ชิรากาวะ (จังหวัดฟูกูชิมะ)
ชิรากาวะ 白河市 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศาลาว่าการนครชิรากาวะ | |||||||||||||
ที่ตั้งของชิรากาวะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูชิมะ | |||||||||||||
พิกัด: 37°07′34.7″N 140°12′39.3″E / 37.126306°N 140.210917°E | |||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||
ภูมิภาค | โทโฮกุ | ||||||||||||
จังหวัด | ฟูกูชิมะ | ||||||||||||
บันทึกครั้งแรก | ค.ศ. 315 | ||||||||||||
จัดตั้งเทศบาลเมือง | 1 เมษายน ค.ศ. 1889 | ||||||||||||
จัดตั้งเทศบาลนคร | 1 เมษายน ค.ศ. 1949 | ||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• ประเภท | เทศบาลนคร | ||||||||||||
• นายกเทศมนตรี | คาซูโอะ ซูซูกิ (鈴木 和夫; ตั้งแต่กรกฎาคม ค.ศ. 2007) | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 305.32 ตร.กม. (117.88 ตร.ไมล์) | ||||||||||||
ประชากร (1 เมษายน ค.ศ. 2024)[1] | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 56,711 คน | ||||||||||||
• ความหนาแน่น | 186 คน/ตร.กม. (480 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||||
โทรศัพท์ | 0248-22-1111 | ||||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 7-1 Hachimankōji, Shirakawa, Fukushima 961-0941 | ||||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 07205-2 | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||
|
ชิรากาวะ (ญี่ปุ่น: 白河市; โรมาจิ: Shirakawa-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2024 ชิรากาวะมีจำนวนประชากรประมาณ 56,711 คน[1] มีความหนาแน่นของประชากร 186 คนต่อตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 305.32 ตารางกิโลเมตร (117.88 ตารางไมล์)
ภูมิศาสตร์
[แก้]ชิรากาวะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภูมิภาคนากาโดริ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ตอนกลาง (กลางระหว่างตะวันตกกับตะวันออก) ของจังหวัดฟูกูชิมะ ติดกับที่ราบสูงนาซุ และครอบคลุมไปถึงพื้นที่ต่ำแอ่งชิรากาวะ
- แม่น้ำ: แม่น้ำอาบูกูมะ
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]- จังหวัดฟูกูชิมะ
- จังหวัดโทจิงิ
- เมืองนาซุ
ภูมิอากาศ
[แก้]ชิรากาวะมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) โดยมีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวที่หนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในชิรากาวะอยู่ที่ 11.4 °C ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,377 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 25.0 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 0.3 °C[2]
ข้อมูลภูมิอากาศของชิรากาวะ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะสุดขั้ว 1940−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 17.1 (62.8) |
19.9 (67.8) |
23.5 (74.3) |
28.9 (84) |
32.9 (91.2) |
34.1 (93.4) |
36.0 (96.8) |
36.9 (98.4) |
33.5 (92.3) |
28.7 (83.7) |
22.7 (72.9) |
20.7 (69.3) |
36.9 (98.4) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 5.0 (41) |
6.0 (42.8) |
9.8 (49.6) |
15.9 (60.6) |
21.1 (70) |
24.0 (75.2) |
27.4 (81.3) |
28.7 (83.7) |
24.5 (76.1) |
18.9 (66) |
13.3 (55.9) |
7.8 (46) |
16.87 (62.36) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 0.6 (33.1) |
1.2 (34.2) |
4.5 (40.1) |
10.2 (50.4) |
15.5 (59.9) |
19.1 (66.4) |
22.8 (73) |
23.7 (74.7) |
19.8 (67.6) |
14.0 (57.2) |
8.1 (46.6) |
3.1 (37.6) |
11.88 (53.39) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -3.3 (26.1) |
-3.0 (26.6) |
-0.3 (31.5) |
4.7 (40.5) |
10.3 (50.5) |
15.0 (59) |
19.3 (66.7) |
20.2 (68.4) |
16.2 (61.2) |
9.9 (49.8) |
3.4 (38.1) |
-1.0 (30.2) |
7.62 (45.71) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -13.4 (7.9) |
-13.6 (7.5) |
-12.3 (9.9) |
-6.0 (21.2) |
-2.3 (27.9) |
5.1 (41.2) |
7.2 (45) |
11.1 (52) |
3.9 (39) |
-2.5 (27.5) |
-6.8 (19.8) |
-12.4 (9.7) |
−13.6 (7.5) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 44.1 (1.736) |
34.8 (1.37) |
78.9 (3.106) |
101.7 (4.004) |
122.6 (4.827) |
149.8 (5.898) |
233.2 (9.181) |
206.0 (8.11) |
211.4 (8.323) |
166.3 (6.547) |
66.3 (2.61) |
41.7 (1.642) |
1,456.7 (57.35) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 36 (14.2) |
25 (9.8) |
14 (5.5) |
2 (0.8) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
1 (0.4) |
12 (4.7) |
90 (35.4) |
ความชื้นร้อยละ | 67 | 64 | 63 | 64 | 69 | 78 | 83 | 82 | 82 | 78 | 74 | 70 | 72.8 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 5.3 | 4.9 | 8.5 | 8.8 | 10.6 | 13.0 | 15.5 | 12.9 | 12.4 | 9.4 | 6.3 | 5.6 | 113.2 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 1 cm) | 8.2 | 6.0 | 3.6 | 0.5 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0.2 | 3.2 | 21.7 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 151.4 | 156.1 | 179.9 | 182.8 | 182.0 | 130.5 | 120.9 | 142.1 | 119.3 | 134.0 | 145.7 | 146.8 | 1,790.7 |
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[3][4] |
สถิติประชากร
[แก้]จากข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[5] จำนวนประชากรของชิรากาวะถึงจุดสูงสุดประมาณ ค.ศ. 2000 และลดลงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1950 | 65,543 | — |
1960 | 62,480 | −4.7% |
1970 | 58,896 | −5.7% |
1980 | 60,253 | +2.3% |
1990 | 63,839 | +6.0% |
2000 | 66,048 | +3.5% |
2010 | 64,704 | −2.0% |
2020 | 59,491 | −8.1% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]พื้นที่ที่เป็นชิรากาวะในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นมุตสึ และเป็นที่ตั้งของด่านประตูกั้นที่ชื่อ ชิรากาวะโนะเซกิ (白河の関) บนเส้นทางสายโอชูไคโด (奥州街道) ที่เชื่อมระหว่างเมืองหลวงที่เกียวโตกับแคว้นทางตอนเหนือ ในยุคเฮอังเคยมีพระภิกษุและกวีวากะที่ชื่อ โนอิง (ญี่ปุ่น: 能因; โรมาจิ: Nōin) แต่งบทกวีเกี่ยวกับพื้นที่แห่งนี้ไว้ว่า
“ | 都をば霞とともに立ちしかど秋風ぞ吹く白河の関
Miyako wo ba kasumi to tomo ni tachishikado akikaze zo fuku Shirakawa no seki. (ออกจากเมืองหลวงตอนหมอกลงในฤดูใบไม้ผลิ แต่เมื่อถึงชิรากาวะโนะเซกิลมฤดูใบไม้ร่วงก็พัดมา) |
” |
ในยุคเอโดะ บริเวณนี้เจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองปราสาทแห่งแคว้นศักดินาชิรากาวะ และเป็นสถานที่ที่มีการสู้รบครั้งใหญ่ในสงครามโบชิงในช่วงการฟื้นฟูเมจิ ในยุคเมจิ พื้นที่แห่งนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคนากาโดริของแคว้นอิวากิ
เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล เมืองชิรากาวะ (白河町) ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1949 เมืองชิรากาวะได้รับการยกฐานะเป็นนครหลังจากผนวกรวมหมู่บ้านโอนูมะ (大沼村) ที่อยู่ใกล้เคียง การควบรวมเทศบาลในเวลาต่อมาเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1954 และ 1955 โดยการรวมหมู่บ้านชิราซากะ (白坂村), โอดางาวะ (小田川村), โกกะ (五箇村) และส่วนหนึ่งของหมู่บ้านโอโมเตโง (表郷村) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตนครชิรากาวะ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 หมู่บ้านไทชิง (大信村), ฮิงาชิ (東村) และส่วนที่เหลือของหมู่บ้านโอโมเตโง (ทั้งหมดขึ้นกับอำเภอนิชิชิรากาวะ) ถูกรวมเข้ากับนครชิรากาวะ ทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 48,297 คน กลายเป็นประมาณ 66,000 คน และขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 117.67 ตารางกิโลเมตร (45.43 ตารางไมล์) กลายเป็น 305.30 ตารางกิโลเมตร (117.88 ตารางไมล์)
การเมืองการปกครอง
[แก้]ชิรากาวะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานคร ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติระบบสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 26 คน พื้นที่นครชิรากาวะรวมกับอำเภอนิชิชิรากาวะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดฟูกูชิมะจำนวน 3 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ ชิรากาวะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดฟูกูชิมะที่ 3 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]ชิรากาวะมีเศรษฐกิจแบบผสมผสานและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคโดยรอบ อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง และเสื้อผ้า[6] กลุ่มบริษัทดีแอนด์เอ็มมีโรงงานที่ผลิตส่วนประกอบเครื่องเสียงยี่ห้อ Marantz และ Denon ตั้งอยู่ในชิรากาวะ
การศึกษา
[แก้]ชิรากาวะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ประกอบด้วย โรงเรียนประถม 15 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 8 แห่ง และโรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดฟูกูชิมะ ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมปลาย 4 แห่ง
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก: สายหลักโทโฮกุ
- สถานี: ชิราซากะ – (ชินชิรากาวะ) – ชิรากาวะ – คูตาโนะ
ทางหลวง
[แก้]- ทางด่วนโทโฮกุ - ทางแยกต่างระดับชิรากาวะชูโอ, จุดพักรถอาบูกูมะ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 289
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 294
สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น
[แก้]- แหล่งชิรากาวะโนะเซกิ (白河関跡) - โบราณสถานแห่งชาติ[7]
- ปราสาทโคมิเนะ (小峰城) - 1 ใน 100 ปราสาทของญี่ปุ่น[8]
- สวนนังโกะ (南湖公園) - โบราณสถานแห่งชาติและจุดชมทิวทัศน์แห่งชาติ[9]
- แหล่งชิรากาวะฟูนาดะ-โมโตนูมะ (白河舟田・本沼遺跡群) - สุสานฝังศพในยุคโคฟุง โบราณสถานแห่งชาติ[10]
- ปราสาทยูกิชิรากาวะ (結城白川城) - โบราณสถานแห่งชาติ[11]
- เทศกาลที่จัดขึ้นในชิรากาวะ ได้แก่ "ดารูมะอิจิ" (だるま市) ซึ่งเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองตุ๊กตาดารูมะ ซึ่งถนนในเมืองจะเต็มไปด้วยแผงขายดารูมะ อาหารประจำเทศกาล และเครื่องรางอันหลากหลาย และ "โชชินมัตสึริ" (提灯祭り) หรือเทศกาลโคมไฟ ซึ่งจัดขึ้นทุกฤดูร้อนเป็นระยะเวลาสามวัน ทุก ๆ สามปี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]- กงเปียญ ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1988
- อะโนคา (Anoka) รัฐมินนิโซตา สหรัฐ ตั้งแต่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2002
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- กิชู นากายามะ (中山 義秀) - นักเขียน
- อัตสึชิ ฟูจิตะ (藤田 敦史) - นักวิ่งมาราธอนโอลิมปิก
- ฮิเดโอะ มาดาราเมะ (班目 秀雄) - นักปั่นจักรยานโอลิมปิก
- โทชิอากิ ฟูชิมิ (伏見 俊昭) - นักปั่นจักรยานโอลิมปิก
- โคจิ อิงาราชิ (五十嵐 孝司) - ผู้ผลิตซีรีส์ Castlevania และผู้สร้าง Bloodstained: Ritual of the Night
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "福島県の推計人口(令和6年4月1日現在)" [ประชากรโดยประมาณของจังหวัดฟูกูชิมะ (ณ วันที่ 1 เมษายน 2024)]. จังหวัดฟูกูชิมะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2024.
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศชิรากาวะ
- ↑ 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ สถิติประชากรชิรากาวะ
- ↑ Campbell, Allen; Nobel, David S (1993). Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. pp. 1396. ISBN 406205938X.
- ↑ "白河関跡" [Aizu-Shirakawa no seki ato] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
- ↑ "小峰城跡". Cultural Heritage Online (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 25 December 2016.
- ↑ "南湖公園" [Nanko Koen] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
- ↑ "白河舟田・本沼遺跡群 ん" [Shirakawa Funada-Motonuma iseki gun] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
- ↑ "白川城跡" [Shirakawa-jō ato] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)