Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล
จอมพล วิลเฮ็ล์ม ไคเทิลในปีค.ศ. 1942
ชื่อเล่นลาไคเทิล (Lakeitel)
เกิด22 กันยายน ค.ศ. 1882(1882-09-22)
เฮ็ล์มเชอโรเดอ จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต16 ตุลาคม ค.ศ. 1946(1946-10-16) (64 ปี)
เนือร์นแบร์ค เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร
รับใช้ เยอรมนี
 เยอรมนี
 ไรช์เยอรมัน
แผนก/สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน
 ไรชส์แฮร์
 กองทัพบกเยอรมัน
ประจำการ1901–1945
ชั้นยศ จอมพล
บังคับบัญชากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
บำเหน็จกางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก
ลายมือชื่อ

วิลเฮ็ล์ม โบเดอวีน โยฮัน กุสทัฟ ไคเทิล (เยอรมัน: Wilhelm Bodewin Johann Gustav Keitel) นายทหารชาวเยอรมัน เป็นจอมพลเยอรมันซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตำแหน่งของเขาเทียบได้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ประวัติ

[แก้]

ไคเทิลเป็นบุตรคนโตของนายคาร์ล ไคเทิล เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ ในตอนแรกเขาคิดอยากสืบทอดกิจการฟาร์มจากบิดา แต่บิดาไม่ยอมเพราะบิดาต้องการดูแลกิจการด้วนตนเอง ด้วยเหตุนี้เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมในปี 1901 เขาจึงเข้าเรียนต่อในโรงเรียนนายร้อยปรัสเซีย ซึ่งเป็นค่านิยมของบรรดาลูกชายเจ้าของที่ดินในขณะนั้น โดยตัวเขาเลือกสังกัดเหล่าทหารปืนใหญ่ และได้ติดยศร้อยตรีในปี 1902

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

[แก้]

ในปี 1914 ร้อยโทไคเทิลปฏิบัติหน้าที่ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแนวรบด้านตะวันตก มีส่วนร่วมในการรบในภาคเหนือของประเทศเบลเยียมและได้รับบาดเจ็บหนัก ในปีนั้นเขาได้พบกับพันตรีแวร์เนอร์ ฟ็อน บล็อมแบร์ค ผู้ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อเขาในเวลาต่อมา หลังไคเทิลรักษาตัวจนหายดี เขาได้เลื่อนเป็นร้อยเอกและได้รับแต่งตั้งเป็นนายทหารเสนาธิการของกองพลแห่งหนึ่ง

ช่วงเว้นว่างสงคราม

[แก้]

ภายหลังสงครามสิ้นสุดในปี 1919 ไคเทิลยังประจำการในกองทัพต่อไป เขามีตำแหน่งเป็นครูสอนวิชายุทธวิธีในโรงเรียนทหารม้า ณ ฮันโนเฟอร์ เป็นเวลาสามปี แล้วถูกโยกย้ายไปเป็นนายทหารเสนาธิการของกรมทหารปืนใหญ่ที่หก ต่อมาในปี 1925 เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองในสำนักงานกำลังพล ต่อมาในปี 1927 ไคเทิลได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 กองพลที่ 2

ในปี 1929 ไคเทิลเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงการสงคราม จนกระทั่งในปี 1935 ได้ดำรงตำแหน่งปลัดแวร์มัคท์ ภายใต้รัฐมนตรีแวร์เนอร์ ฟ็อน บล็อมแบร์ค ต่อมาเมื่อฮิตเลอร์เข้าบัญชาการแวร์มัคท์โดยตรงในปี 1938 ฮิตเลอร์ยุบกระทรวงการสงคราม (ซึ่งเป็นการปลดจอมพลบล็อมแบร์คในตัว) และตั้งกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ขึ้นแทน ไคเทิลเป็นหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่ฯ ด้วยอุปนิสัยว่านอนสอนง่ายต่อฮิตเลอร์ บรรดาเพื่อนนายทหารแอบเรียกเขาว่าเป็นชายที่ "ได้ครับผม เหมาะสมครับท่าน"

สงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]
จอมพลไคเทิล (ซ้ายสุด) ในการประชุมทางทหาร (1940)

ในสงครามโลกครั้งที่สอง ไคเทิลในฐานะหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ ถือเป็นผู้มีส่วนตัดสินใจต่อปฏิบัติการทางทหารในภาพรวม อย่างไรก็ตาม ในวาระส่วนใหญ่ เขาวางตัวเป็นเพียงตรายางของฮิตเลอร์ และไม่ได้ดูกระตือรือร้นที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ในปี 1940 ภายหลังความสำเร็จในยุทธการที่ฝรั่งเศส ไคเทิลพร้อมนายพลอีกสิบเอ็ดคนได้รับเลื่อนยศเป็นจอมพลในวันที่ 19 กรกฎาคม

ในปี 1945 ภายหลังกองทัพแดงบุกเข้ากรุงเบอร์ลิน จอมพลไคเทิลเป็นผู้ลงนามในตราสารยอมจำนนของเยอรมนีเพื่อยุติสงคราม ต่อมาถูกนำตัวเข้ารับการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คของฝ่ายสัมพันธมิตร เขาพยายามต่อสู้คดีแต่สุดท้ายถูกตัดสินโทษประหาร ถือเป็นหนึ่งในสามผู้บัญชาการระดับสูงสุดของเยอรมันที่ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดี เขาถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในวันที่ 16 ตุลาคม 1946 แม้ว่าเจ้าตัวเรียกร้องขอการยิงประหารชีวิตโดยแถวทหารก็ตาม

ยศทหาร

[แก้]
จอมพลไคเทิลลงนามตราสารยอมจำนน (8 พ.ค. 1945)
  • ตุลาคม 1901 : นักเรียนทำการนายร้อย (Fähnrich)
  • สิงหาคม 1902: ร้อยตรี (Leutnant)
  • สิงหาคม 1910 : ร้อยโท (Oberleutnant)
  • ตุลาคม 1914 : ร้อยเอก (Hauptman)
  • มิถุนายน 1923  : พันตรี (Major)
  • กุมภาพันธ์ 1929 : พันโท (Oberstleutnant)
  • ตุลาคม 1931  : พันเอก (Oberst)
  • เมษษยน 1934  : พลตรี (Generalmajor)
  • มกราคม 1936 : พลโท (Generalleutnant)
  • สิงหาคม 1937: พลเอกทหารปืนใหญ่ (General der Artillerie )
  • พฤศจิกายน 1938 : พลเอกอาวุโส (Generaloberst)
  • กรกฎาคม 1940 : จอมพล (Generalfeldmarschall)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Barnett, Correlli, ed. (2003) [1989]. Hitler’s Generals. New York: Grove Press. ISBN 978-0-80213-994-8
  • Brinkley, Douglas, and Michael E. Haskew, eds. (2004). The World War II Desk Reference. New York: Grand Central Press. ISBN 978-0-06052-651-1
  • Burleigh, Michael (2010). Moral Combat: Good and Evil in World War II. New York and London: Harper Collins. ISBN 978-0-00-719576-3
  • Carell, Paul (1994). Scorched Earth. Atglen, PA: Schiffer Military History. ISBN 0-88740-598-3
  • Clark, Alan (2002) [1965] Barbarossa: The Russian-German Conflict, 1941–45. New York: Harper Perennial. ISBN 0-688-04268-6
  • Conot, Robert E. (2000) [1947]. Justice at Nuremberg. New York: Carroll & Graf Publishers. ISBN 978-0-88184-032-2
  • Higgins, Trumbull (1966) Hitler and Russia: The Third Reich in a Two-front War, 1937–1943. New York: The Macmillan Company. ASIN: B007T4QZQS
  • Hildebrand, Klaus (1986). The Third Reich. London & New York: Routledge. ISBN 0-04-9430327
ก่อนหน้า วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล ถัดไป
พลเอกทหารราบ ฮันส์ เครพส์ เสนาธิการกองทัพบก
(1 พฤษภาคม 1945 — 13 พฤษภาคม 1945)
พลเอกอาวุโส อัลเฟรท โยเดิล
จอมพล แวร์เนอร์ ฟ็อน บล็อมแบร์ค
(ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการสงคราม)
หัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์
(4 กุมภาพันธ์ 1938 — 8 พฤษภาคม 1945)
พลตรี วัลเทอร์ ฟ็อน ไรเชอเนา ปลัดแวร์มัคท์
(1 ตุลาคม 1935 — 4 กุมภาพันธ์ 1938)