เขาโอลิมปัส (ดาวอังคาร)
ภูเขาไฟโอลิมปัส | |
---|---|
ภาพถ่ายจากยาน ไวกิง 1 | |
ความสูง | 21,229 เมตร เหนือระดับน้ำดาตัน 24 กิโลเมตรเหนือผืนดิน 26 กิโลเมตรเหนือเปลือกทวีป [1] |
ที่ตั้ง | ที่ราบสูงธาร์ซิส, ดาวอังคาร |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 18°39′N 226°12′E / 18.65°N 226.2°E [2] |
ประเภท | ภูเขาไฟรูปโล่ |
ค้นพบโดย | มาริเนอร์ 9 |
เขาโอลิมปัส (ละติน: Olympus Mons) เป็นภูเขาไฟรูปโล่ขนาดใหญ่บนดาวอังคาร จากการวัดด้วยเครื่องมือเรเซอร์วัดความสูง (MOLA) แสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟลูกนี้มีความสูงประมาณ 22 กม.(13.6 ไมล์ or 72,000 ฟุต)[3] ทำให้มันมีความสูงกว่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเลของเอเวอเรสต์ถึง 2 เท่าครึ่ง จึงทำให้มันกลายเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุด, ภูเขาที่ใหญ่ที่สุดที่พบบนดาวเคราะห์และครั้งหนึ่งมันเคยได้ชื่อว่าสูงที่สุดในระบบสุริยะจนกระทั่งค้นพบรีอาซิลเวียบน 4 เวสตาจึ่งทำให้กลายเป็นภูเขาที่สูงเป็นอันดับที่ 2 ของระบบสุริยะแทน ในด้านของขนาดพื้นที่นั้นภูเขาไฟโอลิมปัสเป็นภูเขาไฟที่ครอบคลุมพื้นที่มากเป็นอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากทามู มาซซิฟในมหาสมุทรแปซิฟิก[4] ภูเขาไฟโอลิมปัสเป็นภูเขาไฟที่อายุน้องที่สุดบนดาวอังคาร โดยคาดว่าน่าจะก่อตัวขึ้นในยุคเฮ็ซเพียเรียน นักดาราศาสตร์มีการค้นพบมันตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ในลักษณะแอลบีโดที่เรียกมันว่า นิกซ์โอลิมปิกา(ภาษาละตินแปลว่า "หิมะโอลิมปัส") ในช่วงแรกนั้นมีข้อสงสัยเป็นอย่างมากว่ามันคืออะไรจนกระทั่งยานสำรวจอวกาศยืนยันว่ามันเป็นภูเขา[5]
ภูเขาไฟลูกนี้ตั้งอยู่ในซีกตะวันตกของดาวอังคารบริเวณพิกัด 18°39′N 226°12′E / 18.65°N 226.2°E,[2] หรือบริเวณขอบทางตะวันตกเฉียงเหนือของธาร์ซิส
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Neil F. Comins – Discovering the Essential Universe (2012) – Page 148
- ↑ 2.0 2.1 "เขาโอลิมปัส (ดาวอังคาร)". Gazetteer of Planetary Nomenclature. USGS Astrogeology Research Program.
- ↑ Plescia, J. B. (2004). "Morphometric Properties of Martian Volcanoes". J. Geophys. Res. 109: E03003. Bibcode:2004JGRE..109.3003P. doi:10.1029/2002JE002031.
- ↑ Stephen Chen (24 March 2016). "Tamu Massif even more massive: world's largest volcano almost same size as Japan, widest in solar system". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2 July 2019.
- ↑ Patrick Moore 1977, Guide to Mars, London (UK), Cutterworth Press, p. 96