คำเตือนมิแรนดา
ในสหรัฐ คำเตือนมิแรนดา (อังกฤษ: Miranda warning) เป็นหนึ่งในประเภทของการแจ้งเตือนที่ประกาศโดยตำรวจตามแบบแผนต่อผู้ต้องสงสัยความผิดอาญาในการคุมขังของตำรวจ (หรือในระหว่างการสอบปากคำภายใต้การควบคุมตัว) แจ้งให้ทราบถึงสิทธิที่จะไม่ให้การและการคุ้มครองจากการกระทำที่อาจทำให้ตนต้องรับผิดทางอาญา กล่าวคือสิทธิที่จะปฏิเสธการตอบคำถามหรือให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายหรือเจ้าหน้าที่อื่นใดแม้จะได้รับการคุ้มครองเป็นปกติอยู่แล้ว สิทธิเหล่านี้มักเรียกว่าสิทธิมิแรนดา (อังกฤษ: Miranda rights) ความมุ่งหมายของการแจ้งเตือนนี้คือการรักษาไว้ซึ่งความสามารถในการรับไว้เป็นหลักฐานของคำให้การ (admissibility of their statements) ที่ให้ไว้ระหว่างการสอบปากคำภายใต้การควบคุมตัวในการดำเนินคดีอาญา
ถ้อยคำที่ใช้ในคำเตือนมิแรนดา ได้มาจากคดีศาลสูงสุดสหรัฐระหว่างมิแรนดากับแอริโซนา[1] ถ้อยคำจำเพาะที่ใช้แจ้งเตือนแตกต่างกันไปตามเขตอำนาจ[2] แต่คำเตือนจะพิจารณาได้ว่าเหมาะสมต่อเมื่อสิทธิของจำเลยเป็นที่ปรากฏอย่างถูกต้อง ภายใต้ขอบเขตว่าการสละสิทธิ (waiver) ที่แจ้งให้ทราบของจำเลยนั้นเป็นที่รับรู้, โดยสมัครใจ และมีสติปัญญา[3] เจ้าหน้าที่อาจใช้ถ้อยคำเพื่อแจ้งเตือนอย่าง:[4]
คุณมีสิทธิที่จะไม่ให้การ สิ่งใดที่คุณพูดอาจนำไปใช้ปรักปรำคุณในศาล คุณมีสิทธิที่จะปรึกษากับทนายความเพื่อขอคำแนะนำก่อนที่พวกเราจะถามคำถามคุณ คุณมีสิทธิที่จะมีทนายความอยู่กับคุณระหว่างการซักถาม ถ้าคุณไม่สามารถจ้างทนายความได้ [เรา]จะแต่งตั้งทนายความสำหรับคุณได้ก่อนการซักถามหากคุณต้องการ หากคุณตัดสินใจที่จะตอบคำถามตอนนี้โดยไม่มีทนายความ คุณมีสิทธิที่จะหยุดตอบ[คำถาม]ได้ทุกเมื่อ
คำเตือนมิแรนดา เป็นส่วนหนึ่งของกฎเชิงป้องกันการพิจารณาความอาญา (preventive criminal procedure rule) ที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจำเป็นต้องปฏิบัติตามเพื่อปกป้องบุคคลที่ตกเป็นผู้คุมขังและเป็นเป้าต่อการตอบคำถามโดยตรงหรือการกระทำใด ๆ ในทำนองเดียวกันจากการละเมิดสิทธิการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 5 (Fifth Amendment right) และการบังคับให้ผู้ต้องหาสารภาพ ในคดีระหว่างมิแรนดากับแอริโซนา ศาลสูงสุดตัดสินว่าคำให้การที่อาจทำให้ต้องรับผิดที่ได้มาจากผู้ต้องสงสัยซึ่งไม่ได้รับการแจ้งว่าสิทธิเหล่านี้ละเมิดการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 5 และ การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 6 ว่าด้วยสิทธิที่จะปรึกษา ผ่านการรวมและบรรจุสิทธิเหล่านี้ในกฎหมายรัฐ[a] ด้วยเหตุนี้ หากเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายปฏิเสธที่จะประกาศคำเตือนมิแรนดา แก่บุคคลภายใต้การควบคุมตัว พวกเขาอาจสอบปากคำบุคคลนั้นและกระทำการใด ๆ ตามสิ่งที่ได้มาจากการสอบปากคำ แต่โดยทั่วไปจะไม่สามารถนำคำให้การของบุคคลดังกล่าวไปใช้เป็นหลักฐานปรักปรำในการพิจารณาคดีได้
ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2022 ศาลสูงสุดสหรัฐ ลงมติหกต่อสามในการตัดสินคดีเวกา v. เทโก ว่าตำรวจอาจไม่ต้องถูกฟ้องจากการไม่ประกาศคำเตือนมิแรนดา[5]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ คำวินิจฉัยศาลสูงสุดใน ค.ศ. 2004 กล่าวว่า "กฎหมายหยุดและระบุ (stop-and-identify law) อนุญาตให้ตำรวจในเขตอำนาจนั้นสามารถขอข้อมูลชีวประวัติ เช่น ชื่อและที่อยู่ในการเรียกหยุด (Terry stop) โดยไม่จับกุมผู้ต้องสงสัยหรือประกาศคำเตือนมิแรนดา ได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Miranda v. Arizona". Oyez (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
- ↑ Cicchini, Michael D. (2012). "The New Miranda Warning". SMU Law Review. 65 (4): 913–915. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
- ↑ Helms, Jeffrey L.; Holloway, Candace L. (2006). "Differences in the Prongs of the Miranda Warnings". Criminal Justice Studies. 19 (1): 77–84. doi:10.1080/14786010600616007. S2CID 144464768.
- ↑ "United States v. Plugh, 648 F.3d 118, 127 (2d Cir.2011), cert. denied, 132 S.Ct. 1610 (2012)". Google Scholar. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
- ↑ Liptak, Adam (2022-06-23). "Police Officers Can't Be Sued for Miranda Violations, Supreme Court Rules". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.