รีดบักโบฮอร์
รีดบักโบฮอร์ | |
---|---|
รีดบักโบฮอร์ตัวผู้ในอุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี, แทนซาเนีย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
วงศ์: | Bovidae |
สกุล: | Redunca |
สปีชีส์: | R. redunca |
ชื่อทวินาม | |
Redunca redunca (Pallas, 1767) | |
ชนิดย่อย[2] | |
| |
ชื่อพ้อง[2] | |
รีดบักโบฮอร์ (อังกฤษ: Bohor reedbuck; ชื่อวิทยาศาสตร์: Redunca redunca) เป็นแอนทิโลปขนาดกลาง ที่พบได้ในแอฟริกากลาง
ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 45–60 กิโลกรัม ตัวเมีย 35–45 กิโลกรัม ความสูงตั้งแต่กีบเท้าจนถึงหัวไหล่ 75–85 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 1.2–1.4 เมตร อายุโดยเฉลี่ย 10 ปี
มีเขาเฉพาะตัวผู้ที่โง้งงุ้มไปทางด้านหน้าของส่วนหัว ตัวเมียไม่มีเขา มีจุดเด่น คือ มีต่อมกลิ่นเป็นแผ่นหนังสีดำที่ใต้หูทั้งสองข้างเห็นได้ชัดเจน อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ดงกก, ดงอ้อ, ริมหนองหรือบึง หรือแม่น้ำที่ติดกับทุ่งหญ้า กินใบไม้, หญ้า รวมถึงดอกไม้ตูมในฤดูแล้ง เมื่อสะสมความชื้นจากพืชที่กินเข้าไปแล้วก็จะสามารถอดน้ำได้เป็นเวลานาน
รีดบักโบฮอร์ ที่โตเต็มวัยแล้วมักตกเป็นเหยื่อของสิงโตและฝูงไฮยีนา ส่วนในวัยที่ยังไม่โตเต็มที่ก็จะถูกเสือดาว, เสือชีตาห์, ไฮยีนา, แมวป่า, อินทรีขนาดใหญ่ และงูเหลือมล่าเป็นอาหาร[3]
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าแอฟริกาตอนกลางจนถึงแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงตะวันตก แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 5 ชนิด ได้แก่
- R. r. bohor Rüppell, 1842 : รีดบักโบฮอร์อบิสซิเนีย พบในตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันตกและกลางของเอธิโอเปีย และรัฐบลูไนล์ ในซูดาน
- R. r. cottoni (Rothschild, 1902) : พบในตอนใต้ของซูดาน, ตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐคองโก และอาจเป็นไปได้ว่าอาจอยู่ที่ตอนเหนือของอูกันดา โดยมี R. r. donaldsoni เป็นชื่อพ้อง
- R. r. nigeriensis (Blaine, 1913) : เป็นชนิดย่อยที่พบในไนจีเรีย, ตอนเหนือของแคเมอรูน, ตอนใต้ของชาด และสาธารณรัฐแอฟริกา
- R. r. redunca (Pallas, 1767) : มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เซเนกัลตะวันออกจนถึงโตโก อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของสะวันนาแอฟริกา มีความสัมพันธ์กับชนิดย่อย R. r. nigeriensis ซึ่งยังไม่แน่นอน
- R. r. wardi (Thomas, 1900) : พบในอูกันดา, ตะวันออกของสาธารณรัฐคองโก และแอฟริกาตะวันออก มีชื่อ R. r. ugandae และ R. r. tohi เป็นชื่อพ้อง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ IUCN SSC Antelope Specialist Group (2008). Redunca redunca. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 18 January 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern
- ↑ 2.0 2.1 Wilson, D.E.; Reeder, D.M., eds. (2005). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 722. ISBN 978-0-8018-8221-0.
- ↑ ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 240 หน้า. หน้า 39. ISBN 978-616-90508-0-3
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Redunca redunca ที่วิกิสปีชีส์