Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

เอ็สเซ ไฟรบวร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ็สเซ ไฟรบวร์ค
ชื่อเต็มSport-Club Freiburg e.V.
ฉายาBreisgau-Brasilianer (Brazilians of Breisgau)
ก่อตั้งค.ศ. 1904[1]
สนามชวาทซ์วัลท์-ชตาดีอ็อน
ความจุ24,000 ที่นั่ง
ประธานFritz Keller
ผู้จัดการChristian Streich
ลีกบุนเดิสลีกา
2022–23บุนเดิสลีกา อันดับที่ 5
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรกีฬาไฟรบวร์ค สมาคมจดทะเบียน (เยอรมัน: Sport-Club Freiburg e.V.) หรือ เอ็สเซ ไฟรบวร์ค (SC Freiburg) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพเยอรมัน ตั้งอยู่ที่ไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ปัจจุบันลงเล่นในบุนเดิสลีกา หลังจากที่เลื่อนชั้นจากการคว้าแชมป์ซไวเทอบุนเดิสลีกาในปี ค.ศ. 2016 ไฟรบวร์คเป็นสโมสรที่เลื่อนชั้นและตกชั้นอยู่บ่อย ๆ จนเกิด จนเกิดเป็นเพลงที่ร้องว่า "เราตกชั้น เราเลื่อนชั้น เราได้ไปยูฟ่าคัพ!" ในช่วงคริสตทศวรรษ 1990[2]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 สโมสรใช้สนามแข่งขันชื่อว่าชวาทซ์วัลท์-ชตาดีอ็อน สโมสรเคยมีผู้จัดการที่คุมทีมยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลเยอรมัน คือ Volker Finke ซึ่งคุมทีมช่วงปี ค.ศ. 1991-2007 ส่วนผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสร คือ โยอาคิม เลิฟ ทำประตูได้ 81 ประตูใน 252 เกม ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นผู้จัดการทีมชาติเยอรมนี[3]

สนามแข่งขัน

[แก้]
ชวาทซ์วัลท์-ชตาดีอ็อนในปี ค.ศ. 2011

ไฟรบวร์คใช้สนามแข่งขันชื่อว่าชวาทซ์วัลท์-ชตาดีอ็อนหรือไดรซัมชตาดีอ็อนซึ่งตั้งชื่อตาแม่น้ำไดรซัมซึ่งไหลผ่านเมืองไฟรบวร์ค สนามแข่งขันมักรู้จักกันในชื่อ มาเกอโซลาร์ชตาดีอ็อน ตามชื่อผู้สนับสนุนสโมสร สนามมีความจุ 24,000 ที่นั่ง สร้างในปี ค.ศ. 1953 และในอีก 40 ปี ผู้จัดการทีม Volker Finke มีความคิดที่จะดัดแปลงให้เป็นสนามแห่งแรกที่ใช้พลังแสงอาทิตย์ โดยมีแผงเซลล์สุริยะบนอัฒจันทร์หลัก ด้านทิศเหนือและใต้ แผงผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 250,000 กิโลวัตต์ต่อปี[4][5]

การแข่งขันระดับทวีป

[แก้]

นัด

[แก้]
ณ วันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2017 [6][7]
ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ พบกับ เหย้า เยือน รวม
1995–96 ยูฟ่าคัพ รอบแรก เช็กเกีย สลาเวีย ปราก 1–2 0–0 1–2
2001–02 ยูฟ่าคัพ รอบแรก สโลวาเกีย Matador Púchov 2–1 0–0 2–1
รอบสอง สวิตเซอร์แลนด์ St. Gallen 0–1 4–1 4–2
รอบสาม เนเธอร์แลนด์ เฟเยนูร์ด ร็อตเธอร์ดัม 2–2 0–1 2–3
2013–14 ยูฟ่ายูโรปาลีก กลุ่ม H สเปน เซบิยา 0–2 0–2 อันดับที่ 3
โปรตุเกส Estoril 1–1 0–0
เช็กเกีย Slovan Liberec 2–2 2–1
2017–18 ยูฟ่ายูโรปาลีก รอบคัดเลือกรอบสาม สโลวีเนีย Domžale 1–0 0–2 1–2
2022–23 ยูฟ่ายูโรปาลีก กลุ่ม

สถิติ

[แก้]
  • ทำประตูมากที่สุด: 81 ประตู โดยโยอาคิม เลิฟ[3]
  • ทำประตูในบุนเดิสลีกามากที่สุด: 37 ประตู โดยปาปิส ซีเซ
  • ย้ายเข้าด้วยค่าตัวสูงสุด: 4 ล้านยูโร (Vladimír Darida)[8]
  • ย้ายออกด้วยค่าตัวสูงสุด: 12 ล้านยูโร (ปาปิส ซีเซ)[9]
  • ผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุด: Matthias Ginter – 18 ปี 2 วัน[10]
  • ลงเล่นมากที่สุด: Andreas Zeyer – 435 นัด
  • ทำประตูใส่สโมสรอื่นมากที่สุด: คลาวดีโอ ปีซาร์โร – 14 ประตูจาก 17 นัด
  • ชนะเกมเหย้าสูงสุด: 6–1 – พบกับ Rot-Weiß Erfurt วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991
  • ชนะเกมเหย้าสูงสุด (เฉพาะบุนเดิสลีกา): 5–0 – พบกับ VfL Bochum วันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2000
  • ชนะเกมเยือนสูงสุด: 5–0 – พบกับ SV Meppen วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1998
  • ชนะเกมเยือนสูงสุด (เฉพาะบุนเดิสลีกา): 4–0 – พบกับ เฟาเอฟเบชตุทท์การ์ท วันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1994
  • แพ้เกมเหย้าสูงสุด: 0–6 – พบกับ บาเยิร์นมิวนิก วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2003
  • แพ้เกมเหย้าสูงสุด (เฉพาะบุนเดิสลีกา): 0–6 – พบกับ บาเยิร์นมิวนิก วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2003
  • แพ้เกมเยือนสูงสุด: 0–7 – พบกับ บาเยิร์นมิวนิก วันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2011
  • แพ้เกมเยือนสูงสุด (เฉพาะบุนเดิสลีกา): 0–7 – พบกับ บาเยิร์นมิวนิก วันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2011

เกียรติประวัติ

[แก้]

ลีก

[แก้]

ถ้วย

[แก้]

ชุดเยาวชน

[แก้]
ลีก
ถ้วย
  • เยอรมันคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี
    • ชนะเลิศ: 2006, 2009, 2011, 2012

รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี – ระหว่างประเทศ

[แก้]

ผลงานของทีมสำรอง

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เยอรมนี Alexander Schwolow
3 DF ออสเตรีย Philipp Lienhart
5 DF เยอรมนี Manuel Gulde
6 MF แอลเบเนีย Amir Abrashi
7 FW เยอรมนี Florian Niederlechner
8 MF เยอรมนี Mike Frantz (กัปตัน)
9 FW เยอรมนี Lucas Höler
13 MF เยอรมนี Marco Terrazzino
15 DF เยอรมนี Pascal Stenzel
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 MF ฝรั่งเศส Yoric Ravet
17 DF เยอรมนี Lukas Kübler
18 FW เยอรมนี นีลส์ เพเทอร์เซิน
19 MF เยอรมนี Janik Haberer
25 DF เยอรมนี Robin Koch
27 MF เยอรมนี Nicolas Höfler
30 DF เยอรมนี Christian Günter
34 FW เยอรมนี Tim Kleindienst
38 DF เยอรมนี Florian Kath
42 MF ญี่ปุ่น ริตสึ โดอัง

ผลงานแบ่งตามฤดูกาล

[แก้]

ผลงานแบ่งตามฤดูกาลของสโมสร[13][14]

ฤดูกาล ลีก ระดับ อันดับ
1999–00 บุนเดิสลีกา I 12
2000–01 บุนเดิสลีกา 6
2001–02 บุนเดิสลีกา 16↓
2002–03 ซไวเทอบุนเดิสลีกา II 1↑
2003–04 บุนเดิสลีกา I 13
2004–05 บุนเดิสลีกา 18↓
2005–06 ซไวเทอบุนเดิสลีกา II 4
2006–07 ซไวเทอบุนเดิสลีกา 4th
2007–08 ซไวเทอบุนเดิสลีกา 5th
2008–09 ซไวเทอบุนเดิสลีกา 1↑
2009–10 บุนเดิสลีกา I 14
2010–11 บุนเดิสลีกา 9
2011–12 บุนเดิสลีกา 12
2012–13 บุนเดิสลีกา 5
2013–14 บุนเดิสลีกา 14
2014–15 บุนเดิสลีกา 17↓
2015–16 ซไวเทอบุนเดิสลีกา II 1↑
2016–17 บุนเดิสลีกา I 7
2017–18 บุนเดิสลีกา 15
2018–19 บุนเดิสลีกา 13
2019–20 บุนเดิสลีกา 8
2020–21 บุนเดิสลีกา 10
2021–22 บุนเดิสลีกา 6
2022–23 บุนเดิสลีกา
เลื่อนชั้น ตกชั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Glunk, Sascha. "Gründungsdatum mit vielen Fragezeichen" (ภาษาเยอรมัน). SC Freiburg e.V. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-28. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
  2. "Reason trumps rashness at Freiburg". Bundesliga website. 31 May 2011. สืบค้นเมื่อ 18 September 2011.[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 Peter Martin (2004). Sport-Club Freiburg (บ.ก.). Hundert Jahre 90 Minuten: Die Geschichte des SC Freiburg von 1904–2004. Freiburg.
  4. "Das badenova-Stadion". SCF website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-30. สืบค้นเมื่อ 18 September 2011.
  5. "badenova-Stadion" (ภาษาเยอรมัน). weltfussball.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-07. สืบค้นเมื่อ 18 September 2011.
  6. "The UEFA Cup 1995/96 – SC Freiburg (GER)". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 18 September 2011.
  7. "The UEFA Cup 2001/02 – SC Freiburg (GER)". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 18 September 2011.
  8. "Plzeň midfielder Darida joins Freiburg". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 1 September 2013.
  9. "Die Top-Ten-Spielerverkäufe des SC Freiburg". Badische Zeitung. สืบค้นเมื่อ 24 January 2012.
  10. "Matchday 18: Facts and figures". bundesliga.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 24 January 2012.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-09. สืบค้นเมื่อ 2018-01-27.
  12. The cup of Lev Yashin goes to Germany. RTSportNews. 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 29 December 2011.
  13. "Historical German domestic league tables" (ภาษาเยอรมัน). Das deutsche Fußball-Archiv. สืบค้นเมื่อ 29 December 2011.
  14. "Ergebnisse – die Top-Ligen bei Fussball.de" [Results – the Top Leagues at Fussball.de] (ภาษาเยอรมัน). Fussball.de. สืบค้นเมื่อ 29 December 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]