กิตติ ลิ่มสกุล
กิตติ ลิ่มสกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 เมษายน พ.ศ. 2497 อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2558–ปัจจุบัน) |
กิตติ ลิ่มสกุล (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 เคยทำหน้าที่ที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี (ทักษิณ ชินวัตร) เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็นรักษาการรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[1]
ประวัติ
[แก้]ดร.กิตติ ลิ่มสกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2497 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น ด้วยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbusho Scholarship)
การทำงาน
[แก้]กิตติ ลิ่มสกุล เคยทำงานเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี 2522 - 2529 ดำรงตำแหน่งทางวิชาการสูงสุดเป็นรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์, หัวหน้าโครงการ ประจำ Saitama University, Saitama, Japan ในปี 2559 - 2563 และเป็นหัวหน้าโครงการ ประจำ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2558
งานการเมือง
[แก้]กิตติ ลิ่มสกุล เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541[2] ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลของศ.พิเศษทักษิณ ชินวัตร เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี โดยเป็นผู้วางนโยบายการพัฒนาด้วยการพึ่งตนเอง หนึ่งตำบล-หนึ่งผลิตภัณฑ์[3] (One Tambon–One Product, A Self-help Development Policy for Thailand) ให้กับรัฐบาลของพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงการคลัง และในปี 2549 เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงศึกษาธิการ
กิตติ ลิ่มสกุล กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2558 และเมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในปี 2565[4] และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย[5] ลำดับที่ 90
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “หมอชลน่าน” ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว - “ชูศักดิ์” นั่งรักษาการแทน
- ↑ ข่าวลึกปมลับ : จับตา กิตติ-โชติศักดิ์ เสริมทีม ศก.เพื่อไทย
- ↑ อดีตผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยคิด OTOP แห่ซบพรรคเพื่อไทย
- ↑ "พท." เปิดชื่อ"ภูมิธรรม-ชูศักดิ์-เสริมศักดิ์" นั่งรองหัวหน้าพรรค หลอมรวมคนรุ่นใหม่ มุ่งสู่เป้าหมายแลนด์สไลด์ทั้งแผ่นดิน
- ↑ เผยโฉม 100 ปาร์ตี้ลิสต์เพื่อไทย คนเด่นดังตบเท้าชิง ส.ส. มีชื่อ ‘เมียบิ๊กกี่-ลูกธาริต’ ด้วย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๔๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑๓, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๖
- นักการเมืองไทย
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นิสิตเก่าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา