Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ตฺวั้น ฉีรุ่ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตฺวั้น ฉีรุ่ย
段祺瑞
ตฺวั้น ฉีรุ่ย เมื่อ ค.ศ. 1913
หัวหน้าฝ่ายบริหารสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924 – 20 เมษายน ค.ศ. 1926
หัวหน้ารัฐบาลXu Shiying
Jia Deyao
ก่อนหน้าHuang Fu (รักษาการ)
ถัดไปHu Weide (รักษาการ)
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
23 มีนาคม ค.ศ. 1918 – 10 ตุลาคม ค.ศ. 1918
ประธานาธิบดีFeng Guozhang (รักษาการ)
ก่อนหน้าQian Nengxun
ถัดไปQian Nengxun
ดำรงตำแหน่ง
14 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917
ประธานาธิบดีFeng Guozhang (รักษาการ)
ก่อนหน้าLi Jingxi
ถัดไปWang Daxie (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน ค.ศ. 1916 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1917
ประธานาธิบดีหลี ยฺเหวียนหง
ก่อนหน้าXu Shichang
ถัดไปWu Tingfang (รักษาการ)
รักษาการนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
19 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1913
ประธานาธิบดียฺเหวียน ชื่อไข่
ก่อนหน้าZhao Bingjun
ถัดไปXiong Xiling
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1912 – ค.ศ. 1915
หัวหน้ารัฐบาลถัง เช่าอี๋
ลู่ เจิงเสียง
Zhao Bingjun
ตัวเอง (รักษาการ)
Xiong Xiling
Sun Baoqi (รักษาการ)
Xu Shichang
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปZhou Ziqi
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มีนาคม ค.ศ. 1865(1865-03-06)
เหอเฝย์ มณฑลอานฮุย จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936(1936-11-02) (71 ปี)
ช่างไห่ สาธารณรัฐจีน
เชื้อชาติจีน
พรรคการเมืองก๊กอานฮุย
บุตรบุตรสาว 4 คน
การศึกษาสถาบันทหารเทียนจิน
อาชีพนายทหาร รัฐบุรุษ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ราชวงศ์ชิง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐจีน
ก๊กอานฮุย
สังกัด กองทัพเป่ย์หยาง
ก๊กอานฮุย
ยศพลเอก
บังคับบัญชาก๊กอานฮุย
ผ่านศึก

ตฺวั้น ฉีรุ่ย (จีน: 段祺瑞; พินอิน: Duàn Qíruì; เวด-ไจลส์: Tuan Ch'i-jui; 6 มีนาคม ค.ศ. 1865 – 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936) เป็นขุนศึกและนักการเมืองชาวจีน ผู้ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารกองทัพเป่ย์หยางที่ปกครองประเทศจีนทางตอนเหนือในช่วงปลายทศวรรษ 1910 เขาเป็นนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีนสี่สมัยตั้งแต่ ค.ศ. 1913 ถึง ค.ศ. 1918 และเข้ารักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารสาธารณรัฐจีนในรัฐบาลปักกิ่งตั้งแต่ ค.ศ. 1924 ถึง ค.ศ. 1926

ตฺวั้นสำเร็จการศึกษาที่สถาบันทหารเทียนจิน และเข้าศึกษาต่อในสาขาวิทยาการทหารที่ประเทศเยอรมนี ต่อมาจึงรับราชการเป็นผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ในบัญชาของยฺเหวียน ชื่อไข่ หลังจากการปฏิวัติซินไฮ่เมื่อ ค.ศ. 1911 และการล่มสลายของราชวงศ์ชิง เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามและนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรียฺเหวียน โดยเขาไม่เห็นด้วยกับการฟื้นฟูราชาธิปไตยในประเทศของยฺเหวียน และเมื่อยฺเหวียนถึงแก่อสัญกรรม ตฺวั้นยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีและเข้าควบคุมจีนทางตอนเหนือ ตลอดระยะเวลาดำรงตำแหน่งของเขามีการต่อสู้ทางการเมืองกันอย่างดุเดือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งกับพวกนิยมรัฐสภาทางตอนใต้ที่นำโดยซุน ยัตเซ็น

ใน ค.ศ. 1917 ตฺวั้นมีบทบาทในการระงับความพยายามฟื้นฟูราชวงศ์ชิงและเป็นหัวหอกสำคัญในการพาประเทศจีนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร รวมถึงยังเป็นผู้เจรจาเงินกู้กับญี่ปุ่นอยู่หลายครั้ง ตฺวั้นเป็นผู้ก่อตั้งก๊กอานฮุยและเตรียมพร้อมสำหรับการพิชิตพื้นที่ทางตอนใต้ การติดต่อลับระหว่างเขากับญี่ปุ่น (ความตกลงการป้องกันร่วมจีน-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1918) ได้รับการเปิดเผยในเวลาต่อมา ประจวบเหมาะกับการตัดสินใจของสนธิสัญญาแวร์ซายต่อการโอนพื้นที่ชานตงให้แก่ญี่ปุ่น ซึ่งได้นำไปสู่การประท้วงใน ค.ศ. 1919 สถานะทางการเมืองของเขาเริ่มอ่อนแอลง กระทั่งเขาถูกขับไล่ออกจากอำนาจหลังจากพ่ายแพ้สงครามจื๋อลี่–อานฮุยเมื่อ ค.ศ. 1920 เขากลับสู่อำนาจอีกครั้งใน ค.ศ. 1924 แต่ก็ลงจากอำนาจอีกคราหนึ่งภายหลังจาง จั้วหลิน ได้รับชัยชนะในสงครามต่อต้านเฟิ่งเทียน ตฺวั้นเกษียณตนเองจากเส้นทางการเมืองที่เทียนจิน ก่อนที่จะพำนักอยู่ที่เซี่ยงไฮ้จวบจนถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1936

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bangsbo, Jens (1996). Science and Football III. Journal of Sports Sciences. Vol. 17. Taylor & Francis. pp. 755–756. doi:10.1080/026404199365489. ISBN 978-0-419-22160-9. PMID 10573330.
  • Bonavia, David (1995). China's Warlords. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-586179-5.
  • Ch'en, Jerome (1972) [1st pub. 1961]. Yuan Shih-k'ai (2nd ed.). Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 0-8047-0789-8.
  • Gray, Jack (2002). Rebellions and Revolutions: China from the 1800s to 2000. New York: Oxford University Press. pp. 168–169. ISBN 978-0-19-870069-2.
  • Hutchings, Graham (2003). Modern China: A Guide to a Century of Change. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01240-0.
  • Levy, Adrian; Scott-Clark, Cathy (2001). Stone of Heaven: Unearthing the Secret History of Imperial Green Jade. Weidenfeld & Nicolson. ISBN 9780297645740.
  • Spence, Jonathan D. (1990). The Search for Modern China. New York: W.W. Norton & Company. ISBN 0-393-02708-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]