Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

กีฬาโอลิมปิกเยาวชน

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กีฬาโอลิมปิกเยาวชน
ตราสัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิกเยาวชน
กีฬาฤดูร้อน
กีฬาฤดูหนาว

กีฬาโอลิมปิกเยาวชน (อังกฤษ: Youth Olympic Games) เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติ ที่จัดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 26 สิงหาคม ค.ศ. 2010 การแข่งขันจะมีขึ้นทุกสี่ปีในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวที่สอดคล้องกับรูปแบบของกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน[1] โดยมีข้อจำกัดอายุของนักกีฬาอยู่ที่ 14 ถึง 18 ปี[2] ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนำมาจากโยฮัน โรเซนซอพฟ์ จากประเทศออสเตรียใน ค.ศ. 1998 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ทางสมาชิกคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ในการประชุมไอโอซี ครั้งที่ 119 ที่กัวเตมาลาซิตี ได้อนุมัติการสถาปนากีฬาโอลิมปิกระดับเยาวชนขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายของพื้นที่จัดงานจะออกร่วมกันโดยไอโอซีและเมืองที่เป็นเจ้าภาพ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของนักกีฬาและโค้ช ทางไอโอซีเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

ในขณะที่โอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 กินเวลา 12 วัน และโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2012 กินเวลาสิบวัน[3] ทางไอโอซีจะช่วยให้มีนักกีฬาสูงสุด 3,530 คน กับเจ้าหน้าที่ได้รับการรับรองจากไอโอซีอีก 481 คน ได้มีส่วนร่วมในกีฬาฤดูร้อน[4] ในขณะที่ นักกีฬา 970 คน กับเจ้าหน้าที่ 580 คน ต่างได้คาดหวังที่จะเข้าร่วมในกีฬาฤดูหนาว มหกรรมกีฬานี้ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเป็นโอกาสสำหรับผู้เข้าร่วมในการพบปะกับเหล่านักกีฬาโอลิมปิก

การแข่งขันโอลิมปิกสำหรับเยาวชนอื่นหลายรายการ เช่น มหกรรมโอลิมปิกเยาวชนยุโรปจะจัดขึ้นทุกปีในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว และมหกรรมโอลิมปิกเยาวชนออสเตรเลียที่ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ การแข่งขันในระดับเยาวชนจะจำลองรูปแบบกีฬาเหล่านี้[5] โดยกีฬาโอลิมปิกเยาวชนเป็นการสานต่อกีฬาเยาวชนโลกที่ได้รับการยกเลิกไป

การแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งถัดไป จะจัดขึ้นที่เมืองหนานจิง ใน ค.ศ. 2014 ในขณะที่โอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งถัดไป จะจัดขึ้นที่เมืองลีลแฮมเมอร์ ใน ค.ศ. 2016

ประวัติ

[แก้]
ฌัก โรคเคอ อดีตประธานแห่งไอโอซี

แนวคิดของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชนมาจากผู้จัดการอุตสาหกรรมชาวออสเตรียที่มีชื่อว่าโยฮัน โรเซนซอพฟ์ ใน ค.ศ. 1998 [6] ซึ่งเป็นปฏิกิริยาสะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับโรคอ้วนที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก รวมถึงการมีส่วนร่วมในกีฬาของเยาวชนที่ลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนของประเทศที่กำลังพัฒนา[7] นอกจากนั้น เพื่อปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียน โรงเรียนได้ลดวิชาพลศึกษาและการกีฬาออกไปจากหลักสูตรของพวกเขา[7] กีฬาโอลิมปิกระดับเยาวชนเป็นที่ยอมรับมากขึ้นว่าจะช่วยส่งเสริมให้คนมีส่วนร่วมในกีฬาโอลิมปิก[8] แม้จะมีเหตุผลเหล่านี้สำหรับการมีการแข่งขันโอลิมปิกสำหรับคนหนุ่มสาว แต่ปฏิกิริยาตอบสนองของไอโอซีต่อการจัดขึ้นต่างหากก็เป็นไปในเชิงคัดค้าน[9] เหล่าตัวแทนของไอโอซีมีความต้องการให้มีการแข่งขันกีฬา เป็นเหมือนการศึกษาวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนเท่า ๆ กับด้านกีฬา ซึ่งเป็นเหตุผลที่โครงการวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยน (ซีอีพี) ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นส่วนประกอบของแต่ละมหกรรมกีฬา[9] ฌัก โรเกอ ประธานแห่งไอโอซีได้ประกาศแผนอย่างเป็นทางการสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชนในการประชุมไอโอซีครั้งที่ 119 ที่กัวเตมาลาซิตี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 [10] โดยมีเป้าหมายหลายประการสำหรับกีฬาโอลิมปิกเยาวชน โดยมีเป้าหมาย 4 ข้อที่รวมอยู่ในนั้น ได้แก่ การร่วมกันสร้างนักกีฬาเยาวชนที่ดีที่สุดของโลก, นำเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิก, สร้างนวัตกรรมในการให้ความรู้ และอภิปรายถึงคุณค่าของกีฬาโอลิมปิก[11] เมืองสิงคโปร์ได้ประกาศการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งสถาปนา ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 [12] วันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ทางไอโอซีได้ประกาศให้เมืองอินส์บรุค ซึ่งเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 1964 และ 1976 เข้าเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งสถาปนาใน ค.ศ. 2012 [13]

ความประสงค์ของเมืองเจ้าภาพ

[แก้]

สัดส่วนของกีฬาโอลิมปิกเยาวชนจะมีขนาดเล็กกว่าของกีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นความตั้งใจและช่วยให้เมืองขนาดเล็กได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เมืองที่เป็นเจ้าภาพต้องสามารถจัดรายการทั้งหมดให้อยู่ภายในเมืองเดียวกัน และไม่ควรสร้างสถานที่แข่งขันกีฬาแห่งใหม่ขึ้น[11] ยกเว้น อาคารศูนย์สื่อมวลชน ห้องอำนวยความสะดวกรูปครึ่งวงกลมสำหรับการฝึกอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงหมู่บ้านสำหรับโค้ชและนักกีฬา[11] ซึ่งหมู่บ้านนี้จะเป็นหัวใจสำหรับมหกรรมของเหล่านักกีฬา ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของกิจกรรม[11] ไม่ต้องมีระบบการขนส่งที่ใหม่หรือระบบขนส่งเฉพาะ นักกีฬาและผู้ฝึกสอนทั้งหมดจะได้รับการขนส่งโดยรถรับส่ง[11] เพื่อให้สอดคล้องกับการเสนอเป็นเจ้าภาพ สนามกีฬาสำหรับจัดพิธีเปิดและปิดการแข่งขันจะต้องสามารถรองรับได้ถึง 10,000 คน และศูนย์แข่งขันกีฬาทางน้ำจะต้องมีที่นั่ง 2,500 ที่นั่ง (สำหรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน)[14]

การจัดหาเงินทุน

[แก้]

ค่าใช้จ่ายเดิมสำหรับดำเนินงานการแข่งขันกีฬาฤดูร้อนอยู่ที่ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับกีฬาฤดูหนาว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างสถานที่ ซึ่งทางไอโอซีได้กำหนดว่าค่าใช้จ่ายสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและสถานที่ เมืองที่เป็นเจ้าภาพจะเป็นผู้จ่าย[15] ส่วนทางไอโอซีจะออกค่าใช้จ่ายการเดินทางไปยังเมืองเจ้าภาพ และห้องพร้อมที่พักสำหรับนักกีฬาและผู้ตัดสินด้วยงบประมาณ 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการระดมทุนจะมาจากเงินของไอโอซี งบประมาณของผู้เสนอประมูลการเป็นเจ้าภาพสองประเทศสุดท้ายสำหรับกีฬาฤดูร้อนครั้งสถาปนาอยู่ที่ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจัดว่าสูงกว่าค่าใช้จ่ายโดยประมาณ[16] ค่าใช้จ่ายในปีการแข่งขันแรกที่สิงคโปร์ได้เพิ่มขึ้นเป็นที่ประมาณ 387 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (284 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[17][18] เหล่าผู้ให้การสนับสนุนมีความล่าช้าในการลงนามต่อการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชน เนื่องจากความจริงที่ว่านี่เป็นรายการที่ริเริ่มใหม่ และบรรดาบริษัทต่างไม่แน่ใจถึงการนำผลิตภัณฑ์ของพวกเขาออกแสดง[16] ส่วนงบประมาณสำหรับกีฬาฤดูหนาวครั้งสถาปนาที่จะจัดขึ้นในอินส์บรุคได้รับการประเมินไว้ที่ 22.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ซึ่งไม่รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้างสถานที่[19]

การมีส่วนร่วม

[แก้]

กว่า 200 ประเทศและนักกีฬา 3,600 คน เข้าร่วมในครั้งสถาปนาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 [20] โดยมีผู้เข้าร่วมอยู่ในกลุ่มอายุ 14–15 ปี, 16–17 ปี และ 17–18 ปี[21] ซึ่งอายุของนักกีฬาได้กำหนดด้วยการดูว่าพวกเขาหรือเธอมีอายุเท่าใดภายในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่พวกเขาเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเยาวชน[11] ไอโอซีเป็นผู้กำหนดการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชน โดยพิจารณาร่วมกับสหพันธ์กีฬาสากล (ไอเอสเอฟ) ในกีฬาหลากหลายชนิดที่แข่งขันกัน[11] เพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศสามารถส่งตัวแทนเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชน ไอโอซีจึงมีแนวคิดจัดตั้งมหาวิทยาลัยเพลซ โดยในจำนวนหนึ่งของแต่ละการแข่งขัน จะมีการเปิดให้สำหรับนักกีฬาจากตัวแทนของแต่ละประเทศโดยไม่คำนึงถึงระดับการผ่านเข้ารอบ เพื่อช่วยให้แน่ใจว่าทุกประเทศได้ส่งนักกีฬาอย่างน้อย 4 คน เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชน[11] สำหรับการแข่งขันทีม หนึ่งทีมต่อหนึ่งทวีปจะได้รับอนุญาตเข้าแข่งขันพร้อมกับทีมที่หก ทั้งที่เป็นตัวแทนประเทศเจ้าภาพหรือตามข้อเสนอของไอเอฟตามความเห็นชอบจากไอโอซี โดยจะมีผู้ลงแข่งของสองทีม (ของเยาวชนชายหนึ่งทีม และของเยาวชนหญิงหนึ่งทีม) ต่อประเทศเข้าร่วม[11] ในท้ายที่สุด แต่ละประเทศไม่สามารถส่งนักกีฬาได้มากกว่า 70 คนในกีฬาประเภทบุคคล[11]

กีฬา

[แก้]

การแข่งขันกีฬาในระดับเยาวชนจะเป็นเช่นเดียวกับรายการกีฬาแบบดั้งเดิม หากแต่มีการดัดแปลงในบางส่วนและจำกัดจำนวนประเภทการแข่งขัน[22] ตัวอย่างเช่น ในกีฬาทางน้ำไอโอซีได้ตัดสินให้มีการแข่งกระโดดน้ำและว่ายน้ำ แต่จะไม่มีระบำใต้น้ำกับโปโลน้ำ[23] บางส่วนของกีฬาได้รับการแก้ไขสำหรับการแข่งขัน การแข่งขันบาสเกตบอลใช้รูปแบบฟีบา 33 ซึ่งเป็นการเล่นแบบ 3 ต่อ 3 ในครึ่งสนาม โดยมีระยะเวลาในแต่ละช่วงที่ 5 นาที และทีมแรกที่ได้ 33 คะแนนจะเป็นฝ่ายชนะ[24] ส่วนด้านการขี่จักรยานมีในประเภทจักรยานภูเขา, บีเอ็มเอกซ์ และประเภทถนน ในขณะที่การขี่จักรยานติดตามไม่ได้มีอยู่ในรายการ[25] สำหรับกีฬาเยาวชนอื่นอาจมีการแข่งขันในท้ายที่สุดหากได้รับการสนับสนุนโดยสหพันธ์กีฬาสากล ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ได้มีการเปิดเผยว่าจะรวมปัญจกรีฑาเข้าในมหกรรมกีฬานี้ เช่นเดียวกับการแข่งเรือใบ เพื่อให้เข้ากับเมืองเสนอชื่อที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ

ส่วนโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวจะมีกีฬาเจ็ดชนิด การแข่งขันฮอกกี้จะไม่ได้มีเพียงการแข่งขันชายและหญิงเท่านั้น หากแต่ยังมีการท้าชิงความสามารถในประเภทบุคคลเดี่ยวด้วย[26] ส่วนลูจ, สเกตลีลา และวิ่งสเก็ตแทร็คระยะสั้น จะรวมอยู่ในการแข่งขันของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ที่อนุญาตให้นักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ เข้าแข่งร่วมทีมกัน ส่วนสกีอัลไพน์และสกีครอสคันทรีในรายการของชายและหญิงจะมีการจัดเป็นทีมผสมขึ้น[26]

ฤดูร้อน

[แก้]
กีฬา ปี
ยิงธนู All
กรีฑา All
แบดมินตัน All
บาสเกตบอล All
แฮนด์บอลชายหาด เริ่ม 2018
วอลเลย์บอลชายหาด Since 2014
มวยสากลสมัครเล่น All
เบรกแดนซ์ Since 2018
เรือแคนู All
จักรยาน All
กระโดดน้ำ All
ขี่ม้า All
ฟันดาบ All
ฮอกกี้ All
ฟุตบอล 2010–2014
ฟุตซอล ตั้งแต่ 2018
กอล์ฟ ตั้งแต่ 2014
ยิมนาสติก All
แฮนด์บอล 2010–2014
กีฬา ปี
ยูโด All
คาราเต้ Since 2018
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ All
โรลเลอร์สเกตความเร็ว 2018
เรือพาย All
รักบี้ 7 คน Since 2014
เรือใบ All
ยิงปืน All
สเกตบอร์ด 2022
ปีนหน้าผา Since 2018
โต้คลื่น 2022
ว่ายน้ำ All
เทเบิลเทนนิส All
เทควันโด All
เทนนิส All
ไตรกีฬา All
วอลเลย์บอล 2010
ยกน้ำหนัก All
มวยปล้ำ All

ฤดูหนาว

[แก้]
กีฬา ปี
Alpine skiing All
Biathlon All
Bobsleigh All
Cross-country skiing All
Curling All
Figure skating All
Freestyle skiing All
Ice hockey All
Sport Years
Luge All
Nordic combined All
Short track speed skating All
Skeleton All
Ski jumping All
Ski mountaineering Only 2020
Snowboarding All
Speed skating All

วัฒนธรรมและการศึกษา

[แก้]
ธงของประเทศที่เข้าร่วมในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010

การศึกษาและวัฒนธรรมต่างก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับกีฬาโอลิมปิกเยาวชน ไม่เพียงเฉพาะด้านการศึกษาและวัฒนธรรมที่นำไปใช้กับนักกีฬาและผู้มีส่วนร่วมเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงเยาวชนทั่วโลก ตลอดจนผู้อาศัยอยู่ในเมืองเจ้าภาพและบริเวณโดยรอบ ด้วยเหตุนี้ โครงการวัฒนธรรมและการศึกษา (ซีอีพี) จึงมีความสำคัญในแต่ละการแข่งขัน[8] โครงการวัฒนธรรมและการศึกษาครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาที่สิงคโปร์ 2010 ได้มีการส่งเสริมความร่วมมือในหมู่นักกีฬาของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ด้านสุขภาพและการออกกำลังกายมากมาย ไปจนถึงด้านสิ่งแวดล้อมและการวางแผนสู่ระดับอาชีพ เหล่านักเรียนในชุมชนสิงคโปร์ได้จัดทำบูธขึ้นที่หมู่บ้านวัฒนธรรมโลกซึ่งเป็นตัวแทนของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติผู้เข้าร่วมจากแต่ละประเทศ 205 ราย[27] การประชุมแชทกับผู้ชนะเลิศเป็นส่วนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของโครงการ[8] บรรดาผู้มีส่วนร่วมต่างได้รับเชิญเข้ารับฟังการพูดคุยสร้างแรงบันดาลใจจากนักกีฬาโอลิมปิกทั้งอดีตและปัจจุบัน[8]

ความสำคัญนอกเหนือไปจากโครงการวัฒนธรรมและการศึกษา คือความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกีฬาโอลิมปิกเยาวชนที่มีการแข่งขันในประเภทเพศผสมและทีมชาติผสม ไตรกีฬาแบบผลัด, ฟันดาบสากล, เทเบิลเทนนิส, ยิงธนู และว่ายน้ำผลัดแบบผสม ต่างเป็นเพียงกีฬาไม่กี่ชนิดที่นักกีฬาจากคนละประเทศและต่างเพศสามารถร่วมทีมกันได้[8] กีฬาโอลิมปิกเยาวชนยังได้ใช้โซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก, ฟลิคเกอร์ และทวิตเตอร์เป็นฐานสำคัญสำหรับนักกีฬาเยาวชนที่เข้าแข่งขัน ทั้งก่อน, ระหว่าง และหลังการเฉลิมฉลองของแต่ละการแข่งขัน[8] ภาษาที่หลากหลาย, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความหลากหลายระหว่างวัย ต่างเป็นเป้าหมายของโครงการ ซึ่งมุ่งเน้นในรูปแบบของ "เรียนรู้เพื่อรู้, เรียนรู้เพื่อเป็น, เรียนรู้เพื่อทำ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน"[27]

รายการกีฬาโอลิมปิกเยาวชน

[แก้]
สิงคโปร์, เมืองเจ้าภาพของโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 2010
อินส์บรุค, เมืองเจ้าภาพของโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 2012
หนานจิง, เมืองเจ้าภาพของโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งที่ 2 ใน ค.ศ 2014
ลิลแฮมเมอร์, เมืองเจ้าภาพของโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 2 ใน ค.ศ. 2016
บัวโนสไอเรส, เมืองเจ้าภาพของโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งที่ 3 ใน ค.ศ 2018
โลซาน, เมืองเจ้าภาพของโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 3 ใน ค.ศ. 2020

ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 กรุงเอเธนส์, กรุงเทพมหานคร, สิงคโปร์, กรุงมอสโก และตูริน ต่างได้รับการคัดเลือกโดยไอโอซี ในฐานะห้าเมืองที่สมัครเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชนครั้งสถาปนา[28] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 เมืองผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกเหลือเพียงกรุงมอสโกและสิงคโปร์ ในที่สุด ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 เมืองสิงคโปร์ก็ได้รับการประกาศให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชนครั้งสถาปนา ใน ค.ศ. 2010 ซึ่งมีการถ่ายทอดสดจากเมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยเป็นฝ่ายชนะด้วย 53 คะแนนโหวต ในขณะที่กรุงมอสโกได้ 44 คะแนนโหวต[29]

เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2008 ทางไอโอซีได้ประกาศคณะกรรมการบริหารเมืองสี่แห่งที่เสนอการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งแรกใน ค.ศ. 2012 ซึ่งเมืองที่เข้าเสนอ ได้แก่ ฮาร์บิน, อินส์บรุค, โกเปียว และลีลแฮมเมอร์[30] ซึ่งทาง ฌัก โรเกอ ผู้เป็นประธานไอโอซี ได้แต่งตั้ง เพอร์นิลลา วิลเบิร์ก เข้าดำรงตำแหน่งคณะกรรมการผู้วิเคราะห์โครงการ เช่นเดียวกับกีฬาฤดูร้อน รายการได้ถูกตัดให้สั้นลงจนเหลือสองผู้เข้ารอบสุดท้าย ซึ่งได้แก่ อินส์บรุคและโกเปียวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 จากนั้น ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ได้มีการประกาศให้อินส์บรุคเป็นฝ่ายชนะโกเปียวในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬา[30] ส่วนเมืองหนานจิง ประเทศจีน ที่ได้รับเลือกโดยไอโอซีเป็นฝ่ายชนะเมืองพอซนาน ประเทศโปแลนด์ โดยจะเป็นเมืองเจ้าภาพสำหรับโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2014 ซึ่งการเลือกตั้งดังกล่าวจัดขึ้น ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 สองวันก่อนที่จะเริ่มโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ในแวนคูเวอร์[31] และเมืองลีลแฮมเมอร์ ประเทศนอร์เวย์จะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2016 [32]

กีฬาฤดูร้อน

[แก้]
ค.ศ. โอลิมเปียด กีฬา เมืองเจ้าภาพ ประเทศ เปิดโดย
2010 I กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งที่ 1 สิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์ ประธานาธิบดีเซลลัปปัน รามนาทัน
2014 II กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งที่ 2 หนานจิง จีน จีน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
2018 III กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งที่ 3 บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา อาร์เจนตินา ประธานาธิบดีเมาริซิโอ มากริ
2022 lV กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งที่ 4 ดาการ์ (เลื่อนการจัดแข่งขันเป็นปี 2026) เซเนกัล -
2026 IV กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งที่ 4 ดาการ์ เซเนกัล เซเนกัล ประธานาธิบดีแห่งเซเนกัล
2030 V กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งที่ 5 โลซาน สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
Host cities of the Summer Youth Olympic Games

กีฬาฤดูหนาว

[แก้]
ค.ศ. โอลิมเปียด กีฬา เมืองเจ้าภาพ ประเทศ เปิดโดย
2012 I กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 1 อินส์บรุค ออสเตรีย ออสเตรีย ประธานาธิบดีไฮนทซ์ ฟิชเชอร์
2016 II กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 2 ลีลแฮมเมอร์ นอร์เวย์ นอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5
2020 III กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 3 โลซาน สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีซีโมเนตตา ซอมมารูกา
2024 IV กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 4 คังว็อน เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ ประธานาธิบดีแห่งเกาหลีใต้
Host cities of the Winter Youth Olympic Games

สรุปเหรียญโอลิมปิกเยาวชนตลอดกาล

[แก้]
ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 จีน995038187
2 รัสเซีย967458228
ทีมผสม484652146
3 ญี่ปุ่น434230115
4 เกาหลีใต้37232181
5 สหรัฐ34313196
6 เยอรมนี294242113
7 อิตาลี28343496
8 ฝรั่งเศส25283689
9 ฮังการี24202266
รวม (9 ประเทศ)4633903641217

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FIS in favor of Youth Olympic Games". FIS. 8 May 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 20 May 2007.
  2. "No kidding: Teens to get Youth Olympic Games". USA Today. 25 April 2007. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
  3. "IOC to Introduce Youth Olympic Games in 2010". 25 April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-08. สืบค้นเมื่อ 20 May 2007.
  4. "1st Summer Youth Olympic Games in 2010" (PDF). International Olympic Committee Department of Communications. 2007. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2007-11-18. สืบค้นเมื่อ 24 August 2007.
  5. "Rogge wants Youth Olympic Games". BBC Sport. 19 March 2007. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
  6. "Olympischer Frieden". Frankfurter Allgemeine Zeitung. 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 4 February 2011.
  7. 7.0 7.1 "Youth Olympic Games" (pdf). International Olympic Committee. p. 28. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Stoneman, Michael. "Welcome to the Family". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  9. 9.0 9.1 "Youth Olympic Games" (pdf). International Olympic Committee. p. 35. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  10. "IOC Session: A "go" for Youth Olympic Games". International Olympic Committee. 5 July 2007. สืบค้นเมื่อ 5 July 2007.
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 "Factsheet Youth Olympic Games" (PDF). International Olympic Committee. February 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  12. Wang, Jeanette. "Perfect Pitch" (PDF). International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  13. "Innsbruck Elected To Host the Inagural Youth Olympic Winter Games In 2012". Gamebids.com. 12 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  14. "2018 Youth Olympic Games: Appraising Abuja's Bid Plan". Leadershipeditors.com. 19 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  15. "Youth Olympic Games Candidature Procedure and Questionnaire" (pdf). International Olympic Committee. p. 52. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
  16. 16.0 16.1 Leyl, Sharanjit (15 August 2010). "Youth Olympic Games gamble for Singapore". BBC.com. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  17. "Cost of Youth Games goes up three-fold An extra $265 million". Comsenz Inc. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.[ลิงก์เสีย]
  18. "Youth Olympic Games to cost $387 million". Singapore Democrats. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
  19. "1st Winter Youth Olympic Games in 2012" (pdf). International Olympic Committee. pp. 12–14. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
  20. "About Us". Singapore 2010 Youth Olympic Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-20. สืบค้นเมื่อ 19 May 2011.
  21. "Youth Olympic Games". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 19 May 2011.
  22. Murphy, Pam. "Youth Olympics:Which Sports?". Livestrong.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  23. "Sports-Aquatics". Singapore 2010 Youth Olympic Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  24. "Sports-Basketball". Singapore 2010 Youth Olympic Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  25. "Sports-Cycling". Singapore 2010 Youth Olympic Games. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  26. 26.0 26.1 "Sports events and eligibility requirements". Innsbruck 2012 Youth Olympic Games. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  27. 27.0 27.1 "Youth Olympic Games" (pdf). International Olympic Committee. p. 42. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  28. "Teenage Kicks: The Inaugural Youth Olympic Games". SportsPro. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  29. "Factsheet Youth Olympic Games" (PDF). International Olympic Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  30. 30.0 30.1 "Innsbruck Elected To Host the Inagural Youth Olympic Winter Games In 2012". Gamesbids.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  31. "Nanjing, China Elected To Host 2014 Summer Youth Olympic Games". Gamesbids.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  32. Lillehammer awarded 2016 Winter Youth Olympic Games

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]