ถวิล พึ่งมา
ศาสตราจารย์ ดร. ถวิล พึ่งมา (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 - ) เป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม และอดีตอธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และอดีตคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2521 วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- พ.ศ. 2524 วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- พ.ศ. 2538 Doctor of Engineering in Electrical Engineering, Tokai University, ประเทศญี่ปุ่น[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
- พ.ศ. 2556 ปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยโตไก[1]
ประวัติการรับราชการ
[แก้]- เข้ารับตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- เข้ารับตำแหน่งคณบดีคณะวิศวลาดกระบังสมัยที่ 1
- เข้ารับตำแหน่งคณบดีคณะวิศวลาดกระบังสมัยที่ 2
- รักษาการผู้อำนวยการวิจัยการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
- อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การดำรงตำแหน่งอธิการบดี
[แก้]ศ.ถวิล เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ซึ่งต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ศ.ถวิล ถูกสภาสถาบันฯ ปลดออกจากการเป็นอธิการบดีเนื่องจากแก้ผลการเรียนให้กับลูกชายของตนเอง และการรับนักศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม วิทยาลัยและบริหารจัดการ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 48 คนซึ่งบางคนต้องโทษคดีอาญา และส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองในพรรคเพื่อไทย อาทิ สันติ พร้อมพัฒน์ อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง เยาวภา วงศ์สวัสดิ์[2][3] แต่เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล พึ่งมา ได้ฟ้องสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกับพวก จำนวน 10 คน ต่อศาลปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 220/2557 ต่อศาลปกครองกลาง ว่ามีมติถอดถอดไม่ชอบแล้วออกคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง โดยอ้างการบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ และการแก้เกรดตามที่มีผู้ร้องเรียนนั้นการพิสูจน์นั้นยังไม่เสร็จสิ้น ทางสภาสถาบันฯจึงมีมติชะลอการสรรหาอธิการบดีคนใหม่เอาไว้ก่อน [4]
นอกจากนี้แล้ว ถวิลยังมีส่วนพัวพันกับคดีโกงเงินของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 กองปราบปราม ได้แจ้ง 5 ข้อหาหนักให้กับ นายถวิล คือ ร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันสนับสนุนพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ ร่วมกันลักทรัพย์ และ ร่วมกันฟอกเงิน [5] แต่นายถวิลได้ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
วันที่ 26 ธันวาคม 2561 ศาลมีนบุรีได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องนายถวิล แต่อย่างไรก็ตาม นายถวิล ก็ยังถูกดำเนินคดีในศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลางด้วย เป็นคดีหมายเลขดำ อท. ฐานร่วมกันลักทรัพย์ สจล.และปลอมเอกสารถอนเงินจากบัญชี สจล.ระหว่างวันที่ 19 ก.ย.52 – 8 เม.ย.57 กว่า 700 ล้านบาทไปโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) (11), 147, 151, 157, 265, 268 ประกอบมาตรา 83, 86 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4, 8, 11 กรณีสืบเนื่องกันด้วย นายถวิล ได้ประกันคนละ 8 ล้านบาท ขณะที่ศาลก็ได้กำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศเว้นได้รับอนุญาตจากศาลด้วย โดยคดีอยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานประจำปี
- ↑ โพสต์ทูเดย์ ปลดอธิการลาดกระบังแก้เกรดให้ลูก 28-11-2556
- ↑ sanook news ปลดอธิการบดีลาดกระบัง แก้เกรดลูกตัวเอง อัพดีกรีให้ส.ส.เพื่อไทย 28-11-2556
- ↑ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มติสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เก็บถาวร 2014-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Manager กองปราบฯ แจ้ง 5 ข้อหาหนัก “ถวิล พึ่งมา” บอสคดีโกงเงิน สจล.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2017-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๕๔, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘