Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

อุทยานวัฒนธรรมการูดาวิซนูเกินจานา

พิกัด: 8°48′36″S 115°10′05″E / 8.81°S 115.168°E / -8.81; 115.168
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานวัฒนธรรมการูดาวิซนูเกินจานา
Taman Budaya Garuda Wisnu Kencana
อุทยานวัฒนธรรมการูดาวิซนูเกินจานาตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
อุทยานวัฒนธรรมการูดาวิซนูเกินจานา
ที่ตั้งใกล้กับท่าอากาศยานงูระฮ์ ไร
เมืองที่ใกล้ที่สุดบาดุง
พิกัดภูมิศาสตร์8°48′36″S 115°10′05″E / 8.81°S 115.168°E / -8.81; 115.168
พื้นที่60 เฮกตาร์
ความสูง263 เมตร (863 ฟุต)
เปิดตัว1989
ผู้บริหารอาลัมซูเตอรากรุ๊ป
เวลาให้บริการ8:00 - 22:00 น.
เว็บไซต์https://www.gwkbali.com/

อุทยานวัฒนธรรมการูดาวิซนูเกินจานา (อินโดนีเซีย: Taman Budaya Garuda Wisnu Kencana; Garuda Wisnu Kencana Cultural Park; ย่อว่า GWK; ตรงกับรากภาษาสันสกฤตว่า ครุฑวิษณุกาญจนา) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองบาดุง เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติบาหลีงูระฮ์ ไร เป็นของบริษัทเครืออาลัมซูเตอรา (Alam Sutera) มีขนาดประมาณ 60 เฮกตาร์ ตั้งอยู่ที่ความสูง 263 m (863 ft) จากระดับน้ำทะเล[1]

ที่ใจกลางของอุทยานเป็นที่ตั้งของรูปปั้นการูดาวิซนูเกินจานา (ครุฑ-วิษณุ-กาญจน) ซึ่งแสดงรูปพระวิษณุทรงครุฑขณะเสด็จออกตามหาน้ำอมฤต[2] โครงการก่อสร้างรูปปั้นนี้เป็นประเด็นถกเถียงในชาวบาหลี โดยเฉพาะในชาวมุสลิมของบาหลีที่มองว่าการสร้างรูปปั้นทางศาสนาของศาสนาหนึ่ง ๆ ที่มีขนาดใหญ่โตอาจทำให้สมดุลทางจิตวิญญาณของเกาะเสียไป รวมถึงข้อคัดค้านว่าการก่อสร้างวัตถุเชิงศาสนาเช่นนี้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นสิ่งไม่สมควร กระนั้นโครงการนี้ก็ได้รับเสียงตอบรับเชิงบวกจากกลุ่มที่เชื่อว่าจะช่วยสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ขึ้นได้[3] รูปปั้นความสูง 75 m (246 ft) เป็นผลงานออกแบบโดย โญมัน นูอาร์ตา[4] ประกอบเปิดในปี 2018 โดยมีประธานาธิบดีอินโดนีเซีย โจโก วีโดโด เดินทางมาร่วมพิธี[5][6]

พื้นที่ของอุทยานใช้งานจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่งานแสดงดนตรีจนถึงงานประชุม โดยมีงานสำคัญที่จัดที่อุทยานนี้[7] การแสดงดนตรีโดยวงดนตรีร็อก ไอเรินเมเดนที่มีคนเข้าร่วมมากกว่า 7,000 คนในปี 2011[5] และวงพารามอร์ ในปีเดียวกัน และในปี 2022 ยังเป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงมื้อค่ำต้อนรับผู้นำนานาชาติในงานประชุมสุดยอด G20[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mengukir Bukit Kapur Ungasan Menjadi Taman Budaya". Kompas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
  2. "Garuda Wisnu Kencana (GWK) - Location, History, Facts & Attractions". 2022-08-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-22.
  3. "Nuarta 'resurrects' tallest Wisnu statue". July 24, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2013.
  4. "Meet the Designer of Garuda Wisnu Kencana : Nyoman Nuarta - NOW! Bali". NOW! Bali. 1 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  5. 5.0 5.1 "Tweets from Iron Maiden concert yesterday at GWK | GWK Cultural Park | Bali, Indonesia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-02-21.
  6. "Jokowi resmikan patunng GWK terwujud setelah 28 Tahun". Kompas. สืบค้นเมื่อ 23 September 2018.
  7. "Success at last for Bali's tallest monument". August 18, 2013.
  8. "Garuda Wisnu Kencana park to dazzle international delegates at G20 Summit". The Jakarta Post. 15 November 2022. สืบค้นเมื่อ 15 November 2022.