Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ฮิวสตัน

พิกัด: 29°45′46″N 95°22′59″W / 29.76278°N 95.38306°W / 29.76278; -95.38306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิวสตัน

Houston
นคร
City of Houston
นครฮิวสตัน
ธงของฮิวสตัน
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของฮิวสตัน
ตรา
สมญา: 
เมืองอวกาศ (ทางการ)
ที่ตั้งในและรอบเทศมณฑลแฮร์ริส
ที่ตั้งในและรอบเทศมณฑลแฮร์ริส
ฮิวสตันตั้งอยู่ในสหรัฐ
ฮิวสตัน
ฮิวสตัน
ที่ตั้งในสหรัฐ
พิกัด: 29°45′46″N 95°22′59″W / 29.76278°N 95.38306°W / 29.76278; -95.38306
ประเทศ สหรัฐ
รัฐ เท็กซัส
เทศมณฑลแฮร์ริส, ฟอร์ตเบนด์, มอนต์โกเมอรี
ก่อตั้ง5 มิถุนายน ค.ศ. 1837
ตั้งชื่อจากแซม ฮิวสตัน
การปกครอง
 • ประเภทนายกเทศมนตรีเข้มแข็ง–สภา
 • องค์กรสภานครฮิวสตัน
 • นายกเทศมนตรีซิลเวสเตอร์ เทิร์นเนอร์ (เดโมแครต)
พื้นที่[1]
 • นคร671.70 ตร.ไมล์ (1,739.69 ตร.กม.)
 • พื้นดิน640.47 ตร.ไมล์ (1,658.80 ตร.กม.)
 • พื้นน้ำ31.23 ตร.ไมล์ (80.88 ตร.กม.)
 • รวมปริมณฑล10,062 ตร.ไมล์ (26,060 ตร.กม.)
ความสูง80 ฟุต (32 เมตร)
ประชากร
 (2020)[3]
 • นคร2,320,268 คน
 • อันดับสหรัฐ: อันดับที่ 4
 • ความหนาแน่น3,622.77 คน/ตร.ไมล์ (1,398.76 คน/ตร.กม.)
 • เขตเมือง4,944,332 (อันดับที่ 7 ของประเทศ) คน
 • รวมปริมณฑล7,066,141 (อันดับที่ 5 ของประเทศ) คน
 • เดมะนิมฮิวสโตเนียน[2]
เขตเวลาUTC−6 (CST)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC−5 (CDT)
รหัสไปรษณีย์770xx, 772xx (ตู้ไปรษณีย์)
รหัสพื้นที่713, 281, 832, 346
รหัส FIPS48-35000[4]
รหัส GNIS1380948[5]
ท่าอากาศยานหลักท่าอากาศยานจอร์จบุชอินเตอร์คอนติเนนตัล (IAH), ท่าอากาศยานวิลเลียม พี. ฮ็อบบี (HOU)
อินเตอร์สเตต
ทางหลวงสหรัฐ
ทางหลวงรัฐ
ระบบขนส่งมวลชนฮิวสตันเมโทร
เว็บไซต์www.houstontx.gov

ฮิวสตัน (อังกฤษ: Houston; /ˈhjuːstən/ ( ฟังเสียง) hew-stən) เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐเท็กซัส, เมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของสหรัฐ, เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้ของสหรัฐ และเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 ของทวีปอเมริกาเหนือ โดยใน ค.ศ. 2019 มีประชากรโดยประมาณ 2,320,268 คน[6] ฮิวสตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐเท็กซัส ใกล้กับอ่าวกัลเวสตันและอ่าวเม็กซิโก เป็นเมืองหลวงของเทศมณฑลแฮร์ริสและเป็นเมืองหลักของเขตมหานครเกรเทอร์ฮิวสตันซึ่งเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 ของสหรัฐ นอกจากนี้ ฮิวสตันยังเป็นเมืองสำคัญทางตะวันออกเฉียงใต้ของอภิภูมิภาคที่เรียกว่าสามเหลี่ยมเท็กซัส[7]

ฮิวสตันมีพื้นที่ทั้งหมด 637.4 ตารางไมล์ (1,651 ตารางกิโลเมตร)[8] จึงเป็นเมืองที่มีการขยายตัวมากเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ (รวมถึงพื้นที่รวมนคร-เทศมณฑล) และเป็นเมืองที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศซึ่งรัฐบาลไม่เกี่ยวข้องกับเทศมณฑล แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองจะอยู่ในเทศมณฑลแฮร์ริช แต่ก็มีพื้นที่ส่วนน้อยของเมืองที่ขยายเข้าไปในเทศมณฑลฟอร์ตเบนด์และมอนต์โกเมอรี เมืองมีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ ในเขตเกรเทอร์ฮิวสตันอย่างชูการ์แลนด์และเดอะวุดแลนดส์

เมืองฮิวสตันก่อตั้งโดยกลุ่มนักลงทุนที่ดินเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1836[9] บริเวณจุดบรรจบของบัฟฟาโลบายูและไวต์โอ๊กบายู (ซึ่งรู้จักกันในชื่อ อัลเลนส์แลนดิง) ต่อมาได้จัดตั้งเป็นนครเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1837[10][11] เมืองตั้งชื่อตามนายพลแซม ฮิวสตันซึ่งเคยเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐเท็กซัสและประกาศเอกราชรัฐเท็กซัสจากเม็กซิโกในยุทธการซันจาซินโตซึ่งเกิดขึ้นห่างจากอัลเลนส์แลนดิงไปทางทิศตะวันออกประมาณ 25 ไมล์ (40 กิโลเมตร)[11] หลังจากที่ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเท็กซัสเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1830 ฮิวสตันได้เติบโตขึ้นอย่างมั่นคงจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาคในช่วงที่เหลือของคริสต์ศตวรรษที่ 19[12]

เมื่อเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายอย่างมีส่วนทำให้ฮิวสตันมีการเติบโตที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางเรือและอุตสาหกรรมทางรางที่เฟื่องฟู การลดบทบาทของกัลเวสตันในฐานะเมืองท่าหลักของรัฐหลังจากพายุเฮอริเคนถล่มในปี 1900 การก่อสร้างคลองเดินเรือฮิวสตัน และการขึ้นราคาน้ำมันในรัฐเท็กซัส[12] กลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจของเมืองมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นจากการที่เมืองเป็นที่ตั้งของศูนย์การแพทย์เท็กซัสซึ่งเป็นสถาบันสาธารณสุขและวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซาซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ควบคุมภารกิจ

เศรษฐกิจของฮิวสตันในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีพื้นฐานจากอุตสาหกรรมพลังงาน การผลิต การบินและการขนส่ง ความก้าวหน้าในด้านสาธารณสุขและการขุดเจาะบ่อน้ำมันทำให้ฮิวสตันมีสำนักงานฟอร์จูน 500 ภายในเขตเมืองมากเป็นอันดับที่ 2 ประเทศรองจากนครนิวยอร์ก[13][14] ท่าเรือฮิวสตันเป็นท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมากที่สุดในสหรัฐ และมีการขนส่งสินค้าโดยรวมมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ[15]

ฮิวสตันมีฉายาว่า "เมืองบายู", "เมืองอวกาศ", "เมืองเอช" และ "เดอะ 713" เมืองได้กลายเป็นนครระดับโลกด้วยจุดแข็งทางวัฒนธรรม การแพทย์ และการวิจัย ประชากรในเขตเมืองมีภูมิหลังทางชาติพันธุ์และศาสนาที่หลากหลาย และยังมีชุมชนนานาชาติขนาดใหญ่ที่กำลังเติบโต ฮิวสตันเป็นเขตมหานครที่มีความหลากหลายทางประชากรมากที่สุดในรัฐเท็กซัส และยังถูกกล่าวถึงในฐานะมหานครหลักที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากที่สุดในสหรัฐ[16] เมืองมีสถาบันและงานนิทรรศการทางวัฒนธรรมหลายแห่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 7 ล้านคนต่อปีให้มาเยือนเขตพิพิธภัณฑ์ เขตพิพิธภัณฑ์มีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์และพื้นที่ชุมชนรวมกันถึง 19 แห่ง ฮิวสตันยังมีการแสดงศิลปะที่ยังคงดำเนินการอยู่ที่เขตโรงละครและมีงานศิลปะจัดแสดงหลายครั้งในรอบปี[17]

ภูมิอากาศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "2019 U.S. Gazetteer Files". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ August 7, 2020.
  2. Reiss, Aaron (June 17, 2014). "Top 10 Ways to Identify a Native Houstonian". Houston Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2017. สืบค้นเมื่อ September 2, 2017.
  3. "U.S. Census Bureau QuickFacts: Houston city, Texas". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ June 6, 2021.
  4. "U.S. Census website". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ January 31, 2008.
  5. "US Board on Geographic Names". United States Geological Survey. October 25, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2012. สืบค้นเมื่อ January 31, 2008.
  6. "Annual Estimates of the Resident Population for Incorporated Places of 50,000 or More, Ranked by July 1, 2019 Population: April 1, 2010 to July 1, 2019". United States Census Bureau, Population Division. สืบค้นเมื่อ May 21, 2020.
  7. "The Texas Triangle Megaregion Nears 21 Million Residents". Texas News Express. October 6, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ November 2, 2020.
  8. "Houston Texas Geography Profile". data.census.gov. สืบค้นเมื่อ May 8, 2019.
  9. "Facts and Figures". www.houstontx.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2019. สืบค้นเมื่อ February 21, 2019.
  10. แม่แบบ:Handbook of Texas
  11. 11.0 11.1 McComb, David G. (January 19, 2008). "Houston, Texas". Handbook of Texas Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2011. สืบค้นเมื่อ June 1, 2008.
  12. 12.0 12.1 Gray, Lisa (May 19, 2016). "Promise – and a few fibs – launched this city's destiny". Houston Chronicle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2018. สืบค้นเมื่อ July 3, 2018.
  13. Fortune 500 2010: Cities เก็บถาวร สิงหาคม 24, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed May 25, 2011
  14. "A.T. Kearney Global Cities Index 2019" (PDF). A.T. Kearney. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2011. สืบค้นเมื่อ July 25, 2015.
  15. "2010 Port Industry Statistics, American Association of Port Authorities" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2013. สืบค้นเมื่อ November 2, 2012.
  16. "Houston Surpasses New York And Los Angeles As The 'Most Diverse In Nation'". Huffington Post. March 5, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2018. สืบค้นเมื่อ April 12, 2018.
  17. ""Museums and Cultural Arts" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ กรกฎาคม 11, 2010. (31.8 KB)", Greater Houston Partnership. Retrieved on March 21, 2009.
  18. "NCDC: U.S. Climate Normals" (PDF). National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  19. "Climatological Normals of Houston". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-05-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]