ปฏิบัติการโมเสส
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ปฏิบัติการโมเสส (ฮีบรู: מִבְצָעמֹשֶׁה, Mivtza Moshe) คือ การอพยพชาวเอธิโอเปียอย่างเป็นความลับ (ที่รู้จักกันในนาม "เบต้าอิสราเอล" ชุมชนหรือ "Falashas") จากประเทศ ซูดาน ในช่วงสงครามกลางเมืองในปี 2527 ในตอนแรกเรียกว่า Gur Aryeh Yehuda (ลูกสิงโตแห่งยูดาห์) โดยอิสราเอลเปลี่ยนชื่อเป็น ปฏิบัติการโมเสส ปฏิบัติการครั้งนี้ตั้งชื่อตามพระคัมภีร์ชื่อผู้นำ โมเสส ที่พาชาวยิวอพยพหาดินแดนพันธสัญญาของพระเจ้า เป็นความร่วมมือระหว่างกองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล สำนักข่าวกรองกลาง สถานทูตสหรัฐฯใน Khartoum ทหารรับจ้างและกองกำลังความมั่นคงของรัฐซูดาน หลายปีหลังจากปฏิบัติการโมเสสเสร็จสิ้นลงแล้ว ก็ยังพบว่าชาวมุสลิมซูดานและตำรวจลับของซูดาน ยังมีบทบาทในการอำนวยความสะดวกในการอพยพชาวยิวชาวเอธิโอเปียผ่านทางซูดาน
ปฏิบัติการโมเสสเป็นความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประสานงานสหรัฐฯ ที่ค่ายลี้ภัยในขณะนั้นคือ Richard Krieger หลังจากท่านได้รับรายงานการประหัตประหารของชาวยิวในเอธิโอเปียในค่ายผู้ลี้ภัย ด้วยแนวคิดการขนส่งผู้อพยพชาวยิวทางอากาศ และท่านได้พบกับมอสสาด(หน่วยสืบราชการลับยิว) และราษฏรซูดานที่อำนวยความสะดวกในปฏิบัติการครั้งนี้
หลังจากการประชุมลับของคณะรัฐมนตรีอิสราเอลเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2527 การตัดสินใจเดินหน้ากับปฏิบัติการโมเสส จึงเริ่มขึ้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2527 โดยใช้สายการบินทรานส์ยุโรปแอร์เวย์ขนย้ายชาวเอธิโอเปีย 8,000 คนออกจากซูดาน ผ่านบรัสเซลส์มายังอิสราเอล สิ้นสุดปฏิบัติการโมเสสวันที่ 5 มกราคม 2528 ตลอดระยะเวลา 7 สัปดาห์ของปฏิบัติการโมเสส มีการใช้สายการบินทรานส์ยุโรปแอร์เวย์มากกว่า 30 เที่ยวบิน เพื่อนำชาวยิวเอธิโอเปียครั้งละประมาณ 200 คนไปยังอิสราเอล โดยบินออกจากซูดานในช่วงเวลาใกล้กับชาวมุสลิมเดินทางไปทำพิธีฮัจย์ที่เมกกะ ดังนั้นการใช้สายการบินทรานส์ยุโรปแอร์เวย์ จึงไม่เป็นที่ต้องสงสัยจากเจ้าหน้าที่สนามบิน
แม้ว่าก่อนที่จะมีปฏิบัติการโมเสส ก็มีผู้อพยพชาวยิวเอธิโอเปียราว 250 คนเดินทางไปอิสราเอล ชาวเบต้าอิสราเอล(ยิวเอธิโอเปีย)นับพันคนได้หลบหนีออกจากเอธิโอเปีย ด้วยการเดินเท้าเพื่อไปยังค่ายผู้ลี้ภัยในซูดาน ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางราว 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตราว 4,000 คนระหว่างการเดินทาง เพราะความรุนแรงในการสู้รบงและความเจ็บป่วยระหว่างทาง
ซูดานอนุญาตให้อิสราเอลอพยพผู้ลี้ภัยชาวยิวเอธิโอเปียอย่างลับ ๆ สองวันหลังจากปฏิบัติการโมเสส เริ่มมีนักข่าวชาวยิวเขียนเกี่ยวกับ การช่วยเหลือชาวเอธิโอเปียชาวยิวหลายพันคน ปฏิบัติการโมเสสสิ้นสุดลงเมื่อวันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2528 หลังจากที่ นายชิมอน เปเรส นายกรัฐมนตรีอิสราเอลจัดแถลงข่าว ยืนยันการอพยพชาวยิวเอธิโอเปียด้วยการขนส่งทางอากาศ ในขณะเดียวกันก็ชอให้ผู้สื่อข่าวทุกคนไม่ให้ข่าวใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้กับชาวบ้านอีก ซูดานได้พยายามเร่งเวลาการขนส่งชาวยิวเอธิโอเปียทางอากาศ หลังจากที่นายกรัฐมนตรีอิสราเอลได้ให้สัมภาษณ์ เพราะเมื่อข่าวดังกล่าวเริ่มไปถึงพันธมิตรอาหรับ(ที่ไม่ชอบอิสราเอล) ทำใหุ้ทกอย่างจบสิ้นลงทันที เพราะสื่อมวลชนในประเทศอาหรับต่างกดดันซูดานให้ยุติการขนส่งทางอากาศ แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการอพยพชาวยิวเอธิโอเปียมาอิสราเอล แต่ก็มีเด็กจำนวนมากเสียชีวิตในค่ายหรือในระหว่างการบินไปยังอิสราเอล และมีรายงานว่าพ่อแม่ของเด็กที่ตายต้องพาศพลูกของตนลงมาจากเครื่องบิน
ชาวยิวเอธิโอเปียราว 1,000 คนถูกทิ้งไว้ข้างหลังประมาณ 500 คน ก่อนที่จะอพยพตามมาในภายหลัง ด้วยความร่วมมือของสหรัฐอเมริกา ในปฏิบัติการโจชัว ทำให้เด็กจำนวนมากกว่า 1,000 คนที่ถูกเรียกว่า เด็กกำพร้าของสถานการณ์ ได้อพยพมาอยู่ในอิสราเอล โดยพวกเด็ก ๆ ต่างพรากจากครอบครัวของตนที่ยังคงตกค้างอยู่ในแอฟริกา จนกระทั่งอีก 5 ปีต่อมา ปฏิบัติการโซโลมอน จึงได้นำชาวยิวเอธิโอเปียจำนวน 14,324 คนมายังอิสราเอลในปี 1991
ปฏิบัติการโซโลมอนในปีพ. ศ. 2534 อิสราเอลต้องจ่ายเงินถึง 26 ล้านดอลลาร์ให้กับรัฐบาลเผด็จการ ขณะที่ปฏิบัติการโมเสสมีคาใช้จ่ายน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปฏิบัติการช่วยเหลือชาวยิวในประเทศต่าง ๆ มายังอิสราเอล วันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 คณะรัฐมนตรีอิสราเอลอนุมัติแผนการอนุญาตให้เพิ่มชาวยิวเอธิโอเปีย Falash Mura อีก 8,000 คนเพื่ออพยพมายังอิสราเอล และเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 คณะรัฐมนตรีอิสราเอลได้ลงมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้กลุ่ม Falash Mura กลุ่มสุดท้ายอพยพมาอิสราเอลภายใน 5 ปี แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามกระบวนการแปลงเป็นชาวยิว ในเดือนเมษายน 2559 กระทรวงมหาดไทยระบุว่า มีคนรวมกัน 10,300 คนในรอบล่าสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา