พลร่ม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พลร่ม (อังกฤษ: Paratrooper) เป็นหน่วยทหารที่ได้รับการฝึกการกระโดดร่มชูชีพเป็นพิเศษ มีการนำมาใช้ครั้งแรกในเยอรมนี ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หน่วยพลร่มนี้ขึ้นตรงกับกองทัพอากาศนาซีเยอรมันหรือ “ลุฟท์วัฟเฟอ” (luftwaffe) ซึ่งต่างจากกองทัพสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ที่หน่วยพลร่มมักจะขึ้นตรงกับกองทัพบกมากกว่า โดยหน่วยพลร่มหน่วยแรกของเยอรมันถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1938 เริ่มต้นจากการรวบรวมกองพันทหารพลร่มต่างๆ มาเป็นกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 (7 Flieger Division) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1938 เป็นเวลาสองปีก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะอุบัติขึ้นโดยพลร่มถูกฝึกให้เป็นแนวหน้าในการออกรบ โดยเฉพาะการกระโดดร่มเข้าโจมตีประเทศต่าง ๆ เช่น เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1940 การรบครั้งสำคัญของหน่วยพลร่มเยอรมันคือการรบที่ป้อมอีเบน-อีเมล และการรบที่เกาะครีต [1]
พลร่ม ถูกฝึกมาด้วย ตำราชื่อ currahee[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นชื่อภูเขา ที่พลร่มใช้วิ่งขึ้น-ลง มีคำกล่าวว่า ขึ้น 3 ไมล์ ลง 3 ไมล์ หมายถึง วิ่งขึ้นลง currahee นั่นเอง
พลร่มในประเทศไทย
[แก้]ตำรวจพลร่ม
[แก้]ในประเทศไทย พลร่มหน่วยแรกของไทยคือ ตำรวจพลร่ม โดยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2496 โดยเป็นแนวความคิดของ พ.ต.อ. เจมส์ วิลเลี่ยม แลร์ ที่ปรึกษาชาวอเมริกัน, ร.ต.ต. สเน่ห์ สิทธิพันธุ์ (ยศในขณะนั้น) และนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เสนอต่อ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ในสมัยนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมกับการรับมือกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ และเป็นการฝึกให้ตำรวจพลร่มนั้นสามารถปฏิบัติการรบแบบกองโจรได้ โดย พล.ต.อ.เผ่า ได้มองว่า ตำรวจพลร่มนั้นเป็นหน่วยตำรวจรบพิเศษที่เคลื่อนที่ได้เร็ว จึงวางจุดประสงค์ไว้สองอย่างคือ
1. เตรียมกำลังตำรวจ เมื่อพร้อมที่จะปฏิบัติการต่อต้านหน่วยรบแบบกองโจร
2. เตรียมกำลังตำรวจโดยจัดให้ฝึกอบรมตำรวจพลร่มไว้ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองทัพต่าง ๆ ได้ในยามสงคราม
โดยวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2496 หน่วยพลร่มรบพิเศษ หน่วยแรกของประเทศไทยได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยจัดตั้งในเหล่าตำรวจ (กรมตำรวจ)เป็นเหล่าแรก คือ หน่วยตำรวจพลร่ม (ค่ายนเรศวร อ.หัวหิน) โดยมี ร.ต.ต. สเน่ห์ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้บังคับหน่วยคนแรก[2] โดยสังกัดกองบังคับการยานยนต์ (หรือตำรวจรถถังวังปารุสกวัน) กองบัญชาการจเรตำรวจ
ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2496 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดค่ายนเรศวร ทอดพระเนตรการแสดงโดดร่ม และสาธิตการใช้อาวุธพิเศษ ในการรบด้วยยุทธวิธี การรบแบบกองโจรของตำรวจพลร่ม จึงถือว่าเป็น วันคล้ายวันสถาปนาค่ายนเรศวรปัจจุบันตำรวจพลร่มนั้นสังกัดอยู่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน การฝึกพลร่มนี้จะจัดขึ้นทุก ๆ ปี โดยมีทั้งนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน ขอรับการฝึกโดยส่วนใหญ่จะสังกัดอยู่ในส่วนป้องกันและปราบปราม และตำรวจตระเวนชายแดน และการฝึกนี้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ที่จะเข้ารับการฝึกนี้ในชั้นปีที่ 2[3]
พลร่มป่าหวาย
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ปัจจุบัน ประวัติศาสตร์การรบในสมรภูมิต่าง ๆ ได้พัฒนารูปแบบมาจนเป็นสงครามพิเศษ กองทัพบกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการปฏิบัติการสงครามพิเศษ จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้น เป็นหน่วยแรก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2497 ที่บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ใช้ชื่อว่า "กองพันทหารพลร่ม" หรือที่รู้จักกันดีในนามของ "พลร่มป่าหวาย" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 หลังวันเสียงปืนแตก ที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เริ่มทำสงครามประชาชน เพื่อล้มล้างรัฐบาล กองทัพบกได้ใช้หน่วยรบพิเศษเข้าต่อสู้กับภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ และเพื่อเกิดเอกภาพในการปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 กองทัพบกได้จัดตั้ง "ศูนย์สงครามพิเศษ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
- วางแผน ดำเนินการ กำกับการ และดำเนินการฝึกศึกษาเกี่ยวกับ การสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ และการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ
- ดำเนินการ วิจัย พัฒนา กำหนดหลักนิยม และทำตำราในทางวิทยาการที่เกี่ยวข้อง
- ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนดโดยมีผู้บัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ เป็นผู้รับผิดชอบ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ กองทัพบกจึงได้จัดตั้ง หน่วยรบพิเศษเข้าปฏิบัติการ และได้จัดตั้ง กองพลรบพิเศษที่ 1, กองพลรบพิเศษที่ 2 เพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้น เมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยบังคับบัญชากำลังรบพิเศษทั้งปวงแทนศูนย์สงครามพิเศษ โดยให้ศูนย์สงครามพิเศษทำหน้าที่เป็นหน่วยสายวิทยาการเพื่อดำเนินงานด้านการฝึกศึกษาเพียงอย่างเดียว
เครื่องหมายหลักสูตรพลร่มไทย
[แก้]ตำรวจ
[แก้]กองทัพบก
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 209. ISBN 9780850451634.
- ↑ Lair, James William (Bill Lair). Essay. In อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ม.ว.ม, ป.ช., ท.จ.ว., 113. กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์, 2543.
- ↑ http://www.pinthup.com/?page_id=79
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=vuw&month=04-03-2012&group=5&gblog=36
- World War II German Paratrooper Reenacting and Living History Organisation - Fallschirmjäger
- Brief Biography of BG William T. Ryder
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Paratroopers