ชตาซี
Ministerium für Staatssicherheit (MfS) | |
ตราประทับของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี | |
ธงของชตาซี | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 |
ยุบเลิก | 13 มกราคม ค.ศ. 1990[1] |
ประเภท | ตำรวจลับ, หน่วยสืบราชการลับ |
สำนักงานใหญ่ | ลีฮ์เตนแบร์ก, เบอร์ลินตะวันออก, สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี |
คำขวัญ | Schild und Schwert der Partei (โล่และดาบของพรรค) |
บุคลากร | พนักงานประจำการ 91,015 นาย, พนักงานนอกเครื่องแบบ (หรือ IMs) 174,000 นาย (ค.ศ. 1989)[2] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
กระทรวงเพื่อความมั่นคงของรัฐ (เยอรมัน: Ministerium für Staatssicherheit, MfS; เสียงอ่านภาษาเยอรมัน: [ɛmɛfˈʔɛs] ( ฟังเสียง)) หรือ หน่วยงานความมั่นคงแห่งรัฐ (Staatssicherheitsdienst, SSD) มักเป็นที่รู้จักกันคือ ชตาซี (สัทอักษรสากล: [ˈʃtaːziː] ( ฟังเสียง)),[n 1] เป็นหน่วยงานรักษาความมั่นคงของรัฐอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี(เยอรมนีตะวันออก) มันได้ถูกอธิบายว่าเป็นหนึ่งในหน่วยสืบราชการลับและหน่วยงานตำรวจลับที่มีประสิทธิภาพและเข้าควบคุมปราบปรามได้ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา[3][4][5][6][7][8] ชตาซีนั้นมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เบอร์ลินตะวันออก พร้อมกับโครงสร้างอันซับซ้อนในเบอร์ลิน-ลิชเทินแบร์ค และสิ่งปลูกสร้างขนาดเล็กหลายแห่งทั่วทั้งเมือง คำขวัญของหน่วยชตาซีคือ Schild und Schwert der Partei (โล่และดาบของพรรค) หมายถึงอำนาจการปกครองของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี(Sozialistische Einheitspartei Deutschlands, SED) และยังเลียนแบบอย่างหน่วยเคจีบี หน่วยตำรวจลับของโซเวียตและเป็นคู่ร่วมมืออย่างใกล้ชิด ด้วยความเคารพอำนาจพรรคของตัวเอง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต(CPSU) เอริช มีลเคอ เป็นหัวหน้าที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของหน่วยชตาซีโดยมีอำนาจนานถึงสามสิบสองปีของการดำรงอยู่สี่สิบปีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี
หนึ่งในภารกิจหลักคือ การสอดแนมประชาชน ส่วนใหญ่ผ่านทางเครือข่ายขนาดใหญ่ของประชาชนที่หันให้ข้อมูลและต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามคนใด โดยมาตรการบทลงโทษที่เปิดเผยและแอบแฝง รวมทั้งการทำลายจิตใจที่แอบซ่อนเร้นของผู้ที่ไม่เห็นด้วย (Zersetzung, หมายถึง การเน่าเปื่อย) มีการจับกุมประชาชนจำนวน 250,000 คนในฐานะนักโทษทางการเมืองในช่วงที่ดำรงอยู่[9] คณะกรรมหลักเพื่อการสำรวจ (Hauptverwaltung Aufklärung) ได้รับผิดชอบทั้งการจารกรรมและดำเนินปฏิบัติการลับในต่างประเทศ ภายใต้การนำของ มาร์คุส ว็อล์ฟ ที่มีมายาวนาน ผู้อำนวยการคนนี้ได้มีชื่อเสียงในฐานะเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในสงครามเย็น ชตาซียังคงติดต่อและผสานให้ความร่วมมือเป็นครั้งคราวกับผู้ก่อการร้ายทางด้านตะวันตก[10][11]
เจ้าหน้าที่ของหน่วยชตาซีหลายคนถูกดำเนินคดีในข้อหาก่ออาชญากรรมในช่วงหลังปี ค.ศ. 1990 ภายหลังจากการรวมประเทศเยอรมัน เอกสารในการเฝ้าระวังที่หน่วยชตาซีได้เก็บรักษาไว้ที่มีชาวเยอรมันตะวันออกหลายล้านคนได้ถูกเปิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบเอกสารส่วนบุคคลได้; ในขณะที่เอกสารเหล่านี้ได้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานบันทึกชตาซี(Stasi Records Agency)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vilasi, Antonella Colonna (9 March 2015). The History of the Stasi. AuthorHouse. ISBN 9781504937054.
- ↑ Eternal Return: Berlin Journal, 1989–2009 - jstor
- ↑ Chambers, Madeline,No remorse from Stasi as Berlin marks fall of Wall เก็บถาวร 2015-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters, 4 Nov 2009.
- ↑ Angela Merkel 'turned down' job from Stasi, The Daily Telegraph, 14 November 2012.
- ↑ Connolly, Kate,'Puzzlers' reassemble shredded Stasi files, bit by bit, The Los Angeles Times, 1 November 2009.
- ↑ Calio, Jim, The Stasi Prison Ghosts, The Huffington Post, 18 November 2009.
- ↑ Rosenberg, Steve, Computers to solve Stasi puzzle, BBC, 25 May 2007.
- ↑ New Study Finds More Stasi Spooks, Der Spiegel, 11 March 2008.
- ↑ East Germany's inescapable Hohenschönhausen prison, Deutsche Welle, 9 October 2014.
- ↑ Blumenau, Bernhard (2018). "Unholy Alliance: The Connection between the East German Stasi and the Right-Wing Terrorist Odfried Hepp". Studies in Conflict & Terrorism: 1–22. doi:10.1080/1057610X.2018.1471969.
- ↑ Blumenau, Bernhard (2014). The United Nations and Terrorism: Germany, Multilateralism, and Antiterrorism Efforts in the 1970s. Basingstoke: Palgrave Macmillan. pp. 29–32. ISBN 978-1-137-39196-4.
- ↑ ย่อมาจาก Staatssicherheit.