กบฏยังเติร์ก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กบฏยังเติร์ก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
รัฐบาลพลเอกเปรม กองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย |
กองทัพภาคที่ 1 กลุ่มทหารบางส่วนจากรุ่น จปร.7 (ยังเติร์ก) คณะกรรมการสภาปฏิวัติ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ พลตรี อาทิตย์ กำลังเอก |
พลเอก สัณห์ จิตรปฏิมา พันเอก มนูญ รูปขจร พันเอก ประจักษ์ สว่างจิตร พันโท พัลลภ ปิ่นมณี พันเอก ชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล พันเอก แสงศักดิ์ มงคละสิริ พันเอก บวร งามเกษม พันเอก สาคร กิจวิริยะ | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ | |||||||
ทหารเสียชีวิต 1 บาดเจ็บ 1 พลเรือนเสียชีวิต 1 บาดเจ็บ 1[2] |
กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย เป็นความพยายามรัฐประหารระหว่างวันที่ 1–3 เมษายน พ.ศ. 2524 เพื่อยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ โดยกลุ่มผู้ก่อการส่วนใหญ่เป็นนายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 หรือรุ่นยังเติร์ก ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังต่าง ๆ อยู่ในกองทัพบก
การกบฏครั้งนี้ มีจำนวนกำลังทหารเข้าร่วมมากถึง 42 กองพัน ถือได้ว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และถึงแม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนประชาชนบางส่วน แต่พระมหากษัตริย์ไม่รับรอง[1] ผลลัพธ์ของการกบฎครั้งนี้คือผู้ก่อการกบฎล้มเหลว ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ
กบฏเมษาฮาวาย
[แก้]“กบฏเมษาฮาวาย” หรือที่เรียกอีกกันในอีกชื่อว่า “กบฏยังเติร์ก” เป็นความพยายามก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2524 เพื่อยึดอำนาจการปกครองของพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ผู้ก่อการประกอบด้วยนายทหารซึ่งจบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 หรือรุ่นยังเติร์ก ได้แก่
- พ.อ. มนูญ รูปขจร (กองพันทหารม้าที่ 4 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์)
- พ.อ. ชูพงศ์ มัทวพันธุ์ (กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์)
- พ.อ. ประจักษ์ สว่างจิตร (กรมทหารราบที่ 2)
- พ.อ. ชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล (กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์)
- พ.อ. แสงศักดิ์ มงคละสิริ (กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์)
- พ.อ. บวร งามเกษม (กรมทหารปืนใหญ่ที่ 11)
- พ.อ. สาคร กิจวิริยะ (กองพันสารวัตรทหาร มณฑลทหารบกที่ 11)
- พ.ท. พัลลภ ปิ่นมณี (กรมทหารราบที่ 19 กองพลที่ 9)
โดยมี พล.อ. สัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ คณะผู้ก่อการได้เริ่มก่อการเมื่อเวลา 02.00 น. ของวันที่ 2 เมษายน โดยจับกุม
- พล.อ. เสริม ณ นคร, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พล.ท. หาญ ลีนานนท์
- พล.ต. ชวลิต ยงใจยุทธ
- พล.ต. วิชาติ ลายถมยา
ไปไว้ที่หอประชุมกองทัพบก และออกแถลงการณ์คณะปฏิวัติ มีใจความว่า
" เนื่องจากสถานการณ์ของประเทศทุกด้านกำลังระส่ำระส่ายและทรุดลงอย่างหนัก เพราะความอ่อนแอของผู้บริหารประเทศ พรรคการเมืองแตกแยก ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน จึงเป็นจุดอ่อนให้มีคณะบุคคลที่ไม่หวังดีต่อประเทศเคลื่อนไหว จะใช้กำลังเข้ายึดการปกครองเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบเผด็จการถาวร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและอยู่รอดของประเทศ คณะปฏิวัติซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน จึงได้ชิงเข้ายึดอำนาจการปกครองของประเทศเสียก่อน "
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่ กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งกองบัญชาการตอบโต้ และใช้อำนาจปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจาก พล.ต. อาทิตย์ กำลังเอก รองแม่ทัพภาคที่ 2
การกบฏสิ้นสุดลงโดยไม่ได้มีการต่อสู้กัน โดยเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็วเสมือนฝันหรือเป็นการแสดง ประจวบกับเกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนเมษายนตรงกับวันเอพริลฟูลส์ ซึ่งตามธรรมเนียมชาวตะวันตกถือเป็นวันที่ผู้คนโกหกใส่กันได้ จึงได้อีกชื่อนึงในเชิงเหยียดหยันจากสื่อมวลชนว่า “กบฏเมษาฮาวาย” ผู้ก่อการเดินทางออกนอกประเทศ พันเอกมนูญ รูปขจร ลี้ภัยที่ประเทศเยอรมนี ก่อนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ได้รับนิรโทษกรรมทางการเมือง และได้รับการคืนยศทางทหาร ในเวลาต่อมา ภายหลังเหตุการณ์ พล.ต. อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญคุมกำลังทหารต่อต้าน ได้รับความไว้ใจจาก พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เป็นอันมาก ได้เลื่อนเป็นพลโท แม่ทัพภาคที่ 1 คุมกองกำลังรักษาพระนคร และเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ใน 6 เดือนต่อมา
ผู้ก่อการ
[แก้]ผู้ก่อการประกอบด้วยนายทหารซึ่งจบจาก จปร.7 ได้แก่ พ.อ. มนูญกฤต รูปขจร
(กองพันทหารม้าที่ 4 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์; ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า มนูญ รูปขจร),
- พ.อ. ชูพงศ์ มัทวพันธุ์ (กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์)
- พ.อ. ประจักษ์ สว่างจิตร (กรมทหารราบที่ 2)
- พ.อ. ชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล (กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์)
- พ.อ. แสงศักดิ์ มงคละสิริ (กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์)
- พ.อ. บวร งามเกษม (กรมทหารปืนใหญ่ที่ 11)
- พ.อ. สาคร กิจวิริยะ (กองพันสารวัตรทหาร มณฑลทหารบกที่ 11)
- พ.ท. พัลลภ ปิ่นมณี (กรมทหารราบที่ 19 กองพลที่ 9)
โดยมี พล.อ. สัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ
โดยสาเหตุของการก่อกบฏครั้งนี้มีสาเหตุมาจากความไม่พอใจของ พล.อ. สัณห์ ที่มีต่อ พล.อ. เปรม เนื่องจากทางกองทัพบกได้มีการต่ออายุราชการให้กับ พล.อ. เปรมในฐานะผู้บัญชาการทหารบกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ออกไปอีก 1 ปีทำให้ พล.อ.สัณห์ ในฐานะรองผู้บัญชาการทหารบกหมดสิทธิ์ที่จะขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกจึงได้รวบรวมนายทหารสาย จปร.7 ก่อการในครั้งนี้
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]คณะผู้ก่อการที่เรียกตัวเองว่า "คณะกรรมการสภาปฏิวัติ" เริ่มก่อการเมื่อเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 เมษายน โดยจับตัวพล.อ. เสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พล.ท. หาญ ลีนานนท์, พล.ต. ชวลิต ยงใจยุทธ และ พล.ต. วิชาติ ลายถมยา ไปไว้ที่หอประชุมกองทัพบก และออกแถลงการณ์คณะปฏิวัติ ใจความว่า
เนื่องจากสถานการณ์ของประเทศทุกด้านกำลังระส่ำระส่ายและทรุดลงอย่างหนัก เพราะความอ่อนแอของผู้บริหารประเทศ พรรคการเมืองแตกแยก ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน จึงเป็นจุดอ่อนให้มีคณะบุคคลที่ไม่หวังดีต่อประเทศเคลื่อนไหว จะใช้กำลังเข้ายึดการปกครองเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบเผด็จการถาวร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและอยู่รอดของประเทศ คณะปฏิวัติซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน จึงได้ชิงเข้ายึดอำนาจการปกครองของประเทศเสียก่อน[3]
พร้อมกับได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ, ยุบสภา ถอดถอนคณะรัฐมนตรี ประกาศแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง พร้อมกับเปิดเพลงปลุกใจออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยตลอดเวลา ขณะที่ตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครมีการตั้งบังเกอร์ กระสอบทราย และมีกำลังทหารพร้อมอาวุธรักษาการณ์อย่างเข้มงวด พร้อมทั้งมีการอัญเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสาเป็นสัญลักษณ์ด้วย[4]
ทางฝ่ายรัฐบาล โดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งกองบัญชาการตอบโต้ และใช้อำนาจปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจาก พล.ต. อาทิตย์ กำลังเอก รองแม่ทัพภาคที่ 2
การตอบโต้กลับของทางรัฐบาล เริ่มต้นด้วยการโดยส่งเครื่องบินเอฟ-5อี[4] บินเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อสังเกตการณ์ พร้อมกับเคลื่อนกำลังพล ทหารทั้ง 2 ฝ่ายปะทะกันเล็กน้อย มีทหารฝ่ายก่อการเสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บ 1 นาย มีพลเรือนถูกลูกหลงเสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างละ 1 คน การกบฏยุติลงอย่างรวดเร็วในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 3 เมษายน เมื่อฝ่ายก่อการเข้ามอบตัวกับทางรัฐบาลรวม 155 คน นับเป็นเวลา 55 ชั่วโมงตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนจบ
ขณะที่แกนนำฝ่ายผู้ก่อการหลบหนีออกนอกประเทศ พันเอก มนูญ รูปขจร ลี้ภัยที่ประเทศเยอรมนี, พลเอก สัณห์ จิตรปฏิมา หัวหน้าคณะ หลบหนีไปประเทศพม่า ก่อนได้รับพระราชทานอภัยโทษ 52 คน ซึ่งเป็นระดับแกนนำ เนื่องในวโรกาสวันฉัตรมงคล ได้รับนิรโทษกรรม และได้รับการคืนยศทางทหารในเวลาต่อมา ซึ่งต่อมาคณะนายทหารเหล่านี้นำธูปเทียนไปขอขมาพลเอกเปรม ถึงบ้านสี่เสาเทเวศน์ บ้านพัก ในวันที่ 22 มิถุนายน ขณะที่พลเอกสัณห์ เมื่อเดินทางกลับสู่ประเทศไทยแล้ว หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ และได้ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใด ๆ[5]
ผลสืบเนื่องและความสำคัญ
[แก้]ภายหลังเหตุการณ์ พล.ต. อาทิตย์ กำลังเอก รองแม่ทัพภาคที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกำลังสำคัญคุมกำลังทหารต่อต้าน ได้รับความไว้ใจจาก พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์มาก ได้เลื่อนยศเป็น"พลโท" ตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 คุมกองกำลังรักษาพระนคร และเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ใน 6 เดือนต่อมา[3]
อนึ่ง การกบฏครั้งนี้ มีจำนวนกำลังทหารเข้าร่วมมากถึง 42 กองพัน ถือได้ว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ และมีบางข้อมูลระบุว่า ในเย็นก่อนเกิดเหตุการณ์เพียงวันเดียว ทางหนึ่งในฝ่ายผู้ก่อการ คือ พันเอกประจักษ์ ได้เข้าพบพลเอกเปรมถึงบ้านสี่เสาเทเวศร์เพื่อเกลี่ยกล่อมให้เข้าร่วม โดยให้เป็นหัวหน้าคณะและจะให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ เพื่อขจัดอิทธิพลของนักการเมือง แต่พลเอกเปรมไม่ตอบรับ พร้อมกลับเข้าบ้านพักและหลบหนีออกไปได้[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "15 ปีรัฐประหาร 49 (6) ธงชัย วินิจจะกูล: รัฐประหาร 2549 จุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์?". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.
- ↑ แฉ..เป็ดเหลิมเคยเป็นกบฎ เมษาฮาวาย..สู่ ฮ่าๆๆๆๆๆ แสน[ลิงก์เสีย] ,ผู้จัดการ .วันที่ 6 เม.ย. 2557
- ↑ 3.0 3.1 หนังสือ 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน โดย กองบรรณาธิการมติชน ISBN 974-323-889-1
- ↑ 4.0 4.1 "บันทึกเมืองไทย 08/13". ยูทิวบ์. 11 February 2010. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
- ↑ เปรมโล่ง "กบฏเมษาฮาวาย" ยุติ ยังเติร์กยึดอำนาจในเมืองหลวง, หน้า 175. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ การจากไปของโอลด์เติร์ก..คนหนึ่ง เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย สำราญ รอดเพชร จากผู้จัดการออนไลน์
บรรณานุกรม
- สถาบันพระปกเกล้า ผู้เรียบเรียง ธิกานต์ ศรีนารา ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต Linkเก็บถาวร 2020-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - วีรกรรม จปร.7 "กบฏยังเติร์ก" หวังโค่นอำนาจ "พล.อ.เปรม" สุดท้ายล้มเหลว
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บันทึกท้ายบรรทัด ชีวิต"พัลลภ ปิ่นมณี" ถูกหลอกให้…."ปฏิวัติ"[ลิงก์เสีย] โดย พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี