Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัยค์ ศ. ดร.
ยูซุฟ อับดุลลอฮ์ อัลเกาะเราะฎอวี
يوسف عبد الله القرضاوي
ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวีใน ค.ศ. 2006
คำนำหน้าชื่อชัยค์
ส่วนบุคคล
เกิด
ยูซุฟ อับดุลลอฮ์ อัลเกาะเราะฎอวี

09 กันยายน ค.ศ. 1926(1926-09-09)
มรณภาพ26 กันยายน ค.ศ. 2022(2022-09-26) (96 ปี)
ศาสนาอิสลาม
บุตรอับดุรเราะห์มาน ยูซุฟ
อิลฮาม อัลเกาะเราะฎอวี
ยุคสมัยใหม่
ภูมิภาคอียิปต์
นิกายซุนนี
ขบวนการนวยุคนิยม[1]
ผลงานโดดเด่นFiqh al-Zakat, al-Halal wa al-Haram fi al-Islam, Fiqh al-Jihad, Fiqh al-Awlawiyyat, Fiqh al-Dawlah, Madkhal li-Ma'rifat al-Islam และอื่น ๆ
สำนักศึกษามหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร (ไคโร ประเทศอียิปต์)
  • 1952 – Alimiyya degree, College of Usul ad-Din (Religious Fundamentals of Islam)
  • 1958 – Post-Graduate Diploma in Arabic Language Studies, Institute of Advanced Studies in Arabic Language and Literature
  • 1960 – ปริญญาโท
  • 1973 – ปริญญาเอก, Department of Quranic Studies at the College of Usul ad-Din
อาชีพนักวิชาการอิสลาม
ศาสตราจารย์
ดอกเตอร์
ตำแหน่งชั้นสูง
มีอิทธิพลต่อ
รางวัลKing Faisal International Prize (ซาอุดีอาระเบีย)[3]

Prize of the Islamic University (มาเลเซีย)
International Holy Quran Award (ดูไบ)
the Sultan Hassanal Bolkiah Prize (บรูไน)
Al-Owais Prize (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
Medal of Independence, First Class (จอร์แดน)
Top 10 in The 500 Most Influential Muslims, (สหราชอาณาจักร)[4]

Top 20 Intellectuals Worldwide by Foreign Policy magazine, (วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ)[5]
เว็บไซต์al-qaradawi.net

ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี (อาหรับ: يوسف القرضاوي; 9 กันยายน ค.ศ. 1926 – 26 กันยายน ค.ศ. 2022) เป็นนักวิชาการอิสลามชาวอียิปต์ที่อยู่ในโดฮา ประเทศกาตาร์ และประธานสหภาพนักวิชาการมุสลิมนานาชาติ[6] เขาได้รับอิทธิพลจากอิบน์ ตัยมียะฮ์, อิบน์ ก็อยยิม,[7] ซัยยิด เราะชีด ริฎอ,[8][9] ฮะซัน อัลบันนา, Abul Hasan Ali Hasani Nadwi,[10] อะบุล อะลา เมาดูดีย์ และNaeem Siddiqui[11] เขาเป็นที่รู้จักจากรายการ الشريعة والحياة (อัชชะรีอะฮ์ วัลฮะยาต; "ชะรีอะฮ์และชีวิต") ที่ออกอากาศในอัลญะซีเราะฮ์ ซึ่งมีผู้ชมประมาณ 40–60 ล้านคนทั่วโลก[12][13][14]

ชีวประวัติ

[แก้]
อัลเกาะเราะฎอวีขณะศึกษาในสถาบันอัซฮะรีที่ฏ็อนฏอ

อัลเกาะเราะฎอวีเกิดที่จังหวัดฆ็อรบียะ ประเทศอียิปต์ สามารถท่องจำอัลกุรอานก่อนอายุ 10 ขวบ เข้ารับการศึกษาจากมัธยมอัลอัซฮัร และปี 1953 ศึกษาต่อจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร คณะศาสนศาสตร์ ปี 1954 เรียนต่อคณะอักษรศาสตร์ และได้รับประกาศนียบัตรระดับอนุปริญญาด้านอักษรศาสตร์และวรรณคดี ได้รับปริญญาโทด้านการศึกษากุรอานและวจนะของศาสดามุฮัมมัด ได้ปริญญาเอกในคณะเดียวกันด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ในวิทยานิพนธ์เรื่อง "ผลดีในการจ่ายภาษีของมุสลิมต่อการแก้ปัญหาสังคม"

บิดาของเขาเสียชีวิตขณะเขามีอายุเพียงสองขวบ อาของเขาจึงรับภาระเลี้ยงดู เขาถูกจำคุกหลายครั้งเนื่องการเข้าร่วมกับ "อิควานมุสลิมีน" ถูกจับกุมครั้งแรกปี 1949 ในสมัยการปกครองแบบกษัตริย์ และอีกสามครั้งในสมัยประธานาธิบดีญะมาล อับดุนนาศิร คือปี 1954, 1961 และ 1963 หลังจากนั้นเขาเดินทางไปประเทศกาตาร์ และได้รับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมสอนศาสนา ต่อมาจึงได้รับสัญชาติกาตาร์ ปี 1977 เขาจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นคณบดีแห่งมหาวิทยาลัยกาตาร์ เขายังเป็นอาจารย์ของศูนย์วิจัยศึกษาชีวประวัติและจริยวัตรแห่งศาสดามุฮัมมัด จนถึงปัจจุบัน

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อัลเกาะเราะฎอวีเกิดที่อียิปต์แต่อาศัยในประเทศกาตาร์[6] เขามีลูกชาย 3 คน และลูกสาว 4 คน[15] มีสามคนที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร[16][17] อิลฮาม ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี ลูกสาวของเขา ได้รับการยอมรับเป็นนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ในระดับนานาชาติ[18][19] ส่วนอับดุรเราะห์มาน ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี ลูกชายของเขา เป็นนักกวีและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศอียิปต์[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Toguslu, Erkan; Leman, Johan (2014). "Fethullah Gülen, Tariq Ramadan and Yusuf al-Qaradawi: The Pluralisation of Islamic Knowledge". Modern Islamic Thinking and Activism: Dynamics in the West and in the Middle East. Leuven University Press. p. 40. Defending a modernist way, but without calling them modernist, is symptomatic of our three Muslim public intellectuals.
  2. 2.0 2.1 Warren, David H. Debating the Renewal of Islamic Jurisprudence (Tajdīdal-Fiqh) Yusuf al-Qaradawi, his Interlocutors, and the Articulation, Transmission and Reconstruction of the Fiqh Tradition in the Qatar-Context. Diss. The University of Manchester (United Kingdom), 2015. "Muhammad ‘Abduh and Rashid Rida that this thesis uses to enter the discussion. Al-Qaradawi lays claim to their legacy, and this thesis is particularly concerned with the engagement between himself and his interlocutors in the unusual context of Qatar"
  3. "Professor Yousef A. Al-Qaradawi (King Faisal International Prize)". King Faisal International Prize. 1 January 1994. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-17. สืบค้นเมื่อ 9 June 2017.
  4. "Yusuf al-Qaradawi – The 500 Most Influential Muslims". The Muslim 500, United Kingdom. 1 January 2009. สืบค้นเมื่อ 21 June 2017.
  5. "Yusuf al-Qaradawi – The World's Top 20 Public Intellectuals". Foreign Policy Magazine, Washington, D.C., United States. 7 October 2009. สืบค้นเมื่อ 15 June 2017.
  6. 6.0 6.1 AFP (news agency) (11 May 2014). "Qatar-based cleric calls for Egypt vote boycott". Yahoo News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2014.
  7. Shaham, Ron (2018). Rethinking Islamic Legal Modernism: The Teaching of Yusuf al-Qaradawi. Boston: Brill Publishers. pp. 5, 57. ISBN 978-90-04-36899-6.
  8. Shaham, Ron (2018). Rethinking Islamic Legal Modernism: The Teaching of Yusuf al-Qaradawi. Boston: Brill Publishers. p. 5. ISBN 978-90-04-36899-6.
  9. al-Qaradawi, Yusuf (1992). Priorities of The Islamic Movement in The Coming Phase. Awakening Publications. p. 60. ISBN 0953758214.
  10. القرضاوي, يوسف. الشيخ أبو الحسن الندوي كما عرفته الدكتور.
  11. Al-Qaradawi, Yusuf (2002). Ibn al-Qarya wa-l-Kuttab: Malamih Sira wa-Masira, Vol. 1. Dar al-Shorouq. p. 245
  12. No.9 Sheikh Dr Yusuf al Qaradawi, Head of the International Union of Muslim Scholars – "The 500 most influential Muslims in the world 2009", Prof John Esposito and Prof Ibrahim Kalin – Edmund A. Walsh School of Foreign Service, Georgetown University
  13. Smoltczyk, Alexander (15 February 2011). "Islam's Spiritual 'Dear Abby': The Voice of Egypt's Muslim Brotherhood". Der Spiegel. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  14. No.31 Sheikh Dr Yusuf al Qaradawi, Head of the International Union of Muslim Scholars, สืบค้นเมื่อ 4 July 2017
  15. "Google Translate". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2013. สืบค้นเมื่อ 11 April 2010.
  16. Ana Belén Soage (March 2008). "Shaykh Yusuf Al-qaradawi: Portrait of a Leading Islamic Cleric". Middle East Review of International Affairs. 12 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-06. สืบค้นเมื่อ 26 October 2015.
  17. "Livingstone Demands UK Media Apology for Qaradawi". Islamonline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2009. สืบค้นเมื่อ 11 April 2010.
  18. "Advisory Committee to the WNU RI School Al-QARADAWI Ilham". World-nuclear-university. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2011. สืบค้นเมื่อ 11 April 2010.
  19. "Curriculum Vitae Ilham AlQaradawi" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 11 April 2010.
  20. "Abdurrahman Yusuf al-Qaradawi: new branches of National Association for Change Will open soon in Europe and the United States". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]