Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ชาร์ล กูโน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชาร์ล-ฟร็องซัว กูโน (ฝรั่งเศส: Charles-François Gounod; 18 มิถุนายน ค.ศ. 181818 ตุลาคม ค.ศ. 1893) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศส

ชาร์ล กูโน
เกิด17 มิถุนายน 1818
ลาตินควอเตอร์ปารีส , ฝรั่งเศส
เสียชีวิต18 ตุลาคม 1893 (75 ปี)
เซนต์-คาวน์,ฝรั่งเศส

ประวัติ

[แก้]

กูโนเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยดนตรีแห่งกรุงปารีส และได้รับรางวัลโรมไพรซ์ในปี ค.ศ. 1837 ซึ่งเขาได้ถือโอกาสพำนักที่วิลลาเมดีชี ประเทศอิตาลี เพื่อศึกษาทางดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีทางศาสนา

ในปี ค.ศ. 1859 อุปรากรเรื่อง เฟาสท์ ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของเขา ก็ได้ถูกนำออกแสดงที่โรงละคร เตอัทร์-ลีริก (Théâtre-lyrique) ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างมาจากบทประพันธ์โศกนาฏกรรมของเกอเทอ เป็นเรื่องราวของหญิงสาวชื่อ มาการิท ที่ถูกล่อลวงโดยชายแก่ชื่อ เฟาสท์ ผู้ซึ่งขายวิญญาณของตนให้แก่ ซาตาน ด้วยบทเพลงที่ยอดเยี่ยม รวมถึงบทร้องของ เมฟิสโต เลอโวดอร์ (วัวทองคำ) และบทร้องของ มาการิท แลร์เดอบีชู (บทเพลงแห่งเพชรพลอย) บทร้องของ แอร์เจ ชื่อลากัสตาฟีโอเร และเพลงประสานเสียงของเหล่าทหารจากบัลเลต์ชื่อ นุยเดอวาลเปอร์จี ทำให้อุปรากรเรื่อง เฟาสท์ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย ด้วยการเปิดการแสดงถึง 70 รอบในปีแรก และในปี ค.ศ. 1867 เขาก็ได้นำอุปรากรเรื่อง โรมิโอกับจูเลียต จากบทประพันธ์ของเชกสเปียร์ ออกแสดง ซึ่งมีบทร้องที่โด่งดัง ได้แก่เพลงวอลทซ์ของจูเลียต เฌอเวอวีฟวร์ (ฉันอยากมีชีวิตอยู่) และบทร้องเสียงเทนเนอร์ ชื่อเพลง ลามูร์ ลามูร์ (ความรัก ความรัก)

นอกจากกูโนจะมีชื่อเสียงจากอุปรากรแล้ว เขายังประพันธ์ซิมโฟนีอีกสองบท ชื่อว่า เปอตีต์ซิมโฟนี สำหรับเครื่องเป่า 9 ชิ้น ในปี ค.ศ. 1885 และยังมีบทเพลงทางศาสนาอีกจำนวนหนึ่ง โดยมีบทเพลงอันเลื่องชื่อได้แก่ อาเว มารีอา ซึ่งดัดแปลงจากพรีลูดของบาค (BWV 846) และไม่ได้มุ่งให้ขับร้องในโบสถ์ ผลงานของกูโน ยังมีบทเพลงขับร้องจำนวนมาก และบทเพลงประกอบบทกวีของ อัลเฟรด เดอ มูสเสท หรือวิกตอร์ อูโก เป็นต้นว่าบทกวีชื่อ เวนิส, โอ้มาแบลเรอแบล และ เดิงเกอร์กีแอม

ผลงานชิ้นสำคัญ

[แก้]
อุปรากร
  • Le Médecin malgré lui (1858)
  • เฟาสท์ (1859)
  • Philémon et Baucis (1860)
  • La Colombe (1860)
  • La Reine de Saba (1862)
  • Mireille (1864)
  • โรมิโอกับจูเลียต (1867)
  • Cinq-Mars (1877)
  • Polyeucte (1878)
  • Le tribut de Zamora (1881)
  • Sapho (1897)
บทเพลงศาสนา
  • อาเว มารีอา
  • Mors et Vita (1885)

งานเขียนเกี่ยวกับกูโน

[แก้]
  • Faust par Richard Leech, Cheryl Studer, José van Dam, Thomas Hampson
  • le Capitole de Toulouse, dirigé par Michel Plasson.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]