จักรพรรดิเทียนฉี่
สมเด็จพระจักรพรรดิเทียนฉี | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีน | |||||||||||||
จักรพรรดิพระองค์ที่ 16 แห่ง ราชวงศ์หมิง | |||||||||||||
ครองราชย์ | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1620 - 30 กันยายน ค.ศ. 1627 (6 ปี 364 วัน) | ||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิไท่ชาง | ||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิฉงเจิน | ||||||||||||
พระราชสมภพ | 23 ธันวาคม ค.ศ.1605 | ||||||||||||
สวรรคต | 30 กันยายน ค.ศ.1627 (21 ปี 281 วัน) | ||||||||||||
พระอัครมเหสี | จักรพรรดินีเซี่ยวอ้ายเจ๋อ | ||||||||||||
| |||||||||||||
ราชวงศ์ | หมิง | ||||||||||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิไท่ชาง | ||||||||||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวเฮ๋อ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
พระจักรพรรดิเทียนฉี่ (23 ธันวาคม ค.ศ. 1605 – 30 กันยายน ค.ศ. 1627) ประสูติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1605 (พ.ศ. 2118) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิไท่ชาง เมื่อพระราชบิดาสวรรคตลงในปี ค.ศ. 1620 (พ.ศ. 2163) องค์ชายจูหยูเจียวที่เป็นรัชทายาท ชันษา 15 พรรษาจึงขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิเทียนฉี่ ตลอด 7 ปีในรัชกาลมีกบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง
พระราชประวัติ
[แก้]จักรพรรดิเทียนฉี่ หรือ พระเจ้าซีจง มีพระนามเดิมว่า องค์ชายจูโหยวเซี่ยว (朱由校) มีแม่นมที่ทรงพึ่งพาอาศัยคือนางเค่อซื่อ นางเคอซื่อได้ผูกสัมพัน ตุ้ยสือ(คู่สามีภรรยาที่เป็นขันที่กับนางสนม)กับขันทีนามว่าเว่ยจงเสียน เมื่อพระเจ้าหมิงกวงจง ขึ้นครองราชย์ ได้สถาปนาองค์ชายจูโหยวเซี่ยวเป็นเจ้าชายรัชทายาท เมื่อพระเจ้าหมิงกวงจงสวรรคต เจ้าชายจูโหยวเซี่ยวจึงขึ้นครองราชย์มีพระนามว่าจักรพรรดิหมิงซีจง (明熹宗) หรือมักถูกเรียกว่า จักรพรรดิเทียนฉี่ (天啟帝) หลังขึ้นครองราชย์นางเค่อซื่อก็รุ่งเรืองตามไปด้วย ส่วนขันทีเว่ยจงเสียนก็กลายเป็นขันทีคนสนิทจักรพรรดิและเป็นผู้กุมอำนาจการทหารและการปกครอง เนื่องจากพระเจ้าซีจงมักหมกมุ่นอยู่กับงานช่างไม้ ในทุกๆวันเขาลงมือสร้างสิ่งปลูกสร้างเองเป็นงานอดิเรก สร้างเสร็จแล้วทิ้งและสร้างใหม่ ขันทีเว่ยจงเสียนจึงมีอำนาจสูงสุดควบคุมขุนนางทั้งในและนอกราชสำนักอย่างเบ็ดเสร็จ นำมาสู่ความเสื่อมอย่างสูงสุดของราชวงศ์หมิง[1]
พระราชกรณีกิจ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เสด็จสวรรคต
[แก้]จักรพรรดิเทียนฉี่สวรรคตในปี ค.ศ. 1627 (พ.ศ. 2170) ขณะพระชนม์เพียง 22 พรรษา องค์ชายจูหยูเจี้ยน พระราชอนุชาจึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิฉงเจิน โดยในรัชกาลของจักรพรรดิฉงเจินนี้ ราชวงศ์หมิงต้องล่มสลายลงเพราะพ่ายแพ้แก่กองทัพแมนจู และองค์จักรพรรดิทรงทำอัตวินิบาตกรรม (ปลงพระชนม์เอง) เมื่อ ค.ศ. 1644 (พ.ศ. 2187) ขณะพระชนม์เพียง 33 พรรษา
พระบรมวงศานุวงศ์
[แก้]- พระราชบิดา: จักรพรรดิไท่ชาง
- พระราชมารดา: จักรพรรดินีเซี่ยวเหอ พระพันปีหลวง จากสกุลหวัง (王)
- พระอัครมเหสี
- จักรพรรดินีเซี่ยวอายเจ๋อ จากสกุลจาง (张)
- พระมเหสี (皇贵妃)
- พระมเหสีฮุ่ย (慧皇贵妃) จากสกุลฟ่าน (范)
- พระมเหสีหรง (容皇贵妃) จากสกุลเริ่น (任)
- พระอัครชายา (妃)
- พระอัครชายาอวี้ (裕妃) จากสกุลจาง (张) ภายหลังถูกถอดพระอิสริยยศ
- พระอัครชายาเหลียง (良妃) จากสกุลหวัง (王)
- พระอัครชายาเฉิง (成妃) จากสกุลหลี่ (李)
- พระอัครชายาฉุน (純妃) จากสกุลต้วน (段)
- พระสนมขั้นกุ้ยเหริน (贵人)
- พระสนมเฝิง (馮贵人)
- พระสนมหู (胡貴人)
- พระราชโอรส
ลำดับ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | พระมารดา |
---|---|---|---|---|
1 | องค์ชายหุยฉง (จู ซื่อหราน) 懷沖 |
4 พฤศจิกายน 1623 | 4 พฤศจิกายน 1623 | จักรพรรดินีเซี่ยวอายเจ๋อ สกุลจาง |
2 | องค์ชายต้าวหุย (จู ซื่ออวี้) 悼懷 |
1623 | 1624 | พระมเหสีฮุ่ย สกุลฟ่าน |
3 | องค์ชายเซี่ยนหุย (จู ซื่อจ่ง) 獻懷 |
31 ตุลาคม 1625 | 30 พฤษภาคม 1626 | พระมเหสีหรง สกุลเริ่น |
- พระราชธิดา
ลำดับ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | พระมารดา |
---|---|---|---|---|
1 | องค์หญิงหย่งหนิง (จู ซูเอ๋อ) 永寧 |
1622 | 1624 | พระมเหสีฮุ่ย สกุลฟ่าน |
2 | องค์หญิงหุยหนิง (จู ซูมั๋ว) 懷寧 |
1624 | 1624 | พระอัครชายาเฉิง สกุลหลี่ |
3 | องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) |
ไม่ปรากฏ | ไม่ปรากฏ | ไม่ปรากฏ |
พระสาทิสลักษณ์ที่ยังคงเหลืออยู่
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติศาสตร์จีนฉบับย่อ, 2556, สำนักพิมพ์มติชน, หน้า 484
"Wanli Daily Life Notes": "ในวันนี้ ข้าพเจ้าขอเสนอชื่อพระราชโอรสองค์แรกของเจ้าชายรัชทายาทด้วยความเคารพ โดยมีคำว่า "Xiao" "โรงเรียน" หมายถึง Juxiaoqie
บรรณานุกรม
[แก้]- ประวัติศาสตร์จีนฉบับย่อ, เว่ยจงเสียนรวบอำนาจไว้ในมือแต่เพียงผู้เดียว, สำนักพิมพ์มติชน, 2556, หลีเฉวียน ผู้เขียน, เขมณัฏฐ์ ทรัพย์เกษมชัย ผู้แปล
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเทียนฉี่ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิไท่ชาง | จักรพรรดิจีน (พ.ศ. 2163 – พ.ศ. 2170) |
จักรพรรดิฉงเจิน |