Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินแม่เมาะ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย
แผนภาพการเกิดพลังงานไฟฟ้าด้วยถ่านหิน

โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน (อังกฤษ: Coal-fired power station) เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ความร้อนจากการเผาไหม้ของถ่านหินเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้าถ่านหินมากกว่า 2,400 แห่ง รวมกำลังการผลิตมากกว่า 2,000 จิกะวัตต์[1] กำลังผลิตไฟฟ้าคิดเป็นหนึ่งในสามของพลังงานที่ใช้ทั้งโลก[2] แต่ก่อให้เกิดสภาวะอันตรายและการเสียชีวิตมากที่สุด[3] ซึ่งมีผลมาจากมลพิษทางอากาศ[4]

โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล ถ่านหินจะถูกบดเป็นถ่านหินผงแล้วเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงให้หม้อต้มน้ำ ความร้อนของเตาเผาจะเปลี่ยนน้ำในหม้อต้มเป็นไอน้ำ ซึ่งจากนั้นจะนำไปใช้หมุนกังหันที่หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้น ถ่านหินที่เก็บไว้ในพลังงานเคมีจะถูกแปลงเป็นพลังงานความร้อน เมื่อใส่ในกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแปลงเป็นพลังงานกล และสุดท้ายแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า

ในแต่ละปีโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 10 กิโลตัน[5] ประมาณ 1 ใน 5 ของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของโลก จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ใหญ่ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[6] มากกว่าครึ่งหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าพลังงานถ่านหินทั้งหมดในโลกผลิตในประเทศจีน[7] ในปี พ.ศ. 2563 จำนวนโรงไฟฟ้าเริ่มมีแนวโน้มลดลง[8][9] เนื่องจากกำลังผลิตลดลงในทวีปยุโรป[10] และทวีปอเมริกา[11] แม้มีแนวโน้มมากขึ้นในทวีปเอเชีย โดยส่วนมากในประเทศจีน[12] โรงไฟฟ้าบางส่วนยังคงทำกำไรได้แม้เผชิญความเสี่ยงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม[13][14] แต่ไม่ได้รวมถึงทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหิน แต่ความเสี่ยงของโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินใหม่อาจกลายเป็นอสังหาริมทรัพย์ล้มละลาย[15] เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า ประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจต้องหยุดพลังงานไฟฟ้าถ่านหินภายในปี พ.ศ. 2573 และทั่วโลกภายในปี พ.ศ. 2583[16] ประเทศเวียดนามเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใช้พลังงานถ่านหินเป็นหลักประกาศว่าจะหยุดการใช้พลังงานถ่านหินภายในพุทธทศวรรษ 2580 หรือยุติเร็วกว่านั้น[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Too many new coal-fired plants planned for 1.5C climate goal, report concludes". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
  2. Birol, Fatih; Malpass, David. "It's critical to tackle coal emissions – Analysis" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). International Energy Agency. สืบค้นเมื่อ 9 October 2021.
  3. "How safe is nuclear energy?". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
  4. "Killed by coal: Air pollution deaths in Jakarta 'may double' by 2030". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 April 2022.
  5. "CO2 emissions – Global Energy Review 2021 – Analysis". IEA (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 7 July 2021.
  6. "It's critical to tackle coal emissions – Analysis". IEA (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 9 October 2021.
  7. "China generated over half world's coal-fired power in 2020: study". Reuters. 28 March 2021. สืบค้นเมื่อ 14 September 2021. China generated 53% of the world's total coal-fired power in 2020, nine percentage points more that five years earlier
  8. Morton, Adam (3 August 2020). "More coal power generation closed than opened around the world this year, research finds". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 4 August 2020.
  9. "The dirtiest fossil fuel is on the back foot". The Economist. 3 December 2020. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 12 December 2020.
  10. Piven, Ben. "EU power sector emissions drop as coal collapses across Europe". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  11. Roberts, David (14 March 2020). "4 astonishing signs of coal's declining economic viability". Vox. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  12. "China pledges to stop building new coal energy plants abroad". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 22 September 2021. สืบค้นเมื่อ 22 September 2021.
  13. Borenstein, Severin; Bushnell, James B. (1 November 2022). "Do Two Electricity Pricing Wrongs Make a Right? Cost Recovery, Externalities, and Efficiency" (PDF). American Economic Journal: Economic Policy. 14 (4): 80–110. doi:10.1257/pol.20190758. สืบค้นเมื่อ 11 November 2022.
  14. Davis, Lucas (21 September 2020). "Time to Vote Out Coal". Energy Institute Blog. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
  15. Harrabin, Roger (12 March 2020). "Coal power developers 'risk wasting billions'". BBC News.
  16. "The dirtiest fossil fuel is on the back foot". The Economist. 3 December 2020. ISSN 0013-0613.{{cite magazine}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. Do, Thang; Burke, Paul J. "Phasing out coal power in a developing country context: Insights from Vietnam". Energy Policy. 176 (May 2023 113512). doi:10.1016/j.enpol.2023.113512.