Papers by Isarachai Buranaut
บทความ “สมมติฐานบางประการของลักษณะทางสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา เมื่อแรกสถาปนา” จากข้อสัน... more บทความ “สมมติฐานบางประการของลักษณะทางสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา เมื่อแรกสถาปนา” จากข้อสันนิษฐานว่าพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาน่าจะสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) - รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ.1931 จึงควรจะมีความสัมพันธ์กับพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ทั้งในแง่ของการวางผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
ทั้งนี้ สันนิษฐานว่า อาจเคยวางผังเป็นพระปรางค์วางตัวเรียงแถวหน้ากระดานกัน 3 องค์ นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่าพระศรีรัตนมหาธาตุมีความสูงตั้งแต่ฐานจรดยอดประมาณ 38 เมตร แต่เนื่องจากเรือนยอดของพระศรีรัตนมหาธาตุได้พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จึงเกิดคำถาม 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 บนเรือนยอดชั้นที่ 1 หรือที่เรียกว่าชั้นอัสดงตรงมุมประธานนั้นอาจเคยตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปครุฑหรือเป็นกลีบขนุน ข้อที่ 2 บนสันหลังคาของมุขด้านตะวันออกมีการตกแต่งด้วยสถูปทรงปรางค์ด้วยหรือไม่ อันนำไปสู่ข้อเสนอเพิ่มเติม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อแรกสถาปนาโดยใช้หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า และสร้างร่วมสมัยกับพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา
-------------------------------------------------------------------------------------------
This article comprises of three main parts: 1) the history of the temple relating to Ayutthaya period; 2) the architectural aspects of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya during the first erection; and 3) the architectural aspects of Phra Prang Mahathat Ayuthaya during the preservation in the reign of King Prasat Thong.
It has been assumed that Phra Prang Mahathat Ayuthaya was constructed during the reign of King Boromrachathiraj I (Khun Luang Phra Ngua) - King Ramesuan in 1388 due to the fact that the architectural style and the plan of Mahathadu relating to that of Pra Prang Mahathadu Lopburi. It was also found that the height of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya t is 38 metres, then the top part collapsed in the reign of King Song Tham. It was assumed that the upper layer at the main angle used to be decorated with Garuda or decorated parts and the roof top at the east side was decorated with Stupa. The assumption was based on architectural evidences of other Phra Prang Mahathats which were previously built or built at the same period.
This review analyzes two main aspects of the vernacular architecture of Austro-Asiatic ethnic gro... more This review analyzes two main aspects of the vernacular architecture of Austro-Asiatic ethnic groups in Thailand based on the Encyclopedia of Vernacular Architecture of the World. The emphasis is on theories and principles so as to make comparisons and conclusions. Relevant documents on vernacular architecture of Austro-Asiatic groups in Thailand were collected, then categorized as specified in the Encyclopedia of Vernacular Architecture of the World, consisting of the following: 1) concepts, 2) cultural and general aspects, 3) surroundings, 4) materials and resources for construction, 5) products and construction details, 6) maintenance, 7) signs and decoration, 8) categories, and 9) uses and functions. The comparison was done to evaluate existing knowledge; it was then categorized, based on the above theories and principles. Gaps will be examined and guidelines will be proposed.
Tonle Sap is Cambodia’s largest freshwater lake in Southeast Asia. The lake’s plentiful supply of... more Tonle Sap is Cambodia’s largest freshwater lake in Southeast Asia. The lake’s plentiful supply of fish attracts human settlement in the form of fishing folk on living their boats in floating communities, as well as people living in permanent stilt houses built on land. To earn a living and maintains a stable environment, the settlement of high stilt houses situated is in specific location between land and water. This paper focuses on the one type of vernacular dwelling, the high stilt house, and is taken from my large doctoral research on three difference village and dwelling forms in Tonle Sap Basin.
Houses should be built as near to the lake as possible but should be protected from damage by seasonal floods. Therefore, long timber poles are used as stilts to lift the house up off the ground. Each house is built in the shape of narrow rectangular plan. Houses are located close to one another along opposite sides of the riven channel. As a result, the layout is narrow and expansion is deep rather than wide. In addition, the settlement is located in a large plain so a high proportion of houses have a roof of less than 45 degrees to reduce the impact of wind.
The main structure of house on high stilt has a post-beam system combined with structural bracing system making a three-dimensional distributed load to support and strengthen the structure during the flood season. Periodically water from the Mekong overflows into the Tonle Sap basin. Because the water rises slowly, the high stilt houses are able to remain undamaged.
Journal of Architectural Planning Research and Studies, 2014
บทคัดย่อ พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์พื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ในพื้นที่ จ.นครศรธร... more บทคัดย่อ พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์พื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ในพื้นที่ จ.นครศรธรรมราช จ.สงขลาและ จ.พัทลุง) มีหลักฐานมาตั้งแตหลังพุทธศตวรรษที่ 5 และมีบทบาทมากขึ้นในชวงพุทธศตวรรษที่ 12-13 ในฐานะเมืองท่าของศรีวิชัย นอกจากนี้ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 มีหลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์กับราชสํานักจีนราชวงศ์ซ้อง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 17-18 เมืองนครศรีธรรมราชมีบทบาทในฐานะศูนย์กลางของตามพรลิงค์และในราวพุทธศตวรรษที่ 20 เมืองต่างๆ ในคาบสมุทรภาคใต้ตกอยู่ภายใต้อำนาจราชสำนักอยุธยาจวบจนรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านการเมืองการปกครอง และการพระพุทธศาสนา ซึ่งชุมชนที่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเหล่านี้ล้วนแต่มีฐานทางเศรษฐกิจอยูกับการทํานา โดยตั้งถิ่นฐานรวมกันในกลุ่มเครือญาติเป็นชุมชน เพราะการทํานาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานในการผลิตจำนวนมาก และขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งย่อมทำให้มีการสร้างและทำนุบำรุงวัดต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางจิตใจของชุมชน สําหรับองค์ประกอบของผังบริเวณ และพุทธศาสนสถาปัตยกรรมในพื้นที่ศึกษา พบวา มีองค์ประกอบและรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับศูนย์กลางที่ลุ่มแมน้ำเจ้าพระยาทั้งสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ดังที่มีการรับผ่านอิทธิพลและการติดต่อสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนาอยางแน่นแฟ้น อย่างไรก็ดีเนื่องจากคาบสมุทรภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีการปะทะสังสรรค์กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่รายรอบส่งผลให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แม้ว่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากราชธานีส่วนกลาง ทว่าก็มีการคลี่คลายและมีวิวัฒนาการของตนเองอย่างน่าสนใจ จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของผังบริเวณของวัดในพื้นที่ศึกษาจะมีองคประกอบคลายคลึงกับวัดในภาคกลางอาทิ “อุโบสถ” “เจดีย์ประธาน” ซึ่งพบที่วัดเก่าแก่ แต่วัดที่มีอายุไม่เก่าแก่นัก หรือวัดขนาดเล็กจะไม่นิยมสร้างเจดีย์เป็นประธาน แต่มีความนิยมสร้าง “บัว” ซึ่งหมายถึงเจดีย์ขนาดเล็กสําหรับบรรจุอัฐิของบรรพบุรุษ ทั้งที่เป็นเจดีย์กลางแจ้ง หรือมีศาลาคลุมที่เรียกวา “หลาบัว” สำหรับ “ศาลาโรงธรรม” ใช้รองรับกิจกรรมเอนกประสงค์ และยังมีการก่อสร้าง "ศาลาโถง" ไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของผังบริเวณ เนื่องจากเหตุผลด้านการใช้สอย ซึ่งภาคใต้มีภูมิอากาศที่แปรปรวน นอกจากนี้ยังพบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโรงมหรสพ เชน โรงหนังตะลุง อีกด้วย คำสำคัญ: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น | สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น | ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | ภาคใต้ Abstract The evidence of the historical development of the Songkla Lake Basin (covering Nakhon Si Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province) has been found since the 5th BE, and clearly noticed during the 12-13th BE as the port of Srivijaya Kingdom. Then in 16th BE, pieces of evidence of relationship with the Song Dynasty of China were found. During the 17-18th BE, Nakhon Si Thammarat played its role as the centre of Tambalinga Kingdom. In the 20th BE, many cities in the South were under the control of Ayudhya and Rattanakosin, the capitals, respectively. Political control and Buddhism were clearly seen. For economic circumstance, people lived their lives mainly on farming and doing agricultural activities. Due to the fact that farming needed much labour, people lived altogether. Communities expanded and temples were their centre. For the study of the floor plan of Buddhism vernacular architecture, it was found that the compositions and forms were similar to those found in the Chao Phraya Basin during Ayudhya and Rattanakosin period because of influence and relationship in terms of politics and Buddhism. However, due to its geographical aspects, the South has witnessed and experienced other cultures. This affected forms of architecture although the South has mainly been inspired by the Central Region, along with its own transformation and evolution. The study also found that the floor plan of temples is similar to that of the Central Region, for example Ubosot and the main Chedi were the main compositions, found in old temples, while Bua or small Chedi, keeping ancestors’relics, were found in small temples, both outdoor or in the pavilion. The pavilions for miscellaneous purposes, because of the monsoon, were also found in the floor plan. In addition, vernacular architecture for shadow puppet theater was also found generally. Keywords: Buddhism Vernacular Architecture | Vernacular Architecture | Songkhla Lake Basin | Southern
จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพที่จะผลักดันเพื่อขอบรรจุรายชื่อเข้าสู่บั่ญชีรา... more จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพที่จะผลักดันเพื่อขอบรรจุรายชื่อเข้าสู่บั่ญชีรายชื่อชั่วคราว (Tentative List) ในหัวข้อ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งหุบเขาเมืองแมฮ่องสอน(Cultural Landscape of Mae Hong Son Valleys)” ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วน คือ “ภูมิทัศน์
วัฒนธรรมแห่งหุบเขาเมืองแม่ฮ่องสอน” “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาเมืองเมืองปอน-ขุนยวม” และ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาเมืองแม่สะเรียง” ร่วมกันเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการขึ้นทะเบียนแหล่ง “มรดกโลกแบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination on World Heritage List)” เนื่องจากประกอบด้วยแหล่งมากกว่า 2 แหล่งขึ้นไป และไม่ได้มีพื้นที่ทางกายภาพเชื่อมต่อกัน แตกต่างกันทางที่ตั้ง แต่มีความสัมพันธ์กันในประเด็นต่างๆ
Mae Hong Son Province possesses sites of cultural landscapes which are competent
enough to be nominated as a World Heritage Tentative List. For the study of
“Cultural Landscape of Mae Hong Son Valleys”, it comprises three main parts: Cultural Landscape of Mae Hong Son Valleys, Cultural Landscape of the town of Pon-Khun Yuam, and Cultural Landscape of the town of Mae Sariang. The cluster is aimed to
be proposed as a serial nomination on World Heritage List due to their geographical factors which are not adjacent to one another along with differences but correlation can be found.
It was also found that the components of cultural landscape of Mae Hong Son valleys have been formed by cultural landscape of Tai Yai villages, cultural landscape of agricultural areas, and cultural landscape of Tai Yai temples. The cultural landscapes
of Tai Yai villages and agricultural areas closely relate to local people’s ways of life, then changes come due to the fact about social and economic contexts. However, awareness, especially in terms of values, can be raised when studies among academic
institutes and local communities work altogether so as to figure out means to develop life quality and economic aspects while cultural landscape values are not distorted.
The fundamental process is to study then bring about concrete knowledge into management plan, and ‘cultural landscapes of Tai Yai Monasteries” should be considered first. The study will prepare the database and documentation. This can lead to the nomination of World Heritage tentative list because of the outstanding universal value.
This study can be beneficial in terms of leading the site to World Heritage in many dimensions, for example the new understanding and realization in conservation and sustainable development of cultural heritage places, promotion of tourism in both natural and cultural aspects, as well as creation of creative economic aspects and added value from social and cultural components as budget.
In addition, the dynamic of Tai Yai’s cultural assets, both tangible and intangible heritage rooted in Myanmar and China, seem to be under changes as they have been considered minority. In other words, their cultural heritage, especially the intangible one, seems to be at risk. Hence, this study can lead to sustainability in cultural heritage of the human race.
Journal of Architectural Planning Research and Studies, 2014
บทคัดย่อ
พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์พื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ในพื้นที่ จ.นครศรธร... more บทคัดย่อ
พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์พื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ในพื้นที่ จ.นครศรธรรมราช จ.สงขลาและ จ.พัทลุง) มีหลักฐานมาตั้งแตหลังพุทธศตวรรษที่ 5 และมีบทบาทมากขึ้นในชวงพุทธศตวรรษที่ 12-13 ในฐานะเมืองท่าของศรีวิชัย นอกจากนี้ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 มีหลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์กับราชสํานักจีนราชวงศ์ซ้อง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 17-18 เมืองนครศรีธรรมราชมีบทบาทในฐานะศูนย์กลางของตามพรลิงค์และในราวพุทธศตวรรษที่ 20 เมืองต่างๆ ในคาบสมุทรภาคใต้ตกอยู่ภายใต้อำนาจราชสำนักอยุธยาจวบจนรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านการเมืองการปกครอง และการพระพุทธศาสนา ซึ่งชุมชนที่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเหล่านี้ล้วนแต่มีฐานทางเศรษฐกิจอยูกับการทํานา โดยตั้งถิ่นฐานรวมกันในกลุ่มเครือญาติเป็นชุมชน เพราะการทํานาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานในการผลิตจำนวนมาก และขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งย่อมทำให้มีการสร้างและทำนุบำรุงวัดต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางจิตใจของชุมชน
สําหรับองค์ประกอบของผังบริเวณ และพุทธศาสนสถาปัตยกรรมในพื้นที่ศึกษา พบวา มีองค์ประกอบและรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับศูนย์กลางที่ลุ่มแมน้ำเจ้าพระยาทั้งสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ดังที่มีการรับผ่านอิทธิพลและการติดต่อสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนาอยางแน่นแฟ้น อย่างไรก็ดีเนื่องจากคาบสมุทรภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีการปะทะสังสรรค์กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่รายรอบส่งผลให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แม้ว่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากราชธานีส่วนกลาง ทว่าก็มีการคลี่คลายและมีวิวัฒนาการของตนเองอย่างน่าสนใจ จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของผังบริเวณของวัดในพื้นที่ศึกษาจะมีองคประกอบคลายคลึงกับวัดในภาคกลางอาทิ “อุโบสถ” “เจดีย์ประธาน” ซึ่งพบที่วัดเก่าแก่ แต่วัดที่มีอายุไม่เก่าแก่นัก หรือวัดขนาดเล็กจะไม่นิยมสร้างเจดีย์เป็นประธาน แต่มีความนิยมสร้าง “บัว” ซึ่งหมายถึงเจดีย์ขนาดเล็กสําหรับบรรจุอัฐิของบรรพบุรุษ ทั้งที่เป็นเจดีย์กลางแจ้ง หรือมีศาลาคลุมที่เรียกวา “หลาบัว” สำหรับ “ศาลาโรงธรรม” ใช้รองรับกิจกรรมเอนกประสงค์ และยังมีการก่อสร้าง "ศาลาโถง" ไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของผังบริเวณ เนื่องจากเหตุผลด้านการใช้สอย ซึ่งภาคใต้มีภูมิอากาศที่แปรปรวน นอกจากนี้ยังพบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโรงมหรสพ เชน โรงหนังตะลุง อีกด้วย
คำสำคัญ: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น | สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น | ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | ภาคใต้
Abstract
The evidence of the historical development of the Songkla Lake Basin (covering Nakhon Si Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province) has been found since the 5th BE, and clearly noticed during the 12-13th BE as the port of Srivijaya Kingdom. Then in 16th BE, pieces of evidence of relationship with the Song Dynasty of China were found. During the 17-18th BE, Nakhon Si Thammarat played its role as the centre of Tambalinga Kingdom. In the 20th BE, many cities in the South were under the control of Ayudhya and Rattanakosin, the capitals, respectively. Political control and Buddhism were clearly seen. For economic circumstance, people lived their lives mainly on farming and doing agricultural activities. Due to the fact that farming needed much labour, people lived altogether. Communities expanded and temples were their centre. For the study of the floor plan of Buddhism vernacular architecture, it was found that the compositions and forms were similar to those found in the Chao Phraya Basin during Ayudhya and Rattanakosin period because of influence and relationship in terms of politics and Buddhism. However, due to its geographical aspects, the South has witnessed and experienced other cultures. This affected forms of architecture although the South has mainly been inspired by the Central Region, along with its own transformation and evolution. The study also found that the floor plan of temples is similar to that of the Central Region, for example Ubosot and the main Chedi were the main compositions, found in old temples, while Bua or small Chedi, keeping ancestors’relics, were found in small temples, both outdoor or in the pavilion. The pavilions for miscellaneous purposes, because of the monsoon, were also found in the floor plan. In addition, vernacular architecture for shadow puppet theater was also found generally.
Keywords: Buddhism Vernacular Architecture |
Vernacular Architecture | Songkhla Lake Basin | Southern
การศึกษา “องค์รวมของการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมพนื้ ถนิ่ ทอี่ ย่อู าศยั ในล่มุ น้ำโตนเลสาบ จงั ... more การศึกษา “องค์รวมของการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมพนื้ ถนิ่ ทอี่ ย่อู าศยั ในล่มุ น้ำโตนเลสาบ จงั หวดั เสยี ม
เรียบราชอาณาจักรกัมพูชา” เป็นการเรียบเรียงเชิงพรรณนาจากการศึกษาภาคสนามเพื่อศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
ของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำโตนเลสาบ ในจังหวัดเสียมเรียบ พบว่า ภาพรวมของการตั้งถิ่นฐานมี 3 ลักษณะ คือ
1) “ชุมชนลอยน้ำ” เป็นชุมชนที่มีพื้นฐานการดำรงชีวิตที่สัมพันธ์กับแหล่งน้ำทะเลสาบ เช่น การทำการ
ประมง และมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานทั้งแบบเกาะกลุ่ม และแบบแนวยาว ซึ่งจะปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาลซึ่งการ
ปรับเปลี่ยนการวางผังหมู่บ้านดังกล่าวเป็นคุณลักษณะพิเศษของชุมชน ทั้งนี้พบเรือนพักอาศัยเป็นสถาปัตยกรรมที่
เคลื่อนย้ายได้ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ “เรือบ้าน” “เรือโป๊ะบ้าน” “เรือนแพ” และ “เรือบ้านพร้อมกระชัง”
2) “ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีความแตกต่างของระดับน้ำ ตามฤดูกาล” เป็นชุมชนที่มีพื้นฐานการ
ดำรงชีวิตทั้งในน้ำและบนพื้นดิน มีลักษณะของการตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาวตามลำน้ำ ลักษณะสถาปัตยกรรมมีการ
ยกเสาสูง 6-8 เมตร เพื่อหนีน้ำในฤดูน้ำหลาก สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวเพื่อการอยู่อาศัยให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
3) “ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดิน” เป็นชุมชนที่มีพื้นฐานการดำรงชีวิตพึ่งพิงอยู่กับพื้นดินเป็นหลัก
มีลักษณะของการตั้งถิ่นฐานแบบถาวร ทั้งการตั้งถิ่นฐานแบบเกาะกลุ่ม บนโคกเนิน และการตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาว
ตามทางสัญจร โดยมีลักษณะการอยู่อาศัยแบบเรือนยกพื้นจำแนกได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ “เรือนแบบขแมร์”
“เรือนแบบโรง” “เรือนแบบโรงโดล” “เรือนแบบโรงเดงือง” และ “เรือนแบบบิด”
ABSTRACT
The Study of the “Holistic Settlement and Vernacular Housing in Tonelesap, Siem Riep,
Cambodia” is the explanation and description from the field studies figuring out the settlement of
communities in the area of Tonelesap, Siem Riep. It was found that the settlement can be
categorized into three aspects.
1) Water-based communities or floating village owns the lifestyle which directly relates
to Tonelesap, like fishing. The settlement consists of both cluster and linear settlement, i.e. the
plan of the village is interchanged, depending on the level of the water. There are five types of
houses, which are considered moveable structure, comprising houseboat, ferry houseboat, bamboo
raft houseboat, and floating pen houseboat.
2) Water-and-land-based communities are found both on land and in water, as linear
settlement along the lake. The poles, which are 6-8 metres tall, are used as they are helpful during
flood time.
3) Land-based communities are found on land. They are permanent settlement,
as cluster settlement on hills and linear settlement along routes. There are five aspects comprising
Khmer house, Rong house, Rong Dol house, Rong Doeung house, and Bid house.
มรดกพุทธสถาปัตยกรรม "วัดม่อนจำศีล" ลำปาง เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากบทความเรื่อง "จองแบบพม่าที่ว... more มรดกพุทธสถาปัตยกรรม "วัดม่อนจำศีล" ลำปาง เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากบทความเรื่อง "จองแบบพม่าที่วัดม่อนจำศีล ลำปาง: ลักษณะทางสถาปัตยกรรม และสภาพการณ์ในปัจจุบัน" โดย ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ, ฐาปกรณ์ เครือระยา และอิสรชัย บูรณะอรรจน์ กล่าวคือ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประวัติความเป็นมา และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของจองเมื่อแรกสร้าง ตลอดจนเพื่อการบันทึกข้อมูลสภาพปัจจุบันของจอง เพื่อเป็นฐานข้อมูลในลักษณะจดหมายเหตุหน้าหนึ่งของตัวอาคาร เฉกเช่นเดียวกันกับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่เกิดขึ้นมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์
จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่ได้รักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอดและปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่า เป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลมุมมองจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทำเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีลก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงในนิทรรศการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ของ ดร.วทัญญู ณถลาง ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558
หนังสือชุด “เรียนรู้มรดกสถาปัตยกรรม” มีความมุ่งหวังเพื่อการบูรณาการการวิจัยสู่การบริการวิชาการสู่... more หนังสือชุด “เรียนรู้มรดกสถาปัตยกรรม” มีความมุ่งหวังเพื่อการบูรณาการการวิจัยสู่การบริการวิชาการสู่สาธารณะ ด้วยการเรียบเรียงเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปสถาปัตยกรรมของแหล่งมรดกวัฒนธรรมทรงคุณค่าที่กล่าวถึงในรายงานวิจัยซึ่งมีความจำกัดในการเผยแพร่ โดยนำมาเรียบเรียงเป็นคู่มือการเที่ยวชมแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้ชุมชน หรือเจ้าของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมนำไปจัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ทางวิชาการจากการวิจัยบริการสู่สาธารณชนด้วยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้ และความเข้าใจ อันเป็นฐานสำหรับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนต่อไป
สำหรับคู่มือการนำชม “มรดกพุทธศิลปสถาปัตยกรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช” เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพและแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม (The study and analysis of value, potential, and guidelines for nominating the cultural heritage sites to inscribed as World Cultural Heritage)” ในแผนการวิจัยชุด “แผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคด้วยการจัดการท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป (Driven Strategic Plan for Thailand as a Hub of Tourism by Managing the World Heritage in the Main Land of Southeast Asia)” สนับสนุนทุนวิจัยโดย “สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร” และ “สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ” และจัดพิมพ์เผยแพร่โดย “สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช”
“จองแบบพม่าที่วัดม่อนจำศีล ลำปาง: ลักษณะทางสถาปัตยกรรม และสภาพการณ์ปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศ... more “จองแบบพม่าที่วัดม่อนจำศีล ลำปาง: ลักษณะทางสถาปัตยกรรม และสภาพการณ์ปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และสถาปัตยกรรมทรงคุณค่าซึ่งเป็นองค์ประกอบภายในผังบริเวณวัดม่อนจำศีล และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของจองเมื่อแรกสร้าง ตลอดจนเพื่อการบันทึกข้อมูลสภาพปัจจุบันของจอง ตลอดจนสถานการณ์การอนุรักษ์เพื่อเป็นฐานข้อมูลในลักษณะจดหมายเหตุเพื่อเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของตัวอาคาร เฉกเช่นเดียวกันกับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่เกิดขึ้นมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์
จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่ได้รักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอดและปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่า เป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลมุมมองจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทำเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีลก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร
สำหรับเนื้อหาส่วนที่ 2 นั้นเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสรุปของสภาพ และสถานการณ์ปัจจุบันของวิหารวัดม่อนจำศีลที่กำลังอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนักเนื่องจากขาดการทำนุบำรุงและการดูแลมาอย่างยาวนานาน ทว่าเริ่มมีความพยายามในการอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมโดยภาคประชาชน และองค์กรเอกชนที่มีจิตสำนึกในการพิทักษ์รักษามรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ทว่ายังคงติดขัดปัญหาบางประการ ซึ่งในอนาคตเมื่อกระบวนทัศน์ต่อการบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรม และมรดกทางสถาปัตยกรรมมีทิศทางที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น คงจะเป็นทิศทางที่สร้างความยั่งยืนต่อการบริหารจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น
“(Like) Burmese Architecture of Wat Mon Cham Sin Kyuang, Lampang Province: Architecture and Existing Condition” aims at studying the valuable history and architecture, i.e. the compounds, of Wat Mon Cham Sin in Lampang Province. The data of existing conditions was collected so as to be the data base for the study of changes of historic buildings.
It was found that this historic monastery related to different ethnic groups whose origins were in Myanmar. They moved south to settle down in Lampang Province for business, along with their culture. However, the original form of Wat Mon Cham Sin had not been preserved due to restoration for times. The original form was only recalled via oral history. Hence this study is based on the comparison to other monasteries which were built at the same period. Fortunately, in 2013 there was a publication of photo collections of monasteries in Lampang Province, with one monastery which cannot be identified. Then it was found that it was Wat Mon Cham Sin, taken from the south-east side. This evidence is so significant that the original form of the monastery was finally clued.
The second part presents the overall states of the buildings as well as the existing conditions which have been declined due to the lack of restoration. However, the roles of conservation seem to be raised by the locals and the private sectors. Despite some problems and obstacles in conservation process, attitudes towards cultural and architectural heritage management tend to be better due to understanding leading to participation. This awareness will finally lead to sustainability.
จากการวิจัย "โครงการวิจัยการศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพ และแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรร... more จากการวิจัย "โครงการวิจัยการศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพ และแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศไทยเพื่อผลักดันให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งชั่วคราวเพื่อรอรับการพิจารณา และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มเติมจากแหล่งที่อยู่ในปัจจุบันตามวัตถุประสงค์หลักของการวิจัย นอกจากนี้ กลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำปาง ลาพูน และแม่ฮ่องสอน) ซึ่งมีนโยบายในการศึกษาเพื่อค้นคว้าหาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า และศักยภาพในการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่
จากการศึกษาพบว่า ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนกาดกองต้า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในแง่ของการเป็นย่านที่ตั้งของมรดกทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนแถวการค้าที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนกาดกองต้ายังมีเสน่ห์ในแง่ของภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนเมืองที่ยังมีพลวัติ ซึ่งเสน่ห์ที่สำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมในฐานะของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางสังคม และวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมและผลักดันสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกนั้นยังเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขนาดของย่านที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก และจะแสดงให้เห็นชัดเจนเมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบ (Comparative Study) ตามที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนด โดยให้เปรียบเทียบกับแหล่งมรดกโลกอื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ หากจะผลักดันภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์กาดกองต้าเข้าสู่การบรรจุชื่อสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกนั้นจึงมีความจาเป็นต้องผลักดันควบคู่ไปกับแหล่งอื่นๆ โดยใช้กลไกการขึ้นทะเบียนแบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination) จึงอาจจะพอเป็นไปได้ นอกจากนี้ อุปสรรคสำคัญอีกประการ คือ การบริหารจัดการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทของชุมชนเมืองนั้นมีความซับซ้อนอย่างสูง จึงทำให้มีความยากลำบากอย่างยิ่งในการจะผลักดันต่อเนื่องสู่การยกย่องให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
อย่างไรก็ตาม แหล่งภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์กาดกองต้านั้นก็มีคุณค่าอย่างยิ่งในฐานะของย่านประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภาคเหนือซึ่งมีอายุยาวนานกว่าร้อยปี โดยเริ่มก่อตั้งราว พ.ศ.2420 ซึ่งคำว่า "กาดกองต้า" นั้นหมายความว่า "ตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนริมท่าน้้า" โดยในอดีตเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้าจากภาคกลางและภาคเหนือ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าไม้ที่สาคัญเนื่องจากบริษัทค้าไม้ของอังกฤษขยายกิจการเข้ามาตั้งยังลำปาง ทาให้มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างสูง และเป็นปัจจัยในการดึงดูดให้ผู้คนจากทั่วสารทิศเข้ามาตั้งถิ่นฐานยังกาดกองต้าจนกลายเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม และเป็นชุมชนคหบดีพ่อค้าทำให้มีการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีความน่าสนใจที่สัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ ความต้องการการใช้สอย และฐานะทางเศรษฐกิจ สาหรับบทความนี้จึงใช้แนวคิด “ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์” เป็นฐานในการศึกษา เพื่อศึกษาสารวจรังวัด และจัดทาแบบสถาปัตยกรรมเพื่อรวบรวมรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์วัฒนธรรมย่านประวัติศาสตร์อย่างเป็นองค์รวมเพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมบนฐานของความยั่งยืนต่อไป
“The Study of Value and Potency Analysis and Guidelines for Nomination of Additional Cultural Heritage as the World Heritage” aims at studying the potency of cultural heritage sites in Thailand so as to nominate them to be temporarily listed and proposed as the World Heritage sites. Moreover, this harmonizes the strategic plan of the Office of Strategy Management Upper Northern Provincial Cluster 1 (comprising Chiang Mai, Lamphun, Lampang, and Mae Hong Son Province) whose aim also focuses on looking for valuable cultural heritage sites and nominate them as the World Heritage sites.
It was found from the study that the historic area of Kaad Kong Ta is potential as it is the location of vernacular shophouses which are outstanding due to their identity. In addition, its urban historic and cultural landscapes are still dynamic. They can bring about cultural tourism, leading to creative economy and, moreover, added value from their existing resources. Even though its scale is not big enough to be the World Heritage site, the comparative studies with other valuable sites, as a part of the process specified by the committee, can prove the value of Kaad Kong Ta. Hence, serial nomination is one of the approaches. However, administration and management of the urban landscapes are complex, and this is another point to focus on.
Kaad Kong Ta possesses the historic value. Since 1877, it has been an important quarter along the river. It was the commercial area for exchanging goods from the Central Region to the North and vice versa. In addition, it was the centre for wood trading as British companies were located in Lampang Province. Such factors attracted people to settle down in the area then it became a place of multi cultures. Vernacular architecture has been another aspect which is not less interesting than others as it can be the trace for ethnicity, utility, and economic status.
For this study, “urban historic landscapes” is the gist, then measurement and models were prepared so as to be parts of holistic study which can be the data base for conservation and sustainable development.
หอพระเจ้าริมน้ำตกวัดผาลาดสกทาคามี เชิงดอยสุเทพ เป็นอาคารที่สำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์วัฒนธ... more หอพระเจ้าริมน้ำตกวัดผาลาดสกทาคามี เชิงดอยสุเทพ เป็นอาคารที่สำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์วัฒนธรรมเส้นทางนมัสกาลพระบรมธาตุดอยสุเทพ ด้วยตำแหน่งที่สร้างอยู่ใต้เพิงผาริมน้ำตกผาลาดที่มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่โดดเด่น และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญจากเพิงผาที่มีประวัติศาสตร์มุขปาฐะ และประวัติศาสตร์จดบันทึกได้กล่าวว่าเป็นที่พำนักของฤาษี และพระภิกษุทั้งหลายมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์ล้านนา ต่อมาในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 25 มีการสร้างอาคารรูปแบบพม่าสมัยอาณานิคม เป็นอาคารก่ออิฐ รูปด้านหน้าเป็นวงโค้ง 5 ช่อง และมีการประดับตกแต่งด้วยศิลปกรรมแบบพม่า จากการศึกษายังพบว่าภายในอาคารเคยประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือปางปรินิพพาน และพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยอีก 4 องค์ แต่ทว่าเมื่อพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือปางปรินิพพานดังกล่าวได้สูญหายไป และแม้ว่าอาคารได้พังทลายลง ก็ยังมีการซ่อมแซม และสร้างพระพุทธรูเพิ่มเติมอีกในภายหลัง ทำให้หลักฐานทางโบราณคดี และซากมรดกทางสถาปัตยกรรมของอาคารมีความซับซ้อนอย่างยิ่ง
บทความ “พัฒนาการของรูปแบบสถาปตั ยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาใ... more บทความ “พัฒนาการของรูปแบบสถาปตั ยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในพื้นที่จังหวัดพัทลุง” เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้” ซึ่งทำการศึกษาชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในละแวกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง ซึ่งจากการศึกษาได้สังเคราะห์ข้อมูลสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งสิ้น 58 หลัง ซึ่งพบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประเด็น คือ
1. อาชีพของเจ้าของเรือนกรณีศึกษามีทั้งการทำนา การทำสวนผลไม้ การทำสวนยาง การประมง การค้า ซึ่งในอดีตนั้นแต่ละครัวเรือนจะมีอาชีพหลักที่ค่อนข้างชัดเจน และส่งผลกับเรือนให้มีแบบแผนที่ชัดเจน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่สามารถจำแนกเรือนออกเป็นอาชีพได้อย่างตรงไปตรงมานัก เนื่องจากแต่ละครัวเรือนนั้นได้ประกอบอาชีพที่หลากหลายแตกต่างไปจากบริบทของอดีตโดยสิ้นเชิง
2. จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถาปัตยกรรมเรือนที่อยู่อาศัยสามารถจำแนกเรือนออกได้ตามบริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม 2 ประเด็น คือ “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยที่แสดงความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง” และ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยที่มีพัฒนาการของรูปแบบภายใต้บริบทแวดล้อมของพื้นที่”
3. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในระยะแรกนั้นได้รับรูปแบบจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง แต่เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ อาทิ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่น และวิถีวัฒนธรรม นั้นแตกต่างจากภาคกลางโดยสิ้นเชิง จึงทำให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่รับมานั้นไม่สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ เมื่อมีการสร้างเรือนใหม่จึงมีการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ ดังจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาโดยตลอด ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ รูปทรงหลังคาที่ระยะแรกนั้นใช้ “หลังคาทรงจั่ว” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “หลังคาทรงปั้นหยา” ซึ่งเป็นรูปแบบหลังคาที่ป้องกันแดดฝนได้ดีกว่าหลังคาจั่ว เนื่องจากในพื้นที่ศึกษานั้นเป็นพื้นที่มีอากาศแปรปรวน มีลมและฝนรุนแรง และมีทิศทางการสาดไม่แน่นอน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในอดีตจะให้ความสำคัญ
กับการหันหน้าเรือนไปทางทิศตะวันออก และให้ห้องนอนอยู่ทางด้านทิศใต้ และเปลี่ยนแปลงคติความเชื่อดังกล่าวในภายหลัง เมื่อมีการตั้งบ้านเรือนสัมพันธ์กับเส้นทางสัญจรทั้งทางนํ้า และทางบก
“Development of Vernacular Architecture in Songkhla Lake Basin, Pattalung Province” is a part of “A Study on the Explicit Knowledge and Local Wisdom in the Field of Housing for Knowledge Management in the South of Thailand” which studies the local communities in the area of Songkhla Lake Basin in Pattalung Province, then synthesizes the data on vernacular architecture, comprising 58 houses. Significant
aspects are as follows:
1. The residents are mostly agriculturalists, farmers, fishermen, and merchants. Occupation used to play important role on housing, so houses are different. However, at present, due to changes in social contexts, members of each house work in different fields, so houses are not very different.
2. Social contexts have affected forms of vernacular architecture into two aspects: vernacular architecture related to that in the central region and vernacular architecture developed through changes in social contexts.
3. Firstly, vernacular dwelling house in Pattalung related to that in the central region, but then developed because of factors like geographical aspects, climate, construction materials, culture, and ways of life. Hence, later, dwelling has been
adapted so as to go compatibly with the surroundings. The most clearly noticed example is the roof. That is, there used to be gable, but then it was replaced by hip roof, because of the monsoon. In addition, building orientation has also changed. In
other words, houses which face the east with the bedroom in the south has changed in order to be compatible with circulation routes.
จากการศึกษา “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมนํ้า” ในพื้นที่ศึกษาที่แบ่งออกเป็นสองบริบท คือ “พื้นที่ชุมช... more จากการศึกษา “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมนํ้า” ในพื้นที่ศึกษาที่แบ่งออกเป็นสองบริบท คือ “พื้นที่ชุมชนบริบทเมือง” และ “พื้นที่ชุมชนในบริบทชนบท” พบว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมนํ้าในบริบทชนบทสามารถรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้ได้เป็นอย่างดี และมีความรู้จำนวนมากมายแฝงฝังอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตที่รอคอยการศึกษาเชิงลึกในเรื่องต่างๆต่อไป สำหรับ ในการศึกษานี้ได้จำแนกภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมนํ้าที่น่าสนใจออกเป็น 3 กลุ่ม คือ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมสวนริมนํ้า” “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมวัดริมนํ้า” และ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่อยู่อาศัยริมนํ้า” อย่างไรก็ดี ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมนํ้ากำลังเริ่มเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจาก “ผลกระทบที่มีมูลเหตุมาจากปัจจัยจุลภาค” ที่เป็นปัจจัยในครัวเรือน และ “ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัจจัยมหรรพภาค” ที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่โดยปราศจากความเข้าใจในความเปราะบาง ความซับซ้อนและความหลากหลาย แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาดังกล่าวกับเป็นเพียงประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ยังชีพด้วยการอิงอาศัยสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศเป็นหลัก
The study of “The cultural landscape of waterfront communities” , which is divided into two studies areas contexts ; the first one is urban community context and the second is rural community context. This finding reveal that the cultural landscape in the context of rural community is able to excellent maintain their cultural identities. There are also many knowledge hidden in their ways of life and waiting for deeply advance explore in next time. For this study is classified the interesting cultural landscape of waterfront community into 3 categories: 1) The Cultural landscape of waterfront agricultural 2) The Cultural landscape of waterfront temple 3) The Cultural landscape of waterfront residential Nevertheless, the cultural landscape of waterfront community is going to adapt and adjust due to the effect caused of “micro factor” that originated by the household’s factor and the effect caused of “macro factor” originated by the development without any comprehension in fragility, complexity and diversity .
However, the victims of this effect caused from the development are people who live in this area and mainly subsistence related with environments and ecology.
โครงการวิจัยการจัดการองค์ความรู้การใช้วัสดุก่อสร้างพื้นถิ่น และเทคโนโลยีก่อสร้าง ในพื้นที่ภาคกลาง... more โครงการวิจัยการจัดการองค์ความรู้การใช้วัสดุก่อสร้างพื้นถิ่น และเทคโนโลยีก่อสร้าง ในพื้นที่ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม สิงห์บุรี อุทัยธานี เพื่อศึกษาวิจัย และรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ในประเด็นต่างๆ ของที่อยู่อาศัยในชุมชนชนบท แบ่งการศึกษาเป็น 2 ลักษณะ คือ “การเรียนรู้” และการ “ถอดรหัส” ผ่านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยูอาศัยของแต่ละท้องถิ่นด้วยการสำรวจรังวัด และจัดทำแบบสถาปัตยกรรม เพื่อศึกษาองค์ความรู้ และภูมิปัญญาต่างๆ ในการก่อสร้าง และการเก็บข้อมูลองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลด้วยการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ กระบวนการฝึกหัด กระบวนการมีส่วนรว่มในกิจกรรม รวมทั้งการสาธิตการทำงานของผู้ท รงคุณวุฒิในท้องถิ่น จากการศึกษาจึงพบ ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางในการพัฒนาที่อยูอาศัยในชุมชนชนบทอย่างเข้าใจต่อไปในอนาคต
พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์พื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช จ.... more พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์พื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช จ.สงขลา และ จ.พัทลุง) มีหลักฐานมาตั้งแต่หลังพุทธศตวรรษที่ 5 และมีบทบาทมากขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13 ในฐานะเมืองท่าของศรีวิชัย นอกจากนี้ ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 มีหลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์กับราชสำนักจีนราชวงศ์ซ้อง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 17-18 เมืองนครศรีธรรมราชมีบทบาทในฐานะศูนย์กลางของตามพรลิงค์ และในราวพุทธศตวรรษที่ 20 เมืองต่างๆ ในคาบสมุทรภาคใต้ตกอยู่ภายใต้อำนาจราชสำนักอยุธยาจวบจนรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านการเมืองการปกครอง และการพระพุทธศาสนา ซึ่งชุมชนที่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเหล่านี้ ล้วนแต่มีฐานทางเศรษฐกิจอยู่กับการทำนา โดยตั้งถิ่นฐานร่วมกันในกลุ่มเครือญาติเป็นชุมชน เพราะการทำนาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานในการผลิตจำนวนมาก และขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งย่อมทำให้มีการสร้างและทำนุบำรุงวัดต่าง ๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางจิตใจของชุมชน
สำหรับองค์ประกอบของผังบริเวณ และพุทธศาสนสถาปัตยกรรมในพื้นที่ศึกษา พบว่า มีองค์ประกอบและรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับศูนย์กลางที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ดังที่มีการรับผ่านอิทธิพลและการติดต่อสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนาอย่างแน่นแฟ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากคาบสมุทรภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีการปะทะสังสรรค์กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่รายรอบส่งผลให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แม้ว่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากราชธานีส่วนกลาง ทว่าก็มีการคลี่คลายและมีวิวัฒนาการของตนเองอย่างน่าสนใจ จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของผังบริเวณของวัดในพื้นที่ศึกษาจะมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับวัดในภาคกลาง อาทิ “อุโบสถ” “เจดีย์ประธาน” ซึ่งพบที่วัดเก่าแก่ แต่วัดที่มีอายุไม่เก่าแก่นัก หรือวัดขนาดเล็กจะไม่นิยมสร้างเจดีย์เป็นประธาน แต่มีความนิยมสร้าง “บัว” ซึ่งหมายถึงเจดีย์ขนาดเล็กสำหรับบรรจุอัฐิของบรรพบุรุษ ทั้งที่เป็นเจดีย์กลางแจ้ง หรือมีศาลาคลุม ที่เรียกว่า “หลาบัว” สำหรับ “ศาลาโรงธรรม” ใช้รองรับกิจกรรมเอนกประสงค์ และยังมีการก่อสร้าง “ศาลาโถง” ไว้ในพื้นที่ต่าง ๆ ของผังบริเวณ เนื่องจากเหตุผลด้านการใช้สอย ซึ่งภาคใต้มีภูมิอากาศที่แปรปรวน นอกจากนี้ ยังพบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโรงมหรสพ เช่น โรงหนังตะลุง อีกด้วย
The evidence of the historical development of the Songkla Lake Basin (covering Nakhon Si Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province) has been found since the 5th BE, and clearly noticed during the 12-13th BE as the port of Srivijaya Kingdom. Then in 16th BE, pieces of evidence of relationship with the Song Dynasty of China were found. During the 17-18th BE, Nakhon Si Thammarat played its role as the centre of Tambalinga Kingdom. In the 20th BE, many cities in the South were under the control of Ayudhya and Rattanakosin, the capitals, respectively. Political control and Buddhism were clearly seen. For economic circumstance, people lived their lives mainly on farming and doing agricultural activities. Due to the fact that farming needed much labour, people lived altogether. Communities expanded and temples were their centre. For the study of the floor plan of Buddhism vernacular architecture, it was found that the compositions and forms were similar to those found in the Chao Phraya Basin during Ayudhya and Rattanakosin period because of influence and relationship in terms of politics and Buddhism. However, due to its geographical aspects, the South has witnessed and experienced other cultures. This affected forms of architecture although the South has mainly been inspired by the Central Region, along with its own transformation and evolution. The study also found that the floor plan of temples is similar to that of the Central Region, for example Ubosot and the main Chedi were the main compositions, found in old temples, while Bua or small Chedi, keeping ancestors’ relics, were found in small temples, both outdoor or in the pavilion. The pavilions for miscellaneous purposes, because of the monsoon, were also found in the floor plan. In addition, vernacular architecture for shadow puppet theater was also found generally.
Conference Presentations by Isarachai Buranaut
การนำเสนอความก้าวหน้าในโครงการวิจัย "ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและกัมพูชา หลังคริสต์ศตวรรษที่ 18: ภา... more การนำเสนอความก้าวหน้าในโครงการวิจัย "ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและกัมพูชา หลังคริสต์ศตวรรษที่ 18: ภาพสะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาในเมืองพระตะบอง"
ภายใต้ชุดโครงการโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศาสตราจารย์ ดร. เสมอชัย พูลสุวรรณ "พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในบริบทวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11-ปัจจุบัน)"
Uploads
Papers by Isarachai Buranaut
ทั้งนี้ สันนิษฐานว่า อาจเคยวางผังเป็นพระปรางค์วางตัวเรียงแถวหน้ากระดานกัน 3 องค์ นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่าพระศรีรัตนมหาธาตุมีความสูงตั้งแต่ฐานจรดยอดประมาณ 38 เมตร แต่เนื่องจากเรือนยอดของพระศรีรัตนมหาธาตุได้พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จึงเกิดคำถาม 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 บนเรือนยอดชั้นที่ 1 หรือที่เรียกว่าชั้นอัสดงตรงมุมประธานนั้นอาจเคยตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปครุฑหรือเป็นกลีบขนุน ข้อที่ 2 บนสันหลังคาของมุขด้านตะวันออกมีการตกแต่งด้วยสถูปทรงปรางค์ด้วยหรือไม่ อันนำไปสู่ข้อเสนอเพิ่มเติม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อแรกสถาปนาโดยใช้หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า และสร้างร่วมสมัยกับพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา
-------------------------------------------------------------------------------------------
This article comprises of three main parts: 1) the history of the temple relating to Ayutthaya period; 2) the architectural aspects of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya during the first erection; and 3) the architectural aspects of Phra Prang Mahathat Ayuthaya during the preservation in the reign of King Prasat Thong.
It has been assumed that Phra Prang Mahathat Ayuthaya was constructed during the reign of King Boromrachathiraj I (Khun Luang Phra Ngua) - King Ramesuan in 1388 due to the fact that the architectural style and the plan of Mahathadu relating to that of Pra Prang Mahathadu Lopburi. It was also found that the height of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya t is 38 metres, then the top part collapsed in the reign of King Song Tham. It was assumed that the upper layer at the main angle used to be decorated with Garuda or decorated parts and the roof top at the east side was decorated with Stupa. The assumption was based on architectural evidences of other Phra Prang Mahathats which were previously built or built at the same period.
Houses should be built as near to the lake as possible but should be protected from damage by seasonal floods. Therefore, long timber poles are used as stilts to lift the house up off the ground. Each house is built in the shape of narrow rectangular plan. Houses are located close to one another along opposite sides of the riven channel. As a result, the layout is narrow and expansion is deep rather than wide. In addition, the settlement is located in a large plain so a high proportion of houses have a roof of less than 45 degrees to reduce the impact of wind.
The main structure of house on high stilt has a post-beam system combined with structural bracing system making a three-dimensional distributed load to support and strengthen the structure during the flood season. Periodically water from the Mekong overflows into the Tonle Sap basin. Because the water rises slowly, the high stilt houses are able to remain undamaged.
วัฒนธรรมแห่งหุบเขาเมืองแม่ฮ่องสอน” “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาเมืองเมืองปอน-ขุนยวม” และ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาเมืองแม่สะเรียง” ร่วมกันเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการขึ้นทะเบียนแหล่ง “มรดกโลกแบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination on World Heritage List)” เนื่องจากประกอบด้วยแหล่งมากกว่า 2 แหล่งขึ้นไป และไม่ได้มีพื้นที่ทางกายภาพเชื่อมต่อกัน แตกต่างกันทางที่ตั้ง แต่มีความสัมพันธ์กันในประเด็นต่างๆ
Mae Hong Son Province possesses sites of cultural landscapes which are competent
enough to be nominated as a World Heritage Tentative List. For the study of
“Cultural Landscape of Mae Hong Son Valleys”, it comprises three main parts: Cultural Landscape of Mae Hong Son Valleys, Cultural Landscape of the town of Pon-Khun Yuam, and Cultural Landscape of the town of Mae Sariang. The cluster is aimed to
be proposed as a serial nomination on World Heritage List due to their geographical factors which are not adjacent to one another along with differences but correlation can be found.
It was also found that the components of cultural landscape of Mae Hong Son valleys have been formed by cultural landscape of Tai Yai villages, cultural landscape of agricultural areas, and cultural landscape of Tai Yai temples. The cultural landscapes
of Tai Yai villages and agricultural areas closely relate to local people’s ways of life, then changes come due to the fact about social and economic contexts. However, awareness, especially in terms of values, can be raised when studies among academic
institutes and local communities work altogether so as to figure out means to develop life quality and economic aspects while cultural landscape values are not distorted.
The fundamental process is to study then bring about concrete knowledge into management plan, and ‘cultural landscapes of Tai Yai Monasteries” should be considered first. The study will prepare the database and documentation. This can lead to the nomination of World Heritage tentative list because of the outstanding universal value.
This study can be beneficial in terms of leading the site to World Heritage in many dimensions, for example the new understanding and realization in conservation and sustainable development of cultural heritage places, promotion of tourism in both natural and cultural aspects, as well as creation of creative economic aspects and added value from social and cultural components as budget.
In addition, the dynamic of Tai Yai’s cultural assets, both tangible and intangible heritage rooted in Myanmar and China, seem to be under changes as they have been considered minority. In other words, their cultural heritage, especially the intangible one, seems to be at risk. Hence, this study can lead to sustainability in cultural heritage of the human race.
พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์พื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ในพื้นที่ จ.นครศรธรรมราช จ.สงขลาและ จ.พัทลุง) มีหลักฐานมาตั้งแตหลังพุทธศตวรรษที่ 5 และมีบทบาทมากขึ้นในชวงพุทธศตวรรษที่ 12-13 ในฐานะเมืองท่าของศรีวิชัย นอกจากนี้ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 มีหลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์กับราชสํานักจีนราชวงศ์ซ้อง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 17-18 เมืองนครศรีธรรมราชมีบทบาทในฐานะศูนย์กลางของตามพรลิงค์และในราวพุทธศตวรรษที่ 20 เมืองต่างๆ ในคาบสมุทรภาคใต้ตกอยู่ภายใต้อำนาจราชสำนักอยุธยาจวบจนรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านการเมืองการปกครอง และการพระพุทธศาสนา ซึ่งชุมชนที่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเหล่านี้ล้วนแต่มีฐานทางเศรษฐกิจอยูกับการทํานา โดยตั้งถิ่นฐานรวมกันในกลุ่มเครือญาติเป็นชุมชน เพราะการทํานาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานในการผลิตจำนวนมาก และขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งย่อมทำให้มีการสร้างและทำนุบำรุงวัดต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางจิตใจของชุมชน
สําหรับองค์ประกอบของผังบริเวณ และพุทธศาสนสถาปัตยกรรมในพื้นที่ศึกษา พบวา มีองค์ประกอบและรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับศูนย์กลางที่ลุ่มแมน้ำเจ้าพระยาทั้งสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ดังที่มีการรับผ่านอิทธิพลและการติดต่อสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนาอยางแน่นแฟ้น อย่างไรก็ดีเนื่องจากคาบสมุทรภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีการปะทะสังสรรค์กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่รายรอบส่งผลให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แม้ว่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากราชธานีส่วนกลาง ทว่าก็มีการคลี่คลายและมีวิวัฒนาการของตนเองอย่างน่าสนใจ จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของผังบริเวณของวัดในพื้นที่ศึกษาจะมีองคประกอบคลายคลึงกับวัดในภาคกลางอาทิ “อุโบสถ” “เจดีย์ประธาน” ซึ่งพบที่วัดเก่าแก่ แต่วัดที่มีอายุไม่เก่าแก่นัก หรือวัดขนาดเล็กจะไม่นิยมสร้างเจดีย์เป็นประธาน แต่มีความนิยมสร้าง “บัว” ซึ่งหมายถึงเจดีย์ขนาดเล็กสําหรับบรรจุอัฐิของบรรพบุรุษ ทั้งที่เป็นเจดีย์กลางแจ้ง หรือมีศาลาคลุมที่เรียกวา “หลาบัว” สำหรับ “ศาลาโรงธรรม” ใช้รองรับกิจกรรมเอนกประสงค์ และยังมีการก่อสร้าง "ศาลาโถง" ไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของผังบริเวณ เนื่องจากเหตุผลด้านการใช้สอย ซึ่งภาคใต้มีภูมิอากาศที่แปรปรวน นอกจากนี้ยังพบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโรงมหรสพ เชน โรงหนังตะลุง อีกด้วย
คำสำคัญ: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น | สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น | ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | ภาคใต้
Abstract
The evidence of the historical development of the Songkla Lake Basin (covering Nakhon Si Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province) has been found since the 5th BE, and clearly noticed during the 12-13th BE as the port of Srivijaya Kingdom. Then in 16th BE, pieces of evidence of relationship with the Song Dynasty of China were found. During the 17-18th BE, Nakhon Si Thammarat played its role as the centre of Tambalinga Kingdom. In the 20th BE, many cities in the South were under the control of Ayudhya and Rattanakosin, the capitals, respectively. Political control and Buddhism were clearly seen. For economic circumstance, people lived their lives mainly on farming and doing agricultural activities. Due to the fact that farming needed much labour, people lived altogether. Communities expanded and temples were their centre. For the study of the floor plan of Buddhism vernacular architecture, it was found that the compositions and forms were similar to those found in the Chao Phraya Basin during Ayudhya and Rattanakosin period because of influence and relationship in terms of politics and Buddhism. However, due to its geographical aspects, the South has witnessed and experienced other cultures. This affected forms of architecture although the South has mainly been inspired by the Central Region, along with its own transformation and evolution. The study also found that the floor plan of temples is similar to that of the Central Region, for example Ubosot and the main Chedi were the main compositions, found in old temples, while Bua or small Chedi, keeping ancestors’relics, were found in small temples, both outdoor or in the pavilion. The pavilions for miscellaneous purposes, because of the monsoon, were also found in the floor plan. In addition, vernacular architecture for shadow puppet theater was also found generally.
Keywords: Buddhism Vernacular Architecture |
Vernacular Architecture | Songkhla Lake Basin | Southern
เรียบราชอาณาจักรกัมพูชา” เป็นการเรียบเรียงเชิงพรรณนาจากการศึกษาภาคสนามเพื่อศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
ของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำโตนเลสาบ ในจังหวัดเสียมเรียบ พบว่า ภาพรวมของการตั้งถิ่นฐานมี 3 ลักษณะ คือ
1) “ชุมชนลอยน้ำ” เป็นชุมชนที่มีพื้นฐานการดำรงชีวิตที่สัมพันธ์กับแหล่งน้ำทะเลสาบ เช่น การทำการ
ประมง และมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานทั้งแบบเกาะกลุ่ม และแบบแนวยาว ซึ่งจะปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาลซึ่งการ
ปรับเปลี่ยนการวางผังหมู่บ้านดังกล่าวเป็นคุณลักษณะพิเศษของชุมชน ทั้งนี้พบเรือนพักอาศัยเป็นสถาปัตยกรรมที่
เคลื่อนย้ายได้ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ “เรือบ้าน” “เรือโป๊ะบ้าน” “เรือนแพ” และ “เรือบ้านพร้อมกระชัง”
2) “ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีความแตกต่างของระดับน้ำ ตามฤดูกาล” เป็นชุมชนที่มีพื้นฐานการ
ดำรงชีวิตทั้งในน้ำและบนพื้นดิน มีลักษณะของการตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาวตามลำน้ำ ลักษณะสถาปัตยกรรมมีการ
ยกเสาสูง 6-8 เมตร เพื่อหนีน้ำในฤดูน้ำหลาก สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวเพื่อการอยู่อาศัยให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
3) “ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดิน” เป็นชุมชนที่มีพื้นฐานการดำรงชีวิตพึ่งพิงอยู่กับพื้นดินเป็นหลัก
มีลักษณะของการตั้งถิ่นฐานแบบถาวร ทั้งการตั้งถิ่นฐานแบบเกาะกลุ่ม บนโคกเนิน และการตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาว
ตามทางสัญจร โดยมีลักษณะการอยู่อาศัยแบบเรือนยกพื้นจำแนกได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ “เรือนแบบขแมร์”
“เรือนแบบโรง” “เรือนแบบโรงโดล” “เรือนแบบโรงเดงือง” และ “เรือนแบบบิด”
ABSTRACT
The Study of the “Holistic Settlement and Vernacular Housing in Tonelesap, Siem Riep,
Cambodia” is the explanation and description from the field studies figuring out the settlement of
communities in the area of Tonelesap, Siem Riep. It was found that the settlement can be
categorized into three aspects.
1) Water-based communities or floating village owns the lifestyle which directly relates
to Tonelesap, like fishing. The settlement consists of both cluster and linear settlement, i.e. the
plan of the village is interchanged, depending on the level of the water. There are five types of
houses, which are considered moveable structure, comprising houseboat, ferry houseboat, bamboo
raft houseboat, and floating pen houseboat.
2) Water-and-land-based communities are found both on land and in water, as linear
settlement along the lake. The poles, which are 6-8 metres tall, are used as they are helpful during
flood time.
3) Land-based communities are found on land. They are permanent settlement,
as cluster settlement on hills and linear settlement along routes. There are five aspects comprising
Khmer house, Rong house, Rong Dol house, Rong Doeung house, and Bid house.
จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่ได้รักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอดและปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่า เป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลมุมมองจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทำเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีลก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงในนิทรรศการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ของ ดร.วทัญญู ณถลาง ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558
สำหรับคู่มือการนำชม “มรดกพุทธศิลปสถาปัตยกรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช” เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพและแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม (The study and analysis of value, potential, and guidelines for nominating the cultural heritage sites to inscribed as World Cultural Heritage)” ในแผนการวิจัยชุด “แผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคด้วยการจัดการท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป (Driven Strategic Plan for Thailand as a Hub of Tourism by Managing the World Heritage in the Main Land of Southeast Asia)” สนับสนุนทุนวิจัยโดย “สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร” และ “สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ” และจัดพิมพ์เผยแพร่โดย “สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช”
จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่ได้รักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอดและปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่า เป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลมุมมองจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทำเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีลก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร
สำหรับเนื้อหาส่วนที่ 2 นั้นเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสรุปของสภาพ และสถานการณ์ปัจจุบันของวิหารวัดม่อนจำศีลที่กำลังอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนักเนื่องจากขาดการทำนุบำรุงและการดูแลมาอย่างยาวนานาน ทว่าเริ่มมีความพยายามในการอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมโดยภาคประชาชน และองค์กรเอกชนที่มีจิตสำนึกในการพิทักษ์รักษามรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ทว่ายังคงติดขัดปัญหาบางประการ ซึ่งในอนาคตเมื่อกระบวนทัศน์ต่อการบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรม และมรดกทางสถาปัตยกรรมมีทิศทางที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น คงจะเป็นทิศทางที่สร้างความยั่งยืนต่อการบริหารจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น
“(Like) Burmese Architecture of Wat Mon Cham Sin Kyuang, Lampang Province: Architecture and Existing Condition” aims at studying the valuable history and architecture, i.e. the compounds, of Wat Mon Cham Sin in Lampang Province. The data of existing conditions was collected so as to be the data base for the study of changes of historic buildings.
It was found that this historic monastery related to different ethnic groups whose origins were in Myanmar. They moved south to settle down in Lampang Province for business, along with their culture. However, the original form of Wat Mon Cham Sin had not been preserved due to restoration for times. The original form was only recalled via oral history. Hence this study is based on the comparison to other monasteries which were built at the same period. Fortunately, in 2013 there was a publication of photo collections of monasteries in Lampang Province, with one monastery which cannot be identified. Then it was found that it was Wat Mon Cham Sin, taken from the south-east side. This evidence is so significant that the original form of the monastery was finally clued.
The second part presents the overall states of the buildings as well as the existing conditions which have been declined due to the lack of restoration. However, the roles of conservation seem to be raised by the locals and the private sectors. Despite some problems and obstacles in conservation process, attitudes towards cultural and architectural heritage management tend to be better due to understanding leading to participation. This awareness will finally lead to sustainability.
จากการศึกษาพบว่า ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนกาดกองต้า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในแง่ของการเป็นย่านที่ตั้งของมรดกทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนแถวการค้าที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนกาดกองต้ายังมีเสน่ห์ในแง่ของภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนเมืองที่ยังมีพลวัติ ซึ่งเสน่ห์ที่สำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมในฐานะของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางสังคม และวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมและผลักดันสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกนั้นยังเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขนาดของย่านที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก และจะแสดงให้เห็นชัดเจนเมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบ (Comparative Study) ตามที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนด โดยให้เปรียบเทียบกับแหล่งมรดกโลกอื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ หากจะผลักดันภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์กาดกองต้าเข้าสู่การบรรจุชื่อสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกนั้นจึงมีความจาเป็นต้องผลักดันควบคู่ไปกับแหล่งอื่นๆ โดยใช้กลไกการขึ้นทะเบียนแบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination) จึงอาจจะพอเป็นไปได้ นอกจากนี้ อุปสรรคสำคัญอีกประการ คือ การบริหารจัดการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทของชุมชนเมืองนั้นมีความซับซ้อนอย่างสูง จึงทำให้มีความยากลำบากอย่างยิ่งในการจะผลักดันต่อเนื่องสู่การยกย่องให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
อย่างไรก็ตาม แหล่งภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์กาดกองต้านั้นก็มีคุณค่าอย่างยิ่งในฐานะของย่านประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภาคเหนือซึ่งมีอายุยาวนานกว่าร้อยปี โดยเริ่มก่อตั้งราว พ.ศ.2420 ซึ่งคำว่า "กาดกองต้า" นั้นหมายความว่า "ตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนริมท่าน้้า" โดยในอดีตเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้าจากภาคกลางและภาคเหนือ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าไม้ที่สาคัญเนื่องจากบริษัทค้าไม้ของอังกฤษขยายกิจการเข้ามาตั้งยังลำปาง ทาให้มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างสูง และเป็นปัจจัยในการดึงดูดให้ผู้คนจากทั่วสารทิศเข้ามาตั้งถิ่นฐานยังกาดกองต้าจนกลายเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม และเป็นชุมชนคหบดีพ่อค้าทำให้มีการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีความน่าสนใจที่สัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ ความต้องการการใช้สอย และฐานะทางเศรษฐกิจ สาหรับบทความนี้จึงใช้แนวคิด “ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์” เป็นฐานในการศึกษา เพื่อศึกษาสารวจรังวัด และจัดทาแบบสถาปัตยกรรมเพื่อรวบรวมรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์วัฒนธรรมย่านประวัติศาสตร์อย่างเป็นองค์รวมเพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมบนฐานของความยั่งยืนต่อไป
“The Study of Value and Potency Analysis and Guidelines for Nomination of Additional Cultural Heritage as the World Heritage” aims at studying the potency of cultural heritage sites in Thailand so as to nominate them to be temporarily listed and proposed as the World Heritage sites. Moreover, this harmonizes the strategic plan of the Office of Strategy Management Upper Northern Provincial Cluster 1 (comprising Chiang Mai, Lamphun, Lampang, and Mae Hong Son Province) whose aim also focuses on looking for valuable cultural heritage sites and nominate them as the World Heritage sites.
It was found from the study that the historic area of Kaad Kong Ta is potential as it is the location of vernacular shophouses which are outstanding due to their identity. In addition, its urban historic and cultural landscapes are still dynamic. They can bring about cultural tourism, leading to creative economy and, moreover, added value from their existing resources. Even though its scale is not big enough to be the World Heritage site, the comparative studies with other valuable sites, as a part of the process specified by the committee, can prove the value of Kaad Kong Ta. Hence, serial nomination is one of the approaches. However, administration and management of the urban landscapes are complex, and this is another point to focus on.
Kaad Kong Ta possesses the historic value. Since 1877, it has been an important quarter along the river. It was the commercial area for exchanging goods from the Central Region to the North and vice versa. In addition, it was the centre for wood trading as British companies were located in Lampang Province. Such factors attracted people to settle down in the area then it became a place of multi cultures. Vernacular architecture has been another aspect which is not less interesting than others as it can be the trace for ethnicity, utility, and economic status.
For this study, “urban historic landscapes” is the gist, then measurement and models were prepared so as to be parts of holistic study which can be the data base for conservation and sustainable development.
1. อาชีพของเจ้าของเรือนกรณีศึกษามีทั้งการทำนา การทำสวนผลไม้ การทำสวนยาง การประมง การค้า ซึ่งในอดีตนั้นแต่ละครัวเรือนจะมีอาชีพหลักที่ค่อนข้างชัดเจน และส่งผลกับเรือนให้มีแบบแผนที่ชัดเจน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่สามารถจำแนกเรือนออกเป็นอาชีพได้อย่างตรงไปตรงมานัก เนื่องจากแต่ละครัวเรือนนั้นได้ประกอบอาชีพที่หลากหลายแตกต่างไปจากบริบทของอดีตโดยสิ้นเชิง
2. จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถาปัตยกรรมเรือนที่อยู่อาศัยสามารถจำแนกเรือนออกได้ตามบริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม 2 ประเด็น คือ “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยที่แสดงความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง” และ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยที่มีพัฒนาการของรูปแบบภายใต้บริบทแวดล้อมของพื้นที่”
3. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในระยะแรกนั้นได้รับรูปแบบจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง แต่เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ อาทิ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่น และวิถีวัฒนธรรม นั้นแตกต่างจากภาคกลางโดยสิ้นเชิง จึงทำให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่รับมานั้นไม่สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ เมื่อมีการสร้างเรือนใหม่จึงมีการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ ดังจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาโดยตลอด ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ รูปทรงหลังคาที่ระยะแรกนั้นใช้ “หลังคาทรงจั่ว” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “หลังคาทรงปั้นหยา” ซึ่งเป็นรูปแบบหลังคาที่ป้องกันแดดฝนได้ดีกว่าหลังคาจั่ว เนื่องจากในพื้นที่ศึกษานั้นเป็นพื้นที่มีอากาศแปรปรวน มีลมและฝนรุนแรง และมีทิศทางการสาดไม่แน่นอน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในอดีตจะให้ความสำคัญ
กับการหันหน้าเรือนไปทางทิศตะวันออก และให้ห้องนอนอยู่ทางด้านทิศใต้ และเปลี่ยนแปลงคติความเชื่อดังกล่าวในภายหลัง เมื่อมีการตั้งบ้านเรือนสัมพันธ์กับเส้นทางสัญจรทั้งทางนํ้า และทางบก
“Development of Vernacular Architecture in Songkhla Lake Basin, Pattalung Province” is a part of “A Study on the Explicit Knowledge and Local Wisdom in the Field of Housing for Knowledge Management in the South of Thailand” which studies the local communities in the area of Songkhla Lake Basin in Pattalung Province, then synthesizes the data on vernacular architecture, comprising 58 houses. Significant
aspects are as follows:
1. The residents are mostly agriculturalists, farmers, fishermen, and merchants. Occupation used to play important role on housing, so houses are different. However, at present, due to changes in social contexts, members of each house work in different fields, so houses are not very different.
2. Social contexts have affected forms of vernacular architecture into two aspects: vernacular architecture related to that in the central region and vernacular architecture developed through changes in social contexts.
3. Firstly, vernacular dwelling house in Pattalung related to that in the central region, but then developed because of factors like geographical aspects, climate, construction materials, culture, and ways of life. Hence, later, dwelling has been
adapted so as to go compatibly with the surroundings. The most clearly noticed example is the roof. That is, there used to be gable, but then it was replaced by hip roof, because of the monsoon. In addition, building orientation has also changed. In
other words, houses which face the east with the bedroom in the south has changed in order to be compatible with circulation routes.
The study of “The cultural landscape of waterfront communities” , which is divided into two studies areas contexts ; the first one is urban community context and the second is rural community context. This finding reveal that the cultural landscape in the context of rural community is able to excellent maintain their cultural identities. There are also many knowledge hidden in their ways of life and waiting for deeply advance explore in next time. For this study is classified the interesting cultural landscape of waterfront community into 3 categories: 1) The Cultural landscape of waterfront agricultural 2) The Cultural landscape of waterfront temple 3) The Cultural landscape of waterfront residential Nevertheless, the cultural landscape of waterfront community is going to adapt and adjust due to the effect caused of “micro factor” that originated by the household’s factor and the effect caused of “macro factor” originated by the development without any comprehension in fragility, complexity and diversity .
However, the victims of this effect caused from the development are people who live in this area and mainly subsistence related with environments and ecology.
สำหรับองค์ประกอบของผังบริเวณ และพุทธศาสนสถาปัตยกรรมในพื้นที่ศึกษา พบว่า มีองค์ประกอบและรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับศูนย์กลางที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ดังที่มีการรับผ่านอิทธิพลและการติดต่อสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนาอย่างแน่นแฟ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากคาบสมุทรภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีการปะทะสังสรรค์กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่รายรอบส่งผลให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แม้ว่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากราชธานีส่วนกลาง ทว่าก็มีการคลี่คลายและมีวิวัฒนาการของตนเองอย่างน่าสนใจ จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของผังบริเวณของวัดในพื้นที่ศึกษาจะมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับวัดในภาคกลาง อาทิ “อุโบสถ” “เจดีย์ประธาน” ซึ่งพบที่วัดเก่าแก่ แต่วัดที่มีอายุไม่เก่าแก่นัก หรือวัดขนาดเล็กจะไม่นิยมสร้างเจดีย์เป็นประธาน แต่มีความนิยมสร้าง “บัว” ซึ่งหมายถึงเจดีย์ขนาดเล็กสำหรับบรรจุอัฐิของบรรพบุรุษ ทั้งที่เป็นเจดีย์กลางแจ้ง หรือมีศาลาคลุม ที่เรียกว่า “หลาบัว” สำหรับ “ศาลาโรงธรรม” ใช้รองรับกิจกรรมเอนกประสงค์ และยังมีการก่อสร้าง “ศาลาโถง” ไว้ในพื้นที่ต่าง ๆ ของผังบริเวณ เนื่องจากเหตุผลด้านการใช้สอย ซึ่งภาคใต้มีภูมิอากาศที่แปรปรวน นอกจากนี้ ยังพบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโรงมหรสพ เช่น โรงหนังตะลุง อีกด้วย
The evidence of the historical development of the Songkla Lake Basin (covering Nakhon Si Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province) has been found since the 5th BE, and clearly noticed during the 12-13th BE as the port of Srivijaya Kingdom. Then in 16th BE, pieces of evidence of relationship with the Song Dynasty of China were found. During the 17-18th BE, Nakhon Si Thammarat played its role as the centre of Tambalinga Kingdom. In the 20th BE, many cities in the South were under the control of Ayudhya and Rattanakosin, the capitals, respectively. Political control and Buddhism were clearly seen. For economic circumstance, people lived their lives mainly on farming and doing agricultural activities. Due to the fact that farming needed much labour, people lived altogether. Communities expanded and temples were their centre. For the study of the floor plan of Buddhism vernacular architecture, it was found that the compositions and forms were similar to those found in the Chao Phraya Basin during Ayudhya and Rattanakosin period because of influence and relationship in terms of politics and Buddhism. However, due to its geographical aspects, the South has witnessed and experienced other cultures. This affected forms of architecture although the South has mainly been inspired by the Central Region, along with its own transformation and evolution. The study also found that the floor plan of temples is similar to that of the Central Region, for example Ubosot and the main Chedi were the main compositions, found in old temples, while Bua or small Chedi, keeping ancestors’ relics, were found in small temples, both outdoor or in the pavilion. The pavilions for miscellaneous purposes, because of the monsoon, were also found in the floor plan. In addition, vernacular architecture for shadow puppet theater was also found generally.
Conference Presentations by Isarachai Buranaut
ภายใต้ชุดโครงการโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศาสตราจารย์ ดร. เสมอชัย พูลสุวรรณ "พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในบริบทวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11-ปัจจุบัน)"
ทั้งนี้ สันนิษฐานว่า อาจเคยวางผังเป็นพระปรางค์วางตัวเรียงแถวหน้ากระดานกัน 3 องค์ นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่าพระศรีรัตนมหาธาตุมีความสูงตั้งแต่ฐานจรดยอดประมาณ 38 เมตร แต่เนื่องจากเรือนยอดของพระศรีรัตนมหาธาตุได้พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จึงเกิดคำถาม 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 บนเรือนยอดชั้นที่ 1 หรือที่เรียกว่าชั้นอัสดงตรงมุมประธานนั้นอาจเคยตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปครุฑหรือเป็นกลีบขนุน ข้อที่ 2 บนสันหลังคาของมุขด้านตะวันออกมีการตกแต่งด้วยสถูปทรงปรางค์ด้วยหรือไม่ อันนำไปสู่ข้อเสนอเพิ่มเติม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อแรกสถาปนาโดยใช้หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า และสร้างร่วมสมัยกับพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา
-------------------------------------------------------------------------------------------
This article comprises of three main parts: 1) the history of the temple relating to Ayutthaya period; 2) the architectural aspects of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya during the first erection; and 3) the architectural aspects of Phra Prang Mahathat Ayuthaya during the preservation in the reign of King Prasat Thong.
It has been assumed that Phra Prang Mahathat Ayuthaya was constructed during the reign of King Boromrachathiraj I (Khun Luang Phra Ngua) - King Ramesuan in 1388 due to the fact that the architectural style and the plan of Mahathadu relating to that of Pra Prang Mahathadu Lopburi. It was also found that the height of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya t is 38 metres, then the top part collapsed in the reign of King Song Tham. It was assumed that the upper layer at the main angle used to be decorated with Garuda or decorated parts and the roof top at the east side was decorated with Stupa. The assumption was based on architectural evidences of other Phra Prang Mahathats which were previously built or built at the same period.
Houses should be built as near to the lake as possible but should be protected from damage by seasonal floods. Therefore, long timber poles are used as stilts to lift the house up off the ground. Each house is built in the shape of narrow rectangular plan. Houses are located close to one another along opposite sides of the riven channel. As a result, the layout is narrow and expansion is deep rather than wide. In addition, the settlement is located in a large plain so a high proportion of houses have a roof of less than 45 degrees to reduce the impact of wind.
The main structure of house on high stilt has a post-beam system combined with structural bracing system making a three-dimensional distributed load to support and strengthen the structure during the flood season. Periodically water from the Mekong overflows into the Tonle Sap basin. Because the water rises slowly, the high stilt houses are able to remain undamaged.
วัฒนธรรมแห่งหุบเขาเมืองแม่ฮ่องสอน” “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาเมืองเมืองปอน-ขุนยวม” และ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาเมืองแม่สะเรียง” ร่วมกันเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการขึ้นทะเบียนแหล่ง “มรดกโลกแบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination on World Heritage List)” เนื่องจากประกอบด้วยแหล่งมากกว่า 2 แหล่งขึ้นไป และไม่ได้มีพื้นที่ทางกายภาพเชื่อมต่อกัน แตกต่างกันทางที่ตั้ง แต่มีความสัมพันธ์กันในประเด็นต่างๆ
Mae Hong Son Province possesses sites of cultural landscapes which are competent
enough to be nominated as a World Heritage Tentative List. For the study of
“Cultural Landscape of Mae Hong Son Valleys”, it comprises three main parts: Cultural Landscape of Mae Hong Son Valleys, Cultural Landscape of the town of Pon-Khun Yuam, and Cultural Landscape of the town of Mae Sariang. The cluster is aimed to
be proposed as a serial nomination on World Heritage List due to their geographical factors which are not adjacent to one another along with differences but correlation can be found.
It was also found that the components of cultural landscape of Mae Hong Son valleys have been formed by cultural landscape of Tai Yai villages, cultural landscape of agricultural areas, and cultural landscape of Tai Yai temples. The cultural landscapes
of Tai Yai villages and agricultural areas closely relate to local people’s ways of life, then changes come due to the fact about social and economic contexts. However, awareness, especially in terms of values, can be raised when studies among academic
institutes and local communities work altogether so as to figure out means to develop life quality and economic aspects while cultural landscape values are not distorted.
The fundamental process is to study then bring about concrete knowledge into management plan, and ‘cultural landscapes of Tai Yai Monasteries” should be considered first. The study will prepare the database and documentation. This can lead to the nomination of World Heritage tentative list because of the outstanding universal value.
This study can be beneficial in terms of leading the site to World Heritage in many dimensions, for example the new understanding and realization in conservation and sustainable development of cultural heritage places, promotion of tourism in both natural and cultural aspects, as well as creation of creative economic aspects and added value from social and cultural components as budget.
In addition, the dynamic of Tai Yai’s cultural assets, both tangible and intangible heritage rooted in Myanmar and China, seem to be under changes as they have been considered minority. In other words, their cultural heritage, especially the intangible one, seems to be at risk. Hence, this study can lead to sustainability in cultural heritage of the human race.
พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์พื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ในพื้นที่ จ.นครศรธรรมราช จ.สงขลาและ จ.พัทลุง) มีหลักฐานมาตั้งแตหลังพุทธศตวรรษที่ 5 และมีบทบาทมากขึ้นในชวงพุทธศตวรรษที่ 12-13 ในฐานะเมืองท่าของศรีวิชัย นอกจากนี้ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 มีหลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์กับราชสํานักจีนราชวงศ์ซ้อง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 17-18 เมืองนครศรีธรรมราชมีบทบาทในฐานะศูนย์กลางของตามพรลิงค์และในราวพุทธศตวรรษที่ 20 เมืองต่างๆ ในคาบสมุทรภาคใต้ตกอยู่ภายใต้อำนาจราชสำนักอยุธยาจวบจนรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านการเมืองการปกครอง และการพระพุทธศาสนา ซึ่งชุมชนที่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเหล่านี้ล้วนแต่มีฐานทางเศรษฐกิจอยูกับการทํานา โดยตั้งถิ่นฐานรวมกันในกลุ่มเครือญาติเป็นชุมชน เพราะการทํานาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานในการผลิตจำนวนมาก และขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งย่อมทำให้มีการสร้างและทำนุบำรุงวัดต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางจิตใจของชุมชน
สําหรับองค์ประกอบของผังบริเวณ และพุทธศาสนสถาปัตยกรรมในพื้นที่ศึกษา พบวา มีองค์ประกอบและรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับศูนย์กลางที่ลุ่มแมน้ำเจ้าพระยาทั้งสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ดังที่มีการรับผ่านอิทธิพลและการติดต่อสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนาอยางแน่นแฟ้น อย่างไรก็ดีเนื่องจากคาบสมุทรภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีการปะทะสังสรรค์กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่รายรอบส่งผลให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แม้ว่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากราชธานีส่วนกลาง ทว่าก็มีการคลี่คลายและมีวิวัฒนาการของตนเองอย่างน่าสนใจ จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของผังบริเวณของวัดในพื้นที่ศึกษาจะมีองคประกอบคลายคลึงกับวัดในภาคกลางอาทิ “อุโบสถ” “เจดีย์ประธาน” ซึ่งพบที่วัดเก่าแก่ แต่วัดที่มีอายุไม่เก่าแก่นัก หรือวัดขนาดเล็กจะไม่นิยมสร้างเจดีย์เป็นประธาน แต่มีความนิยมสร้าง “บัว” ซึ่งหมายถึงเจดีย์ขนาดเล็กสําหรับบรรจุอัฐิของบรรพบุรุษ ทั้งที่เป็นเจดีย์กลางแจ้ง หรือมีศาลาคลุมที่เรียกวา “หลาบัว” สำหรับ “ศาลาโรงธรรม” ใช้รองรับกิจกรรมเอนกประสงค์ และยังมีการก่อสร้าง "ศาลาโถง" ไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของผังบริเวณ เนื่องจากเหตุผลด้านการใช้สอย ซึ่งภาคใต้มีภูมิอากาศที่แปรปรวน นอกจากนี้ยังพบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโรงมหรสพ เชน โรงหนังตะลุง อีกด้วย
คำสำคัญ: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น | สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น | ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | ภาคใต้
Abstract
The evidence of the historical development of the Songkla Lake Basin (covering Nakhon Si Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province) has been found since the 5th BE, and clearly noticed during the 12-13th BE as the port of Srivijaya Kingdom. Then in 16th BE, pieces of evidence of relationship with the Song Dynasty of China were found. During the 17-18th BE, Nakhon Si Thammarat played its role as the centre of Tambalinga Kingdom. In the 20th BE, many cities in the South were under the control of Ayudhya and Rattanakosin, the capitals, respectively. Political control and Buddhism were clearly seen. For economic circumstance, people lived their lives mainly on farming and doing agricultural activities. Due to the fact that farming needed much labour, people lived altogether. Communities expanded and temples were their centre. For the study of the floor plan of Buddhism vernacular architecture, it was found that the compositions and forms were similar to those found in the Chao Phraya Basin during Ayudhya and Rattanakosin period because of influence and relationship in terms of politics and Buddhism. However, due to its geographical aspects, the South has witnessed and experienced other cultures. This affected forms of architecture although the South has mainly been inspired by the Central Region, along with its own transformation and evolution. The study also found that the floor plan of temples is similar to that of the Central Region, for example Ubosot and the main Chedi were the main compositions, found in old temples, while Bua or small Chedi, keeping ancestors’relics, were found in small temples, both outdoor or in the pavilion. The pavilions for miscellaneous purposes, because of the monsoon, were also found in the floor plan. In addition, vernacular architecture for shadow puppet theater was also found generally.
Keywords: Buddhism Vernacular Architecture |
Vernacular Architecture | Songkhla Lake Basin | Southern
เรียบราชอาณาจักรกัมพูชา” เป็นการเรียบเรียงเชิงพรรณนาจากการศึกษาภาคสนามเพื่อศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
ของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำโตนเลสาบ ในจังหวัดเสียมเรียบ พบว่า ภาพรวมของการตั้งถิ่นฐานมี 3 ลักษณะ คือ
1) “ชุมชนลอยน้ำ” เป็นชุมชนที่มีพื้นฐานการดำรงชีวิตที่สัมพันธ์กับแหล่งน้ำทะเลสาบ เช่น การทำการ
ประมง และมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานทั้งแบบเกาะกลุ่ม และแบบแนวยาว ซึ่งจะปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาลซึ่งการ
ปรับเปลี่ยนการวางผังหมู่บ้านดังกล่าวเป็นคุณลักษณะพิเศษของชุมชน ทั้งนี้พบเรือนพักอาศัยเป็นสถาปัตยกรรมที่
เคลื่อนย้ายได้ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ “เรือบ้าน” “เรือโป๊ะบ้าน” “เรือนแพ” และ “เรือบ้านพร้อมกระชัง”
2) “ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีความแตกต่างของระดับน้ำ ตามฤดูกาล” เป็นชุมชนที่มีพื้นฐานการ
ดำรงชีวิตทั้งในน้ำและบนพื้นดิน มีลักษณะของการตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาวตามลำน้ำ ลักษณะสถาปัตยกรรมมีการ
ยกเสาสูง 6-8 เมตร เพื่อหนีน้ำในฤดูน้ำหลาก สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวเพื่อการอยู่อาศัยให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
3) “ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดิน” เป็นชุมชนที่มีพื้นฐานการดำรงชีวิตพึ่งพิงอยู่กับพื้นดินเป็นหลัก
มีลักษณะของการตั้งถิ่นฐานแบบถาวร ทั้งการตั้งถิ่นฐานแบบเกาะกลุ่ม บนโคกเนิน และการตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาว
ตามทางสัญจร โดยมีลักษณะการอยู่อาศัยแบบเรือนยกพื้นจำแนกได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ “เรือนแบบขแมร์”
“เรือนแบบโรง” “เรือนแบบโรงโดล” “เรือนแบบโรงเดงือง” และ “เรือนแบบบิด”
ABSTRACT
The Study of the “Holistic Settlement and Vernacular Housing in Tonelesap, Siem Riep,
Cambodia” is the explanation and description from the field studies figuring out the settlement of
communities in the area of Tonelesap, Siem Riep. It was found that the settlement can be
categorized into three aspects.
1) Water-based communities or floating village owns the lifestyle which directly relates
to Tonelesap, like fishing. The settlement consists of both cluster and linear settlement, i.e. the
plan of the village is interchanged, depending on the level of the water. There are five types of
houses, which are considered moveable structure, comprising houseboat, ferry houseboat, bamboo
raft houseboat, and floating pen houseboat.
2) Water-and-land-based communities are found both on land and in water, as linear
settlement along the lake. The poles, which are 6-8 metres tall, are used as they are helpful during
flood time.
3) Land-based communities are found on land. They are permanent settlement,
as cluster settlement on hills and linear settlement along routes. There are five aspects comprising
Khmer house, Rong house, Rong Dol house, Rong Doeung house, and Bid house.
จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่ได้รักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอดและปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่า เป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลมุมมองจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทำเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีลก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงในนิทรรศการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ของ ดร.วทัญญู ณถลาง ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558
สำหรับคู่มือการนำชม “มรดกพุทธศิลปสถาปัตยกรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช” เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพและแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม (The study and analysis of value, potential, and guidelines for nominating the cultural heritage sites to inscribed as World Cultural Heritage)” ในแผนการวิจัยชุด “แผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคด้วยการจัดการท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป (Driven Strategic Plan for Thailand as a Hub of Tourism by Managing the World Heritage in the Main Land of Southeast Asia)” สนับสนุนทุนวิจัยโดย “สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร” และ “สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ” และจัดพิมพ์เผยแพร่โดย “สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช”
จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่ได้รักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอดและปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่า เป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลมุมมองจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทำเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีลก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร
สำหรับเนื้อหาส่วนที่ 2 นั้นเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสรุปของสภาพ และสถานการณ์ปัจจุบันของวิหารวัดม่อนจำศีลที่กำลังอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนักเนื่องจากขาดการทำนุบำรุงและการดูแลมาอย่างยาวนานาน ทว่าเริ่มมีความพยายามในการอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมโดยภาคประชาชน และองค์กรเอกชนที่มีจิตสำนึกในการพิทักษ์รักษามรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ทว่ายังคงติดขัดปัญหาบางประการ ซึ่งในอนาคตเมื่อกระบวนทัศน์ต่อการบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรม และมรดกทางสถาปัตยกรรมมีทิศทางที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น คงจะเป็นทิศทางที่สร้างความยั่งยืนต่อการบริหารจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น
“(Like) Burmese Architecture of Wat Mon Cham Sin Kyuang, Lampang Province: Architecture and Existing Condition” aims at studying the valuable history and architecture, i.e. the compounds, of Wat Mon Cham Sin in Lampang Province. The data of existing conditions was collected so as to be the data base for the study of changes of historic buildings.
It was found that this historic monastery related to different ethnic groups whose origins were in Myanmar. They moved south to settle down in Lampang Province for business, along with their culture. However, the original form of Wat Mon Cham Sin had not been preserved due to restoration for times. The original form was only recalled via oral history. Hence this study is based on the comparison to other monasteries which were built at the same period. Fortunately, in 2013 there was a publication of photo collections of monasteries in Lampang Province, with one monastery which cannot be identified. Then it was found that it was Wat Mon Cham Sin, taken from the south-east side. This evidence is so significant that the original form of the monastery was finally clued.
The second part presents the overall states of the buildings as well as the existing conditions which have been declined due to the lack of restoration. However, the roles of conservation seem to be raised by the locals and the private sectors. Despite some problems and obstacles in conservation process, attitudes towards cultural and architectural heritage management tend to be better due to understanding leading to participation. This awareness will finally lead to sustainability.
จากการศึกษาพบว่า ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนกาดกองต้า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในแง่ของการเป็นย่านที่ตั้งของมรดกทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนแถวการค้าที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนกาดกองต้ายังมีเสน่ห์ในแง่ของภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนเมืองที่ยังมีพลวัติ ซึ่งเสน่ห์ที่สำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมในฐานะของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางสังคม และวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมและผลักดันสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกนั้นยังเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขนาดของย่านที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก และจะแสดงให้เห็นชัดเจนเมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบ (Comparative Study) ตามที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนด โดยให้เปรียบเทียบกับแหล่งมรดกโลกอื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ หากจะผลักดันภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์กาดกองต้าเข้าสู่การบรรจุชื่อสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกนั้นจึงมีความจาเป็นต้องผลักดันควบคู่ไปกับแหล่งอื่นๆ โดยใช้กลไกการขึ้นทะเบียนแบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination) จึงอาจจะพอเป็นไปได้ นอกจากนี้ อุปสรรคสำคัญอีกประการ คือ การบริหารจัดการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทของชุมชนเมืองนั้นมีความซับซ้อนอย่างสูง จึงทำให้มีความยากลำบากอย่างยิ่งในการจะผลักดันต่อเนื่องสู่การยกย่องให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
อย่างไรก็ตาม แหล่งภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์กาดกองต้านั้นก็มีคุณค่าอย่างยิ่งในฐานะของย่านประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภาคเหนือซึ่งมีอายุยาวนานกว่าร้อยปี โดยเริ่มก่อตั้งราว พ.ศ.2420 ซึ่งคำว่า "กาดกองต้า" นั้นหมายความว่า "ตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนริมท่าน้้า" โดยในอดีตเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้าจากภาคกลางและภาคเหนือ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าไม้ที่สาคัญเนื่องจากบริษัทค้าไม้ของอังกฤษขยายกิจการเข้ามาตั้งยังลำปาง ทาให้มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างสูง และเป็นปัจจัยในการดึงดูดให้ผู้คนจากทั่วสารทิศเข้ามาตั้งถิ่นฐานยังกาดกองต้าจนกลายเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม และเป็นชุมชนคหบดีพ่อค้าทำให้มีการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีความน่าสนใจที่สัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ ความต้องการการใช้สอย และฐานะทางเศรษฐกิจ สาหรับบทความนี้จึงใช้แนวคิด “ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์” เป็นฐานในการศึกษา เพื่อศึกษาสารวจรังวัด และจัดทาแบบสถาปัตยกรรมเพื่อรวบรวมรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์วัฒนธรรมย่านประวัติศาสตร์อย่างเป็นองค์รวมเพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมบนฐานของความยั่งยืนต่อไป
“The Study of Value and Potency Analysis and Guidelines for Nomination of Additional Cultural Heritage as the World Heritage” aims at studying the potency of cultural heritage sites in Thailand so as to nominate them to be temporarily listed and proposed as the World Heritage sites. Moreover, this harmonizes the strategic plan of the Office of Strategy Management Upper Northern Provincial Cluster 1 (comprising Chiang Mai, Lamphun, Lampang, and Mae Hong Son Province) whose aim also focuses on looking for valuable cultural heritage sites and nominate them as the World Heritage sites.
It was found from the study that the historic area of Kaad Kong Ta is potential as it is the location of vernacular shophouses which are outstanding due to their identity. In addition, its urban historic and cultural landscapes are still dynamic. They can bring about cultural tourism, leading to creative economy and, moreover, added value from their existing resources. Even though its scale is not big enough to be the World Heritage site, the comparative studies with other valuable sites, as a part of the process specified by the committee, can prove the value of Kaad Kong Ta. Hence, serial nomination is one of the approaches. However, administration and management of the urban landscapes are complex, and this is another point to focus on.
Kaad Kong Ta possesses the historic value. Since 1877, it has been an important quarter along the river. It was the commercial area for exchanging goods from the Central Region to the North and vice versa. In addition, it was the centre for wood trading as British companies were located in Lampang Province. Such factors attracted people to settle down in the area then it became a place of multi cultures. Vernacular architecture has been another aspect which is not less interesting than others as it can be the trace for ethnicity, utility, and economic status.
For this study, “urban historic landscapes” is the gist, then measurement and models were prepared so as to be parts of holistic study which can be the data base for conservation and sustainable development.
1. อาชีพของเจ้าของเรือนกรณีศึกษามีทั้งการทำนา การทำสวนผลไม้ การทำสวนยาง การประมง การค้า ซึ่งในอดีตนั้นแต่ละครัวเรือนจะมีอาชีพหลักที่ค่อนข้างชัดเจน และส่งผลกับเรือนให้มีแบบแผนที่ชัดเจน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่สามารถจำแนกเรือนออกเป็นอาชีพได้อย่างตรงไปตรงมานัก เนื่องจากแต่ละครัวเรือนนั้นได้ประกอบอาชีพที่หลากหลายแตกต่างไปจากบริบทของอดีตโดยสิ้นเชิง
2. จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถาปัตยกรรมเรือนที่อยู่อาศัยสามารถจำแนกเรือนออกได้ตามบริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม 2 ประเด็น คือ “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยที่แสดงความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง” และ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยที่มีพัฒนาการของรูปแบบภายใต้บริบทแวดล้อมของพื้นที่”
3. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในระยะแรกนั้นได้รับรูปแบบจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง แต่เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ อาทิ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่น และวิถีวัฒนธรรม นั้นแตกต่างจากภาคกลางโดยสิ้นเชิง จึงทำให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่รับมานั้นไม่สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ เมื่อมีการสร้างเรือนใหม่จึงมีการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ ดังจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาโดยตลอด ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ รูปทรงหลังคาที่ระยะแรกนั้นใช้ “หลังคาทรงจั่ว” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “หลังคาทรงปั้นหยา” ซึ่งเป็นรูปแบบหลังคาที่ป้องกันแดดฝนได้ดีกว่าหลังคาจั่ว เนื่องจากในพื้นที่ศึกษานั้นเป็นพื้นที่มีอากาศแปรปรวน มีลมและฝนรุนแรง และมีทิศทางการสาดไม่แน่นอน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในอดีตจะให้ความสำคัญ
กับการหันหน้าเรือนไปทางทิศตะวันออก และให้ห้องนอนอยู่ทางด้านทิศใต้ และเปลี่ยนแปลงคติความเชื่อดังกล่าวในภายหลัง เมื่อมีการตั้งบ้านเรือนสัมพันธ์กับเส้นทางสัญจรทั้งทางนํ้า และทางบก
“Development of Vernacular Architecture in Songkhla Lake Basin, Pattalung Province” is a part of “A Study on the Explicit Knowledge and Local Wisdom in the Field of Housing for Knowledge Management in the South of Thailand” which studies the local communities in the area of Songkhla Lake Basin in Pattalung Province, then synthesizes the data on vernacular architecture, comprising 58 houses. Significant
aspects are as follows:
1. The residents are mostly agriculturalists, farmers, fishermen, and merchants. Occupation used to play important role on housing, so houses are different. However, at present, due to changes in social contexts, members of each house work in different fields, so houses are not very different.
2. Social contexts have affected forms of vernacular architecture into two aspects: vernacular architecture related to that in the central region and vernacular architecture developed through changes in social contexts.
3. Firstly, vernacular dwelling house in Pattalung related to that in the central region, but then developed because of factors like geographical aspects, climate, construction materials, culture, and ways of life. Hence, later, dwelling has been
adapted so as to go compatibly with the surroundings. The most clearly noticed example is the roof. That is, there used to be gable, but then it was replaced by hip roof, because of the monsoon. In addition, building orientation has also changed. In
other words, houses which face the east with the bedroom in the south has changed in order to be compatible with circulation routes.
The study of “The cultural landscape of waterfront communities” , which is divided into two studies areas contexts ; the first one is urban community context and the second is rural community context. This finding reveal that the cultural landscape in the context of rural community is able to excellent maintain their cultural identities. There are also many knowledge hidden in their ways of life and waiting for deeply advance explore in next time. For this study is classified the interesting cultural landscape of waterfront community into 3 categories: 1) The Cultural landscape of waterfront agricultural 2) The Cultural landscape of waterfront temple 3) The Cultural landscape of waterfront residential Nevertheless, the cultural landscape of waterfront community is going to adapt and adjust due to the effect caused of “micro factor” that originated by the household’s factor and the effect caused of “macro factor” originated by the development without any comprehension in fragility, complexity and diversity .
However, the victims of this effect caused from the development are people who live in this area and mainly subsistence related with environments and ecology.
สำหรับองค์ประกอบของผังบริเวณ และพุทธศาสนสถาปัตยกรรมในพื้นที่ศึกษา พบว่า มีองค์ประกอบและรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับศูนย์กลางที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ดังที่มีการรับผ่านอิทธิพลและการติดต่อสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนาอย่างแน่นแฟ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากคาบสมุทรภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีการปะทะสังสรรค์กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่รายรอบส่งผลให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แม้ว่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากราชธานีส่วนกลาง ทว่าก็มีการคลี่คลายและมีวิวัฒนาการของตนเองอย่างน่าสนใจ จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของผังบริเวณของวัดในพื้นที่ศึกษาจะมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับวัดในภาคกลาง อาทิ “อุโบสถ” “เจดีย์ประธาน” ซึ่งพบที่วัดเก่าแก่ แต่วัดที่มีอายุไม่เก่าแก่นัก หรือวัดขนาดเล็กจะไม่นิยมสร้างเจดีย์เป็นประธาน แต่มีความนิยมสร้าง “บัว” ซึ่งหมายถึงเจดีย์ขนาดเล็กสำหรับบรรจุอัฐิของบรรพบุรุษ ทั้งที่เป็นเจดีย์กลางแจ้ง หรือมีศาลาคลุม ที่เรียกว่า “หลาบัว” สำหรับ “ศาลาโรงธรรม” ใช้รองรับกิจกรรมเอนกประสงค์ และยังมีการก่อสร้าง “ศาลาโถง” ไว้ในพื้นที่ต่าง ๆ ของผังบริเวณ เนื่องจากเหตุผลด้านการใช้สอย ซึ่งภาคใต้มีภูมิอากาศที่แปรปรวน นอกจากนี้ ยังพบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโรงมหรสพ เช่น โรงหนังตะลุง อีกด้วย
The evidence of the historical development of the Songkla Lake Basin (covering Nakhon Si Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province) has been found since the 5th BE, and clearly noticed during the 12-13th BE as the port of Srivijaya Kingdom. Then in 16th BE, pieces of evidence of relationship with the Song Dynasty of China were found. During the 17-18th BE, Nakhon Si Thammarat played its role as the centre of Tambalinga Kingdom. In the 20th BE, many cities in the South were under the control of Ayudhya and Rattanakosin, the capitals, respectively. Political control and Buddhism were clearly seen. For economic circumstance, people lived their lives mainly on farming and doing agricultural activities. Due to the fact that farming needed much labour, people lived altogether. Communities expanded and temples were their centre. For the study of the floor plan of Buddhism vernacular architecture, it was found that the compositions and forms were similar to those found in the Chao Phraya Basin during Ayudhya and Rattanakosin period because of influence and relationship in terms of politics and Buddhism. However, due to its geographical aspects, the South has witnessed and experienced other cultures. This affected forms of architecture although the South has mainly been inspired by the Central Region, along with its own transformation and evolution. The study also found that the floor plan of temples is similar to that of the Central Region, for example Ubosot and the main Chedi were the main compositions, found in old temples, while Bua or small Chedi, keeping ancestors’ relics, were found in small temples, both outdoor or in the pavilion. The pavilions for miscellaneous purposes, because of the monsoon, were also found in the floor plan. In addition, vernacular architecture for shadow puppet theater was also found generally.
ภายใต้ชุดโครงการโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศาสตราจารย์ ดร. เสมอชัย พูลสุวรรณ "พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในบริบทวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11-ปัจจุบัน)"