กลุ่มภาษาโทแคเรียน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ภาษาโทแคเรียน | |
---|---|
ภูมิภาค | ที่ราบตาริมในเอเชียกลาง |
สูญแล้ว | พุทธศตวรรษที่ 14 |
ตระกูลภาษา | กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน โทแคเรียน |
ระบบการเขียน | อักษรโทแคเรียน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | ine |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:xto – โทแคเรียน เอtxb – โทแคเรียน บี |
กลุ่มภาษาโทแคเรียน หรือ กลุ่มภาษาโทคาเรียน เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แบ่งเป็นภาษาย่อยได้สองภาษาคือ ภาษาโทแคเรียนตะวันออกและโทแคเรียนตะวันตก ใช้พูดในพุทธศตวรรษที่ 11–13 ก่อนจะกลายเป็นภาษาสูญไป ผู้พูดภาษานี้หันไปพูดภาษาอุยกูร์ ทั้งสองภาษาใช้พูดในบริเวณแอ่งตาริมในเอเชียกลาง ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน ชื่อของภาษานี้ในภาษาโทแคเรียนคือ arish- käna
ภาษาโทแคเรียน เอ หรือโทแคเรียนตะวันออก นั้น เคยพูดกันในแถบเตอร์ฟาน ซึ่งอยู่ทางตะวันออก ส่วนภาษาโทแคเรียน บี หรือโทแคเรียนตะวันตกนั้น เคยพูดกันส่วนใหญ่ในแถบคูชา ทางตะวันตก แต่ก็มีพูดกันในเตอร์ฟานด้วย ภาษาโทแคเรียนนั้นเขียนด้วยอักษรที่ดัดแปลงจากอักษรอินเดียฝ่ายเหนือ เรียกว่าอักษรพราหมี ซึ่งเป็นอักษรที่เคยใช้เขียนภาษาสันสกฤตในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน
แม้ว่าภาษาโทแคเรียนจะเป็นภาษาที่เก่าแก่ แต่นักวิชาการเพิ่งรู้จักและได้วิเคราะห์ไวยากรณ์ รวมทั้งแปลภาษาโทแคเรียนได้เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1908 นี้เอง โดยนักวิชาการชาวเยอรมัน ชื่อ เอมีล ซีค (Emil Sieg) และวิลเฮ็ล์ม ซีคลิง (Wilhelm Siegling) ทั้งนี้ได้มีการเสนอชื่อเรียกภาษาตามสำเนียงเยอรมันว่า โทคาริช (Tocharisch)
ภาษาโทแคเรียนเป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับสาขาย่อยอินโด-อารยันหรืออินโด-อิเรเนียน ทั้ง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ทางตะวันออก หากพิจารณาตามหลักสัทศาสตร์แล้ว ภาษาโทแคเรียนอยู่ในกลุ่มเคนตุม (Centum) อันเป็นเกณฑ์คร่าว ๆ ในการจำแนกกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ทั้ง ๆ ที่กลุ่มภาษาเคมตุมนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปยุโรป จึงจัดว่าภาษาโทแคเรียนเป็นกลุ่มภาษาเคนตุม ที่รายล้อมด้วยกลุ่มภาษาซาเตม (Satem) ในทวีปเอเชีย และมีคุณลักษณะบางประการที่คล้ายคลึงกับภาษาฮิตไทต์ที่เคยพูดกันเมื่อราว 1,100 ปีก่อนคริสตกาล