คณะ ซี. เอ็ม. เอ.
คณะ ซี. เอ็ม. เอ. | |
---|---|
กลุ่ม | โปรเตสแตนต์ |
ความโน้มเอียง | Evangelical |
เทววิทยา | Keswickian[1][2] |
แผนการปกครอง | แนวคิด Congregationalist, เพรสไบทีเรียน และอิปิสโคปัลแบบไม่ศักดิ์สิทธิ์ |
ประธาน | Jura Yanagihara |
ภูมิภาค | 88 ประเทศ |
ศูนย์กลาง | เซาเปาลู ประเทศบราซิล |
ผู้ก่อตั้ง | อัลเบิร์ต เบนจามิน ซิมป์สัน[1] |
ต้นกำเนิด | 1975 |
การชุมนุม | 22,000 |
สมาชิก | 6,200,000 |
เว็บไซต์ทางการ | awf |
องค์การเดอะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารีอะไลแอนซ์ (อังกฤษ: Christian and Missionary Alliance) เรียกโดยย่อว่า คณะ ซี. เอ็ม. เอ. (CMA) เป็นองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์กลุ่มอีแวนเจลิคัล เป็นคณะคริสตจักรที่สหรัฐอเมริกาและเป็นคณะมิชชันนารีที่ดำเนินงานเผยแพร่ศาสนาคริสตในประเทศต่าง ๆ เอกลักษณ์ของคณะนี้คือความเชื่อว่างานคริสตจักรและงานมิชชันนารีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ใช่กิจกรรมที่แยกออกจากกัน
ประวัติ
[แก้]คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ก่อตั้งในปี ค.ศ.1884 โดย ดร. อัลเบิร์ต เบนจามิน ซิมป์สัน (Albert B. Simpson) ศาสนาจารย์ประจำคริสตจักรเพรสไบทีเรียนในแคนาดา เพื่อทำการประกาศข่าวดีไปทั่วโลก คณะนี้เกิดจากการที่ซิมป์สันได้พบผู้ลี้ภัยในนครนิวยอร์ก จึงเป็นเหตุให้ซิมป์สันได้คิดว่ายังมีประชากรอีกเป็นจำนวนมากในแถบทวีปอื่น ๆ ที่ไม่มีโอกาสได้ยินเรื่องของพระเยซู เขาเชื่อว่าหากคริสเตียนประกาศเรื่องพระเยซูไปทุกชนชาติทั่วโลกเร็วแค่ไหน พระเยซูจะเสด็จกลับมาเร็วแค่นั้น ความเชื่อในเรื่องนี้เป็นจุดกำเนิดของ คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ซิมป์สันมุ่งหมายที่จะประกาศเรื่องพระเยซูคริสต์ และสร้างคริสตจักรไปทั่วโลกสำหรับทุกชนชั้น ในปี ค.ศ. 1974 คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้สถาปนาเป็นคณะนิกายในศาสนาคริสต์อย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี ค.ศ. 1998 คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยม 2 แห่ง ระดับวิทยาลัย 4 แห่งในสหรัฐอเมริกา และสถาบันด้านเทววิทยาศาสนาคริสต์อีกหนึ่งแห่งในประเทศฟิลิปปินส์
งานผู้ลี้ภัย
[แก้]คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ช่วยเหลือและทำการประกาศข่าวดีเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์แก่ผู้ลี้ภัยประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ค่ายผู้อพยพในประเทศไทยในยุคของเขมรแดง ผู้ลี้ภัยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนในฮ่องกง ผู้ลี้ภัยในเลบานอน เด็กขาดอาหารในทวีปแอฟริกา เป็นต้น
สัญลักษณ์
[แก้]คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้ออกแบบสัญลักษณ์เป็นรูปกางเขน ถ้วยยา ขันชำระ และมงกุฎ เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อและหลักคำสอนของคณะ ซี. เอ็ม. เอ. ว่าแกนหลักคำสอนของศาสนาคริสต์มี 4 ด้าน คือ พระเยซูทรงเป็นทั้งพระผู้ช่วยให้รอด เป็นผู้ชำระให้บริสุทธิ์ เป็นแพทย์ และเป็นกษัตริย์ผู้จะเสด็จกลับมา คณะ ซี. เอ็ม. เอ. เรียกคุณลักษณะเหล่านี้ว่า พระกิตติคุณ 4 ด้าน
ขอบเขตงานของคณะ ซี. เอ็ม. เอ. ในปัจจุบัน
[แก้]ปัจจุบันนี้ คณะ ซี. เอ็ม. เอ. มีงานการประกาศและก่อตั้งคริสตจักรอยู่ในหลายที่ ได้แก่ แอฟริกา เอเชีย/แปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา จากฐานข้อมูลสถิติของ Association of Religion Data Archives แสดงตัวเลขการเติบโตของจำนวนคริสตจักรและสมาชิกดังปรากฏในตารางข้างล่างนี้ (ตัวเลขประมาณการ)[3]
ช่วงปี ค.ศ. | จำนวนคริสตจักร | จำนวนสมาชิก |
---|---|---|
1929 | 392 | 25,000 |
1930–1960 | 1,016 | 59,657 |
1961–1980 | 1,382 | 189,710 |
1981–2000 | 1,959 | 364,949 |
2001–2009 | 2,021 | 432,471 |
2013 | 3,000 | 600,000 |
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา คณะ ซี. เอ็ม. เอ. มีโครงการ Envision ที่ส่งเยาวชนและฆราวาสกว่า 1,000 คนทุก ๆ ปี เดินทางไป 40 ประเทศ ประเทศที่คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ เพื่องานประกาศเรื่องพระเยซูคริสตเป็นพิเศษมีจำนวน 11 ประเทศ เช่น กรุงไทเป-ประเทศไต้หวัน, กรุงพนมเปญ-ประเทศกัมพูชา, กรุงเอนเซนาดา-ประเทศเม๊กซิโก, กรุงซาน ซัลวาดอร์-ประเทศ เอล ซัลวาดอร์, กรุงกาบอน-ประเทศอาฟริกา, กรุงปารีส-ประเทศฝรั่งเศส, รัฐฟิลาเดลเฟียและชิคาโก-ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
งานของ คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ในประเทศไทย
[แก้]คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้เริ่มทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 ซึ่งใช้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า "สยามมิชชั่น" ในเวลานั้นคณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้ส่งมิชชันนารี 6 คนและพวกเขาได้เริ่มประกาศเรื่องพระเยซูคริสต์แก่ชาวบ้าน โดยการล่องแพไม้ไผ่ไปตามลำคลองของหมู่บ้านต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1950 พวกเขาได้เยียวยารักษาคนไทยที่เป็นโรคเรื้อนนับพันคน และได้ก่อตั้งโรงเรียนเพื่อสอนพระคัมภีร์ให้แก่เด็กโรคเรื้อน ซึ่งเป็นหลักสูตร 4 ปี จากจำนวนมิชชันนารี 6 คน พวกเขาได้ก่อตั้งคริสตจักรในประเทศไทยกว่า 110 แห่ง และมีสมาชิกกว่า 7,000 คนในช่วง 20 ปีแรก เมื่อปี 2001 คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ประเทศไทย หรือสยามมิชชั่นในประเทศไทยก่อตั้งกลุ่มช่วยเหลือคู่แต่งงานภายใต้ชื่อ แอลมา (ALMA) โครงการนี้มีเป้าหมายช่วยคู่แต่งงานไม่ต้องหย่าร้างและนำไปสู่การนับถือพระเยซูคริสต์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Wu, Dongsheng John (1 เมษายน 2012). Understanding Watchman Nee: Spirituality, Knowledge, and Formation (ภาษาอังกฤษ). Wipf and Stock Publishers. p. 58. ISBN 978-1-63087-573-2.
D. D. Bundy notes that A. B. Simpson (1843–1919)—Presbyterian founder of the Christian and Missionary Alliance—who never accepted the Wesleyan doctrine of eradication of sin, accepted the Keswickian understanding of sanctification.
- ↑ Kenyon, Howard N. (29 ตุลาคม 2019). Ethics in the Age of the Spirit: Race, Women, War, and the Assemblies of God (ภาษาอังกฤษ). Wipf and Stock Publishers. ISBN 978-1-4982-8522-3.
Much of the Keswickian influence came through A.B. Simpson's Christian and Missionary Alliance, itself an ecumenical missionary movement
- ↑ "The Association of Religion Data Archieves". Association of Religion Data Archives. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- The Siam Mission of The Alliance
- Sue Danneker (13 มีนาคม 2014), Thailand, The Christian and Missionary Alliance, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2014