Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

เชตวนารามยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชตวนารามยะ
ජේතවනාරාමය
เชตวนารามยะ
แผนที่
ชื่อเดิมเทนนานกะ, เทนเวหาระ
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทสถูป[1]
สถาปัตยกรรมสิงหล
ที่ตั้งอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
ความสูงเดิม: 122 m (400 ft), ปัจจุบัน: 71 m (233 ft)
ขนาด
ด้านอื่น ๆ233,000 m2 (2,508,000 sq ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่แต่ละชั้น5.6 เฮกตาร์

เชตวนารามยะ (สิงหล: ජේතවනාරාමය, อักษรโรมัน: jētavanārāmaya) เป็นพระสถูป ตั้งอยู่ในซากอารามเชตวนาราม ในเมืองโบราณอนุราธปุระ [2] ประเทศศรีลังกา มีความสูง 122 เมตร และเป็นสถูปที่สูงที่สุดในโลกยุคโบราณ[3] ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในโลกอันดับที่สามตอนสร้างเสร็จ รองจากมหาพีระมิดทั้งสอง คือที่กีซา และ พีระมิดคาเฟร สร้างขึ้นโดยกษัตริย์มหาเสนแห่งอนุราธปุระ (ครองราชย์ 273–301)[4] ซึ่งถือเป็นผู้ริเริ่มการสร้างสถูปในรูปแบบสิงหล[5]: 49  ขึ้นหลังการทำลายมหาวิหารยะแห่งอนุราธปุระ บุตรของเขา ศิริเมฆาวนา เป็นผู้สานต่อการก่อสร้างสถูปจนเสร็จ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาโดยกษัตริย์ปรกรมพาหุที่หนึ่ง[6] เชื่อกันว่าพระธาตุที่ประดิษฐานอยู่ที่นี่ คือผ้าประคดบั้นพระองค์ (ผ้าคาดเอว) ของพระโคตมพุทธเจ้า

สิ่งปลูกสร้างนี้มีความสำคัญมากต่อประวัติศาสตร์ของเกาะลังกา และแสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างนิกายเถรวาทกับมหายานในลังกา ตลอดจนเป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในโลกยุคโบราณและของลังกายุคโบราณที่มีการบันทึกไว้[7] และถือว่าสูงที่สุดในโลกยุคโบราณหากไม่นับพีระมิด ด้วยความสูงเดิม 122 เมตร (400 ฟุต) ทำให้ยังเป็นสถูปที่สูงที่สุดในโลกยุคโบราณ หลังอนุราธปุระล่มสลายในศตวรรษที่ 11 พระสถูปทิ้งร้างและถูกปกคลุมด้วยป่าไม้ ต่อมากษัตริย์ปรกรมพาหุที่หนึ่งได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ในศตวรรษที่ 12 และพยายามสร้างสถูปขึ้นมาใหม่ด้วยความสูง 71 เมตร (233 ฟุต) ซึ่งคงอยู่จนปัจจุบัน[8] ด้วยพื้นที่ฐานของสถูปขนาด 233,000 m2 (2,508,000 sq ft) ทำให้สถูปยังเป็นสิ่งปลูกสร้างอิฐที่ใหญ่ที่สุดในโลก[9] โดยสร้างขึ้นจากอิฐก้อนประมาณ 93.3 ล้านก้อน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Great Cities of the Ancient World. p. 338. ISBN 0385091877.
  2. Ancient Buddhist Mural Painting of India and Sri Lanka. 2002. p. 204.
  3. "Tallest stupa". Guinness World Records (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-01-08.
  4. Mandawala, P.B. (2002). "The Jetavana Stupa Rediscovered". Silhouette-(2002-2003). General Sir John Kotelawala Defence University: 125-133.
  5. Sinhalese Monastic Architecture. ISBN 9004039929.
  6. "Jetavanaramaya". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-26.
  7. Silva, R. 1990, "Bricks – A unit of construction in ancient Sri Lanka", ICTAD Journal, 2 (1): pp. 21–42
  8. Maha Bodhi Tree in Anuradhapura, Sri Lanka: The Oldest Historical Tree in the World. p. 10. ISBN 0706970632.
  9. Ranaweera, Munidasa P (December 2004). "Ancient Stupas in Sri Lanka – Largest Brick Structures in the World". CHS Newsletter. Construction History Society (70).