หุบเขาอามิก
หุบเขาอามิก, (อังกฤษ: Amik Valley; อาหรับ: ٱلْأَعْمَاق) ตั้งอยู่ในจังหวัดฮาทัย ใกล้กับเมืองอันตาเกีย (แอนติออกริมแม่น้ำออรอนตีส) ทางใต้ของประเทศตุรกี บริเวณนี้กับดาบิกในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย เป็นหนึ่งในสองสถานที่ที่เชื่อว่าจะมีสงครามอารมาเกดโดนตามอวสานวิทยาแบบอิสลาม[1][2][3][4][5]
อัลอะอ์มาก (ٱلْأَعْمَاق) | |
ชื่ออื่น | Amuk Valley Amuq Valley Amouq Valley Amaq Valley |
---|---|
ที่ตั้ง | อันตาเกีย, ประเทศตุรกี |
ภูมิภาค | อัชชาม |
พิกัด | 36°20′N 36°20′E / 36.33°N 36.33°E |
ประเภท | กลุ่มเทลล์ |
ความเป็นมา | |
สมัย | PPNB, ยุคหินใหม่ |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
สภาพ | ซาก |
การเปิดให้เข้าชม | ใช่ |
ความสำคัญทางโบราณคดี
แก้พื้นที่นี้มีความสำคัญในชุดพื้นที่ทางโบราณคดีใน "ที่ราบแห่งแอนติออก"[6] พื้นที่หลักในชุดนี้มีทั้งเทลล์อัลญุดัยดะฮ์, ชาทัลเฮอยึค (อามุก) (อย่าสับสนกับชาทัลเฮอยึคในอานาโตเลีย), เทลล์เฏาะอ์ยินาต, เทลล์กุรดู, อาลาลัค และ เทลล์เฎาะฮับ[7] Robert Braidwood เป็นผู้สำรวจเทลล์ญุดัยดะฮ์ และ C. MacEwan จากสถาบันบูรพาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกเป็นผู้ขุดค้นในบริเวณนี้ในคริสต์ทศวรรษ 1930[8][9]
บริเวณหุบเขานี้ยังมีหลักฐานของเสือโคร่งแคสเปียนด้วย (Ellerman และ Morrison-Scott, 1951; Vallino และ Guazzo Albergoni, 1978)[10]
อวสานวิทยาแบบอิสลาม
แก้มีฮะดีษที่รายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮ์ว่า ศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า:
วาระสุดท้ายจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าชาวโรมันจะตั้งถิ่นฐานที่อัลอะอ์มากหรือในดาบิก กองทัพที่ประกอบด้วยคนที่ดีที่สุดในโลกในเวลานั้นจะมาจากมะดีนะฮ์ (เพื่อตอบโต้พวกเขา)
— เศาะฮีฮ์มุสลิม, เล่ม 41, ตอนที่ 9, ฮะดีษที่ 6924[11]
นักวิชาการอิสลามและผู้อธิบายฮะดีษกล่าวแนะว่าคำว่า "โรมัน" ในที่นี้สื่อถึงชาวคริสต์[12] ฮะดีษนี้ยังอิงถึงชัยชนะของมุสลิมในภายหลัง ตามมาด้วยการยึดครองคอนสแตนติโนเปิลอย่างสงบด้วยการตักบีรและตัสบีฮ์ และความพ่ายแพ้ของผู้ต่อต้านพระคริสต์กับการกลับมาและลงมาของพระเยซูคริสต์[13][14] อีกฮะดีษหนึ่งบันทึกว่าอิหม่ามมะฮ์ดีปรากฏตัวก่อนการมาครั้งที่สอง[15]
ดุเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "MELHAME-İ KÜBRA (ARMAGEDDON) SAVAŞI". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-12. สืบค้นเมื่อ 2015-09-11.
- ↑ Amik Ovası ve Armageddon Savaşı (ในภาษาตุรกี)
- ↑ IŞİD’in nihai hedefi (ในภาษาตุรกี)
- ↑ "MELHAME-İ KÜBRA / BÜYÜK SAVAŞ" (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-23.
- ↑ Büyük savaş melhamei kübra (ในภาษาตุรกี)
- ↑ Robert John Braidwood; Richard C. Haines; Linda S. Braidwood (1971). Excavations in the Plain of Antioch. University of Chicago Press. ISBN 9780226621982. สืบค้นเมื่อ 24 March 2011.
- ↑ Robert John Braidwood; Richard C. Haines; Linda S. Braidwood (August 1971). Excavations in the Plain of Antioch: The structural remains of the later phases, Chatal Hüyük, Tell Al-Judaidah, and Tell Taʻyinat, by R.C. Haines. University of Chicago Press. ISBN 9780226621982. สืบค้นเมื่อ 24 March 2011.
- ↑ Joseph Ward Swain (1950). The ancient world. Harper. สืบค้นเมื่อ 24 March 2011.
- ↑ Krijna Nelly Ciggaar; David Michael Metcalf (2006). East and West in the Medieval Eastern Mediterrean: Antioch from the Byzantine reconquest until the end of the Crusader principality. Peeters Publishers. pp. 323–. ISBN 9789042917354. สืบค้นเมื่อ 24 March 2011.
- ↑ Masseti, M. (2009). "Carnivores of Syria". ใน E. Neubert; Z. Amr; S. Taiti; B. Gümüs (บ.ก.). Animal Biodiversity in the Middle East. Proceedings of the First Middle Eastern Biodiversity Congress, Aqaba, Jordan, 20–23 October 2008. ZooKeys. ZooKeys 31: 229–252. pp. 229–252. doi:10.3897/zookeys.31.170.
- ↑ Sahih Muslim, per Abu Huraira from Quran/Hadith study site: The Only Quran. Retrieved 16 November 2014
- ↑ Farzana Hassan (15 Jan 2008). Prophecy and the Fundamentalist Quest: An Integrative Study of Christian and Muslim Apocalyptic Religion (illustrated ed.). McFarland. p. 41. ISBN 9780786480791.
- ↑ Farzana Hassan (15 Jan 2008). Prophecy and the Fundamentalist Quest: An Integrative Study of Christian and Muslim Apocalyptic Religion (illustrated ed.). McFarland. pp. 41–2. ISBN 9780786480791.
- ↑ Muhammad Saed Abdul-Rahman (2009). The Meaning and Explanation of the Glorious Qur'an (Vol 2) (2 ed.). MSA Publication Limited. pp. 311–12. ISBN 9781861797667.
- ↑ Sonn (2004) p. 209