Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

โครงสร้างนิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในทางสังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, โบราณคดี, ประวัติศาสตร์ และ ภาษาศาสตร์ โครงสร้างนิยม (อังกฤษ: Structuralism) เป็นทฤษฎีทั่วไปของวัฒนธรรมและวิธีวิทยา ซึ่งส่อความว่าองค์ประกอบของวัฒนธรรมของมนุษย์จะต้องทำความเข้าใจผ่านวิถีของความสัมพันธ์กับระบบที่ใหญ่กว่า[1] การศึกษาแบบโครงสร้างนิยมมีเป้าหมายในการหาโครงสร้างที่อยู่ภายใต้ทุกสิ่งที่มนุษย์ทำ, คิด, รับรู้ และ เข้าใจ

นักปรัชญา ไซมอน แบล็กเบิร์น สรุปในอีกทางว่าโครงสร้างนิยมคือ:[2]

ความเชื่อว่าปรากฏการณ์ในชีวิตมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้ ยกเว้นแต่[จะเข้าใจได้]ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างกัน (interrelations) ความสัมพันธ์เหล่านี้ก่อร่างขึ้นเป็นโครงสร้าง (structure) และเบื้องหลังของความหลากหลายทางท้องถิ่นในปรากฏการณ์ผิวเผินล้วนมีกฎที่มั่นคงของโครงสร้างซึ่งเป็นนามธรรม

โครงสร้างนิยมในยุโรปเริ่มมีวิวัฒนาการในต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในฝรั่งเศสกับจักรวรรดิรัสเซีย ในฐานะภาษาศาสตร์โครงสร้างนิยมชองแฟร์ดีน็อง เดอ โซซูร์ และสำนักภาษาศาสตร์แบบปรากในยุคถัดมา[3] มอสโก[3] และ โคเปนเฮเกน ส่วนในฐานะขบวนการทางวิชาการ โครงสร้างนิยมกลายมาเป็นสกุลความคิดที่มาสืบทอดอัตถิภาวนิยม (existentialism)[4] ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นักวิชาการสายมนุษยศาสตร์จำนวนมากได้นำเอาแนวคิดแบบโซซูร์มาใช้ในสายวิชาการของตน นักมานุษยวิทยา คลอด เลวี-สทรอส เป็นคนแรกที่ก่อให้เกิดความสนใจในโครงสร้างนิยมอย่างกว้างขวาง[2]

การให้เหตุผลด้วยวิธีแบบโครงสร้างนิยมได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในสาขาต่าง ๆ นับจากนั้น ทั้งในมานุษยวิทยา, สังคมวิทยา, จิตวิทยา, การวิจารณ์วรรณกรรม, เศรษฐศาสตร์ และ สถาปัตยกรรม นอกจากเลวี-สทรอส แล้ว นักคิดคนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างนิยมยังมี รอมัน จาโคบซัน และ นักจิตวิเคราะห์ แฌค เลค็อง

ในช่วงปลายทศวรรษ 1960s หลักการพื้นฐานจำนวนมากของโครงสร้างนิยมเริ่มถูกโจมตีโดยกระแสนักปรัชญาและนักวิชาการซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศส เช่น นักประวัติศาสตร์ มิแช็ล ฟูโกต์, แฌค เดรีดา, นักปรัชญาสายมากซิสต์ ลุยส์ อัลท์ฮัสเซอร์ และนักวิจารณ์วรรณกรรม โรลันด์ บาตส์[3] ในท้ายที่สุด แนวคิดของบุคคลเหล่านี้ได้ถูกเรียกว่าเป็นสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม (Post-structuralism) ผู้สนับสนุนโครงสร้างนิยมเช่นเลค็อง ยังคงมีอิทธิพลต่อปรัชญาภาคพื้นทวีป และมีบางส่วนเสนอว่าแนวคิดแบบหลังโครงสร้างนิยมเป็นการสืบต่อของแนวคิดโครงสร้างนิยมเดิม[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Calhoun, Craig, ed. 2002. "Structuralism." In Dictionary of the Social Sciences. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780195123715.
  2. 2.0 2.1 Blackburn, Simon, ed. 2008. "Structuralism." In Oxford Dictionary of Philosophy (2nd rev. ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-954143-0. p. 353.
  3. 3.0 3.1 3.2 Deleuze, Gilles. 2002. "How Do We Recognise Structuralism?" In Desert Islands and Other Texts 1953-1974. Trans. David Lapoujade. Ed. Michael Taormina. Semiotext(e) Foreign Agents ser. Los Angeles and New York: Semiotext(e), 2004. 170–192. ISBN 1-58435-018-0: p. 170.
  4. Mambrol, Nasrullah (2016-03-20). "Structuralism". Literary Theory and Criticism Notes. สืบค้นเมื่อ 2017-06-29.
  5. Sturrock, John. 1979. "Introduction." In Structuralism and Since: From Lévi Strauss to Derrida.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

[แก้]