เนหุชทาน
ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ (2 พงศ์กษัตริย์ 18:4; เขียนเมื่อราว 550 ปีก่อนคริสตกาล) เนหุชทาน (อังกฤษ: Nehushtan; ฮีบรู: נְחֻשְׁתָּן Nəḥuštān [nəħuʃtaːn]) เป็นรูปสัมฤทธิ์ของงูบนเสา รูปสัมฤทธิ์นี้มีการบรรยายในหนังสือกันดารวิถี เมื่อพระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสให้ชูงูทองสัมฤทธิ์ขึ้นเพื่อให้ชาวอิสราเอลที่ได้เห็นจะได้รับการรักษาและได้รับความปกป้องจากการตายเพราะถูก "งูแมวเซา" กัด ซึ่งเป็นงูที่พระยาห์เวห์ทรงส่งมาลงโทษผู้ที่พูดต่อว่าพระองค์และโมเสส (กันดารวิถี 21:4 -9)
ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ กษัตริย์เฮเซคียาห์โปรดให้ปฏิรูปการทำลายรูปเคารพ รวมถึงการทำลาย "งูทองสัมฤทธิ์ซึ่งโมเสสสร้างขึ้นนั้นเสีย เพราะว่าคนอิสราเอลได้เผาเครื่องหอมให้แก่งูนั้นจนถึงวันเหล่านั้น เขาเรียกงูนั้นว่า เนหุชทาน"[1]
ศัพทมูล
[แก้]คำว่า "เนหุชทาน" เป็นคำนามเฉพาะที่มาจากคำว่า "งู" หรือ "สัมฤทธิ์" จึงมีความหมายว่า "งู (ใหญ่)" หรือ "สัมฤทธิ์ (ใหญ่)"[2]
การแปลแบบต่าง ๆ
[แก้]ในคัมภัร์ไบเบิลฉบับภาษาอังกฤษมาตรฐานและฉบับแปลภาษาอังกฤษร่วมสมัยส่วนใหญ่กล่าวถึงงูว่าทำจาก "bronze" ในขณะที่ฉบับพระเจ้าเจมส์และฉบับอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งระบุด้วยคำว่า "brass" 2 พงศ์กษัตริย์ 18:4 แปลเป็นคำว่า "brasen" ในฉบับพระเจ้าเจมส์[3] ในฉบับ Douay-Rheims ปี ค.ศ. 1899 ระบุด้วยคำว่า "brazen" Eugene H. Peterson ผู้ถอดความพระคัมภีร์อย่างหลวม ๆ ในชื่อ เดอะเมซเซจ (ค.ศ. 2002) เลือกใช้คำว่า "a snake of fiery copper"[4]
ในคัมภีร์ไบเบิล
[แก้]คัมภัร์ฮีบรู
[แก้]ในเรื่องเล่าคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการอพยพของชาวอิสราเอลจากอียิปต์ ชาวอิสราเอลเดินทางจากภูเขาโฮร์ไปยังทะเลแดง แต่พวกเขาต้องอ้อมไปรอบดินแดนเอโดม (กันดารวิถี 20:21,25) พวกเขาเกิดความท้อแท้และต่อว่าพระยาห์เวห์และโมเสส (กันดารวิถี 21:4 -5) พระเจ้าจึงทรงส่ง "งูแมวเซา" ไปท่ามกลางพวกเขาและพวกเขาหลายคนก็ถูกกัดตาย ประชาชนมาหาโมเสสเพื่อกลับใจและร้องหาโมเสสให้ช่วยทูลพระเจ้าให้ทรงนำงูไปจากพวกเขา โมเสสจึงทูลวิงวอนพระเจ้า พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า "จงทำงูพิษตัวหนึ่งติดไว้บนเสา และทุกคนที่ถูกงูกัดมองดูงูนั้น ก็จะมีชีวิตอยู่ได้" (กันดารวิถี 21:4 -9)
คำว่า "เนหุชทาน" ปรากฏใน 2 พงศ์กษัตริย์ 18:4 ในความที่กล่าวถึงการปฏิรูปโดยกษัติรย์เฮเซคียาห์ซึ่งพระองค์ทรงรื้อปูชนียสถานสูงทิ้งไป ทรงโค่นสัญลักษณ์ของอาเช-ราห์ลง และทำลายเนหุชทาน[6][7][8] ตามฉบับแปลของคัมภัร์ไบเบิลหลายฉบับให้ชื่อของงูทองสัมฤทธิ์เช่นนั้น[9]
พันธสัญญาใหม่
[แก้]ในพระวรสารนักบุญยอห์น พระเยซูทรงเปรียบเทียบระหว่างการยกบุตรมนุษย์ขึ้นกับการยกงูทองสัมฤทธิ์ของโมเสสเพื่อรักษาประชาชน[10] พระเยซูตรัสว่า "โมเสสยกงูขึ้นในถิ่นทุรกันดารอย่างไร บุตรมนุษย์จะต้องถูกยกขึ้นอย่างนั้น" (ยอห์น 3:14 )
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2 พงศ์กษัตริย์ 18:4". You Version. สืบค้นเมื่อ 09 January 2024.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "Nehushtan Definition and Meaning – Bible Dictionary". Bible Study Tools. สืบค้นเมื่อ Sep 9, 2019.
- ↑ BibleGateway.com https://www.biblegateway.com/verse/en/2%20Kings%2018:4 accessed 15 September 2015
- ↑ All translations of Numbers 21:9 taken from BibleGateway.com https://www.biblegateway.com/verse/en/Numbers%2021:9 accessed 15 September 2015
- ↑ Reina (2018), p. 69
- ↑ Noth 1968, p. 156
- ↑ "The Mystery of the Nechushtan", Hershel Shanks, Biblical Archaeology Review, pp.58–63, March/April 2007.
- ↑ Joines, Karen Randolph (1968). The Bronze Serpent in the Israelite Cult The Bronze Serpent in the Israelite Cult. JOBL, 87. p. 245, note 1.
- ↑ "2 Kings 18:4 – Bible Gateway". www.biblegateway.com. สืบค้นเมื่อ Sep 9, 2019.
- ↑ Olson 1996, p. 137
บรรณานุกรม
[แก้]- This article incorporates text from a publication now in the public domain: Kaufmann Kohler, Isaac Husik, Morris Jastrow Jr., J. Frederic McCurdy (1901–1906). "Brazen serpent". In Singer, Isidore; et al. (eds.). The Jewish Encyclopedia. New York: Funk & Wagnalls.
- Noth, Martin (1968). Numbers: A Commentary (Issue 613, Vol. 7 ed.). Westminster John Knox Press. pp. 155–8. ISBN 978-0-664-22320-5.
- Olson, Dennis T. (1996). Numbers. Louisville: Westminster John Knox Press. pp. 135–8. ISBN 978-0-8042-3104-6.
- Joines, Karen Randolph (September 1968). "The Bronze Serpent in the Israelite Cult". Journal of Biblical Literature. 87 (3): 245–256. doi:10.2307/3263536. JSTOR 3263536. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
- Reina, Gabriele (2018). Le imprese araldiche dei Visconti e degli Sforza (1277-1535): Storia, storia dell'arte, repertorio [The heraldic achievements of the Visconti and the Sforza (1277-1535): History, artistic change, and inventory] (PDF) (ภาษาอิตาลี). Lausanne: Université de Lausanne, Faculté des lettres, Section d'histoire de l'art.