พลิมัท (มอนต์เซอร์รัต)
พลิมัท | |
---|---|
เมืองร้าง | |
Plymouth | |
พลิมัท ที่ถูกปล่อยปละละเลยในปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟ | |
สถานที่ตั้งของพลิมัท ในมอนต์เซอร์รัต | |
พิกัด: 16°42′23″N 62°12′57″W / 16.706417°N 62.215839°W | |
ประเทศ | บริเตนใหญ่ |
ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน | มอนต์เซอร์รัต |
ประชากร (2550) (เมืองถูกทิ้งร้างโดยสิ้นเชิงจากการปะทุของภูเขาไฟ) | |
• ทั้งหมด | 0 คน |
เขตเวลา | UTC−4 (แอตแลนติก) |
พลิมัท (อังกฤษ: Plymouth) เป็นเมืองร้างบนเกาะมอนต์เซอร์รัตซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะลีเวิร์ดของเลสเซอร์แอนทิลลีส ในทะเลแคริบเบียน
ตั้งขึ้นบนแหล่งทับถมลาวาในอดีตใกล้กับภูเขาไฟซูฟริแยร์ฮิลล์ (Soufrière Hills) ที่ไม่มีการปะทุมานาน เมืองนี้ต้องถูกอพยพในปี พ.ศ. 2538 เมื่อภูเขาไฟกลับมาปะทุ ในที่สุดพลิมัทก็ถูกทิ้งอย่างถาวรในปี พ.ศ. 2540 หลังจากที่เมืองถูกไฟไหม้อย่างมาก และส่วนใหญ่ถูกฝังโดยกระแสตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic flow) และ ดินไหล (lahar) ในหลายศตวรรษที่ผ่านมาที่นี่เป็นท่าเรือเพียงแห่งเดียวในการเข้าสู่เกาะ พลิมัทยังคงเป็นเมืองหลวงทางนิตินัยของมอนต์เซอร์รัต ทำให้เป็นเมืองร้างแห่งเดียวที่ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของดินแดนทางการเมือง[1] โดยศูนย์กลางการบริหารย้ายไปตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเบรดส์ทางตอนเหนือของเกาะ
ประวัติศาสตร์
[แก้]โบสถ์เซนต์แอนโทนี
[แก้]หลังจากการก่อตั้งอาณานิคมแห่งแรกของยุโรปบนเกาะมอนต์เซอร์รัตในปี ค.ศ. 1632 โบสถ์เซนต์แอนโทนีได้รับการจัดตั้งขึ้นในพลิมัทในปี ค.ศ. 1636[2] แม้ว่าเซนต์แอนโทนีจะเป็นนักบุญในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่เชื่อกันว่าข้าหลวงแอนโทนี บริสเก็ต ซึ่งเดินทางไปอังกฤษเพื่อหาเงินทุนมาสร้างโบสถ์แห่งนี้ ได้ตั้งชื่อโบสถ์ตามชื่อของเขา[3] โบสถ์ต้องสร้างใหม่หลายครั้งตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากความเสียหายจากแผ่นดินไหว และเฮอริเคน[4]
เฮอริเคนฮิวโก
[แก้]มอนต์เซอร์รัตถูกพายุเฮอริเคนฮิวโกถล่ม เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2532 พายุเฮอริเคนได้ทำลายเขื่อนกันคลื่นหินยาว 180 ฟุตในท่าเรือของพลิมัท[5] อาคารอื่น ๆ อีกมากมายรวมทั้ง โรงเรียน, สถานีอนามัย และอาคารโรงพยาบาลกลางที่เพิ่งสร้างเสร็จไม่สามารถใช้งานได้จากความเสียหายจากพายุ เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้เป็นเพียงแห่งเดียวบนเกาะ และมีความเสียหายมากจนต้องย้ายผู้ป่วยทั้งหมด การสำรวจโดยวิศวกรจากสำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติของตรินิแดดและโตเบโกได้สรุปว่า โรงพยาบาลควรได้รับการออกแบบใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างแข็งแรงสามารถทนต่อพายุในอนาคตได้[6]
ภูเขาไฟและการอพยพ
[แก้]ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 การปะทุครั้งใหญ่ที่ภูเขาไฟซูฟริแยร์ฮิลล์ (Soufrière Hills) ซึ่งไม่มีการปะทุมานานหลายศตวรรษส่งให้เกิดการไหลของตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic flow) และขี้เถ้าตกลงไปทั่วพื้นที่กว้างทางตอนใต้ของมอนต์เซอร์รัตรวมถึงเมืองหลวงพลิมัท เห็นได้ชัดในทันทีว่าเมืองนี้ตกอยู่ในอันตรายอย่างร้ายแรง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ภูเขาไฟได้พ่นเศษหิน (tephra) ตกลงมาในพลิมัท และในเดือนธันวาคมผู้อยู่อาศัยถูกอพยพเพื่อความไม่ประมาท
ผู้อยู่อาศัยได้รับอนุญาตให้กลับมาในอีกไม่กี่เดือนต่อมา แต่ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540 การปะทุครั้งใหญ่อีกครั้งทำให้เกิดการไหลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของตะกอนภูเขาไฟซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 19 คน และไหลไปเกือบถึงสนามบินซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ ผู้อาศัยในพลิมัทถูกอพยพอีกครั้ง
ระหว่างวันที่ 4–8 สิงหาคม พ.ศ. 2540 การปะทุครั้งใหญ่เป็นชุดได้ทำลายประมาณ 80% ของเมืองโดยฝังไว้ใต้เถ้าสูง 1.4 เมตร (4.6 ฟุต) วัสดุที่ร้อนจัดนี้ได้เผาอาคารหลายหลัง ทำให้แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่อาศัยสำหรับชาวเมืองส่วนใหญ่
การไหลของกระแสตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic flow), ลาวา, เถ้า และหินภูเขาไฟอื่น ๆ ส่วนใหญ่อัดแน่นโดยมีความหนาแน่นใกล้เคียงกับคอนกรีต การกำจัดภาระที่ล้นเกินจะต้องใช้วัตถุระเบิด, รถปราบดิน และทรัพยากรอื่น ๆ ที่มีราคาแพงเกินไปสำหรับการใช้งานอย่างกว้างขวาง คาดว่าดินใต้โคลนแข็งและลาวาน่าจะไหม้เกรียมและไม่สามารถเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ จากความร้อนที่รุนแรงของการไหลของกระแสตะกอนภูเขาไฟ
รัฐบาลสั่งอพยพเมืองพลิมัทโดยกองทัพเรืออังกฤษให้ความช่วยเหลือโดยพาประชาชนไปยังที่ปลอดภัย ครึ่งทางใต้ของเกาะได้รับการประกาศให้เป็นเขตที่กันออกไป (exclusion zone)[7] เนื่องจากมีการระเบิดของภูเขาไฟที่ซูฟริแยร์ฮิลล์ (Soufrière Hills) อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลของเกาะถูกย้ายไปทางเหนือไปยังหมู่บ้านเบรดส์ (Brades) แม้ว่าพลิมัทจะยังคงเป็นเมืองหลวงทางนิตินัย ในปี พ.ศ. 2556 ท่าเรือและเมืองหลวงแห่งใหม่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่ลิตเติลเบย์ (Little Bay) บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
การถูกทำลายล้างทั้งหมดของพลิมัท ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงสำหรับเกาะมอนต์เซอร์รัต พลิมัทเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะโดยมีประชากรประมาณ 4,000 คน และด้วยเหตุนี้จึงเคยเป็นที่ตั้งของร้านค้าและบริการเกือบทั้งหมดของเกาะ นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของรัฐบาล สิ่งอำนวยความสะดวกที่สูญหายบางส่วนถูกสร้างขึ้นใหม่ในเวลาต่อมา ในที่อื่นของมอนต์เซอร์รัต แต่สิ่งนี้ไม่ได้ป้องกันการอพยพ ระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง 2543 ประชากร 23 ของทั้งเกาะถูกบังคับให้อพยพ โดยหลายคนตั้งรกรากอยู่ในสหราชอาณาจักร โดยในปี พ.ศ. 2540 เหลือน้อยกว่า 1,200 คนที่ยังอาศัยอยู่บนเกาะ จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 5,000 คนในปี พ.ศ. 2559
ภูมิศาสตร์
[แก้]พลิมัท ตั้งอยู่บนเนินทางตะวันตกเฉียงใต้ตอนล่างของภูเขาไฟซูฟริแยร์ฮิลล์ (Soufrière Hills) อยู่ในเขตที่กันออกไปเนื่องจากภูเขาไฟ ซึ่งถือว่าไม่สามารถอยู่อาศัยได้ทั้งหมด
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของพลิมัท | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 32 (90) |
33 (91) |
34 (93) |
34 (93) |
36 (97) |
37 (99) |
37 (99) |
37 (99) |
36 (97) |
34 (93) |
37 (99) |
33 (91) |
37 (99) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 28 (82) |
33 (91) |
29 (84) |
30 (86) |
31 (88) |
31 (88) |
31 (88) |
31 (88) |
32 (90) |
31 (88) |
29 (84) |
28 (82) |
30 (86) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 21 (70) |
21 (70) |
21 (70) |
22 (72) |
23 (73) |
24 (75) |
24 (75) |
24 (75) |
23 (73) |
23 (73) |
23 (73) |
22 (72) |
23 (73) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 17 (63) |
17 (63) |
17 (63) |
17 (63) |
19 (66) |
19 (66) |
21 (70) |
21 (70) |
19 (66) |
19 (66) |
15 (59) |
18 (64) |
15 (59) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 122 (4.8) |
86 (3.39) |
112 (4.41) |
89 (3.5) |
97 (3.82) |
112 (4.41) |
155 (6.1) |
183 (7.2) |
168 (6.61) |
196 (7.72) |
180 (7.09) |
140 (5.51) |
1,640 (64.57) |
แหล่งที่มา: BBC Weather [8] |
การคมนาคม
[แก้]ท่าอากาศยานวิลเลียม เฮนรี แบรมเบิล (W. H. Bramble) ที่ให้บริการแก่พลิมัท ถูกปิดลงอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2540 และถูกทำลายในเวลาต่อมาเนื่องจากถูกฝังในเถ้าภูเขาไฟ ท่าอากาศยานจอห์น อัลเฟรด ออสบอร์น (John A. Osborne) แห่งใหม่ เปิดให้บริการใกล้กับหมู่บ้านเบรดส์ (Brades)
ท่าเรือพลิมัทได้รับอนุญาตให้เปิดใช้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2555 สำหรับการส่งออกทรายโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Central America :: Montserrat". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-04. สืบค้นเมื่อ September 26, 2020.
- ↑ "Montserrat's Archaeology and History" เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved October 12, 2019.
- ↑ "Montserrat History" Retrieved October 12, 2019.
- ↑ "Visit Montserrat" Retrieved October 12, 2019.
- ↑ "Montserrat History" Retrieved October 13, 2019.
- ↑ "Hurricane Hugo; A Survey of Damage in Montserrat and Antigua"[ลิงก์เสีย] M.W. Chin & W.H.E. Suite, National Emergency Management Agency of Trinidad and Tobago. February 19, 1990.
- ↑ "No unauthorised entry into Plymouth says Governor Davis". Government of Montserrat. June 21, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2016.
- ↑ "Average Conditions Plymouth, Montserrat". BBC Weather. สืบค้นเมื่อ July 14, 2010.
- ↑ "Plymouth Port back in operation after 15-year pause". Government of Montserrat. February 27, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วีดิทัศน์ของพลิมัท จากเฮลิคอปเตอร์ของหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟมอนเซอร์รัต (24 สิงหาคม พ.ศ. 2555)