Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

พอล สโกฟีลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พอล สโกฟีลด์
สโกฟีลด์ในปี ค.ศ. 1974
เกิด21 มกราคม ค.ศ. 1922(1922-01-21)
เบอร์มิงแฮม วอริกเชอร์ อังกฤษ
เสียชีวิต19 มีนาคม ค.ศ. 2008(2008-03-19) (86 ปี)
ซัสเซกซ์ อังกฤษ
สาเหตุเสียชีวิตมะเร็งเม็ดเลือดขาว
สุสานสุสานเซนต์แมรีส์
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1940–2006[1]
คู่สมรสจอย พาร์กเกอร์ (1943–2008)
บุตร2

เดวิด พอล สโกฟีลด์ (อังกฤษ: David Paul Scofield; 21 มกราคม ค.ศ. 1922 – 19 มีนาคม ค.ศ. 2008) เป็นที่รู้จักในชื่อ พอล สโกฟีลด์ เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ ผู้ชนะเลิศรางวัลออสการ์, รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลแบฟตาจากบทบาททอมัส มอร์ ในภาพยนตร์เรื่อง A Man for All Seasons (ค.ศ. 1966)

สโกฟีลด์เกิดในเมืองเบอร์มิงแฮม เขาเป็นบุตรชายของเอ็ดเวิร์ด แฮร์รี สโกฟีลด์ และแมรี สโกฟีลด์[2] ต่อมาครอบครัวย้ายไปอยู่ที่ซัสเซกซ์ซึ่งพ่อของเขาทำหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนในเครือคริสตจักรแห่งอังกฤษที่เฮิสต์เพียร์พอยต์[3] พ่อของเขาศรัทธาในคริสตจักรแห่งอังกฤษ แต่แม่ของเขาศรัทธาในนิกายโรมันคาทอลิก[4] พออายุได้ 17 ปี เขาเลือกที่ก้าวสู่การแสดงอาชีพในฐานะนักแสดง โดยเรียนการแสดงที่โรงละครครอยดอนในปี ค.ศ. 1939[5] หลังจากนั้นเขาได้ร่วมแสดงกับออลิเวีย เดอ แฮวิลแลนด์ ในภาพยนตร์เรื่องแรกคือ That Lady ในปี ค.ศ. 1955 จากบทบาทพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน ทำให้เขาได้รับรางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม

นักแสดงเฮเลน เมียร์เรน ที่แสดงร่วมกับสโกฟีลด์ในภาพยนตร์เรื่อง When the Whales Came (ค.ศ. 1989) กล่าวถึงสโกฟีลด์ว่า "เขามีจิตวิญญาณในการแสดงมากในตัวละครและเขาเป็นนักแสดงที่ยอดเยี่ยมของเรา เราโชคดีที่มีเขา"[6] สโกฟีลด์ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 2 ครั้ง, เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแบฟตา 4 ครั้ง และเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ 2 ครั้ง

สโกฟีลด์เสียชีวิตวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2008 อายุ 86 ปี ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านของเขาในซัสเซกซ์[7] พิธีไว้อาลัยจัดขึ้นเมื่อ 19 มีนาคม ค.ศ. 2009 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ จอย พาร์กเกอร์ ภรรยาของเขาเสียชีวิตในอีกสี่ปีต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 อายุ 90 ปี พวกเขามีบุตรด้วยกันสองคนคือ มาร์ติน (เกิด ค.ศ. 1945) เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษและวรรณคดีอเมริกันที่มหาวิทยาลัยเคนต์[8] และแซราห์ (เกิด ค.ศ. 1951)[9]

ผลงาน

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท หมายเหตุ
1955 That Lady พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน ได้รับรางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม
1958 Carve Her Name with Pride โทนี เฟรเซอร์
1964 The Train พันเอกฟอน วัลไฮม์
1966 Man for All Seasons ทอมัส มอร์ ได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับรางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า
ได้รับรางวัลแคนซัสซิตีฟิล์มคริติกส์เซอร์เคิลอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับรางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมอสโกในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม[10]
ได้รับรางวัลเนชันแนลบอร์ดออฟรีวิวในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับรางวัลนิวยอร์กฟิล์มคริติกส์เซอร์เคิลอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลลอเรลอวอร์ดในสาขาการแสดงชาย
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
1970 Bartleby นักบัญชี
1971 King Lear กษัตริย์เลียร์ ได้รับรางวัลโบดีลอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
1973 A Delicate Balance โทเบียส
1973 Scorpio ซาร์เกต
1983 Ill Fares the Land วอยซ์
1984 Summer Lightning โรเบิร์ต คลาร์ก
1985 1919 อเล็กซานเดอร์ เชอร์บาท็อป
1989 Henry V พระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
1990 แฮมเลต กษัตริย์แฮมเลต
1992 Utz ด็อกเตอร์ วาคลัฟ ออร์ลิค
1992 London ผู้บรรยาย
1994 Quiz Show มาร์ค ฟาน ดูเรน ได้รับเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลดัลลัส-ฟอร์ตเวิร์ธฟิล์มคริติกส์เซอร์เคิลอวอร์ดในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลนิวยอร์กฟิล์มคริติกส์เซอร์เคิลอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
1996 The Crucible โทมัส แดนเฟิร์ท ได้รับรางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลแซทเทิลไลน์อวอร์ดในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์เซาท์แฮฟสเติร์นในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
1997 Robinson in Space ผู้บรรยาย
1999 แอนิมัลฟาร์ม บ็อกเซอร์ ให้เสียงพากย์

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท หมายเหตุ
1965 The State Funeral of Sir Winston Churchill ผู้บรรยาย
1969 Male of the Species ได้รับรางวัลไพรม์ไทม์เอมมีสาขานักแสดงนำชายโดดเด่น ประเภทมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์
1980 If Winter Comes ศาสตราจารย์โมรัว
The Curse of King Tut's Tomb
1981 The Potting Shed เจมส์ แคลลัสแฟร์
1984 Arena: The Life and Times of Don Luis Bunuel ผู้บรรยาย
1985 อันนา คาเรนินา คาเรนิน
1987 Mister Corbett's Ghost มิสเตอร์คอร์เบต
1988 The Attic: The Hiding of Anne Frank ออตโต แฟรงก์
1989 When the Whales Came นักบิน
1994 Genesis: The Creation and the Flood
Martin Chuzzlewit มาร์ติน/แอนโธนี ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลบริติชอคาเดมีเทเลวิชันอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
1999 The Disabled Century

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ian McKellen says Scofield's last public performance was on 19 April 2004,http://www.mckellen.com/writings/tribute/080330ps.htm. Scofield recorded his last radio play, "Swan Song" in 2006. He is credited with an appearance on BBC's "Poetry Please" program on 27 January 2008, but it is not clear if the recording was made from a live performance or whether material from the BBC archives was used. http://www.scofieldsperformances.com/
  2. "Full text of "The Player A Profile Of An Art"". Archive.org. สืบค้นเมื่อ 22 February 2011.
  3. Interview. Ross, Lillian and Helen. The Player: A Profile of An Art. New York, NY 1966. ISBN 978-0-87910-020-9
  4. O'Connor (2002), pp. 19–20.
  5. O'Connor (2002), p. 25.
  6. O'Connor (2002), p. 300.
  7. "Oscar-winning actor Scofield dies". BBC News Online. 20 March 2008. สืบค้นเมื่อ 20 March 2008.
  8. O'Connor, Garry. Paul Scofield: An Actor for All Seasons. Applause Theatre Book Publishers. February 2002. ISBN 1-55783-499-7.
  9. O'Connor (2002), p. 150.
  10. "5th Moscow International Film Festival (1967)". MIFF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 15 December 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]