แอร์บัส เอ321
แอร์บัส เอ321 | |
---|---|
แอร์บัส เอ321-200 ของอเมริกันแอร์ไลน์ ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ |
บริษัทผู้ผลิต | แอร์บัส |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | อเมริกันแอร์ไลน์ เดลตาแอร์ไลน์ ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ วิซซ์แอร์ |
จำนวนที่ผลิต | 3,145 ลำ (พฤษภาคม ค.ศ. 2024)[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1992–2021 (เอ321ซีอีโอ) ค.ศ. 2016–ปัจจุบัน (เอ321นีโอ) |
เริ่มใช้งาน | 27 มกราคม ค.ศ. 1994 โดยลุฟท์ฮันซ่า |
เที่ยวบินแรก | 11 มีนาคม ค.ศ. 1993 |
พัฒนาจาก | แอร์บัส เอ320 |
พัฒนาเป็น | แอร์บัส เอ321นีโอ |
แอร์บัส เอ321 (อังกฤษ: Airbus A321) เป็นรุ่นของอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส โดยมีความจุผู้โดยสารอยู่ที่ 185 ถึง 236 ที่นั่ง เอ321 เป็นรุ่นที่เพิ่มความยาวลำตัวเครื่องจากเอ320 เดิม และได้เริ่มประจำการกับลุฟท์ฮันซ่าในปี 1994 ประมาณหกปีหลังจากเอ320 เครื่องบินรุ่นนี้มีศักยการบินเฉพาะแบบเหมือนกับรุ่นอื่นในตระกูลเอ320 นักบินสามารถทำการบินบนเครื่องบินตระกูลเอ320 ได้ทุกรุ่นจากการที่แต่ละรุ่นมีระบบการบินที่ใกล้เคียงกัน
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 แอร์บัสได้ประกาศการพัฒนาเครื่องบินตระกูลเอ320นีโอ (ตัวเลือกเครื่องยนต์แบบใหม่) ซึ่งเป็นการพัฒนาของเครื่องบินตระกูลเอ320 เดิม โดยมีพัฒนาประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น[2] การพัฒนาของรุ่นใหม่นี้ยังคงใช้ขนาดลำตัวเครื่องเดิมของเอ321ซีอีโอ แต่จะมีการใช้เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับการปรับปรุงโครงสร้างเครื่องบินและการใช้ปลายปีกแบบชาร์กเลต เอ321นีโอมีประสิทธิภาพในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้นถึง 15% โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 244 ที่นั่งพร้อมพิสัยการบิน 4,000 ไมล์ทะเล (7,400 กิโลเมตร; 4,600 ไมล์) สำหรับรุ่นพิสัยไกลที่จัดเรียงห้องโดยสารแบบ 206 ที่นั่ง[3]
เอ321 มีฐานการผลิตหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานฟิงเคินแวร์เดอร์ในฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี และโมบีล รัฐแอละบามา สหรัฐ โดย ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 ได้มีการส่งมอบแอร์บัส เอ321 จำนวน 3,123 ลำ โดยมีประจำการอยู่ 3,057 ลำ และมียอดสั่งซื้อสำหรับรุ่นนีโอ 4,992 ลำ อเมริกันแอร์ไลน์เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด โดยมีเอ321 ประจำการอยู่ 298 ลำในฝูงบิน[1]
ลักษณะ
[แก้]อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้างที่มีการจัดเรียงล้อลงจอดแบบรถสามล้อที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สองเครื่อง มีระบบครีบและหางเสือเดียว เอ321 ได้มีการขยายความยาวลำตัวเครื่องและมีการปรับปรุงระบบปีกจากเอ320 เดิม โดยในส่วนหน้าปีกได้ขยายความยาวเพิ่ม 4.27 เมตร (14 ฟุต 0 นิ้ว) และอีก 2.67 เมตร (8 ฟุต 9 นิ้ว) ในส่วนด้านหลังปีก โดยรวมเอ321 จะยาวกว่าเอ320 6.94 เมตร (22 ฟุต 9 นิ้ว)[3][4][5][6] ด้วยความยาวที่มากขึ้นนี้ทำให้เอ321 จะต้องมีประตูทางออกเพิ่มขึ้น โดยจะติดตั้งอยู่ด้านหน้าและหลังของปีก[7] แอร์บัสได้มีการปรับปรุงระบบแฟลบและอุปกรณ์ผิวปีกบนเอ321 เพื่อรักษาประสิทธิภาพ[5] โดยได้ใช้ระบบแฟลบสองระดับและเพิ่มพื้นที่ปีกจาก 124 ตารางเมตร (1,330 ตารางฟุต) เป็น 128 ตารางเมตร (1,380 ตารางฟุต)[8] โครงสร้างเครื่องบินถูกปรับปรุงเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่เพิ่มขึ้น 9,600 กิโลกรัม (21,200 ปอนด์) เป็น 83,000 กิโลกรัม (183,000 ปอนด์) ได้[5]
รุ่น
[แก้]เอ321-100
[แก้]แอร์บัส เอ321-100 เป็นรุ่นแรกที่พัฒนาขึ้นมา โดยจะมีพิสัยการบินที่สั้นกว่าเอ320 เพราะไม่มีการติดตั้งถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมเพื่อชดเชยกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เอ321-100 มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดอยู่ที่ 83,000 กิโลกรัม (183,000 ปอนด์) เอ321-100 เข้าประจำการกับลุฟท์ฮันซ่าในปี 1994 แอร์บัสผลิตรุ่นนี้ออกมาเพียง 90 ลำ โดยมีเพียงไม่กี่ลำที่ต่อมาจะถูกดัดแปลงเป็นรุ่น -200 [9]
เอ321-200
[แก้]ในปี 1995 แอร์บัสเริ่มพัฒนาเอ321-200 ที่มีน้ำหนักมากขึ้นและพิสัยการบินมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำการบินข้ามประเทศของสหรัฐได้ โดยแอร์บัสได้เลือกใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงดันมากกว่า (วี2533-เอ5 หรือ ซีเอฟเอ็ม56-5B3) ปรับปรุงโครงสร้าง และเพิ่มตัวเลือกในการติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาด 2,990-ลิตร (790-US-gallon) เพิ่มเติมหนึ่งหรือสองถังใต้ท้องเครื่อง[6] ถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมนี้เพิ่มความจุเชื้อเพลิงเป็น 30,030-ลิตร (7,930-US-gallon) การดัดแปลงนี้ทำให้รุ่น-200 มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 93,000 กิโลกรัม (205,000 ปอนด์) แอร์บัส เอ321-200 ทำการบินครั้งแรกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1996 และเข้าประจำการกับโมนาร์กแอร์ไลน์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1997 รุ่น -200 แข่งขันกับโบอิง757-200และโบอิง737-900/900อีอาร์เป็นหลัก
เอ321นีโอ
[แก้]เอ321นีโอเป็นรุ่นที่ลำตัวยาวของเครื่องบินเอ320นีโอ ที่มีพิสัยการบินเพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิม 500 ไมล์ทะเล (930 กิโลเมตร; 580 ไมล์)และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาผลาญเชื้อเพลิงถึง 15% ด้วยตัวเลือกเครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม ลีปหรือพีดับเบิลยู1100จี[10] แอร์บัสเปิดตัวโครงการพัฒนานี้ในปี 2010 ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016[11] ได้รับการรับรองในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.2016[12] และเริ่มดำเนินงานกับเวอร์จินอเมริกาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017[13] เอ321นีโอมีคู่แข่งสำคัญ คือ โบอิง 737 แมกซ์ 9 และ 737 แมกซ์ 10[14][15]
เอ321 แอลอาร์
[แก้]ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 แอร์บัสเริ่มหาตลาดสำหรับรุ่นพิสัยไกลที่มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 97 ตัน (214,000 ปอนด์) พร้อมกับถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมสามถัง เพื่อให้มีพิสัยการบินเพิ่มขึ้น 100 ไมล์ทะเล (190 กิโลเมตร; 120 ไมล์) ซึ่งมากกว่าโบอิง 757-200[16] แอร์บัสเปิดตัวเอ321 แอลอาร์ (LR; Long Range) ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2015 โดยมีพิสัยการบิน 4,000 ไมล์ทะเล (7,400 กิโลเมตร; 4,600 ไมล์) พร้อมความจุผู้โดยสาร 206 ที่นั่งในการจัดเรียงสองชั้นโดยสาร[17][18] เอ32 แอลอาร์ทำการบินเที่ยวบินแรกในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2018[19] แอร์บัสได้ประกาศการรับรองเครื่องบินในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2018[20] และเริ่มเข้าประจำการกับอาร์เคียในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018[21]
เอ321 เอกซ์แอลอาร์
[แก้]แอร์บัสเริ่มศึกษาการพัฒนาเพิ่มน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดของเอ321 แอลอาร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018[22] โดยในช่วงแรกเอ321 เอกซ์แอลอาร์ที่เสนอจะมีพิสัยการบินเพิ่มขึ้น 4,500 ไมล์ทะเล (8,300 กิโลเมตร; 5,200 ไมล์) และคาดว่าจะทำการบินครั้งแรกในปี 2019 และจะเข้าประจำการในปี 2021 หรือ 2022 และจะแข่งขันกับโบอิง เอ็นเอ็มเอ.[23] ในเดือนพฤศจิกายน แอร์บัสเปิดเผยว่าเอ321 เอกซ์แอลอาร์ จะมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดมากกว่า 100 ตัน (220,000 ปอนด์) และมีพิสัยการบินมากกว่าเอ321 แอลอาร์ถึง 700 ไมล์ทะเล (1,300 กิโลเมตร; 810 ไมล์)[24] แอร์บัสเปิดตัวเอ321 เอกซ์แอลอาร์ อย่างเป็นทางการในงานปารีสแอร์โชว์เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 ซึ่งมีพิสัยการบินเพิ่มเติม 4,700 ไมล์ทะเล (8,700 กิโลเมตร; 5,400 ไมล์) รวมถึงถังเชื้อเพลิงบริเวณท้ายลำเพิ่มเติม และโครงสร้างล้อลงจอดที่แข็งแรงขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่เพิ่มขึ้น 101 ตัน (223,000 ปอนด์)[25] เอ321 เอกซ์แอลอาร์ ทำการบินครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022[26]
การดัดแปลงสำหรับการขนส่งสินค้า
[แก้]ถึงแอร์บัสไม่เคยผลิตแอร์บัส เอ321 สำหรับการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ แต่ก็มีการดัดแปลงสำหรับการขนส่งสินค้าเช่นกัน โดนเริ่มแรกแอร์บัสได้จัดตั้ง แอร์บัส เฟรตเตอร์ คอนเวอร์ชัน เกเอ็มเบฮา เพื่อดูแลในโครงการดัดแปลงนี้ แต่ก็ปิดตัวลงในปี 2011 โดยที่ไม่ได้ดัดแปลงเครื่องบินใดๆ[27]
ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2015 เอสทีแอโรสเปซได้ทำข้อตกลงกับแอร์บัสและ EFW เพื่อร่วมกันพัฒนาในโครงการการดัดแปลงเครื่องบินเอ320 และเอ321 สำหรับการขนส่งสินค้า (P2F; passenger-to-freighter)[28] เครื่องบินต้นแบบลำแรกทำการบินเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2020 โดยแอร์บัส เอ321-200P2F ลำแรกได้ส่งมอบให้กับควอนตัสเฟรตในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2020[29]
ไซน์ ดราโคเอวิเอชันเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ให้บริการดัดแปลงเครื่องบินสำหรับโครงการเอ321P2F iโดยเดิมคาดว่าเครื่องบินลำแรกจะสามารถทำการบินได้ในปี 2022[30]
ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2022 ลุฟท์ฮันซ่าคาร์โกเริ่มให้บริการแอร์บัส เอ321F ซึ่งจะดำเนินการโดยลุฟท์ฮันซ่าซิตีไลน์[31]
ผู้ให้บริการ
[แก้]ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 มีแอร์บัส เอ321 จำนวน 3,057 ลำ (รุ่นซีอีโอ 1,718 ลำและรุ่นนีโอ 1,339 ลำ) ให้บริการกับ 100 สายการบิน[1] อเมริกันแอร์ไลน์และเดลตาแอร์ไลน์เป็นสองผู้ให้บริการเอ321 รายใหญ่ที่สุด โดยมีประจำการในฝูงบินทั้งหมด 298 และ 181 ลำตามลำดับ[1]
คำสั่งซื้อและการส่งมอบ
[แก้]รุ่น | คำสั่งซื้อ | การส่งมอบ | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รวม | ยอดค้างส่งมอบ | รวม | 2024 | 2023 | 2022 | 2021 | 2020 | 2019 | 2018 | 2017 | 2016 | 2015 | 2014 | 2013 | 2012 | 2011 | 2010 | |
เอ321ซีอีโอ | 1,784 | — | 1,784 | — | — | — | 22 | 9 | 38 | 99 | 183 | 222 | 184 | 150 | 102 | 83 | 66 | 51 |
เอ321นีโอ | 6,331 | 4,992 | 1,339 | 91 | 317 | 264 | 199 | 178 | 168 | 102 | 20 | — | — | — | — | — | — | — |
รวม | (8,115) | (4,992) | (3,123) | (91) | (317) | (264) | (221) | (187) | (206) | (201) | (203) | (222) | (184) | (150) | (102) | (83) | (66) | (51) |
รุ่น | การส่งมอบ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2009 | 2008 | 2007 | 2006 | 2005 | 2004 | 2003 | 2002 | 2001 | 2000 | 1999 | 1998 | 1997 | 1996 | 1995 | 1994 | |
เอ321ซีอีโอ | 87 | 66 | 51 | 30 | 17 | 35 | 33 | 35 | 49 | 28 | 33 | 35 | 22 | 16 | 22 | 16 |
เอ321นีโอ | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — |
รวม | (87) | (66) | (51) | (30) | (17) | (35) | (33) | (35) | (49) | (28) | (33) | (35) | (22) | (16) | (22) | (16) |
ขเอมูลเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2024[1][32]
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
[แก้]ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 ได้มีอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ทางการบินที่เกี่ยวข้องกับแอร์บัส เอ321 ทั้งหมด 32 ครั้ง[33] โดยหกครั้งส่งผลให้สูญเสียเครื่องบิน และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 377 ราย ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019[34][35]
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]รุ่น | เอ321[3] | เอ321นีโอ[36] | เอ321แอลอาร์ | เอ321เอกซ์แอลอาร์ |
---|---|---|---|---|
นักบิน | สอง | |||
ที่นั่ง (การจัดเรียงสองชั้น) | 185 (16F @ 36 นิ้ว, 169Y @ 32 นิ้ว)[37] | 206 (16J @ 36 นิ้ว + 190Y @ 30 นิ้ว)[38] | ||
การจัดเรียงที่นั่งสูงสุด | 220[39][40] | 240 @ 28 in[41] | ||
ความจุสินค้า | 51.70 ลูกบาศก์เมตร (1,826 ลูกบาศก์ฟุต) / 10×LD3-45s[a] | |||
ความยาว | 44.51 เมตร (146 ฟุต) | |||
ความยาวปีก | 35.80 เมตร (117 ฟุต 5 นิ้ว) [b] | |||
ปีก | 122.4 ตารางเมตร (1,318 ตารางฟุต) ปีกทำมุม 25° กับลำตัวเครื่อง[42] | |||
ความสูง | 11.76 เมตร (38.6 ฟุต) | |||
ลำตัวเครื่อง | 3.95 โดย 4.14 เมตร (13.0 โดย 13.6 ฟุต) กว้าง × สูง, ความยาวห้องโดยสาร 3.70 เมตร (12.1 ฟุต) | |||
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด | 93.5 ตัน (206,000 ปอนด์) | 97 ตัน (213,800 ปอนด์) | 101 ตัน (223,000 ปอนด์) | |
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด | 25.3 ตัน (56,000 ปอนด์) | 25.5 ตัน (56,200 ปอนด์)[43]: 3-2-1 | ||
น้ำหนักเครื่องเปล่า | 48.5 ตัน (107,000 ปอนด์)[37] | 50.1 ตัน (110,500 ปอนด์) | ||
ความจุเชื้อเพลิง | 24,050–30,030 ลิตร (6,350–7,930 US gallon) | 23,490–29,474 ลิตร (6,205–7,786 US gallon)[c] | 23,490–32,853 ลิตร (6,205–8,679 US gallon)[d] | 32,940 ลิตร (8,700 US gallon) |
เครื่องยนต์ (×2) | ซีเอฟเอ็ม56-5บี หรือ ไอเออี วี2500-เอ5 | ซีเอฟเอ็ม ลีป หรือ พีดับเบิลยู1100จี-เจเอ็ม | ||
แรงผลักดัน (×2)[44] | 133–142.34 กิโลนิวตัน (29,900–32,000 pound-force) | 143.05–147.28 กิโลนิวตัน (32,160–33,110 pound-force) | ||
ความเร็ว | ขณะบิน: มัค 0.78 (516 นอต; 956 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 594 ไมล์ต่อชั่วโมง)[45] สูงสุด: มัค 0.82 (542 นอต; 1,005 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 624 ไมล์ต่อชั่วโมง)[44] | |||
เพดานบิน | 39,100–39,800 ฟุต (11,900–12,100 เมตร)[44] | |||
พิสัยการบิน | 3,200 ไมล์ทะเล (5,930 กิโลเมตร; 3,680 ไมล์)[e] | 3,500 ไมล์ทะเล (6,480 กิโลเมตร; 4,030 ไมล์)[46] | 4,000 ไมล์ทะเล (7,410 กิโลเมตร; 4,600 ไมล์)[f] | 4,700 ไมล์ทะเล (8,700 กิโลเมตร; 5,410 ไมล์) |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ไม่มีถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติม
- ↑ ติดตั้งปลายปีกแบบชาร์กเลต
- ↑ การติดตั้งถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติมแบบ 0–2[43]
- ↑ การติดตั้งถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติมแบบ0–3
- ↑ ในลำที่ติดตั้งปลายปีกแบบชาร์กเลตและมีน้ำหนักบรรทุกมาตรฐาน
- ↑ การจจัดเรียงสำหรับ 206 ที่นั่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Airbus Orders & Deliveries". Airbus. 30 April 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 May 2024.
- ↑ "Airbus offers new fuel saving engine options for A320 Family". Airbus. 1 December 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2016. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "A321 specifications". Airbus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2018. สืบค้นเมื่อ 17 October 2018.
- ↑ "Specifications Airbus A320". Airbus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2012. สืบค้นเมื่อ 13 February 2012.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Norris, Guy; Wagner, Mark (1999). Airbus. St. Paul, Minnesota: MBI Publishing. pp. 50–53. ISBN 0-7603-0677-X.
- ↑ 6.0 6.1 Gunston, Bill (2009). Airbus: The Complete Story. Sparkford, Yeovil, Somerset, UK: Haynes Publishing. pp. 213–215. ISBN 978-1-84425-585-6.
- ↑ Eden, Paul E., บ.ก. (2008). Civil Aircraft Today. London: Amber Books. p. 25. ISBN 978-1-905704-86-6.
- ↑ Moxon; Julian (17 March 1993). "A321: Taking on the 757". Flight International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2012. สืบค้นเมื่อ 25 February 2011.
- ↑ "Airbus A321-100 Production List". www.planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2021. สืบค้นเมื่อ 23 October 2021.
- ↑ "Airbus offers new fuel saving engine options for A320 Family" (Press release). Airbus. 1 December 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2016. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ "Airbus A321neo completes first flight after engine switch". Reuters. 9 February 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ "Airbus A321neo with P&W engines receives Type Certification" (Press release). Airbus. 15 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2017. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ Aaron Karp (20 April 2017). "Virgin America receives first A321neo as Alaska mulls future fleet". Air Transport World. Aviation Week. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ Airbus wins hot Wizz competition: 110 A321neos and with it the Paris Air Show Leeham
- ↑ Airbus switches underline trend to A321neo Flightglobal
- ↑ "Exclusive: Airbus launches "A321neoLR" long range to replace 757-200W". Leeham News. 21 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ "Airbus Launches Long-Range A321neo". Aviation International News. 13 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ "Airbus Launches Long-Range A321neo Version". Aviation Week. 13 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ "Airbus A321LR long-range jet completes maiden flight". Reuters. 31 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2018. สืบค้นเมื่อ 31 January 2018.
- ↑ "EASA and FAA certify long-range capability for A321neo" (Press release). Airbus. 2 October 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ David Kaminski Morrow (13 November 2018). "Arkia chief: A321LR first single-aisle to beat 757-300 economics". Flightglobal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2018. สืบค้นเมื่อ 24 November 2018.
- ↑ Jens Flottau (31 January 2018). "Airbus Studying Higher-Capacity A321neo". Aviation Week Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ Jens Flottau; Guy Norris (20 July 2018). "Airbus Moves Ahead With A321XLR Definition". Aviation Week & Space Technology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ "Airbus indicates A321XLR would have over 100t MTOW". Flightglobal. 13 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ "Airbus launches longest range single-aisle airliner: the A321XLR" (Press release). Airbus. 17 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2021. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
- ↑ O'Connor, Kate (2022-06-17). "Airbus A321XLR Completes First Flight". AVweb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-06-18.
- ↑ "Strong demand for used Airbus A320 aircraft drives joint decision to stop freighter conversion programme" (Press release). Airbus. 3 June 2011.
- ↑ "ST Aerospace, Airbus and EFW to launch A320 and A321P2F conversion programme" (Press release). ST Aerospace. 17 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2021.
- ↑ Chris Buckett (27 October 2020). "World's first A321P2F enters service". AirwaysMagazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2021.
- ↑ "The A321-200 SDF advantage". sinedraco.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2021. สืบค้นเมื่อ 23 October 2021.
- ↑ "A321F - Lufthansa Cargo". lufthansa-cargo.com. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
- ↑ "Historical Orders and Deliveries 1974–2009". Airbus S.A.S. January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Microsoft Excel)เมื่อ 23 December 2010. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
- ↑ Airbus A321 occurrences เก็บถาวร 31 สิงหาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Aviation Safety, 3 October 2017.
- ↑ Airbus A321 hull-loss occurrences เก็บถาวร 31 สิงหาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Aviation Safety, 3 October 2017.
- ↑ A321 accident statistics เก็บถาวร 31 สิงหาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Aviation Safety, 3 October 2017.
- ↑ "Airbus Family figures" (PDF). Airbus. July 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ 37.0 37.1 "All About the Airbus A320 Family". Airbus. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2016. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ "Airbus Launches Long-Range A321neo Version". Aviation Week. 13 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ "A321ceo specs". Airbus (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2020. สืบค้นเมื่อ 21 February 2020.
- ↑ Kaminski-Morrow, David (24 April 2014). "Airbus indicates potential for 240-seat A321neo". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2020. สืบค้นเมื่อ 21 February 2020.
- ↑ "Airbus reveals new A321neo layout: New 'Cabin-Flex' and larger doors". Australian business traveller. 13 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2016. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ "Airbus Aircraft Data File". Civil Jet Aircraft Design. Elsevier. July 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ 43.0 43.1 "A321 aircraft characteristics - airport and maintenance planning" (PDF). Airbus. 1 February 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
- ↑ 44.0 44.1 44.2 "Type Certificate Data Sheet" (PDF). EASA. 22 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 March 2019. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ "Airbus A320neo Technology". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2016.
- ↑ "Airbus A321XLR". Airbus. สืบค้นเมื่อ 12 July 2023.