Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ทางพิเศษอุดรรัถยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางพิเศษอุดรรัถยา
ทางด่วนสายบางปะอิน–ปากเกร็ด
แผนที่
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว32 กิโลเมตร (20 ไมล์)
ประวัติ
สร้าง3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538; 29 ปีก่อน (2538-11-03) (แจ้งวัฒนะ-บางพูน)
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539; 28 ปีก่อน (2539-11-03) (บางพูน-บางไทร)
เริ่มเปิดให้บริการ3 ธันวาคม พ.ศ. 2541; 25 ปีก่อน (2541-12-03) (แจ้งวัฒนะ-บางพูน)
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542; 25 ปีก่อน (2542-11-03) (บางพูน-บางไทร)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ ทางพิเศษศรีรัชส่วน C / ถ.แจ้งวัฒนะ ใน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ปลายทางทิศเหนือ ถ.กาญจนาภิเษกด้านตะวันตก ใน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
จังหวัด
ระบบทางหลวง

ทางพิเศษอุดรรัถยา หรือ ทางด่วนสายบางปะอิน–ปากเกร็ด เป็นทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ระยะทางรวม 32 กิโลเมตร มีปลายทางทิศใต้ที่ปลายทางทิศเหนือของทางพิเศษศรีรัชส่วน C บริเวณจุดตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และมีปลายทางทิศเหนือบนถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก ในอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ทางพิเศษอุดรรัถยามีวัตถุประสงค์การก่อสร้างเพื่อรองรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13[1] และเพื่อให้ระบบทางพิเศษในตอนบนของกรุงเทพมหานครสมบูรณ์ขึ้น

รายละเอียดของเส้นทาง

[แก้]
ทางพิเศษอุดรรัถยา บริเวณใกล้ทางออกเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

ทางพิเศษอุดรรัถยามีเส้นทางเชื่อมต่อมาจากทางพิเศษศรีรัชส่วน C บริเวณจุดตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร (ยกเว้นช่วงที่ผ่านเมืองทองธานี มีขนาด 6 ช่องจราจร) มุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านเมืองทองธานี จากนั้นเข้าสู่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 แล้วข้ามคลองเชียงราก ก่อนที่ลดระดับเป็นทางระดับดินขนาด 4 ช่องจราจร โดยมีรั้วกั้นตลอด จากนั้นเข้าสู่อำเภอสามโคก ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 ซึ่งบริเวณนี้จะมีเส้นทางแยกไปทางทิศตะวันออกเพื่อต่อเชื่อมกับถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หลังจากนี้ เส้นทางจะโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 แล้วไปสิ้นสุดบริเวณกิโลเมตรที่ 79 ของถนนกาญจนาภิเษก

รายชื่อทางออก

[แก้]
รายชื่อทางออกบน ทางพิเศษอุดรรัถยา ทิศทาง: แจ้งวัฒนะ−บางปะอิน
จังหวัด อำเภอ / เขต กม.ที่ ทางออก ชื่อ จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
แจ้งวัฒนะ−บางปะอิน
นนทบุรีปากเกร็ด0+000น.2-11ทางแยกต่างระดับแจ้งวัฒนะ ถนนแจ้งวัฒนะ, ปากเกร็ด - หลักสี่
0+000ต.2-05 ถนนแจ้งวัฒนะ, หลักสี่ - ปากเกร็ด
2+575ต.2-04แยกทางพิเศษเมืองทองธานีถนนป๊อปปูล่า, เข้าเมืองทองธานี
2+575น.2-12ถนนป๊อปปูล่า, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
5+185น.2-13/ต.2-06ทางแยกต่างระดับศรีสมาน ถนนศรีสมาน – ตะวันตก: ปทุมธานี; ตะวันออก:ถนนสรงประภา, ดอนเมือง
ปทุมธานีเมืองปทุมธานี12+700น.2-14/ต.2-07ทางแยกต่างระดับบางพูน ถนนรังสิต-ปทุมธานี, ปทุมธานี – ตะวันออก: ถนนรังสิต-ปทุมธานี, รังสิต
สามโคก20+020น.2-15/ต.2-08ทางแยกต่างระดับเชียงราก ถนนเชียงราก – ตะวันออก: ถนนเชียงราก, คลองหลวง
พระนครศรีอยุธยาบางไทร29+400น.2-16ทางแยกต่างระดับวงแหวนกาญจนาภิเษก (ด่านบางปะอิน)ถนนกาญจนาภิเษก, บางบัวทอง - บางปะอิน,ถนนสายเอเชีย,ถนนพหลโยธิน

ประวัติการก่อสร้าง

[แก้]

ทางพิเศษอุดรรัถยาแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 แจ้งวัฒนะ–เชียงราก รวมระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร เริ่มต้นที่ปลายทางพิเศษศรีรัชบริเวณจุดตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ ไปถึงบางพูน ก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร และจากบางพูนไปถึงเชียงราก เป็นทางระดับดินขนาด 4 ช่องจราจร (ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร) รวมทั้งทางต่อเชื่อมจากเชียงรากไปถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร (ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร) ก่อสร้างแล้วเสร็จเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2541
  • ระยะที่ 2 เชียงราก–บางไทร รวมระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นทางระดับดินขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมต่อกับระยะที่ 1 ที่เชียงราก และมีแนวสายทางมุ่งไปทางทิศเหนือ ไปสิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก ในอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

โครงการก่อสร้างในอนาคต

[แก้]

ปัจจุบัน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีโครงการทางพิเศษสายอุดรรัถยา–สุพรรณบุรี (ทางพิเศษอุดรรัถยาส่วนต่อขยาย)[2] เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร แนวสายทางเริ่มจากด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางปะอิน สิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 35 กิโลเมตร ทั้งนี้ ได้มีโครงการทางเชื่อมต่อศูนย์ศิลปาชีพบางไทรในโครงการ และยังมีโครงการปรับปรุงทางพิเศษอุดรรัถยา ช่วงบางพูน-บางไทรจากทางระดับดินขนาด 4 ช่องจราจรเป็นทางยกระดับอีกด้วย ซึ่งโครงการนี้ถูกกำหนดหมายเลขทางหลวงตามแผนของกรมทางหลวง ให้เป็นทางหลวงพิเศษ (Motorway) หมายเลข 51 แต่ทางพิเศษนี้อยู่ในแผนขยายของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

อ้างอิง

[แก้]
  1. ทางพิเศษอุดรรัถยา เก็บถาวร 2016-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์การทางพิเศษแห่งประเทศไทย สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2559}}
  2. โครงการทางพิเศษสายอุดรรัถยา–พระนครศรีอยุธยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์การทางพิเศษแห่งประเทศไทย สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]