Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ฟรีไลฟส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ฟรีไลฟส์ จำกัด (ส่วนบุคคล)
ประเภทเอกชน
อุตสาหกรรมวิดีโอเกม
ก่อตั้งเมษายน 2012; 12 ปีที่แล้ว (2012-04)
ผู้ก่อตั้งเอวาน กรีนวูด
สำนักงานใหญ่,
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์
พนักงาน
16 คน (ค.ศ. 2018)
เว็บไซต์freelives.net

บริษัท ฟรีไลฟส์ จำกัด (ส่วนบุคคล) (อังกฤษ: Free Lives (Pty) Ltd) เป็นผู้พัฒนาวิดีโอเกมอิสระของแอฟริกาใต้ที่อยู่ในเคปทาวน์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 และนำโดยผู้อำนวยการสร้างสรรค์ เอวาน กรีนวูด ซึ่งฟรีไลฟส์เป็นที่รู้จักกันดีในการสร้างวิดีโอเกมโบรฟอร์ซ และยังได้พัฒนาเกมตลกอย่างเจนนิเทิลจูสติง รวมถึงเกมความเป็นจริงเสมือนอย่างกอร์น ทั้งนี้ ฟรีไลฟส์ได้รับการเผยแพร่เป็นหลักผ่านดีโวลเวอร์ดิจิทัล ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่สัญชาติอเมริกัน

ประวัติ

[แก้]

ภูมิหลัง

[แก้]

ฟรีไลฟส์ได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 โดยนักเขียนโปรแกรมวิดีโอเกม กับผู้อำนวยการสร้างสรรค์ เอวาน กรีนวูด และตั้งอยู่บนที่ดินที่เป็นส่วนหนึ่งของสตูดิโอ ส่วนหนึ่งของบ้านในเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ชื่อเรื่องที่พัฒนาโดยฟรีไลฟส์ไม่ได้ขายดีในทวีปแอฟริกา และผู้ชมในสตูดิโอส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐ เช่นเดียวกับยุโรป, อเมริกาใต้ และจีน ทีมงานฟรีไลฟส์ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ของพวกเขาในการประชุมเกมอเมริกาเหนือและยุโรปต่าง ๆ และเป็นส่วนหนึ่งของการแถลงข่าวของโซนี่ที่งานอีทรี 2017[1] ในปี ค.ศ. 2017 ทีมงานฟรีไลฟส์บางคนอาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกัน โดยใช้ประโยชน์จากห้องครัวส่วนกลาง[2]

วิดีโอเกม

[แก้]

ฟรีไลฟส์เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมวิดีโอเกมครั้งแรกเมื่อทีมเสนอผลงานแรมโบร ซึ่งเป็นเกมยิงศิลปะพิกเซล 2 มิติ ที่ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์แอ็กชันช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และคริสต์ทศวรรษ 1990 ในงานเกมแจมลูดัมแดร์เดือนเมษายน ค.ศ. 2012 แรมโบรได้รับรางวัลด้านกราฟิกและความตลกขบขันที่งานแข่งลูดัมแดร์ ซึ่งฟรีไลฟส์ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและปรับเกมในปีต่อ ๆ ไป ในไม่ช้า แรมโบรก็ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโบรฟอร์ซ และได้ให้บริการฟรีบนเว็บไซต์ฟรีไลฟส์ในปีถัดไป โบรฟอร์ซได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกผ่านสตีมกรีนไลต์ในปี ค.ศ. 2013[3] และมีฉบับสปินออฟในชื่อดิเอ็กซ์เพ็นเดโบร ในปี ค.ศ. 2014[4] หลังจากหนึ่งในสมาชิกของฟรีไลฟส์ได้พบกับผู้จัดจำหน่ายอย่างดีโวลเวอร์ดิจิทัลในมหกรรมอินดีอามาเซที่เบอร์ลิน ดีโวลเวอร์ดิจิทัลก็ได้เซ็นสัญญากับสตูดิโอ และโบรฟอร์ซได้รับการเผยแพร่ในปี ค.ศ. 2015[5]

ปลายปี ค.ศ. 2016 ฟรีไลฟส์ได้ทำเกมตลกอย่างเจนนิเทิลจูสติง ที่พร้อมให้บริการผ่านโปรแกรมสตีมเออลีแอ็คเซส ซึ่งในเกมปาร์ตีที่มีผู้เล่นหลายคนนี้ ผู้เล่นพยายามที่จะย้ายองคชาตที่อ่อนปวกเปียก และแยกออกจากร่าง ไปยังทวารหนักที่แยกออกจากร่าง แม้ว่าเจนนิเทิลจูสติงได้รับการอธิบายว่า "ผิดธรรมดาสำหรับเด็ก" แต่มันก็ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งข้อความเชิงบวกทางเพศไปยังผู้ชมที่อาจไม่ได้รับฟังอย่างอื่น ทางสตูดิโอได้ระบุในบล็อกของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ว่าชายที่เป็นคนตรงเพศ, ผู้รักต่างเพศ ได้สังสรรค์โดยไม่พูดคุยว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรืออวัยวะเพศชายที่สัมผัสกัน และเขียนว่า: "เราได้รับแรงบันดาลใจอย่างมากจากข้อเท็จจริงที่ว่าเจนนิเทิลจูสติงได้ทำให้เรามีสื่อนำในการพูดคุยกันในหมู่พวกเรา"[6] กรีนวูดบอกกับเดอะซันเดย์ไทมส์ว่า "หัวใจสำคัญเกมนี้คือการแสดงความเป็นชาย โดยความพยายามที่จะขัดขวางความคิดที่ฝังแน่นเกี่ยวกับพลังและอำนาจของผู้ชาย" ซึ่งเกมจะไม่ได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์มคอนโซลหลัก ๆ เช่น เอกซ์บอกซ์ หรือเพลย์สเตชัน[2] เมื่อเจนนิเทิลจูสติงถูกแบนจากบริการสตรีมสดของทวิตช์ ไนเจล โลว์รี จากดีโวลเวอร์ดิจิทัลได้ติดต่อสตีมเพื่อดูว่าเกมสามารถถ่ายทอดสดผ่านการแพร่ภาพภายในของแพลตฟอร์มได้หรือไม่ ซึ่งเจนนิเทิลจูสติงได้กลายเป็นเกมแรกที่ออกอากาศผ่านคุณสมบัติการสตรีมสดของสตีม[7]

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 ฟรีไลฟส์ได้เปิดตัวเกมความเป็นจริงเสมือนอย่างกอร์นสำหรับโอคูลัสริฟต์และเอชทีซี ไวฝ์ บนสตีมเออลีแอ็คเซส ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "เครื่องจำลองความเป็นจริงเสมือนกลาดิอาตอร์ ที่มีความรุนแรงแบบน่าหัวเราะ" กอร์นแสดงลักษณะเอนจินการต่อสู้ที่ขับเคลื่อนด้วยฟิสิกส์ และมีเลือดแบบรุนแรงจำนวนมาก ฟรีไลฟส์ระบุว่าพวกเขาใช้บริการเออลีแอ็คเซสเพื่อให้สามารถขยายเกมด้วยคุณสมบัติที่ผู้เล่นต้องการเห็น[8][9]

ความสำเร็จ

[แก้]

ในการให้สัมภาษณ์กับมายเกมมิง กรีนวูดระบุว่าสตูดิโอทำรายได้จากการขายโบรฟอร์ซที่ประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี ค.ศ. 2016[10] ทีมฟรีไลฟส์ทั้งหมดย้ายไปที่ทามารินบนประเทศที่เป็นเกาะมอริเชียสเป็นเวลาสามเดือนในปลายปี ค.ศ. 2016 โดยใช้ผลกำไรจากความสำเร็จของพวกเขากับโบรฟอร์ซ ฟรีไลฟส์ได้ผลิตซีรีส์วิดีโอที่นี่ในชื่อเกมแจมไอแลนด์ ซึ่งพวกเขาได้บันทึกประสบการณ์การพัฒนาวิดีโอเกมบนเกาะพักผ่อนยอดนิยม[11]

ส่วนในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 เจนนิเทิลจูสติงได้เข้ารอบสุดท้ายสำหรับอินดิเพนเดนต์เกมส์เฟสติวัล 2019 ภายใต้หมวดเรื่องเล่าที่เป็นเลิศ[12][13]

เกมที่เผยแพร่

[แก้]
ค.ศ. ชื่อเกม ประเภท แพลตฟอร์ม ผู้จัดจำหน่าย
2014 ดิเอ็กซ์เพ็นเดโบรส์[4] แพลตฟอร์มรันแอนด์กัน แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ดีโวลเวอร์ดิจิทัล
2015 โบรฟอร์ซ ลินุกซ์, แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เพลย์สเตชัน 4, นินเท็นโด สวิตช์
2016 โยจิมบรอล![14] ต่อสู้ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ฮัมเบิลบันเดิล
2018 เจนนิเทิลจูสติง กีฬา แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ดีโวลเวอร์ดิจิทัล
2019 กอร์น บีตเอ็มอัป ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
คริกเกตธรูดิเอจเจส กีฬา ไอโอเอส, ทีวีโอเอส

อ้างอิง

[แก้]
  1. Akabor, Nafisa (12 October 2017). "Meet SA's game changers". Financial Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  2. 2.0 2.1 Jordan, Bobby (23 September 2017). "Game of penises: South Africa's latest online gaming sensation". The Sunday Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  3. Corriea, Alexa Ray (5 July 2013). "Broforce devs talk female heroes, 80s action appeal and cultural sensitivity to games". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  4. 4.0 4.1 López, Jorge (6 August 2014). "Broforce Muesta Su Nueva Expansión, The Expendabros". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2018. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.
  5. Chan, Stephanie (19 April 2018). "The IndieBeat: Why South African game developers are starting their own industry event". Venturebeat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  6. Wales, Matt (18 January 2018). "Penis-based party game Genital Jousting leaves Early Access, gains a story mode". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  7. Conditt, Jessica (2 February 2018). "A game about penises made Steam live streaming a reality". Engadget. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  8. Matulef, Jeffrey (11 July 2017). "BroForce and Genital Jousting dev just released a VR game". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  9. Prescott, Shaun (27 June 2017). "Gorn is a ridiculously violent VR brawler by the Broforce studio". PC Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  10. Vermeulen, Jan (17 May 2016). "Broforce earned SA developer Free Lives over R30 million". MyGaming. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2016. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  11. Alexandra, Heather (26 September 2016). "Indie Game Devs Move Studio To Tropical Island For Three Months". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  12. Staff. "2019 Independent Games Festival reveals this year's finalists!". www.gamasutra.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  13. Couture, Joel. "Road to the IGF: Free Lives' Genital Jousting". www.gamasutra.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  14. LeClair, Kyle (2 December 2016). "December's Humble Monthly Bundle Brings Dragon's Dogma, Mordheim, More". Hardcore Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2018. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]