Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาว
ฉายา
  • ຂຸນຜົນໝາກເຜັດຂີ້ໜູ
    (ขุนผลหมากเผ็ดขี้หนู)
  • ຊ້າງ
    (ช้าง)
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลแห่งชาติลาว
สมาพันธ์ย่อยเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนฮา ฮยอก จุน
กัปตันสุขพร วงศ์เชียงคำ[1]
ติดทีมชาติสูงสุดSaynakhonevieng Phommapanya (54)
ทำประตูสูงสุดวิชัย ผาภูวนิน (18)[2]
สนามเหย้าสนามกีฬาแห่งชาติลาว หลัก 16
รหัสฟีฟ่าLAO
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 189 เพิ่มขึ้น 1 (20 มิถุนายน 2024)[3]
อันดับสูงสุด134 (กันยายน 1998)
อันดับต่ำสุด210 (สิงหาคม 2012)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติเวียดนามใต้ เวียดนามใต้ 7–0 ธงชาติลาว ลาว
(ย่างกุ้ง ประเทศพม่า; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1961)[4]
ชนะสูงสุด
ธงชาติลาว ลาว 6–1 ติมอร์-เลสเต ธงชาติติมอร์-เลสเต
(เวียงจันทน์ ประเทศลาว; 26 ตุลาคม ค.ศ. 2010)
แพ้สูงสุด
ธงชาติสหสาธารณรัฐอาหรับ สหสาธารณรัฐอาหรับ 15–0 ธงชาติลาว ลาว
(จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย; 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963)
AFC Solidarity Cup
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2016)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 3 (2016)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน
เข้าร่วม12 (ครั้งแรกใน 1996)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม

ฟุตบอลทีมชาติลาว (ลาว: ທິມຊາດ ບານເຕະ ແຫ່ງຊາດ ລາວ; ฝรั่งเศส: Équipe du Laos de football) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศลาวในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ ดูแลโดยสหพันธ์ฟุตบอลแห่งชาติลาว โดยเป็นสมาชิกของเอเอฟซี ทีมชาติลาวยังไม่เคยประสบความสำเร็จการแข่งขันรายการใด และยังไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นรายการสำคัญอย่างฟุตบอลโลก และเอเชียนคัพ ในระดับภูมิภาค ลาวเข้าร่วมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนทุกครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 1996 แต่ยังไม่เคยผ่านรอบแบ่งกลุ่ม อย่างไรก็ตามใน ค.ศ. 2009 ทีมชาติลาวได้อันดับ 4 ในการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ซึ่งลาวเป็นเจ้าภาพ

ประวัติ

[แก้]

รัฐบาลลาวก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งชาติลาวขึ้นใน ค.ศ. 1951 เพื่อเผยแพร่และพัฒนากีฬาฟุตบอลในประเทศ ในช่วงเวลานั้น ชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีส่วนร่วมในรายการระดับนานาชาติที่สำคัญซึ่งเป็นผลมาจากสงครามโลก ลาวยังไม่เคยผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขันรายการสำคัญทั้งฟุตบอลโลก, เอเชียนคัพ และเอเชียนเกมส์ หลังจากต้องเผชิญกับความวุ่นวายทางการเมืองและสงครามกลางเมือง ลาวเริ่มหันมาพัฒนากีฬาฟุตบอลอย่างจริงจัง แต่เนื่องจากระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์และสภาพเศรษฐกิจจากสงคราม ทำให้การพัฒนาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

นับตั้งแต่สิ้นสุดสงคราม กีฬาฟุตบอลได้มีอิทธิพลอย่างสูงต่อวิถิชีวิตคนลาว[5] ลาวเข้าร่วมรายการสำคัญครั้งแรกในซีเกมส์ 1995 และนับตั้งแต่นั้นลาวก็มีส่วนร่วมในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนทุกครั้ง แต่ยังไม่เคยผ่านรอบแบ่งกลุ่ม แม้จะเป็นทีมหน้าใหม่ในภูมิภาค และเสียเปรียบเรื่องรูปร่างเนื่องจากนักฟุตบอลลาวมีรูปร่างเล็กเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ แต่ลาวก็สร้างทีมด้วยนักเตะที่มีความมุ่งมั่น ขยันฝึกซ้อม จนสามารถทำผลงานน่าประทับใจในการแข่งขันบางรายการ เช่น การเอาชนะมาเลเซียในกีฬาซีเกมส์ 1997 และยังมีการจัดตั้งการแข่งขันลีกซึ่งมีสโมสรกว่า 60 สโมสรเข้าร่วมทั่วประเทศ มีลีกสูงสุดในปัจจุบันคือลาวพรีเมียร์ลีก แต่ลาวยังขาดแคลนบุคลากรทางกีฬาที่มีความสามารถ นักฟุตบอลทีมชาติหลายคนเป็นเพียงมือสมัครเล่น แม้สโมสรชั้นนำส่วนมากจะมีนักเตะจากกระทรวง และข้าราชการในประเทศ

ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2004 รอบคัดเลือก ลาวเอาชนะบังคลาเทศ 2–1 และในฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือกรอบแรก ลาวได้สิทธิ์ผ่านเข้าสู่รอบที่สองหลังจากทีมชาติกวม และ เนปาลถอนตัวจากการแข่งขัน ก่อนจะแพ้ 6 นัดรวดในรอบที่สอง ลาวยังเข้ารอบคัดเลือกรอบที่สองในฟุตบอลโลก 2014 หลังจากเอาชนะกัมพูชาไปอย่างสนุกด้วยผลประตูรวมสองนัด 8–6 ก่อนจะเข้าไปแพ้จีนด้วยผลประตูรวมสองนัด 3–13 ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ลาวทำผลงานได้ดีและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยเอาชนะทีมอย่างกัมพูชา, บรูไน, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และมาเลเซีย ในรายการต่าง ๆ ลาวมีผลงานที่ดีขึ้นในรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2012 โดยเก็บได้ 1 คะแนนจากการเสมออินโดนีเซีย 2–2 ลาวมีส่วนร่วมในการแข่งขันระดับทวีปครั้งแรกใน ค.ศ. 2014 รายการเอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ[6] แม้จะตกรอบแบ่งกลุ่มแต่ก็เก็บได้หนึ่งคะแนนจากการเสมออัฟกานิสถาน

ใน ค.ศ. 2017 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียทำการสอบสวนทีมชาติลาวรววมถึงสโมสรลาว โตโยต้า ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการล็อกผลการแข่งขันในประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 2014 เป็นผลให้ผู้เล่นหลายคนถูกสั่งห้ามเล่นฟุตบอลตลอดชีวิต[7][8] ในจำนวนนี้มีผู้เล่นชื่อดังอย่าง คำแพง สายวุฒิ อดีตผู้เล่นหลายสโมสรในประเทศไทย, ไมตี สีหาลาด, วัฒนา เขียวดวงเดช และอดีตกัปตันทีมชาติลาวอย่าง ไสนโขนเวียง พมปัญญา

ลาวลงแข่งขันกระชับมิตร 2 นัดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2024 โดยแพ้มาเลเซีย 1–3 ที่กรุงเทพมหานคร แต่สามารถยันเสมอทีมไทย 1–1 ในนัดต่อมา ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2024 กลุ่มบี ลาวแพ้เวียดนามในนัดแรก 1–4 และในนัดที่ 2 พวกเขาสามารถเสมออินโดนีเซียได้ 3–3 ตามด้วยเสมอฟิลิปปินส์ 1–1 ลาวตกรอบจากการแพ้พม่าในนัดสุดท้าย 2–3

สนามแข่งขัน

[แก้]

ทีมชาติลาวใช้สนามกีฬาแห่งชาติลาว หลัก 16 ตั้งอยู่ในกรุงเวียงจันทร์เป็นสนามหลัก

สถิติ

[แก้]
  • 1930-1998 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 2002-2026 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1956-1996, 2007 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 2000-2023 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1996-2004 - รอบแรก
  • 2007 - รอบแรก หลังจากผ่านรอบคัดเลือก
  • 2020 - รอบแรก
  • 2022 - รอบแรก
  • 2024 - รอบแรก

ผู้เล่น

[แก้]

รายชื่อผู้เล่น 29 คน สำหรับการแข่งขันกระชับมิตรกับ ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย และ ธงชาติไทย ไทย ระหว่างวันที่ 14 และ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 [9]

จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2567 หลังแข่งขันกับ ธงชาติเนปาล เนปาล

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1GK แก้วอุดอน สุวันนะสังโส (2000-06-19) 19 มิถุนายน ค.ศ. 2000 (24 ปี) 10 0 ลาว ลาว อาร์มี่
1GK ไซสะหวาด สุวันนะโซก (1999-09-03) 3 กันยายน ค.ศ. 1999 (25 ปี) 8 0 ลาว น้ำทา ยูไนเต็ด
1GK กอบ โลกพะทีบ (2006-05-08) 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 (18 ปี) 0 0 ลาว เฮซรา
1GK อนุลัก วิรัล (2001-02-15) 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 (23 ปี) 0 0 ลาว ช้างน้อย

2DF อานันตะซา สีพงพัน (2004-11-09) 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 (20 ปี) 14 0 ลาว เฮซรา
2DF พุดทะวง สังวิไล (2004-10-16) 16 ตุลาคม ค.ศ. 2004 (20 ปี) 13 2 ลาว เฮซรา
2DF ซิดี พรมสะหวัน (2002-03-28) 28 มีนาคม ค.ศ. 2002 (22 ปี) 4 0 ลาว เฮซรา
2DF เพ็ดดาวัน สมสะหนิด (2004-04-24) 24 เมษายน ค.ศ. 2004 (20 ปี) 2 0 ลาว มาสเตอร์
2DF พอนสัก สีสะหวาด (2004-10-04) 4 ตุลาคม ค.ศ. 2004 (20 ปี) 0 0 ลาว ช้างน้อย
2DF จิตตะกอน วันนะจอน (2004-12-24) 24 ธันวาคม ค.ศ. 2004 (20 ปี) 0 0 ลาว หลวงพระบาง
2DF ไสยะสิด สิงสะหว่าง (2000-12-13) 13 ธันวาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 0 0 ลาว น้ำทา ยูไนเต็ด
2DF แสงดาววี หันทะวง (1998-10-04) 4 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 0 0 ลาว ช้างน้อย
2DF เฉลิมชัย พรมมะวง (2004-08-04) 4 สิงหาคม ค.ศ. 2004 (20 ปี) 0 0 ลาว เฮซรา
2DF สมสะหวาด พิมโสพา (1997-05-25) 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 0 0 ลาว มาสเตอร์

3MF พุดทะไซ โคจะเลิน (1995-12-29) 29 ธันวาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 25 2 ไทย ทัพหลวง ยูไนเต็ด
3MF พิทัก กองมาทิลาด (1996-08-06) 6 สิงหาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 15 5 ลาว ช้างน้อย
3MF จันทะวิไซ ขุนทุมพอน (2004-02-17) 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (20 ปี) 11 0 ลาว เฮซรา
3MF พุดทะลัก ทองสะนิด (2002-12-03) 3 ธันวาคม ค.ศ. 2002 (22 ปี) 2 0 ลาว เฮซรา
3MF พูสมบูน ปันยาวง (2007-06-20) 20 มิถุนายน ค.ศ. 2007 (17 ปี) 0 0 ลาว ลาว อาร์มี่
3MF พูหลวง วินนะวง (2005-01-12) 12 มกราคม ค.ศ. 2005 (19 ปี) 0 0 ลาว จำปาศักดิ์
3MF อนุลัก ไซยะรัด (2003-10-05) 5 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (21 ปี) 0 0 ลาว น้ำทา ยูไนเต็ด
3MF ดาโมท ทองคำสะหวัด (2004-04-03) 3 เมษายน ค.ศ. 2004 (20 ปี) 3 0 ลาว เฮซรา
3MF อานุสอน ไซปันยา (2002-12-16) 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 (22 ปี) 9 0 ลาว ช้างน้อย

4FW บุญพะจัน บุญคง (กัปตันทีม) (2000-11-29) 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (24 ปี) 23 4 กัมพูชา สวายเรียง
4FW โจนี่ แหวนปะเสิด (2002-11-27) 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (22 ปี) 13 1 ลาว เฮซรา
4FW กี้ดาวอน สุวันนี (1999-12-22) 22 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 10 1 ลาว ช้างน้อย
4FW ปีเตอร์ พันทะวง (2006-02-15) 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 (18 ปี) 0 0 ลาว เฮซรา
4FW สีสะหวาด ดาลาวง (1996-08-11) 11 สิงหาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 0 0 ลาว ลาว อาร์มี่
4FW สุกพะจัน เลื่อนทะลา (2002-08-24) 24 สิงหาคม ค.ศ. 2002 (22 ปี) 0 0 ลาว มาสเตอร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Groll, Daniel. "FIFA Friendlies 2017 - World - Results, Tables, Fixtures, Statistics & Club Profiles". www.weltfussballarchiv.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16. สืบค้นเมื่อ 16 December 2017.
  2. Mamrud, Roberto; Stokkermans, Karel. "Players with 100+ Caps and 30+ International Goals". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2011. สืบค้นเมื่อ 16 December 2010.
  3. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  4. "Laos matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Laos. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
  5. AFF, Editor. "'Play with your heart' – Ketkeophomphone". AFF - The Official Website Of The Asean Football Federation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  6. "Laos". worldfootball.net (ภาษาอังกฤษ).
  7. "AFC life ban for Laos goalkeeper in 2017 Hong Kong match-fix". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-02.
  8. "AFC bans 22 Laos and Cambodian players". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2017-02-16.
  9. "Squad List". laoff.org.la (ภาษาLao). Laos Football Federation.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]