Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ฟีเนียส พี. เกจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟีเนียส พี. เกจ
Phineas P. Gage
ภาพถ่ายของนายเกจรูปแรกที่ได้รับการยืนยัน (ค.ศ. 2009) อยู่พร้อมกับแท่งเหล็กสำหรับตอก[A]ที่มีคำสลักว่า "เพื่อนคู่ใจตลอดชีวิตที่เหลือของเขา[1]: 339 "
เกิด9 กรกฎาคม ค.ศ. 1823 (พ.ศ. 2366) วันที่ยังไม่แน่นอน
เทศมณฑลกราฟตัน รัฐนิวแฮมป์เชอร์ สหรัฐ[B]
เสียชีวิต21 พฤษภาคม ค.ศ. 1860(1860-05-21) (36 ปี)
ในหรือใกล้ ๆ เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
สาเหตุเสียชีวิตโรคลมชักชนิดต่อเนื่อง[C]
สุสาน
อาชีพ
  • หัวหน้าคนงานสร้างทางรถไฟ
  • ระเบิดหิน
  • ผู้ขับรถม้าโดยสาร
มีชื่อเสียงจากความเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพหลังจากการบาดเจ็บในสมอง
คู่สมรสไม่มี
บุตรไม่มี[2]: 319, 327 

นาย ฟีเนียส พี. เกจ (อังกฤษ: Phineas P. Gage) (ค.ศ. 1823-1860) เป็นหัวหน้าคนงานก่อสร้างทางรถไฟชาวอเมริกัน ผู้ที่รู้จักกันเนื่องจากการรอดชีวิตอย่างไม่น่าเป็นไปได้[D] จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างการระเบิดหิน ที่แท่งเหล็กขนาดใหญ่พุ่งทะลุผ่านกะโหลกศีรษะของเขา ทำลายสมองกลีบหน้าด้านซ้ายโดยมาก และเนื่องจากผลที่เกิดขึ้นเพราะความบาดเจ็บ ต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมตลอดชีวิตอีก 12 ปีที่เหลือของเขา เป็นผลกระทบที่กว้างขวางลึกซึ้งจนกระทั่งว่า เพื่อนของเขา (อย่างน้อยก็เป็นช่วงเวลาหนึ่ง) เห็นว่าเขา "ไม่ใช่นายเกจอีกต่อไป"[1]: 339–40 

โดยรู้จักกันมานานว่า "กรณีชะแลงอเมริกัน" (the American Crowbar Case)[3]: 54 [4] และครั้งหนึ่งได้มีคำอธิบายว่า "มากกว่ากรณีอื่น ๆ ทั้งหมด เป็นกรณีที่สร้างความอัศจรรย์ใจให้ ลดคุณค่าเรื่องการพยากรณ์โรค และแม้แต่ล้มล้างหลักสรีรวิทยา"[5] นายเกจมีอิทธิพลต่อการอภิปรายเรื่องจิตใจและสมองในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในเรื่องของการแบ่งหน้าที่เฉพาะของเขตสมองในซีรีบรัม และอาจจะเป็นกรณีแรกที่บอกเป็นนัยว่า ความเสียหายต่อเขตบางเขตในสมอง อาจมีผลต่อบุคลิกภาพ[2]: บทที่7-9 [4]

นายเกจเป็นอนุสรณ์ที่มีมานานในการเรียนการสอนวิชาประสาทวิทยา จิตวิทยา และหมวดวิชาที่เกี่ยวข้องกับประสาทวิทยาศาสตร์อื่น ๆ และมักจะมีการกล่าวถึงบ่อย ๆ ทั้งในหนังสือและเอกสารการศึกษา เป็นแม้กระทั่งดาราย่อย ๆ ในสื่อ[6] ถึงแม้จะมีชื่อดังอย่างนี้[7] ความจริงที่ยืนยันได้เกี่ยวกับนายเกจว่าเขาเป็นคนเช่นไรก่อนและหลังอุบัติเหตุ ก็มีไม่มาก ดังนั้นจึงทำให้เกิด "การฟิตทฤษฎีที่ต้องการเกือบอะไรก็ได้กับข้อเท็จจริงนิดหน่อยที่มีอยู่"[2]: 290  คือได้มีการอ้างถึงกรณีนายเกจจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เพื่อสนับสนุนทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับสมองที่เข้ากันไม่ได้ งานสำรวจเรื่องที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับนายเกจ รวมทั้งสิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ พบว่า เรื่องราวเหล่านั้นเกือบทั้งหมดบิดเบือนความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของนายเกจจากความจริง คือ ถ้าไม่พูดเกินความจริง ก็จะกล่าวขัดแย้งกันเอง

มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายสองภาพของนายเกจ[8][9] และรายงานการแพทย์เกี่ยวกับภาวะร่างกายและจิตใจในช่วงหลังแห่งชีวิตของเขา ในปี ค.ศ. 2009 และ 2010 หลักฐานใหม่นี้ชี้ว่า ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจที่มากที่สุดของนายเกจ อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น คือว่า ในชีวิตช่วงหลังของเขา เขาสามารถทำกิจการงานต่าง ๆ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ เกินกว่าที่ก่อนหน้านี้สันนิษฐานกันมา ในปี ค.ศ. 2008 นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้เสนอ "สมมุติฐานการฟื้นตัวทางสังคม" ที่แสดงว่า งานเลี้ยงชีพของเขาเป็นคนขับรถม้าโดยสารในประเทศชิลี ได้ให้รูปแบบชีวิตประจำวันแก่เขา ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ทักษะทางสังคมและทักษะอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันได้ใหม่[10]

พื้นเพประวัติ

[แก้]
สายทางรถไฟ Rutland & Burlington Railroad ซึ่งวิ่งผ่านช่องระเบิดหินทางทิศใต้ของเมืองแคเว็นดิช รัฐเวอร์มอนต์ นายเกจประสบอุบัติเหตุเมื่อวางระเบิดที่ช่องนี้ หรือช่องที่คล้ายกันใกล้ ๆ ช่องนี้[E]

นายเกจเป็นบุตรคนแรกในพี่น้อง 5 คนเกิดจากนายเจสซี อีตัน เกจ และนางแฮนนาห์ ทรัสเซล์ล เกจ (ชื่อเดิม สเว็ตแลนด์) ของเทศมณฑลกราฟตัน รัฐนิวแฮมป์เชอร์ สหรัฐ[B] ไม่มีใครรู้เรื่องการเลี้ยงดูและการศึกษาของนายเกจ แม้ว่า เขาน่าจะรู้หนังสืออย่างแน่นอน[2]: 17,41 

นายเกจอาจจะได้ทักษะเกี่ยวกับวัตถุระเบิดในฟาร์มของครอบครัว หรือในเหมืองที่อยู่ใกล้ ๆ[2]: 17-18  และในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุ เขาได้เป็นถึงหัวหน้าคนงานระเบิดหินในงานสร้างทางรถไฟแล้ว นายจ้างของเขามีความเห็นเกี่ยวกับเขา (ดังที่หมอประจำเมืองจอห์น มาร์ติน ฮาร์โลว์ กล่าวถึงในภายหลัง) ว่า "เป็นหัวหน้าคนงานที่มีประสิทธิภาพมีความสามารถมากที่สุดในคนงานทั้งหมด... เป็นนักธุรกิจที่หลักแหลมและฉลาด กระตือรือร้นและอดทนที่สุดในการปฏิบัติการไปตามแผนการทำงานของตน" จนกระทั่งว่า นายเกจให้ทำแท่งเหล็กตอกสั่งทำเฉพาะตน เป็นแท่งเหล็กที่ยาว 1.1 เมตร และมีหน้ากว้าง 3.2 เซนติเมตร เพื่อใช้ในการวางระเบิด

อุบัติเหตุ

[แก้]
เมืองแคเว็นดิช รัฐเวอร์มอนต์ ประมาณ 20 ปีให้หลังจากอุบัติเหตุ (A) เป็นจุด 2 จุดที่อาจจะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ (T) เป็นที่พักของนายเกจ (H) เป็นบ้านและห้องศัลยกรรมของหมอฮาร์โลว์[E]

ในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1848 นายเกจ (อายุ 25 ปี)[B] กำลังอำนวยการระเบิดหินพร้อมกับลูกน้อง เพื่อทำฐานของทางรถไฟ Rutland Railway นอกเมืองแคเว็นดิช รัฐเวอร์มอนต์ ในขั้นตอนเพื่อจะวางระเบิด จะมีการเจาะรูลึกลงไปในส่วนของก้อนหินที่โผล่ออกมาจากพื้น เติมดินระเบิด ใส่ชนวนระเบิด และเติมทรายให้เต็ม แล้วอัดส่วนประกอบเหล่านี้เข้าไปโดยใช้แท่งเหล็กตอก[E] นายเกจกำลังทำงานนี้อยู่ในช่วงประมาณ 16.30 น. เมื่อ (ซึ่งอาจเป็นเพราะลืมใส่ทราย) เหล็กตอกได้จุดประกายไฟที่หินแล้วจึงเกิดการระเบิดขึ้น เหล็กตอกนั้นถูกยิงออกจากหลุมระเบิด และ "ทะลุเข้าไปที่หน้าด้านซ้ายของเขา... ทะลุผ่านด้านหลังของตาซ้าย แล้วทะลุออกที่เหนือศีรษะ"[15]

การอ้างอิงถึงนายเกจในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ว่า "กรณีชะแลงอเมริกัน" (the American Crowbar Case)[3]: 54 [4] สะท้อนถึงคำว่า "ชะแลง" ในยุคสมัยนั้น ที่หมายถึงแท่งเหล็กตรง ๆ คือ เหล็กตอกของเขาไม่ได้มีส่วนงอหรืออุ้งเล็บเหมือนกับชะแลงสมัยปัจจุบัน แต่ว่า มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก "กลมและใช้จนเกือบเรียบลื่น"[11]: 331  หมอฮาร์โลว์ได้กล่าวเกี่ยวกับแท่งเหล็กนี้ไว้ว่า

ปลายที่ทะลุเข้าไปที่แก้มของนายเกจเป็นส่วนแหลม มีระยะเรียวประมาณ 30 เซนติเมตร

ซึ่งเป็นเหตุที่อาจยังให้คนไข้รอดชีวิตมาได้ เหล็กแท่งนี้ไม่เหมือนใคร เพราะทำโดยช่างตีเหล็กตามจินตนาการของเจ้าของ[F]

โดยมีน้ำหนัก 6 กิโลกรัม "แขกผู้ไม่พูดพล่ามทำเพลงมีนิสัยบุกรุกแท่งนี้"[D] พบอยู่ประมาณ 25 เมตรห่างออกไปจากนายเกจ "เปื้อนไปด้วยทั้งเลือดและมันสมอง"[1]: 331 

นายเกจ "กระเด็นหงายหลังไปเพราะแรงระเบิด โดยมีอาการชักกระตุกที่เท้าและมือ แต่สามารถพูดได้ภายใน 2-3 นาที" สามารถเดินไปโดยไม่ต้องช่วยเหลือ และนั่งตัวตรงโดยสารเกวียนลากไปด้วยวัวเป็นระยะทาง 1.2 กิโลเมตรกลับไปที่พักในเมือง[1]: 331  น.พ. เอ็ดวาร์ด เฮ็ช. วิลเลียมส์ มาหาภายใน 30 นาทีหลังเกิดเหตุการณ์ โดยกล่าวไว้ว่า

ผมสังเกตเห็นแผลที่ศีรษะเป็นสิ่งแรกก่อนที่จะลงมาจากรถม้าของผม

เพราะว่า การเต้นของมันสมองเห็นได้ชัดเจนมาก (แผล) บนศีรษะปรากฏเหมือนกับกรวยกลับด้าน เป็นเสมือนกับว่า วัตถุรูปร่างคล้ายลิ่มได้วิ่งผ่านจากด้านล่างขึ้นมาสู่ด้านบน (คือช่องข้างในใหญ่กว่ารูทางออก) ในขณะที่ผมกำลังเช็คแผลนี้อยู่ นายเกจได้เล่าเหตุการณ์ที่เขาได้รับความบาดเจ็บนี้ต่อคนที่อยู่ข้าง ๆ ในตอนนั้น ผมไม่เชื่อคำพูดของนายเกจ เพราะคิดว่า นายเกจนั้นถูกหลอก แต่นายเกจก็ยืนยันว่า แท่งเหล็กนั้นทะลุผ่านศีรษะเขาไปจริง ๆ แล้วนายเกจก็ลุกขึ้นอาเจียน

และแรงอาเจียนก็ดันมันสมองออกมาครึ่งถ้วยชา แล้วตกลงไปที่พื้น[G]

ส่วนหมอฮาร์โลว์รับช่วงต่อจากหมอวิลเลียมส์ที่ช่วง 18 น. และกล่าวว่า

คนไข้แสดงความอดทนต่อความเจ็บปวดของเขาด้วยความเข็มแข็งกล้าหาญอย่างที่สุด

เขาสามารถจำผมได้ทันที และกล่าวว่า เขาหวังว่า เขาไม่ได้รับความบาดเจ็บอะไรมาก เขามีสติสมบูรณ์ดี แต่ว่าเริ่มเหนื่อยล้าเพราะเลือดไหลออกมาก

ตัวของเขา พร้อมกับเตียงที่เขานอนอยู่ ล้วนเต็มไปด้วยเลือด[22]

การรักษาและการพักฟื้น

[แก้]
รายงานข่าวชิ้นแรก ๆ ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับนายเกจ จากหนังสือพิมพ์บอสตันโพสต์วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1848

ด้วยความช่วยเหลือจากหมอวิลเลียมส์ หมอฮาร์โลว์ได้โกนหนังศีรษะที่บริเวณแผลทางออกของเหล็กตอก และได้เอาเลือดที่จับเป็นก้อน ชิ้นกระดูกเล็ก ๆ และมันสมองประมาณ 1 เอานซ์ (28.35 กรัม) ออก หลังจากตรวจหาสิ่งแปลกปลอมและประกบคืนกระดูกกะโหลกขนาดใหญ่ที่หลุดออกมา 2 ชิ้น หมอฮาร์โลว์ก็ปิดแผลด้วยแถบผ้าชุบยางไม้ (ที่ทำหน้าที่เป็นกาว) [ต้องการอ้างอิง] ทิ้งบางส่วนให้เปิดอยู่เพื่อเป็นที่ระบาย ส่วนทางเข้าของแผลที่แก้มก็พันผ้าไว้อย่างหลวม ๆ เท่านั้นโดยเหตุผลเดียวกัน จากนั้น ก็ปิดด้วยผ้าอัดแผลที่เปียก ตามด้วยหมวกนอน (nightcap) ตามด้วยผ้าพันแผลเพื่อรัดเครื่องปิดแผลเหล่านั้นไว้ นอกจากนั้นแล้ว หมอฮาร์โลว์ก็ยังทำแผลที่มือและแขน (ซึ่งเหมือนกับที่ใบหน้า "[มีแผล] ไหม้ในระดับลึก") และสั่งให้ตั้งศีรษะไว้ในที่สูง ในช่วงเย็นวันนั้นหลังจากนั้น หมอฮาร์โลว์ได้บันทึกไว้ว่า "มีสติสัมปชัญญะดี บอกว่า 'ไม่ต้องการจะให้เพื่อนมาเยี่ยม เพราะจะกลับไปทำงานอีกใน 2-3 วัน'"[11]: 390-1 [1]: 333 [2]: 31-2,60-1 

การฟื้นสภาพของนายเกจในช่วงต่อมาใช้เวลานานและมีความยากลำบาก แรงกดที่สมอง[H] ทำให้เขาอยู่ในอาการกึ่งโคม่าเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน โดยคุณหมอบันทึกไว้ว่า "พูดน้อยยกเว้นถ้าคนอื่นมาพูดด้วย และแม้กระนั้นก็ตอบรับด้วยคำที่มีพยางค์เดียวเท่านั้น" และโดยวันที่ 27 "เพื่อนและผู้ดูแลคิดว่า เขาจะตายภายในไม่กี่ชั่วโมงนี้ ได้ตระเตรียมโลงศพและเสื้อผ้า (สำหรับคนตาย) เรียบร้อยแล้ว" โดยรับแรงกดดันจากสภาพหมดอาลัยตายอยากเช่นนี้ หมอฮาร์โลว์ได้ "ตัดเอา fungi ที่งอกออกมาจากสมองส่วนบนออก โดยทำช่องแผลนั้นให้เต็ม และทาสารกัดที่ fungi เหล่านั้นอย่างไม่จำกัด ผมเปิดหนังหุ้ม (integuments) ระหว่างแผลทางออกกับบริเวณเหนือจมูกออกด้วยมีดผ่าตัด และทันใดนั้นเอง ก็มีหนองเสียไหลออกมาประมาณ 8 เอานซ์ (227 กรัม) พร้อมกับเลือด ซึ่งมีกลิ่นเหม็นอย่างสุด ๆ"[ต้องการอ้างอิง] (นักเขียนบาร์กเกอร์กล่าวว่า "นายเกจโชคดีที่เจอหมอฮาร์โลว์ มีหมอน้อยคนในปี ค.ศ. 1848 ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับฝีหนองในสมอง ที่หมอฮาร์โลว์ได้จาก[วิทยาลัยการแพทย์เจ็ฟเฟอร์สัน] ซึ่งเป็นทักษะที่น่าจะช่วยชีวิตของนายเกจไว้")[4]: 679-80 [I]

ในวันที่ 7 ตุลาคม นายเกจ "สามารถลุกขึ้นได้ด้วยตนเอง และเดินไปก้าวหนึ่งไปนั่งที่เก้าอี้" อีกเดือนหนึ่งต่อมา เขาสามารถเดิน "ขึ้นลงบันได ไปในที่ต่าง ๆ ในบ้าน และเดินไปที่ระเบียง" และในช่วงเวลาที่หมอฮาร์โลว์ไม่อยู่เป็นเวลาอาทิตย์หนึ่ง นายเกจ "เดินไปตามถนนทุก ๆ วันยกเว้นวันอาทิตย์" โดยมีความปรารถนาจะกลับไปหาครอบครัวของเขาในรัฐนิวแฮมป์เชอร์ที่ "เพื่อนของเขาไม่สามารถช่วยได้.. (และนายเกจ) เริ่มเกิดอาการเท้าเปียก และรู้สึกหนาว" หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเป็นไข้ แต่ภายในกลางเดือนพฤศจิกายน เขาก็ได้ "รู้สึกดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน... สามารถเดินไปมาในบ้านได้อีก บอกว่าเขาไม่รู้สึกเจ็บปวดในศีรษะ" การพยากรณ์โรคของคุณหมอในช่วงนี้คือ นายเกจ "ปรากฏเหมือนกับจะฟื้นตัวดีขึ้น ถ้าสามารถควบคุมเขาได้"[11]: 392-3 

ชีวิตต่อ ๆ มาและการเดินทาง

[แก้]

อาการบาดเจ็บ

[แก้]

ภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน นายเกจแข็งแรงพอที่จะกลับไปยังบ้านบิดามารดาของเขาที่เมืองเลบานอน รัฐนิวแฮมป์เชอร์ เป็นที่ที่ภายในปลายเดือนธันวาคม เขาสามารถ "ขี่ม้าไปในที่ต่าง ๆ ได้ สุขภาพดีขึ้นทั้งทางใจทั้งทางกาย"[23] ในเดือนเมษายน ค.ศ.1849 เขากลับมาที่เมืองแคเว็นดิชอีกและมาเยี่ยมคุณหมอฮาร์โลว์ ซึ่งตั้งข้อสังเกตในตอนนั้นถึงความตาบอดและอาการหนังตาตก (ptosis) ที่ตาด้านซ้าย แผลเป็นขนาดใหญ่ที่หน้าผาก และ

ที่เหนือศีรษะ ...

มีรอยบุ๋มลึก ขนาดสองนิ้วคูณหนึ่งนิ้วครึ่ง (5 ซ.ม. x 4 ซ.ม) ซึ่งสามารถรู้สึกถึงการเต้นของสมองภายใต้แผลได้และใบหน้าซีกซ้ายเป็นอัมพาตบางส่วน สุขภาพทางกายของเขาดี และน่าจะกล่าวได้ว่า เขาได้หายแล้ว เขาไม่มีความรู้สึกเจ็บที่ศีรษะ แต่กล่าวว่า มันมีความรู้สึกแปลก ๆ ที่เขาไม่สามารถจะอธิบายได้[1]: 338-9 

เขตนิวอิงแลนด์

[แก้]

หมอฮาร์โลว์กล่าวว่า เพราะนายเกจไม่สามารถจะกลับไปทำงานสร้างทางรถไฟได้[1]: 339  จึงไปแสดงตัวที่พิพิธภัณฑ์ Barnum's American Museum[J] ในนครนิวยอร์กช่วงระยะเวลาหนึ่ง (เข้าใจว่า คนที่อยากรู้อยากเห็นพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อจะดูนายเกจและอุปกรณ์ที่ทำให้เขาบาดเจ็บ)[7] แต่หลักฐานที่ปรากฏขึ้นเร็ว ๆ นี้[ต้องการอ้างอิง] กลับสนับสนุนคำพูดของหมอฮาร์โลว์ว่า นายเกจได้แสดงตนในที่สาธารณะใน "เมืองใหญ่ต่าง ๆ ในเขตนิวอิงแลนด์" (ไม่ใช่ที่นครนิวยอร์ก) ต่อจากนั้น เขาได้ทำงานที่คอกม้า (ที่รับและดูแลม้าให้กับลูกค้า) ในเมืองแฮนโนเวอร์ รัฐนิวแฮมป์เชอร์[1]: 340 

ประเทศชิลีและรัฐแคลิฟอร์เนีย

[แก้]

ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1852 นายเกจรับงานในประเทศชิลีทำงานเป็นคนขับรถม้าระยะไกล คือ "ดูแลม้า และบ่อยครั้งขับรถม้ามีของหนักที่ลากโดยม้า 6 ตัว" ในเส้นทาง "แวลพาไรโซ-ซานเตียโก" แต่หลังจากที่สุขภาพของเขาเริ่มแย่ลงราวปี ค.ศ. 1859[K] เมื่อนายเกจจากประเทศชิลีไปสู่เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐ เขาได้รักษาตัวภายใต้การดูแลจากมารดาและน้องสาวของเขา (ผู้ที่ได้ย้ายถิ่นไปจากรัฐนิวแฮมป์เชอร์ในช่วงเวลาที่นายเกจเดินทางไปประเทศชิลี) ในช่วงเวลา 2-3 เดือนต่อมา เขาได้ทำงานในฟาร์มในเทศมณฑลซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย[2]: 103-4 [1]: 340-1 

การเดินทางและการเสียชีวิตต่อมา

[แก้]
กะโหลกศีรษะของนายเกจ (เลื่อยออกเพื่อให้เห็นด้านใน) และแท่งเหล็ก เป็นรูปถ่ายที่ทำเพื่อคุณหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1868

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1860[K] นายเกจเริ่มมีอาการชักกระตุกที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ [ต้องการอ้างอิง] เขาเสียชีวิตเพราะเหตุโรคลมชักชนิดต่อเนื่อง[C] ในหรือใกล้เมืองซานฟรานซิสโกในวันที่ 21 พฤษภาคม หลังจากอุบัติเหตุเกือบ 12 ปี และได้ฝังศพไว้ที่สุสาน Lone Mountain Cemetery ในซานฟรานซิสโก[K] (ถึงแม้ว่า ที่อ้างอิงบางแห่ง[25][26][27]จะกล่าวว่า มีการฝังแท่งเหล็กของเขาไว้ด้วยกัน แต่ยังไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันเรื่องนี้)[L]

หัวกะโหลกและแท่งเหล็ก

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1866 หมอฮาร์โลว์ (ผู้ได้ "ขาดการติดต่ออย่างสิ้นเชิงกับนายเกจ และเกือบสิ้นหวังที่จะได้ยินข่าวจากนายเกจอีก") ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ได้ทราบถึงการเสียชีวิตของนายเกจในรัฐแคลิฟอร์เนีย และได้เขียนจดหมายไปหาครอบครัวของเขา ตามคำขอร้องของหมอฮาร์โลว์ ครอบครัวของเขาได้เปิดหลุมศพของนายเกจเป็นระยะเวลาพอที่จะเอากะโหลกศีรษะออกมา แล้วครอบครัวของเขาก็ได้ส่งกะโหลกด้วยตนเองไปให้กับหมอฮาร์โลว์ผู้อยู่ในเขตนิวอิงแลนด์ (ซึ่งอยู่ทิศตรงข้ามกันของทวีป)

ปีหนึ่งหลังจากประสบอุบัติเหตุ นายเกจได้มอบแท่งเหล็กของเขาให้กับพิพิธภัณฑ์กายวิภาควอร์เร็น (Warren Anatomical Museum) ของโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ต่อมาได้เอาคืนมา[13]: 22n [21][2]: 46-7  และได้ทำสิ่งที่ตัวเขาเองเรียกว่า "แท่งเหล็กของผม" ให้เป็น "เพื่อนคู่ใจตลอดชีวิตที่เหลือของเขา"[1]: 339  ซึ่งในตอนนี้ครอบครัวก็ได้ส่งไปให้หมอฮาร์โลว์ด้วย หลังจากที่ได้ศึกษาวัตถุเหล่านั้นเพื่อเขียนบทความย้อนหลังประกาศชัยชนะ[D]เกี่ยวกับกรณีนายเกจ[1] หมอฮาร์โลว์ก็ได้คืนแท่งเหล็กนั้น คราวนี้พร้อมกับกะโหลกศีรษะของนายเกจด้วย ไปให้กับพิพิธภัณฑ์กายวิภาควอร์เร็น และได้อยู่ที่นั่นจนมาถึงทุกวันนี้[17]: v [29] แท่งเหล็กนั้นมีอักษรสลักดังต่อไปนี้ (แม้ว่าวันที่ของวันอุบัติเหตุนั้นจะผิดไปวันหนึ่ง และชื่อที่สะกดว่า Phinehas ไม่ใช่เป็นการสะกดชื่อที่ตัวนายเกจเองใช้)[10]: 839fig. :

This is the bar that was shot through the head of Mr Phinehas[sic] P. Gage at Cavendish, Vermont, Sept. 14,[sic] 1848. He fully recovered from the injury & deposited this bar in the Museum of the Medical College of Harvard University. Phinehas P. Gage Lebanon Grafton Cy N–H Jan 6 1850.


นี่เป็นแท่งเหล็กที่ยิงทะลุศีรษะของนายฟีเนียส พี. เกจ ที่เมืองแคเว็นดิช รัฐเวอร์มอนต์ ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1848 เขาได้ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์จากการบาดเจ็บ (ที่เกิดจากเหตุการณ์) นั้น และได้ฝากแท่งเหล็กนี้ไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (ลงชื่อ) ฟีเนียส พี. เกจ เมืองเลบานอน เทศมณฑลกราฟตัน รัฐนิวแฮมป์เชอร์ 6 มกราคม ค.ศ. 1850[30]

หลังจากนั้นอีกนาน ก็มีการย้ายซากที่เหลือที่ปราศจากศีรษะของนายเกจไปยังสุสาน Cypress Lawn Memorial Park โดยเป็นส่วนของการย้ายสุสานจากเมืองซานฟรานซิสโกไปยังที่ฝังศพต่าง ๆ นอกเมือง[2]: 119-20 

ความเสียหายในสมองและความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

[แก้]
ศ. น.พ. เฮ็นรี่ บิกเกโลว์กล่าวในปี ค.ศ. 1854 ว่า "จุดเด่นของเรื่องนี้ก็คือความไม่น่าจะเป็นไปได้" แต่ประสบการณ์การศึกษาของศาสตราจารย์ (ว่าเขตสมองต่าง ๆ ไม่มีกิจเฉพาะตน) ทำให้เขาโน้มเอียงไปเพื่อจำกัดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของนายเกจ[ต้องการอ้างอิง]
น.พ. จอห์น มาร์ติน ฮาร์โลว์ ผู้ได้ทำการรักษานายเกจหลังจากที่ "แท่งเหล็กทะลุสมองของเขา"[31] และผู้ได้กะโหลกศีรษะภายหลังการสิ้นชีวิตของเขามาเพื่อการศึกษา ความสนใจของคุณหมอในหลักวิชา phrenology[M] ทำให้เขาสามารถยอมรับได้ว่า อาการบาดเจ็บของนายเกจอาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม[4]: abstr 
หมอฮาร์โลว์เขียนบทความแสดงกะโหลกศีรษะ แท่งแหล็ก และชีวประวัติช่วงหลังของชีวิตของนายเกจที่นำเสนอต่อหน้าสมาคมการแพทย์แมสซาชูเซตส์ในปี ค.ศ. 1868 "ผมมีความยินดีที่จะนำเสนอ กรณีที่หาเรื่องอื่นเปรียบมิได้ในประวัติการณ์ศัลยศาสตร์"[1]

ขอบเขตความเสียหายในสมอง

[แก้]

ข้อถกเถียงว่า ได้เกิดความเสียหายที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บและการติดเชื้อต่อ ๆ มา ที่สมองกลีบหน้าทั้งสองข้าง หรือเพียงที่ซีกซ้ายซีกเดียว ก็เกิดขึ้นแทบจะทันทีหลังจากอุบัติเหตุ[11]: 389  คณะของ เฮ็ช. ดามาซีโอ[25] ในปี ค.ศ. 1994 สรุปว่า สมองกลีบหน้าทั้งสองซีกเกิดความเสียหาย โดยมีการจำลองสร้างแบบไม่ใช่ตามกะโหลกศีรษะของนายเกจ แต่ตามกะโหลกที่ "คล้ายของนายเกจ"[10]: 829-30 

ในปี ค.ศ. 2004 ราชิวและคณะใช้การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT scan) ของกะโหลกจริง ๆ ของนายเกจ[32][33]เพื่อจะยืนยันข้อสรุปของหมอฮาร์โลว์ (โดยที่คุณหมอใช้นิ้วตรวจแผลของนายเกจ)[28]: 9  ว่าสมองซีกขวาไม่ได้รับความเสียหาย ราชิวและคณะเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับรอยแตกเป็นเส้นเท่าผม ที่วิ่งจากด้านหลังของแผลทางออกลงไปยังด้านหน้าของกะโหลกของนายเกจ และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับรูที่เพดานปากที่เชื่อมกับฐานของกระดูกหุ้มสมอง (ที่เกิดขึ้นเพราะแท่งเหล็กวิ่งผ่าน) ซึ่งมีด้านกว้างประมาณครึ่งหนึ่งของด้านกว้างแท่งเหล็ก โดยตั้งสมมุติฐานว่า กะโหลกศีรษะได้พับเปิดขึ้น (เหมือนบานพับ) เมื่อแท่งเหล็กวิ่งทะลุกระดูกหุ้มสมอง และหลังจากนั้นก็ได้พับปิดลงเนื่องจากความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่ออ่อน หลังจากที่แท่งเหล็กออกไปทางเหนือศีรษะแล้ว[33][32][10]: 830 

คณะของแวน ฮอร์น (ค.ศ. 2012) เห็นด้วยว่า สมองซีกขวาไม่มีความเสียหาย และทำการกะเกณฑ์อย่างละเอียดถึงศูนย์กลางและขอบเขตของความเสียหายต่อ white matter (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่บอกเป็นนัยว่า ความเสียหายส่วนนี้มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของนายเกจ มากกว่าความเสียหายต่อเปลือกสมอง (คือส่วน gray matter)[N]

รายงานปฐมภูมิเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

[แก้]

นายเกจได้แสดงความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหลังจากได้รับบาดเจ็บอย่างไม่ต้องสงสัย[28]: 12-15  แต่ว่า ลักษณะ ขอบเขต และระยะเวลา ของความเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ชัดเจนอย่างยิ่ง มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือน้อยมากว่านายเกจเป็นคนอย่างไร (ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังอุบัติเหตุ) [ต้องการอ้างอิง] ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจที่มีกล่าวไว้หลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว เป็นสิ่งที่น่าทึ่งใจมากกว่าที่กล่าวไว้ตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ และบทความ 2-3 บทความที่มีการกล่าวพรรณนาที่ดูว่าน่าจะเป็นไปได้ ก็ไม่ได้ระบุช่วงเวลาหลังจากอุบัติเหตุที่พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

รายงานของหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1848

[แก้]

ในรายงานปี ค.ศ. 1848 ในขณะที่นายเกจกำลังใกล้จะฟื้นตัวเต็มที่ทางด้านร่างกาย หมอฮาร์โลว์กล่าวไว้โดยเป็นนัยเท่านั้นเกี่ยวกับอาการทางจิต คือ "สภาวะที่ปรากฏทางด้านจิตใจของคนไข้ ผมจะขอทิ้งไว้ก่อนในตอนนี้เพื่อจะกล่าวต่อไปในบทสื่อสารในอนาคต แต่ผมคิดว่า กรณีนี้...น่าสนใจอย่างยิ่งต่อนักกายวิภาคที่มีความคิดก้าวหน้า และนักปรัชญาผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย"[O] และหลังจากที่ได้สังเกตการณ์เกี่ยวกับนายเกจเป็นเวลาหลายอาทิตย์ในปลายปี ค.ศ. 1849 ศ. ศัลยศาสตร์ เฮ็นรี่ บิกเกโลว์ ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (โดยยึดหลักประสบการณ์การศึกษาของเขาที่ต่อต้านไอเดียเกี่ยวกับการทำงานเฉพาะอย่างในเขตต่าง ๆ ของสมอง) [ต้องการอ้างอิง] กล่าวว่า นายเกจ "ได้กลับคืนสู่สภาพปกติทั้งทางกายและทางใจ" เหลือเพียงแต่ "inconsiderable disturbance of function (ความผิดปกติเล็กน้อยทางพฤติกรรมบางอย่าง)"[13]: 13-14 

รายงานของหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1868

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1868 (หลังจากได้กะโหลกศีรษะ แท่งเหล็ก และชีวประวัติเบื้องปลายของนายเกจมา) หมอฮาร์โลว์ได้ส่ง "บทสื่อสารในอนาคต" ที่เขาได้สัญญาไว้เมื่อ 20 ปีก่อน แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของนายเกจ ที่ปรากฏในการนำเสนอกรณีนี้ในยุคปัจจุบันโดยมาก (แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบที่พูดเกินเลยไปหรือบิดเบืยนจากความจริง ดูหัวข้อ ความเปลี่ยนแปลงทางใจที่บิดเบียนไปจากความจริง ข้างหน้า)

หมอฮาร์โลว์พรรณนาถึงนายเกจก่อนอุบัติเหตุว่า ขยัน มีความรับผิดชอบ และเป็น "นายคนโปรด" ของลูกน้อง โดยนายจ้างของเขามีความเห็นเกี่ยวกับเขาว่า "เป็นหัวหน้าคนงานที่มีประสิทธิภาพมีความสามารถมากที่สุดในคนงานทั้งหมด" แต่นายจ้างชุดเดียวกันนั้นแหละ หลังจากเกิดอุบัติเหตุ "เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจมากเสียจนไม่สามารถให้ตำแหน่งเดิมคืนกับเขาได้" คือ

จะกล่าวก็คือ ความสมดุลกันระหว่างสติปัญญาและสัญชาตญาณสัตว์ ดูเหมือนจะถูกทำลายไป

เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ปราศจากความเคารพยำเกรง บางครั้งกล่าวคำที่หยาบคายที่สุด (ซึ่งก่อนนี้ไม่ได้เป็นเช่นนี้) ไม่มีความเกรงใจต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่มีความอดทนต่อกฏระเบียบและคำแนะนำถ้าขัดแย้งกับความต้องการของเขา บางครั้งดื้อรั้นอย่างสุด ๆ แต่ก็เอาแน่อะไรไม่ได้ เปลี่ยนใจไปเปลี่ยนใจมา วางแผนในอนาคตไว้อย่างมากมาย ซึ่งยังวางไม่ทันเสร็จก็ทิ้งไปเสียก่อนเพื่อจะวางแผนอื่นที่ดูเหมือนจะทำได้ง่ายกว่า มีสมรรถภาพทางปัญญาและมีสภาวะคล้ายกับเด็ก เขามีร่างกายของชายที่แข็งแรงแต่มีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนกับสัตว์ ก่อนประสบการบาดเจ็บ แม้ว่าเขาจะไม่ได้เรียนหนังสือ แต่เขาก็มีจิตใจที่สมดุล ที่คนอื่นที่รู้จักเขามองเขาว่า เป็นนักธุรกิจที่หลักแหลมและฉลาด กระตือรือร้นและอดทนที่สุดในการปฏิบัติการไปตามแผนการทำงานของตน ดังนั้นจากมุมมองนี้ จิตใจของเขาได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จนกระทั่งว่า เพื่อนและคนคุ้นเคยของเขากล่าวว่า "ไม่ใช่นายเกจอีกต่อไป"[1]: 339–40 

คำพรรณนาที่ได้รับการอ้างอิงถึงบ่อย ๆ นี้[36]: 125  ดูเหมือนจะมีข้อมูลมาจากบันทึกของหมอฮาร์โลว์เอง ที่เขียนไว้ไม่นานหลังจากอุบัติเหตุ[2]: 90,375  แต่พฤติกรรมอื่นที่หมอฮาร์โลว์กล่าวไว้[2]: 117-8 [1]: 340,345  ดูเหมือนจะใช้ข้อมูลจากการติดต่อกันในภายหลังกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ของนายเกจ[ต้องการอ้างอิง] และมันยากที่จะจับคู่พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ (ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากมายที่ส่อถึงความเสียหายระดับต่าง ๆ ของการทำงานในสมอง)[P] กับช่วงชีวิตต่าง ๆ ของนายเกจหลังอุบัติเหตุ คือจับคู่ว่า พฤติกรรมไหนเกิดขึ้นเมื่อไร[2]: 90-5  นี้ทำให้ยากที่จะสร้างประวัติว่า พฤติกรรมของนายเกจแปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลาอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในฐานที่มีการชี้บอกว่า พฤติกรรมในช่วงท้ายชีวิตของเขา แตกต่างกันอย่างมากจากพฤติกรรม (ที่หมอฮาร์โลว์กล่าวไว้ข้างบน) ทันทีในช่วงหลังอุบัติเหตุ[28]: 6-9 

การฟื้นตัวทางสังคม

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2008 มีการค้นพบ (1) รายงานที่ระบุว่านายเกจไม่ปรากฏความเสียหายด้านจิตใจ ในช่วงปีสุดท้ายของเขาในประเทศชิลี (จากแพทย์คนหนึ่งที่นั่นที่รู้จักเขา "ดี") และต่อจากนั้น (2) บทความหนึ่งที่อาจจะพรรณนาถึงกิจกรรมประจำวันเกี่ยวกับงานขับรถม้าของเขา กับ (3) บทโฆษณาของการโชว์ตัวในที่สาธารณะที่ไม่มีใครเคยรู้กันมาก่อน หลักฐานใหม่เหล่านี้บอกเป็นนัยว่า นายเกจที่มีปัญหาอย่างรุนแรงกับการเข้ากับสังคมและการงานที่หมอฮาร์โลว์ได้พรรณนาไว้ มีอยู่แค่ชั่วคราวหลังจากอุบัติเหตุเท่านั้น คือ นายเกจในที่สุดก็สามารถ "หาวิธีดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้" ทั้ง ๆ ที่ประสบความบาดเจ็บนั้น[38]: 75  และในชีวิตภายหลัง มีสมรรถภาพในการทำกิจต่าง ๆ ได้ สามารถเข้าสังคมได้ ดีกว่าที่เคยคิดกันมาก่อน[10]: 831 

นักจิตวิทยามัลคอล์ม แม็คมิลแลนตั้งสมมุติฐานว่า ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้แสดงถึงการฟื้นตัวทางสังคมของนายเกจในช่วงเวลาสืบ ๆ มา โดยอ้างอิงถึงคนไข้อื่นที่มีลักษณะอาการบาดเจ็บที่คล้ายคลึงกัน ที่ "มีบุคคลบางคนหรืออะไรบางอย่างที่ให้โครงสร้างกฏเกณฑ์กับชีวิตของพวกเขา พอที่จะให้สามารถเรียนรู้ใหม่ซึ่งทักษะทางสังคมและทักษะส่วนตัวในชีวิตประจำวัน"[10] ซึ่งในกรณีของนายเกจ ก็คืองานที่มีกฎระเบียบสูงในประเทศชิลี การรอดชีวิตและการฟื้นตัวของนายเกจ แสดงทฤษฎีการฟื้นตัวอย่างหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อการพยาบาลรักษาความเสียหายของสมองกลีบหน้าในปัจจุบัน ในการรักษาปัจจุบัน การตั้งโครงสร้างกฎระเบียบให้กับการทำกิจต่าง ๆ ของคนไข้ ยกตัวอย่างเช่น ให้ (คนไข้) จินตนาการเห็นรายการที่เขียนเอาไว้ ได้รับพิจารณาว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผจญกับความเสียหายของสมองกลีบหน้า เพราะว่า งานของนายเกจที่เป็นคนขับรถม้า ได้ให้โครงสร้างกับชีวิตของเขาซึ่งช่วยในการฟื้นตัว[39] แม็คมิลแลนด์ระบุว่า ถ้าเป็นอย่างนี้จริง ๆ นอกจากจะมีผลต่อทฤษฏีต่าง ๆ แล้ว นี่ "จะเพิ่มพูนหลักฐานที่มีอยู่ว่า การฟื้นสภาพสามารถเป็นไปได้แม้ในกรณีที่ยาก ที่ต้องใช้เวลานาน"[10]: 831  แม็คมิลแลนด์ตั้งประเด็นต่อไปอีกว่า ถ้านายเกจสามารถมีอาการดีขึ้นอย่างนี้เองโดยไม่ได้อาศัยความช่วยเหลือทางการแพทย์ "แล้วอะไรล่ะ จะเป็นตัวจำกัด (ความฟื้นตัวที่เกิดจาก) โปรแกรมการฟื้นฟูสภาพที่ทำอย่างเต็มรูปแบบ (ทางการแพทย์)"[Q]

ความเปลี่ยนแปลงทางใจที่บิดเบียนไปจากความจริง

[แก้]
A moral man, Phineas Gage

คนมีศีลธรรม นายฟีเนียส เกจ
Tamping powder down holes for his wage
ตอกดินระเบิดลงไปในหลุมเพื่อเลี้ยงชีวิต
Blew his special-made probe
ที่ยิงเครื่องมือที่สั่งทำของเขา
Through his left frontal lobe
ทะลุผ่านสมองกลีบหน้าด้านซ้ายของเขา
Now he drinks, swears, and flies in a rage.

มาบัดนี้เขาเป็นคนขี้เมา กล่าวคำหยาบคาย และเป็นคนช่างโกรธ

-- นิรนาม[2]: 307 

นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้ทำการวิเคราะห์บทความต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเรื่องนายเกจ ทั้งที่เป็นบทความวิทยาศาสตร์และบทความนิยม[6] แล้วพบว่า เรื่องราวเหล่านั้นบิดเบือนและกล่าวเกินเลยถึงการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของนายเกจ ไม่ตรงกับคำที่บุคคลที่มีการติดต่อกับนายเกจได้พรรณนาไว้[ต้องการอ้างอิง] นักเขียนบาร์กเกอร์กล่าวไว้ว่า[4] "ยิ่งวันเวลาล่วงเลยไป กรณี (ของนายเกจ) ก็ยิ่งมีชีวิตเป็นของตนเอง เพิ่มพูนตำนานต่าง ๆ โดยที่ไม่มีหลักฐานความจริงอะไร" และแม้ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ Zbigniew Kotowicz ได้เขียนไว้ว่า "คนที่ให้ข้อคิดเห็น (เกี่ยวกับนายเกจ) โดยมาก ยังอาศัยคำเล่าลือและเรื่องที่คนอื่นกล่าวไว้เกี่ยวกับนายเกจ ซึ่งก็คือ หลังจากอุบัติเหตุ นายเกจได้กลายเป็น psychopath (คนอันธพาลมีความผิดปกติทางจิต)[R]..."[36]

ลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนายเกจหลังอุบัติเหตุ มักจะไม่ได้มีหลักฐานจาก หรือบางครั้งขัดแย้งกับ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ รวมทั้ง การทำทารุณกรรมกับภรรยาและลูก ๆ (ซึ่งนายเกจไม่มีทั้งสองอย่าง), พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม, "ความไม่สามารถที่จะคำนึงถึงอนาคตได้โดยประการทั้งปวง", "มักโม้อวดแผลของเขา", ความไม่สามารถหรือการปฏิเสธที่จะรักษางาน (เลี้ยงชีวิต) ไว้, รวมทั้ง ขึ้เมา ขี้โม้ โกหก เล่นการพนัน ชอบชกต่อย หาเรื่องผู้อื่น ขี้ขโมย และมีพฤติกรรม "เหมือนกับไอ้คนโง่เง่า" นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนแสดงให้เห็นว่า ไม่มีพฤติกรรมอะไร ๆ เลยในพฤติกรรมเหล่านี้ ที่มีการกล่าวถึงโดยบุคคลที่ได้พบเห็นนายเกจ หรือแม้แต่โดยครอบครัวของนายเกจเอง[ต้องการอ้างอิง] ดังที่ นักประวัติศาสตร์ Kotowicz ได้เขียนไว้ว่า "หมอฮาร์โลว์ไม่ได้แจ้งเหตุอะไร ๆ เลยที่นายเกจควรที่จะต้องอับอาย"[36]: 122–3 

การใช้ ใช้ผิด และไม่ใช้ เรื่องนายเกจกับทฤษฎีต่าง ๆ

[แก้]
นัก "วิชาการ" เกี่ยวกับ Phrenology[M]ยืนยันว่า ความพินาศของอวัยวะแห่งความเคารพ (veneration) และความเมตตากรุณา (benevolence) [อยู่ที่ด้านบนข้างขวาของรูป] เป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม
แบบจำลองใช้สีเทียมที่แสดงวิถีประสาทในเปลือกสมองของนายเกจ ที่ได้รับความเสียหาย ตามคณะของแวน ฮอร์น[34]

แม้ว่า นายเกจจะได้รับการพิจารณาว่า เป็นกรณีดัชนีของความเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพเนื่องจากความเสียหายในสมองกลีบหน้า[4][41][42][27] คุณค่าทางวิทยาศาสตร์ของกรณีนี้ไม่สมบูรณ์ เพราะขอบเขตความเสียหายในสมองของเขาไม่มีความแน่นอน[42] และเพราะการไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเขา[2]: 290  แทนที่คุณค่าเช่นนั้น นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้เขียนไว้ว่า "เรื่องของนายเกจเป็นเรื่องที่น่าทรงจำไว้ เพราะว่า เป็นเรื่องที่แสดงถึงความง่ายดายในการเปลี่ยนข้อเท็จจริงที่มีเพียงเล็กน้อย ไปเป็นนิทานปรัมปราทางวิทยาศาสตร์และตำนานนิยมได้" หลักฐานที่มีอยู่น้อยนิดทำให้เกิด "การฟิตทฤษฎีที่ต้องการเกือบอะไรก็ได้กับข้อเท็จจริงนิดหน่อยที่มีอยู่"[2]: 290  ความเป็นห่วงเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877 แล้ว เมื่อนักประสาทวิทยาชาวอังกฤษ น.พ. เดวิด เฟอร์ริเออร์ (โดยเขียนไปหา ศ. น.พ. เฮ็นรี่ พิกเกอริง บาวดิช ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดปรารถนาที่จะ "ทำกรณีนี้ให้ลงเอยอย่างชัดเจน") กล่าวบ่นว่า

เมื่อตรวจสอบรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคและอาการบาดเจ็บทางสมอง

ผมล่ะอัศจรรย์ใจในความไม่ละเอียดและความบิดเบือนจากความจริงที่มาจากบุคคล

ที่มีทฤษฎีโปรดที่จะสนับสนุน (ทำให้) ข้อเท็จจริงนั้นเสียหายไปอย่างน่าเสียดาย...[43]

ในปี ค.ศ. 1995 ศ. น.พ. (ประสาทวิทยา) โอลิเวอร์ แซ็กซ์ กล่าวถึง "การตีความหมายและการตีความหมายผิด ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1848 จนถึงปัจจุบัน" เกี่ยวกับเรื่องราวของนายเกจ[44]

ด้วยเหตุนี้ สำหรับข้อถกเถียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ว่า "กิจหน้าที่ทางใจต่าง ๆ นั้น มีเขตจำเพาะอยู่ในเปลือกสมองหรือไม่" ทั้งสองพวกต่างก็ใช้เรื่องของนายเกจมาสนับสนุนทฤษฎีของตน[4][2]: ch9  ยกตัวอย่างเช่น ไม่นานหลังจาก Eugene Dupuy[45]ได้เขียนว่า นายเกจพิสูจน์ให้เห็นว่า สมองไม่มีเขตจำเพาะ ศ. น.พ. เฟอร์ริเออร์ก็อ้างนายเกจเป็นข้อพิสูจน์ว่า มีเขตจำเพาะ[46] แม้พวกนัก "วิชาการ" เกี่ยวกับ phrenology[M] ก็ใช้เรื่องของนายเกจเหมือนกัน โดยอ้างว่า ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของเขาเกิดจากความเสียหายใน "อวัยวะแห่งความเคารพ" และ/หรือ "อวัยวะแห่งความเมตตากรุณา" ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน[47]: 194  แม้ในปี ค.ศ. 1994 ศ. น.พ. ดร. แอนโทนีโอ ดามาซีโอ เพื่อจะสนับสนุนสมมุติฐาน somatic marker hypothesis (ซึ่งสัมพันธ์การตัดสินใจกับอารมณ์ความรู้สึกและกับรากฐานทางชีวภาพของอารมณ์ความรู้สึก) ของเขา ก็ได้เปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันระหว่างพฤติกรรมที่เขาว่านายเกจมี กับพฤติกรรมของคนไข้ปัจจุบันที่มีความเสียหายใน orbitofrontal cortex และในอะมิกดะลา[26] ซึ่งนักประวัติศาสตร์ Kotowicz[36] (ปี ค.ศ. 2007) ได้วิจารณ์งานของ ศ. ดามาซีโอว่า การวาดภาพนายเกจของเขา เป็นการบิดเบือนเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ และการกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตในเดือนสุดท้าย ๆ ของนายเกจว่า "เป็นเรื่องกุวิตถาร"

หรือดังที่ Kihlstrom ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

ผู้ให้ข้อคิดเห็นปัจจุบันหลายท่านพูดเกินความจริง เกี่ยวกับขอบเขตความเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพของนายเกจ

บางทีเป็นการสร้างเรื่องในอดีตใหม่ โดยใช้สิ่งที่เรารู้หรือคิดว่ารู้ในปัจจุบัน

เกี่ยวกับหน้าที่ของสมองกลีบหน้าในการควบคุมตนเอง[48]

ตามคำของกราฟแมน มีการใช้เรื่องของนายเกจ เพื่อแสดงตัวอย่างปัญหาสังคมจากคนไข้ที่มีรอยโรคที่คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (PFC) ส่วนล่างด้านใน (ventromedial) แต่ว่า ความบกพร่องที่เกิดขึ้นอาจจะได้รับการต่อเติมจากพวกนักเล่านิทาน[49]: 295 

Psychosurgery และ lobotomy

[แก้]

มักจะมีการกล่าวกันว่า[ต้องการอ้างอิง] เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนายเกจมีผลกับการพัฒนาการรูปแบบต่าง ๆ ของการผ่าตัดแบบ psychosurgery[S] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง lobotomy[T][50]: 341  นอกจากคำถามที่ว่า ทำไมความเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าพึงใจที่ยกให้กับนายเกจจึงจะดึงดูดใจให้ทำการเลียนแบบโดยการผ่าตัด นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนกล่าวว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน[2]: 250  (ระหว่างเรื่องของนายเกจกับการพัฒนารูปแบบของ psychosurgery)

ภาพ

[แก้]
รูปภาพที่สองของนายเกจที่ได้รับการตรวจสอบว่าเป็นรูปแท้ (ค.ศ. 2010)[A]

ในปี ค.ศ. 2009 มีการค้นพบภาพแบบดาแกโรไทป์ของนายเกจ เป็นรูปภาพของนายเกจรูปแรกที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นรูปจริง ตั้งแต่ ศ. บิกเกโลว์ ได้ทำการหล่อหน้ากากหน้านายเกจเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในปลายปี ค.ศ. 1849[13]: 22n [2]: ii  เป็นรูปแสดงนายเกจที่ "แม้เสียโฉมแต่ก็ยังหล่ออยู่"[30] มีตาข้างหนึ่งปิดและมีแผลเป็นที่เห็นได้ชัด "แต่งตัวดี แสดงความมั่นใจ และแม้แต่ความภูมิใจ"[ต้องการอ้างอิง] โดยถือแท่งเหล็กของเขาอยู่ ซึ่งสามารถอ่านอักษรที่สลักไว้ได้โดยส่วนหนึ่ง[51] ความเป็นรูปแท้ได้รับการตรวจสอบโดยหลายวิธี รวมทั้งการเทียบภาพของอักษรสลักที่เห็นได้ในรูปกับอักษรบนแท่งเหล็กของจริงในพิพิธภัณฑ์กายวิภาควอร์เร็นของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และการเทียบแผลบาดเจ็บที่เห็นในรูปกับหน้ากากหล่อ (ที่ ศ. บิกเกโลว์ ทำขึ้น) ที่ยังได้เก็บไว้[8]

ในปี ค.ศ. 2010 มีการค้นพบรูปที่สองของนายเกจ รูปใหม่นี้ โดยยังมีก๊อปปี้อื่น ๆ อยู่ในการครอบครองของอย่างน้อยสองสายตระกูลของนายเกจ เป็นภาพแสดงคล้ายกับที่เห็นในรูปแรกที่พบในปี ค.ศ. 2009 (ตามคำพูดของผู้เชี่ยวชาญเรื่องของนายเกจที่สถาบันสมิธโซเนียนได้ปรึกษา[9][A])

การวิเคราะห์หลักฐานที่มา

[แก้]

นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้ทำการเปรียบเทียบเรื่องราวของนายเกจจากแหล่งต่าง ๆ[14]: C [2]: esp.116-19 ch13-14 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นเวลาเกินกว่าศตวรรษ ที่แหล่งที่มาของเรื่องชีวิตนายเกจความจริงมีอยู่ไม่กี่แหล่ง รวมทั้งของหมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1848, 1849, 1868)[11][23][1], ของ ศ. น.พ. บิกเกโลว์ (ค.ศ. 1850)[13], และของนักเขียนแจ็กสัน (ค.ศ. 1849, 1870)[53][17]

แม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000) ขัดกับหมอฮาร์โลว์เรื่องวันเสียชีวิตของนายเกจ[2]: 108-9  คือ หมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1868)[1] แสดงวันเสียชีวิตเป็นวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1861 แต่บันทึกของสัปเหร่อ[24] แสดงว่าได้ฝังนายเกจในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1860 นอกจากนั้นแล้ว แม็คมิลแลนยังเปลี่ยนวันที่อื่น ๆ ในชีวิตช่วงสุดท้ายของนายเกจ คือ วันย้ายจากประเทศชิลีไปยังเมืองซานฟรานซิสโก และวันเริ่มการชักกระตุก เพื่อปรับวันที่ที่ไม่สอดคล้องกับบันทึกของสัปเหร่อ

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 รูปปี ค.ศ. 2009 ที่ได้รับการตรวจสอบ ได้รับมาจากแจ็คและเบเวอร์ลี วิลกัส ภาพดั้งเดิมนี้ โดยเหมือนกับรูปภาพแบบดาแกโรไทป์อื่น ๆ แสดงบุคคลมีด้านซ้ายขวากลับข้าง ทำให้ดูเหมือนว่าตาขวาของนายเกจเป็นตาที่บาดเจ็บ แต่ว่า เป็นเรื่องแน่นอนว่า (Lena & Macmillan, 2010)[9] อาการบาดเจ็บของนายเกจ รวมทั้งตาของเขาด้วย อยู่ทางด้านซ้าย ดังนั้น ในการแสดงรูปในที่นี้ รูปได้ผ่านกระบวนการกลับด้านอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะแสดงนายเกจเหมือนกับที่เขาปรากฏจริง ๆ

    รูปที่ได้รับการยืนยันในปี ค.ศ. 2010 เป็นสมบัติของทารา เกจ มิลเลอร์แห่งรัฐเท็กซัส และรูปที่เหมือนกันอีกรูปหนึ่งเป็นของฟิลลิส เกจ ฮาร์ตลีย์แห่งรัฐนิวเจอร์ซีย์ (นายเกจไม่มีลูกเท่าที่รู้ ดู Macmillan 2000[2]: 319,327  บุคคลเหล่านี้เป็นเชื้อสายของญาติของเขา ดู Macmillan & Lena 2010[28]: 4 ) โดยต่างจากรูปของวิลกัส ซึ่งเป็นรูปดั้งเดิม รูปของมิลเลอร์และฮาร์ตลีย์เป็นภาพถ่ายก๊อปปี้จากรูปถ่ายดั้งเดิมที่ยังไม่พบ พิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นรูปภาพแบบดาแกโรไทป์ หรือภาพถ่ายประเภทอื่นที่มีการกลับด้านซ้ายขวา (ซึ่งเป็นเรื่องสามัญในการถ่ายรูปในยุคแรก ๆ) และในภาพนี้ก็เช่นกัน ได้มีการกลับด้านซ้ายขวาให้เห็นได้เหมือนจริงแล้ว เสื้อเชิ้ตและเน็คไทที่นายเกจใส่ในภาพของมิลเล่อร์-ฮาร์ตลีย์ต่างจากที่เห็นในภาพของวิลกัส แม้ว่าเขาจะใส่เสื้อกั๊กตัวเดียวกัน และน่าจะเป็นเสื้อชั้นนอกตัวเดียวกันด้วย[52]

  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 นักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 14-17,31n5,490-1  ได้กล่าวถึงบรรพบุรุษของนายเกจและเรื่องที่รู้และไม่รู้เกี่ยวกับกำเนิดและต้นชีวิตของเขา คือ บิดามารดาของเขาได้สมรสกันในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1823 ส่วนวันเกิดของนายเกจในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1823 (เป็นวันที่เดียวที่กล่าวไว้อย่างกำหนดวันในหลักฐานทั้งหมด) มาจากการลำดับตระกูลของนายเกจสืบโดยนักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 16  ผู้ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าวันที่นี้จะไม่ปรากฏที่มา แต่ก็เป็นวันที่คล้องจองกับหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ (ที่กล่าวถึงวันเวลา)[11]: 389 [12][13]: 13 [1]: 330  ที่ว่า นายเกจมีอายุ 25 ปีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และมีอายุ 36 ปีเมื่อเสียชีวิต ดังที่แสดงในบันทึกของสัปเหร่อหลังจากการสิ้นชีวิตของเขา ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1860[2]: 109 

    ในวัยเด็ก นายเกจได้อาศัยอยู่ที่เมืองต่าง ๆ รวมทั้งเมืองเลบานอน (หรือเมืองอีสต์เลบานอนที่อยู่ใกล้ ๆ) เมืองเอ็นฟิลด์ หรือ/และเมืองกราฟตัน (ซึ่งล้วนแต่อยู่ในเทศมณฑลกราฟตัน รัฐนิวแฮมป์เชอร์) แม้ว่าหมอฮาร์โลว์จะกล่าวถึงเมืองเลบานอนโดยตรงว่าเป็นถิ่นกำเนิดของนายเกจ[1]: 336  และเป็นบ้าน[1]: 338  (น่าจะเป็นของบิดามารดาของเขา) เป็นที่ที่นายเกจกลับไปหลังจากอุบัติเหตุ 10 อาทิตย์

    ชัดเจนว่าอักษรแรกของชื่อกลางของนายเกจคือ "P"[10]: 839fig. [11]: 389 [13]: 13 [1]: 330 [2]: 490  แต่ว่า ไม่มีหลักฐานอะไรที่ชี้ว่า อักษรย่อ P นี้เป็นตัวแทนคำเต็มว่าอะไร (แม้ว่าปู่ของเขาจะมีชื่อเดียวกันว่า Phineas และน้องชายชื่อว่าเด็กซ์เตอร์จะมีชื่อกลางว่า พริตชาร์ด)[2]: 490  ชื่อแรกและชื่อกลางของมารดานายเกจบันทึกไว้ต่าง ๆ กันรวมทั้ง แฮนนาห์ หรือ ฮันนา, และ ทรัสเซล์ล, ทรูเซล, หรือ ทรัสเซล และชื่อก่อนสมรสมีการสะกดต่าง ๆ กันรวมทั้ง Swetland, Sweatland, หรือ Sweetland[2]: 490 

  3. 3.0 3.1 โรคลมชักชนิดต่อเนื่อง (Status epilepticus) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่สมองเกิดการชักไม่หยุด คำนิยามมีหลายอย่าง แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วหมายถึงการชักที่ต่อเนื่องกันไม่หยุดหย่อนเกินกว่า 5 นาที หรือการชักที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันโดยไม่มีการฟื้นสติในระหว่างที่เกินกว่า 5 นาที
  4. 4.0 4.1 4.2 การใช้คำที่แสดงความอัศจรรย์ใจแบบขำ ๆ เป็นแบบการเขียนทางการแพทย์ที่ปกติในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกี่ยวกับเรื่องของนายเกจ (และเกี่ยวกับผู้รับเคราะห์รายอื่น ๆ ที่มีอุบัติเหตุทางสมองที่ฟังแล้วไม่น่าเป็นไปได้ รวมทั้งที่เกิดเกี่ยวกับขวาน สลักเกลียว สะพาน ปืนระเบิด ปืนลูกโม่ยิงทะลุจมูก[16] และ "แม้กระทั่ง การตกลงใส่ของกิ่งต้นยูคาลิปตัส")[2]: 62,63-7  โดยตั้งข้อสังเกตแบบปราศจากอารมณ์ว่า "จุดเด่นของเรื่องนี้ก็คือความไม่น่าจะเป็นไปได้... นี่เป็นอุบัติเหตุประเภทที่เห็นในภาพยนตร์ไร้เสียงในโรงหนัง แต่จะไม่เห็นในที่อื่น" ศ. บิกเกโลว์ (ค.ศ. 1850) เน้นว่า แม้ว่า "ในตอนแรกผมไม่ค่อยจะเชื่อเรื่องนี้ แต่หลังจากนั้นก็ได้เกิดความแน่ใจเป็นการส่วนตัว" และเรียกกรณีนี้ว่า "กรณีหาเรื่องอื่นเปรียบมิได้ในประวัติการณ์ศัลยศาสตร์"[13]: 13,19  การให้คำยืนยันอย่างนี้ของ น.พ. บิกเกโลว์ ผู้มีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ศัลยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ช่วยยุติการพูดเยาะเย้ยล้อเลียนเรื่องของนายเกจจากบุคคลในวงการแพทย์ทั้งหลาย รวมทั้งบุคคลหนึ่งที่หมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1868) ระลีกได้ว่า ได้กล่าวแบบไม่ไยดีในกรณีนี้ว่า "เป็นเรื่องกุขึ้นของพวกแยงกี้" (แยงกี้เป็นคำสแลงเรียกคนอเมริกัน)

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบ 20 ปีก่อน ในเมืองชนบทที่ไม่มีใครรู้จัก...

    ที่คนไข้ได้รับการดูแลและมีการรายงานโดยแพทย์ชนบทที่ไม่มีชื่อเสียงอะไร และได้รับการพิจารณาจากแพทย์ชาวเมืองด้วยความไม่ค่อยเชื่อ จนกระทั่งว่า แพทย์หลายท่านปฏิเสธอย่างเด็ดขาดว่า ชายคนนั้น (คือนายเกจ) ลุกขึ้นมาได้ จนกระทั่งได้จิ้มนิ้วของตนไปที่รูในศีรษะ (ของนายเกจ) [ดู ทอมัสกังขา ผู้ที่ไม่สามารถคลายความสงสัยได้นอกจากพิสูจน์ด้วยตนเอง] และแม้กระทั่งอย่างนั้น ก็ยังต้องเรียกร้องคำเป็นพยานหลักฐานจากหมอชนบท จากบาทหลวงและจากทนาย ก่อนที่จะสามารถเชื่อหรือก่อนที่จะเชื่อได้ ศัลย์แพทย์โด่งดังหลายท่านพิจารณาว่าเรื่องเช่นนี้ไม่สามารถเป็นไปได้โดยหลักสรีรวิทยา

    และหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นในคนไข้ก็ถูกอธิบายแก้ต่างไปโดยคำต่าง ๆ นา ๆ[1]: 329,344 

    สมจริงอย่างนั้น ผู้เขียนแจ็กสัน (ปี ค.ศ. 1870) กล่าวว่า "โชคร้ายจริง ๆ แม้เรื่องนี้จะมีหลักฐานที่หมอฮาร์โลว์ได้ให้ไว้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เห็นกะโหลก (ของนายเกจ) นั้นด้วยเอง ก็ยังเป็นเรื่องที่เกินกว่าคนอื่นจะเชื่อได้"[17]: v  แม้จะมีกรณีที่เกิดขึ้นภายหลังติดตามกรณีของนายเกจต่อมา เช่นกรณีผู้ทำงานในเหมืองที่รอดชีวิตจากการมีท่อก๊าซวิ่งทะลุศีรษะ[2]: 66 [18] และกรณีหัวหน้าคนงานโรงตัดไม้ที่กลับไปทำงานไม่นานหลังจากที่เลื่อยวงเดือนได้ตัดกะโหลกศีรษะของเขาเป็นช่องลึก 8 เซนติเมตร จากระหว่างตาจนไปถึงข้างหลังศีรษะของเขา (โดยที่ศัลยแพทย์ต้องเอาออกจากช่องแผล "กระดูก 32 ชิ้น พร้อมกับขี้เลื่อยเป็นจำนวนมาก")[19] วารสารการแพทย์และศัลยศาสตร์บอสตัน (ค.ศ. 1869) ก็ยังแกล้งทำเป็นสงสัยว่า สมองทำหน้าที่อะไรบ้างหรือเปล่า โดยกล่าวว่า "ตั้งแต่เรื่องเล่นตลกเกี่ยวกับ แท่งเหล็ก ท่อก๊าซ และเรื่องคล้ายกันอื่น ๆ (ความมีเหตุผล) ความไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ก็เริ่มอ่อนกำลังลง ไม่สามารถที่จะกล่าวคำอะไรได้ สมองดูเหมือนจะไม่มีความสำคัญอะไรในทุกวันนี้"[20] รายงานของสมาคมการแพทย์เวอร์มอนต์ (Smith 1886) ก็กล่าวเป็นเชิงตลกเช่นเดียวกันคือ (เลียนคำจากละครเรื่องแม็คเบ็ธ [Act III] ของวิลเลียม เชกสเปียร์) "แม็คเบ็ธกล่าวว่า 'เคยเป็นอย่างนี้มาตลอดว่า เมื่อสมองไหลออกมาแล้ว คนคนนั้นก็จะตาย แต่มาสมัยนี้ กลับลุกขึ้นมาได้อีก' เป็นไปได้ว่า อีกไม่นานเท่าไร พวกเราก็จะได้ยินเรื่องเกี่ยวกับศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน (เหมือนกับ ศ. ในประเทศเยอรมันผู้สร้างแฟรงเกนสไตน์) ผู้ที่จะผ่าตัดสมองนั้นออก (และคนไข้ก็จะยังอยู่ต่อไปได้)"[3]: 53-54 

    ส่วนบทความที่อ้างอิงถึงถึงแท่งเหล็กของนายเกจว่า "แขกผู้ไม่พูดพล่ามทำเพลงมีนิสัยบุกรุก (อังกฤษ: abrupt and intrusive visitor)" ปรากฏในวารสารการแพทย์และศัลยศาสตร์บอสตัน[21] ในบทความปริทัศน์ต่อบทความที่หมอฮาร์โลว์นำเสนอ

  5. 5.0 5.1 5.2 ดูแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 25-7  และแม็คมิลแลน (PGIP)[14]: A  เพื่อขั้นตอนการวางระเบิด ตำแหน่ง และเหตุการณ์ในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุ รูวางระเบิด ซึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร และลึก 4 เมตร อาจจะต้องใช้แรงงานผู้ชาย 3 คนเป็นวันเพื่อที่จะขุดโดยใช้เครื่องมือ (ไม่ได้ใช้เครื่องกล) วิจารณญาณเกี่ยวกับเรื่องแรงงานที่ต้องใช้ในการวางระเบิดแต่ละแห่ง เรื่องที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกสถานที่ที่จะวางระเบิดและปริมาณดินระเบิดที่ต้องใช้ และความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย-ลูกน้องที่บางครั้งสามารถระเบิดขึ้นได้ในงานประเภทนี้ ล้วนแต่แสดงความสำคัญของคำพูดของหมอฮาร์โลว์ว่า นายจ้างของนายเกจพิจารณานายเกจว่า "เป็นหัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพมีความสามารถมากที่สุดในลูกจ้างทั้งหมด" ก่อนอุบัติเหตุ
  6. ศ. บิกเกโลว์กล่าวถึงส่วนเรียวของแท่งเหล็กนี้ว่า ยาว 7 นิ้ว แต่ขนาดจริงแล้ว ยาว 12 นิ้ว (ตามที่กล่าวในบทความ)[11]: 331 [2]: 26 
  7. จากคำของหมอวิลเลียมส์[13]: 15–16 
  8. หมอฮาร์โลว์ให้ข้อสังเกตในวันที่ 24 กันยายนว่า "พละกำลังตกลง ... ช่วงเวลาสามวันต่อมา อาการโคม่าหนักขึ้น ลูกตาซ้ายยื่นออกมามากขึ้น โดยมี fungus ขยายออกมาจากหางตา ... และมี fungus เป็นแผ่นใหญ่ขยายขึ้นไปอย่างรวดเร็วจากสมองส่วนที่ได้รับความบาดเจ็บ งอกออกมาที่บนศีรษะ[1]: 335 " ในที่นี้คำว่า fungus ไม่ได้หมายถึงเชื้อรา แต่หมายเอาความหมายที่พจนานุกรมอังกฤษอ๊อกซฟอร์ดให้ไว้ว่า "การเติบโตผิดปกติคล้ายฟองน้ำ เช่นการเติบโตเป็นเม็ด ๆ ในแผล" ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายต่อแผล[2]: 54,61-2 
  9. Barker (1995) : "ความบาดเจ็บที่ศีรษะจากการตกลง จากถูกม้าเตะ และจากลูกปืน เป็นอาการที่รู้จักกันดีในอเมริกายุคก่อนสงครามกลางเมือง และเล็กเช่อร์เกี่ยวกับศัลยศาสตร์ที่มีในสมัยนั้นทุกเล็กเช่อร์ ก็จะกล่าวถึงการวินิจฉัยและการเยียวยา" ของการบาดเจ็บเช่นนี้ แต่เป็นโชคของนายเกจ ศัลย์แพทย์โจเซ็ฟ แพนโคสต์ (ซึ่งเป็นศัลยแพทย์มือหนึ่งในสมัยนั้น) ได้ทำ "การผ่าตัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขาต่ออาการบาดเจ็บที่ศีรษะ หน้าชั้นของหมอฮาร์โลว์ในโรงเรียนแพทย์ ทำการเจาะกะโหลกศีรษะโดยวิธี [trephining] เพื่อระบายหนองออก มีผลเป็นการฟื้นตัวของคนไข้อย่างชั่วคราว แต่โชคไม่ดีว่า อาการได้กำเริบภายหลังจนคนไข้เสียชีวิต การชันสูตรศพพบหนองที่กลับคั่งขึ้นมาอีก คือ เนื้อเยื่อแบบ granulation ได้ไปปิดช่องในเยื่อดูรา" บาร์กเกอร์กล่าวต่อไปอีกว่า โดยเปิดทางออกของแผลเอาไว้ และให้ตั้งศีรษะไว้ในที่สูงเพื่อให้หนองไหลออกจากกระดูกหุ้มสมองผ่านรูที่เพดานปาก หมอฮาร์โลว์ "ไม่ได้ทำข้อผิดพลาดของ ศ. แพนโคสต์ซ้ำอีก"[4]: 675 

    โดยตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าหมอฮาร์โลว์จะเป็น "หมอพื้นที่ที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ ... พึ่งเรียนจบมาแค่ 4 1/2 ปี ก่อน" แต่นักเขียนแม็คมิลแลนก็ได้พูดถึงสิ่งที่หมอฮาร์โลว์ได้ทำว่าเป็น "การดัดแปลงวิธีการรักษาที่สืบกันมาได้อย่างเหมาะสม ที่ประกอบด้วยฝีมือและมีจินตนาการ" ได้กล่าวเพิ่มขึ้นถึงประเด็นการตัดสินใจ (โดยทำต่างไปจากคำสอนของอาจารย์ในวิทยาลัยแพทย์) เพื่อที่จะไม่หาชิ้นกระดูกอื่น ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเสียเลือดและความบาดเจ็บเพิ่มขึ้นทางสมอง และถึงการใช้สารกัดในการรักษา fungi ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการต้องใช้วิธีรักษาอีกสองอย่าง คือ การตัดทิ้ง (ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียเลือด) และดัน fungi ให้เข้าไปในแผล (ซึ่งเสี่ยงต่อการเพิ่มความกดดันแก่สมอง)[2]: 12,60-2 

    สำหรับบทบาทของตนต่อการรอดชีวิตของนายเกจ หมอฮาร์โลว์กล่าวเพียงว่า "ผมกล่าวเพียงได้ว่า ... เหมือนกับคุณหมอ Ambroise Paré ผม (เพียงแต่) ทำแผลให้เขา พระเจ้า (นั่นแหละ) เป็นคนรักษาเขา"[1]: 346  เป็นการประเมินตนที่นักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 62  กล่าวว่าถ่อมตนเกินไป ดู Macmillan (ค.ศ. 2000)[2]: 12;ch4  Macmillan (ค.ศ. 2008)[10]: 828-9  และ Barker (ค.ศ. 1995)[4]: 675,679-80  เกี่ยวกับรายละเอียดอื่น ๆ ในเรื่องวิธีการบริหารของหมอฮาร์โลว์ในกรณีนี้

  10. Barnum's American Museum เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งของและบุคคลแปลก ๆ
  11. 11.0 11.1 11.2 นักจิตวิทยาแม็คมิลเลน (ค.ศ. 2000) ได้กล่าวถึงการเสียชีวิตของนายเกจและการฝังศพ (ดั้งเดิม) ให้ดู "Corrections to An Odd Kind of Fame (แก้ข้อผิดสำหรับหนังสือ An Odd Kind of Fame)" ของแม็คมิลแลนเกี่ยวกับวันที่เสียชีวิต[2]: 108-9 [14]: D  หมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1868)[1] ได้บันทึกวันเสียชีวิตของนายเกจว่าเป็นวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1861 แต่บันทึกของสัปเหร่อ[24] แสดงว่าฝังในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1860 การที่หมอฮาร์โลว์ (แม้ว่าจะได้ติดต่อกับมารดาของนายเกจเมื่อกำลังเขียนหนังสือ) เขียนวันที่ผิดพลาดไป 1 ปีเต็ม บอกเป็นนัยว่า วันที่อื่น ๆ ที่คุณหมอกล่าวถึงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปลายชีวิตของนายเกจ เช่นการย้ายไปอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐ จากประเทศชิลี และการเริ่มอาการชักกระตุก ก็จะต้องผิดพลาดด้วย และน่าจะผิดพลาดเป็นระยะเวลาเท่ากัน (คือ 1 ปี) บทความนี้เขียนวันที่ตามนักจิตวิทยาแม็คมิลแลนที่แก้วันที่ผิดพลาดเหล่านั้น
  12. Macmillan & Lena กล่าวไว้ว่า: "มีแต่หมอฮาร์โลว์เท่านั้น[1]: 342  ที่กล่าวถึงเรื่องขุดศพขึ้นมาอีก และก็ไม่ได้บอกว่า ได้พบแท่งเหล็กตอกของนายเกจด้วย แม้ว่าสิ่งที่คุณหมอกล่าวจะมีความคลุมเครือบ้างเล็กน้อย แต่นั่นไม่ใช่เหตุแห่งการแสดงเหตุการณ์ที่ไม่มีในหลักฐานอื่นและไม่เข้ากับหลักฐานอื่น... ว่ามีการพบแท่งเหล็กตอกของนายเกจที่หลุมฝังศพ"[28]: 7 
  13. 13.0 13.1 13.2 phrenology เป็นวิทยาศาสตร์เทียมที่เน้นเรื่องการวัดขนาดของกะโหลกศีรษะมนุษย์ โดยมีฐานความคิดว่า สมองเป็นอวัยวะของใจ และว่าเขตในสมองบางแห่งมีหน้าที่เฉพาะ
  14. คือโดยเฉพาะแล้ว คณะของแวน ฮอร์น[34]ให้ข้อสังเกตว่า แม้ว่าจะมี "ความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อสมองกลีบหน้า, left temporal polar, และ insular cortex เส้นวิ่งของท่อนเหล็กที่ฟิตที่สุดไม่ได้แสดงว่า ท่อนเหล็กวิ่งทะลุส่วนเส้นกลาง (midline) เหมือนอย่างที่เสนอโดยผู้เขียนบางท่าน" (เช่นเฮ็ช. ดามาซีโอ) "เส้นประสาทที่เสียหายขยายเลยจากสมองกลีบหน้าด้านซ้าย ไปถึงสมองกลีบขมับ สมองกลีบข้าง สมองกลีบท้ายทอย (ทั้งหมดด้านซ้าย) รวมไปถึงปมประสาทฐาน (basal ganglia) ก้านสมอง และซีรีเบลลัม แม้เส้นประสาทเชื่อมต่อระหว่างซีกสมองของสมองกลีบหน้าและระบบลิมบิก รวมทั้งปมประสาทฐาน ก็ได้รับผลกระทบด้วย​ (คำอ้างอิงที่ยกมานี้ตัดคำที่ประมาณค่าความเสียหายต่อแต่ละส่วนของสมองออก)
  15. จากหมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1848)[11]: 393  ส่วนนักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 106-8,375-6  พูดถึงความลังเลใจที่อาจจะมีของหมอฮาร์โลว์ และของหมู่สหายและครอบครัวของนายเกจ ที่จะพูดถึงนายเกจในเชิงลบในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ และเสนอว่า[2]: 350-1  บทความนิรนามที่กล่าวถึงนายเกจในปี ค.ศ. 1850[35] ว่า "gross, profane, coarse, and vulgar (น่ารังเกียจ หยาบคาย สามหาว และปากตลาด)" ความจริงมาจากหมอฮาร์โลว์
  16. ยกตัวอย่างเช่น คำพรรณนาของหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1868 ว่า "เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ปราศจากความเคารพยำเกรง...แต่ก็เอาแน่อะไรไม่ได้ เปลี่ยนใจไปเปลี่ยนใจมา"[1] ขัดแย้งกับลักษณะอาชีพของนายเกจในประเทศชิลี ซึ่งเป็นงานที่คนขับรถต้อง "ไว้วางใจได้ แก้ปัญหาได้ และมีความทนทานสูง แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องมีบุคลิกภาพที่สามารถบริหารผู้โดยสารได้ด้วยดี" (Macmillan 2000[2]: 106  โดยอ้างอิง Austin 1977[37]) นอกจากนั้นแล้ว นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนยังตั้งข้อสังเกตว่า นายจ้างของนายเกจได้จ้างนายเกจล่วงหน้า ตั้งแต่อยู่ในเขตนิวอิงแลนด์แล้ว (น่าจะหมายถึงหลังเกิดอุบัติเหตุ) เพื่อจะเป็นส่วนของกิจการรถม้าโดยสารใหม่ในประเทศชิลี[2]: 376-7 [10]: 831 
  17. "what are the limits for those in formal rehabilitation programs?"[40]
  18. psychopathy เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีอาการคือ ความบกพร่องทางอารมณ์ความรู้สึก (เช่นมีความกลัวที่ลดลง ไม่มีความเห็นใจผู้อื่น และไร้ความอดทนต่อความเครียด) ใจร้าย เห็นแก่ตัว มีเสน่ห์ผิวเผิน ใช้เล่ห์ชักใยผู้อื่น ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ มักทำผิดกฎหมาย มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ปราศจากความสำนึกผิด และใช้ชีวิตเป็นกาฝาก
  19. psychosurgery เป็นการรักษาโรคจิตโดยการผ่าตัดสมอง ตัวอย่างเช่น lobotomy
  20. lobotomy เป็นการผ่าตัดสมองที่ตัดเส้นประสาทโดยมากที่ไปสู่หรือออกมาจากคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า

อ้างอิงและอ่านเพิ่ม

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26
    Harlow, John Martyn (1868). "Recovery from the Passage of an Iron Bar through the Head". Publ Massachusetts Med Soc. 2: 327–347. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 2.22 2.23 2.24 2.25 2.26 2.27 2.28 2.29 2.30 2.31 2.32 2.33 2.34 2.35 2.36 2.37 2.38 2.39
    Macmillan, Malcolm B. (2000). An Odd Kind of Fame: Stories of Phineas Gage. MIT Press. ISBN 0-262-13363-6 (hbk, 2000) ISBN 0-262-63259-4 (pbk, 2002). Appendices reproduce Harlow (1848, 1849, and 1868) and Bigelow (1850) สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
     • See also "Corrections to An Odd Kind of Fame". สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  3. 3.0 3.1 3.2 Smith, William T (1886). "Lesions of the Cerebral Hemispheres]". TVermont Med Soc for the Year 1885. pp. 46–58. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 Barker, F.G.II (1995). "Phineas among the phrenologists: the American crowbar case and nineteenth-century theories of cerebral localization". JNeurosurg. 82: 672–682. PMID 7897537. Closed access
  5. Campbell, H.F. (1851). "Injuries of the Cranium—Trepanning". Ohio Med& Surg J. 4 (1): 20–24. (crediting the Southern Med& Surg J (unknown date) .
  6. 6.0 6.1 John Hodges (2001). "Book review: An odd kind of fame. Stories of Phineas Gage". Journal of Neurology, Neurosurgery, and Psychiatry. 71 (1). doi:10.1136/jnnp.71.1.136c.
  7. 7.0 7.1 Mike McRae (2011). Tribal Science: Brains, Beliefs and Bad Ideas. University of Queensland Press. pp. 9–11. ISBN 0702247340.
  8. 8.0 8.1 Wilgus, B.&J (2009). "Face to Face with Phineas Gage". Journal of the History of the Neurosciences. 18 (3): 340–345. doi:10.1080/09647040903018402. PMID 20183215. Closed access
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Lena, M.L.; Macmillan, Malcolm B. (March 2010). "Picturing Phineas Gage (invited comment)". Smithsonian. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-29. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09
    Macmillan, Malcolm B. (2008). "Phineas Gage—Unravelling the myth" (PDF). The Psychologist. British Psychological Society. 21 (9): 828–831. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 11.8
    Harlow, John Martyn (1848). "Passage of an Iron Rod through the Head". Boston Medical and Surgical Journal. 39 (20): 389–393. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Transcription.)
  12. "Incredible, but True Every Word". National Eagle. Claremont, New Hampshire. March 29, 1849. p. 2. Transcribed in Macmillan (2000), pp. 40–1
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 13.7
    Bigelow, Henry Jacob (July 1850). "Dr. Harlow's Case of Recovery from the Passage of an Iron Bar through the Head". Am J Med Sci. 20: 13–22. Reproduced in Macmillan (2000) .[2]
  14. 14.0 14.1 14.2 —— (2012). "The Phineas Gage Information Page". The University of Akron. สืบค้นเมื่อ 2016-05-16. Includes:
  15. "Horrible Accident". Boston Post. September 21, 1848.
  16. Sutton, W.L. (1850). "A Centre Shot". Boston Medical & Surgical Journal. 3: 151–2. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  17. 17.0 17.1 17.2 Jackson, J. B. S. (1870). A Descriptive Catalog of the Warren Anatomical Museum. Boston: A. Williams & Co. Frontis. and Nos. 949–51, 3106.
  18. Jewett, M. (1868). "Extraordinary Recovery after Severe Injury to the Head". Western Journal of Medicine. 43: 241. Closed access
  19. Folsom, A.C. (May 1869). "Extraordinary Recovery from Extensive Saw-Wound of the Skull". Pacific Medical and Surgical Journal. pp. 550–555.
  20. "Medical Intelligence. Extraordinary Recovery". Boston Medical& Surgical Journal. 3n.s. (13): 230–1. April 29, 1869.
  21. 21.0 21.1 "Bibliographical Notice". Boston Medical& Surgical Journal. 3n.s. (7): 116–7. March 18, 1869.
  22. มาจากคำของหมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1848) หน้า 390.
  23. 23.0 23.1 Harlow, John Martyn (1849). "Medical Miscellany (letter)". Boston Medical and Surgical Journal. 39: 507. Reproduced in Macmillan (2000) .[2]
  24. 24.0 24.1 Volume 3: Lone Mountain register, 1850-1862, Halsted N.Gray – Carew& English Funeral Home Records (SFH 38), San Francisco History Center, San Francisco Public Library. p. 285.
  25. 25.0 25.1 Damasio, H.; Grabowski, T.; Frank, R.; Galaburda, A.M.; Damasio, A.R. (1994). "The return of Phineas Gage: Clues about the brain from the skull of a famous patient". Science. 264 (5162): 1102–1105. doi:10.1126/science.8178168. PMID 8178168. Closed access
  26. 26.0 26.1 Damasio A.R. (1994). Descartes' Error: Emotion, Reason, and the Human Brain. ISBN 0-14-303622-X. (2nd ed.:2005)
  27. 27.0 27.1 Hockenbury, Don H.; Hockenbury, Sandra E. (2008). Psychology. p. 74. ISBN 978-1-4292-0143-8. Closed access
  28. 28.0 28.1 28.2 28.3 28.4
    Macmillan, Malcolm B.; Lena, M.L. (2010). "Rehabilitating Phineas Gage". Neuropsychological Rehabilitation. 20 (5): 641–658. doi:10.1080/09602011003760527. PMID 20480430. Closed access
  29. "The Phineas Gage Case". Warren Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 2013-01-10.
  30. 30.0 30.1 Twomey, S. (January 2010). "Finding Phineas". Smithsonian Magazine. 40 (10): 8–10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  31. Eliot, Samuel Atkins, บ.ก. (1911). "John M. Harlow". Biographical History of Massachusetts: Biographies and Autobiographies of the Leading Men in the State. Vol. 1. Massachusetts Biographical Society.
  32. 32.0 32.1 Ratiu, P.; Talos, I.F.; Haker, S.; Lieberman, D.; Everett, P. (2004). "The Tale of Phineas Gage, Digitally Remastered". Journal of Neurotrauma. 21 (5): 637–643. doi:10.1089/089771504774129964. PMID 15165371. Closed access
  33. 33.0 33.1 Ratiu, P.; Talos, I.F. (2004). "The Tale of Phineas Gage, Digitally Remastered". New England Journal of Medicine. 351 (23): e21. doi:10.1056/NEJMicm031024. PMID 15575047. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  34. 34.0 34.1 Van Horn, J.D.; Irimia, A.; Torgerson, C.M.; Chambers, M.C.; Kikinis, R.; Toga, A.W. (2012). "Mapping Connectivity Damage in the Case of Phineas Gage". PLoS ONE. 7 (5): e37454. doi:10.1371/journal.pone.0037454. PMC 3353935. PMID 22616011. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  35. "A most remarkable case". American Phrenological Journal. 13: 89. 1851.
  36. 36.0 36.1 36.2 36.3 Kotowicz, Z. (2007). "The strange case of Phineas Gage". History of the Human Sciences. 20 (1): 115–131. doi:10.1177/0952695106075178. Closed access
  37. Austin, K.A. (1977). A Pictorial History of Cobb and Co.: The Coaching Age in Australia, 1854–1924. Sydney: Rigby. ISBN 0-7270-0316-X.
  38. 38.0 38.1 Fleischman, J. (2002). Phineas Gage: A Gruesome but True Story About Brain Science. ISBN 0-618-05252-6. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  39. ——; Aggleton, John (March 6, 2011). "Phineas Gage: The man with a hole in his head". Health Check (Audio interview). สัมภาษณ์โดย Claudia Hammond; Dave Lee. BBC World Service. Originally broadcast December 7, 2008.

  40. Macmillan, Malcolm B. (July 2009). "More About Phineas Gage, Especially After the Accident". สืบค้นเมื่อ July 27, 2013. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  41. Stuss, D.T.; Gow, C.A.; Hetherington, C.R. (1992). "'No longer Gage': Frontal lobe dysfunction and emotional changes". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 60 (3): 349–359. doi:10.1037/0022-006X.60.3.349. PMID 1619089. Closed access
  42. 42.0 42.1 Fuster, Joaquin M. (2008). The prefrontal cortex. Elsevier/Academic Press. p. 172. ISBN 0-12-373644-7. Closed access
  43. Ferrier, David (1877–79). "Correspondence with Henry Pickering Bowditch". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) Countway Library (Harvard Univ.) Mss., HMSc5.2. Transcribed in Macmillan (2000) .[2]: 464-5 
  44. Sacks, Oliver (1995). An Anthropologist on Mars. pp. 59–61. ISBN 0-679-43785-1. OCLC 30810706. Closed access
  45. Dupuy, Eugene (1877). "A critical review of the prevailing theories concerning the physiology and the pathology of the brain: localisation of functions, and mode of production of symptoms. PartII". Med Times& Gaz. II: 356–8. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  46. Ferrier, David (1878). "The Goulstonian lectures of the localisation of cerebral disease. LectureI (concluded)". Br Med J. 1 (900): 443–7.
  47. Sizer, Nelson (1888). Forty years in phrenology; embracing recollections of history, anecdote, and experience. New York: Fowler& Wells. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  48. Kihlstrom, J. F. (2010). "Social neuroscience: The footprints of Phineas Gage". Social Cognition. 28 (6): 757–82. doi:10.1521/soco.2010.28.6.757. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06.
  49. Grafman, J. (2002). "The Structured Event Complex and the Human Prefrontal Cortex". ใน Stuss, D. T.; Knight, R. T. (บ.ก.). Principles of Frontal Lobe Function. pp. 292–310. doi:10.1093/acprof:oso/9780195134971.003.0019. ISBN 978-0-19-513497-1. Closed access
  50. Carlson, N.R. (1994). Physiology of Behavior. p. 341. ISBN 0-205-07264-X.
  51. Wilgus, B.&J. "Meet Phineas Gage". สืบค้นเมื่อ October 2, 2009. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  52. Wilgus, B.&J. "A New Image of Phineas Gage". สืบค้นเมื่อ March 10, 2010. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  53. Jackson, J.B.S. (1849). Medical Cases 4. Case 1777. H MS b72.4 (v. 11), Harvard Medical Library in the Francis A. Countway Library of Medicine, pp. 712 (cont'd 680).
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ด้วยชื่อ "okf" ที่นิยามในกลุ่ม <references> ไม่มีเนื้อหา

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]