Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ศิลปะเชิงแนวคิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศิลปะเชิงแนวคิด[1] (อังกฤษ: Conceptual art) คือศิลปะที่กรอบความคิด (concept) หรือ ความคิดที่เกี่ยวกับงานมีความสำคัญกว่าความงามและวัสดุที่ใช้ ฉะนั้นงานหลายชิ้นที่สร้างขึ้นที่บางครั้งก็เรียกว่า “ศิลปะจัดวาง” ของศิลปิน ซอล เลวิทท์จึงเป็นงานที่สามารถประกอบขึ้นได้โดยผู้ใดก็ได้โดยการทำตามคำสั่งที่ซอลระบุไว้ให้[2] วิธีการสร้างงานศิลปะนี้เป็นพื้นฐานของงานของคำนิยามของ “ศิลปะเชิงแนวคิด” ของซอลที่ว่า:

การสร้างศิลปะเชิงแนวคิด ความคิดหรือแนวคิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสร้างงาน เมื่อศิลปินใช้รูปลักษณ์ของศิลปะเชิงแนวคิดก็จะหมายความว่าการวางแผนและการตัดสินใจที่จะสร้างงานได้รับการทำไปแล้ว การสร้างงานจริงจึงเป็นการทำอย่างเป็นพิธีเท่านั้น ความคิดกลายมาเป็นเครื่องมือในการสร้างงานศิลปะ

ประวัติ

[แก้]

ศิลปะแนวนี้กลุ่มแรกๆ ที่ทำงานด้านศิลปะเชิงแนวคิด คือกลุ่มลัทธิอนุตรนิยม (Suprematism) หรือสุปรีมาติสม์ คาซิมีร์ มาเลวิช (Kashmir Malevich) ค.ศ. 1878-1935 โดยวางทฤษฎีภาพเขียนชื่อว่า จัตุรัสสีดำ (1915) ไว้ว่า กำหนดวิธีเขียน และกรรมวิธีอื่นๆให้อยู่ในรูปทรงเรขาคณิตแบบง่าย เช่นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หรือกากบาท ศิลปินยึดหลักที่ว่าปรากฏการณ์ต่างๆในโลก ไม่มีความหมายในตัวเองเลย จุดสำคัญส่วนใหญ่คือ ความรู้สึกของผู้ดูเมื่อพบสิ่งต่างๆในโลกรอบๆตัวต่างหาก ความรู้สึกนี้จะปรากฏเด่น สร้างความคิดสร้างสรรค์ สะเทือนใจมนุษย์มากกว่ารูปร่างของวัตถุนั้นๆ [4] ต่อมาเป็นกลุ่มลัทธิดาดา (Dada) คือ มาร์เชล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) ค.ศ 1917-1964 ที่ทำให้วัสดุสำเร็จรูป เข้าสู่ศิลปะที่เป็น รูป และความงาม ของ ความคิด ทำให้ศิลปะหลุดออกไปจากความสวยงามและงานฝีมือแบบเดิมๆ[5]และกลุ่มแอ็คชัน (Action) อีฟ แคลง (Yves Klein) ใช้ผู้หญิงเปลือยตัวที่ละเลงสีน้ำเงินบนร่างกายแล้วไปเกลือกกลิ่งบนผืนผ้าที่ขึงกางอยู่บนพื้นห้อง[6]

ส่วนศิลปินที่ทำงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะเชิงแนวคิดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง คือ คริสโต (Jarachef Cristo) ใช้คอนเซ็ป เรื่องการห่อ (package) โดยใช้วัสดุต่างๆ ที่สามารถห่อได้มาใช้ห่อ โดยมีหลักคิดในการสร้างว่า สิ่งที่ถูกปิดบังอำพรางไว้จะก่อให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ [6]และคนต่อมา ออง คาวารา (On Kawara) ทำงานชุด “ฉันตื่นแล้ว” คาวาราจะส่งไปรษณียบัตรถึงเพื่อนและคนรู้จักเป็นจำนวนสองฉบับทุกๆ วัน ด้านหลังไปรษณียบัตรประทับตราว่า “ฉันตื่นแล้ว” ไว้พร้อมลงวันที่ ผลงานชิ้นนี้คาราวาต้องการสื่อสารถึงช่วงเวลาแห่งสติ[7]

ศิลปินคนสำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-22.
  2. "Facsimile of original instructions for Wall Drawing 811 by Phil Gleason, with a view of the installed work at Franklin Furnace. October 1996". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-02. สืบค้นเมื่อ 2010-01-22.
  3. "Paragraphs on Conceptual Art", Artforum, June 1967.
  4. "Malevich, Kasimir". Malevich, Kasimir: 2002. Suprematist Compositions. Reference web : http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/malevich/sup/. July 15, 2010.
  5. "Merritt, Richard K." เก็บถาวร 2015-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.Merritt, Richard K. 2010. Intentions: Logical and Subversive The Art of Marcel Duchamp, Concept Visualization, and Immersive Experience.THE MARCEL DUCHAMP STUDIES ONLINE JOURNAL. Reference web : http://www.toutfait.com/online_journal_details.php?postid=1567 เก็บถาวร 2015-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. July 15, 2010 .
  6. 6.0 6.1 ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์, รศ. 2547.ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : บริษัทวาดศิลป์. 240 หน้า, ISBN 974-961-9706 (หน้า 230, 232)
  7. อณิมา ทัศจันทร์. 2553. ศิลปะเชิงแนวคิดของ.ดาเนียล มาร์โซนา. กรุงเทพฯ : บริษัทเดอะแกรทไฟน์อาร์ท จำกัด,100 หน้า, ISBN 978-974-1605-08-8 ,(หน้า 6,70)

ดูเพิ่ม

[แก้]

หนังสือ:

  • Klaus Honnef, Concept Art, Cologne: Phaidon, 1972
  • Ermanno Migliorini, Conceptual Art, Florence: 1971
  • Ursula Meyer, ed., Conceptual Art, New York: Dutton, 1972
  • Gregory Battcock, ed., Idea Art: A Critical Anthology, New York: E. P. Dutton, 1973
  • Juan Vicente Aliaga & José Miguel G. Cortés, ed., Arte Conceptual Revisado/Conceptual Art Revisited, Valencia: Universidad Politécnica de Valencia, 1990
  • Thomas Dreher, Konzeptuelle Kunst in Amerika und England zwischen 1963 und 1976 (Thesis Ludwig-Maximilians-Universität, München), Frankfurt am Main: Peter Lang, 1992
  • Robert C. Morgan, Conceptual Art: An American Perspective, Jefferson, NC/London: McFarland, 1994
  • Robert C. Morgan, Art into Ideas: Essays on Conceptual Art, Cambridge et al.: Cambridge University Press, 1996
  • Tony Godfrey, Conceptual Art, London: 1998
  • Alexander Alberro & Blake Stimson, ed., Conceptual Art: A Critical Anthology, Cambridge, Mass., London: MIT Press, 1999
  • Michael Newman & Jon Bird, ed., Rewriting Conceptual Art, London: Reaktion, 1999
  • Anne Rorimer, New Art in the 60s and 70s: Redefining Reality, London: Thames & Hudson, 2001
  • Daniel Marzona, Conceptual Art, Cologne: Taschen, 2005
  • Michael Corris, ed., Conceptual Art: Theory, Practice, Myth, Cambridge, Mass.,: Cambridge University Press, 2004

นิทรรศการ:

  • January 5-31,1969, exh.cat., New York: Seth Siegelaub, 1969
  • When Attitudes Become Form, exh.cat., Bern: Kunsthalle Bern, 1969
  • 557,087, exh.cat., Seattle: Seattle Art Museum, 1969
  • Konzeption/Conception, exh.cat., Leverkusen: Städt. Museum Leverkusen et al., 1969
  • Conceptual Art and Conceptual Aspects, exh.cat., New York: New York Cultural Center, 1970
  • Art in the Mind, exh.cat., Oberlin, Ohio: Allen Memorial Art Museum, 1970
  • Information, exh.cat., New York: Museum of Modern Art, 1970
  • Software, exh.cat., New York: Jewish Museum, 1970
  • Situation Concepts, exh.cat., Innsbruck: Forum für aktuelle Kunst, 1971
  • Art conceptuel I, exh.cat., Bordeaux: capcMusée d’art contemporain de Bordeaux, 1988
  • L'art conceptuel, exh.cat., Paris: ARC–Musée d’Art Moderne de la Ville de Paris, 1989
  • Christian Schlatter, ed., Art Conceptuel Formes Conceptuelles/Conceptual Art Conceptual Forms, exh.cat., Paris: Galerie 1900–2000 and Galerie de Poche, 1990
  • Reconsidering the Object of Art: 1965-1975, exh.cat., Los Angeles: Museum of Contemporary Art, 1995
  • Global Conceptualism: Points of Origin, 1950s-1980s, exh.cat., New York: Queens Museum of Art, 1999

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]