เชิดชัย ตันติศิรินทร์
เชิดชัย ตันติศิรินทร์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 174 วัน) | |
ก่อนหน้า | ณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช |
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 233 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการ | ชลน่าน ศรีแก้ว (2566–2567) สมศักดิ์ เทพสุทิน (2567) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 กันยายน พ.ศ. 2493 อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2554–2562, 2562–ปัจจุบัน) ไทยรักษาชาติ (2561–2562) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | นปช. |
คู่สมรส | พรรณวดี ตันติศิรินทร์ |
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์ (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2493) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) อดีตกรรมการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ประวัติ
[แก้]เชิดชัย เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2493 ที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เพียงแต่ใช้คนละนามสกุล[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปริญญาโท แพทย์ศาสตรบัณฑิต (พบ.) สาขาแพทย์ศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาศัลยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (นบ.) สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์ สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรณวดี ตันติศิรินทร์ ซึ่งเป็นประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ อดีตแกนนำคนเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น[2][3][4][5]
ในขณะที่เขาอยู่ระหว่างการศึกษา เคยได้เข้าร่วมกิจกรรมและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2516
การทำงาน
[แก้]เชิดชัย ตันติศิรินทร์ รับราชการเป็นแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกลาง และเป็นแกนนำภาคอีสาน[7]
ในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในนามพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 50 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 43[8]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 17 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[9] อีกสี่ปีต่อมาเขาย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทยและลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 35 และเมื่อณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช ลาออกจาก ส.ส. เพื่อดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[10] [11] เชิดชัยจึงได้รับการเลื่อนลำดับบัญชีรายชื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2543 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 06 10 58
- ↑ ประวัติอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา
- ↑ เจาะสมบัติ 4 แกนนำแดง-พิธีกรดัง“PEACT TV”ก่อนมติ กสท.สั่งปิด 7 วัน
- ↑ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรณวดี ตันติศิรินทร์ ให้สัมภาษณ์กับรายการนับถอยหลังเลือกตั้ง62 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561
- ↑ แดงขอนแก่นยันไม่มีศูนย์ปราบโกง ชี้ยิ่งปิดกั้นการแสดงออก ปชช.ยิ่งจริงจังมากขึ้น
- ↑ "ประวัติการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
- ↑ เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกลาง
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 27 สิงหาคม 2567
- ↑ เช็กมติ ครม. 28 พฤษภาคม 2567 แต่งตั้ง-โยกย้าย ครบทุกตำแหน่ง
- ↑ ""ณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช" ยื่นลาออกพ้น สส.เพื่อไทย". Thai PBS.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๐๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- แพทย์ชาวไทย
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคไทยรักษาชาติ
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา