Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์

พิกัด: 47°16′30″N 2°11′48″W / 47.27500°N 2.19667°W / 47.27500; -2.19667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์
ปฏิบัติการแชร์เรียท
ส่วนหนึ่งของ การทัพยุโรปตะวันตก เหนือในสงครามโลกครั้งที่สอง

แซ็ง-นาแซร์บนปากแม่น้ำลัวร์
วันที่28 มีนาคม ค.ศ. 1942
สถานที่
แซ็ง-นาแซร์, ฝรั่งเศส 47°16′30″N 2°11′48″W / 47.27500°N 2.19667°W / 47.27500; -2.19667
ผล

ฝ่ายบริติซชนะ

  • อู่ต่อเรือแห้งนอร์ม็องดีถูกทำลายจนใช้งานไม่ได้สำหรับตลอดช่วงที่เหลือของสงคราม
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร  ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Robert Ryder
สหราชอาณาจักร Augustus Charles Newman
นาซีเยอรมนี Karl-Konrad Mecke
นาซีเยอรมนี Edo Dieckmann
นาซีเยอรมนี Herbert Sohler
นาซีเยอรมนี Georg-Wilhelm Schulz
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
Naval flag of สหราชอาณาจักร ราชนาวี
เอชเอ็มเอส Campbeltown
เอชเอ็มเอส Tynedale
เอชเอ็มเอส Atherstone
เอชเอ็มเอส Sturgeon
Motor Gun Boat 314
Motor Torpedo Boat 74
28th Motor Launch flotilla
7th Motor Launch flotilla
20th Motor Launch flotilla
 กองทัพบกสหราชอาณาจักร
No. 2 Commando
Selected troops from the Special Service Brigade
Flag of the กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
No. 51 Squadron RAF
No. 58 Squadron RAF
No. 77 Squadron RAF
No. 103 Squadron RAF
No. 150 Squadron RAF[1]
Naval flag of นาซีเยอรมนี ครีคส์มารีเนอ
22nd Naval Flak Brigade
280th Naval Artillery Battalion
6th U-boat flotilla
7th U-boat flotilla
16th Minesweeper flotilla
42nd Minesweeper flotilla
Torpedo boat Jaguar
armed trawler
Sperrbrecher 137
Harbour Defence Companies
 กองทัพบกเยอรมัน
333rd Infantry Division
กำลัง
346 Royal Navy
265 Commandos[nb 1]
5,000 troops
ความสูญเสีย
HMS Campbeltown
169 dead *
215 prisoners of war *
1 Motor Gun Boat
1 Motor Torpedo Boat
13 Motor Launches
1 Armstrong Whitworth Whitley
1 Bristol Beaufighter
Normandie dock
360 dead ^
2 Junkers 88
2 Tankers
2 Tugs
* ไม่ได้รวมพลขับเครื่องบิน
^ รวมทั้งพลเรือนที่อยู่บนเรือเอชเอ็มเอส แคมพ์เบลทาวน์เมื่อเกิดระเบิด ^ จำนวนทหารเยอรมันถูกฆ่าตายในช่วงการโจมตีนั้นไม่ทราบ

การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์หรือปฏิบัติการแชร์เรียท เป็นการโจมตีสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกที่ประสบความสำเร็จของอังกฤษบนอู่ต่อเรือแห้งบนทะเลนอร์ม็องดีที่ได้รับการคุ้มกันอย่างแน่นหนาที่แซ็ง-นาแซร์ในฝรั่งเศสภายใต้การยึดครองของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับรองโดยราชนาวีและคอมมานโดบริติชภายใต้การอุปถัมภ์ของกองบัญชาการปฏิบัติการผสม เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1942 แซ็ง-นาแซร์ได้ตกเป็นเป้าหมายเพราะการเสียอู่ต่อเรือแห้งจะเป็นการบีบบังคับให้กองเรือรบเยอรมันขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องซ่อมแซม เช่น เรือรบพี่น้องของเรือบิสมาร์คอย่างเทียร์พิตส์ เพื่อย้อนกลับไปยังบ้านทะเลที่ต้องผ่านทางช่องแคบอังกฤษหรือช่องว่างจีไอยูเค ซึ่งจะได้รับการคุ้มกันอย่างแน่นหนาโดยหน่วยบริติช รวมทั้งกองเรือบ้านเกิดแห่งราชนาวี แทนที่จะมีท่าจอดเรือที่มีอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในฝรั่งเศสภายใต้การยึดครองของนาซี

เรือพิฆาตที่ดูล้าสมัยอย่างเรือหลวงแคมพ์เบลทาวน์ (HMS Campbeltown) พร้อมกับเรือขนาดเล็กกว่า 18 ลำ ได้แล่นเรือข้ามช่องแคบอังกฤษไปยังชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในฝรั่งเศสและพุ่งเข้าชนกับประตูทางใต้ของอู่ต่อเรือแห้งนอร์ม็องดี เรือลำนี้ได้ถูกบรรจุด้วยวัตถุระเบิดที่ถูกตั้งเวลาเอาไว้ในการจุดฉนวน ซึ่งถูกซ่อนไว้อย่างดีในกล่องที่ทำด้วยเหล็กกล้าและคอนกรีต จากนั้นระเบิดก็ได้ทำงานในวันต่อมา ส่งผลทำให้อู่เรือต้องปิดตัวลงจนถึง ค.ศ. 1984

กองกำลังของคอมมานโดได้ขึ้นเรือเพื่อทำลายเครื่องจักรและโครงสร้างอื่นๆ การยิงปืนอย่างหนักของเยอรมันที่หมายจะให้จม ก่อเพลิงไหม้ หรือตรึงเรือขนาดเล็กไว้ทั้งหมดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขนส่งหน่วยคอมมานโดกลับไปยังอังกฤษ หน่วยคอมมานโดได้ต่อสู้ตีฝ่าไปยังเมืองเพื่อหลบหนีทางพื้นดิน หลายคนต่างยอมจำนนเมื่อกระสุนของพวกเขาหมดลงหรือถูกโอบล้อมโดยกองกำลังแห่งเวร์มัคท์ที่กำลังปกป้องแซ็ง-นาแซร์

จากจำนวน 611 นายที่ได้เข้าร่วมการโจมตีครั้งนี้ 228 นายได้เดินทางกลับไปยังอังกฤษ, 169 นาย ถูกฆ่าตายและ 215 นายได้ตกเป็นเชลยศึก เยอรมันสูญเสียไปทั้งหมด 360 นาย บางคนที่ไม่รู้ว่าเป็นใครถูกฆ่าตายหลังโจมตีหเมื่อเรือแคมพ์เบลทาวน์ที่ได้ระเบิด เพื่อรับรู้ถึงความกล้าหาญของพวกเขา สมาชิก 89 นายของพรรคพวกจู่โจมได้รับการปูนบำเหน็จด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รวมทั้งวิตตอเรียคลอส ภายหลังสงคราม แซ็ง-นาแซร์ได้เป็นหนึ่งใน 38 ศึกอันทรงเกรียติเพื่อปูนบำเหน็จให้แก่หน่วยคอมมานโด ปฏิบัติการครั้งนี้ได้ถูกเรียกว่า การตีโฉบฉวยที่ใหญ่ที่สุดของทั้งหมดภายในวงการทหารอังกฤษ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dorrian, p.114
  2. "No. 38086". The London Gazette (Supplement). 30 กันยายน 1947. pp. 4633–4640.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/> ที่สอดคล้องกัน