ปฏิทินโฮโลซีน
ปฏิทินโฮโลซีน (อังกฤษ: Holocene calendar เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สมัยโฮโลซีน (Holocene Era) หรือ สมัยมนุษย์ (Human Era; HE) เป็นระบบการนับปีที่บวก 10,000 ปีจากปีที่ใช้ในปัจจุบัน (ค.ศ./ก่อนคริสตกาล หรือ สากลศักราช/ก่อนสากลศักราช) โดยเริ่มต้นปีแรกที่ใกล้ช่วงต้นของสมัยโฮโลซีนและการปฏิวัติยุคหินใหม่ เมื่อมนุษย์เปลี่ยนวิถีชีวิตจากคนเก็บของป่าล่าสัตว์เป็นการทำเกษตรกรรมและตั้งถิ่นฐาน. ปีปัจจุบันตามปฏิทินกริกอเรียนคือปีค.ศ.2024 เป็นปีที่ 12024 HE ตามปฏิทินโฮโลซีน. ปฏิทินโฮโลซีนถูกเสนอครั้งแรกโดยเซซาเร เอมิลิอานี (Cesare Emiliani) ในปีค.ศ.1993 (11993 HE).[1]
ภาพรวม
[แก้]จุดประสงค์ของเซซาเร เอมิลิอานีคือการปฏิรูปปฏิทินเพื่อแก้ปัญหาของปี คริสต์ศักราช โดยมีหัวข้อดังนี้:
- ปีคริสต์ศักราช ตั้งฐานมาจากการประเมินที่ผิดพลาดของปีประสูติของพระเยซู. ปีที่พระเยซูประสูติอยู่ในปีค.ศ.1 แต่นักวิชาการสมัยใหม่ส่วนใหญ่ยืนยันว่าพระเยซูประสูติในหรือก่อน 4 ปีก่อนคริสตกาล
- ปีประสูติของพระเยซูเป็นต้นยุคอ้างอิงที่มีความเกี่ยวข้องในระดับสากลน้อยกว่าจุดเริ่มต้นของสมัยโฮโลซีน
- ปี คริสต์ศักราช ไม่มีปี 0 เพราะ 1 ปีก่อนค.ศ. จะตามมาด้วย ค.ศ.1 ทันที
ผลประโยชน์
[แก้]ปฏิทินโฮโลซีนทำให้การคำนวณในธรณีวิทยา, โบราณคดี, กาลานุกรมต้นไม้ และประวัติศาสตร์ง่ายขึ้น และเป็นหน่วยที่มีความเกี่ยวข้องในระดับสากลมากกว่าปีประสูติของพระเยซู
การแปลง
[แก้]การแปลงจากปฏิทินจูเลียน หรือปฏิทินกริกอเรียนเป็นปฏิทินโฮโลซีนสามารถทำได้โดยการบวกอีก 10,000 ในปีค.ศ./สากลศักราช. ปีปัจจุบัน (2024) สามารถแปลงเป็นปีโฮโลซีนได้โดยการใส่เลข "1" ด้านหน้ามัน ทำให้กลายเป็น 12,024 HE. ส่วนปีก่อนค.ศ./ก่อนสากลศักราช แปลงได้โดยการลบปีของเลขนั้นด้วย 10,001.
ปีกริกอเรียน | ISO 8601 | ปีโฮโลซีน | เหตุการณ์ |
---|---|---|---|
10001 ปีก่อนค.ศ. | −10000[a] | 0 HE | เริ่มต้นปฏิทินโฮโลซีน |
9701 ปีก่อนค.ศ. | −9700 | 300 HE | สมัยไพลสโตซีนสิ้นสุดลง และสมัยโฮโลซีนได้เริ่มต้นขึ้น[2] |
4714 ปีก่อนค.ศ. | −4713 | 5287 HE | ต้นยุคอ้างอิงของระบบวันจูเลียน: วันจูเลียนที่ 0 เริ่มที่เส้นเมริเดียนแรก ตอนเที่ยงของวันที่ 1 มกราคม 4713 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินจูเลียน ซึ่งเป็นวันที่ 24 พฤศจิกายน 4714 ปีก่อนคริสตกาลในปฏิทินกริกอเรียน[3]: 10 |
3761 ปีก่อนค.ศ. | −3760 | 6240 HE | เริ่มต้นปีอันโน มุนดีในปฏิทินฮีบรู[3]: 11 |
3102 ปีก่อนค.ศ. | −3101 | 6899 HE | เริ่มเข้าช่วงกลียุคในจักรวาลวิทยาของศาสนาฮินดู[ต้องการอ้างอิง] |
2250 ปีก่อนค.ศ. | −2251 | 7751 HE | เริ่มต้นยุคเมฆาลัย (Meghalayan) ยุคปัจจุบันจากทั้งสามยุคในสมัยโฮโลซีน.[4][5] |
45 ปีก่อนค.ศ. | −0044 | 9956 HE | การริเริ่มปฏิทินจูเลียน |
1 ปีก่อนค.ศ. | +0000 | 10000 HE | ปี 0 ในระบบ ISO 8601 |
ค.ศ. 1 | +0001 | 10001 HE | เริ่มต้นปีสากลศักราชและคริสต์ศักราช จากการคาดการโดยไดโอนิซิอุส จากพระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ของพระเยซู |
ค.ศ. 622, ฮ.ศ.1 | +0622 | 10622 HE | การอพยพของมุฮัมมัดจากมักกะฮ์ไปมะดีนะฮ์ (ฮิจเราะห์) เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิทินฮิจเราะห์[6][7] |
ค.ศ. 1582 | +1582 | 11582 HE | การริเริ่มปฏิทินกริกอเรียน[3]: 47 |
ค.ศ. 1912 | +1912 | 11912 HE | ต้นยุคอ้างอิงของปฏิทินเกาหลีเหนือ[ต้องการอ้างอิง] และปฏิทินหมินกั๋ว[ต้องการอ้างอิง] |
ค.ศ. 1950 | +1950 | 11950 HE | ต้นยุคอ้างอิงของรูปแบบวันที่ก่อนปัจจุบัน[8]: 190 |
ค.ศ. 1970 | +1970 | 11970 HE | ต้นยุคอ้างอิงของเวลายูนิกซ์[9] |
ค.ศ. 1993 | +1993 | 11993 HE | ปีที่เผยแพร่ปฏิทินโฮโลซีน |
2024 | +2024 | 12024 HE | ปัจจุบัน |
ค.ศ. 10000 | +10000 | 20000 HE |
ดูเพิ่ม
[แก้]- หลังการพัฒนาการเกษตร (After the Development of Agriculture) – ระบบปฏิทินที่บวกกับปีค.ศ. อีก 8000 ปี.
- อันโน ลูซิส – ระบบปฏิทินที่บวกกับปีค.ศ. อีก 4000 ปี
- ก่อนปัจจุบัน เป็นหน่วยที่ใช้เป็นส่วนมากในงานวิจัยสำหรับวันในยุคก่อนประวัติศาสตร์.
- การปฏิรูปปฏิทิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อemiliani
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อjqs
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Dershowitz, Nachum; Reingold, Edward M. (2008). Calendrical Calculations (3rd ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-70238-6.
- ↑ "ICS chart containing the Quaternary and Cambrian GSSPs and new stages (v 2018/07) is now released!". สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- ↑ Conners, Deanna (September 18, 2018). "Welcome to the Meghalayan age". สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- ↑ Aisha El-Awady (2002-06-11). "Ramadan and the Lunar Calendar". Islamonline.net. สืบค้นเมื่อ 2006-12-16.
- ↑ Hakim Muhammad Said (1981). "The History of the Islamic Calendar in the Light of the Hijra". Ahlul Bayt Digital Islamic Library Project. สืบค้นเมื่อ 2006-12-16.
- ↑ Currie Lloyd A (2004). "The Remarkable Metrological History of Radiocarbon Dating [II]" (PDF). Journal of Research of the National Institute of Standards and Technology. 109 (2): 185–217. doi:10.6028/jres.109.013. PMC 4853109. PMID 27366605. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-06. สืบค้นเมื่อ 2019-08-31.
- ↑ "The Open Group Base Specifications Issue 7, Rationale, section 4.16 Seconds Since the Epoch". The OpenGroup. 2018.
สารานุกรม
[แก้]- David Ewing Duncan (1999). The Calendar. pp. 331–332. ISBN 978-1-85702-979-6.
- Duncan Steel (2000). Marking Time: The Epic Quest to Invent the Perfect Calendar. John Wiley and Sons. pp. 149–151. ISBN 978-0-471-29827-4.
- Günther A. Wagner (1998). Age Determination of Young Rocks and Artifacts: Physical and Chemical Clocks in Quaternary Geology and Archeology. Springer. p. 48. ISBN 978-3-540-63436-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "A New History for Humanity – The Human Era" - YouTube video explaining the Holocene Calendar by Kurzgesagt
- "News and comment เก็บถาวร 2018-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Geology Today, 20/3 (2004) 89–96.
- Timeline of World History เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Geologic TimeScale Foundation: GSSP Table, engineering.purdue.edu