ้นของแนวคิด ทฤษฎี และแนวทางการศึกษาใหม่ๆ เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (science and technology studies) โดยเฉพาะกระแสความสนใจในทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ (Actor-Network Theory) และการหันมาหาภววิทยา (ontological turn) รวมทั้งความตื่นตัวในเรื่อง postcolonial studies ได้สลายเส้นแบ่งต่างๆ ที่เคยมีและก่อเกิดประเด็นและแนวทางใหม่ๆ ในการศึกษาประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ขึ้นมากมายในปัจจุบัน
บทความนี้จะนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดยตั้งข้อสังเกตและถกเถียงผ่านแนวคิด ทฤษฎี และข้อเสนอจากหลากหลายสาขาวิชา ทั้งนี้ เพื่อตอกย้ำถึงความสำคัญของการมีประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย (multiple histories) ของวิทยาศาสตร์หลังอาณานิคม ซึ่งปฏิเสธการมียุโรป (และอเมริกาเหนือในปัจจุบัน) เป็นศูนย์กลางเดียวของการสร้างความรู้ รวมทั้งปฏิเสธการดำรงอยู่ของคู่ตรงข้ามที่ตายตัวระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนาและความรู้ท้องถิ่น การถอดรื้อกระบวนการที่ทำให้ “ธรรมชาติ” เป็นสากล (universalization of Nature) ที่ลัทธิอาณานิคมและวิทยาศาสตร์ได้สถาปนาขึ้นจะเผยให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของความจริงอันหลากหลาย (multiple realities) ที่เกิดจากสภาวะรวมตัวกันอย่างอิสระ ลื่นไหลและไร้ระเบียบ ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์จึงเป็นการศึกษาสภาวะรวมตัวที่ก่อร่างเปลี่ยนรูปไปตามความรู้แบบวิทยาศาสตร์ (scientific assemblage) ซึ่งแต่ละสำนวนล้วนมีแบบแผนเฉพาะตัวและมีโครงเรื่องที่กระจัดกระจาย ไม่ปะติดปะต่อเป็นเรื่องเดียวกัน