Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ม่านเหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
ม่านเหล็กแสดงเป็นเส้นสีดำ ประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอที่อยู่ฝั่งตะวันออกของม่านเหล็กระบายสีแดง สมาชิกนาโตที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งระบายสีน้ำเงิน ประเทศที่เป็นกลางทางทหารระบายสีเทา จุดสีดำ คือ กรุงเบอร์ลิน ยูโกสลาเวีย แม้จะปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่ขึ้นอยู่กับสองค่ายหลัก และระบายสีเขียว คอมมิวนิสต์อัลเบเนียฉีกข้อตกลงกับสหภาพโซเวียตในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 และอิงตนเองกับสาธารณรัฐประชาชนจีนหลังการแตกแยกของจีน-โซเวียต ฉะนั้น จึงแรเส้นเงาสีเทา

ม่านเหล็ก (อังกฤษ: Iron Curtain) เป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งทางอุดมการณ์และพรมแดนเชิงกายภาพที่แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองพื้นที่ นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติในปี 2488 ถึงสงครามเย็นสิ้นสุดในปี 2534 สหภาพโซเวียตตั้งม่านเหล็กขึ้นเพื่อปิดกั้นตนเอง รัฐในภาวะพึ่งพิง และพันธมิตรยุโรปกลางจากการติดต่ออย่างเปิดเผยกับตะวันตกและพื้นที่ที่มิใช่คอมมิวนิสต์ ด้านตะวันออกของม่านเหล็กเป็นประเทศที่เชื่อมต่อกับหรือได้รับอิทธิพลจากอดีตสหภาพโซเวียต ทั้งสองด้านของม่านเหล็ก รัฐต่าง ๆ พัฒนาพันธมิตรทางเศรษฐกิจและการทหารระหว่างประเทศของตนเอง ดังนี้

ทางกายภาพ ม่านเหล็กมีรูปแบบเป็นการป้องกันพรมแดนระหว่างประเทศยุโรปในใจกลางทวีป พรมแดนที่โดดเด่นที่สุดเป็นกำแพงเบอร์ลินและจุดตรวจชาร์ลี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของม่านเหล็กทั้งหมด[1]

เหตุการณ์ซึ่งรื้อถอนม่านเหล็กเริ่มต้นจากความไม่พอใจในโปแลนด์[2][3] ตามมาด้วยในฮังการี สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) บัลแกเรีย เชโกสโลวาเกียและโรมาเนีย โรมาเนียเป็นเพียงประเทศเดียวในยุโรปที่โค่นระบอบคอมมิวนิสต์ด้วยกำลัง[4]

อ้างอิง

  1. "Archive: Freedom! The Berlin Wall". Time. 20 November 1989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-25. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
  2. Sorin Antohi and Vladimir Tismăneanu, "Independence Reborn and the Demons of the Velvet Revolution" in Between Past and Future: The Revolutions of 1989 and Their Aftermath, Central European University Press. ISBN 963-9116-71-8. p.85.
  3. Boyes, Roger (2009-06-04). "World Agenda: 20 years later, Poland can lead eastern Europe once again". The Times. สืบค้นเมื่อ 2009-06-04.
  4. Piotr Sztompka, preface to Society in Action: the Theory of Social Becoming, University of Chicago Press. ISBN 0-226-78815-6. p. x.

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ม่านเหล็ก